วัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม) สถานที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย nimmita, 24 ธันวาคม 2007.

  1. nimmita

    nimmita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +409
    วัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม)


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="11%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="11%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ริม ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ​

    รายละเอียด :

    วัดเจ็ดยอด เป็นวัดที่อยู่รอบนอกของตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ขึ้นชื่อลือชาว่ามีสถาปัตยกรรมของทรงเจดีย์ที่ สง่างามแบบพุทธยคาของอินเดีย เจดีทั้งเจ็ดยอดนั้นมีลายปูนปั้นที่ฐานเจดีย์ รูปเทวดายืนและนั่งเรียงรายโดยรอบ เหมือนเป็นการเฝ้าคุ้มครองปกปักษ์รักษาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในประวัติพงศาวดารระบุว่า สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย ที่ทรงมีอานุภาพยิ่งใหญ่และเลื่อมใสพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เคยเคี่ยวสงครามยืดเยื้อกับพระบรมไตรโลกนาถกษัตริย์แห่งแคว้นอยุธยา ซึ่งถือว่าเป็นสยามใต้ พงศาวดารโยนก บอกว่า​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2007
  2. nimmita

    nimmita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +409
    ข่าวปี พ.ศ. ๒๕๔๘

    ร่วมบุญฉลอง ๕๕๐ ปี วัดเจ็ดยอด วัดแห่งปฐมสังคายนาพระไตรปิฎกในประเทศไทย
    [​IMG]
    วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นชื่อวัดที่คนทั่วไป เรียกตาม ลักษณะ เครื่องยอดส่วนบนของหลังคาพระวิหารที่ปรากฏมาแต่เดิมในวัดนี้ ซึ่งก่อสร้างเป็น พระสถูปเจดีย์ มีจำนวน เจ็ดองค์เจ็ดยอด ด้วยกัน

    แต่ชื่อของวัดที่มีมาแต่เดิม เมื่อคราวแรกสร้างวัดนี้ ชื่อว่า "วัดมหาโพธาราม" หรือ "วัดโพธารามมหาวิหาร"
    วัดเจ็ดยอด หรือ วัดมหาโพธาราม เป็นวัดโบราณ ที่ พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดี องค์ที่ ๒๒ แห่งพระราชวงศ์มังราย โปรดให้ หมื่นด้ามพร้าคต หรือ สีหโคตเสนาบดี เป็นนายช่าง ดำเนินการก่อสร้าง ศาสนสถาน และเสนาสนะ ขึ้นเป็นอาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๙๙
    เมื่อการสถาปนาอารามสำเร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราช โปรดให้นิมนต์พระมหาเถระชื่อ พระอุตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีองค์แรก แห่งหมู่สงฆ์ในอารามแห่งนี้ ครั้งนั้น พระเจ้าติโลกราช ได้ทรงสดับธรรมบรรยาย จากสำนัก พระภิกษุสีหล เรื่องอานิสงส์ ปลูกต้นโพธิ์ มีพระราชประสงค์ ใคร่จะปลูกต้นโพธิ์ จึงโปรดให้แบ่ง หน่อมหาต้นโพธิ์ต้นเดิม ที่พระภิกษุสีหลนำมาจากศรีลังกา เอามาปลูกขึ้นไว้ในอาราม ป่าแดงหลวง ที่เชิง ดอยสุเทพ เอามาปลูกไว้ในอารามที่สร้างขึ้นนี้ เพราะเหตุที่หน่อมหาโพธิ์ ปลูกในอารามนี้ จึงได้รับการ ขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม" หรือ "วัดโพธารามมหาวิหาร"

    [​IMG]

    ในอาณาจักรล้านนา วัดเจ็ดยอดมีความสำคัญยิ่ง ทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ พ.ศ. ๒๐๓๐ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้จัดการประชุม พระเถรา นุเถระ ทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา แล้วทรงคัดเลือก ได้ พระธรรม ทิน เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้เจนจัดในพระบาลี เป็นฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าติโลก ราช ทรงรับเป็น ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘ นับเนื่องจากที่ได้ทำมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดีย และศรีลังกา รวมแล้ว ๗ ครั้ง
    การสังคายนาที่ได้ทำ ณ วัดมหาโพธารามนี้ นับว่าเป็นการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งแรกในประเทศไทย

    ต่อมาได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุพำนักอาศัย แต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่มีที่ควรสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ หัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา เผชิญกับยุทธภัยทั่วไปหมด

    [​IMG]

    ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีกำลังไม่เพียงพอ ที่จะรักษาเมือง และพม่าก็ยกมารุกรานเนืองๆ พระภิกษุ สามเณรและพลเมือง จึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมือง อื่นหมดสิ้น
    ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมราชากาวิละ ได้เป็นเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ ตามพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ เมืองเชียงใหม่ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น อีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดี บรรดาวัดวาอาราม ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง และนอกเมือง ก็ยังมีสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก วัดเจ็ดยอด หรือ วัดมหาโพธารามเอง ก็เป็นวัดร้างมาโดยลำดับ เพิ่งมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้เอง

    http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/12/01/02.php
     

แชร์หน้านี้

Loading...