วัชระ กรรณิการ์ ร่ายมนต์คาถาชินบัญชรก่อนแถลงข่าว

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 30 พฤษภาคม 2016.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    พระคาถาชินบัญชร (อ่านว่า ชิน-นะ-บัน-ชอน) ถือเป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ ๔) บทนอกจากนี้แล้วการสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย
    ส่วนอานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชรมีคติความเชื่อสืบมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า สามารถป้องกันสรรพอันตรายทั้งหลายได้เหมือนเกราะเพชรและให้โชคให้ลาภตามที่ปรารถนา ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
    และหนึ่งในผู้ที่เชื่อและสวดพระคาถาชินบัญชรทุกๆ วัน คือ นายวัชระ กรรณิการ์ อดีตพิธีกรทีวีชื่อดังที่ยอมทิ้งงานมาทำงานการเมืองอย่างเต็มตัว โดยควบตำแหน่งโฆษกถึง ๓ ตำแหน่ง คือ ๑.รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๒.โฆษกพรรคชาติไทยชาติไทยพัฒนา และ ๓.โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) ด้วยเหตุที่การแถลงข่าวทุกครั้งเขาจะพูดจาด้วยความฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ เสียงดังฟังชัด เขาถึงถูกบรรดากระจอกข่ายสายทำเนียบตั้งฉายาว่า "รองต่อโฆษกเอเอ็ม" ขณะเดียวกันเพื่อนๆ นักการเมืองก็จะมักเรียกว่า "คน ๓ โฆ" ซึ่งหมายถึงทำงานเป็นโฆษก ๓ ตำแหน่งนั่นเอง

    นายวัชระบอกว่า ปกติแล้วถ้ามีเวลาจะสวดคาถาชินบัญชรแบบยาวทุกวัน แต่เมื่องานทางการเมืองมากขึ้นวันไหนไม่ได้สวดแบบยาวก็จะสวดแบบย่อๆ ที่ว่า "ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา" วันละ ๑๐ จบ แต่จะสวดเพิ่มในส่วนของคาถาใบบทที่ ๗ อย่างน้อยวันละ ๓ จบ คือ "กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร" ซึ่งหมายถึง "พระเถระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีวาทะอันวิจิตร ชื่อกุมารกัสสป ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้น ประทับที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์" ทั้งนี้เขาได้ให้เหตุผลว่า “ทำงานเป็นโฆษกซึ่งต้องใช้ปากใช้เสียง การท่องคาถาชินบัญชรบทที่ ๗ เป็นการเสริมสร้างสิริมงคลให้แก่ปากตัวเอง” นอกจากนี้แล้วยังมีคาอีกบทหนึ่งที่ท่องเป็นประจำระหว่างขับรถ คือ คาถาที่อยู่หลังเหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร ที่ว่า “พุทโธปกป้อง พุทโธคุ้มครอง ลาภผลพูนทวี” ทั้งนี้จะคาถาบทนี้อย่างน้อย ๓ จบ โดยท่องมาตั้งแต่เรียนมัธยมปลายจนถึงทุกวันนี้
    อย่างไรก็ตามเมื่อต้องมานั่งทำงานที่ตึกนารีสโมสรทำเนียบรัฐบาล นายวัชระได้เลือกนั่งในห้องที่ ๑ ซึ่งเป็นห้องริมสุดทางทิศตะวันออก โดยได้รับคำแนะนำจากข้าราชการเก่าๆ ของทำเนียบว่า “ใครที่เป็นโฆษกแล้วทำงานห้องนี้จะอยู่ได้นานสุด” แต่โดยส่วนตัวแล้วกลับคิดว่า “การอยู่นานไม่สำคัญเท่ากับอยู่สบาย อยู่เย็นเป็นสุข เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าการเมืองไม่มีอะไรแน่นอนเดี๋ยวมาเดี๋ยวไปเป็นเรื่องธรรมดา” ด้วยเหตุนี้จึงนำวัตถุมงคลมาตั้งเพื่อปรับฮวงจุ้ยห้องทำงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ โต๊ะ คือ โต๊ะพระ มีพระบูชาแบบต่างๆ และพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวร ส่วนอีกโต๊ะหนึ่งเป็นโต๊ะจตุคามรามเทพ นอกจากนี้แล้วยังนำรูปที่ได้รับมอบจากพระพยอม แห่งวัดสวนแก้ว ซึ่งเป็นรูปของท่านกับหลวงพ่อปัญญามาติดไว้ในห้องทำงานด้วย โดยตั้งใจว่าจะหาโอกาสนิมนต์ท่านไปฉันเพลที่ห้องทำงานสักครั้งหนึ่ง
    ทั้งนี้นายวัชระได้ให้เหตุผลว่า ธรรมะของพระพยอมเป็นธรรมะง่ายๆ เข้าใจไม่อยาก แต่ลึกซึ้งด้วยแก่นแท้แห่งธรรม โดยเฉพาประโยคที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆ เช่น โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่า จะได้ไม่บ้าไม่โง่, เรายอมแพ้คนเพื่อเอาชนะกิเลส ดีกว่ายอมแพ้กิเลส เพื่อเอาชนะคน, ค่าอาหาร ค่าภารกิจ ไม่เท่าไร แต่ค่าเลี้ยงดูกิเลสนี้มันมาก, ชีวิตคนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกเก่ง เลือกกล้าได้, ดินจะดีไม่ดี ดูที่หญ้า คนจะโง่จะฉลาด ดูที่คำพูด, พอมีความสามัคคีเกิดขึ้น ทำให้หนักกลายเป็นเบา ยากเป็นง่ายช้าเป็นเร็ว, และแก่แล้วต้องทำดีไว้ให้ลูก ทำถูกไว้ให้หลาน ไม่ทำสิ่งชั่วช้าสามานย์ ให้ลูกหลานดูถูก เป็นต้น
    อย่างไรก็ตามแม้จะมีพระธรรมเป็นเครื่องนำทางชีวิต แต่นายวัชระก็ให้ความสำคัญต่อการแขวนพระเครื่องเช่นกัน โดยทุกวันนี้หากวันใดมีธุระต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเขาจะอาราธนาพระสมเด็จหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รุ่นชุนดูวานขึ้นคอเพียงองค์เดียวทุกครั้ง โดยได้รับมอบจาก ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา ๕ สมัย ซึ่งเป็นพระที่ขึ้นชื่อเรื่องประสบการณ์ด้านแคล้วคลาดเป็นอย่างยิ่ง ส่วนพระเครื่องที่เคยแขวนมาก่อนหน้านี้มีบ้างแต่ไม่ได้แขวนเป็นประจำ เช่น พระหลวงปู่ทวด พระกริ่ง รวมทั้งพระเครื่องรุ่นอื่นๆ
    "การไม่มีปาฏิหาริย์นั่นแหละคือปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่ เหตุบางเหตุหรือเรื่องบางเรื่องที่ไม่ได้เข้ามาใกล้ให้เราได้เห็นเป็นความแคล้วคลาด หลายๆ ครั้งที่มีอุปสรรคเรื่องงานก็จะอธิษฐานจิตจากองค์พระที่เรานับถือช่วยดลบันดาลให้อุปสรรคผ่านพ้นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งเป็นเรื่องแปลกมากทุกครั้งที่อธิษฐานจิตขอจะเป็นไปตามที่ขอ และผมอดนึกถึงคำสอนของพระพยอมที่ว่า แพ้หรือชนะเป็นธรรมดาวิถีโลก เรายอมแพ้คน เพื่อเอาชนะกิเลส ดีกว่ายอมแพ้กิเลส เพื่อเอาชนะคน" นายวัชระกล่าว
    พร้อมกันนี้นายวัชระเล่าย้อนหลังให้ฟังว่า เมื่อช่วงเป็นนักศึกอยู่คณะรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ขณะนั้นอายุ ๒๒ ปี เพื่อนสาวได้เอาวันปีเกิดเพื่อไปดูดวง โดยมีคำทำนายว่า “ในอนาคตต้องทำงานกับคนเยอะๆ ทำงานเกี่ยวกับของสวยๆ งามๆ พร้อมกับทำนายด้วยว่าไฝที่ใบหน้าเป็นไฝที่มีชื่อเสียง และในที่สุดจะได้เป็นมหาเสนาบดีแต่ไม่ได้เป็นอัครมหาเสนาบดี” เมื่ออ่านแล้วรู้สึกขำกลิ้งพร้อมกับคิดในใจว่า “อย่างว่าแหละหมอดูก็คู่กับหมอเดา จะไปเอาสาระสำคัญอะไรได้จากการดูหมอ” ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่าเวลาผ่านไป ๒๐ ปี คำทำนายทุกอย่างเป็นจริงหมด เหลือแต่รอคำทำนายที่ว่า “จะได้เป็นมหาเสนาบดีหรือรัฐมนตรีเมื่อไรเท่านั้น”
    เรื่อง... "ไตรเทพ ไกรงู"
    ภาพ... "ปราโมทย์ พุทไธสง"
     

แชร์หน้านี้

Loading...