ลำดับในการทำสมาธิที่ เริ่มจากที่จิตไม่สงบฟุ้งซ่าน แล้วเข้าสู่การทำสมาธิในแต่ละขั้นตอน

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 6 สิงหาคม 2005.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    ลำดับในการทำสมาธิที่ เริ่มจากที่จิตไม่สงบฟุ้งซ่าน แล้วเข้าสู่การทำสมาธิในแต่ละขั้นตอ

    [​IMG]




    ถาม : ทีนี้ขั้นตอนแล้วก็ลำดับในการทำสมาธิที่บอกว่า เริ่มจากที่จิตไม่สงบฟุ้งซ่านแล้วเข้าสู่การทำสมาธิในแต่ละขั้นตอนเขามีชื่อบอกในแต่ละขั้นอย่างไรบ้างคะ ?

    ตอบ : จะเริ่มจากตัวขณิกสมาธิ คือเริ่มจากสมาธิเล็กน้อย ต่อไปอุปจารสมาธิ ใกล้จะเป็นสมาธิแล้วใกล้ฌาน แล้วก็อัปนาสมาธิแปลว่า สมาธิแนบแน่น ก็เริ่มจากปฐมฌาน คือความเคยชินขั้นที่ ๑ ทุติยฌานคือความเคยชินขั้นที่ ๒ ตติยฌาน คือความเคยชินขั้นที่ ๓ จตุตถฌาน ความเคยชินขั้นที่ ๔
    แล้วหลังจากนั้นถ้าเราทำอรูปฌานต่อ ก็จะเป็นอากาสานัญจายตนฌาน คือการละรูปไปพิจารณาอากาศ วิญญานัญจายตนฌาน คือการละจากรูปไปพิจารณาวิญญาณ อากิญจัญญายตนฌาน คือการละจากรูปไปพิจารณาความไม่มีอะไรเหลือเลย แล้วก็เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือการละจากรูปไปไม่จับทั้งการมีสัญญาหรือไม่มีสัญญา รวมแล้วจะเป็นเรียกว่า สมาบัติ ๘ คือการเข้าถึง ๘ ขั้นตอน

    คราวนี้มันจะมีพิเศษว่า ถ้ากำลังของเราสูงกว่านั้นสามารถเข้าถึงระดับอนาคามีและทรงสมาบัติ ๘ เป็นปฏิสัมภิทาญาณ เราจะได้อีก ๒ สมาบัิติ เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ

    ถาม : แล้วเป็นยังไงคะ ?

    ตอบ : อธิบายยาก นิโรธสมาบัติจะเป็นลักษณะของการที่จิตของเราจับนิ่งอยู่เฉพาะที่ อาจจะเป็นที่พระนิพพานอยู่ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือว่าเคลื่อนอยู่ตามภพภูมิต่าง ๆ ก็ได้แล้วแต่เราต้องการ แต่ว่าทั้ง ๒ สภาพนั้นตามที่ว่านั้นจิตจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกายแม้แต่นิดเดียว สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่าการดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาทั้งปวง เหมือนกับคนตายดี ๆ นี่เอง เขาว่ากันทีหนึ่ง ๗ วัน ๑๕ วัน ความจริงจะมากเกินกว่านั้นก็ได้ เพราะกำลังมันพอ พระพุทธเจ้าไม่แนะนำให้ทำเนื่องจากว่าร่างกายที่อดอาหารนาน ๆ มันจะฟื้นคืนได้ยาก ยิ่งอายุมาก ๆ อาจจะป๊อกไปเลย

    ถาม : ทีนี้ถ้าเราใช้สมาธิช่วยในการเจ็บบรรเทาปวดหรือการรักษาเกี่ยวกับร่างกายของเรา การเดินสมาธิแบบนี้จะต้องทำอย่างไรบ้างคะ ?

    ตอบ : ทำให้สูงสุดเท่าที่เราทำได้ โดยเน้นตรงอานาปานสติ คือลมหายใจเข้า-ออกของเรา ถ้าหากว่าเรามีความชำนาญคือเข้าฌานไปเลย ทันทีทีี่ถึงปฐมฌานความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทางกายก็จะเป็นส่วนของกาย จิตของเราจะเป็นส่วนของจิต คือจิตกับกายมันแยกจากกัน ในเมื่อจิตกับกายเริ่มแยกจากกัน ยิ่งเข้าสู่สมาธิสูงมากเท่าไรก็ยิ่งแยกห่างขึ้นเท่านั้น อาการรับรู้ที่เกิดขึ้นกับร่างกายที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะขาดลงเหมือนกับไม่ป่วย

    ถาม : จะรักษาตัวได้ก็เฉพาะตอนที่เราทำสมาธิหรือคะ ?

    ตอบ : ถ้าหากว่าสมาธิทรงตัวอยู่ก็จะสามารถระงับอาการของร่างกายได้ตลอดเวลา แต่ว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้จำเป็นต้องซักซ้อมหาความชำนาญให้มากไว้ ไม่อย่างนั้นเวลาเกิดเวทนาแรงกล้าขึ้นมาบางทีก็จะสู้มันไม่ไหว

    เนื่องจากว่าสมาธิของเรามันเป็นเครื่องอาศัยที่มันก็มีเกิดมีเสื่อม ถ้าสภาพร่างกายมีร้อนเกินไป หนาวเำิกินไป หิวเกินไป เหนื่อยเกินไป หรือว่าเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยบางทีมันไม่เอากับเราเลย

    ถาม : อย่างที่เขาใช้สมาธิรักษามะเร็งได้นี่จริงมั้ยคะ ?

    ตอบ : จริงจ้ะ แต่อันนั้นต้องหมายถึงว่ากรรมของเราไม่หนัก เพราะว่า ถ้าโรคบางอย่างรักษาหรือไม่รักษาก็หาย โรคบางอย่างต้องรักษาจะหายถ้าไม่รักษาถึงตาย โรคบางอย่างรักษาหรือไม่รักษาก็ตาย

    ถาม : ทีนี้อย่างคนที่เจ็บป่วยนี่ แล้วเขามีการใช้พลังจักรวาลช่วยรักษา อย่างนี้จะเป็นการฝืนกฎของกรรมหรือไม่คะ ?

    ตอบ : จะเรียกว่าไปฝืนก็ไม่ได้ เพราะถ้าเขาทำได้ก็แปลว่ากำลังบุญของเขายังมีอยู่ ในเมื่อกำลังบุญของเขามีอยู่เพียงพอที่ทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการฝืนกฎของกรรม

    ถาม : คือบางทีนี่มีการส่งพลังไปจากตัวเราไปให้กับอีกคน กับการที่ให้เขาทำเองโดยที่เขาฝึกของเขาเองนี่ อันไหนจะดีกว่ากันคะ ?

    ตอบ : ส่วนใหญ่ไปถามที่คนป่วย มันก็จะให้เขาทำให้จะดีกว่า แต่ถ้าให้เขาฝึกได้เองต่อไปเขาไม่ต้องพึ่งใคร ดังนั้นการฝึกได้เองสมควรว่าดีกว่าแน่นอนกว่า แล้วเราเองก็เหนื่อยน้อยกว่าคนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่เท่าที่ผ่านมาจะให้ช่วยท่าเดียว




    ขอขอบคุณ
    เว็ป กระโถนข้างธรรมาสน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2013
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...