รู้ทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 18 เมษายน 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    แสดงโดยรวมกว้างๆ คือ กุศลขั้นสมถภาวนา เป็นกุศลขั้นสูงสุด ตามคำสอนลัทธิภาย
    นอกพระพุทธศาสนา ผลคือ ความสงบของจิต ระดับฌานขั้นต่างๆข่มกิเลสไว้ เมื่อ
    ฌานไม่เสื่อมบังเกิดเป็นพระพรหม เมื่อหมดอายุแล้วต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก
    ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้า กุศลขั้นสูงสุดคือวิปัสสนาภาวนา อริยมรรคมีองค์แปด
    เมื่ออบรมเจริญถึงที่สุดแล้ว ดับกิเลส พ้นจากทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาเกิดอีก แต่
    เมื่อพิจารณาตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงไว้ พระองค์ทรงแนะนำพระ
    สาวกให้เจริญกุศลทุกประการ คือ ทาน ศีล สมถะ วิปัสสนา และเป็นไปไม่ได้ที่จะมี
    เพียงกุศลขั้นวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ผู้ที่อบรมเจริญต้องมีกุศลขั้นอื่นๆด้วย เช่น ข้อ
    ความในชฏาสูตรตอนหนึ่งมีว่า
    นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีลอบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่
    เป็นผู้มี ความเพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้..
    จากข้อความสูตรนี้จะเห็นได้ว่า สำหรับพระภิกษุต้องมีศีล เจริญสมถะและวิปัสสนา
    ในอรรถกถาท่านเปรียบเหมือนการที่บุคคลจะตัดต้นไม้ใหญ่(กิเลส) ต้องอาศัยแผ่นดิน
    คือศีล เป็นที่ยืน ศาสตรา คือปัญญา หินลับมีด คือ สมาถะ ความพยายาม คือ วิริยะ
    จึงจะตัดต้นไม้คือกิเลสได้ ถ้ามีเพียงมีด หรือขวาน แต่ไม่มีที่ยืน ไม่มีหินลับ ไม่มีความ
    เพียรพยายาม ก็ไม่สามารถตัดต้นไม้คือกิเลสได้ อนึ่งทรงแสดงกุศลที่เป็นใหญ่ คือ
    อินทริย์ หรือ พละ ก็มีถึง ๕ ประเภท ไม่ใช่เพียงปัญญาเท่านั้น แม้องค์มรรคก็มีถึง ๘
    องค์ แม้บารมีก็ต้องอบรมถึง ๑๐ ประการ จึงจะถึงฝั่งคือพระนิพพานได้
    สรุปคือ กุศลทุกประการสนับสนุนเกื้อกูลกันตลอด ไม่ต้องแยกว่าจะเจริญอย่างหนึ่ง
    ไม่เอาอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ
    การพบกันครั้งสุดท้ายก่อนตายจากไปนั้น ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    เลยที่จะแสดงให้รู้ว่า เมื่อเห็นกันแล้วจะไม่ได้เห็นกันอีก เมื่อเห็นตอนเช้าก็อาจไม่ได้
    เห็นตอนเย็น เห็นตอนเย็นก็อาจจะไม่ได้เห็นตอนเช้า ทุกคนเห็นความจริงว่า ไม่มีใคร
    สามารถหลีกเลี่ยงหรือต่อรองความตายได้ จะขอเวลาต่อแม้เล็กน้อยก็ไม่ได้

    ฉะนั้น การกล่าวถึงชีวิตของแต่ละคน ก็ไม่พ้นจากการพิจารณาสภาพธรรมที่
    เกิดขึ้นเป็นแต่ละบุคคล ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาเลย เมื่อพูดกันถึงผู้ตาย ก็ควร
    จะได้ระลึกถึงสภาพจิตในขณะนั้นว่าแยบคายหรือยัง แทนที่จะโศกเศร้า เสียใจ อาลัย
    อาวรณ์ ก็ควรจะเป็นความเบิกบานในพระธรรม ที่ได้เข้าใจความจริงอันเป็นสัจจธรรม
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงถึงธรรมดาของการเกิด ซึ่งต้องมีการตาย
    เมื่อเกิดแล้วที่จะไม่ตายนั้นไม่มี และการตายนั้นก็ไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้เลย เมื่อ
    เข้าใจความจริง ก็รู้ว่าความจริงเป็นสัจจธรรม
    ผู้ทำอกุศล ก็ต้องรับผลของอกุศลอยู่แล้ว
    ไม่ก้าวก่ายในอกุศลของผู้อื่น กิเลสของ
    ตัวเองทำให้คิดหมุนวนอยู่ อย่าชอบไป
    เดาความคิดของผู้อื่น กิเลสของเราทำ
    ให้เราไม่มีความสุข จงคิดเป็นกุศล การ
    ฟังพระธรรมเสมอๆ ความเข้าใจพระธรรม
    ย่อมสะสมไปในภพหน้า
    เอาบุญมาฝากได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
    เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
    ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
    และเจริญอาโปกสิน
    เจริญ เทวตานุสติ สีลานุสติ มรณานุสติ อุปสัมมานุสติ
    นั่งสมาธิ เดืนจงกรม
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
    ขอเชิญร่วมสร้างโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย
    โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาบ้านม่วง
    ชื่อบัญชี โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟบ สุภัทโท
    เลขที่บัญชี ๖๓๖ - ๐-๓๑๓๗๖- ๘

    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,688
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]

    "การตายนั้นก็ไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้เลย
    เมื่อเข้าใจความจริง ก็รู้ว่าความจริงเป็นสัจจธรรม"

    ขออนุโมทนาค่ะ



     
  3. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ

    ___________________________

    "สุขใดเหมือนแม้นการเกิดไม่มี" "จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงซึ่งนิพพาน"
    "สุขใดในโลกล้วนไม่ยั่งยืน ผู้ใดปล่อยวางพิจารณาในทุกข์เห็นโทษของความสุขผู้นั้นได้ชื่อว่าพบความสุขอันยิ่งใหญ่"
     

แชร์หน้านี้

Loading...