เรื่องเด่น รื่นร่มรมเยศ : เพลงรักจากพระไตรปิฎก : เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 27 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    0b988e0b8a1e0b8a3e0b8a1e0b980e0b8a2e0b8a8-e0b980e0b89ee0b8a5e0b887e0b8a3e0b8b1e0b881e0b888e0b8b2.jpg

    เพลงรักบทนี้ มีข้อความควรกล่าวถึงสองประการ คือ

    ประการแรก ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยการไหว้ติมพรุ บิดาแห่งนางภัทรา แทนที่จะบรรยายความรักพรรณนาความงามแห่งนางที่รักแต่อย่างเดียว เล่ากันมาว่า เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานิวัดติวงศ์ทรงวาดภาพเสร็จใส่คำบรรยายใต้ภาพว่า “วนฺเท เต ปิตรํ ภทฺเท ติมฺพรุ สุริยวจฺฉเส” กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเห็นแล้วสรวลก๊ากว่า “เจ้าหมอนี่ งุ่นง่าน จะเกี้ยวสาวทั้งทีมัวไหว้พ่อตาอยู่ได้” แต่ถ้าพิจารณาอีกแง่หนึ่ง การที่ปัญจสิขะไหว้พ่อนางก่อน เป็นหลักจิตวิทยาอย่างดี อย่างน้อยก็ทำให้ฝ่ายหญิงรู้สึกภูมิใจว่า เขาให้เกียรติบิดาผู้เป็นที่รักและเคารพแห่งตน อีกอย่างก็เป็น “การเข้าตามตรอก ออกตามประตู” ดีทีเดียวที่ทำให้พ่อฝ่ายหญิงเอ็นดูได้ เมื่อพ่อเห็นดีเห็นงามด้วยแล้วจะไปไหนเสีย แต่วิธีนี้จะได้ผลเพียงใดหรือไม่ เราไม่มีโอกาสทราบ ตำราบอกเพียงว่าปัญจสิขะกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า พอนางภัทราได้ฟังเพลงของเขาก็มีควาพอใจ ได้ขอพบเขาเป็นการส่วนตัว และซักไซร้ไต่ถามถึง “พระศากยมุนี” ที่เขากล่าวในเนื้อเพลงเป็นใคร แต่เขาจะได้ครองรักสมปรารถนาหรือไม่ในกาลต่อมา ตำราก็มิได้ระบุถึงเช่นเดียวกัน

    ประการที่สอง ความวิเศษของเพลงนี้อยู่ที่ผู้แต่งสามารถยกอุปมาอุปไมยมาเปรียบเทียบให้มองเห็นภาพพจน์ได้ดีนัก ข้อเปรียบเทียบอย่างอื่นจะไม่พูดถึง จุดเด่นอยู่ที่เข้าใจยกเอาความสุขอันเกิดจาก ความรักของตน (ซึ่งเป็นราคะกิเลส) กับความสุขขั้นวิมุติ (อันเป็นวิราคะพ้นกิเลส) มาเปรียบกันได้อย่างสนิทสนมกลมกลืน ทั้งๆ ที่สองสิ่งนี้อยู่คนละมุม คือตรงกันข้ามทีเดียว แต่เพราะรู้จักเปรียบจึงฟังไม่เขิน เช่นแทนที่จะพูดว่า “ฉันรักและใฝ่ถึงเธอ เหมือนรักและใฝ่ฝันพระนิพพาน” (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะความรักและความใฝ่ฝันพระนิพพานได้อย่างไร) จึงเลี่ยงพูดใหม่ว่า

    “ฉันรักเธอและใฝ่ฝัน ถึงเธอเหมือนพระศากยมุนีโพธิสัตว์ รักและใฝ่ฝันพระนิพพาน” และว่า “ถ้าความรักฉันสมหวัง ฉันคงมีความสุขเหมือนพระมุนีเจ้า พึงเสวยสุขอันซาบซึ้ง” (หลังจากบรรลุพระนิพพานแล้ว) ดังนี้เป็นต้น

    ๑ “สุริยายอแสง”(สุริยาวัจฉสา)เอย
    ข้าขอไหว้ติมพรุบิดาแห่งเจ้า
    ผู้ให้กำเนิดแก่นงเยาว์ ผู้สูงศักดิ์
    สุดที่รักแห่งใจข้า

    ๒ นางผู้เลอโฉมเอย
    ข้ารักและปรารถนาเจ้า
    เหมือนคนร้อนแดดแผดเผา เหงื่อโทรมกาย
    ต้องการสายลมพักโบกให้เย็นสกนธ์
    เสมือนคนกระหายน้ำ ต้องการน้ำดื่มอันเย็นสนิท
    เสมือนพระอรหันต์รักอมฤตนฤพาน

    ๓ ได้โปรดเถอะนางเอย
    โปรดบรรเทาความเร่าร้อน กระวนกระวายแห่งข้า
    ดังหนึ่งเภสัชรักษาคนป่วยให้หายพิษไข้
    ดังหนึ่งให้โภชนาทหารแก่คนหิวโหย
    และโปรยวารีดับกองอัคนีที่ลุกโชน

    ๔ พยาคชสารถูกแดดแผดเผาเร่าร้อน
    รีบลงนอนในน้ำเย็นสนิท
    แห่งสระโบกขรณีอันดารดาษบานสะพรั่ง ฉันใด
    ข้าใคร่ซบพักตร์ บนทรวงอกแห่งยอดกัลยาฉันนั้น

    ๕ ข้าคลั่งไคล้ใหลหลง
    ในรูปโฉมโนมพรรณอันเลอลักษณ์
    ดังคชสารเหลือขอ
    มินำพาต่อขอและโตมรณะนั้น

    ๖ ดวงใจข้าตกห้วงรัก
    กระสันปั่นป่วนด้วยแรงสวาท
    จนมิอาจดิ้นหลุด
    ดุจมัสยาติดเบ็ดก็ปานกัน

    ๗ กอดข้าสินางเอย
    กอดข้าสินางผู้ตาหวาน
    นี่เป็นความต้องการแห่งข้า

    [​IMG] [​IMG]

    ๘ ความรักของข้า
    ที่มีต่อนางผู้มีเกศาอันงามงอน
    แต่ก่อนกาล ก็เพียงเล็กน้อย
    บัดนี้ ค่อยทวีไพศาล
    ประดุจทักษิณาทาน
    ที่ถวายแด่พระอรหันต์
    (แม้น้อย ก็ย่อมมีผลไพศาล) ฉะนั้น

    ๙ โอ้นางผู้งามล้ำทั่วสรรพางค์
    บุญใด ที่ข้าสร้างไว้
    ในพระอรหันต์ ผู้มีจิตมั่นคง
    ขอบุญนั้น จงเผล็ดผล
    ให้ได้นฤมล เป็นคู่ครอง

    ๑๐ และบุญใดเล่า ในปฐพีที่บำเพ็ญมา
    ขอบุญนั้น จงเผล็ดผล
    ให้ได้นฤมล เป็นคู่ครอง

    ๑๑ “สุริยายอแสง”เอย
    ข้ารักและปรารถนาเจ้า อย่างสุดซึ้ง
    ดังหนึ่งพระศากยมุนี มีสติ ปรีชาญาณ
    ทรงบำเพ็ญฌานสมาธิจิต
    ปรารถนาอมฤตนฤพาน

    ๑๒ ผิรักข้า สัมฤทธิ์
    ได้ครองรักสนิท กับเจ้าไซร้
    ดวงใจข้า พึงเกษมเปรมปรีดิ์
    ดังหนึ่งพระมุนี พึงปราโมทย์
    เมื่อบรรลุสัมโพธิ อุดมญาณ

    ๑๓ ภัทราเอย
    ผิสักรินทร์เทวราช
    ผู้มีอำนาจในไตรตรึงษ์
    พึงประทานพรแก่ข้า
    ข้าขอเลือกเอา กัลยาเป็นพร
    ความรักข้ามั่นคงนิรันดร ปานฉะนี้

    ๑๔ นางผู้ฉลาดเอย
    ข้าขอไหว้ ติมพรุชนกนาถ
    ผู้มีดรุณีธิดาแสน พิลาสละคราญตา
    ดังต้นสาลพฤกษ์
    ที่เพิ่งเผล็ดดอกบานสะพรั่ง ฉะนั้นแล

    ถ้าเราอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว จะเห็นได้ว่าเพลงรักบทนี้มิได้ละเมอเพ้อพกแต่เรื่องโลกียวิสัยเพียงอย่างเดียว หากแฝงแง่คิดในธรรม อย่างลึกซึ้งและชาญฉลาดอีกด้วย ในขณะที่เรามองเห็นความคลุ้มคลั่งแสวงหา ราคะและความสุข (จอมปลอม) อันพึงเกิดจากราคะของปัญจสิขะ จะสะท้อนให้เราเห็นภาพอีกมุมหนึ่ง นั่นคือ พระศากยมุนีโพธิสัตว์ก็กำลังขะมักเขม้นแสวงหาเช่นกัน แต่เป็นการแสวงหาความสุขเนื้อแท้ สงบเยือกเย็น อันเกิดจากวิราคะ (หมดกิเลส)

    การที่มิได้พร่ำเพ้อรำพัน แต่เรื่องโลกีย์แต่อย่างเดียว หากแฝงไว้ซึ่งแง่คิดในธรรม และมีสารัตถประโยชน์อีกด้วย เช่นนี้ดอกกระมังคือเหตุผลที่ว่าทำไมท่านจึงรวบรวมเพลงรักบทนี้และบทเดียวไว้ในพระไตรปิฎก

    ดร.วินดิช นักปราชญ์ชาวเยอรมันคนหนึ่งกล่าวว่า เพลงรักของปัญจสิขะเป็นมาตรฐานของวรรณคดีอินเดียทั่วไป ดังจะเห็นได้ว่าจากมหาภารตะ ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมชั้นเลิศก็แฝงแง่คิดทางธรรมและมีสารัตถะดังกล่าวเช่นกัน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/columnists/news_971257
     

แชร์หน้านี้

Loading...