ระบบเตือนทำนายภัยจาก ‘ภูเขาไฟตองกา’ต่ำไปช็อกเวฟกระแทกแรงทุบสถิติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 29 มกราคม 2022.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b7e0b8ade0b899e0b897e0b8b3e0b899e0b8b2e0b8a2e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b888e0b8b2e0b881-e0b8a0e0b8b9.jpg

    นักวิทยาศาสตร์เผย แบบจำลองประเมินคลื่นกระแทกอันเกิดจากภูเขาไฟตองกาปะทุต่ำเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว คลื่นกระแทกขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา


    วันนี้ ( 29 ม.ค. 65 )การปะทุของภูเขาไฟในประเทศตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม ได้ส่งคลื่นกระแทกรบกวนคลื่นวิทยุ ที่กระจายออกไปเกือบความเร็วเสียง ส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่กระทบพื้นที่ทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งญี่ปุ่น ไปจนถึงชายฝั่งเปรูในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งสองประเทศนี้ อยู่ห่างกันหลายพันกิโลเมตร แต่การทำนายของระบบเตือนภัยและแบบจำลอง ไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง เมื่อเกิดคลื่นซัดฝั่ง


    ภาพถ่ายดาวเทียมของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตต์ โลเวลล์ ระบุว่า คลื่นกระแทกขนาดใหญ่ อันเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ”ฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮาอาปาย” ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ กวาดทำลายหมู่บ้านและรีสอร์ตต่างๆ จนราบเป็นหน้ากลอง รวมถึงตัดการสื่อสารทั้งหมดในตองกา ซึ่งมีประชากรราว 105,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย

    อย่างไรก็ตาม ชาวตองกา มีเครื่องมือจัดการคลื่นสึนามิ เนื่องจากตองกา ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก ถูกมองว่า เป็นประเทศที่มีการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุด และมีการซ้อมรับมือสึนามิมานานหลายปี ดังนั้นประชาชนชาวตองกาจำนวนมาก จึงรู้วิธีอพยพไปอยู่บนที่สูง แต่ประเทศเปรู ในอเมริกาใต้ ซึ่งอยู่ห่างจากตองกาอย่างมาก ขาดข้อมูลที่แม่นยำ จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายจากคลื่นสูงผิดปกติ


    เฮอร์มันน์ ฟริตซ์ วิศวกรโยธาแห่งมหาวิทยาลัยจอร์เจีย เทค ซึ่งเป็นผู้ศึกษาคลื่นยักษ์สึนามิ เปิดเผยว่า มีความจำเป็นต้องประเมินกันใหม่ เพราะสึนามิอันตราย และสึนามิที่มีสาเหตุมาจากภูเขาไฟไม่ค่อยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ และคลื่นกระแทกจากภูเขาไฟของตองกา ถือเป็นคลื่นกระแทกขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา คล้ายคลึงกับคลื่นกระแทก ที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี 1883

    นอกจากนี้ คลื่นกระแทกจากภูเขาไฟตองกา เคลื่อนไหวได้ไกลกว่า 300 เมตรต่อวินาที และเป็นคลื่นกระแทกที่ทรงพลัง

    ภาพจาก : รอยเตอร์


    ขอบคุณที่มา
    https://www.tnnthailand.com/news/world/103369/
     

แชร์หน้านี้

Loading...