ยุคภาวะโลกร้อนสู่ความร่วมมือการจัดการทรัพยากร

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 มีนาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>ยุคภาวะโลกร้อนสู่ความร่วมมือการจัดการทรัพยากร

    คอลัมน์ Active Opinion

    โดย สุจิณณา กรรณสูต

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    200703011137580.jpg

    จากสภาวะการสะสมก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas) ในชั้นบรรยากาศ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) สู่ภาวะโลกร้อน (global warming) ส่งผลให้ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบเขตร้อนมีระดับความชื้นเพิ่มขึ้นและก่อตัวเป็นเมฆแบบ cumulus cloud เพิ่มขึ้นในบรรยากาศโลกชั้นล่าง (troposphere)

    เนื่องจากความร้อนของบรรยากาศจึงทำให้การระเหยของน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติสู่ชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้น แบบ positive feedback ขณะที่บางพื้นที่เกิดความแห้งแล้ง นอกจากนั้นก๊าซเรือนกระจกยังทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก (H 2 CO 3) ในน้ำฝนทำให้มีค่า pH ต่ำกว่า 6 อีกด้วย

    จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิโดยใช้ cramer"s test ในรอบ 2549 ปี จนถึงปัจจุบัน พบว่าปริมาณฝนรายปีของประเทศต่ำกว่าค่าปกติ และมีแนวโน้มลดลงในทุกภาคของประเทศ และผลการวิเคราะห์อุณหภูมิปรากฏว่า อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากที่สุด 0.7 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออก และทุกภาคของประเทศมีแนวโน้มของอุณหภูมิสูงขึ้น

    จากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อสังเกตบางส่วนของสภาพอากาศที่ขาดเสถียรภาพในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างประเทศแคนนาดา ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ได้พยายามเร่งรัดให้รัฐบาลดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูงถึง 33% ซึ่งสูงเกินกว่าข้อกำหนดในพิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol)

    ปัจจุบันมีการก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่า the Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization -WMO) โดย IPCC มีเป้าหมายหลักสำคัญคือ การประเมินองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคมและเศรษฐศาสตร์ เพื่อประเมินผลกระทบต่อมนุษย์และทรัพยกรธรรมชาติ รวมทั้งการวางแนวทางแก้ไขจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลและองค์กรเอกชนจากทั่วโลก

    จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกต่อทรัพยากรธรรมชาติสู่ความร่วมมือระดับโลกนั้น ในส่วนของประเทศไทยก็ได้ตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน จากตัวอย่างการการเสวนา เรื่อง 60 ปี แห่งพระราชกรณียกิจ แก้ไขปัญหาทรัพยากรเกษตร ดิน น้ำ ป่าไม้ จัดขึ้นโดยมูลนิธิอานันทมหิดล ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ผ่านมา โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทสำคัญระดับประเทศร่วมเสวนา อาทิ ปราโมทย์ ไม้กลัด รศ.ดร.เจษฎา แก้วกัลยา ทั้งสองเป็นผู้ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล สาขาวิศกรรมชลประทาน ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว คณบดีวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มก. และ ชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน

    ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือทั้งในระดับโลกและระดับประเทศต่างมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อการประเมินติดตามสภาพอากาศ ด้วยเทคโนโลยีและการแนวทางจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างรอบคอบ และรู้คุณค่าเพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ อันจะนำไปสู่การลดการเกิดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อไป
    ------------------
    Ref. http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01epe04020350&day=2007/03/02&sectionid=0147
     

แชร์หน้านี้

Loading...