วีดีโอ ยอม ธรรมะบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 8 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ................ 170x170bb.jpg
    ยอม ธรรมะบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
    รายการธรรมปทีป วัดยานาวา 600806

    nimmalo channel
    :-
    Published on Aug 7, 2017

    ยอม ธรรมะบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
    ยอมรับความผิด
    ให้โอกาสคนอื่น เตือนเรา
    ......ในทางพุทธศาสนาเนี่ย
    พระพุทธเจ้าจะให้ธรรมเนียมสำหรับพระภิกษุ
    เพื่อที่จะ ลด ละ กิเลสของแต่ละองค์ แต่ละท่าน
    ก็คือ ด้วยการปวารณาให้โอกาส

    " ให้โอกาสกับคนอื่นมาตักเตือนเรา"
    ความผิดนั้นเราอาจจะยังไม่เห็น
    แต่พอคนเขาตักเตือนมา
    อ้าว.... เออใช่ผิด!!!
    อย่างนี้ยอมรับความผิดที่ตัวเองเป็นอยู่

    พอเห็นว่าตัวเองผิด ถ้าผิดในเรื่องของศีล
    ให้ไปปลงอาบัติ หรือไปแก้ไขตามลักษณะอาบัตินั้นๆ
    ถ้าผิดในเรื่องของธรรมก็แก้ไขใหม่คือทำให้มันถูกซะ
    ถ้าผิดต่อคนเช่นล่วงเกินกัน ...
    ผิด ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อย่างไร
    .. ไปขอขมากัน ..

    รักความก้าวหน้า ไม่รักหน้าตัวเอง
    ตัวเองเนี่ยมีทิฏฐิ มีมานะ ว่าฉันเนี่ยเก่ง ฉันเนี่ยดี

    แต่พอถึงคราวมาเป็นพระ เป็นนักบวชแล้วเนี่ย
    ต้องลดทิฏฐิ ลดมานะของตัวเอง
    หวังความก้าวหน้าของตัวเอง ไม่หวังใบหน้า
    ไม่หวังมานะ ไม่เอามานะเป็นตัวเชิดชู
    แต่จะหวังความก้าวหน้าทางจิตใจ พัฒนาจิตใจไปเรื่อยๆ

    ก็คือเห็นความไม่ดีเนี่ยแหละ
    ความดีจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ

    ยอมให้เขาชนะ
    โดยที่เราเนี่ย มีสติรู้อยู่ว่าเราไม่ผิด อย่างนี้ได้

    ยอมให้เขาข่มขี่ ยอมให้เขาทำร้าย
    โดยที่เราเจริญกุศลตัวหนึ่ง คือ
    มีความอดทน มีความ มีความขันติ เจริญกุศล

    เราเจริญกุศล ดูเหมือนโง่
    คือ ทำไมไม่ตอบโต้ รู้ว่าไม่ผิดทำไมไม่ตอบโต้
    แต่ขณะนั้นเนี่ย บางทีคนอื่นมองว่าโง่
    แต่เราเนี่ยกำลังเจริญกุศลคือ มีขันติ
    ...

    ในขั้นของการภาวนา
    ถ้าทำสมถะยอมแบบหนึ่ง ถ้าทำวิปัสสนายอมแบบหนึ่ง

    ทำสมถะก็คือว่า
    ยอมให้ใจอยู่กับอารมณ์ที่อยู่แล้วมันมีความสุข
    ไม่ต้องดิ้นรนอะไร หาอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว
    อยูกับอารมณ์นั้นนิ่งๆ นานๆ
    เรียกว่า ได้สมถะ ได้ความสงบ

    แต่ถ้ายังหาอารมณ์ที่ จิตไปอยู่กับตรงนั้น
    แล้วยอมนิ่งๆนานๆ ไม่ได้
    ถ้าในแง่ของนักภาวนานะ
    ไม่ยอมที่จะเสียเวลา แต่จะยอมอีกแบบหนึ่ง
    คือ ยอมที่จะรู้ความจริงว่า
    มันไม่สงบ ยอมรับว่ามันไม่สงบ
    มันจะเข้าไปอยู่อีกทางคือ ทางของวิปัสสนา

    ยอมรับไม่ยื้อ

    เพราะของไม่ดีเหล่านั้นเป็นอกุศล
    ตอนเห็นเนี่ยเป็นกุศล คือมีสติ
    กุศลกับอกุศล จะอยู่ด้วยกันขณะเดียวกันไม่ได้

    สมถะ-วิปัสสนา และอารมณ์

    สมถะเนี่ยจะให้ความสำคัญกับอารมณ์
    อยู่กับอารมณ์ไหน เช่น ดูลมหายใจ
    ก็ให้ความสำคัญกับลมหายใจ
    จิตจะอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว
    จิตจะไปเพ่ง จิตจะไปสนใจอยู่กับลมหายใจ
    ไม่สนใจอย่างอื่น รับรู้แต่อารมณ์ คือ ลมหายใจ

    ถ้าเป็นพุทโธก็ เพ่งอยู่กับพุทโธรับรู้อยู่แต่พุทโธ
    ความรู้สึกความรับรู้ จะมีแต่คำว่า พุทโธๆ
    คือให้ความสำคัญกับอารมณ์

    แต่วิปัสสนา ให้ความสำคัญมาที่ใจ ที่จิต
    เวลาพุทโธก็ไม่ใช่สักว่า จะเอาพุทโธเพื่อพุทโธ
    แต่พุทโธเนี่ยจะเห็นว่า
    พุทโธเป็นอารมณ์ที่ถูกรู้โดยจิต

    ยื้อไม่ได้แต้ม

    มีพุทโธ เป็นเครื่องอยู่
    เทียบกับการเล่นเกม เป็นเพียงปุ่มสตาร์ท
    เป็นเพียงจุดเริ่มต้น มีพุทโธเป็นเครื่องอยู่
    ขณะที่อยู่กับพุทโธก็รู้ว่า พุทโธเนี่ยถูกรู้โดยใจ
    ถ้าตรงนี้ยังไม่ได้ มันลืมพุทโธไปแล้ว
    ไปนึกถึงอะไรก็ได้ที่มันไม่ใช่พุทโธ

    นึกถึงไปแล้วระลึกได้ทันทีว่า เมื่อกี้เผลอไป
    ก็ถือว่าใช้ได้ มีความรู้ตัวว่ามีความเผลอเกิดขึ้น
    ยอมรับว่ามีสิ่งนี้เกิดขึ้นจริงๆ

    ถ้าไม่ยอมรับนะจะมีอาการยื้อ คือไม่ยอมรับ
    เห็นความฟุ้งซ่านจริง แต่ไม่ยอมรับ
    มีการยื้อ ขณะนั้นเรียกว่า ยังไม่ได้แต้มเลย

    ตัวสำคัญคือยอม ยอมเห็นว่ามันไม่ดี
    พอเห็นว่ามันไม่ดีแล้ว ยอมเห็นเฉยๆ รู้เฉยๆ ดีทันทีเลย
    เห็นว่ามันมีราคะ เห็นว่าทันมีกิเลส ได้สติ
    เห็นว่ามันเคลื่อนไปได้สมาธิ
    เห็นว่ามันทำงานเอง
    ไม่ได้อยากให้มันเผลอเลยมันเผลอเองดีมากเลย
    เพราะเห็นอนัตตา

    เห็นลักษณะพิเศษ
    มุมมองอีกมุมมองหนึ่งที่เข้าใจโลก ตามความเป็นจริง
    เมื่อก่อนคิดอยากจะบังคับเป็นไปตามความอยากให้สภาวะเป็นไปตามอยากของเรา ซึ่งเป็นไปไม่ได้
    ถ้าเป็นไปได้นะ มันจะไม่มีอนัตตา
    มันกลายเป็นว่าขึ้นอยู่กับกู
    จะให้มันเป็นยังใงแล้วแต่กูจะ อยากให้เป็น ซึ่งเป็นไปไม่ได้

    สภาวะต่างๆ มันจะมีธรรมดาของมันคือ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    เราภาวนามาเพื่อให้รู้สิ่ง ๓ อย่างนี้ว่า
    สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ มันไม่เที่ยง
    มันอยู่นิ่งๆ ไม่ได้นาน ต้องถูกบีบคั้นให้เปลี่ยนแปลงไป
    อันนี้เรียกว่า เป็นทุกข์
    แล้วที่มันเป็นไปต่างๆ อย่างนี้ มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
    ไม่ใช่ว่าเราบังคับเอาตามอยากไม่ได้

    ถ้าเป็นไปตามอยากได้ก็เป็นไปตามตัณหา
    แล้วตัณหาไม่ใช่เหตุแห่งปัญญา
    เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นสมุทัย
    เราเพื่อให้มามีความเข้าใจตรงนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2020
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2020
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    170x170bb.jpg
    ประวัติพระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

    นามเดิม กฤช น้อยใจบุญ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
    บิดา – มารดา : นายธรรมนูญ – นางกาญจนา น้อยใจบุญ
    มีพี่ ๓ คน เป็นน้องคนสุดท้อง

    จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทำงานทางโลกอยู่ ๓ ปี

    อุปสมบท เมื่อ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่วัดสังฆทาน ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
    พระราชกิตติโมลี (ปัจจุบันคือ พระธรรมกิตติมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี) เป็นพระอุปัชฌาย์

    สอบได้นักธรรม ชั้นเอก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
    ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ พำนักอยู่ที่ สวนธรรมประสานสุข อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

    งานเผยแผ่ธรรม

     

แชร์หน้านี้

Loading...