มหาวิบัติภัย ภาวะโลกร้อน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 2 เมษายน 2007.

  1. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]


    "สมิทธ" เตือนมหาวิบัติภัย ยัน "ภาวะโลกร้อน" ของจริง​


    สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต


    เมื่อวานนี้(1 เมษายน) นายสมิทธ ธรรมสโรจน์ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยถึงรายงานวิจัยสำรวจภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 ขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ว่า มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะเกิดภัยพิบัติต่างๆ คร่าชีวิตมวลมนุษย์ชาติ เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค พายุฤดูร้อน น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง โลกภัยไข้เจ็บ พืชและสัตว์สูญพันธ์ น้ำทะเลจะขึ้นสูงอีก1เมตร และเหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นในทศวรรษนี้โดยครึ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นแถบเอเซีย โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย จะอยู่ในช่วงระหว่าง 15 ปี และช้าสุดไม่เกิน 20 ปี

    ส่วนในพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ ที่อยู่ติดกับทะเล อาทิ อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร จะได้รับผลกระทบเป็นพื้นที่แรก เนื่องจากพื้นดินบริเวณดังกล่าว อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล อาจส่งผลถึงระบบเศรษฐกิจ ระบบการท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การขนส่ง ภายในประเทศด้วย

    "หากปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบไปทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่ จ.นนทบุรี อ.บางพลี อ.บางบ่อ ก็จะเพาะปลูกไม่ได้ ส่วนประชาชนที่อยู่ในเขตกทม. ก็จะใช้น้ำประปาไม่ได้ เพราะน้ำทะเลหนุนสูงและทะลักเข้าสู่คลองประปา และที่สำคัญกว่านั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็จะถูกน้ำท่วม ระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การคมนาคม ขนส่งก็จะได้รับผลกระทบ จนประเมินค่าความเสียหายไม่ได้" นายสมิทธ กล่าว

    อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้เสนอแนะมาตราการป้องกันเบื้องต้นว่า นอกจากประชาชนจะร่วมกันตระหนักถึงผลมหาวิบัติที่ใกล้จะมาถึงแล้ว รัฐบาลต้องหาวิธีป้องกัน อาทิ การสร้างเขื่อน หรือประตูระบายน้ำ เพราะไม่งั้นอาจเกิดการสูญเสียยิ่งกว่ามหาวิบัติภัยสึนามิที่ผ่านมาได้

    ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศประเทศไทยราย 3 เดือน(เมษายน-มิถุนายน2550)ว่า เดือนเมษายน ประเทศไทยตอนบนอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุด 40-43องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และในบางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ส่วนเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ก็เข้าสู่ภาวะปกติ แต่อาจจะเจอกับพายุ จากทะเลจีนใต้

    [​IMG]
     
  2. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    An Inconvenient Truth : โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง
    จริงหรือ?

    ถึงเวลาแล้วหรือยัง? เหล่ามวลมนุษย์ชาติจะตระหนักและตระหนกกับเสียงแผ่วเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วทุกมุมโลกเกี่ยวกับวิกฤตสภาวะอากาศที่ผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว จนส่งผลให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่!!
    เกิดคลื่นความร้อนแผ่กระจายในหลายพื้นที่ส่งผลให้ปริมาณหิมะในบางพื้นที่ค่อยๆ มลายหายไป เกิดภัยแล้ง พายุถล่มเมือง อุทกภัย และภัยธรรมชาติต่างๆ นานาสารพัด
    หากแต่ต้นเหตุแห่งสภาวะโลกร้อนล้วนมาจากฝีมือ มนุษย์....แล้วมนุษย์จะรับมือกับวัฏจักรความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาตินี้อย่างไร?
    อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นผู้หนึ่งที่ลุกขึ้นมาประกาศตัวแบบดังลั่นว่าถึงเวลาแล้วที่ประชากรโลกต้องตระหนักในเรื่องวิกฤตสภาวะอากาศ และร่วมกันรับมือกับภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังจนเป็นประเด็นต่อสู้ทางการเมืองที่จบลงด้วยการถูกเขี่ยตกเวทีการเมืองในการช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ.2000
    จากนั้น อัล กอร์ จึงตัดสินใจออกเดินสายทั่วโลก เพื่อปราศรัยเรื่องสภาวะความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ จนเป็นที่มาของผลงานหนังสือเรื่อง An Inconvenient Truth ที่เปิดโปงวิกฤตภาวะโลกร้อน มหันตภัยร้ายที่กำลังคุกคามโลกอยู่ขณะนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ปริมาณมหาศาลที่มนุษย์เป็นผู้ก่อถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกหนาขึ้นเท่าไร ก็จะส่งผลให้อุณหภูมิของบรรยากาศโลก มหาสมุทร สูงขึ้นจนถึงระดับอันตรายผืนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือและธารน้ำแข็งบนภูเขาทั้งหมดทั่วโลกค่อยๆ ละลายลงเรื่อยๆ และอาจจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 ฟุต
    วิกฤตโลกร้อนจึงเป็นหายนะ! ที่มวลมนุษย์ต้องร่วมมือกันแก้ไข คุณก็เป็นคนหนึ่งที่จะหมุนโลกไปในทิศทางถูกต้องได้!


    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ข่าวประกอบจากข่าวสด และ อินเทอร์เน็ต
     
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]
     
  4. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <CENTER>
    [​IMG]


    พิษวิกฤตโลกร้อนน้ำตกแห้ง-ป่าลด​


    สภาวะโลกร้อนนอกจากจะทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติด้วย โดยเฉพาะน้ำตกชื่อดังของไทย หลายแห่งเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งด้านความงามและความสมบูรณ์ของผืนป่า แต่ปัจจุบันปริมาณน้ำที่เคยมีอย่างท่วมท้นกลับลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย
    "คม ชัด ลึก" สำรวจน้ำตกที่มีชื่อเสียงติดอันดับต้นๆ ของประเทศส่วนใหญ่พบว่า ถึงแม้จะเป็นช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำที่มีอยู่ก็น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ค่อนข้างมาก จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ทราบว่า บางแห่งในฤดูแล้งแทบจะไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตกไทรโยคใหญ่ ไทรโยคน้อย ไทรโยคเล็ก

    ซึ่งนายธวัชชัย สายชู ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค เปิดเผยว่า เป็นผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจกและลานินญ่า ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทั่วโลก และประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงเช่นกัน
    นายธวัชชัย บอกว่า แม้สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยคบนเนื้อที่ 5 แสนไร่ ยังคงความสมบูรณ์ มีลำห้วยขนาดใหญ่ไหลผ่าน แต่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นอยู่ก็ส่งผลต่อปริมาณน้ำในน้ำตกทั้ง 3 แห่ง เนื่องจากฝนตกไม่ต้องตามฤดูกาล และตกน้อยกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกไทรโยคหายไปอย่างเห็นได้ชัด หน้าแล้งแทบไม่มีน้ำ จนอุทยานต้องจัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ ดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น การเดินป่าและดูนก ฯลฯ
    "การบุกรุกป่าขณะนี้ควบคุมได้แล้ว โดยมีแนวร่วมภาคประชาชนเข้ามาร่วมมือกัน ทุกคนเห็นความสำคัญของผืนป่า แต่ที่เป็นปัญหาคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของโลก อย่างสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในน้ำตกน้อยลงอย่างน่าใจหาย" นายธวัชชัย กล่าว
    ไม่ใช่เฉพาะน้ำตกไทรโยคที่เกิดปัญหาปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลง นายธวัชชัย ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณหลายปี ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ก็พบเจอปัญหาลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน นายธวัชชัย บอกว่า หากย้อนไป 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกเอราวัณเกือบแห้งขอด ทั้งที่ก่อนหน้านี้น้ำตกเอราวัณไม่เคยขาดน้ำมาก่อน
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป นายสมชัย เอื้องทอง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 จ.สระบุรี และยังเป็นคนในพื้นที่ใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านใกล้น้ำตกเจ็ดสาวน้อยมากว่า 30 ปี เปิดเผยว่า หากเปรียบเทียบน้ำตกเจ็ดสาวน้อยปัจจุบันกับเมื่อ 10 ปีก่อน ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลงไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร เฉพาะช่วงหน้าร้อนแม้จะมีอยู่บ้างแต่ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
    นายสมชัย บอกว่า สาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลง นอกจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ทำให้ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างเคย น้ำตกเจ็ดสาวน้อยเป็นส่วนหนึ่งของคลองมวกเหล็ก มีต้นน้ำอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลลงมาในพื้นที่ชุมชน ในอดีตเคยเป็นป่า แต่ปัจจุบันถูกแผ้วถางกลายเป็นเรือกสวนไร่นาของประชาชน จึงไม่แปลกที่น้ำในคลองมวกเหล็กจะลดน้อยลง เพราะดินไม่ชุ่มน้ำเหมือนในอดีต
    ขณะที่ น้ำตกสามหลั่น อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี ก็ประสบปัญหาไม่แตกต่างกัน โดยช่วงหน้าแล้งแทบไม่หลงเหลือสภาพน้ำตกอุดมสมบูรณ์อยู่เลย น้ำที่มีอยู่เป็นเพียงสายน้ำเล็กๆ ไม่เชี่ยวกรากอย่างฤดูฝน ล่าสุดเจ้าหน้าที่ต้องสร้างฝายบนป่าต้นน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ปล่อยลงมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส กรณีที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่จำนวนมากเท่านั้น
    นายสมฤทธิ์ วิไลพรรัตนา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น กล่าวว่า ผืนป่าอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่นเคยเป็นป่าเสื่อมโทรม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยเป็นที่ตั้งกองทัพทหารญี่ปุ่น ป่าถูกทำลายไปจนเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ต้องใช้เวลาฟื้นฟูค่อนข้างยาวนาน ปัจจุบันผืนป่าเริ่มฟื้นสภาพตามลำดับ

    ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดน้อยลงมีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งเรื่องของสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนไป สภาวะโลกร้อนหรือเอลนีโญ่ และลานินญ่า แต่สำหรับน้ำตกสามหลั่น ต้องยอมรับว่ามีปัญหาการบุกรุกผืนป่า ซึ่งล่าสุดเพิ่งยึดกลับคืนมาได้กว่า 400 ไร่
    นายผาด เหมวัตร อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36/3 หมู่ 8 ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี อดีตเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าพระพุทธฉาย ซึ่งเคยทำงานดูแลผืนป่าในเขตที่น้ำตกสามหลั่นตั้งอยู่ กล่าวว่า ในอดีตน้ำตกสามหลั่นไม่เคยขาด แม้ในหน้าแล้งก็ยังมีน้ำไหลผ่านค่อนข้างเชี่ยวกราก

    แต่มาระยะ 10-20 ปี หลังผืนป่าพระพุทธฉายถูกบุกรุกทำลายจนเสียหายอย่างมาก ทำให้ป่าไม่สามารถอุ้มน้ำได้เหมือนอดีต ปัจจุบันน้ำตกสามหลั่นในฤดูแล้งแทบไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่เลย มีเพียงโขดหินที่พอจะบ่งบอกได้ว่าบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำตกเท่านั้น
    ด้าน ศ.ดร.นิพนธ์ ตั้งธรรม อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้มีการวิจัยเรื่องน้ำตกอย่างจริงจัง มีเพียงการคาดการณ์ในหมู่นักวิชาการด้านป่าไม้เท่านั้น ที่ตั้งวงคุยกันในกลุ่มเล็กๆ ต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำในน้ำตกต่างๆ ลดน้อยลงไปมากจนน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะน้ำตกรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ในหน้าแล้งน้ำจะแห้งเกือบทั้งหมด
    ศ.ดร.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานอกเหนือจากภาวะโลกร้อนแล้ว เกิดจากปัจจุบันพื้นที่ป่ามีน้อยลง อย่างป่าเขาใหญ่ปัจจุบันเป็นป่าสมบูรณ์เฉพาะพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนบริเวณรอบนอกกลายเป็นสวน เป็นที่อยู่อาศัย ป่าไม้ที่เคยมีอยู่ในอดีตถูกทำลาย หากดูจากภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พื้นที่ป่าเป็นเหมือนเกาะเล็กๆ

    เมื่อป่าไม้หายไปความร้อนที่แผ่กระจายมาจากชั้นบรรยากาศก็จะส่องลงผืนดินได้อย่างสะดวก น้ำที่อยู่ใต้ผืนดินก็จะระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว ผืนดินที่เคยชุ่มน้ำจนกลายเป็นแหล่งต้นน้ำก็แห้งลง
    ศ.ดร.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า ภาวะโลกร้อนทำให้ทั้งธรรมชาติและมนุษย์ใช้น้ำในปริมาณมาก ขณะที่แหล่งน้ำต่างๆ ลดน้อยลง ซึ่งทั่วโลกกำลังประสบปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า อีก 50-70 ปีข้างหน้า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะเพิ่มขึ้น จนทำให้โลกวิกฤติ อากาศเปลี่ยนแปลงเร็ว ในฤดูฝนจะเกิดฝนตกหนัก ขณะที่หน้าแล้งน้ำก็จะแห้งเร็ว
    "น้ำในน้ำตกน้อยลงสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำใต้พื้นดินที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะดินไม่มีต้นไม้บังแดดเหมือนในอดีต ป่าลดลงอย่างน่าใจหาย ทำให้โลกร้อนขึ้นทุกขณะ หากไม่มีการปลูกป่าทดแทนโดยเร็ว น้ำตกก็ต้องหายไปแน่ แต่คงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะหายไปภายในกี่ปี่" ศ.ดร.นิพนธ์ กล่าว
    ขณะที่ รศ.ดร.วิชา นิยม อาจารย์ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้กระแสน้ำอุ่นในทะเลเปลี่ยนแปลง ทำให้ไอน้ำในทะเลพัดเข้าสู่ฝั่งแตกต่างไปจากเดิม ทำให้ปริมาณฝนลดน้อยลงไปด้วย ตามหลักการแล้วดินจะเก็บกักน้ำได้ก็ต่อเมื่อปริมาณฝนที่ตกลงมามีไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิเมตรต่อครั้ง หากน้อยกว่านั้นก็ทำได้เพียงให้ความชุ่มชื้นกับแผ่นดินเท่านั้น แต่ไม่มีน้ำเก็บใต้ผิวดิน เมื่อโดนแสงแดดก็ระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว
    นักวิชาการด้านอนุรักษ์วิทยากล่าวด้วยว่า นอกจากปัจจัยทางธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปริมาณน้ำในน้ำตกลดลง ปัจจุบันน้ำตกส่วนใหญ่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการสร้างรีสอร์ทและที่พักต่างๆโดยรอบน้ำตก มีการดูดน้ำจากน้ำตกไปใช้ น้ำที่มีน้อยอยู่แล้วเมื่อมีการนำไปใช้จำนวนมากอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่น้ำจะแห้ง


    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต​
    </CENTER>
     
  5. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <CENTER>
    [​IMG]
    "โลกร้อน"พาโลกมนุษย์ ย้อนกลับสู่ยุคไดโนเสาร์!

    คริส โทมัส นักวิทยาศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยยอร์ก กล่าวในที่ประชุมสมาคมเพื่อความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ประเทศอังกฤษ ว่า สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง หรือ "ภาวะโลกร้อน" จะทำให้อุณหภูมิของโลกภายในห้วงระยะเวลาอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า หรือปี ค.ศ.2100 (พ.ศ.2643) เพิ่มสูงขึ้นกว่าปัจจุบันอีก 2-6 องศาเซลเซียส
    ขณะเดียวกันคาดว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ก็จะพุ่งขึ้นไปอยู่ในระดับที่สุดที่สุดในรอบ 24 ปีเช่นกัน "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานและยานพาหนะ จะกลายเป็นตาข่ายดักไม่ให้ความร้อนหลุดออกจากชั้นบรรยากาศโลก" โทมัสกล่าว
    โทมัสระบุด้วยว่า สภาพโลกร้อนใน 100 ปีข้างหน้าจะทำให้อุณหภูมิของโลกย้อนกลับไปสู่ยุคที่ "ไดโนเสาร์" ยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังจะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ กว่าครึ่งหนึ่งที่อยู่ในโลกเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
    ล่าสุดมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตบางส่วนเริ่มอพยพหนีจากถิ่นที่อยู่เดิมของตน เพราะผลกระทบจากโลกร้อน

    ข้อมูลจาก

    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต​
    </CENTER>
     
  6. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <CENTER>
    [​IMG]


    เผย กทม.ปีนี้ ร้อนทะลุ 40 องศา​


    ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์ภัยร้อนเริ่มรุนแรง โดยคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าแดดเริ่มร้อนจัดตั้งแต่ช่วงสายของแต่ละวันและรู้สึกร้อนอบอ้าวมาก ซึ่งสาเหตุมาจากอากาศนิ่งและความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกร้อนกว่าผิดปกติ เนื่องจากการระบายความร้อนของคนระบายด้วยไอน้ำระเหยจากผิวหนัง ถ้าอากาศร้อนก็ระบายได้น้อยจึงเกิดความร้อนสะสมทำให้รู้สึกว่าร้อนมาก
    ดร.อานนท์กล่าวต่อว่า แต่อย่างไรก็ตามช่วงที่จะร้อนมากที่สุดคือเดือน เม.ย.คาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงขึ้นราว 1-2 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะเขต กทม. ซึ่งปกติหน้าร้อนก็มีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ 38-39 องศา แต่ปีนี้มีแนวโน้มโอกาสจะเกิน 40 องศาอย่างแน่นอน รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีความร้อนสูงขึ้น แต่ไม่ต้องห่วงว่าคนไทยจะเผชิญกับปรากฏการณ์คลื่นความร้อนเหมือนในแถบประเทศยุโรปและอเมริกา เพราะคลื่นความร้อนจะเกิดในเขตละติจูดสูงกว่าบ้านเราซึ่งจะมีระบบลมมรสุมจากทะเลพัดเข้ามา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คงต้องติดตามระดับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนต่อไป เพราะถึงแม้เส้นดัชนีจะลดต่ำลงมาแล้ว แต่ผลสืบเนื่องตามมาจากปรากฏการณ์นี้คือช่วงฤดูร้อนจะร้อนและแล้ง แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะอาจจะมีฝนตกมากกว่าเกณฑ์ปกติในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ปีนี้เช่นกัน

    ข้อมูลจาก
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต​
    </CENTER>
     
  7. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ไอพีซีซีเตือนโลกรับมือ ผลกระทบอากาศเปลี่ยนแปลง!



    [​IMG]

    "ไอพีซีซี" ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ เตรียมออกรายงานเตือนว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะก่อให้เกิดความสูญเสียมหาศาลอย่างต่อเนื่อง หากไม่หาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและประเทศต่างๆ ไม่เร่งเตรียมแผนรับมือ

    คณะทำงานระหว่างประเทศว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (ไอพีซีซี) เตรียมเผยแพร่รายงานหนา 1,400 หน้า ที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียมในวันศุกร์ที่ 6 เม.ย. เป็นรายงานฉบับที่ 2 จากทั้งหมด 3 ฉบับของการปรับปรุงข้อมูลครั้งใหญ่เกี่ยวกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะย้ำว่า ความเสียหายในศตวรรษนี้ที่เกิดจากปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค พายุฤดูร้อน น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง โรคภัยไข้เจ็บ พืชและสัตว์สูญพันธุ์ ล้วนเป็นผลจากภาวะโลกร้อน

    ประเด็นสำคัญในรายงานฉบับนี้ เช่น ประเด็นต้นทุนทางสังคมหรือค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจโดยรวมจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 2-4 ต่อปีขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลให้จำนวนผู้อดอยากจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 2-7 ล้านคนต่อปี ประเด็นสภาพอากาศแปรปรวนสุดขีดจะเป็นสาเหตุที่สร้างความสูญเสียร้ายแรงที่สุด มีตั้งแต่ร้อยละ 7 ของจีดีพีในภูมิภาคเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงร้อยละ 25 ของภูมิภาคเศรษฐกิจขนาดเล็ก ประเด็นระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นทุก 1 เมตร จะสร้างความเสียหายราว 33 ล้านล้านบาท เกือบครึ่งเกิดขึ้นในเอเชีย ประเด็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะช่วยชะลอภาวะโลกร้อน และการเตรียมการรับมือผลกระทบเพื่อลดความสูญเสีย


    ------------------
    ที่มา:ข่าวสด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03tec01030450&day=2007/04/03&sectionid=0326
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,865
    ความจริงภาวะโลกร้อนนี่ก็ดีไปอย่างหนึ่งนะครับ....

    คือ ช่วยล้างโลกให้สะอาด ปราศจากคนชั่วหรือทำให้คนชั่วลดน้อยลง
    โดยคนดีๆไม่ต้องไปออกแรงต่อสู้ให้เหนื่อยและเจ็บตัว

    วันนี้ขอตัวไปเร่งทำความดีก่อน.....นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...