มหาวิทยาลัยนาโรปะ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 8 เมษายน 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]
    <TABLE height=65 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=255 height=61>
    </TD><TD width=503 height=61><TABLE height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=50><TABLE height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=5 height=38>[​IMG]



    <TABLE height=1513 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=569><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thaidetail vAlign=top align=left><TABLE borderColor=#ff6600 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>มหาวิทยาลัยนาโรปะ

    ณัฐฬส วังวิญญู
    (nutt2000@loxinfo.co.th)


    มหาวิทยาลัยนาโรปะได้รับการก่อตั้งเมื่อปี พ . ศ . ๒๕๑๗ โดย ชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สืบทอดคำสอนของพุทธศาสนาแนวธิเบต นิกายคากิวและนิงมา ตอนที่รัฐบาลจีนทำการยึดประเทศธิเบต ในปี พ . ศ . ๒๕๓๖ ตรุงปะจำต้องลี้ภายออกมาตามแนวเทือกหิมาลัย มายังตอนเหนือของประเทศอินเดีย ถึงแม้กระนั้น ท่านก็ทำการเผยแพร่ธรรมมะอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดียวกับสมเด็จองค์ทะไล ลามะ และอาจารย์ฝ่ายธิเบตคนอื่นๆ และในปี พ . ศ . ๒๕๐๙ ท่านได้รับทุนการศึกษาสปอลดิ้ง ให้ได้เข้าศึกษาด้านศาสนาเชิงเปรียบเทียบ ปรัชญาศึกษา และศิลปกรรมที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท่านพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษจนแตกฉาน และเข้าใจถึงความต้องการด้านจิตวิญญาณของโลกตะวันตก

    ในปี พ . ศ . ๒๕๑๓ ท่านเริ่มเดินทางไปสอนธรรมมะและเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลาร่วม ๑๗ ปี โดยที่ท่านได้ก่อตั้งสำนักปฏิบัติสมาธิภาวนาหลายแห่งในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ด้วยเหตุที่ท่านมีทั้งความเป็นนักวิชาการ เป็นศิลปิน และอาจารย์สอนสมาธิภาวนา ท่านจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในโลกตะวันตก

    เมื่อท่านก่อตั้งนาโรปะขึ้นมา โดยมีวิสัยทัศน์ทางการศึกษา คือนาโรปะจะเป็นมหาวิทยาลัยที่หลอมรวมเอาองค์ประกอบของการสอนด้านจิตหรือภาวนา และการศิลปะแขนงต่างๆ รวมทั้งการศึกษาแนวตะวันตก ผนวกไว้ด้วยกัน และในปี พ . ศ . ๒๕๒๐ ท่านได้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติชัมบาลาขึ้นสำหรับฆราวาสผู้มีความสนใจในการปฏิบัติ

    ตรุงปะ รินโปเช เสียชีวิตลงเมื่อปี พ . ศ . ๒๕๓๐ ทิ้งผลงานและเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวของท่านไว้ในความทรงจำของผู้คนและบรรดาสานุษิตย์ มหาวิทยาลัยนาโรปะ และหนังสือที่ท่านนิพนธ์อีกหลายเล่ม เช่น Born in Tibet , Cutting Through Spiritual Materialism, The Myth of Freedom, Shambhala: The Sacred Path of the Warrior เป็นต้น



    พันธกิจของนาโรปะ

    เป้าหมายทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนาโรปะ ตั้งอยู่บนปฐมนิมิตเมื่อแรกก่อตั้งและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งการภาวนา ซึ่งประกอบไปด้วย องค์ประกอบทั้ง ๖ ได้แก่



    ๑ . ความรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ

    การบ่มเพาะความรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาแนวภาวนา การฝึกฝนความรู้เท่าทันนี้หมายถึง การรับรู้ถึงประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ ในแต่ละขณะอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น การเท่าทันกระบวนการทางความคิด การรับรู้ความรู้สึกผ่านผัสสะต่างๆ รวมทั้งห้วงอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนได้รับการหลอมรวมอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เมื่อร่างกายและจิตใจหลอมรวมกันได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวมแล้ว ความสามารถหรือคุณลักษณะด้านต่างๆก็จะก่อเกิดและสำแดงออกมา ได้แก่ ความคิดอ่านมีความแม่นยำและความเข้าใจมีความแจ่มชัดทะลุปรุโปร่ง การสื่อสารเป็นไปด้วยความเปิดกว้างและชัดเจน ตระหนักรู้และชื่นชมโลกได้อย่างเต็มเปี่ยมกว้างขวาง การกระทำการต่างๆก็มีประสิทธิภาพ ความรู้เท่าทันนี้จะได้รับการบ่มเพาะให้แรงกร้าและเต็มเปี่ยมโดยกระบวนวิธีต่างๆ ได้แก่ การเจริญสมาธิภาวนา และการภาวนาตามธรรมเนียมปฏิบัติในแนวทางต่างๆ ทั้งที่มีมาแต่วัฒนธรรมดั้งเดิมและแนวทางสมัยใหม่ต่างๆ ทั้งนี้รวมถึงกระบวนการฝึกฝนทางพุทธิปัญญาและศิลปะในแขนงต่างๆ การฝึกปฏิบัติและวินัยเหล่านี้จะช่วยให้ปัจจุบันขณะเผยตัวในฐานะประสบการณ์ตรง ที่ผู้เรียนสัมผัสได้ด้วยตน รวมถึงการรับรู้ถึงความลังเลสงสัย และแรงต้านภายใน ในการที่จะเข้าถึงและดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ ทั้งนี้ เหล่าคณาจารย์ทั้งหลายจะได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาหลักปฏิบัติในการฝึกสติ หรือการตื่นรู้ ให้สอดคล้องกับสาขาวิชาที่ตนสอน การฝึกฝนความรู้เท่าทันนี้ช่วยให้จิตตั้งมั่นและเรียนรู้ในปัจจุบันขณะ ไม่วอกแวกวุ่นวายและไหลเลื่อนไปอย่างไม่มีทิศทาง



    ๒ . สร้างสรรค์ชุมชนแห่งการเรียนรู้

    การศึกษาเรียนรู้นั้นไม่ได้เป็นเพียงการแสวงหาความรู้โดยปัจเจกบุคคลเท่านั้น และกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพก็ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องเรียนที่แยกสัดส่วนออกจากสิ่งแวดล้อมโดยสิ้นเชิง หากว่าเกิดจากการปฏิสัมพันธ์และปะทะสังสรรค์ ในความสัมพันธ์ที่เรามีต่อผู้คนและสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ นาโรปะจึงมีความมุ่งมั่นในการก่อให้เกิดบรรยากาศของความเป็นกัลยาณมิตรและชุมชนเรียนรู้ขึ้น เป็นเสมือนพื้นที่ศึกษาทดลองมีชีวิต ที่ท้าทายและทดสอบสติปัญญา องค์ความรู้และการรับรู้ของนักเรียนในโลกที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นไป ทั้งนี้ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจในตัวเองมากขึ้น ก็จะสามารถเข้าผู้อื่นและโลกได้มากขึ้นเป็นลำดับ อีกทั้งความเอื้ออาทรและความเมตตาต่อผู้อื่นก็จะงอกงามขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติด้วย บรรยากาศการเรียนรู้เช่นนี้เองที่ผู้เรียนจะค้นพบจิตใจและภูมิปัญญาภายในตน



    ๓ . บ่มเพาะความเปิดกว้าง

    กล่าวได้ว่า ผู้มีการศึกษานั้นควรจะมีคุณลักษณะ ๕ ประการด้วยกัน ซึ่งถือเป็นแนวทางฝึกปฏิบัติไปสู่พัฒนาการภายในที่สมดุล และเพื่อการเรียนรู้และการตอบสนองต่อโลกอย่างสร้างสรรค์ ตลอดเส้นทางของการดำรงชีวิต ทั้งนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาแขนงต่างๆจะได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยในผู้เรียนได้บ่มเพาะคุณลักษณะเหล่านี้ ได้แก่



    ความเปิดใจและความเคารพในประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...