ฟรี..โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย zipper, 14 มิถุนายน 2005.

  1. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    <div align="center"><div class="page" style="width:100%; text-align:left"><div style="padding:0px 25px 0px 25px"><div style="padding:0px 0px 6px 0px"><table class="tborder" cellpadding="6" cellspacing="0" border="0" width="100%" align="center"><tr><td class="thead" style="font-weight:normal" ><!-- status icon and date --><a name="post86501"><img class="inlineimg" src="images/statusicon/post_old.gif" alt="Old" border="0" /></a>07-06-2005, 11:24 PM<!-- / status icon and date --></td><td class="thead" style="font-weight:normal" align="right">&nbsp;#<a href="showpost.php?p=86501&amp;postcount=1" target="new"><strong>1</strong></a></td></tr><tr valign="top"><td class="alt2" width="175"><div id="postmenu_86501"><a class="bigusername" href="member.php?u=1160">ดวงแก้ว</a><script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_86501", true); </script></div><div class="smallfont">กระแสรายวัน</div><div class="smallfont">&nbsp;<br /><a href="member.php?u=1160"><img src="image.php?u=1160&amp;dateline=1117882490" alt="ดวงแก้ว's Avatar" border="0" /></a></div><div class="smallfont">&nbsp;<br /><div>Join Date: Feb 2005</div><div>Location: ขวานทอง</div><div>โพส: 316</div><div>Rep Power: 35<img class="inlineimg" src="images/reputation/reputation_pos.gif" alt="ดวงแก้ว is on a distinguished road" border="0" /></div><div> </div></div></td><td><!-- icon and title --><div class="smallfont"><strong><h1>ฟรี..โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน</h1></strong></div><hr size="1" style="color:#FFFFFF" /><!-- / icon and title --><!-- message --><div><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="74%" bgColor=#f7f7f7><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD height=20>ขออนุญาต ท่าน web master บอกข่าวประชาสัมพันธ์ แก่พุทธศาสนิกชน <br />
    โดยทั่วกัน ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

    โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน

    การศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามความเข้าใจของคนทั่วๆไปนั้น ก็คือ จะต้องไปฟังธรรม รักษาศีล และเจริญภาวนากันที่วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจริญภาวนานั้น พุทธศาสนิกชนเกือบทั้งหมด ก็จะเข้าใจว่าการเจริญภาวนา ก็คือ การนั่งสมาธิ หรือวิปัสสนา ในรูปแบบของการนั่งอย่างเดียว ซึ่งจะต้องปลีกวิเวกจากผู้คนหรือสังคมไปหาที่สงบเพื่อที่จะนั่งสมาธิหรือวิปัสสนา อันนี้เป็นจุดอ่อนของการเผยแผ่และศึกษาปฏิบัติธรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปหรือสังคมรอบข้าง มองว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน คือจะต้องหลบลี้ผู้คนหรือปลีกตัวออกจากสังคมเพื่อไปหาสถานที่นั่งภาวนา ทำให้หลายๆคนมักจะพูดอยู่เสมอว่าไม่มีเวลา ไม่ว่างที่จะไปปฏิบัติธรรมบ้าง จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั้งหลายเหินห่างจากพระพุทธศาสนา เพราะเหตุมองว่าคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องไกลตัว และแบ่งแยกต่างหากโดยต้องไปนั่งสมาธิวิปัสสนากันที่วัด


    หากเราสามารถนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาปฏิบัติให้กลมกลืนกับชีวิตประจำวัน คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานเสมอ ในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน โดยการฝึกปฏิบัติและเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน และเราช่วยกันเผยแผ่เพื่อเปลี่ยนความคิดหรือ concept ของประชาชนส่วนใหญ่ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ หากประชาชนที่ยังห่างไกลจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศานาได้ยินคำสอนในลักษณะนี้ ก็จะรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ยากและไม่เสียเวลา เพราะทำได้ทุกขณะเวลาและเป็นการปฏิบัติแบบธรรมชาติสบายๆ กลมกลืนกับชีวิตประจำวันจริงๆ คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ

    เมื่อเป็นเช่นนี้ พระพุทธศาสนาก็จะเกิดความมั่นคงและรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะประชาชนส่วนใหญ่หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมกัน คนไทยส่วนมากมักจะทำอะไรตามๆกัน เมื่อนักปฏิบัติทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมโดยการนั่งสมาธิวิปัสสนากันในรูปแบบของการนั่งอยู่แล้ว ได้ศึกษาเพิ่มเติมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญและพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ไม่มีรูปแบบ และสามารถปฏิบัติกลมกลืนได้กับการทำงานและการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการปฏิบัติด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวันนั้นจะช่วยเสริมการปฏิบัติในรูปแบบของการนั่งให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และเมื่อฝึกเจริญสติต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ผลการปฏิบัติก็จะปรากฏให้เห็นเร็วกว่าการนั่งปฏิบัติอย่างเดียว

    การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติในฃีวิตประจำวันจึงเหมาะกับประชาชนทั่วไปที่มีชีวิตที่เร่งรีบและแข่งขันกันโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลข่าวสารนี้ จากหยดน้ำหยดหนึ่งบนใบบัวช่วยกันปลุกระดมธรรม สร้างแนวความคิดหรือ Concept นี้ ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ อาตมาเชื่อว่าเมื่อประชาชนที่ยังห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติธรรมที่กลมกลืนกับชีวิตประจำวันเช่นนี้ ก็จะเริ่มหันเข้ามาสนใจศึกษาหลักธรรมและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งและกว้างขวางอย่างจริงจังต่อไปเอง

    แม้แต่ชาวต่างประเทศซึ่งได้หันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากในแง่ของการฝึกจิตให้มีสมาธิหรือพลังจิต หากได้รับทราบถึงแนวการปฏิบัติเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวันอันจะยังให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน ความสุขในครอบครัว ความมีเมตตาเกื้อกูลกันในสังคม ตลอดจนถึงความรักสมานฉันท์อันเป็นพื้นฐานต่อความเจริญและมั่นคงของประเทศชาติส่วนรวมเช่นนี้แล้ว ก็จะหันมาสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศานาเถรวาท ที่ได้รักษาพระธรรมวินัยไว้ตรงตามพุทธวจนะที่มีมาในพระไตรปิฎกดั้งเดิม เพราะประจักษ์ถึงสาระประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงในแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยที่ไม่ต้องไปปรุงแต่งหรือแต่งเติมหลักคำสอนให้เป็นสัทธรรมปฏิรูปแต่อย่างใด

    ด้วยแรงบันดาลใจดังที่ได้กล่าวมา อาตมาจึงมีความคิดริเริ่มจัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติเพื่อให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป เนื้อหาของการฝึกอบรมจะเน้นให้รู้จักธรรมชาติของสติและการพัฒนาสติให้เป็นผู้ร้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน โดยจะให้อุบายพร้อมทั้งนำเข้าสู่สมาธิด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่สติ เพื่อปรับการทำสมาธิของนักปฏิบัติหลายท่านที่ไปติดค้างอยู่ในความนิ่ง และไม่สามารถเดินต่อไปได้ อันเนื่องด้วยสมาธิและสติไม่สมดุลกัน ให้สามรถดำเนินเข้าสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นสัมมาสติและสัมมาสมาธิตามมรรคมีองค์ ๘ พร้อมทั้งบรรยายธรรมและตอบข้อธรรมตามนัยที่อาตมาได้แสดงไว้ในหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนานี้ (หนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ดูได้จาก <a href="http://www.larndham.net" target="_blank">www.larndham.net</a> หมวดสติปัฏฐาน 4) เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่านได้มีความรู้ความเข้าใจในการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้ทุกขณะอย่างเป็นธรรมชาติกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน

    <font color="darkorange">การฝึกอบรมนี้จะจัดให้มีขึ้นทุกวันอาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ๆ โครงการฝึกอบรมจะจัดให้มีขึ้นทุกวันอาทิตย์ และกำหนดเปิดโครงการฝึกอบรมฯ ครั้งแรก ในวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี)</font>

    เวลา 13.00-15.00 น. โดยมีหมายกำหนดการ ดังนี้

    13.00-14.00น. สวดมนต์และฝึกสมาธิ
     
  2. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ขอบคุณค๊า...ซิปน้อยกลอยใจ
     
  3. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    Bravo...Anumothana Jah...
     
  4. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    -ขอบคุณจ้า..ยาย

    http://larndham.net/index.php?showtopic=14043&st=50

    แบบฝึกหัดเพื่อเตือนความจำ หลังการอบรมค่ะ

    การบ้านสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน
    เจริญพร
    อาตมาขอให้การบ้านแก่นักเรียนทุกคน ได้ไปทบทวนทำการบ้าน ดังที่ได้แนะนำและให้อุบายในการเจริญสมาธิภาวนาด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่การพัฒนาสติ ดังต่อไปนี้...............
    1.เริ่มต้นด้วยการนั่งในท่านั่งที่ผ่อนคลาย สบายๆ ทำความรู้สึก เหมือนว่าเรากำลังนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อนรับลมโชยเย็นๆอยู่ชายทะเล พร้อมกับนั่งมองดูวิวทิวทัศน์ท้องทะเล ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ตื่นรู้ สดชื่น ิเบิกบาน (เพื่อปลุกตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ให้ตื่นขึ้น) ต่อไปให้ย้อนความรู้สึกเข้าไปสำรวจร่างกาย รู้สึกถึงร่างกายทุกส่วนให้มีการผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีสวนใดเกร็ง ไล่ไปตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า ถ้าตึงเกร็งก็ให้ผ่อนคลาย ไหล่ แขน ลำตัว ถ้าตึงเกร็ง ก็ให้ผ่อนคลาย ก้น ขา จนจรดปลายเท้าให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ ส่วนใดตึงเกร็ง ก็ให้ผ่อนคลาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และรู้สึกถึงร่างกายทั้งหมดเป็นองค์รวมแบบเคร่าๆ รู้สึกถึงรูปกายที่นั่งอยู่ หรืออาจรู้สึกจนเหมือนเห็นรูปกายที่กำลังนั่งอยู่ และผ่อนคลายไปเรื่อยๆ จะรู้สึกถึงความสงบรำงับของร่างกาย เมื่อกายรำงับ จิตก็จะรำงับ สงบเอง เป็นไปอย่างธรรมชาติ
    2. เมื่อผ่อนคลายร่างกายไปสักระยะ จะรู้สึกถึงลมหายใจเบาๆ ระเรื่อ ผ่านเข้า ผ่านออก สบายๆ และรู้สึกได้โดยไม่ต้องกำหนด
    3.ให้รู้สึกถึงลมหายใจอย่างแผ่วเบา ละเอียด ประณีต ผ่านเข้า ผ่านอก เบา ละเอียด นุ่มนวล ประณีต .......เบา ละเอียด นุ่มนวล และประณีตมากขึ้นๆๆๆๆ...และ รู้สึกลมหายใจที่เบา ละเอียด ประณีตนี้ได้โดยไม่ต้องเพ่งหรือกำหนดแต่อย่างใด คือรู้สึกเองแบบสบายๆ อย่างเป็นธรรมชาติ
    4. เมื่อรู้สึกถึงลมหายใจผ่านเข้า ผ่านออก อย่างแผ่วเบานี้ได้โดยไม่ต้องกำหนด ก็ให้หลับตาเบาๆ เพียงแค่ผนังตาปิดเบาๆ แล้วประคองให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ลอยอยู่ช่วงบนประมาณเหนือไหล่ขึ้นไป ระวังอย่าให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ คือ เสมือนหนึ่งตาภายนอกหลับ แต่ความรู้สึกภายในยังตื่นอยู่เหมือนยังลืมตาอยู่ (หลับตานอก แต่ความรู้สึกภายในยังคงตื่นรู้ สดชื่นเบิกบาน เสหมือนหนึ่งความรู้สึกตื่นรู้ สดชื่น เบิกบาน ขณะรับลมโชยทะเลเย็นสบายและมองดูวิวทิวทัศน์ของทะเลอย่างเบิกบาน สดชื่น เบาสบาย)
    5.ให้มีความรูสึกตัวทั่วพร้อมทั่วสราพางค์กายด้วยอาการตื่นรู้ ด้วยสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกที่เรากำลังประคองอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไป อาจจะอยู่บริเวณใบหน้า หรือบริเวณศีรษะ หรือรอบๆศีรษะ และประคองความรู้สึกนี้ไปเรื่อยๆ คือมีสติเฉพาะหน้า ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจริงๆ โดยให้สมาธิ สติ และสัมปชัญญะขนานกันไป อย่างต่อเนื่อง ระวังไม่ให้เผลอสติ เพราะถ้าเผลอสตินิดเดียว สำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้จะไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ได้ในที่สุด
    6. ให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม พร้อมกับรู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกแผ่วเบา ทุกระยะ จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วถึงที่เป็นไปในภายใน คือ รู้สึกถึงอาการของใจ อาจจะเป็นปีติ อิ่มเอิบ หรือรู้สึกถึงไออุ่น ไอเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน หรือรู้สึกถึงแรงดึงอันเนื่องจากความผูกพันด้วยตัณหาอุปาทาน และอาจจะรู้สึกถึงอาการคลายออกของแรงดึงดังกล่าว และค่อยๆ รู้สึกถึงความจางคลาย ความคลายออก โล่งโปร่งเบาสบาย ด้วยการละวางอาการทางใจไปทีละน้อยๆๆ
    7.เมื่อรู้สึกถึงอาการทางใจที่เป็นไปในภายในอย่างทั่วถึงและชัดขึ้นๆๆ จะเกิดการปล่อยวาง และละวางความรู้สึกของร่างกายหรือความรู้สึกทั่วสรรพางค์กายอันเป็นไปภายนอกเองโดยอัตโนมัติ เหลือแต่ความรู้สึกถึงอาการทางใจที่เป็นไปในภายในล้วนๆ ขณะเดียวกัน ให้รู้สึกถึงอาการของลมหายใจที่ละเอียดแผ่วเบาๆๆไปตามลำดับพร้อมกันไปด้วย อันจะช่วยให้อาการทางใจค่อยๆคลายออก จางคลายไป จนเกิดสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกล้วนๆ ลอยอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไปหรืออยู่เหนือกายนี้
    8. เมื่อรู้สึกถึงตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่ค่อยๆรวมตัวกันและลอยอยู่เหนือไหล่ อยู่เฉพาะหน้า ชัดขึ้นๆๆ ให้ค่อยๆปล่อยวางอาการทางใจที่เป็นความรู้สึกอยู่ภายใน ค่อยๆปล่อยวางไปทีละน้อยๆ ไปตามลำดับ จะรู้สึกถึงสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้ชัดขึ้นๆ เหมือนกับลอยอยู่โดยไม่มีกาย ไม่มีศีรษะ ไม่มีใบหน้า เสมือนหนึ่งใจผู้รู้ล้วนๆ ลอยอยู่เหนือร่างกาย เหนือขันธ์ 5 และให้รู้สึกถึงลมหายใจที่แผ่วเบาละเอียดมากขึ้นๆๆ โดยรู้สึกอยู่ในสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้ จนสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้จะค่อยๆชัดขึ้นๆๆ ผ่องใส ขึ้น แจ่มใสขึ้น และพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้ที่เป็นใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นอิสระ ลอยอยู่เหนือร่างกายหรือเหนือขันธ์ 5 จนเสมือนหนึ่งไม่มีกาย (กายหาย เหลือแต่จิตล้วนๆ ที่ค่อยๆ ผ่องใส แจ่มใส และค่อยๆ ฉายแสงจิตออกมาตามลำดับ)
    9.มีสติระลึกรู้อยู่ในสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับค่อยๆปล่อยวางร่างกาย ละวางตัวตน เช่น ให้รูสึกในใจว่าตัวเราไม่ใช่ของเรา และ ไม่เสียดายชีวิต แม้ว่าจะตกอยู่ท่ามกลางสิงสาราสัตว์ที่ดุร้าย คอยจ้องเอาชีวิตอยู่เบื้องหน้า ตายเป็นตาย ทิ้งกายเนื้อ เหลือแต่จิตหรือใจผู้รู้ล้วนๆ จนจิตเป็นอิสระ เหลือแต่จิตหรือใจผู้รู้ล้วนๆเป็นอิสระจากร่างกายไปโดยลำดับ ต่อจากนั้นให้สลับด้วยการแผ่เมตตา เพื่อเป็นการลดละความมีตัวตน อันเป็นกำลังแก่สติ เพื่อให้สามารถคงสภาวะการรับรู้อย่างเป็นกลางๆ หรืออุเบกขา ไม่ให้จิตไหลไปกับสิ่งที่ถูกรู้ และตระหนักได้ว่า ใจผู้รู้ก็ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ถูกรู้ก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจละเอียดก็ส่วนหนึ่ง กายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง เห็นสภาวะแยกรูปแยกนามในลักษณะที่ซ้อนๆกันอยู่ และให้ใจผู้รู้นี้ไปพิจารณากายให้เห็นเป็นอสุภะ เน่าเปื่อยผุพัง เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟไปตามลำดับ เห็นสภาวธรรมทุกอย่างไปตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน จนเกิดความคลายออก ความจางคลายของความผูกพัน เยื่อใย อาลัย อาวรณ์ อันเกิดจากแรงตัณหาอุปาทาน จนเกิดใจผู้รู้ที่อยู่เหนือขันธ์ 5 อยู่เหนือสมมติบัญญัติทั้งหลาย
    10.ก่อนออกจากสมาธิ ให้ค่อยๆถอยสมาธิออกมาจากจิตมาสู่ความรู้สึก และถอยออกจากความรู้สึกมาสู่กายด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมตามลำดับ และจดจำสภาวะ อาการ ความสงบ ความรู้สึก และความเป็นไปของใจในขณะที่เจริญภาวนาดังกล่าว เพื่อว่าครั้งต่อไปที่เราเจริญภาวนา จะได้ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติจะได้น้อมใจเข้าสู่ความสงบได้ภายในเพียงชั่วไม่กี่นาที หรือไม่กี่วินาที จนถึงเพียงชั่วลัดนิ้มมือ
    11.ต่อไปค่อยๆเรียกความรู้สึกตามเนื้อตามตัวทุกส่วนทั่วสรรพางค์กายคืนมาปกติ วางมือไว้บนหัวเข่าทั้งสองโดยหงายฝ่ามือออก แล้วแผ่เมตตา
    12. จากนั้น ค่อยๆ ลืมตา เบาๆ และออกจากสมาธิได้
    ขอให้นักเรียนทุกคน หมั่นทบทวน ก่อนจะเข้าชั้นเรียนครั้งต่อไปนะ
    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
    วิโมกข์
    ***********************************************************************************************
    กำหนดการโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน จะเปิดการอบรมครั้งต่อไปในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เริ่มเวลา 11.30 น.(หลังเพล) เป็นต้นไป เผื่อว่าท่านใดที่ต้องการไปร่วมงานบ้านคนชราของคุณโชติปาละในกระทู้ http://larndham.net/index.php?showtopic=15249&st=0 หลังจากอบรมครึ่งแรกแล้ว จะลาไปร่วมกิจกรรมที่บ้านบางแคได้

    ท่านผูสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถแสดงความจำนงค์แจ้งชื่อได้ในกระทู้นี้
    หรือ สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยอีเมล์ไปที่
     
  5. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    เจริญพร

    การเดินทางเข้าสู่ใจผู้รู้นั้น ต้องอาศัยลมหายใจหรือลมปราณซึ่งเป็นส่วนของรูป (กายใน) อันเป็นสภาวะธรรมที่ละเอียดที่สุดของฝ่ายรูป ก่อนที่จะเข้าสู่ใจผู้รู้อ้นเป็นอรูป และสิ่งที่ละเอียดรองมาจากลมหายใจ ก็คือความรู้สึกทางใจอันปรุงแต่งด้วยกิเลสเกิดเป็นแรงหน่วงเหนี่ยว ผูกพัน เหนียวแน่นบ้าง คลายออกบ้างและค่อยๆจางคลายไปโดยลำดับ และสิ่งที่ละเอียดรองลงมาจากความรู้สึกทางใจ (คือหยาบกว่าความรู้สึกทางใจ) ก็คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย
    เบื้องต้นของการเดินทางเข้าสู่ใจผู้รู้ สติยังอ่อนและกำลังไม่พอ จึงต้องมีฐานที่อาศัยให้แก่สติ เริ่มจากฐานที่หยาบ ไปสู่ฐานที่ละเอียด และละเอียดขึ้นไปโดยลำดับ ดังนั้น จึงเริ่มต้นจากอาศัยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กายเป็นฐานของการเจริญสติ จนเมื่อสติอยู่กับกายสักระยะหนึ่ง สติจะมีกำลังมากขึ้น สติก็สามารถค่อยๆระลึกรู้ถึงความรู้สึกภายในอันเป็นอาการของใจที่ถูกปรุงแต่งด้วยกิเลสและเมื่อสติมีที่เกาะอันเป็นฐานใหม่คือความรู้สึกทางใจ จนรู้ชัดในความรู้สึกทางใจอันเป็นสภาวะะธรรมที่ละเอียดกว่าความรู้สึกทั่วสรรพางค์กาย พอสติมีเครื่องรู้เครื่องอาศัยอันเป็นฐานที่ตั้งของสติที่ละเอียดกว่า สติก็จะค่อยๆ วางความรู้สึกทางกายอันเป็นฐานที่หยาบกว่าไปเองโดยอัตโนมัติ อนึ่ง ลมหายใจ ก็เป็นส่วนของรูป(คือเป็นกายใน) แต่สภาวะธรรมของลมหายใจ มีทั้งหยาบ ละเอียด จนละเอียดสุดเป็นลมปราณที่หล่อเลี้ยงขันธ์ 5 นี้ ในเบื้องต้น เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติระลึกอยู่ในความรู้ตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กายอันเป็นกายภายนอก จะเห็นว่าในขณะเดียวกัน ก็สามารถรู้ถึงลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งเป็นรูป (กายภายใน) แต่ยังเป็นลมหายใจที่หยาบอยู่ ต่อเมื่อมีสติระลึกอยู่ในความรู้สึกที่เป็นไปในกายใน อันเป็นอาการทางใจ ซึ่งเป็นฐานที่ละเอียดขึ้น ลมหายใจก็จะละเอียดขึ้น สติก็จะพัฒนา มีกำลังและความละเอียดมากขึ้น ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติจะเริ่มสังเกตุเห็นว่าตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่เราประคองไว้ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไป จะเริ่มรู้สึกได้ชัดขึ้น อันเป็นผลจากการที่ผู้ปฏิบัติได้ละวางความรู้สึกทางร่างกายไปทีละน้อยๆๆ ทำให้สัมปชัญญะอันเป็นความรู้สึกที่เกาะอยู่กับร่างกายหรือทั่วสรรพางค์กายอยู่ ผละออกจากกายเป็นอิสระและเข้ามารวมเป็นตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่เราได้ประคองไว้ช่วงบนตั้งแต่ต้น ขณะเดียวกันเมื่อเรามีสติรู้ทั่วถึงถึงความรู้สึกที่เป็นไปในภายในอันเป็นอาการทางใจต่างๆนานา จนเริ่มละวางอาการทางใจนั้นๆไปโดยลำดับ ความรู้สึกทั่วถึงที่เป็นไปในภายในอันเป็นสัมปชัญญะภายในก็จะเป็นอิสระ ลอยขึ้นมารวมตัวกับตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่เราได้ประคองไว้ช่วงบนตั้งแต่ต้น เป็นอันว่าสัมปชัญญะที่เป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปภายนอกทั่วสรรพางค์กายและสัมปชัญญะที่เป็นความรู้สึกทั่วถึงที่เป็นไปภายในได้มารวมตัวกันกับตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่เราได้ประคองไว้ช่วงบนตั้งแต่ต้น ซึ่งจะค่อยๆพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้ที่ถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะ หรือวิปัสสนาญาณ ไปตามลำดับแห่งการบำเพ็ญ
    อุบายในขั้นละเอียดของการพัฒนาตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ให้เป็นญาณทัสสนะ ยังคงต้องอาศัยเจริญสติบนลมหายใจที่ละเอียด ซึ่งขณะนี้จะเป็นลมหายใจที่ละเอียดมากๆ จนเรียกว่าเป็นลมปราณก็ได้ กล่าวคือให้รู้สึกถึงลมหายใจที่ละเอียดมากๆนี้ ไปพร้อมกับรู้สึกถึงตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่ชัดขึ้น ผ่องใสขึ้น จนค่อยๆฉายแสงจิตออกมาสว่าง กระจ่าง ผ่องใสไปโดยลำดับ ในชั้นนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะรีบร้อนวางลมหายใจไปอยู่กับแสงสว่างโอภาสนั้นอันเป็นอรูป และไปนิ่งอยู่ในอรูปนั้น จึงเป็นการพลัดหลงเข้าไปเจริญในอรูปฌานโดยไม่ตั้งใจ คือ แทนที่จะดำเนินเข้าสู่รูปฌานทั้ง 4 แต่กลับพลัดหลงไปสู่อรูปฌาน และหากละสังขารอยู่ในอรูปเช่นนี้ ก็จะไปเกิดเป็นอรูปพรหม ซึ่งทำให้เนิ่นช้า หรือถ้าไปหลงเพลินอยู่กับอรูป จนดับสัญญาในอรูปซี่งเป็นอรูปฌานที่ 8 และไม่สามารถเจริญสติจนหลุดอรูปฌานที่ 8 ไปสู่สมาบัติที่ 9 คือสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ อันนี้ หากไปละสังขารโดยยึดอรูปฌานที่ 8 เป็นอารมณ็์ ก็จะไปเกิดเป็นอสัญญีพรหม ซึ่งทำให้ฉิบหายในธรรมวินัยนี้ เพราะเมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องมาศึกษาหาความรู้นับหนึ่งใหม่ เพราะสัญญาทั้งหลายรวมทั้งสัญญาในทางธรรมได้ถูกลบหายออกไปเกือบหมดหรือหมดเลย จึงต้องมาเริ่มวิวัฒนาการสร้างเสริมบำเพ็ญปัญญาบารมีกันใหม่ พระพุทธองค์จึงใช้คำว่า "ฉิบหายไปจากพระธรรมวินัยนี้"
    ***********************************************************************************************
    กำหนดการโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน จะเปิดการอบรมครั้งต่อไปในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เริ่มเวลา 11.30 น.(หลังเพล) เป็นต้นไป เผื่อว่าท่านใดที่ต้องการไปร่วมงานบ้านคนชราของคุณโชติปาละในกระทู้ http://larndham.net/index.php?showtopic=15249&st=0 หลังจากอบรมครึ่งแรกแล้ว จะลาไปร่วมกิจกรรมที่บ้านบางแคได้
     
  6. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ปุจฉา-วิสัชชนา การพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน

    ปุจฉา : ได้รับเมลการบ้านแล้ว ขอบคุณมากค่ะ จะนำไปฝึกค่ะ หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสลองฝึกตามที่หลวงพ่อสอนบ้างค่ะ แต่ปรากฎว่า ไม่สงบนื่งเหมือนตอนฝึกกับหลวงพ่อค่ะ ... เหมือนจิตผู้รุ้ไม่ค่อยตื่น ไม่ค่อยเบิกบานค่ะ มันฝืดๆ อึดอัดค่ะ เหมือนตามรุ้ลมหายใจได้อย่างเดียว

    วิสัชชนา : ให้ลองรู้สึกถึงลมหายในสำนึกรู้ หรือในตัวรู้สึกที่หลวงพ่อได้แนะนำให้ประคองอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไป แล้วจะเป็นธรรมชาติมากขึ่น ไม่อึดอัด และจิตรู้จะตื่นขึ้นมาเอง


    ปุจฉา : ดิฉันได้เข้ารับการอบรมครั้งแรก รู้สึกว่าได้รับคำแนะนำที่ประทับใจ เหมาะกับจริตของตัวเองจะขอตั้งใจฝึกปฏิบัติไปจนสุดความสามารถ ตามเวลาและโอกาสขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่กรุณาสั่งสอนประสบการณ์ และยังห่วงใยให้การบ้าน ดิฉันตั้งใจจะไปอีกในการอบรมครั้งที่ 2 แต่ยังกังวลเรื่องเวลา หากจัดเวลาได้ทันคงจะเป็นบุญตัวเองที่ได้ฝึกอบรมต่อเนื่อง ตามที่ดิฉันได้ลองนั่งตั้งสติตามที่หลวงพ่อนำแล้วรู้สึกดีมาก สติตั้งมั่นดี เกิดตัณหาไปว่าหากได้เทปนำปฏิบัติของหลวงพ่อมาฝึกที่บ้าน เวลาที่ตนสะดวก เช่นเช้า ๆ หรือกลางคืนหลังจบภาระกิจทางโลกแล้ว คงจะดีไม่ใช่น้อยเลย... ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่เจ้าคะ

    วิสัชชนา : ขออนุโมทนาด้วย แต่ถ้าช่วงนี้มีเวลา ก็ควรจะมาต่อเนื่อง เพราtหลวงพ่อตั้งใจว่าจะพยายามแนะนำให้สามารถรู้ถึงสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกของตัวเอง เพื่อจะได้พัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้ อันถึงพร้อมด้วยญาณทัสนะและปัญญาความแจ่มแจ้งไปโดยลำดับ ส่วนเรื่องเทปนั้น ก็ลองสอบถามที่โยมนิวสมบูรณ์ดู เพื่อจะได้ให้โยมนิวสมบูรณ์ประสานงานต่อให้ เพราะเห็นทางบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยอัดไว้ทั้งเทปและวีดีโอ


    ปุจฉา : ขออนุโมทนาบุญกับท่านด้วย ได้ไปเข้าร่วมอบรมกับท่านแล้วเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ได้เพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้นและนำมาปฏิบัติต่อที่บ้าน สังเกตุได้ว่าจิตตื่นอยู่ตลอดเวลาที่นั่ง คอไม่ก้มลงเหมือนเมื่อก่อน สามารถนั่งได้นาน75~90 นาที ช่วงระยะเวลา 1 ชั่วโมงแรกจะไม่มีเวทนาเข้ามาแทรกเลย เฉยนิ่ง จับลมหายใจเข้าออกได้ แต่ลมจะหายไปจนแทบไม่รู้สึกหลังครึ่งชั่วโมงไปแล้ว คือมันจะเบามากแทบไม่รู้กระทบที่ปลายจมูก พอเลยชั่วโมงไปความเจ็บปวดค่อย ๆ มาและรุนแรงชัดขึ้ แต่ก็พอทนได้ และพยายามเพ่งอยู่กับลมต่อไป ในขณะเดียวกันก็ชำเลืองมองดูเวทนา ก็เห็นว่าบางครั้งเวทนาก็ค่อย ๆ เลือนไป บางครั้งก็เก็บจี้ด ๆ มองสลับไปสลับมาระหว่างลมกับความปวด ทำอย่างนี้จนหมดเวลา ไม่ทราบว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่

    วิสัชชนา : โยมทำถูกแล้ว ก็แค่ค่อยชำเลืองถึงเวทนา หรืออาการทางใจอื่นๆ ตามแต่ที่มันจะเกิดขึ้น แล้วก็ค่อยๆ วางเวทนาและอาการทางใจไปทีละน้อยๆ แต่ข้อสำคัญให้ประคองตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ไว้ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไปอยู่เสมอ เพราะความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจะเริ่มมารวมเป็นหนึ่งที่ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ และเราก็จะวางร่างกาย วางเวทนาและอาการทางใจต่างๆไปเอง แต่ข้อสำคัญอย่าไปเพ่งลม อย่าเพ่งตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ ให้เค้าค่อยๆรวมตัวและรู้สึกว่าตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ชัดขึ้นและเค้าจะพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้เอง สำหรับลมหายใจ ไม่ต้องไปกำหนดจุดกระทบแล้ว แค่รู้สึกถึงความรู้สึกที่ลมผ่านเข้าออกในโพรงจมูก คือ รู้อยู่ที่ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของลมเข้าออกแบบเบาๆ สบายๆ และต่อเนื่อง รู้เองในอาการที่ผ่อนคลาย อย่าเผลอไปจ้องหรือเพ่ง และหมั่นสังเกตุตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้จะค่อยๆชัดขึ้น และอย่ารีบร้อนทิ้งลม ให้รู้ลมอยู่ในตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ จะได้รู้สึกถึงลมแม้จะละเอียดมากๆ ก็ยังรู้สึกได้


    ปุจฉา : ดิฉันเป็นนักปฏิบัติธรรมหน้าใหม่ เคยฝึกแบบ
     
  7. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    อ้างอิง (วิโมกข์ @ 18 มิ.ย. 48 - 09:35)
    เจริญพร

    อาตมาขออนุโมทนาต่อทุกท่านที่ได้สมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์ที่ 19 มิ.ย. นี้ ซึ่งได้สมัครโดย email มาที่อาตมาประมาณ 50 คน และจากประสบการณ์ครั้งก่อน ในวันสุดท้ายคือวันนี้ ก็จะมีผู้ตัดสินใจเอาวันสุดท้าย และมาสมัครเพิ่มเติมอีกหลายท่าน และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้สมัครแต่ก็มาสมทบซึ่งอาจจะเป็นเพราะเพื่อนชวนมาและอยากมาสังเกตุการณ์ดู ทำให้ครั้งก่อนที่มีผู้สมัครประาณ 40 กว่าท่าน แต่มากันจริงๆ ประมาณ 70 ท่าน ซึ่งอาตมาก็ยินดีต้อนรับและขออนุโมทนาต่อทุกๆท่าน แต่ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้ที่เพิ่งทราบข่าวและมาตัดสินใจในวันสุดท้าย ได้กรุณาสมัครโดยโทรศัพท์ หรือ email ตามรายละเอียดท้ายนี้


    (วิโมกข์ @ 18 มิ.ย. 48 - 09:35)

    กราบนมัสการพระอาจารย์วิโมกข์ครับ ยอดสมัครที่ส่งรายชื่อไปทางพระอาจารย์มีประมาณ 50 ท่านขณะนี้ ยอดที่มาจริงน่าจะเป็นประมาณ 70 ท่าน อีกทั้งมีเจ้าหน้าที่ของมิตซูโตโมขอเข้าร่วมเรียนครั้งนี้อีกประมาณ 10 ท่าน จึงรวมแล้วน่าจะเป็นประมาณ 70 - 80 ท่าน

    ขอให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการอบรมครั้งวันที่ 19 มิ.ย. 48 นี้ กรุณารับประทานอาหารก่อนเข้ารับการอบรมให้เป็นที่เรียบร้อย เพราะการอบรมของท่านพระอาจารย์วิโมกข์มักจะเป็นการอบรมแบบยาว และไม่มีช่วงพัก อีกทั้งบริเวณสะพานพระราม ๗ ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยนั้นหาอาหารทานได้ยากมาก จึงควรรับประทานมาจากบ้านจะเป็นการดีที่สุดครับ
     
  8. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ปุจฉา-วิสัชชนา รายงานการบ้านอันเนื่องด้วยการเข้ารับการฝึกอบรมฯ

    ปุจฉา : กราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ให้ความมั่นใจว่าได้ปฎิบัติถูกต้องแล้ว

    และแนะนำให้แก้ไขเพิ่มเติม ได้นำมาปฎิบัติต่อก็เพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้น
    รับรู้สภาวะความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ได้ชัดเจนขึ้น ได้รับรู้กายสงบระงับ ใจสงบ
    ระงับดีขึ้น ตอนนี้ลมหายใจเบาเร็วขึ้นกว่าเดิม จากที่เคยหายไปหลังนั่ง
    ครึ่งชั่วโมง แต่ตอนนี้ลมหายใจจะค่อย ๆ ผ่อนเบาลงเรื่อย ๆ หรือแทบ
    จะไม่มีตั้งแต่ 10~15 นาทีแรก กายตั้งตรงและเบาเหมือนไร้น้ำหนัก
    เห็นกายชัดอยู่ภายใน เห็นรูปนั่ง จิตตื่นรับรู้ทุกอย่างที่มากระทบทางผิว
    เช่นลม ทางจมูกได้กลิ่น ทางหูก็ได้ยินเสียง รับรู้ถึงกระแสอุ่น ๆ ในกาย
    บางครั้งเหมือนมีกระแสฉีดเบา ๆ ที่ปลายนิ้วมือ แต่จิตใจไม่ตระหนกหรือ
    หวั่นไหวตามไป ใจสงบนิ่งเย็นเบาใจเบากาย มีความรู้สึกตัวอยู่เฉพาะ
    หน้า รู้ลมบ้าง รู้จิตบ้าง จนเลยชั่วโมงกว่าไปแล้วเริ่มรู้สึกว่าที่ก้นกบ
    กระทบกับพื้นชัดเจน แต่ค่อย ๆ หายไป และเริ่มมีปวดตรงเข่าบ้าง
    ตรงข้อเท้าที่วางซ้อนทับกันบ้าง แต่สักพักก็ค่อย ๆ จางคลายไม่เจ็บ
    ปวดมากนัก เวลาเดินจงกรมก็จับกระแสความรู้สึกตัวทั่วร่างกายได้ดี
    รู้อาการเคลื่อนไหวของเท้า เห็นกายเดินพร้อมกับรับรู้ลมหายใจเข้าออก
    ได้ดีแต่ไม่สงบระงับเหมือนตอนนั่ง ลมหายใจขณะเดินจะมีติดขัดบ้าง
    ตามอาการเดิน บางครั้งก็ชัด บางครั้งก็ไม่มี เห็นความคิดส่วนมากเป็น
    เรื่องที่ผ่านมาพอรู้ความคิดก็หายไป สามารถเดินจงกรมได้ 45~60
    นาที นั่งได้ 75~90 นาที จะนั่งต่อไปอีกก็นั่งได้แต่คิดว่าแค่นี้ก็พอจึง
    เปลี่ยนอริยาบทเป็นเดินเพื่อผ่อนคลาย และทำงานอย่างอื่นต่อ ไป
    สรุปแล้ว ไม่ว่าลมหายใจ หรือสิ่งที่มากระทบทางผิว จมูก หู และความ
    นึกคิด ความเจ็บปวด ความรำคาญ อาการเคลื่อนไหวใด ๆ เป็นเพียง
    สิ่งที่เรารับรู้เฉย ๆ ไม่ใช่การไปจ้องเพ่งที่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ดูทุกอย่าง
    ที่เกิดขึ้นและรับรู้เฉย ๆ ใช่ไหมคะ
    คิดว่าตอนนี้โยมเข้าใจตัวรู้ สติ และสัมปชัญญะ แล้ว เพียงแต่จะเริ่ม
    พิจารณาไตรลักษณ์ อย่างไร โยมยังไม่แน่ใจพอ คงจะขอฟังคำ
    อธิบายจากท่านเพิ่มเติม

    วิสัชชนา : ขออนุโมทนา โยมทำได้ดีแล้ว ช่วงนี้ทบทวนและ
    ทำให้เป็นวสี จนเกิดใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน
    กล่าวคือต้องเน้นทำในชีวิตประจำวันให้มากๆและต่อเนื่อง ให้มีฉันทะ
    คือความพอใจในการมีสติสัมปชัญญะอยู่กับปัจจุบัน สำนึกรู้นี้จะพัฒนา
    ไปเป็นใจผู้รู้ ไม่ต้องรีบร้อนหรือเร่งรีบใดๆ แต่มีอุบายอยู่อย่างหนึ่งที่
    จะช่วยพัฒนาสติให้มีความละเอียดและมีกำลังมากขึ้น คือ ให้เจริญสติ
    ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อันหมายทั้งความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์
    กายในเบื้องต้น จนถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่พัฒนาไปเป็นสำนึกรู้ คือ
    เจริญสติหรือระลึกรู้ถึงความรู้สึกในความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และเมื่อเกิด
    สำนึกรู้ที่ชัดขึ้นๆ ก็ให้เจริญในสติหรือระลึกรู้ถึงความรู้สึกในสำนึกรู้
    จะเป็นการพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ที่มีความผ่องใส รู้ ตื่น และเบิกบาน
    มากขึ้นโดยลำดับ ช่วงนี้ฝึกทำตามคำแนะนำนี้ก่อน ยังไม่ต้องกังวล
    เรื่องการพิจารณาไตรลักษณ์ ให้ทุกอย่างค่อยๆเจริญงอกงามเหมือน
    ต้นไม้ที่เราเพียรหมั่นดูแลพรวนดินรดน้ำใส่ปุ๋ยอยู่เนืองๆ ต้นไม้ก็จะเจริญ
    งอกงามผลิดอกออกใบเอง

    *****************************************************************************************************************
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
    และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 3
    จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  9. koymoo

    koymoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    2,066
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ง่ะ อยากไป แต่ติดสอบวันจันทร์ T_T
     
  10. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    โครงการนี้ มีทุกวันอาทิตย์ค่ะ น้องก้อยรอไปคราวหน้าก็ได้
    อยากให้ไปลองดู เพราะเราพอมีพื้นฐาน ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ
    ที่ฝึกมา ทำให้ สมาธิ และสติ ตั้งมั่น แข็งแรงขึ้นเยอะค่ะ
    ไม่วอกแวก ไม่เผลอสติบ่อย เพราะเรามีความรู้สึกตัวเป็นสำคัญค่ะ

    เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นนะจ้ะ
     
  11. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การอบรมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2005 ช่วงเช้า

    เมื่อเวลา 10.00-12.00 น. ณ.Home English ปิ่นเกล้า
     
  12. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 4 จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2548 ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรมสามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
    รอบที่ 1 เวลา 10.00
     
  13. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
  14. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
     
  15. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    ขอบคุณครับคุณดวงแก้วที่พิมพ์ ปุจฉา-วิสัชชนามาให้ อ่านแล้วได้ความรู้ดี
     
  16. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ลองทำดูก็จะยิ่งเข้าใจนะจ้ะ หนุ่มน้อย
     
  17. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    ตอนนี้ที่หนุ่มน้อยกำลังทำอยู่ก็คือว่าตอนเช้าเวลาที่เดินทางไปทำงาน เวลาเดินอยู่ข้างทางก็จะลองจับความรู้สึกว่าขาข้างไหนก้าวอยู่ บางทีก็นึกในใจตามไปด้วยว่า "ซ้าย" "ขวา" แต่คงจะก้าวเร็วไปจับไม่ทัน ก็เลยจับเอาแค่ความรู้สึกของแขนขา ก็นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ทำอ่ะ ไม่ได้ทำตลอด

    ส่วนการทำสมาธิช่วงหลังๆ นี่ก็ไม่ค่อยได้ทำซักเท่าไหร่เลย ปกติถ้าจะทำคือก่อนนอน ช่วงนี้ก็นอนดึกๆ ดื่นๆ เลยไม่ค่อยได้ทำซักเท่าไหร่
     
  18. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ดีค่ะ การเจริญสติ ทำได้ตลอดเวลาที่หายใจ อย่านึกแค่ เท้า 2 เท้า
    เพราะมันเหมือนจงใจ ให้ความสำคัญ ส่วนนี้เกินไป ลองรู้สึกให้
    คร่าวๆ ทั้งร่างกาย แบบ..อย่าเน้นมาก วางใจเป็นกลางๆ สมมุติว่า
    เราก้าวเท้าอยู่ แล้วเราจะหันขวา เราก็ต้องแยกสติ สองส่วน แต่บาง
    ครั้งมันแยกลำบาก ต้องรวมๆ ก่อน คือรู้สึกทุกอย่างที่เรามีอิริยาบถ
    ตามให้ทัน ไปพร้อมๆ กับเขา แล้วเราจะรู้สึกสนุกกับการได้ฝึกทักษะใหม่ๆ
    ที่ให้ประโยชน์มากมายต่อชีวิตประจำวัน

    น่ารักมากค่ะ.. หนุ่มน้อย...ฝึกเรื่อยๆนะ ...อยากได้เพื่อนร่วมวิถีทางจ๊า..
     
  19. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    อืม บางทีก็จะจับความรู้สึกว่ามือเราอยู่ตรงไหน ตามองว่ามีใครเดินมาบ้าง หูฟังว่ามีเสียงอะไรเข้ามาบ้าง แต่แปลกนะพอจะลองจับสติระหว่างเดินรู้สึกว่าเดินหลังตรงเชียว หรือว่าพอจับสติแล้วพึ่งมาสังเกตร่างกายเราเองก็ไม่รู้ว่า วางท่าทางยังไง

    คิดไปคิดมาที่เค้าฝึกไท้เก็กกัน ที่ว่าต้องจับรู้สึกว่ามือเราวาดไปทางไหน เท้าต้องวางยังไง มันก็คล้ายๆ กับการฝึกสติเลยแฮะ
     
  20. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ทั้ง โยคะ ไท้เก็ก ก็ same same กับการฝึกสมาธิ และสติไปพร้อมๆกับการใช้ลมปราณ
    คล้ายๆ สติปัฏฐาน 4 แต่คงไม่ลึกเท่าของพุทธเรานะ เพราะยังมีแยกย่อยอีกเยอะ เลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...