พิธีทำบุญเลี้ยงพระ

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 กันยายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    บุญพิธี คือ พิธีทำบุญ หมายถึง พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว มี ๒ ประเภท คือ
    ๑.ทำบุญงานมงคล
    ๒.ทำบุญงานอวมงคล

    บุญพิธีทั้ง ๒ ประเภทนี้ นิยมมีการนิมนต์พระให้สวดพระพุทธมนต์, เจริญพระพุทธมนต์ เลี้ยงพระและถวายไทยธรรม เพราะฉะนั้นจึงมีผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติเป็น ๒ ฝ่าย คือ
    ๑.ผู้ทำบุญ เรียกว่า “เจ้าภาพ” ซึ่งหมายถึง ผู้ที่จะทำบุญ, หรือผู้ทำบุญ, เป็นฝ่ายให้
    ๒.ผู้ประกอบพิธีกรรม หรือเรียกว่า “ฝ่ายภิกษุสงฆ์” เป็นฝ่ายรับ จึงต้องมีระเบียบพิธีตามสมควรแก่ประเภทนั้น ๆ ดังต่อไปนี้​

    ๑.ทำบุญงานมงคล
    ทำบุญงานมงคล หมายถึง การทำบุญเพื่อความเจริญโดยปรารภเหตุที่ดี ไม่เป็นมูลเหตุมาจากสิ่งชั่วร้าย งานทำบุญงานมงคล เช่น งานทำบุญวันเกิด งานทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ระเบียบพิธี ฝ่ายทากทายิกา หรือฝ่ายเจ้าภาพ กิจที่ควรทำก่อน เบื้องต้นต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้
    ๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
    ๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
    ๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
    ๔.วงด้ายสายสิญจน์
    ๕.อัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
    ๖.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
    ๗.เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามสมควรแก่ฐานะ
    ๘.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ( ตั้งแต่อันดับที่ ๑ - ๘ นี้ สนามหลวง พ.ศ.๒๕๑๖เรียกว่า “กิจที่ควรทำก่อน” ซึ่งจะต้องตระเตรียม)
    ๙.ตระเตรียมวัตถุไทยธรรมและอาคารคาวหวานที่สมควรเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ที่เจ้าภาพได้อาราธนานิมนต์ไว้มาถึงสถานที่จัดงานไว้ตามเวลาที่ กำหนดแล้ว​

    ฝ่ายเจ้าภาพจะต้องปฏิบัติกรณียกิจ คือ
    ๑.คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย
    ๒.ประเคนเครื่องรับรองที่จดเตรียมไว้
    ๓.เมื่อได้เวลาแล้ว จุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง
    ๔.อาราธนาศีล และรับศีล
    ๕.ต่อจากรับศีลก็อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
    ๖.นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้วถวายน้ำร้อยหรือเครื่องดื่มอันสมควรแก่สมณะแล้วแต่จะจัด อนึ่ง ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ โดยมีการเจริญพระพุทธมนต์กับฉัน (งานวันเดียว) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม​

    ในเบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อนดังนี้
    ๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
    ๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
    ๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
    ๔.วงด้ายสายสิญจน์
    ๕.ต่อจากรับศีลก็อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
    ๖.นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว เตรียมยกภัตตาหารมาตั้งไว้ พร้อมแล้วประเคนให้พระฉันได้ทันที สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ก็ถวายไทยธรรม ต่อจากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา พอพระว่าบท ยถา……… ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบทว่า ยถา… และเมื่อพระสงฆ์รับว่า สัพพีติโย…………. พร้อมกัน พึงประนมมือรับพรตลอดจนจบ แล้วส่งพระกลับ เป็นเสร็จพิธี​
    .............​
    ๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมจำนวนคี่ คือ ๕ - ๗ - ๙ รูป, ส่วนงานแต่งงานนิยมจำนวนคู่ คือ ๘ รูป, พิธีหลวงนิยมนิมนต์จำนวนคู่ คือ ๑๐ รูป เป็นต้น​

    ๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ควรใช้โต๊ะหมู่ ๕ - ๗ - ๙ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้โต๊ะอื่นที่สมควรก็ได้ ควรปูผ้าขาว หรือผ้าสีที่สะอาดยังไม่เคยใช้เลยเป็นดีที่สุด อย่าเอาผ้าที่นุ่งห่มหรือมช้แล้วปูโต๊ะเป็นอันขาด, ของบนโต๊ะบูชามี
    พระพุทธรูป ๑, กระถางธูป ๑, เชิงเทียน ๒, แจกันดอกไม้สด ๒, จเพิ่มอะไรที่สมควรให้มากกว่านี้ก็ได้,
    การตั้งพระพุทธรูปควรตั้งให้อยู่ทางขวามือของพระสงฆ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเดียวกันกับพระสงฆ์ แต่ถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็จัดตามความเหมาะสม​

    ๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี สถานที่ต้องให้สะอาด เรียบร้อย สวยงาม เป็นสิริมงคล
    ๔.วงด้ายสายสิญจน์ สิญจน์ แปลว่า รดน้ำ สายสิญจน์คือ สายด้ายดิบ จับให้เป็น ๓ เส้นแล้วจับอีกครั้งให้เป็น ๙ เส้น ,การวงด้ายสายสิญจน์ ควรโยงมาจากฐานพระพุทธรูป วนขวารอบฐานพระพุทธรูป โยงมาที่บาตรหรือภาชนะน้ำมนต์ วนขวาที่ภาชนะน้ำมนต์ วางไว้บนพาน ตั้งใกล้อาสนะพระเถระผู้เป็นประธานในพิธี และไม่ควรข้ามด้ายสายสิญจน์
    ๕.อัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา ควรสรงน้ำพระพุทธรูปให้หมดฝุ่นมลทินที่อาจติดอยู่ เสร็จแล้วก็อัญเชิญขึ้นตั้งประดิษฐานบนที่บูชาที่เตรียมไว้ แล้วกราบ ๓ ครั้ง​

    ๖.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ จะยกพื้นให้สูงขึ้นขนาดเก้าอี้หรือไม่ยกพื้นเพียงแต่ปูเสื่อ ปูผ้าขาว แล้วปูผ้านิสีทนะ (ผ้ารองนั่งสำหรับพระ) แล้วแต่ความเหมาะสม, ต้องให้ที่พระนั่งสูงกว่าที่นั่งของคฤหัสถ์ ถ้าเสมอกันต้องแยก อย่าให้ติดกัน
    ๗.เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามสมควรแก่ฐานะ คือ หมาก พลู บุหรี่ น้ำเย็น น้ำร้อน และกระโถน วางไว้ด้านขวามือของพระทุกรูป (พานหมาก พลู บุหรี่ กระโถน วางระหว่างกลางพระ ๒ รู) ต่อ ๑ ชุดก็ได้) การวาง ให้วางกระโถนไว้ข้างในสุด ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น, ถัดออกมา พานหมาก พลู บุหรี่, สว่น น้ำร้อน นั้นควรจัดประเคนในภายหลัง​

    ๘.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ใช้หม้อน้ำมนต์ที่มีฝาครอบ (เรียกว่า ครอบน้ำมนต์) บาตร หรือขันทองเหลือง (เว้นขันเงิน ขันทองคำ) มีพานรอง, น้ำที่ใช้ทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ได้มาจากดิน (ไม่นิยมใช้น้ำฝน) ใส่ประมาณค่อนภาชนะ เทียนน้ำมนต์นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ตั้งเตรียมไว้หน้าโต๊ะบูชา เยื้องมาให้ใกล้พระสงฆ์รูปที่ ๑​

    ๙.การจุดธูปเทียนเมื่อเริ่มพิธี เจ้าภาพควรจุดธูปเทียนเอง โดยใช้เทียนชะนานในการจุด (ไม่ควรใช้ไฟจากตะเกียงหรือจากที่อื่น) ตั้งใจบูชาพระ, อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร , พอพระสวดถึงบทมงคลสูตร โดยเริ่มสวดว่า “อะเสวะนา จะ พาลานัง….” เป็นต้น เจ้าภาพควรจุดเทียนที่ภาชนะน้ำมนต์ น้ำยกประเคนพระรูปที่ ๑ (ประธานสงฆ์ในที่นั้น)​

    ๑๐.ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าสวดและฉันเช้าหรือเพลด้วย หากมีการตักบาตร พอพระสวดถึงบทว่า “พาหุง……” ก็เริ่มตักบาตร เสร็จแล้วยกบาตรและภัตตาหารมาวางไว้ใกล้พระ พอพระสวดจบก็ประเคนให้พระฉันได้ทันที, ถ้าเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดตอนเย็น แล้วเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น ก็ต้องเตรียมเครื่องรับรองพระเหมือนตอนสวดมนต์เย็น, อาราธนาศีล-รับศีล ไม่ต้องอาราธนาพระปริตร (บางแห่งก่อนที่พระจะสวดต้องการมีอาราธนาบาตรก่อน) พอพระสวดถวายพรพระ โดยพระท่านจะสวดถวายพรพระตามลำดับ คือ “ นะโม…., อิติปิโส ภะคะวา…..., พาหุง……” พอพระสวดถึงบทว่า “พาหุง…….” ก็เริ่มตักบาตร​

    ๑๑.สุดท้ายพอพระฉันเสร็จ เจ้าภาพถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนาเริ่มบทว่า “ยถา วาริวหา…….” เจ้าภาพพึงกรวดน้ำ เมื่อพระสงฆ์รับพร้อม ๆ กันว่า “สัพพีติโย…… ” พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง และส่งพระกลับ เป็นเสร็จพิธี การถวายข้าวพระพุทธ ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ นิยมถวายข้าวพระพุทธ คือ จัดอาหารทุกอย่างเหมือนกับที่ถวายพระสงฆ์ (ไม่ควรจัดเป็นชุดเล็ก ๆ เหมือนกับที่จัดอาหารเซ่นผี) เสร็จแล้วพึงวางไว้บนโต๊ะหรือบนผ้าขาวที่สะอาดหน้าโต๊ะหมู่บูชา จุดธูป ๓ ดอกในกระถางธูปหน้าพระพุทธรูป นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำนมัสการว่า “นะโม ตัสสะ….” ว่า ๓ จบ เสร็จแล้วกล่าว​
    คำถวายข้าวพระพุทธว่า
    อิมัง สูปะพะยัญชนะสัมปันนัง สีลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ. และเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพ พิธีกร หรือผู้อื่นก็ได้ พึงกราบพรพุทธรูป ๓ ครั้ง แล้วประนมมือกล่าวคำลาข้าวพระพุทธว่า เสสัง มังคะลา ยาจามิ หรือจะกล่าวว่า เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ก็ได้ เสร็จแล้วกราบ ๓ ครั้ง และยกภาชนะข้าวพระพุทธออกไป​
    ๒.ทำบุญงานอวมงคล
    การทำบุญงานอวมงคล
    คือ การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตาย, หมายถึง การทำบุญเพื่อความสุขความเจริญโดยปรารภเหตุที่เป็นมาไม่สู้จะดี แล้วจัดทำบุญขึ้นเพื่อกลับสิ่งที่ชั่วร้ายให้คืนดีและเป็นสิริมงคลต่อไป ในปัจจุบันนี้การทำบุญงานอวมงคลนิยมทำกันอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑.งานทำบุญหน้าศพ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทำบุญหน้าวันปลงศพ) ที่เรียกว่า ทำบุญ ๗ วัน, ทำบุญ ๕๐ วัน, ทำบุญ ๑๐๐ วัน นั่นเอง ๒.ทำบุญอัฐิ หรือการทำบุญปรารภความตาบของบรรพบุรุษ หรือท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นการทำบุญในวันคล้ายวันที่ท่านผู้นั้นล่วงลับไปแล้ว
    ๑.งานทำบุญหน้าศพ หรือ ทำบุญหน้าวันปลงศพ​

    กิจที่จะต้องเตรียม กิจที่จะต้องเตรียมสำหรับฝ่ายเจ้าภาพมีดังนี้
    ๑.อาราธนาพระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์ นิยมจำนวนคู่ คือ ๔ - ๘ รูป เป็นต้นแล้ว แต่กรณี (ข้อควรสังเกต งานมงคลใช้คำว่า “เจริญพระพุทธมนต์”, ส่วนงานอวมงคลใช้คำว่า “สวดพระพุทธมนต์”)
    ๒.ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำมนต์ ไม่วงด้ายสายสิญจน์ (ไม่มีการทำน้ำมนต์)
    ๓.เตรียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพเอาไว้ สายโยง คือ ด้ายสายสิญจน์นั่นเองแต่มี ๓ เส้น (งานมงคลใช้ ๙ เส้น) ภูษาโยง คือ แผ่นผ้ากว้างประมาณ ๔ นิ้ว ยาวให้พอตั้งแต่พระองค์แรกต้นแถวจนถึงพระองค์สุดท้ายปลายแถว และต้องมีสายโยงจากศพมาเชื่อมต่อกับภูษาโยงอีก (ควรระวังเรื่องการเดินสายโยง อย่าให้สูงกว่าพระพุทธรูปในพิธี และอย่าให้ต่ำกว่าที่คนนั่ง อย่าข้ามสายโยงหรือภูษาโยง เพราะต่อเนื่องกับศพ มีไว้สำหรับพระจับเพื่อบังสุกุล การปฏิบัติกิจในพิธี เมื่อพระสงฆ์นั่งประจำที่แล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดธูปเทียนที่หน้าศพทีหลัง (แต่บางแห่งนิยมจุดที่หน้าศพก่อน เสร็จแล้วจุดที่โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยทีหลัง ด้วยให้เหตุผลว่าเพื่อให้ผู้ตายได้บูชาพระรัตนตรัยร่วมกัน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรขอให้ผู้รู้ควรวินิจฉัยเองเถิด) เสร็จแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล - รับศีล - อาราธนาศีล (บางแห่งไม่ต้ออาราธนา พระสงฆ์สวดเลยก็มี) ถ้ามีการเลี้ยงพระด้วย พอพระฉันเสร็จพิธีกรหรือเจ้าภาพคลี่สายโยง หรือภูษาโยงตั้งแต่พระองค์แรกต้นแถวจนถึงพระองค์สุดท้ายปลายแถว เจ้าภาพและญาติพี่น้องทอดผ้าบังสุกุลบนสายโยงหรือภูษาโยงที่คลี่ทอดยาวไว้ แล้ว ถ้ามีถวายไทยธรรมจะถวายพระด้วยนิยมกลัดติดไว้กับผ้าสบง จีวร หรือที่เรียกกันว่าผ้าบังสุกุลที่วางจะทอดนั้น แล้วนั่งประจำที่ พอพระสงฆ์ท่านชักบังสุกุลเจ้าภาพและผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานทุกท่านประนม มือตั้งใจฟังจนจบ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาเริ่มบทว่า “ยถา วาริวหา……” เจ้าภาพพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้บ้ำเพ็ญแล้วให้แก่ผู้ล่วงลับไป แล้ว เมื่อพระสงฆ์รับพร้อม ๆ กันว่า “สัพพีติโย…” พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง​

    ข้อควรสังเกต
    นิยมวางทอดผ้าบังสุกุล เช่น ผ้าสบง จีวร เท่านั้น บนสายสิญจน์หรือภูษาโยงนั้นคือ ไม่นิยมวางทอดสิ่งอื่นใดนอกจากนี้ไว้บนสายโยงหรือผ้าภูษาโยง​

    ๒.งานทำบุญอัฐิ
    กิจที่จะต้องเตรียมสำหรับฝ่ายเจ้าภาพ พึงเตรียมงานส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญหน้าศพนั่นเอง เพียงแต่ตั้งโกศอัฐิ ภาพถ่ายผู้ตาย หรือเขียนชื่อของผู้ตายไว้บนโต๊ะต่างหากจากโต๊ะบูชา จัดดอกไม้ประดับ ตั้งกระถางธูป เชิงเทียน หรือใช้กระบะเครื่อง ๕ แทน กระถางธูปเชิงเทียนก็ได้​
    [​IMG]
    บทความจาก
    http://www.rajpha.org


    http://www.dhammajak.net
     
  2. nobitalk

    nobitalk สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +4
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...