พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 28 พฤษภาคม 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓

    [​IMG]
    <O:p</O:p

    ภิกขุนีวิภังค์

    ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓


    เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
    [๑๘]โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพรานแร้ง ที่ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ประพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า ...แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามอริฏฐะภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว จริงหรือ?ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบทพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ประพฤติตามอริฏฐะภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้<O:p</O:p


    พระบัญญัติ
    <O:p</O:p

    ๗. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียวภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากนางถูกสวดสมณุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากนางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่ออุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้

    เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

    สิกขาบทวิภังค์

    [๑๙]บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...นี้ชื่อว่า ภิกษุณีที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกันที่ชื่อว่า ถูกยกเสียแล้ว คือ ถูกยกเสียในเพราะไม่เห็นอาบัติ ในเพราะไม่ทำคืนอาบัติ<O:p</O:p
    หรือในเพราะไม่สละทิฏฐิบาปสองบทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือ โดยธรรมอันใด โดยวินัยอันใดบทว่า อันเป็นสัตถุศาสน์ คือ เป็นคำสั่งสอนของพระผู้ชำนะกิเลส ได้แก่พระพุทธศาสนาที่ชื่อว่า ไม่เอื้อเฟื้อ คือไม่เชื่อสงฆ์ บุคคล หรือกรรมที่ชื่อว่า ไม่ทำคืนอาบัติ คือ ถูกสงฆ์ยกแล้ว สงฆ์ยังไม่เรียกเข้าหมู่.<O:p</O:p
    ที่ชื่อว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอกัน ตรัสเรียกว่าภิกษุผู้สหาย ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุผู้สหายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหายบทว่า พึงประพฤติตามภิกษุนั้น ความว่า ภิกษุนั้นมีความเห็นอย่างใด มีความพอใจอย่างใด มีความชอบใจอย่างใด แม้ภิกษุณีนั้นมีความเห็นอย่างนั้น มีความพอใจอย่างนั้น มีความชอบใจอย่างนั้น

    <O:p</O:p
    [๒๐]บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุ ผู้ถูกสงฆ์ยกเสียแล้วนั้นบทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ ภิกษุณีที่ได้เห็นได้ยินทั้งหลายพึงว่ากล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั้นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัยตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่น. พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม. หากนางสละได้การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่นแลอันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย. พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม. หากเธอสละได้ การสละได้ดั่งนี้นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ

    <O:p</O:p
    [๒๑]ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส. ดูกรภิกษุทั้งหลายก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้
    <O:p</O:p

    กรรมวาจาสมนุภาส
    <O:p</O:p

    แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่นี่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น. นี้เป็นญัตติแม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่คืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น. สงฆ์สวดสมภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น. การสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

    ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...<O:p</O:p
    ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ...

    <O:p</O:p
    ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น. ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง. ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

    <O:p</O:p
    [๒๒]จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก

    <O:p</O:p[๒๓]บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนคำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็นของกลับต่อกันสนิทไม่ได้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแล อันสงฆ์สวดสมนุภาสอยู่ถึงครั้งที่สาม ยังไม่สละ ย่อมไม่เป็นสมณะไม่ใช่ธิดาของพระศากยะบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิกบทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้นเพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

    บทภาชนีย์
    ติกะปาราชิก

    <O:p</O:p
    [๒๔]กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิกกรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ห้องอาบัติปาราชิกกรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิกติกะทุกกฏกรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ...ต้องอาบัติทุกกฏกรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ...ต้องอาบัติทุกกฏกรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ...ต้องอาบัติทุกกฏ<O:p</O:p


    อนาปัตติวาร
    <O:p</O:p

    [๒๕]ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ยอมเสียสละ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
    <O:p</O:p

    ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ
    <O:p</O:p

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.331632/[/music]<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2008
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ขยันอ่านจัง วันเดียวอ่านมาอัพสี่กระทู้
    ทดลองอ่านคราวหน้าขอเสียงดังกว่านี้เยอะๆนะคะ
    ขออนุโมทนาคะ
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ไม่ใช่ ซะหน่อยคะ เคโระจัง

    เขา อัด วันละ 1 บทเท่านั้นเองไงคะ ตอนเช้า มืดคะ

    แต่ ว่า เว็บ ไม่ สบาย สันโดษ เลย เก็บไว้

    อั้น มา 2วันเต็ม ขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...