พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 สิงหาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="88%">หน่วยที่ ๑ โครงสร้างพระไตรปิฎก

    พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
    ๑. พระวินัยปิฎก
    ๒. พระสุตตันตปิฎก
    ๓. พระอภิธรรมปิฎก

    ๑. พระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วนใหญ่คือ
    ๑. ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยวินัยของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ มี ๒ เล่ม
    ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยวินัยของภิกษุณี ๓๑๑ ข้อ มี ๑ เล่ม
    ๓. มหาวรรค ว่าด้วยขันธกะต่างๆ เช่น มหาขันธกะ เป็นต้น มี ๑๐ ขันธกะ แบ่งเป็น ๒ เล่ม
    ๔. จุลวรรค ว่าด้วยขันธกะต่างๆ ตั้งแต่ขันธกะที่ ๑๑-๑๒ ว่าด้วยวัตร ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
    ของพระสงฆ์ มี ๒ เล่ม
    ๕. ปริวาร ว่าด้วยคู่มือวินัย เป็นคำถามตอบวินัยโดยย่อๆ ทุกวิภังค์ และขันธกะ มี ๑ เล่ม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD width="10%"> </TD><TD width="90%">๒. พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วนใหญ่ คือ
    ๑. ทีฆนิกาย รวมพระสูตรยาวๆ มีพรหมชาลสูตร เป็นต้น มี ๓ เล่ม
    ๒. มัชฌิมนิกาย รวมพระสูตรขนาดกลาง มีทั้งหมด ๓ เล่ม
    ๓. สังยุตตนิกาย รวมพระสูตรขนาดเล็กเป็นหมวดๆ มี ๕ เล่ม
    ๔. อังคุตตรนิกาย รวมหมวดธรรมตั้งแต่หมวดหนึ่งถึงเกิน ๑๐ มีทั้งหมด ๕ เล่ม
    ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมบทธรรมทั้งหลายทั้งที่ยาวและสั้นมีทั้งหมด ๑๕ คัมภีร์ มีทั้งหมด ๑๕ เล่ม
    ๓. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น ๗ ส่วนใหญ่ๆ คือ
    ๑. สังคณี-ประมวลธรรมเป็นชุดๆ เรียกว่ามาติกา มี ๑ เล่ม
    ๒. วิภังค์-การจำแนกธรรมออกเป็นขันธ์ ธาตุ เป็นต้น มี ๑ เล่ม
    ๓. ธาตุกถา-นำข้อธรรมมาจัดเข้าในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ครึ่งเล่ม
    ๔. ปุคคลบัญญัติว่าด้วยบัญญัติต่างๆ มีครึ่งเล่ม
    ๕. กถาวัตถุ-ปัญหาถามตอบของนิกายต่างๆ ๑๘ นิกาย มี ๑ เล่ม
    ๖. ยมก-ว่าด้วยคำอธิบายหลักธรรมออกพิสดาร เป็นคู่ๆ มี ๒ เล่ม
    ๗. ปัฏฐาน-ว่าด้วยปัจจัยต่างๆ ๒๔ โดยพิสดาร มีทั้งหมด ๖ เล่ม ซึ่งอาจเขียนเป็นผังได้ดังนี้.-

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="91%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="88%">หน่วยที่ ๒ เนื้อหาย่อพระไตรปิฎก [​IMG]ไตรปิฎก "ปิฎกสาม" ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎก จึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือประมวล แห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก, พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้.



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3>

    [​IMG]๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อ หรือหัวใจว่า อา. ปา. ม. จุ. ป.) คือ
    [​IMG]๑) อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
    [​IMG][​IMG]๒) ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคียปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
    [​IMG]๓) มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน
    [​IMG]๔) จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
    [​IMG]๕) ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย

    พระไตรปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อ ในแบบต้นนั้นใหม่) คือ
    [​IMG]๑) มหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทพระปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ บาลีพระไตรปิฎก
    ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
    [​IMG]๒) ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ในพระปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
    [​IMG]๓) มหาวรรค
    [​IMG]๔) จุลวรรค
    [​IMG]๕) ปริวาร

    บางท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
    [​IMG]๑) วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)
    [​IMG]๒) ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ มี ๒๒ ขันธกะ หรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
    [​IMG]๓) ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างต้น)

    ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรม เทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที. ม. สํ. อํ. ขุ.) คือ.-
    [​IMG]๑) ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
    [​IMG]๒) มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๕๑๒ สูตร
    [​IMG]๓) สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์ หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
    [​IMG]๔) อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
    [​IMG]๕) ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราว เบ็ดเตล็ด ที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้ มี ๑๕ คัมภีร์

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบาย ที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สัง.วิ.ธา.ปุ.ก.ย.ป.) คือ.-
    [​IMG]๑) สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ
    [​IMG]๒) วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
    [​IMG]๓) ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
    [​IMG]๔) ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
    [​IMG]๕) กถาวัตถุแถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
    [​IMG]๖) ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
    [​IMG]๗) ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
    พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้

    ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
    [​IMG]เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)

    [​IMG]เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ (เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๐ หรือ ๒๒๗)

    [​IMG]เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี

    [​IMG]เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา

    [​IMG]เล่ม ๕ มหาวรรคภาค ๒ มี ๖ ขันธกะว่า ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง เภสัชกฐิน จีวร นิคหกรรม และ การทะเลาะวิวาทและสามัคคี

    [​IMG]เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์

    [​IMG]เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่อง เสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนา ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒

    [​IMG]เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

    ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม

    ๑) ทีฆนิกาย ๓ เล่ม


    [​IMG]เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล

    [​IMG]เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย "มหา" เช่น มหาปรินิพพานสูตร, มหาสติปัฏฐานสูตร

    [​IMG]เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มต้นปาฏิกสูตรหลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร สิงคาลกสูตร สังคีติสูตร

    ๒) มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม

    [​IMG]เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร

    [​IMG]เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลาง มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร

    [​IMG]เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลาย มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร

    ๓) สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม

    [​IMG]เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิต ที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล จัดเป็น กลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์

    [​IMG]เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้นมีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะเป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์

    [​IMG]เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่องสมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์

    [​IMG]เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์

    [​IMG]เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดจนองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความมีกัลยาณมิตรเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)

    ๔) อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม

    [​IMG]เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ

    [​IMG]เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔

    [​IMG]เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

    [​IMG]เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙

    [​IMG]เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑

    [​IMG]ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะ ถึง ปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน

    ๕) ขุททกนิกาย ๙ เล่ม

    [​IMG]เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ เล่ม คือ
    [​IMG]- ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณีย เมตตสูตร)
    [​IMG]- ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓)
    [​IMG]- อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐)
    [​IMG]- อิติวุตติกะ (พระสูตร ที่ไม่ขึ้นต้นด้วย "เอวมฺเม สุตํ" แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติ วุจฺจติ") รวม ๑๑๒ สูตร และ
    [​IMG]- สุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว) รวม ๗๑ สูตร

    [​IMG]เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ
    [​IMG]- วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง)
    [​IMG]- เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง)
    [​IMG]- เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูป ที่กล่าวแสดงความ รู้สึกสงบประณีต ในการบรรลุธรรม เป็นต้น)
    [​IMG]- เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)

    [​IMG]เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง

    [​IMG]เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก

    [​IMG]เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต

    [​IMG]เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในปารายนวรรค และขัคควิสาณสูตในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต

    [​IMG]เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปานอินทรีย์ วิโมกข์ อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน

    [​IMG]เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระ ปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวมพระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป

    [​IMG]เล่ม ๓๓ อปาทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญ เรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์พุทธวงส์เป็นคาถาประพันธ์ แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ

    ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม

    [​IMG]เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดไปเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศล ธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ชุดหนึ่งเป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุดที่ ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็น สังขตธรรม อสังขตธรรมชุดหนึ่ง รูปธรรม อรูปธรรมชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตรธรรมชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้นขยายความ มาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน ท้ายเล่ม มีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้น จนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)

    [​IMG]เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไป เป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่องคือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่างๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่นอธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์

    [​IMG]เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า "โสดาบัน" ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น

    [​IMG]เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนา ครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น ประพันธ์เป็น คำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา

    [​IMG]เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่น ถ้าถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก

    [​IMG]เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพพยากตธรรม) อินทรีย์ ยมกบรรจบเป็น ๑๐ ยมก

    [​IMG]เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดารแสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกา คือแม่บทหรือบทสรุปธรรมซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงมีสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศล โดยอุปนิสสย ปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิด ราคะ ทิฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิดทิฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดย อุปนิสสยปัจจัย (เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฐิ จึงให้ทาน รักษาศีล จึงทำฌานให้เกิดฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนได้ แต่เสื่อมไปแล้วเกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติ ไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)

    [​IMG]เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (พิจารณารูปเสียงเป็นต้นที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ)

    [​IMG]เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น

    [​IMG]เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ

    [​IMG]เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บท ชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย "กุศลธรรม" ที่เป็นโลกุตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า "กุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม" เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่น ชุดโลกียะโลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น

    [​IMG]เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย อย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธแยกเป็นปัจจนีย-ปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศลอาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลม ปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่ กุศลธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแบบจึงแยก ซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไปจนถึงสุดท้ายคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)

    [​IMG]คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่ม หลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดาร ทั้งหมดจะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาปกรณ์" แปลว่าตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งขนาดและโดยความสำคัญ
    พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น

    [​IMG]พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    [​IMG]พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    [​IMG]พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="88%">หน่วยที่ ๓ พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
    [​IMG][​IMG]๑. แนวการวิจารณ์ (a critical approach)
    [​IMG]การจะวิจารณ์หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ๔ ประเภท คือ
    [​IMG]๑.๑ รู้บาลีพระไตรปิฎกดี (สพยญฺชนํ) เพื่อที่จะเป็นหลักในการตีความคำสอนให้ตรงกับความหมายดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า
    [​IMG][​IMG]๑.๒ รู้ความหมายพระไตรปิฎกดี (สาตฺถํ) คือ ต้องอ่านคำสอนที่ท่านแปลจากพระไตรปิฎกเป็นภาษาของตน เช่น พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทย พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำอธิบายที่เรียกว่า อรรถกถา
    [​IMG][​IMG]๑.๓ มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ดี โดยเฉพาะในแง่ ประยุกตวิทยา (Technology) อย่างน้อยที่สุดก็สามารถจับประเด็นหลักของวิทยาการนั้นๆ ได้ว่า ด้วยเรื่องอะไร สามารถนำมาเทียบเคียงสงเคราะห์กับพุทธธรรมได้ในแง่ใดบ้าง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>
    ๑.๔ มีจิตใจเปิดกว้าง (open mind) ตามแนวกาลามสูตร ที่ว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะฟังตามกันมา ฯลฯ ผู้นี้เป็นครูของเรา สามารถจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยจิตเยือกเย็น และตอบโต้ได้อย่างมั่นคง และด้วยเหตุด้วยผลจากการปฏิบัติของตนเอง
    [​IMG]เมื่อมีความรู้พื้นฐานแล้วก็ต้องมีหลักในการวิจารณ์ดังนี้
    [​IMG]๑. ตั้งข้อสงสัย (ปุจฉา) ว่าสิ่งนั้น คืออะไร ? มาจากไหน ? เพื่ออะไร ? และโดยวิธีใด ? ตามหลักอริยสัจ
    [​IMG]๒. ค้นคว้าหาคำตอบตามแนว ธรรมวินัย คือ วิจัยธรรม เพราะธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นมีคุณลักษณะหนึ่ง คือ เอหิ ปัสสิโก คือ เชิญมาดู (come and see) เชิญมาพิสูจน์ค้นคว้าทดลองปฏิบัติ อย่างน้อยที่สุด คือการรวบรวมข้อมูลอันเกี่ยวกับธรรมด้านนั้นๆ ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง มีคำอธิบายเดิมอย่างไร และจะนำมาตีความกับโลกยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างไร
    [​IMG]๓. หาข้อสรุป หาข้อยุติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น อย่าหาข้อสรุปที่มุ่งเอาแพ้เอาชนะอย่างเดียว อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอลคัททูปมสูตรว่า การศึกษาวิจารณ์นั้นมี ๓ แบบ คือ
    [​IMG]๑) ศึกษาเพื่อข่มผู้อื่น เอาชนะผู้อื่น อย่างนี้เป็นศึกษาการวิจารณ์ที่เรียกว่า งูพิษ ทำให้เกิดการโทษแก่ตนเอง
    [​IMG]๒) ศึกษาวิจารณ์ เพื่อหาแนวทางให้เกิดการออกไปจากทุกข์ เพื่อให้เกิดการดับทุกข์ แนวธรรมสากัจฉา ก็อาศัยแนวนี้ จึงเกิดมงคลแก่ผู้สนทนาธรรม และทำให้พ้นทุกข์ได้ เป็น
    นิสสรณปริยัติ.
    [​IMG]๓) ศึกษาวิจารณ์ เพื่อเป็นตัวอย่างผู้อื่น เพื่อให้เกิดแนวคิดกระตุ้นแรงเร้าในการปฏิบัติธรรมแก่ศิษย์และรุ่นน้องๆ เรียกว่า แบบเรือนคลังภัณฑาคาริก ปริยัติ
    [​IMG]ต่อไปนี้จะได้ตั้งประเด็นวิจารณ์เป็นข้อๆ ไปในเรื่องที่เห็นว่า สมควรแก่การวิจารณ์
    [​IMG]๒. หลักประชาธิปไตย
    [​IMG]คำว่า "ประชาธิปไตย" หรือ "Democracy"เป็นคำที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณรุ่งเรือง ซึ่งมุ่งแสดงถึงการปกครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออก มีส่วนร่วมในการปกครองโดยเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งในสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ผู้ให้คำนิยามแก่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่กระชับและสั้น คือ ลิงคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
    [​IMG]หลักของประชาธิปไตย คือให้อำนาจแก่ประชาชน ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และด้านพิจารณาอรรถคดี ที่เรียกว่า ตุลาการ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวถึงหลักของประชาธิปไตยว่า มี ๕ หลักด้วยกันคือ
    [​IMG]๑.) หลักเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งต้องประกอบด้วย สิทธิ หน้าที่ อิสรภาพ และสมภาพ จะต้องอยู่ร่วมกัน
    [​IMG]๒.) หลักความเสมอภาค (Equality) คือความเท่าเทียมกัน ในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ
    [​IMG]๓.) หลักเหตุผล (Rationality) การตัดสินความขัดแย้งด้วยเหตุผล
    [​IMG]๔.) การตัดสินโดยเสียงข้างมาก (Majority) เสียงข้างน้อย ได้รับการคุ้มครอง (Majority rule, and minority right)
    [​IMG]๕.) การผลัดเปลี่ยนกันหมุนเวียนดำรงตำแหน่ง (Rotation) ไม่ผูกขาดแต่คนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เพียงผู้เดียว.
    [​IMG]
    ๓. แนวความคิดประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก
    [​IMG][​IMG]๓.๑ แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแนวพระวินัยปิฎก
    [​IMG]จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่การบัญญัติวินัยนั้นก็ทรงบัญญัติเป็นพระสงฆ์มิได้บัญญัติตามลำพัง ต้องให้เกิดเรื่องก่อน แล้วประชุมสอบสวนแล้วบัญญัติพระวินัยท่ามกลางพระสงฆ์ ด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ต่างพร้อมใจกันนำไปปฏิบัติ การทำกรรมต่างๆ ของสงฆ์ ยกเว้นอปโลกนกรรม ล้วนให้ทำเป็นการสงฆ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ
    [​IMG]ญัตติกรรม-ทำด้วยสงฆ์จตุวรรค คือ ๔ รูปขึ้นไป เช่นการสวดปาติโมกข์
    [​IMG]ญัตติทุติยกรรม-ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรคคือ ๕ รูปขึ้นไป เช่น เรื่องกฐิน
    [​IMG]ญัตติจตุตถกรรม-ทำด้วยสงฆ์ ทสวรรค คือ ตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไปยกเว้นในที่กันดาร เช่นการอุปสมบท
    [​IMG]การให้มานัตต์ การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ ๒๑ รูปขึ้นไป จึงกล่าวได้ว่า
    [​IMG][​IMG]พระวินัย คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ
    [​IMG][​IMG]พระสงฆ์ คือ สมาชิกสภาผู้แทน
    [​IMG][​IMG]คุณสมบัติของพระสงฆ์ คือ คุณสมบัติของสมาชิก
    [​IMG][​IMG]อำนาจพระสงฆ์ คือ อำนาจอธิปไตย
    [​IMG]อธิกรณ์สงฆ์ทั้ง ๔ คือ
    [​IMG][​IMG]ก. วิวาทาธิกรณ์-การขัดแย้งกันเกี่ยวกับธรรมวินัย
    [​IMG][​IMG]ข. อนุวาทาธิกรณ์-การโจทก์กันด้วยอาบัติต่างๆ
    [​IMG][​IMG]ค. อาปัตตาธิกรณ์-การละเมิดอาบัติต่างๆ
    [​IMG][​IMG]ง. กิจจาธิกรณ์-กิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จะพึงทำด้วยสงฆ์จำนวนต่างๆ
    [​IMG]ต่างก็จะต้องระงับด้วยวิธีการที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ ๗ คือ
    [​IMG][​IMG]๑. สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าบุคคลต่อหน้าวัตถุ
    [​IMG][​IMG]๒. สติวินัย การระงับด้วยการให้เกียรติแก่พระอรหันต์ ผู้มีสติสมบูรณ์
    [​IMG][​IMG]๓. อมูฬหกวินัย การระงับเหตุด้วยการยกเว้นให้แก่ผู้ทำผิดในขณะที่เป็นบ้า คือได้หลงไปแล้ว
    [​IMG][​IMG]๔. เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
    [​IMG][​IMG]๕. ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยการทำตามปฏิญญา
    [​IMG][​IMG]๖. ตัสสปาปิยสิกากรรม ระงับด้วยการลงโทษศัตรูผู้ถูกสอบสวนแล้วพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ให้การรับแล้วปฏิเสธ ปฏิเสธแล้วรับเป็นต้น
    [​IMG][​IMG]๗. ติณวัตถารกวินัย ระงับด้วยการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย ดุจเอาหญ้าทับสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้มีกลิ่น
    [​IMG]ทั้งอธิกรณ์และการระงับต้องทำเป็นการสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ดุจการตั้งกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงเป็นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม
    [​IMG]และในการประชุมทำกรรมต่างๆ เป็นการสงฆ์นั้น ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ จริงๆ ถ้ามีข้อข้องใจมีสิทธิ ยับยั้ง (Veto) ได้ แม้เพียงเสียงเดียวสงฆ์ทั้งหมดก็ต้องฟังดังท้ายกรรมวาจาว่า
    [​IMG]"ยสฺสายสฺมโต[​IMG]ขมติ...
    [​IMG].........โส ตุณฺหสฺส[​IMG]ยสฺส น ขมติ โส ภาเสยฺย"
    [​IMG]"ถ้ากรรมนี้ ชอบใจต่อท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเงียบ ถ้าไม่ชอบใจต่อท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูดขึ้น"
    [​IMG]อนึ่งการทำกรรมอันใดก็ตาม พระวินัยจะต้องพร้อมเพรียงกัน ดังคำขึ้นต้น ของกรรมวาจาว่า
    [​IMG]"ยทิ สงฺฆสฺส[​IMG]ปตฺตกลฺลํ"
    [​IMG]ซึ่งแปลว่า "ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ พร้อมแล้ว... สงฆ์พึงทำ..." ดังนี้.
    [​IMG]นี้คือเนื้อความใน มหาขันธกะ มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๔
    [​IMG]๓.๒ แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตย ตามแนวพระสุตตันตปิฎก ซึ่งอาจนำมาเป็นประเด็นในการวิจารณ์ ได้ดังต่อไปนี้
    [​IMG][​IMG]๑) หลักเสรีภาพทางความคิด พระพุทธเจ้าได้ให้โอกาสแก่ชาวกาลามะในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ คำสอนของนักบวช ที่มาเผยแผ่คำสอนด้วยข้อความต่อไปนี้
    [​IMG][​IMG]"ดูกรกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ เพียงเพราะ
    [​IMG][​IMG]๑. การฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
    [​IMG][​IMG]๒. การถือกันสืบๆ มา (มา ปรมฺปราย)
    [​IMG][​IMG]๓. ข่าวเล่าลือ (มา อิติกิราย)
    [​IMG][​IMG]๔. การอ้างตำรา (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
    [​IMG][​IMG]๕. การใช้ตรรกะ (มา ตกฺกเหตุ)
    [​IMG][​IMG]๖. การอนุมาน (มา นยเหตุ)
    [​IMG][​IMG]๗. การตรึกตรองตามอาการ (มา อาการปริวิตกฺเกน)
    [​IMG][​IMG]๘. เข้าได้กับทฤษฎีที่ตนคิดไว้ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา)
    [​IMG][​IMG]๙. มองเห็นลักษณะว่าน่าเชื่อได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
    [​IMG][​IMG]๑๐. สมณะ นี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
    [​IMG]ต่อเมื่อใดรู้เข้าใจ ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือ ถือปฏิบัติตามนั้น" (อํ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑)

    [​IMG]๒.) หลักความเสมอภาค ในพระธรรมวินัย จะเห็นได้จากหลักความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัย ๘ อย่าง
    [​IMG]เปรียบเทียบกับความอัศจรรย์ของมหาสมุทร ๘ อย่าง ดังนี้
    [​IMG] [​IMG] (๑) ธรรมวินัย หรือพระพุทธศาสนามีการศึกษาตามลำดับทำตามลำดับปฏิบัติตามลำดับ แทงตลอดอรหัตตมรรค ด้วยการทำต่อเนื่องดุจมหาสมุทรลุ่มลึกตามลำดับ
    [​IMG] [​IMG] (๒) สาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้ไม่ล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว แม้จะต้องสละชีวิตก็ยอม ดุจมหาสมุทรไม่ล้นฝั่ง
    [​IMG] [​IMG] (๓) สงฆ์ ย่อมกันคนชั่วให้ห่างไกล ดุจทะเลซัดซากศพให้เข้าสู่ฝั่งฉะนั้น
    [​IMG] [​IMG] (๔) วรรณะ ๔ ออกบวชแล้วย่อมละซึ่งชื่อโคตร ในกาลก่อนถึงการนับว่าเป็นสมณศากยบุตร ดุจน้ำจากแม่น้ำทั้งหลาย เมื่อถึงมหาสมุทรแล้ว ก็เป็นน้ำมหาสมุทรอันเดียวกัน
    [​IMG] [​IMG] (๕) แม้ฝนตก มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏความพร่องและความเต็ม ฉันใด ภิกษุในธรรมวินัย ที่ดับกิเลสด้วยนิพพานธาตุ ย่อมไม่ทำนิพพานให้เต็ม
    [​IMG] [​IMG] (๖) พระธรรมวินัย มีรสเดียว คือ วิมุตติรส-รสแห่งความหลุดพ้น ดุจมหาสมุทรมีรสเดียวคือ รสเค็ม (เอกรโส-โลณรโส, เอกรโส-วิมุตฺติรโส)
    [​IMG] [​IMG] (๗) มหาสมุทรเต็มไปด้วยรัตนะนานาประการ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มากด้วย ธรรมรัตนะ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรค ๘, ฉันนั้น
    [​IMG] [​IMG] (๘) มหาสมุทร เป็นที่อยู่ของสัตว์มีชีวิตใหญ่ๆ เช่น ปลาติมิติมังคลา ติปริมังคลา อสูร นาค คนธรรพ์ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มีอริยบุคคล ๔ และผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นอริยบุคคล ๔ ฉันนั้น.
    [​IMG][​IMG]เหตุนี้ จึงทำให้ภิกษุยินดียิ่งในธรรมวินัย.(อํ อฏฺฐก. ๒๓/๑๐๙/๒๐๐๗)

    [​IMG]๓) หลักความเป็นพี่เป็นน้องกัน หรือ ภราดรภาพ คือ สหธรรมิก ผู้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ควรมีธรรมต่อไปนี้
    [​IMG][​IMG]ก. สังคหวัตถุ ๔ คือ แบ่งปัน, พุดไพเราะ, บำเพ็ญประโยชน์และวางตัวเคียงบ่าเคียงไหล่ ร่วมสุขร่วมทุกข์ (อํ. จตุกฺก. ๒๑/๓๒/๔๒)
    [​IMG][​IMG]ข. สาราณียธรรม ๖ คือจะพูด จะทำ จะคิด ก็ประกอบด้วย เมตตาจิต แบ่งปันลาภกันอย่างทั่วถึง, มีศีลเสมอกันและมีทัศนะเสมอกัน. (อํ. ฉกฺก. ๒๒/๒๘๒/๓๒๑)
    [​IMG][​IMG]ค. หลักอปริหานิยธรรม ๗ คือ
    [​IMG]- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
    [​IMG]- เมื่อประชุมก็พร้อมกันเข้าประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม
    [​IMG]- ไม่ทำลายหลักการเดิม
    [​IMG]- เคารพผู้หลักผู้ใหญ่
    [​IMG]- คุ้มครองกุลสตรี มิให้ถูกข่มเหง
    [​IMG]- เคารพ เจดีย์ อนุสาวรีย์คนสำคัญของชาติ
    [​IMG]- ให้การคุ้มครองอารักขาสมณะชีพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในรัฐ(อํ. สตฺตก. ๒๓/๒๐/๑๘)

    [​IMG]๔) หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน
    [​IMG][​IMG]"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ
    [​IMG][​IMG]ที่นั้นมิใช่สภา"
    [​IMG]สัตบุรุษ คือ ผู้รู้จักเหตุผล-รู้จักคน รู้จักประมาณ-รู้จักกาล-รู้จักชุมชุม และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่า
    [​IMG]"พระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าเป็นหลักการปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ และเพื่อพระสงฆ์อันมีประโยชน์ ๑๐ อย่าง เป็นเป้าหมาย คือ
    [​IMG]๑. เพื่อหมู่คณะยอมรับว่าดี
    [​IMG]๒. เพื่อให้หมู่คณะมีความผาสุก
    [​IMG]๓. เพื่อข่มคนชั่ว
    [​IMG]๔. เพื่อปกป้องคนดี
    [​IMG]๕. เพื่อขจัดทุกข์ในปัจจุบัน
    [​IMG]๖. เพื่อตัดทุกข์ในอนาคต
    [​IMG]๗. เพื่อผู้ที่ยังไม่ศรัทธาได้มีความศรัทธา
    [​IMG]๘. เพื่อรักษาจิตของคนที่ศรัทธาอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
    [​IMG]๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม คือ พระพุทธศาสนา
    [​IMG]๑๐. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย คือ หลักการอันดีงาม ของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อย่างที่เรียกว่า "มีสันติสุขในส่วนตน และสันติภาพในส่วนรวม" ฉะนี้แล

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๔ สังคมตามพุทธทัศนะ
    [​IMG]สังคมในสมัยพุทธองค์มองจากพระไตรปิฎก เราจะเห็นว่า อาจแบ่งได้หลายลักษณะ กล่าวคือ
    [​IMG]ก. แบ่งตามภูมิศาสตร์
    [​IMG]นครวาสี คนเมือง (มชฺฌิม)
    [​IMG]ชนปทวาสี คนชนบท (ปจฺจนฺต)
    [​IMG]ข. แบ่งตามเชื้อชาติ
    [​IMG]อริยกะ
    [​IMG]มิลักขะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>
    ค. แบ่งตามวรรณะ ๔ คือ
    [​IMG]ขตฺติย
    [​IMG]พฺราหฺมณ
    [​IMG]เวสฺส
    [​IMG]สูทฺท
    [​IMG]จนฺฑาล
    [​IMG]ปุกฺกุสฺส
    [​IMG]ง. แบ่งตามลักษณะทางศาสนา ๒
    [​IMG]ปพฺพชิต-บรรพชิต
    [​IMG]คิหิ-คฤหัสถ์
    [​IMG]จ. แบ่งตามลักษณะเศรษฐกิจหรืออาชีพ
    [​IMG]เสฏฺฐี-มหาเสฏฺฐี-อนาถปิณฺฑิก-โชติก
    [​IMG]กุฏุมฺพี-สุวณฺโณ นาม
    [​IMG]คหปติ-จิตฺตคหปติ
    [​IMG]สุวณฺณการ-กุมฺภาการ-หตฺถาการ
    [​IMG]เคหการ-มาลาการ-คีตการ
    [​IMG]เวชฺช-ติกิจฺฉก-กสก-อุยฺยาปาล
    [​IMG]โคปาล-โคฆาตก-อชปาล
    [​IMG]เนวิก-วาณิช-ยาจก-วณิพก
    [​IMG]เนสาโท นายพราน
    [​IMG]ฉ. แบ่งตามหน้าที่ในฐานะคนธรรมดา
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=TOP width="48%">[​IMG]คู่ ๑ มาตาปิตา
    [​IMG]คู่ ๒ ครู
    [​IMG]คู่ ๓ ภริยา, ชายา
    [​IMG]คู่ ๔ สหาย
    [​IMG]คู่ ๕ สสามิก
    [​IMG]คู่ ๖ ปพฺพชิต, สมณ, พราหมณ์</TD><TD vAlign=top align=TOP width="21%">- ปุตฺตธีตา
    - สิสฺสา
    - สามี-ปติ
    - มิตฺต
    - กมฺมการา
    - คิหี</TD><TD vAlign=top align=TOP width="31%">= พ่อแม่กับลูก
    = ครูกับศิษย์
    = สามีกับภรรยา
    = เพื่อนกับเพื่อน
    = นายกับลูกจ้าง
    = นักบวชกับประชาชน</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]ช. แบ่งตามระบบราชการ

    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=TOP width="57%">[​IMG]๑. ราชา-มหาราชา-จกฺกวตฺติราชา/ราชินี
    [​IMG]๒. อมจฺจา, มหาอมจฺจา
    [​IMG]๓. เสนาปติ
    [​IMG]๔. ราชปุริส
    [​IMG]๕. พลนิกาโย ฯลฯ</TD><TD vAlign=top align=TOP width="43%">- พระมหากษัตริย์
    - ข้าราชการบริหาร
    - นายก
    - ข้าราชการ
    - ทหาร</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องถือหลัก ธมฺมจารี สุขํ เสต ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นสุข จึงน่าจะเรียกว่า สังคมธัมมิก หรือ ธัมมิกสังคม ราชาก็มีธรรม ประชาชนก็มีธรรมสมณะก็มีธรรม อำมาตย์ก็มีธรรม เมื่อมีธรรมทุกฝ่ายก็อยู่เป็นสุข
    [​IMG]จะยกธรรมตามแนวพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ดังนี้.
    [​IMG]๑. ธรรมสำหรับทุกคน
    [​IMG][​IMG]๑.๑ ธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษย์ เช่น ศีล ๕ สัปปุริสธรรม ๗
    [​IMG][​IMG]๑.๒ ธรรมเพื่อชีวิตที่งอกงาม เช่น ปัจจัยสัมมาทิฏฐิ ๒ ทสบารมีมงคล ๓๘
    [​IMG][​IMG]๑.๓ ธรรมเตือนสติ, เช่น เทวทูต, มาร, อภิณหปัจจเวกขณ์
    [​IMG]๒. ธรรมเพื่อความดีงามแห่งสังคม
    [​IMG][​IMG]๒.๑ ส่งเสริมชีวิตที่ดีร่วมกัน เช่น ปฏิสันถาร ๒, สังคหวัตถุ ๔, สาราณียธรรม ๖
    [​IMG][​IMG]๒.๒ ธรรมเพื่อการปกครอง-คุ้มครองชีวิตที่ดีร่วมกันคือพรหมวิหาร ๔, ราชธรรม ๑๐, จักกวัตติวัตร ๑๒
    [​IMG]๓. ธรรมเพื่อผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์)
    [​IMG][​IMG]๓.๑ ธรรมเพื่อครอบครัวเช่น ตระกูลยั่งยืน ๔, ฆราวาสธรรม ๔, สมชีวิธรรม ๔
    [​IMG][​IMG]๓.๒ สัมพันธ์ในสังคม เช่น ทิศ ๖, มิตรแท้ มิตรเทียม
    [​IMG][​IMG]๓.๓ อยู่ดีทางเศรษฐกิจ เช่นการใช้ทรัพย์ ๔, ประโยชน์ปัจจุบัน ๔, สุขคฤหัสถ์ ๔
    [​IMG][​IMG]๓.๔ ธรรมที่พึงหลีกเว้น เช่น กรรมกิเลส ๔ อบายมุข, อนันตริยกรรม, อคติ
    [​IMG]๔. ธรรมสำหรับบรรพชิต เช่น ธุระ ๒, ปริสุทธิศีล ๔, อภิณหปัจจเวกขณะ
    [​IMG]๕. ธรรมสำหรับอุบาสก เช่น บุญกิริยาวัตถุ อุปาสกธรรม อุโบสถศีล ๘
    [​IMG]๖. ธรรมสำหรับครู เช่น ลีลาการสอน ๔, กัลยาณมิตตธรรม ๗
    [​IMG]๗. สัจจธรรม ที่ทุกคนควรเข้าใจและแจ่มแจ้ง คือ
    [​IMG][​IMG]๑. ขันธ์ ๕
    [​IMG][​IMG]๒. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
    [​IMG][​IMG]๓. อริยสัจจ์ ๔
    [​IMG][​IMG]๔. มรรค ๘
    [​IMG]สังคมที่พึงประสงค์คือสังคมที่ดำเนินตามหลักสิงคาโลวาทสูตร เว้นจากสิ่งเลวร้ายคือ กรรมกิเลสและอบายมุข แล้วทำหน้าที่ให้ถูกทั้ง ๖ ประการตามหลักทิศ ๖ พัฒนาตน ๔ ด้าน <TABLE class=b cellSpacing=1 cellPadding=7 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=TOP width="50%">[​IMG]๑. ภาวิตกาโย
    [​IMG]๒. ภาวิตสีโล
    [​IMG]๓. ภาวิตจิตฺโต
    [​IMG]๔. ภาวิตปัญญา</TD><TD vAlign=top align=TOP width="50%">มีปัจจัย ๔ สมบูรณ์
    มีระเบียบด้วยศีล ๕
    มีจิตมั่นคงด้วยสมาธิ
    มีปัญญาสูงส่งด้วยอริยชน</TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>(อํ. ติก. ๒๐/๕๔๐/๓๒๐ ส.สฬ. ๑๘/๖๑๓-๑๙/๓๙๓-๓๙๘)</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]ข้อแรกจะต้องมีหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
    [​IMG]ข้อสองจะต้องมีหลักศีลธรรมคือ ศีล ๕ และสังคหวัตถุ ๔
    [​IMG]สาราณียธรรมและฆราวาสธรรม
    [​IMG]ข้อสามจะต้องมีหลักสมาธิจิต รู้จักบำเพ็ญสมาธิ
    [​IMG]ข้อสี่จะต้องมีหลักปัญญา ๓ ให้ครบถ้วน
    [​IMG]น.พ. ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ว่า "แต่โบราณมามนุษย์ใฝ่ฝันถึงสังคมที่มีความสุขทั่วพร้อม ดังมีจินตนาการในเรื่องสวรรค์ ในเรื่องโลกพระศรีอารย์ เป็นการยากที่จะทำให้มนุษย์เลิกใฝ่ฝันเช่นนั้น นักคิดและนักปฏิบัติเพื่อสังคมมีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นความสุขถ้วนหน้า (ปี ๒๕๓๘) ในสังคม สังคมที่มีความสุขถ้วนหน้าอาจมีลักษณะดังนี้.-
    [​IMG]๑. มีงานทำ มีรายได้ มีปัจจัย ๔ ทั่วถึง
    [​IMG]๒. มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
    [​IMG]๓. มีครอบครัวที่เป็นสุข
    [​IMG]๔. มีคุณธรรม จริยธรรม
    [​IMG]๕. มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
    [​IMG]๖. มีสุขภาพจิตดี มีความพอใจในชีวิต และสังคม

    [​IMG]G.I. = Good Income
    [​IMG]G.S. = Good Security
    [​IMG]G.F. = Good Family
    [​IMG]G.V. = Good Virtue
    [​IMG]G.E. = Good Environment
    [​IMG]G.M. = Good Mental Health
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๕ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ (Buddhist Economics)

    [​IMG]คำจำกัดความ

    [​IMG]คำว่า เศรษฐศาสตร์ คือวิทยาการที่ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการผลิต การกระจายสินค้าหรือกระจายรายได้ และการบริโภคทรัพย์ หรือสวัสดิการของมนุษย์
    [​IMG] [Economics is the science treating of the production, distribution, and consumption of wealth, or the material welfare of mankind]
    [​IMG]เศรษฐศาสตร์ คือวิชาว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน มี ๒ สาขา คือ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>

    [​IMG]๑. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro-Economics) ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือปัญหาการหาตลาดเป็นต้น
    [​IMG]๒. เศรษฐศาสตร์มหัพภาค (Macro-Economics) ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน


    ข้อที่พึงพิจารณา

    [​IMG]๑. หลักการสร้างตนทางเศรษฐกิจ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง
    [​IMG] [​IMG] (๑) อุฏฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงานประกอบอาชีพอันสุจริตมีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่องตรวจตราหาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
    [​IMG][​IMG](๒) อารักขสัมปทา รู้จักรักษาและคุ้มครองโภคทรัพย์ และผลงานอันตนทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตนไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย
    [​IMG][​IMG](๓) กัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นมิตร คือรู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
    [​IMG][​IMG](๔) สมชีวิตา มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้
    [​IMG]ท่านเรียกว่า ทิฏจธมมิกตถสํวุตตนิกธมม อำนวยประโยชน์สุขเบื้องต้นสุขการมี การจ่าย ไม่มีหนี้ ไม่มีโทษ (อํ.อฏฐก. ๒๓/๑๔๔/๒๘๙)

    [​IMG]๒. การผลิตในแง่พุทธ
    [​IMG](๑) ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องมีธรรมะตามหลักทิศ ๖
    [​IMG](๒) การผลิตต้องถือหลักสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา
    [​IMG](๓) ผลิตมาก กินเก็บแต่พอดี เหลือเอาไปช่วนเหลือเพื่อนมนุษย์นี่คืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของชาวพุทธ ที่ช่วยโลกได้

    [​IMG]๓. การบริโภคในแง่ชาวพุทธ
    [​IMG]จะต้องบริโภคด้วยโยนิโสมนสิการ ด้วยทฤษฎีคุณค่าแท้ - คุณค่าเนียมตามหลักพิจารณาด้วยปัญญา - ปฏิสังขา โยนิโส ฯลฯ
    [​IMG]การบริโภคที่จะเกิดอัตถประโยชน์ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องประกอบด้วยพอใจ ๓ ขั้นคือ
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="48%">[​IMG][​IMG]อัตถประโยชน์ชั้นต้น
    [​IMG][​IMG]อัตถประโยชน์ชั้นกลาง
    [​IMG][​IMG]อัตถประโยชน์ชั้นสูง</TD><TD vAlign=top width="52%">= กามฉันทะ
    = กุศลฉันทะ
    = ธัมมฉันทะ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]๔. การแบ่งปันแบบชาวพุทธ
    [​IMG](๑) ไม่ขายของที่มีพิษมีโรค
    [​IMG](๒) แลกเปลี่ยนสิ่งของด้วยยุติธรรม
    [​IMG](๓) ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มนีโอคลาสิก ที่ว่า ทุนต่ำ กำไรสูง แต่มุ่งคุณค่าคุณประโยชน์ คุณภาพ
    [​IMG](๔) ใช้หลักสังคหวัตถในสังคม คือ <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="32%">[​IMG][​IMG]ทาน
    [​IMG][​IMG]ปิยวาจา
    [​IMG][​IMG]อัตถจริยา
    [​IMG][​IMG]สมานัตตตา</TD><TD vAlign=top width="68%">- Share
    - Pleasat Speech
    - Creative Thinking
    - Participation</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]๕. แบ่งตามหลักพลี ๕ อย่าง คือ
    [​IMG](๑) เลี้ยงมารดาบิดาครอบครัวให้เป็นสุข
    [​IMG](๒) เลี้ยงมิตรสหาย ร่วมกิจการ
    [​IMG](๓) ป้องกันอันตราย
    [​IMG](๔) ทำพลี ๕ ญาติ อถิติ ปุพเปต ราชพลี เทวตา
    [​IMG](๕) อุปถัมภ์นักบวชที่ดี (อํ.ปญฺจก. ๒๒/๔๑/๔๘)

    [​IMG]๖. โภควิภาค ๔ <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="47%">[​IMG][​IMG]เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย
    [​IMG][​IMG]ทวีหิ กมฺมํ ปโยชเย
    [​IMG][​IMG]จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย</TD><TD vAlign=top width="53%">พึงบริโภคส่วนหนึ่ง
    พึงประกอบการงานด้วยทรัพย์สองส่วน
    พึงเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวฉุกเฉินหนึ่ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]๕. รัฐสวัสดิการ
    [​IMG]ผู้นำต้องมีจักรวรรดิวัตร ผู้ตามต้องมี กุศลกรรมบถ


    จักรวรรดิวัตร คือ
    [​IMG]๑. ธรรมาธิปไตย เคารพนับถือบูชายำเกรงธรรม ยึดธรรมเป็นหลักเป็นธงชัย เป็นใหญ่ โดยจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม แก่
    [​IMG][​IMG]ก. อันโตชน ชนภายใน
    [​IMG][​IMG]ข. พลกาย ฝ่ายทหาร
    [​IMG][​IMG]ค. ขัตติยะ ฝ่ายทูต
    [​IMG][​IMG]ง. อนุยนต์ ข้าราชการบริพาร ข้าราชการพลเรือนทั้งหมด
    [​IMG][​IMG]จ. พราหมณ์ คฤหบดี นักวิชาการ หมอ พ่อค้า และเกษตรกรช่วยจัดหาทุนและอุปกรณ์ให้
    [​IMG][​IMG]ฉ. เนคมชนบท ราษฎรทั้งปวงทั้งในกรุงและชายแดนไม่ทอดทิ้ง
    [​IMG][​IMG]ช. สมณพราหมณ์
    [​IMG][​IMG]ญ. มิคปักษี ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์อันควรสงวน
    [​IMG]๒. มา อธรรมการ ป้องกันแก้ไขสิ่งชั่วร้ายมิให้เกิดขึ้นในอาณาเขต
    [​IMG]๓. ธนานุประทาน ปันเฉลี่ยทรัพย์ให้แก่คนยากไร้ มิให้ขัดสนในแว่นแคว้นกระจายรายได้
    [​IMG]๔. สมณพราหมณปริปุจฉา รู้จักปรึกษารอบคอบปัญหากับสมณะ และพราหมณ์ นักปราชญ์ นักวิชาการที่มีคุณธรรมจักรวรรดิสูตร (ที.ปา. ๑๑/๓๕/๖๕)

    กุศลกรรมบท ๑๐ คือ
    [​IMG]๑. กายกรรมที่เป็นสุจริต ๓
    [​IMG]๒. วจีกรรมที่เป็นสุจริต ๔
    [​IMG]๓. มโนกรรมที่เป็นสุจริต ๓
    ธรรมจริยา ๑๐ (ม.มู. ๑๒/๔๘๕/๕๒๓.)

    แบ่งรายละเอียดดังนี้.-
    [​IMG]๑. เว้นจากการฆ่า
    [​IMG]๒. เว้นจากการลัก
    [​IMG]๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    [​IMG]๔. เว้นจากการพูดเท็จ
    [​IMG]๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด
    [​IMG]๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ
    [​IMG]๗. เว้นจากการพูดไร้สาระ
    [​IMG]๘. เว้นจากความโลภ
    [​IMG]๙. เว้นจากพยาบาท
    [​IMG]๑๐. เว้นจากความเห็นผิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๖ พระพุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา

    ๑. การศึกษาคืออะไร ?
    [​IMG]ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า คำว่าสิกขามาจากคำว่า
    [​IMG][​IMG]สยํ + อิกฺขา
    [​IMG][​IMG]สมฺมา + อิกฺขา
    [​IMG][​IMG]สห + อิกฺขา
    [​IMG]ผู้ศึกษาจะต้องเห็นชัดในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองอย่างถูกต้องจนดับทุกข์ได้และสามารถจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ด้วยความสงบสุข ดังนั้นการศึกษาจึงมิใช่การเรียนเพียงด้านภาษา และอาชีพเท่านั้น แต่หมายถึงการดับทุกข์ตนเองและผู้อื่นให้ได้ทำตนให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3>
    [​IMG]ดร. สาโรช บัวศรกล่าวว่า การศึกษาคือขบวนการพัฒนาขันธ์ ๕ ให้เจริญเต็มที่เพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด
    [​IMG]พระราชวรมุนี* (* ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) )ได้กล่าวว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ คือทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด และ มีความเป็นใหญ่ในตัว สามารถกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด

    ๒. กระบวนการศึกษาแบบพุทธ
    [​IMG]คือ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องด้วยการทำลายอวิชชาและตัณหา และสร้างเสริมปัญญา ฉันทะ และกรุณา

    ๓. ความหมายและจุดมุ่งหมายการศึกษา
    [​IMG]ก. ความหมายที่มองในแง่สภาพที่เผชิญการศึกษาก็คือการแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าไม่มีปัญหา การศึกษาก็ไม่มี มองในแง่สภาพที่จะประสบผล การศึกษาก็คือการทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากปัญหา (-) ปราศจากสิ่งบีบคั้นกีดขวาง แล้วเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม (+) สิ่งที่ประเสริฐที่สุดหรือดีที่สุดที่ชีวิตจะพึงได้มีอิสรภาพสมบูรณ์ มองในแง่ความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกการศึกษาคือการทำให้มนุษย์พ้นจากการต้องพึ่งปัจจัยภายนอก มีความสมบูรณ์ในตัวมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
    [​IMG]ข. จุดหมายของการศึกษาเป็นอันเดียวกันกับจุดหมายของชีวิตคือความหลุดพ้น (วิมุตติ) ได้แก่ความปลอดโปร่งเป็นอิสระ

    ๔. คุณสมบัติของผู้ได้รับการศึกษา
    [​IMG]ผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบพุทธ จะมีลักษณะเด่น คือ มีคุณธรรม ๒ ประการประจำตน
    [​IMG]๑. มีปัญญา ซึ่งเกิดพร้อมกับการสิ้นอวิชชา
    [​IMG]๒. มีกรุณา ซึ่งเป็นแรงเร้าในการกระทำในการดำรงชีวิต จะมีลักษณะ ๒ คือ
    [​IMG]อัตตัตถะ การบรรลุถึงประโยชน์ตน ฝึกตนเองได้ดี (ปัญญา)
    [​IMG]ปรัตถะ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น สามารถช่วยผู้อื่นได้ดี (กรุณา)

    ๕. พุทธธรรมที่เป็นสาระสำคัญของการศึกษา
    [​IMG]๑) ธรรมที่พึงวิเคราะห์ เพื่อแสวงหาพุทธปรัชญา การศึกษาหลักธรรม หลักได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท นิพพาน และอริยสัจ ๔ หลักธรรมรอง คือ ขันธ์ ๕,ไตรลักษณ์ กรรม และไตรสิกขา
    [​IMG]๒) ความหมายของหลักธรรมแต่ละอย่าง
    [​IMG][​IMG]๒.๑ ปฏิจจสมุปบาทแสดงกฎเหตุผลและปัจจัยสนับสนุน
    [​IMG][​IMG]๒.๒ อริยสัจแสดงปัญหาและการแกัปัญหาของมนุษย์
    [​IMG][​IMG]๒.๓ ขันธ์ ๕ แสดงชีวิตมีองค์ประกอบ
    [​IMG][​IMG]๒.๔ ไตรลักษณ์ แสดงสภาพที่เป็นจริงที่เราจะพึงเกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
    [​IMG][​IMG]๒.๕ กรรม แสดงความเป็นไปของมนุษย์และเหตุผล ที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ผลสำเร็จ และจุดมุ่งหมายที่จะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำมิใช่การอ้อนวอน
    [​IMG][​IMG]๒.๖ ไตรสิกขา แสดงความหมายแท้ของการศึกษา ขอบเขตการ ฝึกตน การพัฒนาชีวิตที่ดี (มรรค)
    [​IMG][​IMG]๒.๗ นิพพาน แสดงถึงสภาวะที่เข้าถึงเมื่อแก้ปัญหามนุษย์ได้แล้ว และประโยชน์สูงสุดที่จะพึงได้จากการมีชีวิตและการมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์

    ๖. มองการศึกษาแนวพุทธจากภาคปฏิบัติ
    [​IMG]ครู คือผู้ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ
    [​IMG][​IMG]๑. สิปปทายก เป็นผู้ให้วิทยาการ
    [​IMG][​IMG]๒. กัลยาณมิตร เป็นเพื่อนคิด
    [​IMG]ตามหลักปัจจัยสัมมาทิฐิ ๒ ประการ คือ
    [​IMG][​IMG]ปรโตโฆสะ เสียงจากภายนอกรวมทั้งกัลยาณมิตร
    [​IMG][​IMG]โยนิโสมนสิการ คือการคิดเป็นระบบ ๑๐ แบบ คือ
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=583 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="17%">[​IMG][​IMG] </TD><TD vAlign=top width="33%">๑. คิดแบบสัมพันธภาพ </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(อิทัปปัจจยตา) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๒. คิดแบบวิเคราะห์ </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(ขันธ์ ๕) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๓. คิดแบบแก้ทุกข์ </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(อริยสัจ) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๔. คิดแบบสามกระแส </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(ไตรลักษณ์) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๕. คิดแบบสามมิติ </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(คุณ-โทษ-ทางออก) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๖. คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(ปฏิสังขาโย) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๗. คิดแบบเสาสภา </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(สัตบุรุษ) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๘. คิดแบบกุศลภาวนา </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(ชูความดี) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๙. คิดแบบจันทร์เพ็ญ </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">(สติปัฎฐาน) </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="17%"> </TD><TD vAlign=top width="33%">๑๐ . คิดแบบวิภัชชวาท </TD><TD vAlign=top width="23%">[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width="28%">แบบวิธีตอบปัญหา ๔ อย่าง
    คือ ยืน-แยก-ย้อน-หยุด </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๗. ขบวนการแก้ปัญหาด้วยปัญญาญาณ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ๘. ขบวนการทางการศึกษาของพระพุทธเจ้า อาจกล่าวได้โดยสรุปดังนี้
    [​IMG]บุรพภาคของการศึกษา คือพื้นฐานที่จะให้เกิดระบบการศึกษาที่ถูกต้องมี ๗ อย่าง คือ
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="39%">[​IMG]๑) กัลยาณมิตตตา
    [​IMG]๒) ฉันทสัมปทา
    [​IMG]๓) สีลสัมปทา
    [​IMG]๔) อัตตสัมปทา
    [​IMG]๕) ทิฏฐิสัมปทา
    [​IMG]๖) ปอัปมาทสัมปทา
    [​IMG]๗) โยนิโสมนสิการ </TD><TD vAlign=top width="61%">- คบคนดี
    - ใฝ่ดี
    - มีระเบียบวินัย
    - รู้ศักยภาพตนเอง
    - เห็นชอบ
    - รู้จักค่าของเวลา-ไม่ประมาท
    - คิดเป็นระบบ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]ตัวการศึกษา คือ มรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นชอบเป็นต้น
    [​IMG]เป้าการศึกษา คือ พัฒนากาย (ภาวิตกาโย) พัฒนาสังคม (ภาวิตสีโล) พัฒนาจิต (ภาวิตจิตฺโต) พัฒนาปัญญา (ภาวิตปญฺโญ)
    [​IMG]ผลการศึกษา คือ จิตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและสังคม ดังรูปต้นไม้ การศึกษา ดังนี้.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๗ พระพุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์
    [​IMG]ประเด็นที่พึงศึกษา
    [​IMG] (๑) จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนากับของวิทยาศาสตร์
    [​IMG] (๒) ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] (๓) ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์
    [​IMG] (๔) ความสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3>
    [​IMG]๑. จุดมุ่งหมายของวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์

    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width="46%">วิทยาศาสตร์ </TD><TD vAlign=top width="54%">พุทธศาสตร์ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">- แก้ไขปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

    - ต้องการรู้จักกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ </TD><TD vAlign=top width="54%">- เข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติในนิยาม ๕ คือ อุตุ, พีช, จิต,
    กรรม, ธรรมชาติ
    - ต้องการให้รู้กฎเกณฑ์ความจริงของชีวิตมนุษย์ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]๒. ความเชื่อ ตามหลักวิทยาศาสตร์ การจะเชื่อสิ่งใดต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน เอาปัญญาและเหตุผลเป็นตัวตัดสินความจริง หลักพุทธศาสนาถือว่า ความจริงจะต้องพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ ดุจหลัก กาลามสูตร และที่ไหนมีศรัทธาที่นั่นจะต้องมีปัญญา

    [​IMG]๓. ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์คล้ายกันคือ
    [​IMG][​IMG]๓.๑ สืบสาวหาเหตุผลของปรากฏการณ์และของทุกข์
    [​IMG][​IMG]๓.๒ การเริ่มต้นหาความจริงจากประสบการณ์ อายตนะ และสภาวธรรม คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    [​IMG][​IMG]๓.๓ กระบวนความคิด มีดังนี้
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width="50%">
    กระบวนการวิทยาศาสตร์ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    กระบวนการพุทธศาสตร์ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">๑. ตั้งปัญหาให้ชัด
    ๒. ตั้งคำถามชั่วคราวเพื่อตอบทดสอบ
    ๓. รวบรวมข้อมูล
    ๔. วิเคราะห์ข้อมูล
    ๕. ถ้าคำตอบชั่วคราวถูกตั้งทฤษฎีไว้
    ๖. นำไปประยุกต์แก้ปัญหา </TD><TD vAlign=top width="50%">๑. ทุกข์-ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
    ๒. หาคำตอบจากลัทธิ
    ๓. ลองปฏิบัติโยคะ
    ๔. รวบรวมผลการปฏิบัติ
    ๕. ผิดก็เปลี่ยน ถูกก็ดำเนินถึงจุดหมาย
    ๖. เผยแผ่แก่ชาวโลก </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]๔. ความสอดคล้องและความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
    [​IMG][​IMG]๔.๑ หลักไตรลักษณ์ คืออนิจจัง (impermanent) ทุกขัง (conflict) และอนัตตา (no-self)
    [​IMG][​IMG]๔.๒ การยอมรับโลกที่อยู่พ้นสสารวัตถุ (Metaphysics) ทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์ยอมรับสสารวัตถุ ซึ่งรู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ว่ามีจริง โลกที่พ้นจากสสารวัตถุวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับเพราะเชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะต้องตัดสินความจริง
    [​IMG]พุทธศาสนาเชื่อว่า สัจธรรมชั้นสูงคือมรรค ผล นิพพาน ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยปัญญินทรีย์
    [​IMG][​IMG]๔.๓ การอธิบายความจริง
    [​IMG][​IMG]วิทยาศาสตร์ถือว่า ความจริงเป็นสิ่งสาธารณะสามารถพิสูจน์ได้สัจธรรมทางพุทธ มีทั้งสิ่งสาธารณะและปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ - อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
    [​IMG]สรุปความว่า ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือวิทยาศาสตร์ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว วางตัวเป็นกลางในเรื่องถูกผิด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ให้ทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ส่วนคำสอนทางพุทธ-ศาสนานั้น เป็นเรื่องศีลธรรม ความดี ความชั่ว มุ่งที่จะให้มนุษย์ในสังคมมีความสุขเป็นลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดแล้วแต่ว่าใครจะไปได้แค่ไหน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- Script เมนู กลับด้านบนเลื่อนตาม scroll -->
    <SCRIPT language=JavaScript1.2><!--// กำหนดตำแหน่งของรูปmarkW = 90; // pixels widemarkH = 40; // pixels highmarkX = 15; // percent rightmarkY = 100; // percent downmarkRefresh = 50; // milliseconds// set common object referenceif (!document.all) document.all = document;if (!document.all.waterMark.style) document.all.waterMark.style = document.all.waterMark;wMark = document.all.waterMark.style;wMark.width = markW;wMark.height = markH;navDOM = window.innerHeight; // Nav DOM flag function setVals() { barW = 0; // scrollbar compensation for PC Nav barH = 0; if (navDOM) { if (document.height > innerHeight) barW = 20; if (document.width > innerWidth) barH = 20; } else { innerWidth = document.body.clientWidth; innerHeight = document.body.clientHeight; } posX = ((innerWidth - markW)-barW) * (markX/100); posY = ((innerHeight - markH)-barH) * (markY/100); }function wRefresh() { wMark.left = posX + (navDOM?pageXOffset:document.body.scrollLeft); wMark.top = posY + (navDOM?pageYOffset:document.body.scrollTop); }function markMe() { setVals(); window.onresize=setVals; markID = setInterval ("wRefresh()",markRefresh); }window.onload=markMe; // safety for Mac IE4.5//--></SCRIPT><!-- End Script เมนู กลับด้านบนเลื่อนตาม scroll --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๘ อัคคัญญสูตรกับทฤษฎีวิวัฒนาการ
    [​IMG]สิ่งที่ควรรู้
    [​IMG][​IMG]๑. สาระสำคัญของอัคคัญญสูตร
    [​IMG][​IMG]๒. ทฤษฎีวิวัฒนาการคืออะไร ?
    [​IMG][​IMG]๓. ข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดทั้งสอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3>

    [​IMG]๑. สาระสำคัญของอัคคัญญสูตร
    [​IMG][​IMG]๑.๑ เหตุเกิด ที่บุพพาราม สาวัตถี
    [​IMG][​IMG]๑.๒ บุคคล พระพุทธเจ้ากับสามเณร ๒ รูป วาเสฏฐกับภารทวาชะ ผู้เป็นพราหมณ์
    [​IMG][​IMG]๑.๓ สารคำโต้ตอบ-ถูกพราหมณ์ด่าว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ บริสุทธิ์-ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากอุระของพรหม วรรณะอื่นเลวทรามเกิดจากเท้าของพรหม
    [​IMG][​IMG]๑.๔ สารคำตอบของพระพุทธเจ้า
    [​IMG][​IMG]คนก็คือคน เกิดจากมารดา (นางพราหมณี) มิใช่เกิดจากพรหม คนจะเลวจะดีอยู่ที่การกระทำ มิใช่วรรณะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งปัจจุบันและอนาคต

    [​IMG]วิวัฒนาการของโลก

    <TABLE class=b cellSpacing=1 cellPadding=7 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="25%">[​IMG]โลกดับ
    [​IMG]โลกเย็น
    [​IMG]เกิดตัณหา </TD><TD vAlign=top width="75%">- เกิดอาภัสสรพรหม ล่องลอยในจักรวาล
    - มีน้ำ มืดมน มีแสงสว่าง เกิดง้วนดิน สัตว์กินง้วนดิน
    -
    ร่างกายแข็ง รัศมีในตัวหายไป พระจันทร์อาทิตย์ก็ปรากฏ เดือน ปี ฤดู ก็ปรากฏ
    ง้วนดินดุจรวงผึ้ง </TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]เกิดการดูถูกกันด้วยวรรณะผิวพรรณ สวย-ไม่สวย ง้วนดินหมดไป อาหารอื่นกระบิดิน คล้ายเห็ด
    [​IMG]เกิดการดูหมิ่น กระบิดินหมดกลายเป็นเครือดิน ดุจผลมะพร้าว
    [​IMG]ดูหมิ่นกันด้วยวรรณะ เครือดินหมด เกิดข้าวสาลี ไม่มีรำ-แกลบ ขาวสะอาด เกิดเพศหญิง เพศชาย เพ่งดูกันจนกำหนัด เสพเมถุนกัน (เสพ อสัทธรรม)
    [​IMG]ต่อมาเกิดอายเพราะถูกดูถูกการเสพเมถุน จึงสร้างเรือนกำบังการเสพอสัทธรรม
    [​IMG]เกิดการกักตุนอาหารข้าวสาลี เพราะเกียจคร้าน เกิดการกักตุนอาหาร ข้าวสาลีจึงกลายมีแกลบมีรำ แบ่งเขตกันทำการเกษตร เกิดการละเมิดสิทธิ เกิดวีรบุรุษ คือ <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="19%"> </TD><TD vAlign=top width="32%" colSpan=2>มหาชนสมบัติ
    กษัตริย์
    ราชา
    </TD><TD vAlign=top width="48%">- ประชาชนยกขึ้น
    - หัวหน้าเขต
    - ยังคนอื่นให้สุขใจโดยธรรม
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="29%" colSpan=2>[​IMG]เกิดวรรณะ ๔ คือ
    </TD><TD vAlign=top width="22%">กษัตริย์
    พราหมณ์
    แพศย์
    ศูทร
    </TD><TD vAlign=top width="48%">= หัวหน้าคน
    = ลอยบาป
    = ยึดมั่นในเมถุน ประกอบงานเป็นแผนกๆ
    = ทำการงานเป็นแผนก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]วรรณะทั้ง ๔ นี้
    [​IMG][​IMG]ทำทุจริตกรรม ไปอบาย
    [​IMG][​IMG]ทำสุจริตกรรม ไปสุคติสวรรค์
    [​IMG][​IMG]ทำสุจริตกรรมทุจริตกรรม ก็สุขบ้างทุกข์บ้าง
    [​IMG][​IMG]สำรวมกายวาจาใจ เจริญในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็ปรินิพพาน
    [​IMG]วรรณะใดเป็นภิกษุ สิ้นอาสวะมีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วเพราะรู้ชอบ วรรณะนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย โดยธรรมแท้จริง
    [​IMG]ทรงสรุปว่า ในหมู่ชนที่รังเกียจด้วยโคตร กษัตริย์ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
    [​IMG][​IMG][​IMG]อหํปิ วาเสฏฺฐ เอวํ วทามิ
    [​IMG][​IMG][​IMG]ขตฺติโย เสฏฺโฐชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน
    [​IMG][​IMG][​IMG]วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเสติ.
    ที.ปา. ๑๑/๕๑-๗๒/๘๗-๑๐๗

    [​IMG]What is Evolution Development?
    [​IMG][​IMG]Any process of formation or growth; continuous process from unorganized simplicity to organized complexity.

    [​IMG]๒. ทฤษฎีวิวัฒนาการคืออะไร ?
    [​IMG]ในศตวรรษที่ ๑๙ เกิดหลักการที่มีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ปรัชญา และศาสนามาก เราเรียกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution) ซึ่งมีหลักการว่าองค์อวัยวะของสิ่งมีชีวิตได้เจริญเติบโตมาก็โดยเนื่องมาจากปฏิบัติการทางธรรมชาติเป็นเหตุ จากรูปแบบที่ง่ายๆ ในระยะเริ่มแรก และต่อมาก็ไม่มีชาติพันธุ์ใดจะคงที่อยู่เหมือนเดิม โดยไม่เปลี่ยนแปลง นักปรัชญายอมรับความเป็นไปได้ของทฤษฎีนี้
    [​IMG]ตัวอย่างเช่น เฮแรคลิตุส ได้ย้ำว่าความเจริญและความเปลี่ยนแปลงสถิตอยู่ในระบบหรือขบวนการของจักรวาล ในขณะที่ ลูคริตุส ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในจักรวาลมีรากฐานที่ระบบปรมาณูและแรงผลักดันที่มีเหตุจากธรรมชาติ
    [​IMG]ในระหว่างศตวรรษที่ ๑๘ นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่า สัตว์ชนิดต่างๆ อาจมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน และสิ่งแวดล้อมได้มีผลทำให้สัตว์ตระกูลต่างๆ เหล่านั้นแตกต่างกันออกไป ในศตวรรษต่อมา ก็มีคนพิสูจน์เรื่ององค์ประกอบและมิใช่องค์ประกอบที่มีผลจากธรรมชาติ ในหนังสือ Principles of Geology แสดงว่าก่อตัวขึ้นและเปลี่ยนไปโดยตัวแทนทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน ปี (ค.ศ. ๑๘๐๒) พ.ศ.๒๓๔๕ จีน แบบติส เดอร์ ลามาร์ค (ค.ศ. ๑๗๔๔-๑๘๒๙) ยืนยันว่าทุกอวัยวะ (องคาพยพ) มีแนวที่จะสร้างอวัยวะใหม่ขึ้น เพื่อปรับตนเองให้เข้ากับปัจจัยทางธรรมชาติที่เปลี่ยนไป ด้วยการพัฒนาอวัยวะเป็นเครื่องวัดถึงประโยชน์ของมัน การเปลี่ยนรูปร่างอวัยวะ ถูกแปรออกมาทางพันธุกรรมตามบรรพบุรุษ รูปร่างก็เปลี่ยนไปด้วย Lamark ได้ยกตัวอย่าง ยีราป ซึ่งพัฒนาคอของมันให้ยาวเพื่อกินใบไม้และ ต้นไม้ที่สูงๆ ได้ ช่วงชีวิตหนึ่งๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยต่อรุ่นต่อมา
    [​IMG]ผู้ที่ให้เกิดความฮือฮามากที่สุดคือนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ชารลส์ ดาร์วิน (Charles Dawin ค.ศ. ๑๘๐๙-๑๘๘๒) เขาได้สรุปหลังจากได้สังเกตเป็นเวลาหลายปี ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๑- ๑๘๓๖ โดยศึกษาโครงกระดูก ซึ่งรวบรวมได้จากการเดินทาง บิแองเกิล โดยอาศัยชายฝั่งอเมริกาใต้ และทะเลใต้ เขาได้รับแรงบันดาลจากหนังสือ ๒ เล่ม คือ.-
    [​IMG]๑. Principles of Geology by Lyell
    [​IMG]๒. Essay on Population by Robert Malthus
    [​IMG][​IMG]ซึ่งถือว่า ความเปลี่ยนแปลงทุกอย่างมาจากธรรมชาติ natural causes และการขยายตัวของประชากรมนุษย์และการผลิตอาหารไม่เพียงพอมีผลต่อธรรมชาติทั้งปวง
    [​IMG]ดาร์วิน ได้เขียนหนังสือชื่อว่า On the origin of Species by means of Natural Selection, or the Presentation of Favoeced Races in the Struggle for Life. (การศึกษากำเนิดมนุษย์โดยสะสมโครงกระดูกตามธรรมชาติ หรือการรักษาชาติพันธุ์ด้วยการต่อสู้เพื่อชีวิตคงอยู่)
    [​IMG]Wallace, Alfred R. ได้ศึกษาลุ่มน้ำอเมซอน และเนเธอร์แลนด์ ก็เกิด ความคิดเช่นเดียวกันกับดาร์วิน
    [​IMG]ปี ๑๘๗๑ ดาร์วินได้ตีพิมพ์เรื่อง The Descent of Man and Selection in Relation to Sex ซึ่งได้จัดความคิดให้เป็นระบบและประยุกต์กฎ (Law) แห่งโครงกระดูกมาใช้กับมนุษย์ เขาได้เสนอความเห็นไม่ตรงกับคนอื่น และสรุปว่า บรรพบุรุษของมนุษย์น่าจะเป็นสัตว์คล้ายๆลิง เมื่อเปรียบเทียบกับโครงร่างของอุรังอุตัง ซิมแปนซี่ และคอริลล่า เขาเขียนไว้อย่างไม่สะทกสะท้านว่า แม้ว่ามนุษย์จะประเสริฐเลิศลอยอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์ลึก (ชำแหละลึก) ลงไปถึงความเปลี่ยนแปลงและกฎของระบบสุริยจักรวาลแล้ว มนุษย์ก็ยังคงมีร่างกายคล้ายกัน บรรพชนซึ่งเป็นต้น

    กำเนิดในระยะเริ่มแรก
    [​IMG]จุดสมมติฐานของดาร์วิน ๓ ประการ คือ.
    [​IMG][​IMG]๑) พืช และสัตว์ มีบรรพบุรุษมาแต่เดิมที่สืบทอดกันมา
    [​IMG][​IMG]๒) วิวัฒนาการเกิดจากทางเลือกตามธรรมชาติ คือสร้างคนรุ่นใหม่ให้สมบูรณ์กว่าเดิม ให้ต่อสู้เพื่อดำรงตนอยู่ได้ท่ามกลางธรรมชาติ สิ่งที่อยู่ได้คือสิ่งที่สามารถปรับตัวเข้าได้กับสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสมจะถ่ายทอดผ่านทางช่วงอายุ
    [​IMG][​IMG]๓) ความแตกต่างในระหว่างชาติพันธุ์เกิดจากทางเลือกในด้านสืบพันธุ์ด้วย (Sexual Selection)
    [​IMG][​IMG]ในปัจจุบัน สามารถค้นพบการแปรผันในพันธุกรรม สามารถทำได้โดยวิธีการต่างๆ เช่นการผสมเทียม การตอนต่อ แม้กระทั่งมนุษย์ในหลอดแก้ว

    [​IMG]๓. ข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดทั้งสอง
    [​IMG][​IMG]ก. ข้อเหมือน
    [​IMG][​IMG]๑) ทั้งอัคคัญญสูตร และทฤษฎีวิวัฒนาการตามธรรมชาติของมนุษย์เป็นขั้นเป็นตอน ตามเหตุปัจจัย ตามกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลก
    [​IMG][​IMG]๒)ทั้งทัศนะของพระพุทธเจ้าและดาร์วิน ต่างก็มองมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์มนุษย์เอง ด้วยการกระทำหรือการงาน ที่เรียกว่าวรรณะ ก็แบ่งด้วยเหตุผลทางการงาน มนุษย์จึงเลือกอนาคตของตนเองได้
    [​IMG][​IMG]๓)ทั้งสองยอมรับว่า ในระยะแรกมนุษย์มีความเป็นอยู่ง่ายๆ แบบธรรมชาติ ไม่ซับซ้อน (unorganized simplicity) ต่อมาก็ได้ขยายตัวออกเป็นสังคมที่มีอารยธรรมสลับซับซ้อน (organized complexity)
    [​IMG][​IMG]ข. ข้อแตกต่าง
    [​IMG][​IMG]๑) อัคคัญญสูตร เป็นผลแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นความรู้เกิดจากสัพพัญญุตญาณ-สัมมาสัมโพธิญาณ แต่ทางทฤษฎีวิวัฒนาการเกิดจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัย รวบรวมข้อมูลการสังเกตวิเคราะห์พิสูจน์ แล้วตั้งเป็นหลัก
    [​IMG][​IMG]๒) ทฤษฎีวิวัฒนาการไม่เกี่ยวข้องกับความดีความชั่ว ศีลธรรมของมนุษย์ เป็นการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลก พืช สัตว์ และมนุษย์ เท่านั้น ในขณะที่อัคคัญญสูตรได้กล่าวถึง ความดีความชั่ว ที่เรียกว่า คนจะเลวก็เพราะทุจริต จะดีก็เพราะสุจริต จะดับทุกข์ได้ก็เพราะการสำรวม และเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสรุปว่า
    [​IMG][​IMG]ผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์
    [​IMG][​IMG]๓) อัคคัญญสูตร ได้กล่าวถึงเทพประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่าอาภัสสรพรหม ซึ่งมาสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของโลก จากโลกมืด เทพสว่างจนถึงโลกสว่าง เทพมืดคือดับแสงในตัวจนถึงวิวัฒนาการของร่างกาย พืชและสิ่งแวดล้อมจนถึงเกิดวรรณะและหน้าที่ของคน
    [​IMG][​IMG]แต่ทฤษฎีวิวัฒนาการ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเทพ แต่กล่าวถึงสัตว์มีเซลล์เดียวและวิวัฒนาการมาจนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมีกระดูกสันหลัง จนถึง apeman มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงมนุษย์ยุคประวัติศาสตร์
    [​IMG][​IMG]๔) ผู้ค้นพบวิวัฒนาการ คือ นักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่แฮแรคลิตุส, ลูคลิตุส, ลามาร์ค และดาร์วิน แต่ผู้แสดงอัคคัญญสูตร คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๙ พระพุทธศาสนากับการเกิดใหม[​IMG]การเกิดใหม่เป็นหลักการที่พระพุทธศาสนาถือว่า ตราบใดคนยังมีอวิชชา ตัณหาอยู่การเกิดใหม่ย่อมมี การเกิดใหม่จะดับไปก็ต่อเมื่อปัจจัยการดับ ดังกล่าวว่า


    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=427 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="12%">[​IMG] </TD><TD vAlign=top width="43%">อิมสฺมึ สติ, อิทํ โหติ
    อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปชฺชติ
    อิมสฺมึ อสติ อิทํ นโหติ
    อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติฯ
    </TD><TD vAlign=top width="45%">เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี
    เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>หน่วยการบรรยาย

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3>
    [​IMG]และมีข้อความเป็นอันมากในพระสูตรที่แสดงว่าคนเราเมื่อทำทุจริตกรรมแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต ตรงข้ามเมื่อสัตว์ทำสุจริตกรรมแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    [​IMG]อีกแห่งหนึ่งแสดงให้เห็นว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองหวังได้ว่าไปทุคคติ จิตฺเต อสงฺ กิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง หวังได้ว่า ไปสู่สุคติแน่นอน
    [​IMG]ในอังคุตตรนิกายแสดงว่า
    [​IMG]กมฺมํ เขตฺตํ, วิญฺญาณํ พีชํ, ตณฺหาสิเนหํ กรรมเป็นเหมือนนาข้าว วิญญาณ เป็นเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก ตัณหา เป็นเหมือนยางในเมล็ดข้าว
    [​IMG]องค์ประกอบทั้ง ๓ คือ
    [​IMG][​IMG]๑) กรรมดี กรรมชั่ว ที่คนทำ
    [​IMG][​IMG]๒) วิญญาณ หรือปฏิสนธิวิญญาณ
    [​IMG][​IMG]๓) ตัณหา คือ เจตสิกที่มีพลังสะสมอยู่ในจิตเป็นตัวสืบต่อ

    [​IMG]วิวัฒนาการเกิดขึ้นของมนุษย์
    [​IMG][​IMG]รูปนี้เป็น กลละ ก่อน จากกลละ เป็น อัพพุทะ จากอัพพุทะ เป็นเปสิ เป็นฆนะ จากฆนะ เกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปญฺจสาขา) ต่อจากนั้นก็มีผมปนเล็บเกิดขึ้น มารดาของสัตว์เกิดขึ้นในครรภ์บริโภคทั้งน้ำโภชนาการอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น ในครรภ์อินทกสูตรที่ ๑ สํ.ส. ๘๐๓ บาลี ๑๕/๓๐๓ ไทย ๑๕/๒๘๖

    การเกิดขึ้นของคนมีปัจจัย ๓ ประการ คือ
    [​IMG]๑. มารดามีระดู
    [​IMG]๒. มารดาบิดาอยู่ร่วมสังวาสกัน
    [​IMG]๓. สัตว์เกิดในครรภ์
    [​IMG]ดูกร อานนท์ ถ้าวิญญาณจักไม่หยั่งลงในครรภ์มารดา นามรูปจะพึงสถิตมั่นในครรภ์มารดาได้หรือ ?
    มหาตัณหังขยสูตร
    [​IMG]บทนี้แสดงถึงการเกิดใหม่ของพระองค์ ที่ยืนยันชัดเจน จนพระองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คือ

    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=541 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="40%">[​IMG]อเนกชาติ สํสารํ </TD><TD vAlign=top width="60%">สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="40%">[​IMG]คหการํ คเวสนฺโต </TD><TD vAlign=top width="60%">ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="40%">[​IMG]คหการกทิฏฺโฐสิ </TD><TD vAlign=top width="60%">ปุน เคหํ น กาหสิ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="40%">[​IMG]วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ </TD><TD vAlign=top width="60%">ตณฺหานํ ขยมชฺฌคาฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]คำแปล เมื่อเราแสวงหานายช่างสร้างเรือนได้ซึ่งแล่นไปเร่รอนในสังสารวัฏไม่รู้ว่ากี่ชาติ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
    [​IMG]ดูกรนายช่างเอย เราเห็นท่านแล้ว ท่านไม่ต้องทำเรือนเราอีกต่อไป โครงร่างเรือนของเจ้าทั้งหมดเราก็หักทำลายแล้ว เรือนยอดเราก็ทำลายแล้ว จิตถึงการปรุงแต่งไม่ได้ ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
    พุทธอุทาน

    พุทธพจน์แสดงการเกิดใหม่ของผู้มีบาป
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]อิท นนฺ เปจฺจนนฺทติ </TD><TD vAlign=top width="54%">กตปุญฺโญ อุภยตฺ นนฺทติ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนฺทติ </TD><TD vAlign=top width="54%">ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโตติฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]ผู้ทำบุญไว้ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ เพลิดเพลินในโลกหน้า เพลิดเพลินในโลกทั้งสอง เพลิดเพลินว่า บุญเราทำไว้แล้วหนอ ไปสู่สุคติยิ่งเพลิดเพลินโดยยิ่ง (๒๕/๑๑/๑๗)

    คนจะหมดสงสัยเรื่องตายแล้วเกิด คือพระโสดาบัน ดังพุทธพจน์

    <TABLE class=b cellSpacing=1 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]โก อิมฺ ปฐวึ วิเชสฺสติ </TD><TD vAlign=top width="54%">ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ </TD><TD vAlign=top width="54%">กุสโล ปุปฺผมิว เปจฺจสฺสติ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]เสโข ปฐวี วิเชสฺสติ </TD><TD vAlign=top width="54%">ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ </TD><TD vAlign=top width="54%">กุสโล ปุปฺผมิว เปจฺจสฺสตีติฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>(ปุพพวคฺค ๒๕/๑๔/๒๑)

    [​IMG]พระเสขะ จักรู้จักแผ่นดินนี้ ยมโลกพร้อมทั้งเทวโลก
    [​IMG]พระเสขะ จักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว
    [​IMG]ดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ฉะนั้นทรงยืนยันอริยผลว่ายอดกว่าทุกสิ่ง <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=559 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]ปฐวิยา เอกรชฺเชน </TD><TD vAlign=top width="54%">สคฺคสฺส คมเนน วา </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]สพฺพโลกาธิปจฺเจน </TD><TD vAlign=top width="54%">โสตาปตฺติผลํ วรนฺติฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่า การเป็นเอกราชในแผ่นดิน
    [​IMG]การไปสู่สรรค์ การเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวงและผู้ที่รู้ปฏิจจสมุปบาทดี จะหายสงสัย ดังพุทธอุทานในมหาวรรค แห่งพระวินัยว่า

    <TABLE class=b cellSpacing=1 cellPadding=7 width=547 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="48%">[​IMG]ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา </TD><TD vAlign=top width="52%">อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="48%">[​IMG]อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา </TD><TD vAlign=top width="52%">ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="48%">[​IMG][​IMG][​IMG] </TD><TD vAlign=top width="52%">ยโต ขยํ ปจฺจายํ อเวที </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="48%">[​IMG]วิธูปยยํ ตฏฺฐติ มรเสนํ </TD><TD vAlign=top width="52%">สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]แปลว่า ในกาลใดแล ธรรมย่อมปรากฎชัด แก่ผู้มีความเพียร มีสมาธิปัญหา ลอยบาป ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของผู้นั้นย่อมสิ้นไปเพราะได้ทราบเหตุปัจจัย และความรู้สิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ขจัดมารและเสนามารได้ ดำรงตนอยู่ ดุจพระอาทิตย์พ้นจากเมฆ ส่องสว่างในท้องฟ้า

    พระสูตรที่ควรดูประกอบ
    [​IMG]๑) สัตตคติสูตร ในอังคุตตรนิกาย
    [​IMG]๒) มหาตัณหาสังขยสูตร และอัสสาลสูตร มัชฌิมนิกาย ข้อขัดแย้งเรื่อง อันตรภพ, จิต, โอปปาติกะ, และอนัตตา
    เรื่องการเกิดใหม่นี้ พระพุทธองค์มีท่าที่ต่อผู้มาถาม ๔ แบบด้วยกันคือ.-
    [​IMG]๑) ถ้าผู้ถามมีความเชื่ออยู่แล้วก็ทรงตรัสสอนให้เขารู้ให้ชัดยิ่งขึ้นในเรื่องการเกิดตาย
    [​IMG]๒) ถ้าผู้ถามยังลังเลไม่แน่ใจ ก็ทรงปล่อยให้อุ่นใจ ดังกาลามสูตรว่าคนทำดีอบอุ่นในชาตินี้ ถ้าชาติหน้ามีก็หลักประกันว่าเราไปที่ดี แต่ถ้าไม่มีหลักประกัน เราก็สุขสบายในปัจจุบันแล้ว
    [​IMG]๓) ถ้าผู้ถามเข้าใจผิดพระองค์ก็ทรงแก้ไขหายจากมิจฉาทิฐินั้น
    [​IMG]๔) ถ้าผู้ถามมีทิฐิเห็นผิดอย่างรุนแรงมาถาม เพื่อลองดี หรือหาเลศถามพระองค์จะนิ่งเสีย
    อนึ่ง มีวิธีพจน์เรื่องตายแล้วเกิด ๓ แบบคือ
    [​IMG]๑) ประจักษประมาณ พิสูจน์โดยวิธีทำสมาธิ จนได้อภิญญา จนได้ทิพพจักขุญาณ หรือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ ก็จะเข้าใจระบบการเกิดใหม่ได้ชัดเจน และจะหายสงสัยในที่สุด เมื่อบรรลุอาสวักขยญาณ เรียกว่า ปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา จนเกิดอภิญญาจิต
    [​IMG]๒) อนุมานประมาณ พิสูจน์โดยอนุมานเอา เช่นเห็นควันก็รู้ว่ามีไฟ เห็นคนระลึกชาติได้ เห็นความแตกต่างระหว่างคนในอินทรีย์และพละจริตนิสัย และความสามารถทางปัญญา ซึ่งแสดงถึงว่ามีชาติก่อนจึงมีปรากฎการณ์เช่นนี้ ฉะนั้น เมื่อมีเมื่อวานจึงมีวันนี้ มีวันนี้ก็มีวันพรุ่งนี้ มีชาตินี้ก็มีชาติหน้า
    [​IMG]๓) สัททประมาณ คือการเชื่อตามพระพุทธดำรัส ตามนัยที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์พระไตรปิฎก โดยศรัทธาประเภทตถาคตโพธิสัทธา เมื่อพระองค์ตรัสรู้ย่อมไม่ตรัสสิ่งที่ผิด ดังนั้น จึงเอาพระพุทธองค์เป็นเกณฑ์ย่อมจะปลอดภัย เพราะการเชื่อบัณฑิตย่อมจะมั่นคงกว่าเชื่อสามัญชนโดยเฉพาะคำสอนเกี่ยวกับคำว่าจุติจิตปฏิสนธิจิตชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎก
    [​IMG]เหตุผลสนับสนุนการตายและเกิด
    [​IMG]๑. พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องตายแล้วเกิดไว้จริง ในพระไตรปิฎกแบบตรงไปตรงมา
    [​IMG]๒. หลักพระพุทธศาสนามีว่า การตายแล้วเกิดอีกบ่อยๆ เป็นทุกข์ (ทุกฺขาชาติ ปุนปฺนํ) การตายแล้วไม่เป็นสุข (เตสํ วูปสโม สุโข) และทรงยืนยันในธรรมจักรว่า อยมนฺติมา ชาติ หตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้การเกิดใหม่ไม่มี
    [​IMG]๓.คนเราแตกต่างกันที่ร่างกายและจิตใจ จึงมีทฤษฏีอธิบายถึง ๔ คือ
    [​IMG]๓.๑ เทวลิขิต หรือพรหมลิขิต (Predestination)
    [​IMG]๓.๒ ทฤษฎีพันธุกรรม (Heredity) ไม่เห็นด้วย จึงค้านเรื่องตายแล้วเกิด
    [​IMG]๓.๓ ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม (Environment) แตกต่างเฉพาะสิ่งแวดล้อม
    [​IMG]๓.๔ ทฤษฎีตายแล้วเกิด (Rebirth) สามารถอธิบายคู่แฝดที่แตกต่างด้วยชาติก่อนและกรรมเก่า
    [​IMG]๔. ทฤษฎีไอน์สไตน์ว่าด้วยกฎแห่งความคงอยู่ของพลังงาน ได้แสดงว่า "พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่สูญหายไปจากเอกภพ ในขณะที่สสารซึ่งเป็นรูปธรรมของพลังงานอาจแตกสลายไปได้" ดังนั้น ทฤษฎีรูปนาม (สสารพลังงาน) ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นความจริง
    [​IMG]๕. มีคนระลึกชาติได้ อาจจะโดยวิธี
    [​IMG]๕.๑ จำได้เอง
    [​IMG]๕.๒ ถูกสะกดจิต
    [​IMG]๕.๓ จำได้ด้วยอำนาจบปุพเพนิวาสานุสติญาณ เกิดจากทำสมาธิเป็นคนตายแล้วฟื้น การเข้าทรง คนถูกวิญญาณสิง
    [​IMG]๖. ปรากฎการณ์ทางวิญญาณแบบต่างๆ (Psychic Phenomena) เป็นคนตายแล้วฟื้น การเข้าทรง คนถูกวิญญาณสิง
    [​IMG]๗. เหตุกาณ์ร้ายดี ในวิถีชีวิตของคนเรามีทั้งดีทั้งชั่ว และบางครั้งเหมือนไม่ยุติธรรม แต่ก็แสดงถึงอดีตกรรมชัดเจน
    [​IMG]๘. การเกิดขึ้นแห่งจิต ที่มีอวิชชาในแต่ละครั้ง นับเป็นภาษาธรรมที่เรียกว่า เกิดภพในแต่ละครั้งทางจิตแล้วมีทุกข์ ดังอวิชาได้ก็เหมือนดับทุกข์
    [​IMG]เหตุผลคัดค้านการตายแล้วเกิด
    [​IMG]๑. ถ้าคนตายแล้วเกิดจริง ก็หมายความว่า ต้องมีคนหนึ่งตายอีกคนหนึ่งจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ประชากรของโลกก็น่าจะมีจำนวนคงที่ แต่ตามความเป็นจริงปรากฎว่า พลโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย ปฏิสนธิวิญญาณ เหล่านั้นมาจากไหน?
    [​IMG]๒. ถ้าการจำชาติก่อนได้เป็นเรื่องจริง ทำไมคนส่วนมากจึงจำชาติก่อนไม่ได้ ทั้งๆ ที่ทุกคนล้วนมีชาติก่อนแล้วทั้งสิ้นแนวตอบ กาล เวลา ต่างกัน จิตสำนึกจึงเลือนลาง
    [​IMG]การกระทบกระเทือนขณะคลอด
    [​IMG]ภวังคจิตติดต่อกันนานถึง ๗-๙ เดือน ทำให้ลืมอดีตชาติ
    [​IMG]จิตสำนึกใหม่ทำให้จิตไร้สำนึก ซึ่งเคยมีเมื่อเล็กๆ หายไป

    หนังสืออ้างอิงประจำบท
    [​IMG]๑. พระสุตตันตปิฎก ฉบับสยามรัฐ ม.ม. ตท. ๑๓ : ๓๗๖ ปเจตนสูตรติ.อํ.ตท. ๒๐: ๑๒๗ มิจฉาทิฏฐิสูตร ติ.อํ. ตทา. ๒๕.๒๕๔ ลักขณสูตร ที.ปา.ตท.ติณกัฏฐสูตร สํ.นิ.ตท. ๑๖.๑๙๙ อังคุลิมาลสุตร ม.ม. ตท. ๑๓.๓๙๖ ธมฺมปท ภาค ๕ พุทธอุทาน ธัมมจักกับปปวัตนสูตร วิ.ม. ๔.๒๑ อาทิตต. ๔.๒๘/๖๐ พรหมสูตร ขุ.อิ. ๒๕.๒๕๒ มหาตัณหาสังขยสูตร ม.ม. ๑๒.๓๙๘ มหานิทานสูตร ที.ม. ๑๐.๖๘-๖๙ ขุ.ปฏิ. ๓๑.๙-๑๑ ปฏิสนธิ มหาสกุลุทายิสูตร ม.ม.
    ๑๓.๓๓๓
    [​IMG]๒.แสง จันทร์งาม, ตายแล้วเกิด, หลักพุทธศาสนา, โครงการส่งเสริมความรู้สังคมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๒๘.
    [​IMG]๓. ตายแล้วเกิดจริงหรือ? คำอภิปรายของธัมมานันทภิกขุ เสถียรโพธินันทะ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, ๒๕๐๔.
    [​IMG]๔. บุญมี เมธางกูร คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร ,กรุงเทพ,อภิธรรมมูลนิธิวัดพระเชตุพน ๒๕๐๓. ฯลฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- Script เมนู กลับด้านบนเลื่อนตาม scroll -->
    <SCRIPT language=JavaScript1.2><!--// กำหนดตำแหน่งของรูปmarkW = 90; // pixels widemarkH = 40; // pixels highmarkX = 15; // percent rightmarkY = 100; // percent downmarkRefresh = 50; // milliseconds// set common object referenceif (!document.all) document.all = document;if (!document.all.waterMark.style) document.all.waterMark.style = document.all.waterMark;wMark = document.all.waterMark.style;wMark.width = markW;wMark.height = markH;navDOM = window.innerHeight; // Nav DOM flag function setVals() { barW = 0; // scrollbar compensation for PC Nav barH = 0; if (navDOM) { if (document.height > innerHeight) barW = 20; if (document.width > innerWidth) barH = 20; } else { innerWidth = document.body.clientWidth; innerHeight = document.body.clientHeight; } posX = ((innerWidth - markW)-barW) * (markX/100); posY = ((innerHeight - markH)-barH) * (markY/100); }function wRefresh() { wMark.left = posX + (navDOM?pageXOffset:document.body.scrollLeft); wMark.top = posY + (navDOM?pageYOffset:document.body.scrollTop); }function markMe() { setVals(); window.onresize=setVals; markID = setInterval ("wRefresh()",markRefresh); }window.onload=markMe; // safety for Mac IE4.5//--></SCRIPT><!-- End Script เมนู กลับด้านบนเลื่อนตาม scroll -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๑๐ พระพุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม[​IMG]คำว่า Theism มีความหมายดังนี้.-
    [​IMG]A religions or philosophical doctrine utilizing the concept of deity to explain man's existence, as opposed to atheism : the doctrine that all things originate in a unitary God; monotheism, as opposed to polytheism; the doctrine that one God is the deep transcendent mystery in all reality and, at the some time, the xreative immanent reality within all actionas opposed to pantheism and deism.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3>
    [​IMG]เทวนิยม คือ คำสอนทางศาสนาหรือปรัชญาซึ่งยอมรับความคิดเกี่ยวกับเทวดาว่ามีอิทธิพลต่อมนุษย์ ซึ่งตรงกันข้าม กับอเทวนิยม คำสอนซึ่งถือว่าทุกสิ่งมีต้นกำเนิดจากพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งตรงข้ามกับพหุเทวนิยมคำสอนซึ่งถือว่าพระเจ้าองค์เดียวซึ่งเป็นสิ่งลึกลับเหนือโลกีย์ทั้งมวล ในสัจจะต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกระตุ้นในการกระทำทุกอย่าง ซึ่งแย้งกับนานาเทวดา หรือพหุเทวดา
    [​IMG]พระพุทธศาสนาถือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ของมนุษย์ พระพุทธศาสนาถือว่าเทวดาเป็นขบวนการหนึ่งของสังสารวัฏ แต่เป็นสุคติภพ เป็นสัตว์ที่อยู่ในภพที่ดีอายุยืนยาว และมีอานุภาพมากกว่ามนุษย์ธรรมดา แต่ด้อยกว่าอริยชน พระพุทธศาสนาจึงแบ่งออกเป็น ๓ คือ
    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="32%">[​IMG]๑. สมมติเทวดา </TD><TD vAlign=top width="28%">ในโลกนี้ </TD><TD vAlign=top width="41%">กษัตริย์ผู้นำ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="32%">[​IMG]๒. อุปปัตติเทวดา </TD><TD vAlign=top width="28%">ในโลกอื่น </TD><TD vAlign=top width="41%">เทวดาแท้ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="32%">[​IMG]๓. วิสุทธิเทวดา </TD><TD vAlign=top width="28%">ในโลกนี้ </TD><TD vAlign=top width="41%">อริยชน </TD></TR></TBODY></TABLE>(ขุ.จู.ฬ. ๓๐/๖๕๔/๓๑๒)

    [​IMG]ดังนั้น คนจะไปเกิดเป็นเทวดาต้องมีเทวธรรม คือ หิริโอตตัปปะ สุกกธรรม สันติธรรม สัปปุริสธรรม แต่ถ้าใครถือว่า
    [​IMG]๑. เทวดามีอำนาจเหนือตน (อิสสรนิมมานเหตุ) บันดาลทุกอย่าง (Theistic-determinism)
    [​IMG]๒. ปุพเพกตเหตุ เชื่อแต่กรรมเก่าอย่างเดียว (Past-action)
    [​IMG]๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (accidentalism) ทั่ง ๓ นี้ เป็นมิจฉาทิฐิ
    [​IMG]ดังนั้น ท่าทีของเราต่อเทวดา คือ เป็นมิตรกัน แผ่เมตตาต่อกัน ทำพลีต่อกันด้วยคุณธรรม ตามหลักเมตตสูตร
    [​IMG]ดังนั้น ท่าทีของเราต่อเทวดา คือ เป็นมิตรกัน แผ่เมตตาต่อกัน ทำพลีต่อกันด้วยคุณธรรม ตามหลักเมตตสูตร
    [​IMG]เทวดาอาจกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ มนุษย์ก็เป็นเทวดาได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยต่างก็เป็นเพื่อนในสังสารวัฏแท้ๆ
    [​IMG]เทวดา มี ๒ ประเภท คือ
    [​IMG]- สัมมาทิฐิเทวดา
    [​IMG]- มิจฉาทิฐิเทวดา

    [​IMG][​IMG]

    ถ้าถามว่า พระพุทธศาสนามี God หรือไม่? คำถามปฏิปุจฉา คือ God คืออะไร? <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="30%">[​IMG]ถ้า God คือ </TD><TD vAlign=top width="70%">Omni - presence </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="30%"></TD><TD vAlign=top width="70%">Omni - Savior </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="30%"></TD><TD vAlign=top width="70%">Omni - potential </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]ธรรมก็มีสิ่งดังกล่าว ถ้า God คือ Dhamma, Buddhism is Theism. แต่ถ้า God is Personal God. Buddhism is not Theism but Realism. พระพุทธศาสนามีแต่ Dhamma God เช่น God of Peace, Love, Mercy, Wisdom, Purity, etc.
    [​IMG]ธรรมะที่มีลักษณะ Omni - Presence คือมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ กฏอิทัปปัจจยตา กฏปฏิจจสมุปบาท ที่ว่า

    <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=566 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]เมื่อสิ่งนี้มี </TD><TD vAlign=top width="54%">สิ่งนี้จึงมี </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="46%">[​IMG]เมื่อสิ่งนี้ไม่มี </TD><TD vAlign=top width="54%">สิ่งนี้ก็ไม่มี (สํ.นิ.) </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]อีกอย่างหนึ่งกฎของสภาวะธรรมที่ว่า
    [​IMG]พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ธรรมนิยาม ธรรมฐิติ ธรรมธาตุ หรือกฎที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็ยังคงมีอยู่ พระตถาคตเป็นเพียงรู้เห็น แล้วนำมาเปิดเผยแจกแจง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ

    ธรรมนิยามสูตร
    [​IMG]ธรรมที่มีลักษณะเป็น Omni -savior คือที่พึ่งตลอดไป จนเห็นได้จากลักษณะดังนี้
    [​IMG][​IMG]ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    [​IMG][​IMG]ธรรมที่ประพฤติอยู่เนืองๆ นำสุขมาให้
    [​IMG][​IMG]นั่นเป็นผลแห่งการประพฤติธรรมเป็นนิตย์
    [​IMG][​IMG]คนประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
    [​IMG]ชนเป็นอันมาก เมื่อถูกภัยคุกคาม ย่อมถึงภูเขา ป่าไม้ ป่าไม้สน ต้นไม่ใหญ่และเจดีย์ ว่าเป็นที่พึ่ง นั่นไม่ใช่สรณะอันปลอดภัย ไม่ใช่สรณะอันสูงสุด อาศัยที่พึ่งเช่นนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ แต่ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง เขาย่อมเห็นอริยสัจด้วยปัญญาอันชอบ คือ.-
    [​IMG][​IMG]๑. ทุกข์
    [​IMG][​IMG]๒. เหตุเกิดของทุกข์
    [​IMG][​IMG]๓. การก้าวล่วงทุกข์ได้
    [​IMG][​IMG]๔. มรรคมีองค์ ๘ อันจะนำไปสู่ความสงบระงับแห่งความทุกข์
    [​IMG]นั้นคือ สรณะอันเกษม นั่นคือสรณะอันอุดม อาศัยที่พึ่งเช่นนั้นแล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    [​IMG]ธรรมที่เป็นลักษณะ (Omni - potential) คืออำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพธรรม ( สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โลกุตตรธรรม ดังพุทธพจน์
    [​IMG]การเข้าถึงกระแสโลกุตตรธรรม คือ พระโสดาปัตติผล ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นพระราชาในปฐพี การไปสู่สวรรค์ หรือการเป็นใหญ่ในจักรวาล
    (ขุ.ธ. ๒๕/๒๔/๓๙)

    [​IMG]แม้กฎแห่งกรรมก็มีว่า <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=451 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="59%">[​IMG]หว่านพืชเช่นไร
    [​IMG]ทำกรรมดีได้ผลดี </TD><TD vAlign=top width="41%">ได้ผลเช่นนั้น
    ทำกรรมชั่วได้ผลชั่ว </TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]ดังนั้น ธรรมและอธรรมจึงมีกำลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ อยู่ ธรรมควบคุมให้เป็นไปในทางที่ดี อธรรมควบคุมให้เป็นไปในทางที่ไม่ดี
    [​IMG]ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับ เทวนิยม ในพระพุทธศาสนานั้น กล่าวไว้ว่าพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญคนที่ประพฤติตนให้เข้าถึง วิสุทธิเทพมากกว่า เพราะสภาวะเช่นนี้ สามารถที่จะนำให้พ้นทุกข์ได้และช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้ด้วย เทวดานอกจากนี้นั้น ท่านกล่าวว่า ไม่สามารถจะช่วยคนให้พ้นทุกข์ได้เด็ดขาด และที่สำคัญคือ เทวดาทุกคนนั้น <TABLE class=b cellSpacing=0 cellPadding=7 width=324 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="49%" height=5>[​IMG]อวีตราโค </TD><TD vAlign=top width="51%" height=5>ยังมีราคะ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="49%">[​IMG]อวีตโทโส </TD><TD vAlign=top width="51%">ยังมีโทสะ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="49%">[​IMG]อวีตโมโห </TD><TD vAlign=top width="51%">ยังมีโมหะ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="49%">[​IMG]ภิรุ </TD><TD vAlign=top width="51%">มีความกลัว </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="49%">[​IMG]ฉัมภี </TD><TD vAlign=top width="51%">มีขนลุก </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="49%">[​IMG]อุตตราสี </TD><TD vAlign=top width="51%">มีความสะดุ้ง </TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]ดังนั้น ถ้าทำตนให้เป็นวิสุทธิเทพแล้ว จะหมดทั้งราคะ โทสะ โมหะ ไม่สะดุ้ง ไม่ขนลุก ไม่ขนพอง ไม่มีความกลัวอีกต่อไป เพราะหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="71%"><TABLE height=239 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="87%">หน่วยที่ ๑๑ สรุปเนื้อหา
    [​IMG]๑. พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์รุ่นแรกที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้โดยอาศัยการสังคายนาร้อยกรองกันต่อๆ มาของพระพุทธสาวก ปัจจุบันพิมพ์เป็นเล่มสมุดได้ ๔๕ เล่ม เป็นพระวินัยปิฎก ๘ เล่ม เป็นพระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
    [​IMG]๒. หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา จะค้นพบได้ในระบบวินัยสงฆ์ซึ่งยอมรับความเสมอภาคของวรรณะต่างๆ การให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรมต่างๆ และให้สงฆ์รักกันฉันพี่น้อง ต้องพยาบาลรักษากันในยามป่วยไข้ ต้องมีสามัคคีธรรมในยามปกต
    [​IMG]๓. สังคมที่พึงประสงค์ ความหลักพุทธศาสนา คือสังคมที่มีคนปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะรู้หน้าที่อันจะพึ่งกระทำตามหลักทิศ ๖ ประกอบอาชีพในทางสุจริต มีความเจริญครบทั้ง ๔ ประการคือ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top align=middle width="29%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#999999>
    หน่วยการบรรยาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#999999 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="95%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=212>[​IMG] ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
    [​IMG] ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
    [​IMG] หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
    [​IMG] สังคมพุทธทัศนะ
    [​IMG] เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
    [​IMG] พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
    [​IMG] พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
    [​IMG] ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
    [​IMG] พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
    [​IMG] พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] ทบทวนสรุป
    [​IMG] หนังสืออ้างอิง </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=3 height=625>
    [​IMG][​IMG]๑) ร่างกายและสิ่งแวดล้อมดี มีปัจจัย ๔ พอใช้
    [​IMG][​IMG]๒) ไม่มีการเบียดเบียนกัน คือมีระเบียบวินัย
    [​IMG][​IMG]๓) คนในสังคมมีจิตใจมั่นคงในคุณธรรม
    [​IMG][​IMG]๔) คนในสังคมนั้น มีการแก้ปัญหาด้วยวิถีทางแห่งปัญญา
    [​IMG][​IMG] (ภาวิตกาโย - ภาวิตสีโล - ภาวิตจิตโต - ภาวิตปัญญา)
    [​IMG]๔. เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือระบบการสร้างตนด้วยประโยชน์ปัจจุบัน รู้จักผลิตมาก กินอยู่แต่พอดีที่เหลือเอาไปจุนเจือสังคม การบริโภคจะต้องรู้จักคุณค่าแท้คุณค่าเทียมของปัจจัย ๔ การแลกเปลี่ยนก็ต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ไม่ค้าขายสิ่งที่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์และสังคม รัฐสวัสดิการก็ต้องเป็นรัฐสวัสดิการโดยธรรม เป็นธัมมิกสังคมเศรษฐกิจ
    [​IMG]๕. การศึกษากับพระพุทธศาสนาเป็นของคู่กัน เพราะการตรัสรู้ก็คือกระบวนการทางการศึกษาโดยวิธี ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ ๘ เป้าหมายของการศึกษาแบบพุทธ คือ วิมุตติ- การดับทุกข์ได้ ดับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ มีแต่ปัญญา และกรุณาอันบริสุทธิ์ต่อมนุษย์และสัตว์
    [​IMG]๖. วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา แม้จะเพียงบางส่วนเหมือนกัน คือ รักเหตุผล ความจริง และชอบแสวงหาความจริงด้วยปัญญา แต่จุดต่างๆ คือ จริญธรรมวิทยาศาสตร์ไม่เกี่ยวกับความดีความชั่ว แต่พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความดีความชั่ววิทยาศาสตร์ให้เพิ่มพูนความสมบูรณ์ทางวัตถุแต่พระพุทธศาสนา ให้รู้จักลดละและพอใจ
    [​IMG]๗. อัคคัญสูตร กับทฤษฎีวิวัฒนาการ มีข้อที่คล้ายกันหลายประเด็นโดยเฉพาะในทฤษฎีวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่พระพุทธศาสนาจะเน้นที่ว่า คนที่มีวิชชาและจรณะชื่อว่า เป็นคนเลิศที่สุดในเทวดาและมนุษย์
    [​IMG]๘. การเกิดใหม่เป็นทฤษฎีที่มนุษย์ชอบสงสัย การสอนศีลธรรมแก่เยาวชนจึงควรมีหตุผลพอที่จะพิสูจน์เรื่องการเกิดใหม่ เพื่อจะได้ปลูกโลกิยศรัทธา-สัมมาทิฐิจะได้สร้างความดีมากๆ ให้ชีวิตมีสุข
    [​IMG]๙. เทวนิยม คือศาสนาที่ถือว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์ ๒ ลักษณะคือระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์เป็นลูกหรือฉายาของพระเจ้า แต่ในทัศนะของพระพุทธศาสนา มนุษย์เกิดจากการรวมกันของขันธ์ ๕ ตามหลักปัจจยาการ อาศัย กรรม จิต อุตุอาหาร เป็นตัวหล่อเลี้ยงให้ดำเนินไปการจะเกิดเป็นเทวดาหรือลงนรกอยู่ที่การกระทำของตนเอง และการสามารถเข้าถึงนิพพานก็ด้วยพลกำลังของตนเอง
    [​IMG]ถ้าพระเจ้าคือ ธรรมศาสนาก็คือได้ว่า เทวนิยม แต่ถ้ายังถือว่า God คือมีตัวมีตน พระพุทธศาสนาก็เป็นพระพุทธศาสนา หรือสัจจนิยมนั่นเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
    http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Critical/11.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...