"พระเศรษฐีนวโกฏิ" พระนามมงคลที่สอดคล้องกับกระแส

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 14 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +474
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>
    "พระเศรษฐีนวโกฏิ" พระนามมงคลที่สอดคล้องกับกระแส
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4>
    </TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1>
    [​IMG]



    หลังจาก "จตุคามรามเทพ" เข้าสู่ยุคขาลงมาตั้งแต่ช่วงกลางปี ๒๕๕๐ มีการวิเคราะห์ว่า ในปี ๒๕๕๑ น่าจะเป็นยุคของ พระพิฆเนศ ขาขึ้น
    จากการวิเคราะห์ดังกล่าว ส่งผลให้วัดหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งนักสร้างวัตถุมงคลหันหน้ามาจัดสร้างพระพิฆเนศกันจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏว่า มีรุ่นหนึ่งรุ่นใดได้รับความนิยมเป็นพิเศษ ทั้งๆ ที่บางรุ่นมีการโหมทุ่มงบโฆษณาหลักล้านบาท
    ในท่ามกลางสถานการณ์วัตถุมงคลต่างๆ ขายยาก หรือที่วงการพระเรียกว่า "ไม่เดิน" กลับมีวัตถุชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสวนกระแส คือ พระแม่โพสพ ซึ่งเป็น "เทพธิดาประจำข้าว" หรือ "เจ้าแม่แห่งข้าว" ซึ่งน่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากราคาข้าวที่พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยคาดว่า ราคาข้าวของไทยจะแตะตันละ ๘๐๐ ดอลลาร์ในเดือนเมษายน และมีโอกาสขึ้นไปถึง ๑,๐๐๐ ดอลลาร์ในปลายปี
    [​IMG]



    ส่วนวัตถุมงคลอีกอย่างหนึ่ง ที่เริ่มอยู่ในกระแส คือ พระเศรษฐีนวโกฏิ ทั้งนี้ "คม ชัด ลึก" ได้รวบรวมข้อมูลการจัดสร้าง พระเศรษฐีนวโกฏิ ของวัดต่างๆ มีการจัดสร้างจำนวนมาก โดย ๒ วัดแรกที่สร้างออกมาจำนวนมาก คือ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม โดย พระครูโกศลธรรมโสภิต หรือ พระอาจารย์อ๊อด พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่ง จ.พระนครศรีอยุธยา
    ส่วนอีกวัดหนึ่งคือ หลวงปู่มา ญาณวโร วัดวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
    ขณะเดียวกัน ยังมีวัดต่างๆ ที่สร้างออกมาเช่นกัน แต่จำนวนไม่มาก เช่น ๑.วัดพระบาทปางแฟน บ้านปางแฟน หมู่ ๕ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ สร้างรุ่นพระพุทธก้าวหน้าโภคทรัพย์ ๒.วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยครูบาเจ้าอริยชาติ อริยจิตฺโต สร้างรุ่นเศรษฐีนวโกฏิทรัพย์แสนล้าน ๓.วัดชัยมงคล ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ๔.วัดหนองขาม อ.จักราช จ.นครราชสีมา ๕.วัดป่าบ้านดอนดู่ ต.น้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ๖.หลวงพ่อทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง จ.ลพบุรี ๗.หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ จ.นครปฐม สร้างผ้ายันต์เศรษฐีนวโกฏิ
    [​IMG]



    นอกจากนี้แล้ว ยังมีการสร้าง พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาดใหญ่เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพรอีกหลายวัด เช่น วัดทวีการะอนันต์ ติดตลาดไท จ.ปทุมธานี หลวงพ่อสมศักดิ์ สีลสาโร สร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๖๐ นิ้ว เพื่อเป็นพระประธานวิหารหลังใหม่ พุทธสถานวัดป่าแดนสงบ อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ สร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๙๙.๙๙ นิ้ว ด้วยเนื้อโลหะทองเหลืองจำนวน ๕ ตัน และก่อนหน้านี้ ที่ จ.สระแก้ว มีการจัดสร้างพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๖ เมตร อีกด้วย
    สำหรับเหตุผลที่มีการจัดสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ มากขึ้นตามลำดับนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อที่ว่า พระเศรษฐีนวโกฏิ เป็นที่สุดแห่งพุทธคุณด้านมหาเศรษฐี ร่ำรวยมั่งมีทรัพย์ ถ้าผู้ใดได้กราบบูชาพระเศรษฐีนวโกฏิแล้ว จักเป็นผู้มีอำนาจบารมี ยังผลให้เป็นผู้ที่เจริญในโภคทรัพย์ เงินทอง การงานต่างๆ สิ่งที่พึงปรารถนาพึงสำเร็จก้าวหน้ามั่นคง และมั่งมีตลอดกาล จนในที่สุดเจริญขึ้นเป็นมหาเศรษฐีทรัพย์สมบัติมากมาย ประสบแต่โชคลาภ ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข และเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ทุกภพ ทุกชาติไป
    "ชื่อได้เวลาดี" นี่คือเหตุผลการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิของวัดต่างๆ จากมุมมองของ นายสมศักดิ์ ศกุนตนาฎ บรรณาธิการอำนวยการสำนักพิมพ์คเณศ์พร และประธานชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง
    [​IMG]



    นายสมศักดิ์บอกว่า สิ่งหนึ่งต้องยอมรับ คือ การจัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ทั้งที่วัดและพระสงฆ์จัดสร้างขึ้นเอง รวมทั้งองค์กรการกุศลต่างๆ ล้วนเป็นพุทธพาณิชย์ทั้งสิ้น เมื่อเป็นพุทธพาณิชย์การเลือกสร้างวัตุมงคลประเภทใดประเภทหนึ่ง ต้องดูกระแสตอบรับ และความต้องการของตลาด มิเช่นนั้นผู้สร้างมีโอกาสขาดทุนสูง ในกรณีของการจัดสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ ถือว่าเป็นพระที่มีมงคลนามสุดยอดแห่งความรวยทุกๆ ด้าน โดยไม่ต้องตั้งชื่อรุ่นแข่งขันเรื่องความร่ำรวย มั่งมี เหมือนการตั้งชื่อรุ่นจตุคามฯ ขณะเดียวกัน การออกพระมาในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี น่าจะเป็นแรงกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้ผู้เช่ามากขึ้น แต่คงไม่สามารถสร้างกระแสนิยมได้มากเท่าจตุคามฯ อย่างแน่นอน
    ๙ มหาเศรษฐีในพุทธประวัติ
    พระเศรษฐีนวโกฏิ เป็นรูปเคารพแทนมหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่านในสมัยพุทธกาล ท่านเหล่านี้เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์อเนกอนันต์ให้แก่พระพุทธศาสนา มีความมั่งคั่งในโภคทรัพย์อยู่ในระดับเดียวกับกษัตริย์ ทั้งยังเป็นสัมมาทิฏฐิ และยังเป็นพุทธอุปฐากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงยกย่องว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้เลิศในการทำทาน และเป็นยอดของมหาเศรษฐีทั้งปวง

    มหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่าน นี้ ล้วนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ทั้งที่ดำรงเพศฆราวาส ตามตำนานของชาวล้านนา สมัยหนึ่งเกิดทุกข์เข็ญ ทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน บังเกิดความอดอยากขึ้น จึงมีพระภิกษุผู้เป็นอริยะรูปหนึ่ง ได้แนะนำให้สร้าง พระเศรษฐีนวโกฏิ ขึ้น เพื่อสักการบูชาแก้เคล็ดในความทุกข์ยากทั้งหลาย
    [​IMG]



    และเมื่อสร้างและฉลองสำเร็จ ก็ปรากฏมีเหตุการณ์ปรากฏขึ้นเป็นอัศจรรย์ คือ ความทุกข์ยากอดอยากทั้งหลาย ได้บรรเทาลง และสงบระงับในที่สุด จึงเป็นคติที่เชื่อถือของชาวล้านนาว่า ถ้าผู้ใดได้บูชา พระเศรษฐีนวโกฏิ แล้ว จะมีสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น ประสบแต่โชคลาภ อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยอานิสงส์แห่งบารมีธรรมของพระเศรษฐีนวโกฏิ
    สัณฐานของพระเศรษฐีนวโกฏิ มี ๙ พระพักตร์เรียงกัน หรือบางแห่งทำให้ซ้อนกันขึ้นไปด้านบน ปางนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัว พระหัตถ์พนมมือ ระดับนิ้วพระหัตถ์กลางจะตรงต้นพระศอ (ปลายนิ้วกลางอยู่ตรงพระหนุพอดี) พระพักตร์ทั้ง ๙ แทนเศรษฐีต่างๆ ดังนี้ ๑.ท่านธนันชัยเศรษฐี ๒.ท่านยัสสะเศรษฐี ๓.ท่านสุมานะเศรษฐี ๔.ท่านชะฏิกัสสะเศรษฐี ๕.ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ๖.ท่านเมนฑะกัสสะเศรษฐี ๗.ท่านโชติกะเศรษฐี ๘.ท่านสุมังคะกัสสะเศรษฐี และ ๙.ท่านวิสาขามหาอุบาสิกา
    เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู ​




    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...