พระอารมณ์ขัน"พระพี่นาง"ในความทรงจำ"วิษณุ เครืองาม"

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 3 พฤศจิกายน 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +474
    พระอารมณ์ขัน "พระพี่นาง" ในความทรงจำ"วิษณุ เครืองาม"

    โดย ศิวพร อ่องศรี




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อคราวงานครบรอบ 12 ปีหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ได้จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และงานพระราชทานเพลิงศพ" โดยมี *ดร.วิษณุ เครืองาม* อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นวิทยากรบรรยายเล่าเรื่องถึงพระจริยวัตรอัธยาศัยอันโดดเด่นของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างสนุกสนาน

    อาจารย์วิษณุเล่าว่า พระจริยวัตรอัธยาศัยอันโดดเด่นประการแรก คือ พระองค์มีพระนิสัยความเป็นครูอาจารย์ ซึ่งท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งต่างจังหวัด

    "มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเคยไปถวายงาน เมื่อท่านรู้ว่าผมสนใจเรื่องอะไร ท่านจะทรงแนะนำและเล่าหลายเรื่อง เช่น ท่านทรงเคยเล่าให้ฟังว่าเจ้าฟ้านั้นมีหลายประเภท มีทั้งเจ้าฟ้าชั้นเอก เจ้าฟ้าชั้นโท ท่านรับสั่งว่าพ่อฉันเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก ส่วนฉันถึงแม้จะเป็นเจ้าฟ้าก็ไม่ใช่ชั้นเอก เจ้าฟ้าชั้นเอกนั้นจะต้องเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน พ่อก็เป็นเจ้า แม่ก็เป็นเจ้า เวลาเจอเจ้าฟ้าก็จะต้องตั้งสติให้ดีว่า เป็นเจ้าฟ้าชั้นไหน และทรงสอนวิธีว่าดูอย่างไร ซึ่งไม่ใช่ดูโหงวเฮ้งแต่หมายถึงต้องดูถึงพระประวัติความเป็นมา"

    อาจารย์วิษณุเล่าว่า ในช่วงที่เรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงสนพระทัยในรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย หรือแม้กระทั่งจำนวนหนังสือในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมีมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาประเมินคุณภาพของการจัดการการศึกษาไทย

    "เมื่อทรงทราบว่าผมเรียนกฎหมายท่านก็จะชวนคุยเรื่องกฎหมาย ซึ่งผมประทับใจมากเพราะว่าผมไม่นึกว่าท่านจะสนพระทัยในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และลงลึกตามที่ควรจะลง เมื่อท่านทราบว่าผมจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์ทรงถามผมว่ากฎหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาฯ อันไหนดีกว่ากัน ทำไมถึงคิดอย่างนั้น ทำไมถึงตอบอย่างนั้น นี่คือ พระนิสัยของความเป็นครูเป็นอาจารย์"
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พระจริยวัตรอันโดดเด่นประการต่อมา คือ พระองค์มีพระนิสัยที่จะเรียนรู้

    อาจารย์วิษณุบอกว่า เวลาทูลถามเรื่องอะไรสักอย่าง จะทรงลุกขึ้นไปหยิบหนังสือมา 2 เล่มแล้วยื่นให้หนึ่งเล่ม

    "มีหนังสือที่ได้รับพระราชทานมาจากท่านซึ่งผมเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 เรื่องการแก้ไขการปกครองแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองการปกครอง ในเรื่องเกี่ยวกับมีเจ้านายล่าลายเซ็นทำจดหมายถึงรัชกาลที่ 5 ว่าประเทศควรจะมีรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้นจะไม่เจริญรุ่งเรือง วันเวลาผ่านไปสิบกว่าปี พระองค์ก็ยังเก็บรักษาหนังสือไว้เหมือนเดิม เมื่อทรงรู้ว่าผมสนใจเรื่องนี้ก็ทรงหยิบมาพระราชทาน"

    นอกจากนี้เวลาเสด็จไปทัศนศึกษาที่ไหน เคยได้ยินมาว่าไก๊ด์ หรือมัคคุเทศก์ที่นำท่านไปทอดพระเนตรตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ โบราณสถาน ปราสาท วัด คนที่เป็นไก๊ด์เหงื่อแตกมาแล้วกับการที่ท่านทรงถาม

    เช่น ท่านตรัสถามว่าอายุปราสาท อายุพระปรางค์หลังนี้กับหลังโน้นต่างกันอย่างไร ดูจากตรงไหน ซึ่งรายละเอียดบางอย่างมัคคุเทศก์มักจะเล่าข้ามๆ ผ่านไป เพราะเจอมามากที่ผู้ใหญ่ไม่ลงรายละเอียด แต่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงลงรายละเอียดซักถามในเรื่องต่างๆ และใครอย่าไปทำอะไรที่เรียกว่า "เว่อร์" เกิน รวมทั้งอย่าไปทำอะไรที่เรียกว่า "ขาด"

    "หลายคนชอบไปพูดภายหลังว่าท่านดุ เพราะถ้าใครเว่อร์หรือขาด ท่านก็จะทรงติติงทันทีซึ่งท่านก็ติงถูกของท่านทุกครั้ง เช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับเจ้านายพระองค์หนึ่ง ทรงพระอัจฉริยะในเรื่องนั้นเรื่องนี้ เมื่อส่งไปให้ท่านทรงแก้ ทรงโทรศัพท์กลับมาทันที และบอกว่า อัจฉริยะนั้นใช้กับบางคนและบางเรื่อง ถ้าไม่ถึงขั้นนั้นเอาแค่พระปรีชาสามารถก็พอแล้ว ท่านก็ทรงติงไปว่าคนไทยชอบยกย่องจนเว่อร์ไป หนักๆ เข้าคำว่า อัจฉริยะเลยเป็นคำธรรมดาไป ความจริงแล้วสงวนใช้ในบางที่และบางคนเท่านั้น ไม่ใช่ว่าใครก็จะอัจฉริยะได้"
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    หรือแม้แต่ครั้งที่ท่านเสด็จไปวัดสระเกศ ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรนำพระองค์ทอดพระเนตรจิตรกรรมฝาผนังซึ่งสวยงามและชัดเจน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรกราบทูลพระองค์ว่า ศิลปินจิตรกรสมัยก่อนวาดดี สีเข้มคมชัด 200 กว่าปีก็ยังอยู่ได้ทน พระองค์ตรัสว่า ไม่ใช่หรอก เพราะที่ไหนๆ ก็ใช้สีเดียวกัน แต่ที่อื่นจางหมดแล้ว ไม่ได้เป็นเพราะจิตรกร แต่เป็นเพราะการดูแลรักษา วัดนี้เขาดูแลรักษาดี ควรจะให้เครดิตวัดเขาต่างหาก ไม่ใช่เครดิตคนที่วาด พู่กันก็อันเดียวกัน สีก็อันเดียวกัน รูปก็รูปเดียวกัน ที่อื่นมองไม่เห็น แต่ที่นี่มองเห็นชัดเจน แสดงว่าวัดเขาดูแลดี"

    แต่ถึงอย่างไรพระองค์ก็มีพระอารมณ์ขัน

    อาจารย์วิษณุเล่าว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเคยเล่าให้ฟังว่าได้เสด็จไปต่างจังหวัด มีป้าคนหนึ่งวิ่งเข้ามากอดพระบาท และถามว่า *"สมเด็จพี่หายไปนานไม่ได้มาเยี่ยมเลย"* ท่านก็ตกใจเกิดมาไม่มีใครเรียกว่าพี่มาก่อน ท่านก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกลัวเขาจะอาย จะเขิน เขาก็คงเห็นว่าเป็นเหมือนพระพี่นางเธอ หรือเรียกสั้นๆ ว่า สมเด็จพี่ ทรงถามกลับไปว่า "แล้วน้องสบายดีหรือ" เสียงหัวเราะดังลั่นห้องบรรยาย

    "อีกครั้งหนึ่งท่านเสด็จไปจังหวัดจังหวัดหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดถวายรายงานปากเปล่า ยืนปากสั่นมือสั่นกราบทูลว่า "เสด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าสุพรรณกัลยาณิวัฒนา" ท่านก็ทรงพระสรวลแต่ไม่ตรัสอะไร พอเสด็จออกมาจากศาลา ก็หันกลับไปรับสั่งกับผู้ว่าฯให้ได้ยินอยู่คนเดียวว่า "องค์นั้นตายที่พม่านานแล้ว"

    อาจารย์วิษณุเล่าต่อว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนเขียนจดหมายถึงพระองค์ท่านเล่าถึงความทุกข์ความสุขเพื่อขอทุนการศึกษา โดยจ่าหน้าซองว่า "ทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงชุมพร" พระองค์รับสั่งว่า "เดี๋ยวเราจะส่งต่อไปให้กรมหลวงชุมพร"

    "ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของพระองค์ท่าน คือ ความตรงต่อเวลา ท่านเสด็จไปจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลายครั้ง ความที่ทรงไม่มีรถนำขบวน บางทีท่านก็เสด็จไปถึงก่อน แต่ทรงจอดรถรออยู่ใต้ต้นจามจุรีร่วม 10 นาที พอถึงเวลาจึงเลื่อนรถพระที่นั่งจอดเทียบ หรือคราวหนึ่งเสด็จไปบันทึกเทปรายการโทรทัศน์ที่ช่อง 5 ผมเป็นพิธีกร นัดหมายว่าเสด็จถึงตอนสิบโมง พอตอนเช้าผู้ใหญ่ก็บอกว่าไม่ต้องรีบหรอก เจ้านายกว่าจะมาถึงอาจจะช้าหน่อย ปรากฏว่าสิบโมงขบวนรถยนต์พระที่นั่งเทียบหน้าช่อง 5 แล้ว ไม่มีใครอยู่แม้แต่คนเดียวรวมทั้งผมด้วย ท่านก็ทรงพระดำเนินเข้าไปในห้อง แล้วประทับนั่งรออยู่เพียงพระองค์เดียว สักพักต่างคนก็ต่างเลิกลั่กหน้าตื่น พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบกวิ่งมาก่อนคนแรก แล้วก็เป็นที่รู้กันว่าเรื่องทรงตรงต่อเวลาเป็นเรื่องใหญ่มาก"

    แล้วยังเรื่องที่ครั้งหนึ่งนายพระนาย สุวรรณรัฐ ซึ่งเคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี วันหนึ่งวิ่งหน้าตาตื่นมาบอกว่า วันที่ 9 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ปกติจะต้องทำบุญใหญ่โตที่วัดสุทัศน์ แต่ปรากฏว่าปีนั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โปรดให้นำเครื่องสังฆทานมาพระราชทานผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีให้หาวัดเล็กๆ ในชนบทที่ไหนก็ได้ไปบำเพ็ญพระราชกุศลแทนพระองค์เพื่ออุทิศถวายให้รัชกาลที่ 8 พระนายก็ตกใจว่าทำไมไม่เลือกวัดหลวงที่มีราชาคณะชั้นสมเด็จอยู่ ทำไมต้องเลือกวัดเล็กบ้านนอก

    "พระองค์ท่านรับสั่งว่าทำแต่วัดเล็กๆ บุญยิ่งถึงแรง ไปทำบุญวัดบ้านนอกที่จนๆ นั้นได้บุญหลายเท่า"

    ทั้งหมดเป็นความประทับใจและอยู่ในความทรงจำของ ดร.วิษณุ เครืองาม อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างไม่ลืมเลือน


    -----------------

    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01031151&sectionid=0131&day=2008-11-03

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,215

    อ่านแล้วประทับใจจริง ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...