พระอาจารย์"พระองค์ที" ดร.สุวรรณา-40ปียามาฮ่า

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 21 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +474
    พระอาจารย์"พระองค์ที" ดร.สุวรรณา-40ปียามาฮ่า



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>"ดนตรีพัฒนาคนหรือมนุษย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องเรียน Junior Music Course (JMC) หรือเรียนเปียโนแล้วถึงจะพัฒนาได้ ดนตรีทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทยหรือดนตรีสากลก็ได้ ขอให้เด็กๆ ได้ซึมซับก็มีส่วนช่วยพัฒนาตัวเขา อยากฝากให้คุณพ่อคุณแม่ให้โอกาสลูกได้สัมผัสความงดงามของดนตรี จะด้วยวิธีไหนก็ตามแล้วแต่ฐานะ ขอให้เขามีจิตวิญญาณ มีดนตรีจะเป็นประโยชน์ในอนาคต"

    ดร.สุวรรณา วังโสภณ ผู้จัดการทั่วไปสถาบันดนตรียามาฮ่า (สยามกลการ) กล่าวในงาน "40 ปี ยามาฮ่า ไทยแลนด์ มิวสิค เฟสติวัล" ที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ อาคารสยามกลการ ปทุมวัน

    ปัจจุบันโรงเรียนดนตรีสยามกลการ มีเครือข่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 49 สาขา และพื้นที่ต่างจังหวัด 28 สาขา ภายใต้หลักสูตร "Yamaha Music Worldwide Education System" ได้รับการรับรองมาตรฐาน จาก "Yamaha Music Foundation" ประเทศญี่ปุ่น มุ่งพัฒนาเด็กให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ไม่ได้มุ่งสร้างเด็กเป็นศิลปิน แต่การเป็นศิลปินคือผลพลอยได้

    "ดนตรีคือเรื่องของโสตและศิลป์ ยิ่งเริ่มเร็วก็ยิ่งได้รับอะไรเร็วขึ้น แต่ต้องเรียนรู้ดนตรีที่ถูกต้อง ดังนั้น กระบวนการถ่ายทอด ที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ดี เด็กจะพัฒนาต่อไปได้ดี เราเรียน ดนตรีได้ตั้งแต่เด็กจนถึงคนอายุมาก แต่เมื่ออายุมากจะช้าลง ความไวที่จะจับเสียงจะช้ากว่าเด็ก ช่วงที่ดีที่สุดในการเรียนดนตรีคืออายุประมาณ 3 ขวบครึ่ง เพราะโสตประสาทพัฒนาได้สูงสุด เมื่อเด็กได้ฟังอะไรที่ดีเขาจะเก็บไว้ในสมอง เมื่อให้เวลาเขาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะรับได้มากและเขาจะพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีขึ้น" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สำหรับความโดดเด่นของหลักสูตรในเด็กๆ เราไม่ได้เน้นให้อ่านแล้วมาเล่น หรืออ่านและจำบรรทัด 5 เส้นว่านี่คือสัญลักษณ์ "โด" แต่ในยามาฮ่า เริ่มจากการให้เด็กฟังระดับเสียงที่ถูกต้อง ฟังแล้วจดจำ จำจนในที่สุดเขารู้ว่า "โด" แล้วลงมือเล่น เขาจะได้ยินเสียงตรงนั้น ส่วนสัญลักษณ์มาเป็นอันดับสุดท้าย

    หลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพร้อมพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เข้าเรียนดนตรีเป็นวันแรก หลักสูตรดนตรีขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กเล็ก Junior Music Course (JMC) ในวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา

    ดร.สุวรรณา กล่าวในฐานะพระอาจารย์ประจำชั้นของพระองค์ทีว่า "การที่พระองค์ทีเปิดใจยอมรับรู้สึกดีใจ ตอนแรกเรากลัวว่าพระองค์ท่านจะไม่ประทับใจในครูผู้สอน ซึ่งถ้าไม่ประทับใจกระบวนการเรียนการสอนก็คงจะเริ่มต้นไม่ได้ รู้สึกประทับใจที่ทรงวางพระทัยยอมรับครูผู้สอน ซึ่งเป็นกระบวนการแรกที่ต้องมีมาก่อน การทำให้เด็กเข้าใจและรักเราเป็นสิ่งที่ครูทุกคนต้องมี <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนการเรียนการสอนพระองค์ทีกับพระสหายเหมือนกันหมด การเรียนดนตรีแม่ต้องทำงานหนัก เพราะลูกอยู่กับครูเพียงชั่วโมงเดียว หลังจากนั้นลูกอยู่กับพ่อแม่ การฟังถ้ามีความถี่เยอะจะยิ่งเป็นประโยชน์กับลูกแน่นอน ถ้าความถี่น้อยแค่ชั่วโมงเดียวกับครูตรงนี้ก็จะไม่ได้อะไร หลักสูตรนี้มีระยะเวลา 2 ปี และยังมีหลักสูตรต่อไปอีก 4 ปี ซึ่งมีคอร์สเยอะมาก แล้วแต่พระองค์โปรดเลือกเรียนหรือไม่หลังเรียนจบ

    เทคนิคการสอนดนตรีนั้น ต้องใจเย็นและอ่านเด็กแต่ละคน เราต้องรู้ว่าเด็กคนนี้ชอบและไม่ชอบอะไร ชอบการบังคับหรือไม่บังคับ คือเราต้องใช้เทคนิคในการสั่งการ เพราะทุกคนมีความต้องการต่างกัน มีพื้นฐานและมาจากครอบครัวต่างกัน เพราะฉะนั้น การจะให้ 12 ชีวิตมาร่วมกันทำกิจกรรมเดียวกันเป็นสิ่งที่คุณครูต้องใช้จิตวิทยาในการควบคุมและความใจเย็นที่สุด ถ้าเราใจร้อนจะไม่เกิดผลสัม ฤทธิ์ แน่นอนเราไม่คาดหวังว่า 12 คนจะทำให้เราได้ภายใน 1 ชั่วโมง เป็นไปไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่ครูต้องสร้างขึ้นตลอด เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดว่าเด็กแต่ละคนมีความต้องการอะไร ครูต้องค่อยๆ ช่วยประกบเขา

    หลังจบคอร์สมีการประเมินผล เราไม่ทำให้เด็กรู้สึกเครียดหรือความรู้สึกว่าต้องมาสอบ เราให้เขาได้ออกมาเล่นคอนเสิร์ตแบบสนุกสนานกัน เมื่อเขารู้สึกสนุกปุ๊บ คือผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น เขาเล่นได้ ร้องได้ ซึ่งจริงๆ เราไม่ได้วัดผลอะไรมากมาย สิ่งหนึ่งที่เด็กกลุ่มหนึ่งทำได้ ไม่ว่าเราจะเล่นคีย์ซี หรือคีย์จี หรือเปลี่ยนเป็นคีย์เอฟ จีไมเนอร์ อีไมเนอร์ เขาจับระดับเสียงตรงนี้ได้ นั่นคือความวิเศษที่สุด"

    ความหวังของครูผู้สอนคือเราไม่ได้สอนเฉพาะดนตรี เราสอนให้เขารู้จักเข้าสังคมและมารยาทในการเข้าสังคม แค่คำว่าฟังก็คือการสอนให้รู้จักมารยาทในการฟัง การอยู่ในสังคม และต้องรอ เช่น ตอนนี้เล่นไม่ได้ก็ต้องฟังเพื่อน นั่นคือสอนให้เด็กรู้จักรอคอยและรู้คิว มารยาทในสังคมหลายๆ คนไม่รู้จักตรงนี้ ทุกคนจะแก่งแย่งเอาที่ 1 เราสอนให้รู้ว่าทุกอย่างเท่ากันหมด และสอนให้รู้จักการรอคอยเพื่อทำด้วยกัน

    "วิชาที่บรรจุในการเรียนการสอนวิชาสามัญในประเทศไทยที่ขาดตกบกพร่องคือทำงานเป็นทีมเวิร์ก เราทำงานเดี่ยวเก่ง แต่ถ้าทำงานเป็นทีมเราทำไม่ได้ แต่หลักสูตรตรงนี้เราทำให้ทุกคนต้องทำงานด้วยกัน เพื่อให้เกิดเสียงดนตรีที่เป็นพลังเสียงที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นด้วยคนเพียงแค่คนเดียว แต่มันเกิดจากทุกคนมาร่วมกัน เราเชื่อมั่นอย่างนั้น"


    --------------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBd09DMHhNQzB5TVE9PQ==
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...