พระศาสดาทรงอดกลั้นคำล่วงเกินได้

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 23 เมษายน 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    พระศาสดาทรงอดกลั้นคำล่วงเกินได้

    พระศาสดาตรัสว่า "อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก ๔ ทิศเป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงครามฉันใด, ชื่อว่าการอดทนถ้อยคำที่ชนทุศีลแม้มากกล่าวแล้ว เป็นภาระของเราฉันนั้นเหมือนกัน"

    เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ในนาควรรคว่า :-

    <TABLE class=D cellSpacing=0 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>๑. <TD>อหํ นาโคว สงฺคาเม <TD>จาปาโต ปติตํ สรํ <TR vAlign=top><TD><TD>อติวากฺยนฺติติกฺขิสฺสํ <TD>ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน. <TR vAlign=top><TD><TD>ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ <TD>ทนฺตํ ราชาภิรูหติ <TR vAlign=top><TD><TD>ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ <TD>โยติวากฺยนฺติติกฺขติ. <TR vAlign=top><TD><TD>วรมสฺสตรา ทนฺตา <TD>อาชานียา จ สินฺธวา <TR vAlign=top><TD><TD>กุญฺชรา จ มหานาคา <TD>อตฺตทนฺโต ตโต วรํ.


    <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อลูกศรที่ตก <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>จากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล. <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้ว, บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วง

    <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>เกินได้ ฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>ม้าอัสดร ๑ ม้าสินธพผู้อาชาไนย ๑ ช้างใหญ่ชนิดกุญชร ๑ <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่บุคคลที่มีตนฝึกแล้วย่อมประเสริฐ <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>กว่า (สัตว์พิเศษนั้น).


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>
    แก้อรรถ

    </CENTER>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโคว คือ เหมือนช้าง.
    สองบทว่า จาปาโต ปติตํ ความว่า หลุดออกไปจากธนู.
    บทว่า อติวากฺยํ ความว่า ซึ่งคำล่วงเกินที่เป็นไปแล้วด้วย<WBR>สามารถ<WBR>แห่ง<WBR>อนริย<WBR>โวหาร ๘.<SUP>#-</SUP>

    บทว่า ติติกฺขิสฺสํ ความว่า ช้างใหญ่ที่เขาฝึกหัดดีแล้วเข้าสู่สงคราม เป็นสัตว์อดทน ไม่พรั่นพรึงซึ่งลูกศรที่หลุดจากแล่งตกลงที่ตน ชื่อว่า ย่อมทนทานต่อการประหารทั้งหลาย มีประหารด้วยหอกเป็นต้นได้ ฉันใด, เราก็จักอดกลั้น คือจักทนทานคำล่วงเกิน มีรูปอย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

    บทว่า ทุสฺสีโล หิ ความว่า เพราะโลกิยมหาชนนี้เป็นอันมาก เป็นผู้ทุศีล เที่ยวเปล่งถ้อยคำเสียดสีด้วยอำนาจแห่งความชอบใจของตน, การอดกลั้น คือการวางเฉยในถ้อยคำนั้น เป็นภาระของเรา.

    บทว่า สมิตึ ความว่า ก็ชนทั้งหลาย เมื่อจะไปสู่ท่ามกลางมหาชน ในสมาคมสถาน มีอุทยานและสนามกรีฑาเป็นต้น เทียมโคหรือม้าที่ฝึกแล้วเท่านั้นเข้าที่ยานแล้ว ย่อมนำไป.

    บทว่า ราชา ความว่า แม้พระราชา เมื่อจะเสด็จไปสู่ที่เห็นปานนั้นนั่นแหละ ย่อมทรงสัตว์พาหนะเฉพาะที่ฝึกแล้ว.

    บทว่า มนุสฺเสสุ ความว่า แม้ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ฝึกแล้ว คือผู้สิ้นพยศแล้วแล<SUP>๑-</SUP> ด้วยอริยมรรค ๔ เป็นผู้ประเสริฐ.
    ____________________________
    <SUP></SUP>
    <SUP>#-</SUP> อนริยโวหาร ๘ คือ :-
    ๑. อทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่าเห็น.
    ๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน.
    ๓. อมุเต มุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ว่ารู้.
    ๔. อวิญฺญาเต วิญฺญาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ทราบชัดว่าทราบชัด.
    ๕. ทิฏฺเฐ อทิฏฺฐวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นว่าไม่เห็น.
    ๖. สุเต อสฺสุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน.
    ๗. มุเต อมุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่รู้ว่าไม่รู้.
    ๘. วิญฺญาเต อวิญฺญาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ทราบชัดว่าไม่ทราบชัด.
    <SUP>๑-</SUP> นิพฺพิเสว = มีความเสพผิดออกแล้วเทียว.

    บทว่า โยติวากฺยํ ความว่า บุคคลใดย่อมอดกลั้น คือย่อมไม่โต้ตอบ ไม่พรั่นพรึงถึงคำล่วงเกินมีรูปเช่นนั้น แม้อันเขากล่าวซ้ำซากอยู่. บุคคลผู้ฝึกแล้วเห็นปานนั้น เป็นผู้ประเสริฐ.

    ม้าที่เกิดจากแม่ม้าโดยพ่อลา ชื่อว่า ม้าอัสดร. บทว่า อาชานียา ความว่า ม้าตัวสามารถเพื่อจะพลันรู้เหตุที่นายสารถีผู้ฝึกม้าให้กระทำ.

    ม้าที่เกิดในแคว้นสินธพ ชื่อว่า ม้าสินธพ. ช้างใหญ่ที่เรียกว่ากุญชร ชื่อว่า มหานาค.

    บทว่า อตฺตทนฺโต เป็นต้น ความว่า
    ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี ช้างกุญชรก็ดี เหล่านั้นที่ฝึกแล้วเทียว เป็นสัตว์ประเสริฐ ที่ยังไม่ได้ฝึกหาประเสริฐไม่,

    แต่บุคคลใด ชื่อว่ามีตนฝึกแล้ว คือหมดพยศแล้ว เพราะความที่ตนเป็นผู้ฝึกด้วยอริยมรรค ๔. บุคคลนี้ย่อมประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะ มีม้าอัสดรเป็นต้นแม้นั้น คือย่อมเป็นผู้ยิ่งกว่าสัตว์พาหนะ มีม้าอัสดรเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น.
    ในกาลจบเทศนา มหาชนแม้ทั้งหมดนั้น ผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่าอยู่ในที่ทั้งหลาย มีถนนและทางสามแยกเป็นต้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดังนี้แล.


    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>เรื่องของพระองค์ จบ. </CENTER><CENTER></CENTER>
     
  2. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    บางกรณี เห็นพระองค์นิ่ง ไม่ทรงตอบ
     
  3. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    คือปัญหาที่ควร ตอบโดย

    ๑. แง่เดียว

    ๒. แยกตอบตามเหตุผล

    ๓. ย้อนถาม

    ๔. หยุดไว้ไม่ตอบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...