พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย 26ธค49 T-SUNAMI, 17 มิถุนายน 2007.

  1. 26ธค49 T-SUNAMI

    26ธค49 T-SUNAMI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +148
    [​IMG]

    [​IMG]

    2. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
    สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์

    พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน

    นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 หยุดทุกวันจันทร์
    ที่มาข้อมูล www.yupparaj.ac.th/.../wanasara/2_1.htm
     
  2. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    พระมหากรุณาธิคุณของ VR009 ต่อสายลม (ศูนย์วิทยุสายลม ซอยสายลม กรมไปรษณีย์โทรเลข)


    http://www.kontongphai.com/King Radio.pdf
     
  3. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เดชะบุญ

    ไม่เพียงทรงห่วงใยทุกข์สุขของราษฎรในถิ่นทุรกันดารเท่านั้น แต่ทรงเข้าพระทัยดีถึงความเหน็ดเหนื่อยและเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างทางด้วย ทรงสดับฟังข่าวการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผ่านทางวิทยุบ่อยครั้ง ดังที่ปรากฏในหนังสือ “อัครมหาราชา ปิ่นฟ้าคมนาคม”ที่จัดทำโดยกระทรวงคมนาคม

    ครั้งหนึ่งหน่วยก่อสร้างทางสายทุ่งช้าง-ปอน-ห้วยโก๋น ถูกผู้ก่อการร้ายซุ่มโจมตี ทำให้มีเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงและทหารบาดเจ็บและเสียชีวิต รถ APC ของกรมทหารม้าที่ 2 ถูกยิงด้วยระเบิดไฟไหม้เสียหายใช้การไม่ได้พนักงานวิทยุประจำโครงการจึงแจ้งข่าวมายังเขตการทางพิษณุโลก เพื่อขอให้ส่งข่าวส่วนกลางและขอเฮลิคอปเตอร์จากหน่วยทหารมารับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่ปรากฏว่าทางทหารไม่สามารถส่งเฮลิคอปเตอร์มาตามคำขอได้

    เดชะบุญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวิทยุในเวลานั้นพอดี จึงมีรับสั่งให้ราชองครักษ์แจ้งกับเขตการทางพิษณุโลกว่า

    “อีกหนึ่งชั่วโมงจะส่งเฮลิคอปเตอร์มาให้”

    ไม่ช้าเฮลิคอปเตอร์สองลำก็ถูกส่งมารับผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตไปยังโรงพยาบาลน่านตามที่รับสั่ง พระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้สร้างความซาบซึ้งใจให้แก่ชาวกรมทางหลวงอย่างไม่อาจลืมมาจนทุกวันนี้

    เรื่องของ “พี่ใหญ่”

    เช่นเดียวกับพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อ “พี่ใหญ่” ซึ่งหลายเป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา และได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัครมหาราชา ปิ่นฟ้าคมนาคม” เล่มเดียวกันด้วย

    “พี่ใหญ่” หรือนางจัทร์สม อินทร์พิรมย์ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นพนักงานรับส่งวิทยุของเขตการทางพิษณุโลกเมื่อราวสี่สิบปีที่แล้ว แม้จะเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยแต่ด้วยอาวุโสที่มากกว่าเพื่อน ทำให้พนักงานวิทยุของกรมทางหลวงทั่วประเทศที่มีมากกว่า 100 หน่วยงาน พากันเรียกขานเธอว่า “พี่ใหญ่”

    กล่าวกันว่า “พี่ใหญ่” เป็นพนักงานวิทยุที่มีความรับผิดชอบสูงยิ่ง ทำงานตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงก็ว่าได้ เพราะมีวิทยุติดตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะทำธุระส่วนตัวใดๆ ไม่เว้นแม้แต่ยามนอน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับการฟังการส่งข่าวของ “พี่ใหญ่” ที่รับฟังข่าวและผ่านข่าวให้หน่วยงานอื่นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดานห่างไกลและอยู่ในเขตคุกคามของผู้ก่อการร้ายอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย จึงมีรับสั่งถามพลตรีประถม บุรณสิริ อดีตอธิบดีกรมทางหลวงว่า “พี่ใหญ่” คือใคร และรับสั่งให้ศูนย์สื่อสารสวนจิตรลดา ส่งวิทยุชมเชยการปฏิบัติงานของ “พี่ใหญ่”

    เดโชชัย 1

    วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2516 ขณะที่ “พี่ใหญ่” และพนักงานวิทยุกรมทางหลวงในภาคเหนือปฏิบัติงานอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงเรียกที่ไม่คุ้นเคยดังมาจากเครื่องรับ

    “พิษณุโลก พิษณุโลก”

    “พี่ใหญ่ยัง” มิได้ขานตอบ เนื่องจากเสียงนี้ยังไม่เคยได้ยินมาก่อน

    “พี่ใหญ่ พี่ใหญ่”

    เมื่อเสียงเดิมเรียกมาอีก คราวนี้ “พี่ใหญ่” จึงขานรับ

    “ตอบค่ะ ไม่ทราบว่าจากไหนค่ะ”

    “จากเดโชชัย 1”

    คราวนี้ “พี่ใหญ่” ถึงกับชะงัก เธอเรียกทุกศูนย์ให้รีบปิดคลื่นไปช่อง 12 โดยด่วน ระหว่างนั้นเธอรวบรวมความกล้าถามย้ำอีกครั้งว่า

    “จากเดโชคชัย 1 นะ”

    ผู้ฟังทุกคนเงียบกริบเพื่อรอฟังคำตอบจากปลายทาง ทว่าในหัวใจทุกดวงเต้นระทึกเหมือนจะหลุดออกมานอกอก เพราะทราบดี “เดโชชัย 1” คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว!

    แทนคำตอบ “เดโชชัย 1” พระราชทานพรปีใหม่ด้วยพระสุรเสียงอันทำให้ผู้ฟังขนลุกซู่

    “สวัสดีปีใหม่พี่ใหญ่และเจ้าหน้าที่วิทยุทุกคน ขอให้มีความสุขตลอดทั้งครอบครัวให้มีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดภัย มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ สวัสดี”

    V R 0 0 9

    เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขก่อตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัครหรือ VR ขึ้น และได้ทูลเกล้าฯ ถวายสัญญาณเรียกขาน VR009แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ชาวVR ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก VR009 ในหลายประการ โดยเฉพาะคำแนะนำในเรื่องทางเทคนิคต่างๆ โดยทรงใช้ภาษาที่สมาชิกฟังแล้วเข้าใจได้อย่างง่ายดาย

    ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ขณะที่ VR969 และ VR938 ออกไปช่วยรถสมาชิกที่จอดแช่น้ำท่วมอยู่ VR009 ก็ทรงติดต่อเข้าไปพระราชทานกำลังใจและแนะนำทางกลับบ้าน

    หรือในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ขณะที่กำลังพระราชทานคำแนะนำการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบติดตั้งประจำที่ YAESU FT-726R มีผู้กดคีย์ว่างอยู่นานประมาณ 25 วินาที ทรงสอบถามว่าศูนย์สายลมกดคีย์หรือไม่ เมื่อทรงทราบว่าไม่ใช่สัญญาณของศูนย์สายลม ก็พระราชทานการ report สัญญาณว่า

    “ผู้ที่กดคีย์ว่างเข้ามานั้น สัญญาณเบี่ยงไปลบจุดหนึ่ง” และตรัสว่า

    “คงเพราะเราผูกขาดความถี่มานานพอสมควร คนอื่นอยากเข้ามา ถ้าเข้ามาก็เชิญ VR009 เคลียร์ ไม่ต้อง Break”


    จาก... http://region2.prd.go.th/king/100story/k11.htm
     
  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    บันทึกความทรงจำ จาก HS1JC

    เหตุการณ์น้ำท่วม ถนนรัชดาภิเษก

    เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ในวันนั้นได้เกิดฝนตกอย่างหนักจนทำให้ เกิดเหตุน้ำท่วมบนถนนรัชดาภิเษก ช่วงตัดกับถนนวิภาวดีรังสิตไปจนถึงทางแยกตัดกับถนน ลาดพร้าว บ้านของผู้เขียนอยู่ห่างจากทางแยกดังกล่าวประมาณ 2 กิโลเมตรในเส้นทางตรง ในช่วงหัวค่ำ ผู้เขียนได้เปิดเครื่องวิทยุและ scan ความถี่ไปพบเพื่อนสมาชิกท่านหนื่งซึ่งขับรถ ในถนนช่วงดังกล่าวและได้มีน้ำกระเด็นเข้าไปที่เครื่องยนต์จนทำให้เครื่องดับ จึงได้เรียกวิทยุ เพื่อขอความช่วยเหลือดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้ตอบรับและสนทนาด้วย เนื่องจากสถานีดังกล่าว มีพลังงานไฟฟ้าจำกัด ผู้เขียนจึงได้แนะนำให้ใช้กำลังส่งต่ำและช่วยทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อความ เพื่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกที่อยู่ใกล้เคียง ผู้เขียนได้ติดต่อกับ VR969 ซึ่งทำหน้าที่ เป็น net control ที่ศูนย์สายลมแต่ช่วงเวลานั้นได้เลิกงานและกลับถึงบ้านแล้ว ท่าน VR969 มี บ้านอยู่ในซอยวัดเสมียนนารี ซึ่งไม่ห่างจากจุดที่เพื่อนสมาชิกจอดรถเสียมากนัก ท่านจึงอาสาที่ จะเดินทางออกไปช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกดังกล่าว

    เหตุการณ์น้ำท่วมในคราวนั้นได้ทำให้การจราจรติดขัดอย่างมาก กว่าที่ท่าน VR969 จะเดินทางไปถึงถนนรัชดาภิเษกก็เป็นเวลาประมาณเที่ยงคืน จากข่าวสารที่ผู้เขียนถ่ายทอดไปถึง VR969 ก็ได้แจ้งรายละเอียดยี่ห้อและสีของรถที่จอดเสียอยู่ แต่เนื่องจากในขณะนั้นมีรถจอดเสีย อยู่จำนวนมาก ท่าน VR969 ได้จอดรถช่วยเหลือรถยนต์คันหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่ได้รับแจ้ง หลังจากช่วยเหลือแล้วจึงได้สอบถามและพบว่าเป็นรถคันอื่นมิใช่รถของเพื่อนสมาชิกที่รอรับ ความช่วยเหลืออยู่ จึงเดินทางต่อจนได้พบกับรถของเพื่อนสมาชิกที่ต้องการความช่วยเหลือ

    หลังจากที่ได้ประสานงานจนเสร็จสิ้นแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณสองนาฬิกา ผู้เขียนซึ่งทำหน้าที่ประสานงานมาโดยตลอด นับแต่ช่วงเวลาสามทุ่มเป็นระยะเวลาประมาณห้าชั่วโมง จึงได้แจ้งขอปิดสถานีเพื่อพักผ่อน เมื่อผู้เขียนแจ้งข้อความแล้ว ท่าน VR009 ได้ติดต่อมายัง VR969 เพื่อแนะนำเส้นทางที่การจราจรไม่หนาแน่นให้ VR969 สามารถเดินทางกลับบ้านได้โดย สะดวกและปลอดภัย เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้เขียนเป็นอย่างดี เพราะ เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายของผู้เขียน เนื่องจากผู้เขียนเองได้แจ้งปิดสถานีเพราะความง่วงนอน แต่ก็ต้องตาสว่างทันทีเมื่อได้รับสัญญาณของ VR009 เหตุการณ์นี้แสดงว่า ท่าน VR009 ได้คอย รับฟังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด อีกทั้งยังทรงเป็นห่วงเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยที่ได้ทำตัวเป็น คนดีโดยการเสียสละเวลาและแรงกายออกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในคืนนั้น

    วันรุ่งขึ้น ท่าน VR009 ได้ติดต่อกับ VR969 ซึ่งเข้าเวรอยู่ที่ศูนย์สายลม โดยกล่าวถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและยังได้ทรงแนะนำวิธีการที่จะสามารถพกพาเครื่องวิทยุรับส่งมือถือให้สามารถ นำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะตกน้ำจนเกิดความเสียหาย

    ทรงสนทนาโดยไม่ถือพระองค์

    มกราคม 2529 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยพัก ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างที่มีเวลาว่างจึงได้นำเครื่องวิทยุมาเปิดรับฟัง จึงพบว่า ท่าน VR009 กำลังสนทนากับ VR001 (ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข) หลังจากที่คู่สถานีทั้งสองจบการสนทนา ผู้เขียนจึงทดลองเรียกขานท่าน VR009 ซึ่งท่านได้ ตอบกลับมาทันที ผู้เขียนรู้สึกตกใจและดีใจอย่างบอกไม่ถูก ท่าน VR009 ได้สนทนากับผู้เขียน อยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้เขียนมีความประทับใจในความกรุณาของท่าน VR009 ที่มิได้ทรงถือพระองค์แม้แต่น้อย และยังทรงสละเวลามาทำการติดต่อกับสถานีของผู้เขียนโดย ไม่เคยทำการติดต่อกันมาก่อนเลย ท่านยังได้ทรงแนะนำถึงพื้นที่โดยรอบอำเภอเมืองที่จะสามารถ ทำการติดต่อกลับมาได้โดยสะดวก และพื้นที่ที่เป็นจุดอับสัญญาณไม่สะดวกในการติดต่อสื่อสาร นับเป็นพระกรุณาธิคุณต่อวงการนักวิทยุสมัครเล่นที่มีต่อนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

    จาก... http://www.hs1an.org/index.php?option=com_content&task=view&id=364&Itemid=31
     
  5. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เกือบ 20ปีก่อน ตอนที่วิทยุสมัครเล่น(VR)เป็นที่นิยม ได้ยินเรื่องเล่าดังนี้

    ชายหนุ่มคนหนึ่งหลังสอบเป็นสมาชิก VR ก็ได้ซื้อวิทยุมือถือมาใช้ แต่ตัวเล่นเยอะแยะไปหมด จึง ว ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกท่านอื่น สมาชิกท่านหนึ่ง ว กลับมา สอนถึงการใช้วิทยุมือถือ

    สุดท้ายชายหนุ่มคนนี้จึง ว ขอบคุณ สมาชิกท่านนี้ที่ ว เข้ามาแนะนำ และถามว่าท่านมี Call sign อะไร อยู่ที่ไหน

    สมาชิกผู้นั้นตอบว่า เราคือ VR009 ขณะนี้กำลังโดยสารมากับเฮลิคอปเตอร์

    ชายหนุ่มผู้นี้เพิ่งสอบ VR มาใหม่ๆ จึงไม่รู้ว่า VR009 คือผู้ใด ภายหลังไปสอบถามเพื่อนๆจึงถึงบางอ้อว่า VR009 คือ ในหลวงของเรา ซึ่งภายหลังวิทยุสมัครเล่นมีสมาชิกมากขึ้น ทางกรมไปรษณียโทรเลขจึงได้ถวาย Call sign แด่ในหลวงเป็น HS1A
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2007
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

    ตอน 8 : รหัสประจำพระองค์ VR009

    16 ตุลาคม 2549 15:24 น.

    ในเดือนกันยายน พ.ศ.2495 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน กรมประชาสัมพันธ์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายและติดตั้งเครื่องส่งวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้นกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวพร้อมๆ กันในระบบเอเอ็ม

    ซึ่งเป็นสถานีวิทยุเครือข่ายของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยแห่งเดียวที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุญาตให้ส่งคลื่นสั้นได้

    กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้กำหนดความถี่ถวายสำหรับระบบเอเอ็ม นั้น คลื่นยาวใช้ความถี่ 1332 กิโลเฮิรตซ์ ความยาวคลื่น 225 เมตร และคลื่นสั้นแรกเริ่มใช้ความถี่ 6404 กิโลเฮิรตซ์ ความยาวคลื่น 46.8 เมตร

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า 'สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต' ชื่อ อ.ส.ย่อมาจาก 'อัมพรสถาน' ซึ่งเป็นสถานที่ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้ย้ายสถานีวิทยุแห่งนี้ไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

    การส่งกระจายเสียงด้วยระบบคลื่นสั้นนั้น เดิมใช้ความถี่ 6404 กิโลเฮิรตซ์ แต่ข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มาตรา 32 ข้อ 1132 ได้กำหนดให้สถานีฝั่ง (Coast Station) ใช้ความถี่ดังกล่าวในการทำงานวิทยุโทรเลขกับสถานีเรือในกิจการเคลื่อนที่ทางน้ำ (Maritime Mobile Service) โดยเฉพาะ กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้แจ้งให้สถานีวิทยุ อ.ส. เปลี่ยนมาใช้ความถี่คลื่นสั้นที่ 6150 กิโลเฮิรตซ์ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2517

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2525 กรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการขออนุญาตคณะกรรมการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กบว.) เพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเอฟเอ็ม กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ความถี่ 104 MHz เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายให้เป็นของสถานีวิทยุ อ.ส.

    คณะอนุกรรมการฝ่ายเทคนิค ซึ่งมีอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นประธาน ได้พิจารณาและมีมติน้อมเกล้าฯ ถวายความถี่ 104 MHz กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ให้เป็นของสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต

    ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2526 คณะกรรมการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ตั้งคณะทำงานจัดทำแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็มแห่งชาติขึ้น คณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม เพื่อแก้ปัญหาคลื่นถูกรบกวน ตามแผนดังกล่าวสถานีวิทยุ อ.ส. จะต้องเปลี่ยนความถี่จาก 1332 กิโลเฮิรตซ์ เป็น 1341 กิโลเฮิรตซ์ เนื่องจากเขตบริการของสถานีวิทยุ อ.ส. รบกวนกับสถานีวิทยุทหารอากาศ 012 กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นสถานีวิทยุที่กองทัพอากาศจัดตั้งขึ้นภายหลัง

    กรมไปรษณีย์โทรเลขในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทุกสถานีที่ต้องเปลี่ยนความถี่ ดำเนินการเปลี่ยนความถี่ตามแผนพร้อมกันภายใน 18 เดือน นับแต่วันที่กรมไปรษณีย์โทรเลขประกาศใช้แผน

    ในการประชุมแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม แห่งชาติครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2537 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม ออกอากาศตามแผนจัดสรรความถี่พร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538

    ในการประชุมครั้งนี้ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เสนอให้ที่ประชุมทบทวนแผนไม่ให้สถานีวิทยุ อ.ส. ต้องปรับความถี่ใหม่ โดยแจ้งให้กรมไปรษณีย์โทรเลขและกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องเดิมทราบ และหาทางปรับแผนโดยให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

    กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ประสานงานกับคณะทำงานจัดทำแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็มแห่งชาติ และได้พิจารณาปรับปรุงแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็มแห่งชาติ โดยให้สถานีวิทยุกระจายเสียง อ.ส. พระราชวังดุสิต คงใช้ความถี่ 1332 กิโลเฮิรตซ์ ตามเดิมต่อไป

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุในเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น ทรงทดลองการแพร่กระจายคลื่นวิทยุและการรับสัญญาณด้วยพระองค์เอง ทรงเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของการติดต่อสื่อสาร ทั้งในแง่ของความถูกต้องของคำพูดติดต่อสื่อสาร และการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

    พระองค์จะทรงทักท้วง ตักเตือน หากนักวิทยุสมัครเล่นคนใดมิได้ปฏิบัติตามระเบียบ ในขณะเดียวกันก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำ คำอธิบายปัญหาเทคนิคด้วยภาษาง่ายๆ ให้หายข้องใจได้ทุกครั้ง

    เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ก่อตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร หรือเรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า VR (Voluntary Radio) ขึ้น กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายสัญญาณเรียกขาน VR009 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2524 ด้วยรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    จาก... http://www.bangkokbiznews.com/2006/10/25/w006_144932.php?news_id=144932
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...