"พระมหาสุคนธ์" ปราชญ์แห่งปฏิทินโหราศาสตร์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 มกราคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]

    "พระสงฆ์ นอกจากเป็น ผู้บำเพ็ญสมณธรรม ตามพระธรรมวินัยแล้ว ยังทำหน้าที่เกื้อกูล อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ด้วยความเมตตากรุณา สุดแล้วแต่ พระรูปใด จะมีความสามารถ ทางใด"
    นี่คือบทบาทของพระสงฆ์ไทย ในอดีตและปัจจุบัน ที่พุทธศาสนิกชน พบเห็น จนกลายเป็น ภาพชินตา
    "ทำไมพระสงฆ์จึงต้อง มีบทบาท ด้านโหราศาสตร์ ?" เป็นอีกคำถามหนึ่ง ที่ชาวพุทธ ยุคใหม่ ตั้งข้อสงสัย พระผู้ที่จะ ตอบคำถามนี้ ได้ดีที่สุดคือ พระครูสุนทรสิทธิการ (สุคนธ์ สุคนฺธธโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) หรือ "พระมหาสุคนธ์" พระผู้ได้รับการยกให้เป็น "ปราชญ์แห่งปฏิทินโหราศาสตร์" ส่วนจะเหมาะสมกับสมณเพศหรือไม่นั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ "คม ชัด ลึก"
    * ท่านเริ่มเรียนโหราศาสตร์ครั้งแรกกับใครครับ ?
    เรียนกับหมอเสม พึงประชา ท่านมีความเชี่ยวชาญเรื่องโหราศาสตร์มาก เป็นที่ยอมรับและมีชื่อในเรื่องการดูตอไม้ที่อยู่ใต้ดินได้ ในอดีตใครจะปลูกบ้าน สร้างอาคารต้องมาหาหมอเสมก่อนทุกครั้ง เรียกว่าในลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ไม่มีใครไม่รู้จักท่าน ดังไปจนถึงสุพรรณบุรี ไม่ว่าจะเป็นของหาย ให้ฤกษ์ ดูตอไม้ใต้ดิน จัดยารักษาโรค ฯลฯ ท่านแม่นมาก โดยเรียนกับท่านอาทิตย์ละ ๒ วัน วิธีการเรียนใช้กระดานชนวน ไม่มีปากกาดินสอเหมือนอย่างปัจจุบัน ดังนั้นต้องใช้ความจำเป็นอย่างมาก เพราะไม่สามารถเปิดอ่านทบทวนได้ เรียนกับท่านอยู่ ๔ ปี ก็มีความรู้ในขั้นต้นเท่านั้น
    * แล้วไปเรียนกับอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว ตอนไหนครับ ?
    หมอเสมแนะนำว่า นายทองเจือ อ่างแก้ว เป็นนักโหราศาสตร์ที่เก่งด้านคำนวณมากที่สุดในประเทศไทย น่าจะลองไปเรียนดู อาตมาก็เลยเขียนจดหมายติดต่อไป โดยบอกความประสงค์และความรู้พื้นฐานให้ จากนั้นไม่นานอาจารย์ทองเจือ ก็เขียนจดหมายตอบลับมา พร้อมกับมาขอดูตัวที่วัดมหาธาตุฯ
    * หลังจากดูตัวแล้วได้เรียนทันทีหรือเปล่าครับ ?
    ท่านเห็นตัวแล้วก็ตอบตกลงสอนให้ โดยมีเงื่อนไข ๓ ข้อ คือ ๑.ในระยะ ๑๐ ปี ที่เรียนนี้ต้องไม่สึกจากพระ ๒.ต้องย้ายวัดจากสามพรานไปอยู่สระบุรี และ ๓.ต้องมีฐานะ อาตมาเชื่อว่าท่านคงตรวจดวงก่อนแล้ว รวมทั้งดูจากความเรียบร้อยของลายมือด้วย
    * เรื่องฐานะเกี่ยวอะไรกับการเรียนด้วยครับ ?
    เกี่ยวสิ ตอนแรกอาตมาก็งงอยู่เหมือนกัน แต่อาจารย์บอกว่า ถ้าไม่มีฐานะระหว่างที่บวชเรียนอยู่ ๑๐ ปี จะเอาอะไรกิน โดยให้กลับมาคิด ๗ วัน อาตมาก็ไปถามพ่อถามแม่ ถามหลวงพ่อ ในที่สุดก็ตัดสินใจตอบตกลง โดยท่านติดต่อให้ไปอยู่กับหลวงพ่อบาง อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองพลับ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ห่างจากบ้านอาจารย์ทองเจือ ประมาณ ๓ กม.
    หลังจากฉันเช้าเสร็จ ก็เดินเท้าไปเรียนกับท่าน โดยท่านทำอาหารเพลถวาย เรียนทั้งวัน ระหว่างที่เรียนไม่มีใครมาเรียนเลยสักคน ขณะเดียวกันท่านก็ไม่สอนใครด้วย เรียนอยู่กับท่านถึง ๘ ปี คลุกคลีกับท่านเหมือนเป็นลูก จากนั้นก็กลับมาจำวัดบางช้างเหนือ
    * ระหว่างเรียนมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่าครับ ?
    ผู้ที่เรียนต้องมีหลัก ๓ ข้อ คือ ๑.ซื่อสัตย์ ๒.ขยัน และ ๓.ต้องกตัญญู ก่อนเรียนจบอาจารย์ทองเจือ ให้สาบานด้วยว่า วิชาเหล่านี้ต้องสงวนไว้ในหมู่ญาติพี่น้องเท่านั้น ถึงจะถ่ายทอดเคล็ดลับวิชาบางอย่างให้ ขณะเดียวกันท่านก็ฝากดูแลลูกๆ ของท่านด้วย
    * เมื่อบวชครบ ๑๐ ปี ท่านคิดสึกหรือเปล่าครับ ?
    ก่อนที่หมอเสม จะตาย ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่าถ้าหากมีปัญหาเรื่องฤกษ์ยามให้ไปหาหลวงพี่สุคนธ์ จากนั้นชื่อของอาตมาก็เป็นที่รู้จักกันในสามพราน ส่วนหนึ่งมาจากคนรู้จักพ่อแม่ อีกส่วนหนึ่งมาจากประวัติตัวเองที่ดีมาตั้งแต่ก่อนบวช จนกระทั่งปี ๒๕๒๒ ก็เข้ามาเรียนบาลีที่วัดพลับ ตอนสอบประโยค ๔ ในปีนั้นข้อสอบรั่ว ทำให้ต้องยกเลิกผลการสอบ ขณะเดียวกันก็มาช่วยงานด้านบริหารวัดมากขึ้น จึงได้แค่ประโยค ๓ เท่านั้น
    * นอกจากนี้แล้วท่านได้เรียนวิชาโหราศาสตร์กับอาจารย์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกบ้างครับ ?
    ตอนนั้นทุกสำนักในยุทธจักรวิชาโหราศาสตร์ อาจารย์ท่านไหนพิมพ์ตำราโหราศาสตร์ก็ไปขอเรียน เช่น พระอาจารย์ประดิษฐ์ วัดปากน้ำ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านพยากรณ์มาก โดยให้มาเรียนทุกๆ วันพฤหัสบดี ไปๆ มาๆ อยู่ ๒ ปี จากนั้นก็ไปเรียนกับอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร รวมทั้งอาจารย์ท่านอื่นๆ อีกหลายสิบท่าน
    การคำนวณปฏิทินนี้ อาจารย์ทองเจือ ได้ศึกษาจากท่านผู้รู้และเก็บตำราจากโบราณาจารย์หลายท่าน ตั้งแต่พระนาโหราธิบดี (ชุ่ม โชติวิท) ผู้เป็นเจ้าของตำราฤกษ์ หลวงอนุสิทนนทิการ (เจิม โชติวิท) สอนดาราศาสตร์ไทย พ.อ.หลวงวิภาครัฐกิจ (ศุข เมนะรุจิ) สอนดาราศาสตร์ไทยและฮินดู และท่านประเวศ โภชนสมบูรณ์ สอนดาราศาตร์เยอรมัน
    * ตอนที่เรียนกับอาจารย์เทพย์ ได้หลักอะไรบ้างครับ ?
    อาจารย์เทพย์ บอกว่า วิชาโหราศาสตร์เหมือนยาต้มหม้อใหญ่ การพยากรณ์อย่าให้ความสำคัญมากนัก เพราะไม่แม่นยำเท่ากับการคำนวณ การพยากรณ์ขึ้นอยู่ที่ประสบการณ์ และความเห็นของโหรแต่ละท่าน การพยากรณ์เหมือนกับดาบสองคม ถ้าผู้พยากรณ์รู้จักใช้ก็จะมีประโยชน์ต่อสังคม ถ้าจะหาประโยชน์ใส่ตนก็เป็นเรื่องง่าย เหมือนนกเกาะกิ่งไม้ ไม่มีร่องรอย กินตามน้ำได้โดยไม่มีหลักฐาน ถ้าหายก็ฟลุค แต่ถ้าไม่หายคนก็ไม่ว่าอะไร กลับคิดไปว่าผ่อนหนักให้เป็นเบา
    * เรียนมาหลายสำนัก ไม่สับสนหรือครับ ?
    [​IMG]

    ถ้าความจำไม่ดีอาจจะสับสนได้ แต่อาตมาเป็นผู้ที่มีความจำดี และมีสมาธิค่อนข้างดีด้วย จึงเอาความรู้ที่ได้จากแต่ละท่านมาเทียบเคียงกัน ในการดูหมอนั้น อาตมาไม่เน้น ๒ อย่าง คือ การสะเดาะเคราะห์ และการเปลี่ยนชื่อ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องประกอบเท่านั้น จะดีจะชั่วอยู่ที่การทำตัว จะสูงจะต่ำอยู่ที่การทำของตัวเราเอง
    * ดูหมอและให้ฤกษ์เป็นกิจของสงฆ์ได้อย่างไรครับ ?
    พระสงฆ์นอกจากมีหน้าที่หลักคือ การบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อพ้นทุกข์แล้วยังต้องทำหน้าที่ต่อสังคมอีกด้วย ทั้งสังคมของพระสงฆ์ด้วยกันและสังคมคฤหัสถ์ โดยเฉพาะหน้าที่และความผูกพันที่พระสงฆ์พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์นั้น พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญมาก ดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ที่ทรงบัญญัติให้พระสงฆ์บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลก
    บทบาทของพระสงฆ์ไทยในอดีตและปัจจุบัน ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนเห็นจนกลายเป็นภาพชินตา ประด้วยหลักใหญ่ๆ ๕ ข้อคือ
    ๑.เป็นผู้ฝึกอบรมศีลธรรมและวิชาการต่างๆ ตามที่มีการเรียนการสอนแก่กุลบุตร-กุลธิดา เช่น อบรมศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษา โครงการเข้าค่ายพุทธบุตร ค่ายศีลธรรม ของวัดราชสิทธาราม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน โครงการอบรมวิปัสสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โครงการธรรมถึงคน คนถึงธรรม เป็นต้น
    ๒.สงเคราะห์บุตรหลานของชาวบ้านที่ยากจนให้ได้ศึกษาเล่าเรียนและมีอาชีพเลี้ยงตนเองได้ เช่น โครงการสลบมาฟื้นไปของพระพยอม กลฺยาโณ วัดสวนแก้ว โครงการสัจจะสะสมทรัพย์ ของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม จ.ตราด โครงการโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และวัดหลายแห่งทั่วประเทศ เป็นต้น
    ๓.เป็นหมอรักษาโรค (กายและใจ) ให้ชาวบ้าน เช่น โครงการรักษาโรคเอดส์ วัดพระพุทธบาทน้ำพุ โครงการเลิกเหล้าของพระครูมงคลสารกิจ รองเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เป็นต้น
    ๔.เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นที่ปรึกษา แก้ปัญหาชีวิตครอบครัว และความทุกข์ต่างๆ โดยอาจใช้ความรู้ด้านโหราศาสตร์เป็นสื่อเชื่อมโยงให้เข้าถึงธรรม
    ๕.เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม หรือให้บริการด้านพิธีกรรม อันเป็นเรื่องผูกพันกับชีวิตของทุกคนในระยะเวลาต่างๆ ของชีวิต เช่น เกิด แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ตาย เป็นต้น
    * มีพุทธพจน์อะไรรองรับหรือเปล่าครับ ?
    หน้าที่ทางสังคมของพระสงฆ์ เกิดขึ้นเพราะความผูกพันในด้านความเป็นอยู่นี้เป็นสำคัญส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นเมื่อกล่าวในแง่คุณธรรม พระสงฆ์ก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ด้วยอาศัยเมตตาและกรุณาธรรมของตน พุทธพจน์ที่ตรัสสอนเกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคมของพระสงฆ์ มีอยู่มาก พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนหน้าที่นี้ตั้งแต่เริ่มประกาศพระศาสนาทีเดียว
    "...ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย" และ
    "...สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน เมื่อได้รับการบำรุงจากคฤหัสถ์แล้ว ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์โดยฐานะ ๖ ประการ คือ ๑.สอนให้ละเว้นจากความชั่ว ๒.แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ๓.อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ๔.สอนสิ่งที่ยังไม่เคยได้สดับเล่าเรียน ๕.ชี้แจงให้เข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว ๖.บอกทางสวรรค์ให้ (แนะนำวิธีครองบรรพชิตให้ได้รับผลดีและความสุข..."
    * ทำไมคนถึงเชื่อว่าพระดูแม่นกว่าคนทั่วๆ ไป ?
    อันนี้ต้องพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ พระสงฆ์ถูกกำหนดให้ต้องฝากชีวิตความเป็นอยู่ไว้กับคฤหัสถ์ เริ่มจากอาหาร ซึ่งพระสงฆ์อยู่ด้วยการบิณฑบาต คือ อาหารที่คฤหัสถ์ถวาย ตลอดถึงปัจจัย ๔ อย่างอื่นๆ และความเป็นอยู่ที่ต้องอาศัยคฤหัสถ์เป็นประจำ เป็นข้อบังคับอยู่ในตัว ให้ชีวิตของพระสงฆ์ผูกพันอยู่กับสังคมของคฤหัสถ์
    ความผูกพันนี้มิได้มีกำหนดอยู่แต่ในฝ่ายวินัยอย่างเดียวเท่านั้น แม้ในทางธรรมก็มีพุทธพจน์ตรัสสอนและเตือนพระสงฆ์ให้ระลึกเสมอ ในภาวะนี้เพื่อให้เกิดความสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ และความรู้สึกรับผิดชอบของตน เช่น "บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น...วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่"
    * แม่นหรือไม่แม่นขึ้นอยู่กับอะไรครับ ?
    จิตต้องเป็นกุศล ต้องทำเพื่อการสงเคราะห์เท่านั้น ขณะเดียวกันจิตต้องนิ่ง มีสมาธิ ใช้ญาณประกอบ รวมทั้งต้องไม่ติดในลาภสักการะและกามอารมณ์ ไม่ใช่ทำเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัวอย่างปัจจุบัน ความเสื่อมของหมอดูมีเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้
    ทุกวันนี้ภาคคำนวณสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยได้ ตัวเลขความผิดเพี้ยนเกือบจะเท่ากับศูนย์ ความแม่นหรือไม่แม่นจะวัดกันที่ภาคพยากรณ์ ใครมีประสบการณ์มากย่อมได้เปรียบ
    * ท่านได้ถ่ายทอดวิชาให้ใครต่อหรือเปล่าครับ ?
    อาตมาไม่แนะนำให้ใครเรียนเพราะถ้าไม่แน่จริงเอาตัวไม่รอดเพราะอาจารย์จะสาปแช่งไว้ สำหรับผู้ที่เอาเคล็ดวิชาเหล่านี้ไปทำมาหากินในทางที่ผิด ถ้าไม่อยู่ในศีลไม่ตั้งมั่นในธรรม ชีวิตจะวิบัติ วิชาโหราศาสตร์เหมือนดาบสองคม อยู่กับคนดีย่อมเกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่ถ้าใช้ไปในทางที่ผิดก็จะเป็นการซ้ำเติม
    * ท่านมีอะไรชี้แนะพระหมอดูบ้างครับ ?
    ในพระธรรมวินัยมีบทบัญญัติสำหรับรักษาความสัมพันธ์ ระหว่างพระสงฆ์กับประชาชน ให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องและมั่นคง ให้สถาบันคณะสงฆ์อยู่ในฐานะมีเกียรติ เป็นที่เคารพเทิดทูน อนุเคราะห์ประชาชนด้วยคุณธรรม หวังประโยชน์สุขแก่ประชาชนอย่างแท้จริง มิใช่เป็นการทำเพื่ออามิสหรือกลายเป็นการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ เช่น ไม่ให้ภิกษุประจบคฤหัสถ์ด้วยการยอมลดตัวลงรับใช้ในกิจการต่างๆ
    ผู้หญิงกว่า ๙๐% ชอบดู เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต ยิ่งเป็นพระยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะดูไปดูมาความคลุกคลีก็ย่อมเกิดขึ้น ในที่สุดก็กลายเป็นพระที่มีเจ้าของ และจะกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว กลายเป็นข่าวและอาจจะต้องสึกจากสมณเพศไปในที่สุด
    * แล้วเมื่อไรปฏิทินโหรกับปฏิทินหลวงจะตรงกันครับ ?
    เหตุที่ไม่ตรงกันนั้นเกิดจากการคำนวณซึ่งยึดหลักตำราที่ไม่ตรงกัน ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๕๐๐ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความคลาดเคลื่อนของการนับข้างขึ้นข้างแรม หลักปฏิบัติที่ยึดถือกันมาตลอด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ถ้าหากปีใดไม่ตรงกันให้ยึดเอาปฏิทินหลวงเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน แต่ถ้าเป็นโหรก็จะยึดปฏิทินโหรเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อความแม่นยำในการคำนวณ
    สำหรับความแตกต่างของปฏิทินโหรและปฏิทินหลวง ซึ่งเป็นปฏิทินที่ประชาชนทั่วๆ ไปใช้นั้น ข้างขึ้นข้างแรมจากต่างกัน ๑ วัน โดยเริ่มมีความแตกต่างกันตั้งแต่วันพุธที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ปฏิทินโหรจะเป็นวันพระสิ้นเดือน คือ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ (ปกติวาร) ส่วนปฏิทินที่ประชาชนทั่วๆ ไปใช้จะเป็นวันพุธที่ ๖ กรกฎาคม แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (อธิกวาร) เป็นวันพระสิ้นเดือน ทั้งนี้ปฏิทินโหรและปฏิทินหลวงจะตรงกันอีกครั้งก็ คือ วันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ นี้ อาตมาคิดว่าครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ปฏิทินโหรและปฏิทินหลวงไม่ตรงกัน
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ff0000 2px dotted; BORDER-TOP: #ff0000 2px dotted; BORDER-LEFT: #ff0000 2px dotted; BORDER-BOTTOM: #ff0000 2px dotted" cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" align=center bgColor=#ffd7ff border=0><TBODY><TR><TD>
    ชาติภูมิพระมหาสุคนธ์
    [​IMG]

    สุคนธ์ ตุ้งสวัสดิ์ เป็นชื่อและสกุลเดิมของพระมหาสุคนธ์ (พรรษาที่ ๓๙ ) เกิดเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๙๗ ที่ ต.สามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นลูกคนโตในจำนวนพี่น้อง ๓ คน ของนายเพิ่ม ตุ้งสวัสดิ์ และนางบุญมา ตุ้งสวัสดิ์
    หลังจากจบชั้น ป.๗ ก็ช่วยพ่อแม่ทำสวนส้มโอจนกระทั่งถึงวัยเกณฑ์ทหาร เมื่อไม่ถูกเกณฑ์ก็อุปสมบท ณ วัดท่าข้าม โดยมีพระครูถาวรวิทยาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดสรรญเพชรเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สุคนฺธธโร” หมายถึง “ผู้ทรงไว้ซึ่งกลิ่นหอม”
    ด้วยความสนใจในธรรมะ พระสุคนธ์ ท่องบทสวดของพระต่างๆ ในหนังสือนวโกวาทได้ทั้งหมด ครั้งแรกตั้งใจจะบวชพรรษาเดียวเพราะเป็นลูกคนโต จะสึกออกไปช่วยพ่อแม่ทำสวน ด้วยเหตุที่ว่าระหว่างที่บวชอยู่ในเดือนแรกนั้น มีพระรูปหนึ่งซึ่งสวดปาฏิโมกข์ได้สึกออกไป ท่านเจ้าอาวาสจึงลองให้ท่องบทสวดปาฏิโมกข์ ซึ่งพระมหาสุคนธ์ ก็สามารถท่องได้โดยใช้ระยะเวลาไม่ถึงเดือน สมณศักดิ์ เริ่มจาก พระสมุห์สุคนธ์ หลังจากสอบได้ประโยค ๓ ก็เป็นพระมหาสุคนธ์ พระครูปลัดสุคนธ์ และพระครูสุนทรสิทธิการ (พระครูชั้นสัญญาบัตร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา : คมชัดลึก
     

แชร์หน้านี้

Loading...