พญาสัตว์ชื่อ สีหะ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 25 มิถุนายน 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]

    ภิกษุทั้งหลาย ! พญาสัตว์ชื่อ สีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็นเหยียดยืดกาย แล้วเหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาทสามครั้งแล้วก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร.
    ราชสีห์นั้น เมื่อตะครุบช้าง ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
    เมื่อตะครุบควายป่า ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
    เมื่อตะครุบวัว ก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
    เมื่อตะครุบเสือดาวก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
    แม้ที่สุดแต่เมื่อตะครุบสัตว์เล็ก ๆ เช่นกระต่ายและแมวก็ตะครุบด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะราชสีห์นั้นคิดว่าเหลี่ยมคูของราชสีห์อย่าได้เสื่อมเสียไปเสียเลย ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ คำว่า ราชสีห์ๆ นี้เป็นคำแทนชื่อตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองด้วยเหมือนกัน การแสดงธรรมแก่บริษัทนั่นแหละคือการบันลือสีหนาทของตถาคต.
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม.
    เมื่อแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม.
    เมื่อแสดงแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่หละหลวม.
    เมื่อแสดงแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวม.
    แม้ที่สุดแต่เมื่อแสดงแก่ปุถุชนชั้นต่ำทั่วไปเช่นแก่คนขอทานหรือพวกพรานทั้งหลาย ก็ย่อมแสดงด้วยความระมัด ระวังอย่างยิ่งไม่หละหลวมเลย.
    เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุว่าตถาคตเป็นผู้หนักในธรรมเป็นผู้เคารพต่อธรรม ดังนี้.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๑๐๗ข้อที่ ๙๙
    หนังสือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า189

    ภิกษุทั้งหลาย ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัย ในเวลาเย็นเหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใด ได้ยินสีหนาทสัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ : พวกที่อาศัยโพรง ก็เข้าโพรง,พวกที่อาศัยในน้ำ ก็ลงน้ำ, พวกที่อยู่ป่า ก็เข้าป่า, ฝูงนกก็โผบินขึ้นสู่อากาศ,เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้าน และนิคมและเมืองหลวง ที่ผูกล่ามไว้ด้วยเชือกอันเหนียวก็พากันกลัว เหนี่ยวกระชากเชือกให้ขาดแล้ว ถ่ายมูตร
    และกรีส (อุจจาระ)พลางแล่นหนีไป โดยข้างโน้นข้างนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มากมีอานุภาพมาก กว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉานทงั้ หลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น, ในกาลใด ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชาผู้ไปดี ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ปลุกให้ตื่น เป็นผู้จำแนก
    ธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น แสดงธรรมว่า รูปเป็นอย่างนี้เหตุเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้เหตุเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้
    สัญญาเป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้.
    พวกเทพเหล่าใด เป็นผู้มีอายุยืนนาน มีวรรณะ มากไปด้วยความสุขดำรงอยู่นมนามมาแล้ว ในวิมานชั้นสูง,พวกเทพนั้น ๆ ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมาก ก็สะดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ สำนึกได้ว่า
    “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกเรา เมื่อไม่เที่ยง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้เที่ยง,เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้ยั่งยืน,เมื่อไม่มั่นคง ก็มาสำคัญว่าเราเป็นผู้มั่นคง. พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้ว ซึ่ง สักกายะ (ความยึดถือตัวตน)”ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมากกว่าสัตว์โลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๘๕ข้อที่ ๑๕๕-๑๕๖

    ภิกษุทั้งหลาย ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัย ในเวลาเย็นเหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใด ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ : พวกที่อาศัยโพรง ก็เข้าโพรง, พวกที่อาศัยในน้ำ ก็ลงน้ำ, พวกที่อยู่ป่า ก็เข้าป่า, ฝูงนกก็โผบินขึ้นสู่อากาศ, เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้าน และนิคมและเมืองหลวง ที่ผูกล่ามไว้ด้วยเชือกอันเหนียวก็พากันกลัว เหนี่ยวกระชากเชือกให้ขาดแล้ว ถ่ายมูตรและกรีส (อุจจาระ)พลางแล่นหนีไป โดยข้างโน้นข้างนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมาก กว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น, ในกาลใด ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชาผู้ไปดี ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ปลุกให้ตื่น เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น แสดงธรรมว่า สักกายะ (ความยึดถือตัวตน) เป็นเช่นนี้, สักกายสมุทัย เป็นเช่นนี้, สักกายนิโรธ เป็นเช่นนี้,สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นเช่นนี้. พวกเทพเหล่าใด เป็นผู้มีอายุยืนนานมีวรรณะ มากไปด้วยความสุข ดำรงอยู่นมนามมาแล้ว ในวิมานชั้นสูง,พวกเทพนั้น ๆ ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมาก ก็สะดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ สำนึกได้ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกเรา เมื่อไม่เที่ยง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้เที่ยง, เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้ยั่งยืน,เมื่อไม่มั่นคง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้มั่นคง. พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง และถึงทั่วแล้ว ซึ่ง สักกายะ (ความยึดถือตัวตน)”ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมากกว่าสัตว์โลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    หน้าที่ ๓๓ข้อที่ ๓๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 06_6.jpg
      06_6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.6 KB
      เปิดดู:
      566
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...