ผ้ายันต์พระแม่โพสพ วัดเกษตราราม อ.บางเลน จ.นครปฐม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 11 พฤษภาคม 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    [​IMG]


    [​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript>var id='12401';function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('จำนวนคนอ่าน '+counter_+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก : บุญทอดผ้าป่าข้าวเปลือก วัดเกษตราราม ต.ไทรงาม อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งมี พระครูวิบูลสีลากร เจ้าอาวาสวัด ได้จัดมาเป็นเวลาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-1044823792492543";/* Kom-newdesign338x280story */google_ad_slot = "7614892621";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 336px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 280px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 336px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 280px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><IFRAME id=google_ads_frame1 style="LEFT: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px" name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-1044823792492543&dt=1242009763735&lmt=1242009763&output=html&slotname=7614892621&correlator=1242009763735&url=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fdetail%2F20090511%2F12401%2F%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD.%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%88.%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1.html&ref=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2F&frm=0&ga_vid=2365628693026910700.1240383841&ga_sid=1242009724&ga_hid=1442230224&ga_fc=true&flash=9.0.47.0&w=336&h=280&u_h=864&u_w=1152&u_ah=834&u_aw=1152&u_cd=32&u_tz=420&u_his=1&u_java=true&dtd=63&w=336&h=280&xpc=FqFdno0ieP&p=http%3A//www.komchadluek.net" frameBorder=0 width=336 scrolling=no height=280 allowTransparency></IFRAME></INS></INS>

    โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๔ ในครั้งนั้นได้ข้าวเปลือกประมาณ ๕๐ กระสอบ จากนั้นจำนวนข้าวเปลือกที่ชาวนานำมาถวายเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุปันนี้ได้ ๔๐๐-๕๐๐ กระสอบ ถือว่าเป็นบุญที่เกิดจากความสามัคคีของชาวนา พระและพ่อค้าข้าวอย่างแท้จริง
    ในปีนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น วันวิสาขบูชา ทั้งนี้พิธีเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. พิธีรับขวัญแม่โพสพ เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
    และเพื่อความเป็นสิริมงคล พระครูวิบูลสีลากรได้จัดทำ ผ้ายันต์แม่โพสพ แจกญาติโยมทุกคนที่ไปร่วมงาน
    สำหรับคติความเชื่อเรื่อง แม่โพสพ เป็นเทพธิดา หรือเทพีประจำพืชพรรณธัญชาติ ซึ่งหมายถึง ต้นข้าว ซึ่งถือว่าเป็นพืชพรรณชนิดเดียวที่มีเทพธิดาประจำ
    และเป็นเทพธิดาที่ได้รับความเคารพนับถือกราบไหว้มาแต่โบราณกาล ว่าเป็นผู้ที่คุ้มครองดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ให้ผลิตผลอันอุดม
    แม่โพสพ จึงเป็นเทพธิดาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของชีวิตเหล่าชาวนา เมื่อแรกทำนา จนกระทั่งถึงเวลาไถคราด เก็บเกี่ยวรวงข้าวด้วยเคียวเหล็ก จะต้องประกอบพิธีเซ่นบูชาแม่โพสพทุกระยะไป
    เช่น ก่อนหน้าเวลาฤกษ์แรกนา จะปลูกศาลเพียงตา สูงระดับสายตาคนขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ที่กำหนดไว้เป็นที่แรกนา ตระเตรียมเครื่องสังเวยบูชาแม่โพสพให้ครบถ้วน พร้อมทั้งกล่าวคำขวัญเป็นถ้อยคำไพเราะ อ้อนวอนแม่โพสพให้คุ้มครองรักษาต้นข้าว ขอให้ปีนี้จงทำนาได้ผล ไม่ว่าจะเป็นนาหว่าน นาดำ เพราะแม่โพสพเป็นหญิงขวัญอ่อนง่าย ต้องทำพิธีเรียกขวัญเสมอ
    ในการทำนา ชาวนาจะทำพิธีบูชาแม่โพสพ ด้วยอาหารมีข้าวปากหม้อ กล้วย อ้อย เป็นต้น เพื่อหวังให้ข้าวงอกออกรวงงาม เพราะการทำนาซึ่งทำปีละครั้งนั้น หากข้าวไม่ให้ผลเต็มที่ มีภัยธรรมชาติ น้ำท่วมนาล่ม น้ำน้อยข้าวไม่งาม หรือมีเพลี้ย ปู สัตว์ร้ายลงกินทำลายข้าว ก็ต้องทนลำบากไปตลอดปี
    ชาวนาจึงทำพิธีบูชาแม่โพสพ ก็เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้มีความหวังความมั่นใจว่า ข้าวจะให้ผลอุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้มีความอิ่มหนำสำราญ และความสุขที่จะได้รับตลอดทั้งปี
    คนผู้ใหญ่แต่เก่าก่อน นับถือแม่โพสพมาก มักกราบไหว้ท่านก่อนเปิบข้าวคำแรกเข้าปาก และสั่งสอนลูกหลานให้นั่งล้อมวงเปิบข้าวพร้อมๆ กัน และต้องสำรวมกิริยามารยาท ระหว่างเปิบข้าวให้เรียบร้อย อย่าให้มีเม็ดข้าวหายหกตกหล่น แม้ข้าวเหลือก้นจานสังกะสี ก็ต้องกินให้หมด
    ห้ามเททิ้งลงถังโสโครก ให้เอาใส่ปากหม้อข้าวทับบนข้าวที่หุงมื้อต่อไป หรือไม่ก็ต้องนำไปผึ่งแดด ทำเป็นข้าวตากแห้งเอาไว้
    หลังกินข้าวอิ่มหนำสำราญแล้ว ต้องยกมือไหว้ เพื่อสำแดงความกตัญญูรู้บุญคุณข้าว จึงต้องขอบคุณท่าน
    ยันต์พระแม่โพสพ ของวัดเกษตรารามนั้น มียันต์ที่น่าสนใจดังนี้ ยันต์ที่มือซ้าย “นะ มะ ทะ วะ” (มุมทั้งสี่) เป็นยันต์หัวใจธาตุแม่โพสพ ส่วนด้านในอ่านว่า “รา ยา ละ กะ (แถวบน) วะ สะ มา สา (แถวล่าง)”
    ยันต์ที่มุมทั้งสี่ของผ้ายันต์ คือ ยันต์หัวใจธาตุสี่ “นะ มะ ภะ ทะ” ส่วนยันต์ด้านในที่มุม คือ ยันต์หัวใจเศรษฐี ที่ว่า อุ (ตรงกับค้า) อา (ตรงกับตัวขาย) กะ (ตรงกับตัวเงิน) สะ (ตรงกับตัวทอง) ทุกตัวจะมีอุณาโลม ๓ ชั้นครอบ (มะ อะ อุ) หัวใจพระไตรปิฎก เปรียบเสมือนภูมิปัญญาของพระพุทธเจ้า การเขียนอุณาโลมไว้บนอักขระตัวใดก็ตาม เพื่อเพิ่มความขลังในคาบทนั้นๆ
    ยันต์ที่อยู่รอบตัว ฦๅ คือ (มะ อะ อุ) หัวใจพระไตรปิฎก วงกลมหมายถึงพระอาทิตย์ และมีพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้มีพระจันทร์ให้แสงสว่างในยามกลางคืน และพระอาทิตย์ให้แสงสว่างในยามกลางวัน
    ยันต์ที่อยู่หลังปลาตะเพียน (ด้านรวงข้าว หรือ ตัว ร่ำ ) คือ ธาตุ ๔ ที่ว่า “นะ มะ ภะ ทะ” จริงๆ แล้วใช้ด้านคงกระพัน อีกนัยหนึ่งเป็นยันต์ที่หนุนสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ที่เรียกว่า มหาภูธรูปสี่ ซึ่งหมายถึงธาตุ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั่นเอง
    ยันต์ที่อยู่ใต้ท้องปลาตะเพียน คือ “นะ มะ อะ อุ อุ อา กะ สะ” การลงยันต์ตัวนี้ เพื่อหนุนให้คาถาตัวอื่นขลัง โดยเฉพาะ “นะ มะ อะ อุ” หมายถึง แก้ว ๔ ดวง คือ แก้วมณีโชติ แก้วไพฑูรย์ แก้ววิเชียร และ แก้วปัทธมราช
    ยันที่อยู่หลังปลาตะเพียน (มือด้านซ้ายของแม่โพสพ) คือ ยันต์บนหลังปลา คือ “นะ อะ ติ อิ” ส่วนยันต์ที่อยู่ใต้ท้องปลาตะเพียนนั้น ไม่ชัดเจน แต่เข้าใจว่า น่าจะเป็นคาถาที่มีพุทธคุณทางเมตตา
    ยันต์ที่อยู่เหนือตัว “รวย” คือ ยันต์ “นะ มหาเศรษฐี” ที่ว่า “อิ ติ มะ อะ อุ” โดยคำว่า “อิ ติ“ ย่อมาจาก อิติปิโสรัตนมาลา ถือว่าเป็นยอดของพระคา ตามตัว “มะ อะ อุ” หัวใจพระไตรปิฎก
    ยันต์ที่อยู่กรอบสีแดง มีดังนี้ แถวบน “อะ สัง วิ สิ โล ปุ สะ พุ ภะ” คาถานี้เรียกว่า “นวะหรคุณ” หรือ มงคล ๙ นั่นเอง ตามด้วย “สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ” คาถานี้เรียกว่า หัวใจพระธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นคัมภีร์ที่ใช้สวดหน้าศพ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลถึงปัจจุบัน หรือเรียกว่า พระอภิธรรม
    แถวด้านซ้ายมือแม่โพสพ คือ ยันต์บารมี ๓๐ ทัศ โดยแบ่งออกข้างละวรรค “อิ ติ ปา ระ มิ ตา ติง (ตัวติงเขียนผิดโดยในผ้ายันต์เขียนเป็น พิ) "สา, อิ ติ สัพ พัน ญู มา คะ ตา” คั่นด้วยธาตุพระกรณี ที่ว่า “จะ พะ กะ สะ”
    แถวด้านขวามือแม่โพสพ คือ ยันต์บารมี ๓๐ ทัศ ๒ วรรคที่เหลือจากด้านซ้าย ที่ว่า “อิ ติ (เขียนผิดทั้งสองตัวในผ้ายันต์เขียนว่า พะ พิ ซึ่งไม่มีความหมาย) โพ ธิ มะ นุ ปะ โต, อิ (ตัวอิในผ้ายันต์เขียนผิดโดยเขียนว่า พะ) "ติ ปิ โส จะ เต โม” ลงท้ายด้วย ”นะ โม พุท ธา ยะ” หัวใจพระเจ้า ๕ พระองค์ หรือหัวใจแม่ธาตุใหญ่ รวมแล้วมีพุทธคุณด้านคุ้มครองป้องกันภัย
    การเขียนยันต์ผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา ขนาดยันต์เพียง ๓ ตัว หลัง พระผงของขวัญวัดปากน้ำ ยังเขียนผิดเลย นับประสาอะไรกับการเขียนยันต์จำนวนมาก จะไม่มีที่ผิด
    อย่างไรก็ตาม หากวัดใดที่จะทำผ้ายันต์ เพื่อความถูกต้องของอักขระเลขยันต์ ก่อนที่จะสกรีนออกมาจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ญาติโยม ถ้าไม่รีบร้อนเกินไป ผมยินดีที่จะช่วยตรวจสอบความถูกต้องให้ครับ สอบถามได้ที่โทร.๐-๒๙๕๑-๖๔๙๘
    อ.โสภณ
     

แชร์หน้านี้

Loading...