ประเภทของธรรมทาน ( ๑ )

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 22 มกราคม 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#eeeeee border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffcc00 height=25>หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๙ : ประเภทของธรรมทาน ( ๑ )</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffcc66 height=25>โ ด ย : ท่านพุทธทาสภิกขุ </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffef><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 align=center bgColor=#eeeeee border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffef>
    ท่านพุทธทาสได้พูดถึงหัวข้อของ "ธรรมทาน" แต่ยังไม่จบ... มาสัปดาห์นี้ท่านจะมาพูดถึง ประเภทของธรรมทานกันต่อ
    ธรรมทานอาจจะแจกแจงออกไปเป็น ๓ ประเภท หรือ ๓ ระดับ
    ระดับที่ ๑ ให้ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทั่วๆไปเป็นทาน หมายถึง ความรู้สามัญขั้นพื้นฐาน ให้ความรู้แม้แต่เรื่องเรียน ก. ข. ก. กา. เรียนหนังสือหนังหาเบื้องต้น นี้ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมทาน ฉะนั้นครูบาอาจารย์ทั่วไป ก็อยู่ในฐานะเป็นผู้ให้ธรรมทานทั้งนั้น แม้แต่พ่อแม่อุตส่าห์สอนลูกสอนหลานให้รู้ประสีประสา นี้ก็เป็นธรรมทาน หรือมากไปกว่านั้นอีก สอนให้มันกินข้าวเป็น สอนให้มันอาบน้ำเป็น สอนให้มันรู้จักรักความดี อย่างนี้ก็เป็นธรรมทาน พ่อแม่สอนลูกเล็กๆ ให้รู้สิ่งที่ควรรู้อย่างพื้นฐาน นี้ก็เรียกว่าธรรมทานแม้สอนหนังสือหนังหา สอนวิชาอาชีพ นี้ก็เรียกว่าธรรมทาน ถึงแม้จะเป็นชั้นต่ำชั้นต้น แต่มันก็เป็นชั้นพื้นฐาน ถ้าไม่มีชั้นพื้นฐานแล้ว ชั้นต่อไปมันก็มีไม่ได้
    ฉะนั้นเราจะต้องสนใจ โดยตรงก็สอนไป โดยอ้อมก็ช่วยให้มันสำเร็จ เช่นช่วยสร้างโรงเรียน ช่วยสร้างอุปกรณ์การศึกษาอะไรต่างๆ นี้ก็เป้นการให้ธรรมทานโดยอ้อม เช่นเราให้กระดานดำ ให้อะไรเหล่านี้ เราไม่เรียกว่า วัตถุทาน
    เราเรียกว่า ธรรมทานโดยอ้อม อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่การที่ทำให้เกิดวิชาความรู้นี้ เราเรียกว่า ธรรมทานโดยอ้อมธรรมทานโดยตรง ก็พูดไปตรงๆ ในเรื่องที่จะต้องพูดนั้น อย่างต่ำก็คือว่าความรู้พื้นฐานการให้ธรรมทานในระดับที่ ๑ ก็จบเพียงเท่านี้
    ต่อไป ท่านพุทธทาสจะอธิบายธรรมทานในระดับที่ ๒ ที่สูงขึ้นไปอีก นั่นคือการให้แสงสว่างในทางวิญญาณการให้ชนิดนี้จะเป็นอย่างไร โปรดติดตาม



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา....ธรรมะไทย....
     

แชร์หน้านี้

Loading...