ประเทศไทยพิมพ์ พระไตรปิฎกอักษรโรมัน ชุดแรกของโลก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 ตุลาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ประเทศไทยพิมพ์ พระไตรปิฎกอักษรโรมัน ชุดแรกของโลก

    โดย ทีมข่าวเฉพาะกิจ




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์อุปถัมภ์การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในโอกาสที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ (84 พรรษา) ในปี 2550 "มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์" ซึ่งมีสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ฯ ทรงเป็นประธานก่อตั้ง พร้อม "กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข" ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ

    ร่วมกันจัดทำ "โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกฉบับสากลอักษรโรมัน" จำนวน 40 เล่ม ซึ่งเป็นการพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรโรมัน โดยแปลจากภาษาบาลี ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และในโลก

    เพื่อนำไปเผยแพร่ยังประเทศต่างๆ ตามรอยพระไตรปิฎก ร.ศ.112 อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่สถาบันสำคัญต่างๆ กว่า 260 แห่งทั่วโลกใน 30 ประเทศ เมื่อร้อยปีมาแล้ว

    การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกชุดนี้ ถือเป็นชุดที่สมบูรณ์ชุดแรกของโลกที่เป็นอักษรโรมัน

    ในการจัดพิมพ์ นอกจากกองทุนและองค์กรที่กล่าวมาแล้ว สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1 แสนบาท อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ด้วย นับเป็นพระราชศรัทธาที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนา

    บัดนี้การจัดพิมพ์เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยได้พระราชทานไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งการพระราชทานไปยังประเทศต่างๆ นั้น ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาประเทศ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จอัญเชิญพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ไปพระราชทานแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ คณะทูตานุทูต และผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกประมาณ 500 คน ร่วมเป็นสักขีพยาน

    ในการนี้ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีคำสั่งให้นายทหาร 20 นาย เป็นกองเกียรติยศอัญเชิญพระไตรปิฎก ร่วมกับผู้อุปถัมภ์ สมาคมแม่บ้านมหาดไทย และสมาคมแม่บ้านเหล่าทัพต่างๆ ด้วย

    โดยมีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้อัญเชิญพระไตรปิฎกไปประดิษฐาน ณ สมาคมมหาโพธิแห่งสาธารณรัฐอินเดีย สมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทแห่งประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์ แห่งราชอาณาจักรสวีเดน

    สำหรับพระไตรปิฎกชุดที่พระราชทานให้สาธารณรัฐอินเดีย มีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนเข้ารับพระราชทานพระไตรปิฎกเล่มที่ 1, นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวง รับพระราชทานเล่มที่ 6, นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา รับพระราชทานเล่มที่ 29 และท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ ผู้แทนผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกรับพระราชทานเล่มที่ 40 (พระไตรปิฎกเล่มสุดท้าย)

    ส่วนประเทศญี่ปุ่น มีผู้แทนรับพระราชทาน คือ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายจริย์วัฒน์ สันตะบุตร รองปลัดกระทรวง, นายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก, นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้แทนศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสถาบันที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลในราชอาณาจักรไทย
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    และราชอาณาจักรสวีเดน มีผู้แทนรับพระราชทาน คือ นายมนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรี, นายปิยวัชร นิยมฤกษ์ รองปลัดกระทรวง, นายกุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา อธิบดีกรมยุโรป, และ ดร.สุจิต บุญบงการ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกตั้งแต่ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

    พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นภาษาบาลี แต่การจัดพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ซึ่งเป็นอักษรสากลและยังมิได้มีการจัดพิมพ์ที่ใดมาก่อนในโลก

    ต้นฉบับพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันนี้ เป็นผลจากการสังคายนาระดับนานาชาติครั้งเดียวของโลก ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายเถรวาทผู้ทรงความรู้พระไตรปิฎกบาลีจากทั่วโลก ได้ประชุมสังคายนา ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ในปี พ.ศ.2498-2500 หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า "ฉบับฉัฏฐสังคีติ" และได้รับการยกย่องว่าเป็นพระไตรปิฎกที่เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติของพระพุทธศาสนาเถรวาททั่วโลก

    ดังนั้น กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ จึงได้นำต้นฉบับดังกล่าวมาตรวจทาน 3 ครั้ง ด้วยวิธีอ่านสังวัธยายพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกพร้อมทั้งปรับปรุงการพิมพ์ใหม่ รวมทั้งแก้ไขคำพิมพ์ผิดให้ถูกต้องทั้งชุด 40 เล่ม มีเนื้อหาจำนวน 2,708,706 คำ หรือจำนวน 20,606,104 อักษรโรมัน

    ในการนี้ได้เพิ่มข้อมูลอ้างอิงพระไตรปิฎกบาฬี ฉบับต่างๆ ของโลก 13 ฉบับด้วย พระไตรปิฎกฉบับสากลนี้จึงเป็นการพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมันที่สมบูรณ์เป็นครั้งแรกของโลก

    ซึ่งอักษรโรมันเป็นอักษรสากลที่ชาวโลกในนานาประเทศจะสามารถอ่านออกเสียงภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี

    สำหรับการพิมพ์พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันครั้งนี้ ที่กล่าวว่าเป็นการพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระธรรมตามรอยพระไตรปิฎก ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) อักษรสยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่นานาประเทศนั้น

    ก็เนื่องจากว่า เมื่อปี พ.ศ.2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลี อักษรสยาม สำเร็จเป็นชุด เป็นครั้งแรกของโลก และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปพระราชทานแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศ รวม 260 สถาบัน ใน 30 ประเทศทั่วโลก โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้วางแผนจัดส่งพระไตรปิฎกเป็นพระธัมมทานโดยทางเรือได้อย่างสำเร็จงดงาม ในครั้งนั้นทรงใช้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน เป็นศูนย์กลางการจัดส่ง

    100 ปีผ่านไป เป็นที่น่ายินดีว่า พระไตรปิฎกชุดประวัติศาสตร์จากกรุงสยามชุดดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังคงได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นมรดกของมนุษยชาติ ณ สถาบันต่างๆ ใน 30 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศญี่ปุ่น และราชอาณาจักรสวีเดน

    โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นนั้น ผู้แทนสมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ค้นพบและบันทึกภาพ ว่ามีอยู่ในมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของญี่ปุ่นไม่น้อยกว่า 7 สถาบัน ที่สำคัญยังพบอีกว่าได้พระราชทานแก่ห้องสมุด ณ รัฐสภาไดเอ็ทแห่งประเทศญี่ปุ่น
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าพระไตรปิฎกเป็นฐานปัญญาที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านภูมิปัญญาที่ลึกซึ้ง และสร้างความมั่นคงแก่สยามประเทศในยุคนั้น

    และนับเป็นความชาญฉลาดในการคัดเลือกสถานที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกอักษรสยามซึ่งล้วนเป็นสถาบันภูมิปัญญาชั้นนำของโลกทั้งสิ้น

    ด้วยเหตุนี้ สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงโปรดให้ดำเนินตามรอยพระยุคลบาทรัชกาลที่ 5 โดยพระราชทานพระไตรปิฎกอักษรโรมัน เฉพาะแก่สถาบันภูมิปัญญาในต่างประเทศเป็นลำดับแรก ซึ่งเคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกอักษรสยามแล้วในอดีตและยังคงรักษาไว้เป็นอย่างดี

    เป็นการดำเนินรอยตามประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาที่สำคัญของชาติไทย รวมทั้งเป็นวัฒนธรรมแห่งสันติสุขที่สืบทอดมาแล้วในโลกกว่า 2,500 ปี



    ร่วมสมทบทุนจัดพิมพ์

    ถวายเป็นพระราชกุศล


    เนื่องด้วยสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1 แสนบาท ในปี พ.ศ.2548 อุปถัมภ์การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้อัญเชิญไว้ในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในนาม "กองทุนเพื่อเผยแผ่พระไตรปิฎกในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"

    ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแผ่พระไตรปิฎกฉบับสากลเพื่อสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในระดับนานาประเทศ ในปีมหามงคลโอกาสสำคัญยิ่งนี้ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนฯ ซึ่งมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร เป็นประธานฯ จึงขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ร่วมโดยเสด็จพระราชศรัทธาสมทบ "กองทุนเพื่อเผยแผ่พระไตรปิฎกในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" ประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ โดยมูลนิธิฯจะรวบรวมเงินทั้งหมดที่มีผู้ร่วมโดยเสด็จพระราชศรัทธาเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แด่สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    สำหรับ "กองทุนเพื่อเผยแผ่พระไตรปิฎกในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" ซึ่งจะเผยแผ่เป็นธัมมทานต่อไป

    วิธีสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    1.บริจาคตามจำนวน 84,000 พระธัมมขันธ์ 1 กอง เป็นเงิน 84,000 บาท

    2.บริจาครวมเป็นหมู่คณะเพื่อให้ได้ครบ 1 กอง 84,000 พระธัมมขันธ์ (เป็นเงิน 84,000 บาท) สามารถรับใบเสร็จแยกแต่ละคนได้

    3.บริจาคตามศรัทธา



    วิธีส่งเงินสมทบกองทุน

    1.จ่ายด้วยเช็คขีดคร่อม หรือตั๋วแลกเงิน ในนาม "มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล"

    2.โอนเงินเข้าบัญชี "มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล" ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน เลขบัญชี 111-285872-7 และกรุณาส่งสำเนาการโอนเงิน (ใบเปย์อิน) ให้มูลนิธิฯทราบ พร้อมแจ้งความจำนงทันที ทางโทรสาร 0-2354-7391-4 ต่อ 115 และ 101 หรือ

    3.ส่งมอบเงินบริจาคโดยตรงตามข้อ 1) ที่กรรมการที่ติดต่อกับท่าน หรือส่งที่มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ณ ตึกมหิดล ถนนราชวิถี กทม. 10400

    4.ขอให้ออกใบเสร็จรับเงิน (ลดหย่อนภาษีได้-บริจาคตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป)

    หมายเหตุ

    -กรุณาแจ้งความจำนงภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2550 เพื่อรวบรวมเงินทูลเกล้าฯถวายต่อไป

    -ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคตั้งแต่ 1 กองขึ้นไป (1 กอง 84,000 บาท) จะได้รับการบันทึกนามในพระไตรปิฎกสากลชุด 40 เล่ม และนำรายชื่อผู้โดยเสด็จพระกุศลเพื่อเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลขึ้นกราบทูลสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    ได้รับเชิญร่วมพิธีสมโภชพระไตรปิฎกฯ ในวันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะแจ้งเวลา และสถานที่ ให้ทราบต่อไป

    โทรศัพท์มูลนิธิฯ 0-2354-7391-4 หรือ 0-2644-4699 มือถือ 08-9155-4399



    รายละเอียดโครงการพระไตรปิฎกสากล

    รายละเอียดโครงการพระไตรปิฎกสากล และคลังจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์ประวัติศาสตร์การพระราชทานพระไตรปิฎกสากลสู่โลก ได้บันทึกไว้อย่างละเอียดและเผยแผ่แก่ชาวโลกผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dhammasociety.org



    สถาบันสำคัญที่ได้รับพระราชทาน

    และประดิษฐาน "พระไตรปิฎก"


    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึงปัจจุบัน ได้มีการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดปฐมฤกษ์ และชุดพิเศษแก่สถาบันของโลกที่ได้ขอพระราชทานมา ดังนี้

    สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ในฐานะที่เป็นประเทศที่จารพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในโลก

    โดยสมเด็จองค์ประธานกิตติมศักดิ์ได้เสด็จจาริกไปพระราชทานแก่ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2548

    นอกจากนี้ยังได้พระราชทานแก่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2548), ห้องสมุดคาโรลีนาเรดิวีว่า มหาวิทยาลัยอุปซาลา สวีเดน (2548), รัฐสภาแห่งศรีลังกา กรุงโคลัมโบ (2549), สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น โอซากา (2550), สมาคมมหาโพธิ พุทธคยา อินเดีย (2550), มหาวิทยาลัยลุนด์ ราชอาณาจักรสวีเดน (2550), ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (2550) และศาลฎีกาแห่งราชอาณาจักรไทย (2550)



    การบันทึกพระไตรปิฎกโลก

    ภาษาบาลี เป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระธัมม์ในพระไตรปิฎก ได้มีการอนุรักษ์และสืบทอดโดยการท่องจำเป็นเวลานานกว่าสี่พุทธศตวรรษ จึงได้มีการบันทึกโดยใช้มือจารภาษาบาลีเป็นอักษรสิงหล ลงบนใบลาน เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกของโลก ประมาณปี พ.ศ.433 ในลังกาทวีป

    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อพระไตรปิฎกบาลีได้เผยแผ่ไปในดินแดนใด ชนในชาติต่างๆ ก็บันทึกพระไตรปิฎกบาลีด้วยอักษรของชาตินั้นๆ เช่น พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรมอญ ภาษาบาลีอักษรพม่า ภาษาบาลีอักษรขอม ภาษาบาลีอักษรธัมม์ลาว และภาษาบาลีอักษรสยาม เป็นต้น

    -----------
    ที่มา: [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01pra01301050&day=2007-10-30&sectionid=0131
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,506
    อนุโมทนาครับ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคตไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ พร้อมเหล่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านทุกองค์ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ สาธุ มหาสาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...