บุญฤทธิ์ --ฤทธิ์ที่ทุกคนสร้างได้ง่ายๆรวมบรรยายโดย "ศิยะ ณัญฐสวามี" (อ.ไชย ณ พล)

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 11 ธันวาคม 2008.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    บุญฤทธิ์ --ฤทธิ์ที่ทุกคนสร้างได้ง่ายๆ
    รวมบรรยายโดย "ศิยะ ณัญฐสวามี" (อ.ไชย ณ พล)

    บุญ แปลว่าการชำระ มีอาการคือการสละ มีผลเป็นอิสรภาพ มีรสเป็นความสุข มีผลต่อเนื่องเป็นฤทธิอำนาจ

    ตามกฎธรรมชาติ ทุกสิ่งมีปฏิภาวะและมีแนวโน้มปรับสู่สมดุล ดังนั้นใครสละสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น ยิ่งสละมากก็ยิ่งได้โดยง่าย เช่น ในสมัยพุทธกาลมีคหบดีคนหนึ่ง เมื่อต้องการข้าวสารก็เพียงแต่ทำการวยยกขึ้นไปบนท้องฟ้า ข้าวสารก็จะไหลมาตามกรวยลงหม้อจนพอเพียง หรือเช่น บุคคลที่จะบวชกับพระพุทธเจ้า หากบุคคลใดมีจีวรทานโดยมาก พระพุทธเจ้าก็จะหยิบจีวรจากอากาศมาประทานให้ หากใครไม่ทำบุญด้วยจีวรทานมาก่อน พระพุทธองค์ก็จะให้ไปหาผ้าจีวรมาก่อนจึงจะบวชให้ เป็นต้น

    ผู้ที่มีสิทธิ์ได้สิ่งใดโดยง่ายนั้นล้วนเป็นผู้เคยสละสิ่งนั้นมาก่อนโดยมาก นั่นเป็นไปตามกฎแนวโน้มแห่งดุลยภาพของปฏิภาวะที่ว่า การให้ย่อมก่อให้เกิดการได้

    สิ่งที่ให้และได้นั้น มิได้หมายถึงเพียงสิ่งของเท่านั้น ยังหมายรวมถึงภาวะนามธรรมที่เป็นบุญรูปแบบต่างๆ ด้วย กล่าวคือ

    1. บุญเกิดจากการให้ ทั้งให้สิ่งของ ทรัพย์ เวลา โอกาส สิทธิ การอภัย ล้วนเป็นบุญทั้งนั้น

    2. บุญเกิดจากความมีวินัยในตนเอง คนจะมีวินัยในตนเองได้นั้นต้องสละกิเลส สละความเคยชิน และสละอารมณ์ที่กำเริบได้จึงจะบริหารตนให้อยู่ในวินัยได้ ความมีวินัยในตนเองจึงเป็นภาวะแห่งบุญประการหนึ่ง

    3. บุญเกิดจากการฝึกอบรมจิตใจ คนจะฝึกอบรมจิตใจให้สงบ มั่นคง และเป็นสุขได้ ต้องกล้าสละความยึดถือ ผูกพันทางใจกับทุกสิ่งที่แปรปรวน และประคับประคองจิตด้วยสติอย่างต่อเนื่อง การภาวนาสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปจนปรากฏความสงบสุขและมั่นคงจึงเป็นบุญอย่างยิ่ง

    4. บุญเกิดจากความอ่อนโยน คนจะอ่อนโยนได้นั้นต้องสละความหยิ่งทะนง การถือตัวและความกร้าวของตัวตน ความอ่อนโยนจึงเป็นลักษณะของบุญประการหนึ่ง

    5. บุญเกิดจากการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น คนจะช่วยเหลือผู้อื่นได้นั้นต้องสละความเห็นแก่ได้ ความหวงแหนในความเป็นส่วนตัว การช่วยเหลือผู้อื่นจึงเป็นไปได้ และเป็นบุญนำมาซึ่งความสุข

    6. บุญเกิดจากการอุทิศความดีให้ผู้อื่น เมื่อทำความดีมาโดยมากแล้ว ความเลวร้ายประการหนึ่งของคนดีคือการติดดี ยึดถือว่าความดีเป็นของตน ตัวเป็นคนดีอย่างโน้นอย่างนี้ จนก่อให้เกิดตัวตน ความจองหอง ความประมาทและความหายนะตามมา แท้จริงแล้วความดีนั้นดี การทำดีโดยเหมาะสมย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่การติดดีนั้นเลว ด้วยเหตุนี้พระพุทธบรมครูเจ้าจึงทรงสอนให้สละความดีอีกชั้นหนึ่งจึงจะโปร่งโล่งและเกิดบุญสมบูรณ์ นี่คือที่มาของธรรรมเนียมอุทิศส่วนกุศลเสมอเมื่อได้ทำความดีชุดหนึ่งๆ

    7. บุญเกิดจากการยินดีในความดีของผู้อื่น เมื่อมีคนทำความดีหรือได้ดีจากการทำดี ถ้าใครอิจฉา จิตใจของผู้นั้นจะตกต่ำ ถูกกดอยู่ในความไม่พึงใจและความไร้ ประโยชน์ทันที แต่ถ้ายินดีกับความดีและผลดีของผู้อื่น จิตใจของผู้นั้นจะอยู่ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าความดีนั้นๆ การที่จะยินดีในความดีของผู้อื่นได้นั้นต้องสละความอิจฉา ริษยา และนิสัยมักเปรียบเปรยตนออกให้สิ้น ในวัฒนธรรมของผู้ดีจึงมีการแสดงความยินดีกับความดีของผู้อื่นเนืองๆ เพราะเป็นบุญประการหนึ่ง

    8. บุญเกิดจากการศึกษาสัจจธรรม ชีวิตของคนจำนวนมากผิดพลาดและล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าเพราะไม่เข้าใจสัจจะ หรือเข้าใจแต่ไม่เคารพสัจจะ สร้างความปรารถนาขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ ป่ายปีนไปในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่เหมาะสมโดยโครงสร้าง การดำเนินชีวิตเช่นนี้เป็นชีวิตที่โง่ ดังนั้นการยอมสละปรารถนาแห่งความโง่และตัวโง่ออกจากชีวิต ยอมศึกษาและสำเหนียกสัจจะแท้ๆ แห่งธรรมจะทำให้สามารถบริหารชีวิตสู่ประโยชน์สูงสุดที่เป็นไปได้อย่างเป็นสุข การศึกษาสัจจธรรมให้ถ่องแท้จึงเป็นบุญประการหนึ่ง

    9. บุญเกิดจากการแสดงสัจจะ เมื่อรู้ เข้าใจ และยอมรับสัจจะแล้ว การแสดงออกซึ่งสัจจะผ่านวิถีชีวิต พฤติกรรม คำพูด และผลงานรูปแบบต่างๆ ก็เป็นบุญประการหนึ่ง เพราะทุกขณะที่แสดงธรรมผ่านกิริยาอาการต่างๆ เป็นการกำกับตนให้อยู่ในครรลองธรรมและเป็นการเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นรู้ เข้าใจและได้ประโยชน์จากความเป็นจริงแท้ที่ล้ำค่าด้วย ด้วยเหตุนี้พระพุทธบรมครูเจ้าจึงตรัสว่า "การให้ธรรมเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง"

    10. บุญเกิดจากการทำความรู้ความเห็นให้ตรงความเป็นจริง ในที่สุด การปรับแม้ทุกความนึกคิดให้ตรงสู่สัจจะสูงสุดได้นั่นคือบุญอันยอด เพราะเมื่อทำเช่นนั้นได้ นั่นหมายถึงการบรรลุธรรมสูงสุดด้วยปัญญาอันสมบูรณ์ ชีวิตจะไม่ผิดพลาดอีกต่อไป อยู่ในสารัตถะแท้โดยสมบูรณ์
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    บุญเก่าบุญใหม่

    ตรงนี้สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนมีสองประเด็น คือ 1) การทำบุญในปัจจุบัน 2) การเรียกบุญในอดีตมาใช้

    อย่างในกรณีที่แม่ค้าที่ขายดีกว่าเพราะทำบุญไว้ดีแล้วประการหนึ่ง และเพราะตั้งจิตไว้เป็นบุญในปัจจุบันอีกประการหนึ่ง สองสิ่งนี้จะต้องไปด้วยกันจึงจะเกิดผลขึ้นทันที

    ทำบุญปัจจุบันนั้นเราทุกคนสามารถทำได้โดยทันที เริ่มต้นด้วยเจตนาแห่งบุญ คือไมว่าเราจะทำอะไรก็ตามถ้าเราตั้งจิตเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน มันเป็นบุญ

    เหมือนพนักงานขาย ถ้าไปขายด้วยความคิดว่าฉันจะต้องทำยอดให้ได้เยอะๆ ฉันจะต้องเป็นเซลล์ที่ยิ่งใหญ่ อันนั้นเป็นบารมี แต่ไม่เป็นบุญ

    หรือถ้าคิดว่าฉันจะต้องมีคอมมิสชั่น เท่านั้น เท่านี้ นั่นเป็นความโลภ จิตมันจะตึง

    แต่ถ้าไปขายด้วยความคิดที่ว่า เรามีสินค้าดี เรามีของดี เราจะให้เพื่อนของเราได้รับของดีนี้ ทำให้ประชาชนเข้าใจของดีและได้ประโยชน์จากของดีนี้ ทั้งสามกรณีใจมันต่างกันนะ

    +ใจคนหนึ่งทำด้วยอาการที่เป็นบารมี
    +ใจคนหนึ่งทำด้วยอาการที่เป็นกิเลส
    +ใจอีกคนหนึ่งทำด้วยอาการที่เป็นบุญ

    คนที่เขารับรู้รับฟังคนที่มาด้วยใจที่เป็นบุญ เขาจะรู้สึกสบายใจที่สุด รู้สึกอิ่มเอิบไม่ระแวงแคลงใจ และตัดสินใจซื้อง่าย ซ้ำยังมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย

    นี่คือตัวอย่างการตั้งใจให้เป็นบุญในปัจจุบันและผล

    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เมื่อบุคคลใดตั้งจิตไว้ดีแล้ว สิ่งที่ดีทั้งหลายย่อมตามบุคคลนั้นไป เสมือนล้อเกวียนตามรอยเท้าโคกระนั้น ดังนั้น เมื่อเราตั้งจิตไว้เป็นบุญ มันจะไปเกี่ยวเหนี่ยวนำบุญในอดีตของเรามาประกอบกับบุญปัจจุบัน ที่นี้อะไรมันก็ง่ายไปหมด แต่ถ้าจิตเราตั้งไว้เป็นบาป มันจะไปเกี่ยวเหนี่ยวนำเอาบาปที่เราสะสมไว้มาประกอบกัน อะไรมันก็ยุ่งยากไปหมดเลย เพราะในชีวิตของเราตั้งแต่สมัยเป็นสัตว์เซลล์เดียวมาเป็นสัตว์หลายเซลล์ กระทั่งมาเป็นมนุษย์ในบัดนี้ เราทำกรรมดีและกรรมชั่วมาแล้วนับไม่ถ้วน ถ้าเราตั้งจิตไว้อย่างไร เราจะไปเกี่ยวเหนี่ยวนำเอากรรมอย่างนั้นจากธนาคารกรรมของเรานั่นเองมาใช้

    การตั้งจิตไว้ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะทำหน้าที่อะไร อาชีพอะไรก็ตาม จงตั้งใจให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนแล้วมันจะเป็นบุญ เช่น ถ้าท่านเป็นครู ฉันมาสอนเพราะฉันอยากได้เงิน แค่นี้มันไม่เป็นบุญ แต่ถ้าคิดว่าฉันมาสอนเพื่อที่จะสร้างอนุชนที่เป็นแบบอย่าง สร้างคนดีในสังคม เพื่อให้คนดีเหล่านั้นเกื้อกูลสังคมต่อไป อย่างนั้นเป็นบุญ

    ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา เป็นแพทย์ เป็นสื่อมวลชน เป็นอะไรก็ตาม ท่านสามารถตั้งจิตให้เป็นบุญได้ เพียงแต่ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนให้กระจายกว้างออกไปสู่สังคมโลกทั้งหลาย

    เมื่อตั้งใจเป็นบุญปัจจุบันแล้ว หากรู้วิธีเรียกบุญเก่ามาใช้ด้วยก็เหมือนคนที่มีทุนเดิมและเอาทุนเดิมมาสร้างความสำเร็จใหม่ ย่อมสร้างได้เร็วและยิ่งใหญ่กว่าคนที่เริ่มใหม่หรือคนที่มีบุญเก่าแต่ไม่รู้จักวิธีเอามาใช้

    การเรียกบุญในอดีตมาใช้ก็คือการอธิษฐานใช้อำนาจบุญของตนที่สั่งสมไว้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ การใช้บุญเก่านั้นเราจะใช้เพื่อสร้างบุญใหม่คือเอาบุญมาต่อบุญให้งอกเงยเท่านั้น เช่นเดียวกันกับเอาทุนมาต่อทุนให้งอกงามดุจเดียวกัน

    เมื่อบุญเก่าและบุญใหม่ผนวกกันแล้ว ความสำเร็จต่างๆ จะง่ายกว่าไม่มีบุญเลย และเมื่อท่านประกอบกับหลักการบริหารที่เหมาะสมแห่งโลกด้วยแล้ว ความสำเร็จก็จะยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นอีกอักโข

    บุญนั้นทำให้สำเร็จโดยง่ายแม้ในสิ่งที่ยาก การบริหารที่เหมาะสมนั้นทำให้สำเร็จยิ่งใหญ่แม้ในสิ่งเล็กน้อย

    เมื่อเข้าใจตรงนี้แล้ว ต่อไปต้องเข้าใจบุญและกระบวนการสร้างบุญแต่ละประเภท และการบริหารที่เหมาะสม

    พระพุทธเจ้าทรงให้เทคนิคหรือหลักสูตรในการสร้างบุญที่เป็นหลักใหญ่ๆ เลยมี 10 ประการ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ประพฤติอ่อนน้อม ขวนขวายในกิจผู้อื่น ฟังธรรม แสดงธรรม อุทิศส่วนกุศล อนุโมทนาส่วนกุศล และทำความรู้ความเห็นให้ตรงกับสัจจะ ทั้งหมดนี้คือบุญ เป็นขบวนการชำระจิตใจตนเอง

    บุญแห่งน้ำใจและการให้

    การให้ คือบุญประการแรกที่ทุกคนสามารถสร้างได้ การให้เป็นบุญใหญ่ เพราะถ้าให้ได้หมดทุกสิ่งแม้ตัวตน ก็หลุดพ้นเท่านั้นเอง

    แต่กว่าจะถึงขั้นนั้น หัดให้จากที่ง่ายๆ ไปก่อน เช่นให้สิ่งของ ให้เวลา ให้โอกาส ให้ความเข้าใจ ให้ความรู้ หรือให้วิทยาทาน กับการให้อภัย ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เราจะต้องทำความเข้าใจกัน จากนั้นจึงให้ธรรมะสัจจะที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าในบรรดาการให้ทั้งปวง การให้ธรรมประเสริฐสุด ไม่มีอะไรอื่นแล้วที่จะยิ่งไปกว่าการให้ธรรมทาน

    การให้อื่นๆ นั้นพวกเราให้กันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ยิ่งให้มากโดยเหมาะสมก็ยิ่งมีบุญอันเกิดจากการให้มาก สิ่งที่ควรเข้าใจเพิ่มเติม คือ การให้อภัยและการให้ธรรม จากนั้นก็ควรเข้าใจวิธีการให้ที่เหมาะสมและอานิสงส์แห่งการให้
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,168
    กระทู้เรื่องเด่น:
    25
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ท่านอาจารย์ไชย ณ พล ท่านยอดเยี่ยมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...