บวชพระ,บวชเณร เพิ่มอายุบุญ

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 25 กันยายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]


    ต่อแต่นี้ไป จะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง อานิสงส์การบรรพชา มาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ความมีว่า องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์เมื่อทรงพระชนม์อยู่ องค์สมเด็จพระบรมปรารถเรื่องการอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชานี้มีอานิสงส์พิเศษ

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้น บุคคลที่จะพึ่งได้ต้องโมทนาก่อน หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศล บิดามารดาไม่โมทนาย่อมไม่ได้ แต่ว่าการอุปสมบมบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif][/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]สมมุติว่า บุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่บรรพชานั้น บิดามารดาก็ไม่ทราบ แต่ทว่า ถึงอย่างก็ดี องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์ นี่เป็นอันว่า อานิสงส์แห่งการการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกจากบุญกุศลอย่างอื่น [/FONT][FONT=trebuchet ms,sans-serif]เป็นอันว่าขอพูดซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า บุญอย่างอื่นลูกทำไปแล้ว พ่อแม่ไม่โมทนาย่อมไม่ได้อานิสงส์นั้น แต่ว่าการอุปสมบทและบรรพชา บิดามารดาซึ่งคลอดบุตรมาแล้ว ต่างคนต่างจากกันไป พ่อแม่ไม่ทราบว่าบุตรมีรูปร่างหน้าตาเป็นประการใด เพราะจากกันไปตั้งแต่คลอดใหม่ๆ สำหรับลูกชายก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า บิดารมารดาเป็นใคร แต่ว่าอุปสมบรรพชาเมื่อไร บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์ เหตุนี้การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่า เป็นกุศลพิเศษ ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงบัญญัติไว้
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif][/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ทีนี้จะว่ากันไปถึงอานิสงส์แห่งการอุปสมบท-บรรพชา [/FONT]คำว่า บรรพชา นี้หมายความว่า บวชเป็นเณร คำว่า อุปสมบท นี้หมายความว่า บวชเป็นพระ สำหรับท่านที่บรรพชาในพุทธศาสนาเป็นสามเณร อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเองคือเณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดี นี่เอากันถึงด้านการประพฤติปฏิบัติดี ถ้าปฏิบัติเลวการการบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ถ้าปฏิบัติดีนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเข้ามาเป็นเณรในพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับเณรผู้นั้น ย่อมมีอานิสงส์คือ ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดา ไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ ได้ถึง ๓๐ กัป เช่นเดียวกัน

    การนับกัปหนึ่ง... คำว่ากัปหนึ่งนั้น มีปริมาณนับปีไม่ได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบไว้อย่างนี้ว่า มีภูเขาลูกหนึ่ง เป็นหินล้วนไม่มีดินเจือปน ถึงเวลา ๑๐๐ ปี เทวดาเอาผ้ามีเนื้ออ่อนเหมือนสำลีมาปัดยอดเขานั้นครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้ ๑๐๐ ปีปัด ๑ ครั้ง ๑๐๐ ปีปัด ๑ ครั้ง จนกระทั่งหินนั้นหมดไป หาหินไม่ได้ เหลือแต่ดินล้วน นั่นจึงจะมีอายุได้ครบ ๑ กัป และอีกประการหนึ่ง ท่านพรรณนาไว้ในพระวิสุทธิมรรคว่า มีอุปมาเหมือนกับว่ามีถังใหญ่ลูกหนึ่งมีความสูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์เหมือนกัน มีคนเอาเมล็ดพันธุ์ผัดกาดมาใส่ในถังนั้นจนเต็ม ถึงเวลา 100 ปีก็เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นออก ๑ เมล็ด ทำอย่างนี้จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผัดกาดนั้นจะหมดไป เป็นการเปรียบเทียบกันได้กับระยะเวลา ๑ กัป นี่เป็นอันว่า กัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปในปัจจุบันนี้สามารถจะทรงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถึง ๑๐ พระองค์ เป็นระยะยาวนานมาก

    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นเณรเอง และมีความประพฤติปฏิบัติดี ต้องเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ถึง ๓๐ กัป นั่นก็หมายความว่า อายุเทวดาหรือพรหมย่อมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป และเมื่อหมดอายุแล้วจะเกิดเป็นพรหมใหม่ อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้านิพพานก่อน
    สำหรับ บิดามารดา ของบุคคลผู้บวชเป็น สามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป คือครึ่งหนึ่งของเณร หมายความว่าบิดารมีอานิสงส์ ๑๕ กัป มารดามีอานิสงส์เสวยความสุขบนสวรรค์หรือพรหมโลก ๑๕ กัป เช่นเดียวกัน เป็นอันว่า บรรพชากุลบุตรของตนไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณรมีอานิสงส์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า

    บุคคลผู้ใดมีวาสนาบารมีคือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือมีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ อันนี้องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านที่ บวชเป็นพระด้วยตนเองจะมีอานิสงส์พิเศษที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสไว้ แต่ทว่า ภิกษุสามเณรท่านใดผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนาก็พึงทราบว่า เมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกัน อานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใด โทษก็มีใหญ่เพียงนั้น

    สำหรับบรรดาท่านผู้ไม่ใช่บิดามารดาของบุตรกุลธิดาที่อุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ช่วยในการบวช นี่หมายความว่า เวลาเขาจะบวชพระครั้งหนึ่ง เราทราบเข้าก็ไปบำเพ็ญกุศลร่วมกับเข้าด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ให้สิ่งของบ้าง ช่วยขวยขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง หมายความว่า เขาจะบวชลูกบวชหลานของเขา เราไม่มีลูกหลานจะบวช เขามาบอกบุญมาหรือไม่บอกบุญก็ตาม เอาจตุปัจจัยบ้าง เอาของที่จะพึ่งจะใช้ในงานบ้าง ไปช่วยในงานด้วยความเลื่อมใส ถ้าไม่มีจตุปัจจัย ไม่มีของ ก็เอากายไปช่วย ช่วยขวนขวายในกิจการงาน อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่าท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลก คนละ ๘ กัป

    แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างเช่นเขาบวชพระกัน ๔๒ องค์ เราก็ช่วยกันบำเพ็ญกุศลช่วยในการ บวชพระ ไม่เจาะจงท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยหมดทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้องเอา ๔๒ ตั้งเอา ๘ คูณ นี่เป็นอันว่า...อานิสงส์ที่ที่จะพึงได้ในการอุปสมบทบรรพาชากุลบุตรกุลธิดาในพระพุทธศาสนาสำหรับผู้ช่วยงาน แต่สำหรับท่านผู้เป็น เจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวยขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะ ได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลหลั่นซึ่งกันและกัน

    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ธรรมปฏิบัติเล่ม ๑ หน้า ๒๙-๓๕
    ---------------------------------------------​

    องค์สมเด็จจพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงฆ์พิเศษ ซึ่งสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงฆ์สำคัญ แต่อานิสงส์นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมามัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "สมมติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ แต่บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษ"

    คำว่า "บรรพชา" หมายความว่า บวชเป็นเณร คำว่า "อุปสมบท" หมายความว่า บวชเป็นพระ

    ท่านที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเอง คือ เณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีก็เป็นการลงทุนซื้อสวรรค์ ถ้าปฏิบัติเลว การบวชพระบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ท่านที่บวชเป็นเณรเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับท่านผู้เป็นเณรนั้นไซร้ ย่อมมีอานิสงส์ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดาไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ได้ถึง ๓๐ กัป ถ้าหากว่าทำจิตของตนเกือบเป็นฌาน ได้ฌานสมาบัติ ตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นพรหม มีอายุอยู่ถึง ๓๐ กัป เช่นเดียวกัน

    อายุเทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป ก็หมายความว่า เมื่อหมดอายุแล้วก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ เกิดเป็นพรหมใหม่อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้าพระนิพพานก่อน บิดามารดาของสมาเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป ครึ่งหนึ่งของเณร

    องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้มีวาสนาบารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือ มีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเอง จะมีอานิสงฆ์อยู่เป็นเทวดา หรือพรหม ๖๐ กัป บิดามารดาจะได้คนละ ๓๐ กัป นี่เป็นอานิสงส์พิเศษ

    แต่ทว่าภิกษู-สามเณร ท่านใดทำผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนา ก็พึงทราบว่า เมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกัน อานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใดโทษก็มีเพียงนั้น

    สำหรับผู้ที่ช่วยในการบวช การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา คือบำเพ็ญกุศลร่วมกับเขา ด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ช่วยขวนขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลกคนละ ๘ กัป

    แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างที่วัดนี้เขาบวชพระกัน ๔๒ องค์ เราก็บำเพ็ญกุศลช่วยในการบวชพระ ไม่เจาะจงเฉพาะท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยทั้งหมด ทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้อง ๔๒ ตั้ง เอา ๘ คูณ (๓๓๖ กัป)

    อานิสงส์กุศลบุญราศีที่เราจะพึงได้สำหรับท่านผู้เป็น เจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวนขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลลดหลั่นซึ่งกันและกัน

    การที่นำเอาอานิสงส์บรรพชากุลบุตรกุลธิดาไว้ในพระพุทธศาสนามาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะเห็นว่าในเวลานี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วในข้อนี้

    อีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ ถือทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มการจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัวฆ่าควายบ้าง เอาสุราเบียร์เข้ามาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าทำกันตามประเพณีแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์กุศลบุญราศีอะไรเลย เพราะมีเจตนาชั่ว คือเริ่มต้นก็ทำบาปก่อนแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำมันก็ไม่ปรากฏ

    ฉะนั้น ในการใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญราศีให้ปรากฏเป็นผลดี ก็ขอให้การนั้นเป็นการที่บำเพ็ญกุศลจริงๆ จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นความชั่วทุกประการ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลบุญราศีเท่านั้น

    กุลบุตรที่บวชในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ความผ่องใสของท่านผู้บวชก็มีขึ้น คือ จิตผ่องใสปราศจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส ต่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คือเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน จนอารมณ์ชื่นบานเข้าถึงธรรมปีติ คำว่า ธรรมปีติ หมายความว่า ยินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง ยินดีในการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา อานิสงส์กุศลบุญราศีก็เกิด

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า ผู้ใดอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่งทำจิตใจว่างจากกิเลสเพียงวันละชั่วขณะจิตเดียว เวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่พยายามควบคุมกำลังใจไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัย ท่านผู้นั้นบวชเข้ามาแม้แต่วันเดียว ก็ย่อมมีอานสงฆ์ดีกว่าพระที่บวชเข้าในพระพุทธศาสนาตั้ง ๑๐๐ ปี มีศิลบริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเจริญสมาธิจิต คือ ทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว มีรัศมีกายสว่างไสวกว่า

    รวมความว่า การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพาน และมีอานิสงส์เป็นสามัญผล คือผลที่เสมอกัน คนที่บวชในพระพุทธศาสนาจะลูกผู้ดีหรือยากจนเข็ญใจย่อมมีสิทธิเสมอกันในการทรงสิกขาบท และในการกำหนดจิตปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

    ถามพระท่านว่า "ถ้าพระพวกนั้นจะทำบุญบวชพระบ้างทั้งๆ ที่ตัวเองก็บวช และทำบุญด้วยจะมีอานิสงส์เหมือนญาติโยมไหม"

    พระท่านก็บอกว่า "ถ้าเขาจะทำบุญต้องทำบุญก่อนที่เขาจะบวช นั่นหมายความว่า ขณะที่บวชก็เอาเงินมาช่วยกับกองกลาง เท่าไรก็ตามที่จะพึงมีตั้งใจบวชพระทั้งหมด ท่านพวกนั้นจะมีอานิสงส์นอกจากของตัวเอง ๖๐ กัปแล้ว จะมีอานิสงส์เป็นเจ้าภาพด้วย เอา ๑๒ คูณ จำนวนองค์ที่บวช

    ถามท่านว่า "ถ้าพระทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อบวชแล้วจึงรู้อานิสงส์ เมื่อบวชแล้วเอาสตางค์มาร่วมในการทำบุญบวชพระ

    ท่านบอก "อันนี้ไม่ใช่แล้ว นั่นต้องเป็นทานบารมีปกติ เป็นถวายสังฆทานไป อานิสงส์นับกัปไม่ได้ แต่มีความร่ำรวยแน่ รวยทุกชาติ"

    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากหนังสือ "พ่อสอนลูก" หน้า ๓๕๗-๒๖๑
     

แชร์หน้านี้

Loading...