บรรลุพระอรหันต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย lotte, 11 พฤศจิกายน 2004.

  1. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +4,545
    ฌาน แปลว่า การเพ่งเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน จดจ่อเอาอารมณ์นั้นเป็นเอกัคคตา
    สมาธิ แปลว่า การเอาจิตปล่อยรู้ตามอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน แล้วพิจารณาอารมณ์นั้นเป็นธรรมชาติ
    อารมณ์พระโสดาบัน ต้องมีศีลห้าครบถ้วน ต้องพิจารณาความตายอยู่เนือง ๆต้องไม่สงสัยในธรรมะของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต้องผ่านการเจริ_วิปัสสนากรรมฐานมาด้วยผ่านอารมณ์ความไม่ยึดติดอารมณ์ ความคิด ความจำ ธรรมชาติของจิตทั้งปวงใดๆมาเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ของเรา ของเขา คือไม่ปล่อยให้เกิดอุปาทานขึ้นมานั่นเองคือรู้อารมณ์นิพพานว่าเป็นเช่นนั้นแล้วปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอัตตา(ความมีตัวตน)ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอนัตตา(ความไม่มีตัวตน)เพราะอาจทำให้เกิดความหลง และติดใจในอารมณ์สมมตินั้นๆจนไม่ปล่อยวางให้ดับอารมณ์สมมตินั้นหมดเสียที ถ้าดับหมดจะทำให้ละสักกายทิฐฐิได้หมดเพราะว่าไม่เห็นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา จิตเราไม่มีเจตนาในการคิด พูด ทำสักเเต่เป็นเพียงกริยาอาการของจิต ถ้าละสักกายทิฐฐิได้หมดก็เป็นพระโสดาบันถ้าดับความมี ความเป็นเจ้าของ ความติดใจในอารมณ์ได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อโกรธแล้วก็ระงับความโกรธได้จนให้อภัยทานได้ แต่ยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่บ้าง อารมณ์พระสกิทาคามี อารมณ์โกรธจะเบาบาง จะรู้เท่าทันความไม่พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเรา อารมณ์ทางเพศจะเบาบาง
    อารมณ์พระอนาคามี มีมานะทิฐฐิคือ สำคั_ตนว่าตนเองสูงกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แต่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้จนไม่ก่อให้เกิดอคติได้ แล้วไม่ก่อให้เกิดความหลงได้ ยังมีความประมาทว่าเป็นพระอนาคามีแล้วสามารถไปบรรลุธรรมอรหันต์อยู่พรหมโลกได้ รู้เท่าทันอารมณ์พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเราได้ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความไม่พอใจ
    อารมณ์พระอรหันต์ ไม่ยึดติดในรูปฌาน และอรูปฌาน สักกายทิฐฐิหมดไป สังโยชน์10หมดไป ไม่มีความประมาทในการพิจารณาความตายอยู่เนืองๆมักมีอุบายความตายเสมออาทิ เช่น ต้องตายด้วยโรคนั้นโรคนี้อยู่ในใจเสมอ หรือต้องตายด้วยการแก่ตายอยู่ในใจเสมอ หรืออุบัติเหตุหรือหัวใจวายหรือรู้ทุกขณะจิตว่าเมื่อไม่หายใจเข้าออกก็ตายเสียแล้วเป็นต้น สามารถดับขันธ์ห้าได้อย่างละเอียดจนไม่เกิดการติดใจในอารมณ์ว่าถึงแล้ว เพียงแต่รู้เท่าทันความมีธรรมะในตนเองแล้วดับธรรมะในจิตเราได้ว่าจิตเราไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงจิตรู้ตัวรู้(อารมณ์นิพพาน)แล้วปล่อยวางสามารถดับความจำ ความคิด ความปรุงแต่ง ดับธรรมชาติการรู้ของจิตว่าไม่มีอะไรมาสมมติมาปรุงแต่งให้จิตเกิดความมี ความเป็นอะไรต่างๆได้ ซึ่งจิตรู้นี้เองทำให้เกิดธรรมว่างอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่าสั__าเวทยิตนิโรธคือ อารมณ์นิพพาน
    สรุปจากหนังสือธรรมมะของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    ความรู้ในโลกหน้า คือ คนยังไม่บรรลุพระโสดาบันสามารถไปบรรลุพระโสดาบันบนสวรรค์ได้ คนที่ได้พระโสดาบันในชาตินี้ ไปบรรลุพระอรหันต์ในสวรรค์ พรหมโลกได้ คนทั่วไปสามารถที่จะปรารถนาเป็นหัวหน้าเทพบนสวรรค์ชั้น1-6ได้ หัวหน้าชั้นพรหม16 ชั้นได้ หรือพ_ามัจจุราชได้ถ้าท่านผู้นั้นบรรลุพระอนาคามี
    การฝึกมโนมยิทธิ ชาคริยานุโยค และการฝึกกสิณ
    1.อาจจะภาวนาพุทโธๆ หรือปล่อยลมหายใจเข้าๆออกๆ แล้วนึกภาพท้องฟ้าสีขาวหรือฟ้า แล้วนึกภาพแผ่นดินที่กว้างให_่ แล้วมีตัวเราที่เป็นโครงกระดูกยืนอยู่บนแผ่นดินคนเดียว
    2.หลังจากนั้นให้นึกว่ามีลมพัดผ่านเราเข้ามาในกะโหลก ซี่โครงปอด กระดูกแขน กระดูกเชิงกราน กระดูกขา และอวัยวะน้อยให_่
    3.หลังจากนั้นถ้าต้องการถอนภาพให้ภาวนาพุทโธ เข้าออก จนมีความรู้สึกไม่ยึดติดร่างกายแล้ว หลังจากนั้นให้ถอนภาพนั้นออกจากอารมณ์
    4.การปฏิบัติในครั้งนี้เป็นการฝึกจิตไม่ให้ยึดติดรูปธรรม นามธรรมโดยจะให้จิตจับอยู่ในไตรลักษณ์ เป็นการฝึกกสิณ อาโลกกสิณ ปฐวีกสิณ อานาปานสติ มโนมยิทธิ และชาคริยานุโยค(การตื่นตัว มีสติอยู่เสมอ) ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกที่รู้เท่าทันกิเลส

    สรุปจากหนังสือธรรมะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และสายพระกรรมฐาน 5 รูป








    การเจริ_วิปัสสนา
    วิปัสสนาคือ ปั__า(ความรู้แจ้ง)ที่รู้สภาวะของอารมณ์ตามความเป็นจริงในอารมณ์ 6 ว่ามีแต่รูปธรรมกับนามธรรมเท่านั้น และรูปนามนั้นก็มีความเกิดดับอยู่เสมอ ทำให้เกิดปั__า รู้ว่ารูปนามนั้นไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ และทนอยู่ไม่ได้เป็นอนัตตา
    วิธีเจริ_วิปัสสนา
    1.ศีลต้องครบถ้วน ก่อนที่จะนั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออกพุท-โธ เมื่อรู้สึกว่าจิตสงบดีแล้วต่อไปให้ใช้ปั__าทำการพิจารณา พร้อมที่จิตจะประหารกิเลสให้ได้โดยสิ้นเชิง ในตอนนี้อย่านึกคิดว่าเราต้องการมีความอยากทำวิปัสสนาโดยเด็ดขาด เพียงแต่ว่าให้มีสติกำหนดรู้ตัวทุกข์(ตัวรูปนามนั่นเอง)ว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความยึดมั่นในขันธ์ 5 คือ ยึดมั่นในรูป คือ รูปที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 เวทนาคือการเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เป็นสุขหรือเฉยๆสั__า คือ การจำเช่น รูป เสียง สังขาร คือ สิ่งที่ปรุงแต่งให้คิดดี คิดชั่ว วิ__าณคือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเราต้องกำหนดรู้รูปนามให้ได้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา พอจิตเรารู้ว่าอารมณ์เราพิจารณารูปนามเป็นอย่างนี้แล้วให้วางอารมณ์นั้น มันจะเป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น
    2.เมื่อกำหนดดู รูป นาม (รู้ตัวทุกข์)แล้ว ตัวกิเลสตัณหาที่เข้าไปยึดในอารมณ์นั้นก็จะเกิดไม่ได้ ก็จะทำให้เราละตัวสมุทัยได้
    3.ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันของเรา(นามรูป)ที่เป็นอารมณ์สติปัฏฐาน 4 นั้นต้องรู้ตัวเสมอและต้องพิจารณาอารมณ์นั้นด้วยเหตุผลของรูปนามเท่านั้นแล้ววางอารมณ์ปัจจุบันนั้นทิ้งเสีย ถ้าจะเปลี่ยนอารมณ์ต้องรู้เหตุที่จะเปลี่ยนว่าเปลี่ยนไปเพื่ออะไร เช่น ขณะทำอาการนั่ง เดิน ไม่ต้องสร้างอารมณ์ขึ้นมาใช้เพ่ง แต่เรามีสติรู้นามรู้รูป ที่ปรากฎขึ้นตามทวารทั้ง 6 เช่น เวลาคิดว่าเรากำลังสงบ ก็ให้กำหนดรู้นามสงบ ปั__าจะทำให้เราสามารถทำลายความรู้สึกเป็นเรา (อัตตา)ออกไปได้
    4.เมื่อเราเห็นรูปนามว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วต้องเห็นด้วยปั__าไม่ใช่เห็นรู้ด้วยสั__าหรือสังขาร แต่ถ้าเรายินดีพอใจในการปฏิบัติแล้วก็คือ อาทิยินดีพอใจในเวทนาขันธ์ ได้แก่ ความสุข ปิติ อุเบกขา เป็นต้น เราก็จะไม่รู้แจ้งใน(นิโรธ)ของวิปัสสนา
    5.ต่อจากนั้นปั__าของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติ(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกเพราะถ้านึก แล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันแต่จะเป็นจิตรู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางให้รวมใจได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่าจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ และดับรูปนามได้โดยไม่หลงสมมติรูปนามว่าเป็นตัวตนและติดใจยึดติดหมายรู้ในรูปนาม ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริ_ไปด้วยปั__า (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)
    สรุปจากสายพระกรรมฐาน 5 รูป



    วิปัสนูปกิเลส 10 ประการสำหรับพระนักปฏิบัติ
    อารมณ์สมถะละเอียด 10 อย่างที่ควรระวัง ซึ่งไม่ใช่วิปัสสนา_าณแท้ เป็นเพียง_าณโลกีย์ ต่อเมื่อนักปฏิบัติยกจิตเป็นพระอริยเจ้าอย่างต่ำชั้นพระโสดาบันแล้ว อาการ 10 อย่างนี้จะเปลี่ยน โลกุตตร_าณ คือ ความรู้ยิ่งกว่าทางโลก ควรระมัดระวังไม่ให้หลงว่าท่านได้มรรคผล อุปกิเลส 10อย่างมีดังนี้
    1) โอภาส จิตกำลังพิจารณาวิปัสสนา_าณอยู่ระดับอุปจารสมาธิ ย่อมเกิดแสงสว่างมาก จงอย่าพึงพอใจว่าได้มรรคผล อย่าสนใจแสงสว่าง ให้ปฏิบัติต่อไป
    2) _าณ ความรู้เช่นทิพจักขุ_าณ จากจิตที่เป็นสมาธิภาวนา สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลก รู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ตามสมควร เลิกทำต่อไป หลงผิดคิดว่าได้ บรรลุมรรคผล ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา_าณ ควร
    ระมัดระวังไม่ให้หลงผิด
    3) ปีติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้ม เบิกบาน มีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายลอย กายเบา โปร่งสบาย สมาธิ
    แนบแน่นเป็นผลของสมถะยังไม่ใช่มรรคผล
    4) ปัสสัทธิ ความสงบระงับด้วยฌานสมาธิ ความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง คล้ายจะไปสิ้น ท่านว่าเป็นอุเบกขาฌานในจตุตฌานอย่าเพิ่งหลงผิดคิดว่าบรรลุมรรคผล
    5) สุข ความสบายกายใจ เมื่ออยู่ในสมาธิ อุปจารฌานระดับสูง หรือ ฌาน 1-ฌาน4 มีความสุขกาย จิต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต เป็นผลของภาวนา ไม่ใช่มรรคผล
    6)อธิโมกข์อารมณ์น้อมใจเชื่อโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้พิจารณาถ่องแท้เป็นอาการศรัทธาไม่ใช่มรรคผล
    7) ปัคคาหะ ความเพียรพยายามแรงกล้าไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค อย่าเพิ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลเสียก่อน เป็น
    การหลงผิด
    8) อุปัฎฐาน มีอารมณ์เป็นสมาธิ สงัด เยือกเย็น แม้แต่เสียงก็ไม่ได้ยิน อารมณ์ที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติคิดว่าบรรลุมรรคผล
    9) อุเบกขา ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมาธิฌาน 4 ต้องระวังอย่าคิดว่าวางเฉยเป็นมรรคผล
    10) นิกันติ แปลว่าความใคร่ไม่อาจมีความรู้สึกได้เป็นอารมณ์ของตัณหา สงบไม่ใช่ตัดได้เด็ดขาด อย่าพึ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล กิเลสยังไม่หมดเพียงแต่ฌานกดไว้ซึ่งเข้าใจสั__าเดิมของตนว่าเข้าถึงนิพพานอารมณ์ๆเป็นของเรา แล้วแต่หาได้ถึงอารมณ์นิพพานไม่เพราะว่าไปยินดีในเวทนาขันธ์ เช่น รู้ไม่เท่าทันนามสงบ สุข อุเบกขา จึงทำให้เกิดการยึดติดในอารมณ์จนไปยินดีกับอารมณ์วิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุให้หลงว่านิพพานเป็นอัตตา ซึ่งแท้ที่จริงนั้นปั__าของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติต้องเห็นด้วยปั__าไม่ใช่เห็นด้วยสั__าหรือสังขาร(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกอย่าไปหวังให้มันสำเร็จ เพราะถ้านึกแล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันซึ่งเป็นอารมณ์รู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่ามีจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริ_ไปด้วยปั__า (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)
    สรุปจากสายพระกรรมฐาน 5 รูป
     
  2. casy99

    casy99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +449
    ดี

    อ่านแล้วต้องปฏิบัติอย่างมีสติเพื่อป้องกันการเกิดอุปาทานหรือผิดเส้นทาง
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
  4. ปุจฉา

    ปุจฉา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +31
    อนุโมทนา.....สาธุ...
    คุณ lotte เอามาจากหนังสือเล่มไหนครับ ... จะไปหามาอ่านเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มครับ... อ่านที่คุณนำมาลงก็ได้ความเข้าใจแล้ว ... ถ้าได้อ่านเพิ่มเติมผมคงจะสรุปแนวทางของตนเองได้ครับ ... ว่าจะเดินทางไหนไปยังไง(คงเหมือนแผนที่มังครับ) ขอบคุณครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...