บทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย deneta, 27 มีนาคม 2011.

  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    พุทธคุณ พาหุง มหากา

    [​IMG]



    <HR>
    ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก
    ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า
    วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา
    ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ
    เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ

    เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

    คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ
    สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า
    "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย
    จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"
    ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐาน
    มีสติอยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล
    และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น
    อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ
    ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ
    อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง
    วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง
    มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย
    คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น.
    อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ
    อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร
    ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ
    คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
    พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย
    "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ
    และจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต"
    อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา
    อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม
    จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า
    ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี
    มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากัน
    พระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง
    อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ
    ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา
    จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน
    มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว
    ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า
    ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น
    ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน
    โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้
    "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา
    และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
    สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร
    เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต
    อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง
    บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ"
    เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง
    เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม
    ชะยะมังคะลานิ"
    ________________________________________________________________________________________________________________

    บทสวดมนต์

    กราบพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
    นมัสการ (นะโม)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    ไตรสรณคมน์ (พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉาม
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
    พระพุทธคุณ (อิติปิ โส)
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
    พระธรรมคุณ
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *
    (* อ่านว่า วิญญูฮีติ)
    พระสังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

    (อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)
    พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
    โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง* วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย
    วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

    * พรัหมัง อ่านว่า พรัมมัง
    มหาการุณิโก
    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
    ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง
    ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะรา
    ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
    สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
    สุนั ขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ
    สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ** จาริสุ ปะทักขิณัง
    กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
    มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
    กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

    ** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
    หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล
    พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

    บทแผ่เมตตา
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
    บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    บทสวดมนต์ (แปล)
    คำแปลกราบพระรัตนตรัย
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
    พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
    ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
    คำแปลนมัสการ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ จบ)
    คำแปลไตรสรณคมน์
    ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    คำแปลพระพุทธคุณ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    เป็นผู้ไกลจากกิเลส
    เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
    เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
    เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
    เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ฯ
    คำแปลพระธรรมคุณ
    พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
    เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัตึพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
    เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
    เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
    เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ฯ
    คำแปลพระสังฆคุณ
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

    ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ ๘ บุรุษ
    นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
    เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
    เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
    เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ฯ
    คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา
    ๑. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนา มารโห่ร้องกึกก้องด้วยธรรมวิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๒. พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร ผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก จนตลอดรุ่ง
    ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี (คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็น ๑ ในพระบารมี ๑๐ ประการ)ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์) ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๔. พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ
    มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้องด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๖. พระจอมมุนี ทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์ (อ่านว่า สัจจะกะนิครนถ์, นิครนถ์ คือ นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล) ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริงขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๗. พระจอมมุนีทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มากด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
    ๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหมผู้มีนามว่าพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้วด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุก ๆ วัน
    นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายมีประการต่าง ๆ เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (คือ ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล
    คำแปลมหาการุณิโก
    ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพ
    สัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
    ขอท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ
    เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์) ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ*

    หมายเหตุ ประทักษิณ หมายถึง การกระทำความดีด้วย ความเคารพ โดยใช้มือขวาหรือแขนด้านขวา หรือที่หลายท่าน เรียกว่า “ส่วนเบื้องขวา” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาช้านานแล้ว ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่า การประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตนเคารพนั้น เป็นการให้เกียรติ และเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้นบาลีที่แสดงไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนาและการที่กระทำกรรมทั้งหลาย เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแลฯ

    ที่มา www.84000.org http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-pray.html#9
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2011
  2. แววตา

    แววตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +6
    บทสวดพาหุง มหาการุณิโก ป้องกันภัยน้ำท่วม

    ถ้าจำไม่ผิด ดิฉันเคยได้ยินว่า สวดบทคาถาพาหุง มหาการุณิโก สามารถ ป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมได้ คะโดยเมื่อประมาณหลายปีมีโยมผู้หญิงมาจากจังหวัดทางปักษ์ใต้ เป็นจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมคะแต่น้ำกลับไม่ท่วมบ้านของโยมผู้หญิงดังกล่าว อันเนื่องมาจากอานิสงค์ของการสวดพุทธชัยมงคลคาถาพาหุง มหาการุณิโก อยู่เป็นประจำ ซึ่งบ้านอื่นที่ไม่ได้สวดพุทธชัยมงคลคาถาพาหุง มหาการุณิโก ปรากฏว่า น้ำท่วม แต่สามารถรอดได้เฉพาะบ้านของโยมผู้หญิงดังกล่าวคะ
    จึงได้มาบอกกล่าวสิ่งซึ่ง เคยได้ยินมาให้ฟังนะคะ ส่วนจะเชื่อหรือไม่เป็นวิจารณญาณของแต่ละบุคคลคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...