นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 4 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

    (คัดจากหน้า 41-43)
    ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ถาม) : อันว่านิพพาน ปรมัง สุญญัง เป็นอันว่านิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง คือหมายความว่าสูญเลย คำว่าสูญเลยเป็นที่สงสัยอย่างเกล้ากระผมซึ่งมีกิเลสหนา คำว่าสูญเลยตามตำราบอกว่าขันธ์นั่นสูญ รูปขันธ์ก็หายไป วิญญาณขันธ์ก็หายไป แล้วสังขารขันธ์ก็หายหมด ทีนี้เกล้ากระผมไม่ทราบว่าอะไรเหลือ เมื่ออะไรมันหายหมด เพราะนิพพาน ปรมัง สุญญัง นี่ เพราะฉะนั้นในฐานะพระเดชพระคุณสมเดจเป็นนักปราชญ์ผู้มีความเปรื่องในธรรม โปรดได้อธิบายให้เกล้ากระผมเพื่อเป็นแนวทางซักหน่อย ก็จะเป็นพระคุณและได้บุญกับสาธุชนผู้ที่นั่งฟังอีกด้วยเป็นอย่างมาก

    สมเด็จ (ตอบ) : คำว่า นิพพาน นี้ต้องเข้าใจว่ามีหลักแห่งความจริงของคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ถ้าในหลักแห่งความจริงของพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว คำว่า นิพพาน ในโลกมนุษย์นี้ ก็คือว่า มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติตนให้อยู่ในจิตแห่งความว่าง ให้อยู่ในจิตแห่งความนิ่ง ให้อยู่ในจิตแห่งความสิ้นจากสรรพกิเลสที่รอบล้อมอยู่ในตัว เขาเรียกว่า ....
    ใจกลางแห่งนิพพานตั้งอยู่เมือง
    รอบล้อมต่อเนื่องกำแพงอันแสนหนา
    ผู้ใดหาทางทะลุอยู่ในเมือง
    มนุษย์ผู้นั้นย่อมถึงนิพพาน
    นิพพานในโลกมนุษย์นี้เขาเรียกว่าปฏิบัติจิตให้ว่างที่สุด นานเท่านาน ผู้นั้นถึงนิพพานแห่งการเป็นมนุษย์ คือ สุญญัง นี้แหละเขาเรียกว่าสูญจากอาสวกิเลส สูญจากการป็นทาสอารมณ์แห่งการเป็นมนุษยจิตวิญญาณนี้พุ่งสู่แดนอรหันต์ ไม่ใช่สูญทั้งจิตและวิญญาณ ถ้าสูญทั้งจิตและวิญญาณ จะเอาอะไรไปเสวยกรรม สภาพการณ์วิญญาณที่สูญนั้นเขาเรียกว่า วิญญาณธาตุในเบญจขันธ์ วิญญาธาตุนี้เป็นอุปาทาน รูปนี้ประกอบขึ้นด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุจึงอยู่เป็นกาย แต่วิญญาณอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่าวิญญาณซึ่งวนเวียนอยู่ในกฏแห่งวิฏสงสารนั้นแหล่

    (คัดจากหน้า 61-62)
    เรื่องวิญญาณนี้เป็นเรื่องละเอียด ในหลักการแห่งวิญญาณของเทพพรหมชั้นสูงนั้น เปรียบเสมือนหนึ่งในหลักทั่วไปของมนุษย์ ก็คือว่าเป็นอากาศ สภาวการณ์ท่านรู้ว่ามีอากาศ แต่ท่านไม่สามารถจับอากาศขึ้นมาเป็นตัวตนได้ นั่นคือสภาวะของวิญญาณเทพพรหมชั้นสูง

    ทีนี้วิญญาณเหล่าวิสุทธิเทพ วิญญาณเหล่าพรหมสุทธาวาส วิญญาณเหล่าอรหันต์ จะเปรียบให้เข้าใจในโลกมนุษย์นี้จะเปรียบเป็นอะไรเล่า อันนี้อาตมาภาพขอแถลงไขเปรียบเสมือนหนึ่งว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นวิญญาณละเอียด สภาวการ์แห่งการเป็นวิญญาณละเอียดเหล่านี้ไซร้ ท่านจะต้องฝึกสมาธิใช้จิตสัมผัสเหสมือนหนี่งเปรียบคือ ลม ท่านลองโบกมือดูสิ ว่ามีลมไหม เมื่อท่านโบกมือย่อมเกิดลม นักวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นชั้นด็อกเตอร์ก็ยังไม่สามารถเอาหน้าลมออกมาตีแผ่ให้มนุษย์ดูได้ ทั้งๆ ที่มนุษย์ทุกคนยอมรับว่ามีลม เพราะฉะนั้นวิญญาณแห่งวิสุทธิเทพ วิญญาณแห่งเทพพรหมชั้นสูง วิญญาณแห่งอรหันต์ จึงเปรียบง่ายๆ เป็นภาษามนุษย์ว่า ลม

    ทีนี้วิญญาณเหล่าอมรมนุษย์ วิญญาณเหล่าผีเปรต อสรุกาย วิญญาณเหล่าเจ้าที่เจ้าทงเหล่านี้ วิญญาณจำพวกนี้ยังมีกายหยาบ ฉะนั้นต้องเข้าใว่า เมื่อท่านสิ้นจากโลกมนุษย์นี้แล้วไซร้ ท่านจะต้องไปเกิดในปรภพแห่งการเสวยกรรมวิบากที่ไม่เหมือนกัน เพราะต่างกรรมต่างวาระ ต่างคนต่างสร้างมาไม่เหมือนกัน ทีนี้สภาวการณ์แห่งการสร้างกรรมไม่เหมือนกันก็คือว่าท่านที่สิ้นจากโลกมนุษย์ก็ยังเป็นวิญญาณปุตุนั้นก็จะเป็นกายหยาบหลุดออกจากกายเนื้อ ทีนี้ถ้าท่านบำเพ็ญในหลักแห่งวิสุทธิมรรค แห่งการเป็นพระอรหันต์ แห่งการเป็นพระพรหมสุทธาวาสแล้วไซร็ ท่านต้องละลายกายทิพย์เหลือแต่วิญญาณ ทีนี้วิญญาณแห่งกายที่มีกายหยาบเหล่านี้แหล่ ที่บางครั้งสามารถปรับในการรวมกระแสแห่งอำนาจที่ตนมีเป็นกายเป็นรูปร่างให้มนุษย์เห็นได้เป็นบางครั้งบางคราว

    ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ ท่านจะถึงหลักแห่งการถึงโลกอีกโลกหึ่ง แห่งโลกทิพยอำนาจนี้ ท่านจะไปได้อย่างไรเล่า ภาวการณ์แห่งการที่จะท่านจะไปโลกเหล่านี้ได้แล้วไซร้ ท่านจะต้องบำเพ็ญในด้านจิตวิญญาณ ตามที่องค์สัมมาสัมพุทธโคดมวางในหลักการให้เราเหล่านุษย์ทั้งหลายเจริญรอยตามท่าน ก็คือว่ามี ศีล สมาธิ ปัญญา

    หนังสือ ธรรมะ จากดวงวิญญาณบริสุทธ์ สมเด็จโต ชุด ของดีที่คนมองข้าม พระปัญญาวรคุณ วัดพนาสนฑ์ จ.นราธิวาส รวบรวม พิมพ์ครั้งที่ ๗ ปี 2536



    <table border="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr height="8"> <td>
    </td></tr> <tr> <td valign="top">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  2. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    5555 นี่ละเยี่ยมยอด ของจริง เพราะสมเด็จท่านเห็นเอง จำแนกหมด
    ................................................................................

    นิพพาน ไม่เกิด (หมดเชื้อเกิดอวิชชา) ไม่ดับ (วิญญาณยังมี)
    วิญญาณ เป็นอนัตตา อนิจจัง แปรเปลี่ยนรูปได้ ไม่มีกรอบขอบเขต
    ถ่ายเข้าออกได้แบบ "ลม" เรียกว่า "ลมปราณ" คนมีวิญญาณบริสุทธิ์
    รับพลังวิญญาณใหญ่ (พลังจักรวาล ชี่กง ฯลฯ) แล้วถ่ายทอดชำระคน
    อื่นทำให้คนอื่นมีสุขภาพดีได้ ถ้าจะทำ ต้องเรียนวิชชานี้ ไม่เรียนก็ทำไม่เป็น

    กายทิพย์ คือ รูปนาม แห่งวิญญาณ ผู้กำหนดกายทิพย์ ให้กำหนด "รูป"
    ด้วยการภาวนาให้มีรูป แล้วถอดจิต คือ น้อมจิตไปยังรูปนั้น วิญญาณก็
    หลุดออกจากร่าง ตอนที่กายและจิตแยกกันอย่างเด็ดขาด (ฌาณสี่)
    หากไม่ใช่เช่นนั้น ก็เป็นเพียงภาพกสิน นิมิตร มิได้ถอดกายทิพย์จริง
    จำต้องถึงฌาณสี่ก่อน แล้วกำหนด "รูป" แล้วน้อมจิตย้ายไปรูปนั้น
    วิญญาณจึงออกจากร่างได้ (แต่ออกไปแล้วระวังหาทางกลับไม่เจอ)

    การละลายกายทิพย์เหลือแต่วิญญาณ คือ การไม่ยึด "รูป" ดับรูปขันธ์
    กายในพระอรหันต์ (วิญญาณ) จึงไร้ลักษณ์ไร้รูป เพราะไม่ยึดรูป แต่มี
    ลักษณะคล้ายกายนอก (กายเนื้อ) เพราะต้องครองขันธ์ต่อไปจนกว่า
    จะตาย จึง ดับขันธ์ปรินิพพาน คือ ดับ "รูป" ดับ "กายทิพย์" เหลือ
    แต่วิญญาณบริสุทธิ์


    แล้ว "วิสุทธิเทพ" นั้นเล่า เกิดจากการอรหันต์ในภพสวรรค์หรือไม่?
     
  3. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    วิญญาณมีความว่างเป็นที่เกิด ที่รองรับ ความว่างนี้จึงเกิดความมี
    (ต้องมี space ก่อนมีสิ่งไรๆ) ความว่างนี้เอง ทำให้ วิญญาณ
    แต่ละวิญญาณ แยกออกจากกัน แต่ไม่ใช่ระบบปิด เป็นแบบมีช่อง
    ออก ว่าง เว้น จึงมี วิญญาณ

    วิญญาณจึงไม่ใช่ อัตตา ไม่ว่าง และ ไม่มี ตัวตน
     
  4. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,506
    สมเด็จ (ตอบ) : คำว่า นิพพาน นี้ต้องเข้าใจว่ามีหลักแห่งความจริงของคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ถ้าในหลักแห่งความจริงของพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว คำว่า นิพพาน ในโลกมนุษย์นี้ ก็คือว่า มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติตนให้อยู่ในจิตแห่งความว่าง ให้อยู่ในจิตแห่งความนิ่ง ให้อยู่ในจิตแห่งความสิ้นจากสรรพกิเลสที่รอบล้อมอยู่ในตัว เขาเรียกว่า ....
    ใจกลางแห่งนิพพานตั้งอยู่เมือง
    รอบล้อมต่อเนื่องกำแพงอันแสนหนา
    ผู้ใดหาทางทะลุอยู่ในเมือง
    มนุษย์ผู้นั้นย่อมถึงนิพพาน
    นิพพานในโลกมนุษย์นี้เขาเรียกว่าปฏิบัติจิตให้ว่างที่สุด นานเท่านาน ผู้นั้นถึงนิพพานแห่งการเป็นมนุษย์ คือ สุญญัง นี้แหละเขาเรียกว่าสูญจากอาสวกิเลส สูญจากการป็นทาสอารมณ์แห่งการเป็นมนุษยจิตวิญญาณนี้พุ่งสู่แดนอรหันต์ ไม่ใช่สูญทั้งจิตและวิญญาณ ถ้าสูญทั้งจิตและวิญญาณ จะเอาอะไรไปเสวยกรรม สภาพการณ์วิญญาณที่สูญนั้นเขาเรียกว่า วิญญาณธาตุในเบญจขันธ์ วิญญาธาตุนี้เป็นอุปาทาน รูปนี้ประกอบขึ้นด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุจึงอยู่เป็นกาย แต่วิญญาณอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่าวิญญาณซึ่งวนเวียนอยู่ในกฏแห่งวิฏสงสารนั้นแหล่

    *************************************************
    โมทนาสาธุ ครับ
    นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานนั้นสุขอย่างยิ่ง
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อนุโมทนาครับ
    =========================================
    ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว
    =======================================
    นิพพานคือความไม่มีตัวตนนี่เอง
     
  6. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ศรัทธา นำ วิริยะตามแบบไม่ลดละ สำคัญมาก คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร สติ ต้องมีให้มาก สมาธิต้องกระทำให้ใจให้แน่วแน่มั่นคง ผลของสมาธิที่ฝึกไว้ดีแล้ว ยอดของสมาธิคือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ผ่านไปขั้นนี้ไปแล้ว ปัญญารู้แจ้ง จึงเกิด นิพพานก็เลยเป็นปัจจัตตังเท่านั้นเอง เราทำเราได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ไม่มีศรัทธาตัวแรกก็จบ ไม่ได้เลย มีศรัทธาแล้ววิริยะไม่ลดละเอาเป็นเอาตายให้จงได้ ชาตินี้ยังไงก็ได้ เพราะมีท่านผู้ทำมาแล้ว คือ
    หลวงปู่สาวกโลกอุดร ธัมมปาโล ท่านเป็นตัวอย่างความเพียร ล่วงทุกข์ได้จริงๆ อนุชนคนรุ่นหลังไปหาศึกษากันดูเถิด
     
  7. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ที่ผมพูดถึง ไม่ใช่หลวงปู่เทพโลกอุดรนะครับ ท่านเป็นคนละท่านกัน
     
  8. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    จิตวิญญาณของอรหันต์ไม่สูญ ก็ไม่ต่างจากมิจฉาทิฏฐิ พระอรหันต์พ้นกิเลสทั้งปวง เข้าสู่นิพพาน หรือ เป็นอนัตตาธาตุแล้ว ถ้าจิตวิญญาณไม่สูญ ก็คือ ยังเป็นอัตตาตนตัวอย่างเหนียวแน่นเลยทีเดียว จะเป็นนิพพานอนัตตาธาตุได้อย่างไรกัน แล้ว รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นปรมัตถธรรม แต่ถ้านำไปกล่าวในเรื่อง ขันธ์ห้า แล้ว ก็จัดได้ ในรูป จิต เจตสิก แต่ นิพพานพ้นจากขันธ์ห้าไปแล้ว อยู่เหนือสมมติบัญญัติ สภาวะนิพพาน คือ นิพพานมีอยู่แต่ผู้นิพพานหามีไม่ จิตในขันธ์ห้า กับ จิต ก่อนการบรรลุธรรมอรหันตผล นั้น ก็เป็นจิตที่เกิดดับๆ อยู่เช่นนั้น เป็นทุกขัง อนิจจัง แต่ อนัตตานั้น คือ ผ่านสมมติบัญญัติทั้งปวง เป็นนิพพาน ว่างจากความคิดปรุ่งแต่งของกิเลสตัณหาอาสวะทั้งปวง เป็นอนัตตาธาตุ จึงเหนือสมมติบัญญัติ จะไปบัญญัติว่า เป็นจิตที่ไม่สูญ เป็นอมตะ ก็อยู่ในฐานะที่จะไปบัญญัติเรียกเช่นนั้นได้ เพราะถ้าจิตที่ผ่านการบรรลุอรหันตผล เป็นจิตไม่สูญเป็นอมตะ นั่นก็ผิดหลักการตรัสรู้เรื่อง อนัตตา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเลย กลายเป็นอัตตาตนตัวอย่างองอาจภาคภูมิกันเลยทีเดียว เป็นลัทธิใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  9. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ขอเสวนาด้วยขอรับ
    วิญญานนั้นยังดิ้นได้ไหม
    จิตนั้นยิ่ง

    หากวิญญานดิ้นไม่ได้คืออะไร
    หากจิตที่ไม่ดิ้นคืออะไร
    หากจิตที่ไม่ดิ้นมาพิจาณาธรรมแล้วเข้าใจธรรมยิ่งได้หรือไม่
    จิตนิพพานได้อย่างไร
    จิตคือเราหรือไม่

    มากๆคำถามอีกขอรับ
    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  10. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    หลวงปู่ เทศน์ว่า จิตกับวิญญาณในขันธ์ห้าก็คือตัวเดียวกัน จริงๆ รูป จิต เจตสิก พระพุทธองค์ทรงสมมติบัญญัติให้ง่ายต่อการศึกษาของเหล่าเวไนยสัตว์ ทรงสมมติบัญญัติเรียกว่า ขันธ์ห้า มีรูป และ จิตกับวิญญาณเป็นอันเดียวกัน และ ที่เหลือ เวทนา สัญญา สังขาร รวมเป็นเจตสิก แต่เนื่องด้วย จิตกับเจตสิกจะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ เมื่อมีจิตจะประกอบด้วยเจตสิก เจตสิกจะเกิดขึ้นลอยๆ โดยไม่มีจิตไม่ได้ อันนี้เป็นปริยัติ แต่หลวงปู่ท่านก็ได้เทศน์มาจากสภาะของท่าน เปรียบเทียบกับพุทธพจน์ แล้วถูกต้อง การดับจิตในสภาวะนิโรธธรรมนั้น ดับเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เนื่องด้วย กายยังอยู่ แต่ก็เป็นสภาวะนิพพานเช่นกัน ต่อเมื่อกายดับจิตที่มีอยู่ก็ดับไปด้วยพร้อมกัน เป็นนิพพานธาตุ ไปเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...