นับถอยหลังอนาคต...ช้างไทย

ในห้อง 'ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE id=Table9 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left height=118><TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff height=32><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#2b3189><TD class=messageblack vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>
    นับถอยหลังอนาคต...ช้างไทย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=top align=left>ทุกวันนี้คนไทยยังมีโอกาสพบเห็นช้างได้ตามสถานที่ท่องเที่ยว หรือบางครั้งบนถนนคอนกรีตในเมืองใหญ่ ช้างตัวใหญ่โตออกมาอยู่ในสังคมเมือง ทำให้รู้สึกได้ว่าช้างยังเป็นสัตว์ที่พบเห็นง่าย แต่หารู้ไม่ว่าช้างเหล่านี้เป็นหนึ่ง ในจำนวนช้างไทยที่เหลืออยู่ประมาณ 5,000 เชือก แบ่งเป็นช้างบ้านประมาณ 2,000 เชือก ที่เหลือเป็นช้างป่า

    ปราโมทย์ กิจจำนงต์พันธ์ รองประธานมูลนิธิอารี สุทธิพันธุ์ ในฐานะองค์กรที่ช่วยเหลือช้างตลอดมา เล่าให้ฟังว่า ในสมัยรัชกาลที่ 2 ประเทศไทยมีช้างอยู่ถึง 2 แสนตัว สาเหตุที่ช้างลดลงเพราะช้างเกิดยากตายง่าย ช้างจะไม่ผสมพันธุ์ถ้าไม่รักกัน อีกทั้งใช้เวลาตั้งท้องนาน ช้างยังป่วยด้วยโรคง่าย ๆ เช่น ท้องอืดก็ตายแล้ว ช้างบางตัวมีอาการบาดเจ็บที่เท้าหากไม่ได้รับการรักษา จะรับน้ำหนักตัวไม่ไหวก็ตายได้ รวมทั้งพื้นที่ของช้างลดน้อยลงเรื่อย ๆ

    อย่างไรก็ตามแม้จะมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องช้าง เช่น สถาบันคชบาล แห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความดูแลเรื่องช้างแบบให้ฟรี แต่เครื่องมือเครื่องไม้ยังไม่เพียงพอ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อช้างตกมัน สถาบันมีรถคันเดียว จำเป็นต้องมีมอเตอร์ไซค์ เพื่อไปหยุดช้างตกมันให้เร็วที่สุด ถ้าเราไปไม่ทันตำรวจก็ต้องใช้อาวุธปืนยิงช้าง เวลาช้างเจ็บป่วยต้องใช้ยา ซึ่งต้องให้ยาตามน้ำหนัก และที่สำคัญต้องดูแลควาญช้างต้องจัดสรรเงินเดือนให้ด้วย

    ความพยายามอย่างสุดความสามารถขององค์กรที่ดูแลเรื่องช้างไทย ที่จะให้ช้าง 5,000 เชือกนี้อยู่กับคนไทยตลอดไป เมื่อปี 2545 โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำโครงการผสมเทียมช้างด้วยน้ำเชื้อช้างสดประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรก และเป็นทีมสัตวแพทย์คนไทยทีมแรก ในเอเชีย

    ทีมสัตวแพทย์ไทยได้ผสมเทียมช้างเพศเมียชื่อ “พังขอด” อายุ 25 ปี ขณะนี้ตั้งท้องแล้วประมาณ 8 เดือน โดยได้รับการผสมเทียมจากน้ำเชื้อของช้างเพศผู้ชื่อพลายจาปาตี อายุ 12 ปี ช้างพังขอดได้รับการผสมเทียมเมื่อวันที่ 8-10 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ตามธรรมชาติช้างจะตั้งท้องประมาณ 20-23 เดือน คาดว่าพังขอดน่าจะตกลูกประมาณเดือนมีนาคม 2550 ลูกช้างที่เกิดมาจะเป็นช้างเชือกแรกในประเทศไทย ที่เกิดจากการผสมเทียมโดยฝีมือคนไทย

    นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล หรือหมอต๋อง นายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ บอกถึงเบื้องหลังการผสมเทียมว่า กว่าจะประสบความสำเร็จต้องลองผิดลองถูกไม่รู้สักกี่ครั้ง โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2543 ต้องใช้อุปกรณ์ของคน วัว มาผสมกัน ใช้เช่น ท่อตรวจทวารหนักของคนสอดเข้าไปในช่องคลอดช้าง

    “กว่าจะเก็บน้ำเชื้อได้ ต้องใช้เวลาถึง 3 ปีจนกระทั่งปี 2545 จึงแช่แข็งน้ำเชื้อได้ แต่ละขั้นตอนต้องเวลาใกล้กัน ช่วงผสมเทียมต้องรอให้ตัวเมียตกไข่พอดี ในรอบปีจะมีประมาณ 4 เดือนที่ตัวเมียจะตกไข่ ต้องเจาะเลือดตัวเมียก่อนจึงจะผสมน้ำเชื้อเข้าไปได้”

    แม้จะผ่านขั้นตอนการผสมเทียม ทีมนักวิจัยตั้งตารอวันตกลูกของช้างพังขอด ในภาวะที่กังวลต่ออีกว่า พังขอด ที่ผ่านมาเคยตกลูกแล้วกระทืบลูกตาย

    ปรากฏการณ์ของช้างฆ่าลูกนั้นมีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ในกรณีของช้างบ้านที่ไม่เคยอยู่รวมฝูงไม่มีช้างผู้ใหญ่คอยดูแล เนื่องจากธรรมชาติ ช้างคลอดลูกแล้วความเจ็บปวดไม่ได้หายเป็นปลิดทิ้งเหมือนกับคน ระหว่างที่ลูกหล่นมาจากท้อง ช้างจะรู้สึกโมโหเพราะความเจ็บปวด สามารถกระทืบลูกตัวเองได้ แต่วิธีการแก้ปัญหาควาญช้างจะฝึกช้างอีกตัวที่มีประสบการณ์เรียกว่า “แม่รับ” ไว้คอยดูแลช้างที่ใกล้คลอด ซึ่งในรายของพังขอดได้จัด “ช้างพังทานตะวัน” ไว้ดูแล

    จะเห็นว่าการถือกำเนิดเกิดขึ้นของลูกช้างหนึ่งตัวไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งการดูแลช้างจำนวน 5,000 เชือกที่มีอยู่ต้องใช้เงินจำนวนมาก

    ดังนั้น สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และมูลนิธิอารี สุทธิพันธุ์ จัดงานนิทรรศการศิลปินเพื่อช้างขึ้น ครั้งที่ 2 เพื่อร่วมหาเงินรายได้สมทบเข้ากองทุนศิลปินช้าง โดยมีศิลปินมีชื่อมาสร้างสรรค์งานศิลปะ อาทิ อ.ประเทือง เอมเจริญ, อ.ปรีชา เถาทอง,อ.สุชาติ วงษ์ทอง มาแสดง 250 ชิ้น จากศิลปิน 100 คน รวมทั้งศิลปินช้างเองที่สร้างสรรค์ผลงานมาร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15-25 กันยายนนี้

    โดยรายได้จากการบริจาคซื้อผลงาน กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ บริจาคเข้า “กองทุนศิลปินเพื่อช้าง” สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ
    หรือผู้มีจิตกุศลบริจาคผ่านทางมูลนิธิอารี สุทธิพันธุ์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ชื่อบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 167-2-02240-5

    กล่าวกันว่าช้างเป็นสัตว์ที่ทำแต่บุญมาตลอด เมื่ออดีตช้างเป็นผู้กู้บ้านปกป้องบ้านเมือง เป็นสัตว์มงคล ช้างไม่เคยบริโภคเนื้อสัตว์ ปัจจุบันช้างเลี้ยงชีพคนได้ ไม่มียุคไหนที่ช้างตกต่ำเท่ากับยุคนี้ หากสังคมยังเพิกเฉยต่อปัญหาช้างเชื่อว่าอีก 20 ปีช้างไทยอาจสูญพันธุ์.







    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา: เดลินิวส์
    http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?Newsid=99887&NewsType=1&Template=1
     

แชร์หน้านี้

Loading...