ธรรมะสำหรับพุทธภูมิและสาวกภูมิ(และความรู้เรื่องนรก)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย lotte, 18 มกราคม 2005.

  1. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +4,545
    ธรรมะสำหรับพุทธภูมิและสาวกภูมิ(และความรู้เรื่องนรก)



    ต่อไปนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ปัจจุบันขณะนี้ว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยขณะนี้ชอบกินเหล้า พนันบอล ชิงสุกก่อนห่ามกัน คบชู้ เสพยาบ้า ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดี อาจตกนรกได้ เมื่อนักศึกษาเรียนจบไปจะต้องมีการปฏิญาณตนต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จท่านและต่อหน้าพระพุทธรูปต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีใจความปฏิญาณอยู่ 7-8 ข้อมีข้อหนึ่งใจความว่า นักศึกษาจะขอถือสัจจะจะไม่ประพฤติผิดศีลธรรม ปรากฏว่านักศึกษาจบไปกลับชิงสุกก่อนห่ามกันเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้นักศึกษาอาจตกนรกขุมใหญ่กว่านรกสิมพลีนรก(ต้นงิ้ว)ๆได้เพราะไปปรามาสพระรัตนตรัย โกหกพระพุทธเจ้า หมิ่นเห็นการปฏิญาณเป็นของเล่น ทำให้อาจตกนรกขุมใหญ่กว่าต้นงิ้วได้ เพราะพระไตรปิฏกพระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ว่าห้ามชิงสุกก่อนห่ามกันก่อนแต่ง เพราะไม่ได้อนุญาติผู้ปกครองฝ่ายตรงข้ามก่อน ควรที่จะแต่งงานกันก่อนถึงจะถูกต้อง ซึ่งชิงสุกก่อนห่ามนั้นบาปเท่ากับคบชู้ ดังนั้นวิธีทางรอดควรที่จะต้องแผ่เมตตาทุกวัน สวดมนต์ทุกวัน ทำสมาธิวันละ 10 นาที หรือไม่ก็เวลาทำบุญควรอธิษฐานให้พญามัจจุราชเป็นพยานในการทำบุญในครั้งๆนั้นๆของเราด้วย เพื่อเวลาตายไปท่านจะได้ช่วยบอกว่าเราทำบุญอะไรมา เพราะเวลาเราตายไปมักจะลืมว่าเราทำบุญอะไรมา ซึ่งถ้าแผ่เมตตาทุกวัน สวดมนต์ทุกวัน ทำสมาธิวันละ 10 นาที ประมาณสองปีติดๆกันก็ไม่มีตกนรก เพราะบุญมากกว่าบาป การกินเบียร์กินเหล้านี้ถ้ากินเป็นยาก็ไม่เป็นไรแต่ถ้ากินเพื่อคึกคะนองเพื่อให้ตนเมานั้นก็บาปมาก
    ต่อไปนี้เมื่อท่านอ่านรายชื่อขุมนรกทั้งหมด ท่านอาจหลับตานึกภาพตามขุมนั้นๆได้ว่าเป็นอย่างไร บรรยากาศเป็นอย่างไร
    ประเภทนรก-
    นิรยภูมิ หรือโลกนรกนี้ เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ล้วนๆ เป็นโลกที่ปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง สัตว์ผู้ไปเกิด อยู่ในโลกนรกนี้ ไม่มีความสุขแต่สักนิดหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น โลกนี้จึงได้ชื่อว่า นิรยภูมิ = โลกที่ไม่มี ความสุขสบาย
    -มหานรก ๘ ขุม- (เทวทูตสูตร อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย ข้อ ๕๒๑ หน้า ๓๔๐ บาลีฉบับสยามรัฐ)
    นิรยภูมิ หรือโลกนรกประเภทใหญ่ที่สุด เรียกว่า มหานรก มีอยู่ทั้งหมด ๘ ขุม ด้วยกัน ตั้งซ้อนเรียงกันอยู่เป็นชั้นๆ ไป ห่างกันแต่ละชั้นประมาณ ๑๕๐๐๐ โยชน์ ดังนี้
    ๑. สัญชีวมหานรก
    สัญชีวนรก = นรกที่ไม่มีวันตาย คนใจบาปหยาบช้าลามก ตายไปตกนรกขุมนี้แล้ว เขาก็จะเป็นคล้ายๆ กับว่ามีตัวตน เป็น "กายสิทธิ์" คือไม่มีวันที่จะต้องตายกันเลย แม้ว่า จะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสจนทนไม่ไหว ขาดใจตายไป ถึงกระนั้น ก็ต้องกลับมีชีวิตชีวากลับเป็นขึ้นมา รับทุกข์โทษ ต่อไปอีก เป็นๆ ตายๆ อยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในสัญชีวนรกนี้ มีประมาณ ๕๐๐ ปีนรก! ซึ่งเทียบกันกับเวลาของ มนุษยโลกเราดังนี้ คือ ๙ ล้านปีของมนุษยโลก เท่ากับ วันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๒. กาฬสุตตมหานรก
    เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ เขาย่อมถูกลงโทษ โดยนายนิรยบาลเอาด้ายดำมาตีเป็นเส้นเข้าตาม ร่างกาย แล้วก็เอาเลื่อยมาเลื่อย บางทีก็เอาขวานมาผ่า หรือเอามีดนรกมาเฉือนกรีด ตามเส้นด้ายดำที่ตีไว้ ไม่ให้ผิดรอยได้ ฉะนั้น นรกขุมนี้ จึงมีชื่อว่า กาฬสุตต- มหานรก = นรกที่ลงโทษตามเส้นด้ายดำ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในกาฬสุตตนรกนี้ ประมาณ ๑๐๐๐ ปี ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกเราดังนี้ คือ ๓๖ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๓. สังฆาฏมหานรก
    เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษ โดยลูกภูเขาเหล็กนรกบดขยี้ร่างกาย ให้ได้รับทุกขเวทนา อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเวลาสร่างว่างเว้น ฉะนั้น นรกขุมนี้ จึงมีชื่อว่า สังฆาฏมหานรก = นรกที่บดขยี้ร่างกายสัตว์ เหล่าสัตว์ในสังฆาฏมหานรกนี้ มีร่างกายวิกลวิการ ต่างๆ กัน และมีรูปร่างแปลกพิลึก เช่น บางตนมีหัวเป็น มีตัวเป็นคน บางตัวมีหัวเป็นหมา หมู เป็ด ไก่ แต่มีตัวเป็นคน เป็นต้น มีความวิปริตแห่งกายสุดที่จัก พรรณนาให้ถูกต้องหมดสิ้นได้ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในสังฆาฏนรกนี้ มีประมาณ ๒๐๐๐ ปี ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกเราดังนี้คือ ๑๔๕ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๔. โรรุวมหานรก
    เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษอย่าง แสนสาหัส ต้องร้องครวญครางอยู่ตลอดเวลา ในนรกขุมนี้ จะได้ยินแต่เสียงร้องครวญครางอย่างน่าสมเพชเวทนา เป็นยิ่งนัก ฉะนั้น นรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า โรรุวมหานรก = นรก ที่เต็มไปด้วยเสียงร้องครวญคราง ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในโรรุวนรกนี้ มีประมาณ ๔๐๐๐ ปีนรก ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกเราดังนี้ คือ ๒๓๔ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของนรกขุมนี้
    ๕. มหาโรรุวมหานรก
    เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมถูกลงโทษโดยวิธี อันแสนจะทรมาณเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องร้องโอดโอย ครวญครางเสียงดังกระหึ่มมากมายยิ่งนัก เสียงร้อง ครวญครางมากกว่ามหานรกขุมที่ ๔ ที่กล่าวมาแล้ว มากกว่ามาก ฉะนั้น นรกขุมนี้จึงชื่อว่า มหาโรรุวนรก = นรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องครวญครางมากมาย นรกขุมนี้ มีชื่ออีกอย่างว่า ชาลโรรุวนรก = นรกที่เต็มไป ด้วยเสียงร้องครวญครางเพราะเปลวไฟ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในมหาโรรุวนรกนี้ มีประมาณ ๘๐๐๐ ปีนรก ซึ่งเทียบกับเวลาของมนุษยโลกดังนี้ คือ ๙๒๑๖ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเขา
    ๖. ตาปนมหานรก
    เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษ โดยวิธีการถูกย่างให้ได้รับความเร่าร้อน และนรกขุมนี้ ก็มีความเร่าร้อนเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น นรกขุมนี้จึงชื่อว่า ตาปนนรก = นรกที่ทำสัตว์ให้เร่าร้อน ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในตาปนนรกนี้ มีประมาณ ๑๖๐๐๐ ปีนรก ซึ่งมีการเทียบกับเวลาของมนุษยโลก เราดังนี้ คือ ๑๘๔๒๑๒ ล้านปี จึงเป็นวันหนึ่งกับ คืนหนึ่งของเขา
    ๗. มหาตาปนมหานรก
    เหล่าสัตว์ ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์อันเกิด จากความร้อนแรงแห่งไฟนรกเป็นที่สุด ได้รับทุกข์เพราะ ความเร่าร้อนเหลือประมาณ ไม่มีความร้อนในที่ไหน จักเปรียบปานกับความร้อนในนรกขุมนี้ ฉะนั้น นรกขุมนี้ จึงชื่อว่า มหาตาปนนรก = นรกที่เต็มไปด้วยความ เร่าร้อนอย่างมากมายเหลือประมาณ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในมหาตาปนมหานรกนี้ มีประมาณ ครึ่งอันตรกัป ซึ่งนับเป็นเวลาที่นานไม่ใช่น้อยเลย
    ๘. อเวจีมหานรก
    เหล่าสัตว์ที่อุบัติเกิดในนรกขุมนี้ ย่อมได้รับทุกข์โทษ อย่างหนักที่สุด เพราะระหว่างแห่งเปลวไฟและความทุกข์ ไม่มีว่างแม้แต่สักนิดเลย ในนรกนี้ไม่มีการหยุดพักแม้แต่ สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง สัตว์นรกต้องได้รับความทุกข์อย่าง หนักอยู่เสมอตลอดเวลา ไม่ใช่บางคราก็หนักบางคราก็ เบาเหมือนนรกขุมอื่นๆ เพราะฉะนั้น นรกขุมนี้จึงมีชื่อว่า อเวจีนรก = นรกที่ปราศจากคลื่น คือความบางเบาแห่ง ความทุกข์ ก็เกณฑ์อายุของสัตว์ในอเวจีมหานรกนี้ มีประมาณ ๑ อันตรกัป ซึ่งนับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าบรรดา มหานรกทั้งหมด
    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย มหานรกซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ มีอยู่ทั้งหมดด้วยกัน ๘ ขุมดังกล่าวมานี่แล ก็บรรดา มหานรกทั้ง ๘ นี้ หาได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันไม่ ความจริงอยู่ห่างไกลกันมาก จะเรียกว่าขุมหนึ่งๆ เป็น โลกๆ หนึ่งก็เห็นจะได้ มหานรกแต่ละขอมุนอกจะมี ขุมใหญ่ ซึ่งคล้ายกับเป็นเมืองใหญ่เป็นประธานแล้ว ยังมีขุมเล็กเป็นบริวารล้อมรอบอีก ๔ ทิศ ทิศละ ๔ ขุม รวมทั้งหมดเป็น ๑๖ ขุมด้วยกัน นรกที่เป็นบริวารนี้ มีชื่อเรียกว่าอุสสุทนรก
    -อุสสุทนรก-
    อุสสุทนรก นี้ ล้อมรอบเป็นบริวารมหานรกทั้ง ๘ มหานรกๆ ละ ๑๖ ขุม เพราะฉะนั้น อุสสุทนรกนี้ จึงมีอยู่รวมด้วยกันทั้งหมดมากถึง ๑๒๘ ขุม คือ
    ๑. ล้อมรอบสัญชีวมหานรก ๑๖ ขุม
    ๒. ล้อมรอบกาฬสุตตมหานรก ๑๖ ขุม
    ๓. ล้อมรอบสังฆาฏมหานรก ๑๖ ขุม
    ๔. ล้อมรอบโรรุวมหานรก ๑๖ ขุม
    ๕. ล้อมรอบมหาโรรุวมหานรก ๑๖ ขุม
    ๖. ล้อมรอบตามปนมหานรก ๑๖ ขุม
    ๗. ล้อมรอบมหาตาปนมหานรก ๑๖ ขุม
    ๘. ล้อมรอบอเวจีมหานรก ๑๖ ขุม
    จึงรวมเป็นอุสสุทนรกทั้งสิ้น ๑๒๘ ขุม
    เฉพาะในที่นี้ จักขอกล่าวถึงอุสสุทนรกเพียง ๔ ขุม ซึ่งล้อมรอบเป็นบริวารในทิศบูรพาของมหานรกขุมที่ ๑ คือ สัญชีวมหานรกเท่านั้น เพราะอุสสุทนรกในทิศอื่นๆ ก็ดีและที่ล้อมรอบเป็นบริวาร ในมหานรกขุมอื่นๆ ก็ดี ก็มีชื่อเหมือนๆ กัน จะต่างกันก็แต่เพียงโทษหนักเบา เท่านั้น อุสสุทนรกทั้ง ๔ ที่ล้อมรอบเป็นบริวารมหานรก หรือนรกขุมใหญ่ซึ่งจะกล่าวถึงในที่นี้ มีชื่อตามลำดับ ดังต่อไปนี้
    ๑. คูถนรก
    ครั้นพ้นทุกข์โทษจากมหานรกขุมใหญ่แล้ว หากเศษบาป กรรมยังไม่สิ้น สัตว์นรกทั้งหลายก็เคลื่อนออกไปรับทุกข์ โทษอยู่ในนรกบริวารที่ใกล้ชิดมหานรกอันดับที่ ๑ นี้ อันเต็มไปด้วยหมู่หนอนเป็นอันมาก คอยแทะกัดกินเนื้อ สัตว์นรกอย่างเอร็ดอร่อย
    ๒. กุกกุฬนรก
    ครั้นพ้น จากกำแพงแห่งคูถนรกแล้ว หากเศษบาปกรรม ยังไม่สิ้น สัตว์นรกทั้งหลายก็ต้องเคลื่อนออกไปรับทุกข์ โทษ ในอุสสุทนรกอันดับที่ ๒ นี้ อันเต็มไปด้วยเถ้ารึงซึ่งรุ่มร้อนสำหรับเผาสัตว์นรกทั้งหลาย ให้ได้รับความทุกขเวทนาอันแรงกล้า
    ๓. อสิปัตตนรก
    ครั้งพ้น จากกำแพงแห่งกุกกุฬนรกแล้ว ก็ถึงบริเวณ อุสสุทนรกอันดับที่ ๓ นี้ ที่ต้นมะม่วงนรกใบดกครึ้ม ครั้นถูกลมกรรมพัดมาอย่างแรงใบก็กลายเป็นหอก เป็นดาบอันคมกล้าหลุดร่วงลงมาถูกกายเป็นแผล เหวอะหวะ บางทีก็กายขาดเป็นท่อนๆ ฯลฯ
    ๔. เวตรณีนรก
    ครั้นพ้น จากกำแพงอสิปัตตนรกแล้ว ก็ถึงบิรเวณ อุสสุทนรกอันดับที่ ๔ นี้ อันเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วย น้ำเค็มน้ำแสบตั้งอยู่ชั่วกัป มีเครือหวายหนามเหล็ก ล้อมอยู่โดยรอบเป็นขอบขัณฑ์ ในท่ามกลางนั้นปรากฏ เป็นดอกปทุมหลากหลาย เมื่อสัตว์นรกได้เห็นเข้า ก็เข้าใจว่าเป็นแม่น้ำอันเย็นสนิทน่าอาบ น่าดื่มนัก ก็รีบกระโจนลงไป เครือหวายเหล็กก็บาดร่างกาย ทำให้เป็นแผลในน้ำเค็ม
    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย อุสสุทนรกทั้ง ๔ นี้ ตั้งอยู่เรียง ลำดับกันไป ในทิศบูรพาเบื้องหน้าแห่งสัญชีวมหานรก แม้ในทิศอื่นอีก ๓ ทิศ คือ ทิศหลัง ทิศเบื้องขวา ทิศ เบื้องซ้าย ก็มีอุสสุทนรกทั้ง ๔ นี้ ตั้งอยู่เรียงลำดับไป เช่นเดียวกัน รวมอุสสุทนรกทั้ง ๔ ทิศที่ล้อมรอบสัญชีวนรก จึงเป็น ๑๖ ขุมพอดี ก็มหานรกมี ๘ ขุม แต่ละขุม มีอุสสุทนรกนี้ ล้อมรอบเป็นบริวารขุมละ ๑๖ จึงรวมเป็น อุสสุทนรกทั้งหมด ๑๒๘ ขุม
    -ยมโลกนรก-
    สัตว์นรก ทั้งหลาย เมื่อได้เสวยทุกข์โทษในมหานรกและ อุสสุทนรกดังกล่าวมาแล้ว หากกรรมยังไม่สิ้น ก็จำต้อง ไปเสวยกรรมในนรกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ยมโลกนรก ก็ยมโลกนรกนี้ ตั้งอยู่ในสถานที่ต่อจาก อุสสุทนรกไป เป็นนรกบริวารของมหานรกทั้ง ๘ มหานรกแต่ละขุมนั้น มียมโลกนรกล้อมเป็นบริวาร อยู่ทิศเบื้องหน้า ๑๐ ขุม ทิศเบื้องหลัง ๑๐ ขุม ทิศขวา ๑๐ ขุม ทิศซ้าย ๑๐ ขุม รวมทั้ง ๔ ทิศ ก็เป็น ๔๐ ขุมพอดี
    มหานรกมีอยู่ ๘ ขุม ขุมหนึ่งๆ มียมโลกนรกล้อมรอบ เป็นบริวารชั้นนอก ๔๐ ขุม จึงรวมเป็นยมโลกนรก ทั้งหมด ๓๔๐ ขุม
    ในที่นี้จะขอกล่าวแต่เพียงยมโลกนรก ๑๐ ขุม ซี่งตั้งอยู่ ล้อมรอบเป็นบริวารแห่งสัญชีวมหานรก เพียงทิศเดียว เท่านั้น เพราะว่ายมโลกนรกในทิศอื่นๆ ก็ดี และยมโลก นรกที่ล้อมเป็นบริวารมหานรกอื่นๆ ก็ดี ก็มีชื่อและมี อาการเสวยทุกข์โทษเหมือนๆ กัน จะแตกต่างกันอยู่บ้าง ก็เพียงแต่ว่ามีการเสวยทุกข์โทษหนักเบา ตามชั้นแห่ง มหานรกนั้นๆ เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อทราบและเข้าใจได้ เพียง ๑๐ ขุมในทิศเดียว ก็เป็นอันทราบยมโลกนรก ในทิศอื่นและในชั้นอื่นทั้งหมด เพราะมีชื่อและมีลักษณะ เหมือนกัน ก็ยมโลกนรกทั้ง ๑๐ ขุมที่จะกล่าวในที่นี้ มีชื่อตามลำดับดังนี้
    ๑. โลหกุมภีนรก
    มีหม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบ น้ำร้อนเดือดพล่านอยู่ตลอดเวลา ตั้งอยู่บนเตาไฟนรก นายนิรยบาลร่างกายใหญ่โต จับสัตว์ผู้พลัดมาอยู่ที่นี่ ที่ข้อเท้าเอาหัวคว่ำลง แล้วหย่อนทิ้งลงไปเสียงดังซ่าใหญ่ ฯลฯ ทำอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายคาบ นับเป็นหมื่นๆ ปี กรรมที่นำมาให้เสวยทุกข์โทษในนรกขุมนี้ได้แก่ปาณาติบาต คือทำการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่นจับเอาสัตว์เป็นๆ มาใส่ลง ในหม้อน้ำร้อนให้ตายแล้วเอามากินเป็นอาหาร หรือมิฉะนั้น ก็ทำกรรมชั่วหยาบอื่นๆ ควรจะเสวยทุกข์ในมหานรกแล้ว แต่ภายหลังกลับสำนึกตน พยายามประกอบกองการกุศล บาปกรรมที่ติดอยู่ในจิตค่อยคลายลง จึงต้องได้รับโทษ เพียงตกมาในขุมนี้
    ๒. สิมพลีนรก
    ปรากฏเป็นป่าเต็มไปด้วยต้นงิ้วนรกทั้งหลาย ต้นงิ้วแต่ละ ต้น มีหนามเหล็กคมเป็นกรด ยาวประมาณ ๑๖ องคุลี ลุกเป็นเปลวไฟอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีวันที่จะดับไปเลย แม้สักชั่วระยะเวลาหนึ่ง ขุมนี้เต็มไปด้วยสัตว์นรกหญิง และสัตว์นรกชาย
    ที่ต้องมาเกิดในสิมพลีนรกนี้ ก็เพราะว่าเมื่อเขาเป็นมนุษย์ ได้ประพฤติล่วงกาเมสุมิจฉาจาร คือคบชู้ผิดศีลธรรม ประเพณี
    ๓. อสินขะนรก
    เหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกขุมนี้ มีรูปร่างพิกล เล็บมือเล็บเท้า ของตนซึ่งแหลมยาว กลับกลายเป็นอาวุธ เป็นหอก เป็นดาบ เป็นจอบ เป็นเสียมอันคมกล้า เสวยทุกขเวทนา ประหนึ่งเป็นบ้าวิกลจริต บ้างนั่ง บ้างยืน เอาเล็บมือถาก ตะกุยเนื้อหนังของตนกินเป็นภักษาหาร เป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดกาลนาน
    สัตว์นรกเหล่านี้ เมื่อครั้งเขาเป็นมนุษย์มีใจเป็นคนพาล กระทำอทินนาทาน ชอบลักเล็กขโมยน้อย ลักขโมยของ ในสถานที่สาธารณะ ของที่เขาถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือลักขโมยของใช้เช่นเสื้อผ้า อาหาร เป็นต้น
    ๔. ตามโพทกะนรก
    ในนรกขุมนี้ มีหม้อเหล็กต้มน้ำทองแดงอยู่มากมาย มีน้ำทองแดงกำลังเดือดพลุ่งอยู่เสมอ พร้อมกับมี ก้อนกรวดก้อนหินปะปนอยู่ด้วยในหม้อเหล็กทุกๆ หม้อ นายนิรยบาลจับสัตว์บาปให้นอนหงาย เหนือแผ่นเหล็ก อันรุ่งเรืองด้วยเปลวไฟ แล้วเอาน้ำทองแดงพร้อมทั้ง ก้อนกรวดก้อนหิน ซึ่งกำลังเดือดพล่านในหม้อนรกนั้น กรอกเข้าไปในปาก ฯลฯ
    การที่สัตว์ต้องมาเสวยทุกขโทษอันน่ากลัวเห็นปานนี้ ก็เพราะในชาติก่อนเขาเป็นคนใจอ่อนมัวเมาประมาท ดื่มกินซึ่งสุราเมรัย แสดงอาการคล้ายคนบ้าวิกลจริต เป็นนิจศีล
    ๕. อโยคุฬะนรก
    ในนรกขุมนี้ เต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงเกลื่อนกลาดไปหมด ลุกเป็นไฟอยู่ทั้งนั้น เหล่าสัตว์นรกทั้งหลาย ล้วนมีแต่ ความหิวโหยทั้งสิ้น ครั้นเห็นก้อนเหล็กแดงก็ดีเนื้อดีใจ เพราะอกุศลบันดาลให้สัตว์นรกเหล่านั้นตาลาย เห็นก้อน เหล็กแดงกลายเป็นโภชนาหารไป จึงรีบวิ่งเข้าไปยื้อแย่ง กันกิน ฯลฯ
    การที่เขาจะมาเป็นสัตว์นรกที่นี่ ก็เพราะว่าในชาติก่อน เขาเหล่านั้นมีโลภเจตนาหนาแน่น แสดงตนว่าเป็นคน ใจบุญใจกุศล เที่ยวป่าวร้องเรี่ยไรเอาทรัพย์ของเขา มาว่า จะทำการกุศลสาธารณประโยชน์ ครั้นได้ทรัพย์ มาแล้วก็ยักยอกใช้สอยตามสะดวกสบายของตน การกุศลก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้างตามที่อ้างไว้ บ้างทีก็ไม่ ทำเลย หลอกลวงคนอื่นได้ด้วยเล่ห์ นึกว่าตนเป็น คนฉลาด
    ๖. ปิสสกปัพพตะนรก
    ในนรกขุมนี้ มีภูเขานรกใหญ่ตั้งอยู่ทั้ง ๔ ทิศ เป็นภูเขา เคลื่อนที่ได้ไม่หยุดหย่อน กลิ้งบดสัตว์นรกทั้งหลายให้ บี้แบนกระดูกแตกป่นละเอียด ถึงแก่ความตายแล้วก็ กลับเป็นขึ้นมาใหม่ ให้ได้รับความทุกข์ทรมาณอยู่ อย่างนี้ ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น
    ที่ต้องมาทนทุกขเวทนาอยู่ในนรกขุมนี้ ก็เพราะในชาติ ก่อน สัตว์นรกทั้งหลายเหล่านั้น เคยเป็นนายบ้าน เป็น นายอำเภอ เป็นเจ้าบ้านผ่านเมือง แต่ประพฤติตนเป็น คนอันธพาล กดขี่ข่มเหงราษฎร ทำให้ประชาชนพลเมือง เดือดร้อน เช่น ทุบตีเขา เอาทรัพย์เขามาให้เกิดพิกัดอัตรา ที่กฏหมายกำหนด ไม่มีความกรุณาแก่คนทั้งหลาย
    ๗. ธุสะนรก
    สัตว์ที่มาเกิดในนรกขุมนี้ ล้วนแต่มีความหิวกระหายน้ำ ทั้งสิ้น วิ่งวุ่นกระเสือกกระสนไปทั่วทั้งนรก ครานั้น ก็ ปรากฏมีสระเต็มไปด้วยน้ำใสเย็นสะอาด สัตว์นรก ทั้งหลายเห็นเข้า ต่างก็ดีเนื้อดีใจ วิ่งมาถึงแล้วกระโดด ลงเพื่อจะกินจะอาบ แต่ครั้นได้กินดื่มเข้าไป ด้วยอำนาจ กรรมบันดาล พอน้ำนั้นตกถึงท้องก็กลายเป็นแกลบเป็น ข้าวลีบลุกเป็นเปลวไฟ แล้วไหม้ไส้ใหญ่น้อย ตับปอด เครื่องในอวัยวะเหล่านั้นก็ไหลออกมาทางทวารเบื้องล่าง ให้ได้รับความเจ็บปวด เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส
    ที่ต้องมาเสวยทุกข์โทษในนรกขุมนี้ ก็เพราะว่าในชาติก่อน ครั้งที่เป็นมนุษย์เขาเป็นคนคดโกง ไม่มีความซื่อสัตย์ เป็นพานิชย์พ่อค้า แม่ค้า มีโลภเจตนาหนาแน่นในดวงจิต เอาของชั่วปนของดี เอาของแท้ปนของเทียม แล้วหลอก ขายผู้อื่น ได้ทรัพย์มาโดยมิชอบ เช่นนี้เป็นต้น
    ๘. สีตโลสิตะนรก
    ในนรกขุมนี้ มีน้ำเย็นยะเยือกยิ่งกว่าความเย็นทั้งหลาย เมื่อสัตว์นรกทั้งหลายตกลงไปก็ต้องตายด้วยความเย็น ด้วยอำนาจอกุศลกรรม ก็ทำให้กลับเป็นขึ้นมาอีก ฯลฯ ที่ต้องมาเสวยทุกข์โทษในนรกขุมนี้ ก็เพราะในชาติก่อน
    เมื่อครั้งที่เขายังเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีจิตใจไม่บริสุทธิ์ เป็นคนใจบาปหยาบช้า ไม่มีเมตตากรุณาในสันดาน เป็นคนใจพาลประกอบอกุศลกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆ โยนลงไปในบ่อในเหว ในสระน้ำ หรือมัดสัตว์ทิ้งน้ำ ให้จมน้ำตาย ทำเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ให้ได้รับความ ทุกข์และตายเพราะน้ำ เช่นนี้เป็นต้น
    ๙. สุนขะนรก
    ในนรกขุมนี้ เต็มไปด้วยสุนัขนรกทั้งหลาย มีอยู่มากมาย หลายฝูง แต่เมื่อจะจำแนกสุนัขหรือหมานรกเหล่านั้น ก็มีอยู่ ๕ จำพวกคือ หมานรกดำ หมานรกขาว หมานรก เหลือง หมานรกแดง หมานรกด่าง
    บรรดาหมานรกทั้งห้าจำพวกนี้ มีรูปร่างใหญ่โตและดู น่าเกรงกลัวเป็นนักหนา ส่งเสียงเห่าหอน เหมือนดังฟ้า ลั่นฟ้าร้องก้องทั่วนรกไปหมด คนบาปที่มาอุบัติเกิด ในนรกขุมนี้ ย่อมถูกหมานรกไล่ขบกัดอยู่ตลอดเวลา ๑๐. ยันตปาสาณะนรก
    ยมโลกนรก ขุมที่ ๑๐ ซึ่งเป็นขุมสุดท้าย ในนรกขุมนี้ ปรากฏว่ามีภูเขา ๒ ภูเขา แต่เป็นภูเขานรกแปลก ประหลาด คือ เป็นภูเขายนต์หันกระทบกันเสมอเป็น จังหวะไป ไม่ขาดระยะ พอสัตว์มาเกิดในนรกนี้แล้ว นายนิรยบาลผู้มีร่างกายกำยำล่ำสันใหญ่โต ก็จับ ศีรษะสัตว์นรกทั้งหลายโยนใส่เข้าไปในระหว่าง ภูเขายนต์ทั้ง ๒
    การที่ต้องมาเกิดเป็นสัตว์นรกทนทุกข์อยู่ ณ ที่นี้ ก็เพราะเหตุว่าในชาติก่อนเขาเป็นมนุษย์หญิงชาย ผู้มีใจบาปหยาบช้าตีด่าคู่ครองของคนด้วยความโกรธ เช่นเป็นสามีเมื่อโกรธภรรยาแห่งตนขึ้นมา ก็ฆ่าตีเตะถีบ ประหัตประหารเอาด้วยกำลังชาย หรือไม่เช่นนั้น ตนเป็นภรรยา เมื่อโกรธขึ้นมาก็ด่าว่าสามี คว้าไม้ คว้ามีดไล่ตีไล่ฟัน แล้วก็เหหันประพฤตินอกใจ ไปคบชู้ คบหาเป็นสามีภรรยาของคนอื่นตามใจชอบ
    ท่านทั้งหลาย นรกที่กล่าวมานี้ คือ ยมโลกนรก ทั้ง ๑๐ ขุม ก็ยมโลกนรกทั้ง ๑๐ ขุมนี้ ตั้งอยู่ในลำดับ ถัดกันไป ต่อจากอุสสุทนรกทั้ง ๔ ในทิศบูรพาเบื้องหน้า แห่งสัญชีวนรก แม้ในทิศอื่นๆ อีก ๓ ทิศ คือ ทิศหลัง ทิศซ้ายทิศขวา ก็มียมโลกนรกนี้ปรากฏตั้งอยู่ต่อจาก อุสสุทนรกที่กล่าวแล้วทิศละ ๑๐ ขุมเช่นกัน และมีชื่อ กับทั้งมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงเป็นอันว่าใน สัญชีวมหานรกนี้ มียมโลกนรกล้อมรอบเป็นบริวาร ชั้นนอก ๔๐ ขุม นอกจากนี้ ยมโลกนรก ยังมีอยู๋ใน มหานรกขุมอื่นอีกขุม ขุมละ ๔๐ ฉะนั้น จึงรวมทั้งหมด เป็นยมโลกนรก ๑๒๐ ขุมพอดี
    -โลกันตนรก-
    โลกันตนรก นี้ เป็นนรกขุมพิเศษ เป็นนรกขุมใหญ่ แปลกประหลาดกว่าบรรดานรกทั้งหลาย เพราะอยู่ นอกจักรวาล สถานที่ตั้งของนรกขุมนี้ อยู่ในระหว่าง โลกจักรวาล ๓ โลก ก็เหมือนกับดอกปทุมชาติ ๓ ดอก เอามาตั้งชิดติดกันเข้า ก็จะเกิดมีช่องว่างขึ้นในตอนกลาง จักรวาลต่างๆ ก็ตั้งชิดติดกันเช่นกับดอกปทุมชาติ ๓ ดอกนั้น บริเวณตรงช่องว่างนั่นเอง เป็นสถานที่ตั้ง แห่งโลกันตนรก ซึ่งแปลว่านรกที่อยู่สุดโลกจักรวาล
    ก็ในโลกันตนรกนั้น มีความมืดมนยิ่งนัก แสงดาว แสงเดือนและแสงตะวันส่องไปไม่ถึง เป็นสถานที่มืดมน อนธการ สามารถห้ามเสียงซึ่งความบังเกิดขึ้นแห่ง จักษุวิญญาณเปรียบปานดังคนหลับตาในคราวเดือนดับ ข้างแรมฉะนั้น การที่มีสภาพมืดมนมากเช่นนี้ ก็เพราะ อยู่นอกจักรวาลพ้นจากโลกสวรรค์โลกมนุษย์ ออกไปนั่นเอง
    สัตว์ที่ไปอุบัติเกิดในโลกันตนรกนี้ มีร่างกายใหญ่โตยิ่งนัก มีเล็บมือเล็บเท้ายาวนักหนา ต้องใช้เล็บมือเล็บเท้าเกาะ อยู่ตามชายเชิงจักรวาลห้อยโหนโยนตัวอยู่ชั่วนิรันดร์ เปรียบปานเหมือนเช่นกับค้างคาว ห้อยหัวอยู่บนกิ่งไม้ ฉะนั้น ครั้นได้ประสบการณ์ทรมานอย่างแสนสาหัส เช่นนี้ เขาก็ได้แต่รำพึงอยู๋ในใจว่า "ทำไม ตูจึงมาอยู่ที่นี่ ชะรอยที่นี่ จะมีแต่ตูผู้เดียว ดอกกระมัง"
    ที่เขารำพึงออกมาเช่นนี้ ก็เพราะว่าสถานที่นั้นมันเป็น สถานที่มืดแสนมืด มองไม่เห็นเพื่อนสัตว์โลกันตนรก ด้วยกัน หรือมองไม่เห็นอะไรเลยนั่นเอง ตลอดเวลานาน เหล่าสัตว์นรกเหล่านั้นไม่ต้องทำอะไร มีแต่จะห้อยโหน โยนตัวเปะปะไป ด้วยความหิวโหยอย่างเหลือประมาณ ครั้นปีนป่ายตะกายไปถูกต้องมือของกันและกันเข้าแล้ว ก็สำคัญว่าพบปะอาหารจึงต่างก็ดีเนื้อดีใจ มีกิริยา ขวนขวายคว้าฉวยจับกุมกัน ต่างคนต่างก็จะตะครุบ กันกินเป็นอาหาร เมื่อต่างก็ปล้ำฟัดกัดกันอยู่อย่างนี้ ในไม่ช้าก็เผลอปล่อยมือที่เกาะอยู่ เลยพากันพลัดตก ลงไปข้างล่าง
    สถานที่เบื้องล่าง ซึ่งเขาพลัดตกลงมานั้น มันไม่ใช่ พื้นที่ธรรมดา โดยที่แท้เป็นทะเลน้ำกรดอันเย็นยะเยือก ซึ่งมีความเย็นอย่างร้ายกาจนัก ครั้นเขากอดคอพากันพลัด ตกลงมา พอถึงพื้นน้ำแล้ว บัดเดี๋ยวใจ ตัวตนร่างกาย ของเขาก็เปื่อยพังแหลกลงสิ้นไม่มีชิ้นดีเพราะฤทธิ์ น้ำกรดอันเยือกเย็นกัดเอา ให้เหลวแหลกละลาย ประดุจดังก้อนอุจจาระซึ่งตกลงไปในน้ำฉะนั้น เขาก็ถึงแต่ความสิ้นใจตายไปในบัดใจนั้นเอง แล้วก็กลับเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาเหมือนเก่า ให้รู้สึกหนาวเย็นเป็นกำลัง จึงรีบตะเกียกตะกาย ปีนป่ายขึ้นมาเกาะเชิงเขาจักรวาลด้วยความลำบาก ยากเย็น แล้วก็ห้อยโหนโยนตัวแสวงหาอาหาร ด้วยความหิวโหยต่อไปอีกตามเดิม ฯลฯ เฝ้าเวียนตายเวียนเกิด ด้วยความทุกข์ทรมาน อยู่อย่างนี้ ไม่มีวันสิ้นสุดชั่วพุทธันดรหนึ่ง จึงจะพ้นทุกข์โทษจากโลกันตนรกนี้
    มีเรื่องที่ควรทราบ ซึ่งจะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ ก็คือว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรา ท่านทั้งหลาย ไดท้ทรงมีพระมหากรุณาโปรด ประทานพระพุทธฎีกาไว้ว่า "รูปปติ โข ภิกขเว" เป็นอาทิ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ที่ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าเป็นสิ่ง ที่จะต้องสลายไป เพราะความเย็นบ้าง เพราะความ ร้อนบ้าง" ดังนี้เป็นต้น
    จึงมีปัญหาว่า ที่ว่ารูปต้องสลายไป เพราะความเย็น นั้นคืออย่างไรกัน? ก็รูปของสัตว์ที่เกิดในโลกันตนรก นี่เอง ที่จะต้องแตกสลายฉิบหายไปเพราะความเย็น ฯลฯ
    สัตว์ทั้งหลายได้ก่อกรรมทำเข็ญอะไรไว้เล่า จึงต้อง มาตกอยู่ในโลกันตนรกนี้? สัตว์ทั้งหลายได้เคย ประกอบกรรมร้ายกาจหยาบช้าลามกนัก คือ ประทุษร้ายทรมานบิดามารดา เพราะปราศจาก กตัญญูกตเวที หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไม่เชื่อ บุญบาป ไม่เชื่อนรกสวรรค์แล้วประกอบการ อันเป็นบาปอยู่เป็นนิตย์ อีกประการหนึ่ง ได้ประกอบ กรรมชั่วยิ่งนัก เช่นประทุษร้ายท่านผู้ทรงศีลทรงธรรม หรือกระทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นประจำ ทุกวัน อำนาจกุศลอันหนักเหล่านั้น จึงชักนำให้ ลงมาเกิดในโลกันตนรกนี้ ซึ่งมีปกติมืออยู่เป็นนิตย์ ต่อเมื่อมีองค์สมเด็จพระพิชิตมารสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลก จึงจะมีโอกาสปรากฏเป็น แสงสว่างขึ้นแวบหนึ่งประมาณชั่วฟ้าแลบ หรือชั่วระยะ มาตรว่าลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น นี่แหละคือสภาพ แห่งโลกันตนรก
    -จำนวนนรก-
    เพื่อให้จำกันง่ายๆ บรรดานรกทั้งหมดที่กล่าวมา มีอยู่ทั้งหมด ๔๕๗ ขุม คือ
    ๑.
    มหานรก ๘ ขุม
    ๒.
    อุสสุทนรก ๑๒๘ ขุม
    ๓.
    ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม
    ๔.
    โลกันตนรก ๑ ขุม
    จบ "นิรยภูมิ"
    ตอนต่อไป "เปตติวิสยภูมิ"
    *********************************************
    จาก "ภูมิวิลาสินี"
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี
    (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)
    *********************************************
    ที่แท้แล้ว ภพภูมิมนุษย์นี้เองไม่ใช่ที่ไหนอื่นใดอีกเลย ที่เราจะมีโอกาสเลือกทำ เลือกคติ เลือกสร้างที่จะไป (รวมไปถึงจะไปสู่การพ้นทุกข์ก็เริ่มสร้างกันตรงนี้ด้วย) เหมือนเป็นจุดกึ่งกลาง เหมือนเป็นบ่อกำเนิด เหมือนจุดที่จะสร้างเหตุ เหมือนเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำ กรรมและที่ตั้งแห่งศาลที่จะพิจารณาบุญบาป กรรมดีชั่ว ทั้งนี้เพราะเมื่ออยู่บนสวรรค์หรือบนพรหมโลกนั้น ก็ไม่ได้ประกอบอกุศลกรรมอะไร เป็นเพียงการ เสวยผลกุศลกรรม ไม่ได้ประกอบกรรมดีชั่ว ขึ้นใหม่ อยู่ในนรกนี้ก็ไม่ได้ไปประกอบกรรมอะไรเพิ่มเติม เป็นเพียงการไปเสวยผลวิบากผลกรรมชดใช้กรรม เหมือนพรหมโลก สวรรค์และนรกนี้ เป็นเพียง ดินแดนที่เสวยผลเพียงอย่างเดียว ต่างกันลิบลับ ก็คือเสวยผลดีหรือผลชั่ว เสวยสุขเวทนาอย่าง แรงกล้าหรือทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตาม ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ดี ไม่พ้นไปได้ ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงเปรตอสุรกายและสัตว์เดรัจฉาน
    ดังนั้น ก็ตรงนี้ เวลานี้นี่เอง ปัจจุบันขณะนี่เอง ที่บุคคลที่มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ กำลังเลือก ทางไป เลือกสร้างเหตุอยู่นั่นเอง ท่านถึงได้ว่ามนุษย์นี่เป็นแหล่งรวมจริงๆ ทั้งมนุษย์เปรต มนุษย์อสุรกาย มนุษย์สัตว์นรก มนุษย์เทวดา เป็นต้น




























    การปฏิบัติกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่เราปฏิบัติ ก็เพื่อจะกำจัดกิเลส เครื่องร้อยรัดในจิตใจ ให้คนสัตว์ต้องจมอยู่ในวงกลมของการเวียนว่ายตายเกิดนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนให้ทุกคนกำจัดสังโยชน์ กิเลสที่ทำให้จิตไม่สะอาด 10 อย่าง คือสังโยชน์ 10 มีดังนี้
    สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    1.สักกายทิฏฐิ คือการยึดติดร่างกาย หลงใหลร่างกาย ยึดติดความมี ความเป็นเจ้าของ ว่าสิ่งนั้นของเรา ของเขา
    2.วิจิกิจฉา คืออารมณ์หงุดหงิด สงสัย ไม่สบายใจ ขัดข้องใจ ใจไม่สงบ
    3.สีลัพพตปรามาส คือการลูบคลำศีล ศีลห้าไม่ครบ คือมีความเชื่องมงาย เชื่อไม่ควรเชื่อ ชอบบนบานสานกล่าว เล่นหวยการพนัน ขูดต้นไม้หาโชค
    4.กามฉันทะ คือการมีอารมณ์หลงไปในยังอายตนะ 6ที่เข้ามาในจิตใจเราคือจิตหลงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(ผัสสะ)หรือการมีอารมณ์ทางเพศ หลงใหลเป็นความหลงที่ก่อให้เกิดตัณหาคือความอยาก ไม่อยาก เป็นต้น
    5.พยาบาท อย่าไปแช่งคนอื่น อย่าไปมีอคติต่อคนอื่นในแง่ไม่ดี มองโลกในแง่ดีเสมอให้อภัยทานและหมั่นเป็นคนอัธยาศัยดีมีเมตตาต่อสรรพสัตว์โลก เห็นคนเลวศัตรูเราเป็นเพื่อนร่วมโลกเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน และควรให้โอกาสเขากลับตัวใหม่โดยชี้แจงถึงเหตุผลให้เขาทราบ
    6.รูปราคะ ยึดถือว่ารูปฌาน เป็นคุณธรรมพิเศษสูงสุดเป็นความเห็นผิด
    7. อรูปราคะ ยึดมั่นในฌานที่ไม่มีรูป โดยคิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้หลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิด
    8.มานะ มีอารมณ์ถือตัว ถือตน ถือชั้นวรรณะ ถือว่าว่าดีกว่าเขา เลวกว่าเขา เสมอเขา
    9.อุทธัจจะมีอารมณ์ฟุ้งซ่านคิดวิตกกังวลนอกลู่นอกทางพระนิพพาน
    10.อวิชชา มีความคิดว่า โลก และสมบัติของโลกดีน่าอยู่ น่ารักใคร่ พอใจ มีความห่วงใยในร่างชีวิต ร่างกาย มนุษย์ สวรรค์ พรหม เป็นของดีมีสุข เป็นความรู้ไม่จริง เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ยั่งยืน เป็นอนัตตา สูญสลายในที่สุด คนเกิดมาเท่าไรตายหมดเท่านั้น คิดว่าเกิดเป็นคนดีสวรรค์ดี มีความสุข
    การที่จะกำจัดเครื่องร้อยรัดสังโยชน์กิเลส 10 อย่างนี้ เคล็ดลับในการปฏิบัติอย่างง่ายที่สุด ถ้าท่านไปเปิดในขรรธวรรค พระไตรปิฏก ที่พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้รวบรวมไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาว่า พระพุทธองค์ทรงสอนไว้มีมากมาย ชอบใจแบบไหน ก็ปฏิบัติแบบที่ถูกนิสัยของท่าน มีคนถามปัญหาพระพุทธเจ้าว่า กิเลสร้อยแปดพันเก้าทั้งหลายนั้น จะตัดกิเลสทั้งหมดออกจากจิตใจ ตัดด้วยอะไร พระพุทธองค์ตอบว่า ตัดจุดเดียว คือ ขันธ์ 5 รูป ร่างกาย ให้พิจารณาว่า 1. รูปร่างกาย คือ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ 2. เวทนา ความรู้สึก สุข ทุกข์ หนาว ร้อน 3. สัญญา คือ ความจำได้ หมายรู้ 4. สังขาร คือ ความคิดดีคิดชั่ว คิดเฉย ๆ 5. วิญญาณ ระบบประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความเจ็บ ปวดทางประสาท สมอง ไขสันหลัง ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเขา ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่ใช่ขันธ์ 5 เราคือ จิตที่มาอาศัยขันธ์ 5 ชั่วคราว ถ้าจิตไม่ผูกพันในขันธ์ 5 อารมณ์นั้นเมื่อไร จิตก็จะพ้นจากกิเลส สังโยชน์ 10 เป็นพระอริยเจ้าทันที ท่านกล่าวว่า ไม่มีอะไรยาก พระอรหันต์ทุกพระองค์ ท่านมีจุดตัดอย่างเดียว คือ ขันธ์ 5 เท่านั้น ที่สอนมากก็เพื่อป้องกันคนชอบสงสัย สังโยชน์ 10 อย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านย้ำให้นักปฏิบัติสนใจให้มาก เพราะ เป็นสิ่งวัดจิตใจว่าสะอาด มากน้อยเพียงใด ถ้ากำจัดกิเลสได้ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 3 ท่านว่า ผู้นั้นบรรลุพระโสดาบันและพระสกิทาคามี ถ้าตัดได้ 5 ข้อ คือข้อ 1 ถึงข้อ 5 ท่านผู้นั้นบรรลุพระอนาคามี ถ้าตัดได้เด็ดขาดหมดทั้ง 10 ข้อ ท่านผู้นั้นได้บรรลุอรหัตตผล การที่จะบรรลุหรือสำเร็จความมุ่งหมายให้พ้นทุกข์แท้จริง ท่านควรจะรู้จุดมุ่งหมายที่ กำจัดออกจากใจ มีอะไรเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางเสียก่อน ไม่ใช่เดาสุ่ม ไม่รู้จุดของกิเลส ท่านให้ตัดง่าย ๆ เป็นข้อ ๆ ไปตั้งแต่ ข้อ 1 สักกายทิฏฐิ นั้น พระโสดาบันมีปัญญาแค่ไม่ลืมความตาย พระสกิทาคามี ก็รู้ตัวว่าชีวิตนี้ตายแน่ มีจุดมุ่งหมายคือพระนิพพาน สักกายทิฏฐิ ของท่านที่เป็นพระอนาคามี คือ เห็นว่าร่างกายเป็นส้วมหรือซากศพเคลื่อนที่ จิตมาอาศัยอยู่ในร่างกายเหม็นเน่าชั่วคราว พระอรหันต์ท่านตัดสักกายทิฏฐิเด็ดขาด คิดว่าร่างกายกับจิตคนละส่วนกัน จิตไม่ใช่ขันธ์ 5 ขันธ์ 5 เป็นสมบัติของตัณหา กิเลส อวิชชา อุปาทาน พระอรหันต์ท่านมีความเห็นว่า ร่างกายไม่มีในเรา เราไม่ใช่ร่างกาย (เราในที่นี้หมายถึง จิต หรืออาทิสมานกาย หรือกายในกาย) ท่านแบ่งแยกเป็นคนละส่วน ไม่มีจิตใยดีในขันธ์ 5 อีกต่อไป จิตเป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ยังไม่ตาย ท่านเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ขันธ์ 5 ยังมีชีวิตอยู่ แต่จิตเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ 5 แยกกันเด็ดขาด ถ้าขันธ์ 5 พระอรหันต์เสื่อมสลายตายไปจิตท่านก็จะพุ่งตรงเสวยวิมุตติสุขแดนอมตะนิพพานท่านเรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน























    พระอริยเจ้า 8 ประเภท
    ฌาน แปลว่า การเพ่งเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน จดจ่อเอาอารมณ์นั้นเป็นเอกัคคตา
    สมาธิ แปลว่า การเอาจิตปล่อยรู้ตามอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน แล้วพิจารณาอารมณ์นั้นเป็นธรรมชาติ
    อารมณ์พระโสดาบัน ต้องมีศีลห้าครบถ้วน ต้องพิจารณาความตายอยู่เนือง ๆต้องไม่สงสัยในธรรมะของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต้องผ่านการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาด้วยผ่านอารมณ์ความไม่ยึดติดอารมณ์ ความคิด ความจำ ธรรมชาติของจิตทั้งปวงใดๆมาเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ของเรา ของเขา คือไม่ปล่อยให้เกิดอุปาทานขึ้นมานั่นเองคือรู้อารมณ์นิพพานว่าเป็นเช่นนั้นแล้วปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอัตตา(ความมีตัวตน)ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอนัตตา(ความไม่มีตัวตน)เพราะอาจทำให้เกิดความหลง และติดใจในอารมณ์สมมตินั้นๆจนไม่ปล่อยวางให้ดับอารมณ์สมมตินั้นหมดเสียที ถ้าดับหมดจะทำให้ละสักกายทิฐฐิได้หมดเพราะว่าไม่เห็นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา จิตเราไม่มีเจตนาในการคิด พูด ทำสักเเต่เป็นเพียงกริยาอาการของจิต ถ้าละสักกายทิฐฐิได้หมดก็เป็นพระโสดาบันถ้าดับความมี ความเป็นเจ้าของ ความติดใจในอารมณ์ได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อโกรธแล้วก็ระงับความโกรธได้จนให้อภัยทานได้ แต่ยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่บ้าง ไม่มีความเชื่อหลงงมงายในเรื่องบนบานสานกล่าว ไม่เชื่ออะไรง่ายๆจนกว่าจะรู้ด้วยตนเอง
    อารมณ์พระสกิทาคามี อารมณ์โกรธจะเบาบาง จะรู้เท่าทันความไม่พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเรา อารมณ์ทางเพศจะเบาบาง
    อารมณ์พระอนาคามี มีมานะทิฐฐิคือ สำคัญตนว่าตนเองสูงกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แต่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้จนไม่ก่อให้เกิดอคติได้ แล้วไม่ก่อให้เกิดความหลงได้ ยังมีความประมาทว่าเป็นพระอนาคามีแล้วสามารถไปบรรลุธรรมอรหันต์อยู่พรหมโลกได้ รู้เท่าทันอารมณ์พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเราได้ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความไม่พอใจ หรือพอใจ
    อารมณ์พระอรหันต์ ไม่ยึดติดในรูปฌาน และอรูปฌาน สักกายทิฐฐิหมดไป สังโยชน์10หมดไป ไม่มีความประมาทในการพิจารณาความตายอยู่เนืองๆมักมีอุบายความตายเสมออาทิ เช่น ต้องตายด้วยโรคนั้นโรคนี้อยู่ในใจเสมอ หรือต้องตายด้วยการแก่ตายอยู่ในใจเสมอ หรืออุบัติเหตุหรือหัวใจวายหรือรู้ทุกขณะจิตว่าเมื่อไม่หายใจเข้าออกก็ตายเสียแล้วเป็นต้น สามารถดับขันธ์ห้าได้อย่างละเอียดจนไม่เกิดการติดใจในอารมณ์ว่าถึงแล้ว เพียงแต่รู้เท่าทันความมีธรรมะในตนเองแล้วดับธรรมะในจิตเราได้ว่าจิตเราไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงจิตรู้ตัวรู้(อารมณ์นิพพาน)แล้วปล่อยวางสามารถดับความจำ ความคิด ความปรุงแต่ง ดับธรรมชาติการรู้ของจิตว่าไม่มีอะไรมาสมมติมาปรุงแต่งให้จิตเกิดความมี ความเป็นอะไรต่างๆได้ ซึ่งจิตรู้นี้เองทำให้เกิดธรรมว่างอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธคือ อารมณ์นิพพาน
    พระอริยบุคคล
    1. พระโสดาบันปฏิมรรค ตัดกิเลส 3 ตัวแรกในสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้ คือ
    (1) ตัดสักกายทิฏฐิ คือ ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น ชอบในการทำบุญทำทาน ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง แต่ไม่ลืมนึกถึงความตาย ไม่ประมาทในชีวิต
    (2) ตัดกิเลสวิจิกิจฉา ความสงสัยในพระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีจิตมั่นคงในพระนิพพาน ไม่ต้องการเกิดอีก
    (3) ตัดกิเลสสีลัพพัตตปรามาส ไม่ลูบคลำศีล คือมีความจริงใจไม่ทำลายศีล ไม่นิยมหลงใหลไปกับพิธีรีตองตามชาวโลก เพราะท่านมีปัญญา
    2. เป็นพระโสดาบันปฏิผล ได้เพราะมีคุณธรรมทั้ง 3 นี้มั่นคงถ้าจะเกิดเป็นคนอย่างมาก 7 ชาติ อย่างน้อย 1 ชาติไปนิพพาน
    3. พระสกิทาคามีมรรค
    4. พระสกิทาคามีผล ท่านมีคุณธรรม 3 ประการเหมือนพระโสดาบัน แต่มีจิตละเอียดขึ้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง น้อยลง
    พระสกิทาคามี มีกรรมบท 10 ครบถ้วน คือ ไม่ละเมิดกรรมบท 10 อย่าง รวมกับมีศีล 5 บริสุทธิ์ครบถ้วน กรรมบถ 10 เป็นทางป้องกันการเกิดในอบายภูมิ คือ
    (1) ทางกาย คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มของมึนเมา
    (2) ทางวาจา คือ ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
    (3) ทางใจ คือ ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินสมบัติใด ๆของผู้อื่น ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่เห็นผิดจากคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นถูกตามความเป็นจริงว่า พระนิพพานมีจริง ไม่สูญ มีความสุขยอดเยี่ยมตลอดกาล 5. พระอนาคามีมรรค
    6.พระอนาคามีผล ท่านมีปัญญาชาญฉลาดสามารถตัดกิเลส 5 ข้อแรกในสังโยชน์ 10 ได้ คือ มีคุณสมบัติ 3 ข้อเหมือนพระโสดาบัน พระสกิทาคามี เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ
    (1) สามารถละกามราคะ กิเลสกามในความรักหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย สุขทางกายได้
    (2) สามารถละความไม่พอใจ ปฏิฆะ ความโกรธ ได้ มีจิตเมตตาปราณี ชาวบ้านที่มีจิตเข้าถึงอนาคามีผล ยังอยู่ทำงาน ทำหน้าที่พ่อบ้าน แม่เรือนครบ แต่จิตไม่หมกมุ่นในกามราคะ มีสมาธิจิตทรงในฌาน 4 มีปัญญาเห็นโทษทุกข์ของร่างกาย ถ้าตาย ตอนจิตเป็นพระอนาคามีผลก็เข้าถึงพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ไม่มาเกิดเป็นคน บำเพ็ญจิตในชั้นพรหมเข้าพระนิพพาน จิตเป็นสุขยอดเยี่ยมไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกทั้ง 3 อีกต่อไป
    7. พระอรหัตตมรรค
    8.พระอรหันตผล ท่านมีจิตฉลาดสะอาดสามารถกำจัดอวิชชา ตัณหา กิเลสสังโยชน์ 10 ได้ทั้งหมด อุปาทานในขันธ์ 5 ไม่มี เพิ่มจากคุณลักษณะของพระอนาคามี พระอรหันต์สามรถกำจัดกิเลสละเอียดอีก 5 ตัวในสังโยชน์ 10 ข้อ สุดท้ายได้ดังนี้
    (1) รูปฌาน ท่านเข้าฌาน 1 ถึงฌาน 4 ได้ แต่มีจิตฉลาดไม่ติดในฌาน ไม่คิดว่าฌาน1 ถึงฌาน 4 เป็นของเลิศประเสริฐเป็นแต่เพียงให้จิตสงบตั้งมั่นมีกำลังแก่กล้า
    (2) อรูปฌาน จิตละเอียดฌานละเอียดตัดนามในขันธ์ 5 ได้ คือ กำจัด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณประสาทตาหูจมูกสิ้น กาย อารมณ์ใจออกจากจิตทั้งหมด เห็นว่าอรูปฌานยังไม่ใช่ของเลิศเป็นเพียงบันไดไต่ขึ้นเข้าใจมีปัญญาเพื่อพระนิพพาน ถ้ายังติดในอรูปฌานก็ต้องไปเกิดในอรูปพรหม ยังไม่พ้นทุกข์จริง
    (3) มานะ พระอรหันต์ตัดกิเลสที่เห็นว่าตัวเราดีกว่าเขา ด้อยกว่าเขา เสมอเขา ท่านมีความฉลาดรอบรู้ว่าตราบใดที่ยังมีขันธ์ 5 ร่างกาย รูป-นามอยู่นี้ไม่มีใครดีกว่าใคร ยังจมอยู่ในทะเลทุกข์ หรือวัฏฏสงสารกันทั้งนั้น ท่านเห็นว่าขันธ์ 5 เป็นของปลอม ของสมมุติ ของชั่วคราว ไม่ถือเขาถือเราเห็นคนสัตว์เป็นเพื่อนทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตายเท่านั้น
    (4) อุทัจจะกุกุกจะ พระอรหันต์ท่านไม่มีอารมณ์คิดวุ่นวายฟุ้งซ่านไร้สาระ มีความคิดอย่างเดียว ต้องการให้คนพ้นทุกข์ ทำอย่างไรคนจะเข้าใจในธรรมะ ในทุกข์ของโลก ทำอย่างไรคนจะเข้าใจพระนิพพานถูกต้อง พระนิพพานเป็นของจริง ไม่ใช่ของสมมุติชั่วคราวเหมือนโลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม
    (5) อวิชชา พระอรหันต์ไม่มีความเข้าใจผิดในนรกโลก มนุษย์โลก เทวโลก เห็นว่า 3 โลกนี้ไม่มีทางไหนเป็นสุขจริง เป็นสุขชั่วคราว ท่านรู้เข้าใจพระนิพพานมีจริง ไม่สูญสลาย พระนิพพานไม่ใช่อนัตตา พระนิพพานเป็นแดนทิพย์วิเศษยอดเยี่ยม จิตของผู้พ้นจากกิเลสสังโยชน์ 10 อย่างเท่านั้น ถึงจะเข้าถึงพระนิพพาน ท่านสัมผัสพระนิพพานได้ทางจิตถึงแม้จะไม่เห็น แต่จิตมีปัญญาทราบแน่ชัดว่าพระนิพพานมีแดนทิพย์จริง เพราะจิตท่านเข้าถึงวิมุติสุข


























    ความรู้ในโลกหน้า คือ คนยังไม่บรรลุพระโสดาบันสามารถไปบรรลุพระโสดาบันบนสวรรค์ได้ คนที่ได้พระโสดาบันในชาตินี้ ไปบรรลุพระอรหันต์ในสวรรค์ พรหมโลกได้ คนทั่วไปสามารถที่จะปรารถนาเป็นหัวหน้าเทพบนสวรรค์ชั้น1-6ได้ หัวหน้าชั้นพรหม16 ชั้นได้ หรือพญามัจจุราชได้ถ้าท่านผู้นั้นบรรลุพระอนาคามี

    การฝึกมโนมยิทธิ ชาคริยานุโยค และการฝึกกสิณ
    1.อาจจะภาวนาพุทโธๆ หรือปล่อยลมหายใจเข้าๆออกๆ แล้วนึกภาพท้องฟ้าสีขาวหรือฟ้า แล้วนึกภาพแผ่นดินที่กว้างใหญ่ แล้วมีตัวเราที่เป็นโครงกระดูกยืนอยู่บนแผ่นดินคนเดียว
    2.หลังจากนั้นให้นึกว่ามีลมพัดผ่านเราเข้ามาในกะโหลก ซี่โครงปอด กระดูกแขน กระดูกเชิงกราน กระดูกขา และอวัยวะน้อยใหญ่
    3.หลังจากนั้นถ้าต้องการถอนภาพให้ภาวนาพุทโธ เข้าออก จนมีความรู้สึกไม่ยึดติดร่างกายแล้ว หลังจากนั้นให้ถอนภาพนั้นออกจากอารมณ์
    4.การปฏิบัติในครั้งนี้เป็นการฝึกจิตไม่ให้ยึดติดรูปธรรม นามธรรมโดยจะให้จิตจับอยู่ในไตรลักษณ์ เป็นการฝึกกสิณ อาโลกกสิณ ปฐวีกสิณ อานาปานสติ มโนมยิทธิ และชาคริยานุโยค(การตื่นตัว มีสติอยู่เสมอ) ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกที่รู้เท่าทันกิเลส









    การเจริญวิปัสสนา
    วิปัสสนาคือ ปัญญา(ความรู้แจ้ง)ที่รู้สภาวะของอารมณ์ตามความเป็นจริงในอารมณ์ 6 ว่ามีแต่รูปธรรมกับนามธรรมเท่านั้น และรูปนามนั้นก็มีความเกิดดับอยู่เสมอ ทำให้เกิดปัญญา รู้ว่ารูปนามนั้นไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ และทนอยู่ไม่ได้เป็นอนัตตา
    วิธีเจริญวิปัสสนา
    1.ศีลต้องครบถ้วน ก่อนที่จะนั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออกพุท-โธ เมื่อรู้สึกว่าจิตสงบดีแล้วต่อไปให้ใช้ปัญญาทำการพิจารณา พร้อมที่จิตจะประหารกิเลสให้ได้โดยสิ้นเชิง ในตอนนี้อย่านึกคิดว่าเราต้องการมีความอยากทำวิปัสสนาโดยเด็ดขาด เพียงแต่ว่าให้มีสติกำหนดรู้ตัวทุกข์(ตัวรูปนามนั่นเอง)ว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความยึดมั่นในขันธ์ 5 คือ ยึดมั่นในรูป คือ รูปที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 เวทนาคือการเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เป็นสุขหรือเฉยๆสัญญา คือ การจำเช่น รูป เสียง สังขาร คือ สิ่งที่ปรุงแต่งให้คิดดี คิดชั่ว วิญญาณคือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเราต้องกำหนดรู้รูปนามให้ได้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา พอจิตเรารู้ว่าอารมณ์เราพิจารณารูปนามเป็นอย่างนี้แล้วให้วางอารมณ์นั้น มันจะเป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น
    2.เมื่อกำหนดดู รูป นาม (รู้ตัวทุกข์)แล้ว ตัวกิเลสตัณหาที่เข้าไปยึดในอารมณ์นั้นก็จะเกิดไม่ได้ ก็จะทำให้เราละตัวสมุทัยได้
    3.ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันของเรา(นามรูป)ที่เป็นอารมณ์สติปัฏฐาน 4 นั้นต้องรู้ตัวเสมอและต้องพิจารณาอารมณ์นั้นด้วยเหตุผลของรูปนามเท่านั้นแล้ววางอารมณ์ปัจจุบันนั้นทิ้งเสีย ถ้าจะเปลี่ยนอารมณ์ต้องรู้เหตุที่จะเปลี่ยนว่าเปลี่ยนไปเพื่ออะไร เช่น ขณะทำอาการนั่ง เดิน ไม่ต้องสร้างอารมณ์ขึ้นมาใช้เพ่ง แต่เรามีสติรู้นามรู้รูป ที่ปรากฎขึ้นตามทวารทั้ง 6 เช่น เวลาคิดว่าเรากำลังสงบ ก็ให้กำหนดรู้นามสงบ ปัญญาจะทำให้เราสามารถทำลายความรู้สึกเป็นเรา (อัตตา)ออกไปได้
    4.เมื่อเราเห็นรูปนามว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วต้องเห็นด้วยปัญญาไม่ใช่เห็นรู้ด้วยสัญญาหรือสังขาร แต่ถ้าเรายินดีพอใจในการปฏิบัติแล้วก็คือ อาทิยินดีพอใจในเวทนาขันธ์ ได้แก่ ความสุข ปิติ อุเบกขา เป็นต้น เราก็จะไม่รู้แจ้งใน(นิโรธ)ของวิปัสสนา
    5.ต่อจากนั้นปัญญาของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติ(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกเพราะถ้านึก แล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันแต่จะเป็นจิตรู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางให้รวมใจได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่าจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ และดับรูปนามได้โดยไม่หลงสมมติรูปนามว่าเป็นตัวตนและติดใจยึดติดหมายรู้ในรูปนาม ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริญไปด้วยปัญญา (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)
    1. สมถภาวนา
    สมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา แท้ที่จริงอยู่ควบคู่กันไป จะแยกทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านสอนแยกตามความหมายตามตัวอักษรเพื่อความเข้าใจเท่านั้น ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปด้วยกัน ถ้าเอาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ไม่สำเร็จมรรคผล แม้ผู้ที่คิดว่าเจริญวิปัสสนาญาณอย่างเดียวนั้น ท่านที่เจริญวิปัสสนาญาณได้ ก็ต้องมีจิตเป็นสมาธิเสียก่อน จึงพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ เห็นทุกข์โทษของขันธ์ 5 ได้ ถ้าไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถคิดวิปัสสนาตามความต้องการได้ เพราะจิตคิดฟุ้งซ่าน ไปเรื่องทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ชอบใจ หรือวิตกกังวล ตามประสาปุถุชน
    สมถะพระกรรมฐานมี 40 กอง ทุกกองทำเป็นวิปัสสนาได้ทุกรูปแบบ ถ้าฉลาดทำเป็นไตรลักษณ์ เป็นอุบายเพื่อรักษากำลังใจให้สงบจากอารมณ์ชั่วคือนิวรณ์ นิวรณ์มี 5 ประการดัง
    1) มัวเมาในสมบัติโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส พอใจในคน สิ่งของที่หลงรัก
    2) ความโกรธ ความไม่พอใจ รำคาญ พยาบาท
    3) ความง่วงเหงา หาวนอน ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา
    4) จิตความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล ก็ระงับโดยตั้งอารมณ์จิตไว้เฉพาะลมหายใจเข้าออกหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เป็นอารมณ์เดียว
    5) สงสัยในผลของการปฏิบัติ สมาธิ ภาวนา ว่าจะมีผลดี หรือไม่มีผล เป็นวิจิกิจฉาลังเลใจอยู่ในสังโยชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดในข้อ 2 ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ไม่มีที่จบสิ้น
    2. วิปัสสนาภาวนา
    คือการค้นคว้าหาความจริงของร่างกาย ว่าการเกิดเป็นคนนั้น เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เกิดมาแล้ว แก่ ทรุดโทรม ต้องเหนื่อยยากลำบากกายใจ หาเลี้ยงชีวิตครอบครัว มีป่วยไข้ ไม่สบาย ต้องต่อสู้กับอารมณ์ของคน ภัยธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พอจะสบายหน่อยก็หูตาฝ้าฟาง ฟันร่วง กระดูกกรอบ เจ็บป่วย ตายในที่สุด ถ้าร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ก็ดูคนป่วยคนตาย เราจะหนีไม่พ้นภาวะแบบนี้

    วิปัสสนาพระท่านสอนไว้มี 3 แบบ คือ
    1. พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ 9 ตามหนังสือวิสุทธิมรรคที่ท่านพระ พุทธโฆษาจารย์แปลไว้จากพระไตรปิฎก คือ
    1.1 อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ดับไป ตายไปของขันธ์ 5 ร่างกาย ความคิด ความเจ็บปวด เกิด ๆ ตาย ๆ ตลอดเวลา
    1.2 ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความสูญสลาย ดับไปของร่างกาย ความคิด ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ความรัก ความเจ็บปวด (วิญญาณ) ความรู้สึกประสาททั้ง 6 เป็นของร่างกาย ไม่ใช่จิตดับ เป็นเพียงวิญญาณระบบประสาทตาย
    1.3 ภยตูปัฏฐานญาณ สังเกตวิจัยรูป กายเขากายเรา เป็นของน่ากลัว มีภัย อันตรายรอบด้าน ให้จิตต้องแก้ไขตลอดเวลา เป็นปัญหา เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัวตั้งแต่เกิดจนแก่ เป็นภาระหนัก
    1.4 อาทีนวานุปัสสนาญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ สังเกต วิจัย หรือเฝ้าดูว่าร่างกาย รูป นาม ความคิด ความรู้สึก ความจำ ประสาท ความรู้สึกทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของยุ่งยาก เป็นโทษ เป็นทุกข์ มีภาระปรับปรุง ต้องแก้ไขตลอดเวลา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมิได้หยุดยั้ง ต้องเหน็ดเหนื่อย คอยเอาใจใส่ดูแลใจใส่ดูแลให้ดี
    1.5 นิพพิทานุปัสสนาญาณ คิดพิจารณาดูว่าร่างกาย ( รูป นาม ) หรือขันธ์ 5 เป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นภาระ เป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นของหน้ากลัวมีแต่สลายตัว ทำให้เจ็บปวดกายปวดใจตลอดเวลา ที่ยังไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเพราะเรามัวแต่วิ่งเอาความสุขทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มาปกปิดไว้ จึงมองไม่เห็น เรียกว่า อวิชชา ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงของรูปร่างกาย เป็นความหลง หรือ มีอุปาทาน คิดว่าเกิดเป็นคนมีความสุข
    1.6 มุญจิตุกามยตาญาณ คิดพิจารณาเพื่อให้จิตที่อาศัยอยู่ชั่วคราวในขันธ์ 5 (รูป นาม) นี้ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเสีย โดยตั้งใจจะทำความด้วย ศีล สมาธิ วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้มีปัญญา กำจัดอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม ให้หมดไปในชาตินี้ (ภพ นาม รูป วิญญาณ สังขาร)
    1.7 ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คิดพิจารณาปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากสังขารคือ ขันธ์ 5 (รูป นาม)นี้ โดยเดินทางสายกลาง มรรค 8 ตามพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน เพื่ออริยมรรคผลมีพระนิพพานเป็นที่อยู่เป็นสุข
    1.8 สังขารุเปกขาญาณ คิดพิจารณาใคร่ครวญ เห็นว่าควรจะทำให้จิตวางเฉยในความทุกข์ ความสุขของร่างกาย (รูป นาม ขันธ์ 5 ) ตลอดจนทรัพย์สมบัติที่เสียไปก็ปลงใจตัดได้ว่าเป็นธรรมดาของโลกจะต้องสูญสลายไปแบบนี้ มีจิตสบายไม่มีความหวั่นไหว เสียใจน้อยใจเกิดขึ้น ร่างกายเจ็บป่วยตาย ก็เป็นเรื่องของร่างกาย รู้แล้วว่าจิตไม่ตายตามร่างกาย จิตเป็นคนละส่วนกับกาย จิตเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่สูญสลาย กายขันธ์ 5 เป็นธรรมชาติของโลกมีสูญสลายเป็นปกติ เป็นของโลก เป็นของหลอกลวง
    1.9 สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาใคร่ครวญ ย้อนไปย้อนมา ให้เห็นความจริงของชีวิตว่า ร่างกายเป็นแดนของความทุกข์ทั้งปวง เพราะร่างกายเป็นสมบัติของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ถ้าเอาจิตไปยึดติดกับร่างกาย ก็มีแต่ปัญหา วุ่นวายใจ ไม่จบสิ้น
    จุดที่จะดับความทุกข์ให้หมดสิ้นไป ก็เดินตามสายกลาง ไม่ง่ายไม่ยาก ไม่ขี้เกียจ ไม่ขยัน ไม่เคร่งเครียดเกินไป ในทางปฏิบัติ มรรค 8 ย่อลงมาเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะมีศีล 5 ครบ จึงมีสมาธิ เป็น(ฌาน คือความชิน เมื่อมีสมาธิเป็นความชิน ก็มีปัญญาความฉลาด หรือ วิชชา รู้เท่าทันสภาวะ ความเป็นจริงของชีวิตของโลก หมดความมัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ได้ชื่อว่ามีความเห็นจริง ในอริยสัจ 4 ทำให้คล่องแคล่วจนจิตหมดความโลภ ความโกรธ ความหลง มัวเมาในชีวิต จนหมดกิเลสในสังโยชน์ 10 ประการ
    2. วิปัสสนาโดยการตั้งจิตให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร
    วิปัสสนา โดยการตั้งสติให้ระลึกถึง มหาสติปัฏฐานสูตร เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา แปลว่า ทางนี้เป็นทางเอก เป็นทางของบุคคลคือเราผู้เดียวเท่านั้นที่รับ สุข รับทุกข์ เราผู้เดียวเท่านั้นปฏิบัติตนพ้นทุกข์ ถึงระนิพพานได้ ไม่มีใครมาช่วยเราได้ นอกจากเราผู้เดียว พิจารณาตนเองเป็นเพียงธาตุ 4 ดินน้ำ ลม ไฟ ประกอบกันชั่วคราว แล้วสลายตัว เปื่อยเน่า เมื่อยังไม่ตาย ก็มีแต่โรคภัยรบกวน เร่าร้อน ทุกข์สาระพัด ต้องดูแลร่างกาย เพื่อความสะอาดของจิต ให้มีสติ รู้ตัวพิจารณา
    1) กาย คือ กายในที่อาศัยกายเนื้ออยู่ ดูลมหายใจ ดูความน่าเกลียด ดูเหมือนศพเน่า
    2) เวทนา พิจารณาอารมณ์เป็นสุข ทุกข์ เฉย ของตนเองอยู่เสมอว่าว่า ไม่คง
    3) จิต สติพิจารณาจิต มีนิวรณ์5 รบกวน พิจารณาขันธ์ 5 อายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นปัญญาช่วยให้ตรัสรู้ คือ หนึ่ง สติ สองธัมมวิจยะ สามวิริยะ มีความเพียร สี่ปิติ อิ่มใจ สี่วิปัสสัทธิ ความสงบใจ หกสมาธิ ความตั้งใจมั่น เจ็ดอุเบกขา การวางเฉย
    4) ธรรม คือ การพิจารณาให้เห็นว่ารูป ร่างกาย นาม คือ ความรู้สึก ความจำ ความคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นทุกข์ แปรปรวน และเสื่อมสลายตลอดเวลา มีวิญญาณคือประสาททั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของจิต ไม่ควรเอาจิตสนใจกับอายตนะทั้ง 6 นั้น ถ้าจิตไปสนใจกายหรือวิญญาณ (อายตนะทั้ง 6) ก็มีแต่ความทุกข์ใจ ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด
    วิปัสสนาแบบในพระไตรปิฏก ที่มีมาในขันธวรรค
    พิจารณาขันธ์ 5 คือร่างกาย ความคิด ความจำ เวทนา ความรู้สึกทุกข์หรือเฉย ๆ วิญญาณในขันธ์ 5 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่ใช่จิตใจตามแบบที่คนทั่วไปคิด วิญญาณไม่ใช่จิต คนละอย่างกัน จิตคือผู้รู้ ผู้มีความนึกคิด จิตเป็นนาย จิตเป็นนายของวิญญาณ คือความรู้หนาวรู้ร้อนหิว กระหาย เผ็ดเปรี้ยว นุ่มนิ่ม แข็งกระด้างเป็นวิญญาณ ใจคืออารมณ์ พระองค์สอนว่าทั้ง 5 อย่างนี้ ไม่ใช่ตัวเราเป็นของปลอม เป็นสมบัติของโลก ของธรรมชาติ เกิดขึ้นจากพ่อแม่ อาหาร ธาตุดินน้ำลมไฟ ประชุมกันชั่วคราว ตัวเราจริงๆคือจิตแรกเริ่มประภัสสร สะอาด แต่มามัวหมอง สกปรก เพราะมีความอยาก ความรัก ความหลง ความโกรธ ความไม่รู้ความจริงของโลก มาครอบงำจิต จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป นึกว่าจิตกับขันธ์ 5 เป็นอันเดียวกันแบบนี้ เป็นการเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ต้องเดินหลงทางผิด ก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ให้ดูร่างกายว่าไม่ใช่ของเรา จิตไม่ควรไปยึดถือจริงจังกับขันธ์ 5 อาศัยร่างกาย ทำความดี เพื่อจิตจะได้สะอาด ปราศจากกิเลส ไปอยู่พระนิพพาน หรือยังไม่ตาย จิตก็เป็นสุขยิ่งคือพระนิพพาน
    จิตมาอาศัยขันธ์ 5 อยู่ชั่วคราว ขันธ์ 5 ตาย ร่างกายตายพร้อมกับวิญญาณ ความรู้สึกประสาท สมอง ความคิดดีชั่ว ความจำ ความรู้สึกสุขทุกข์ ตายร่วมกับร่างกาย จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อยู่อาศัยใหม่ ตามบุญ บาป ผลกรรมส่งจิตไปที่สุข ที่ทุกข์ แล้วแต่ความดี ทำดีก็ไปสวรรค์ ทำชั่วก็ไปนรก ไปเกิดเป็นสัตว์หรือเป็นคนที่มีทุกข์ต่อไป จิตสะอาดไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย รูป นาม ขันธ์ 5 ก็ไปเสวยสุขแดนอมตะนิพพาน ไม่ต้องเกิดตายเป็นทุกข์อีก เคล็ดลับจริงของการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์คือจิตเราไม่อาลัย ยินดี ติดอยู่ในร่างกายเรา ร่างกายบุคคลอื่น โดยมีจิตฉลาด จิตรู้ จิตมีวิชชา รู้ความจริงของร่างกาย(ขันธ์ 5) ว่าเป็นสาเหตุแห่งการทุกข์ยากลำบากกายใจ เพราะร่างกายคือของชำรุดทรุดโทรม ต้องดูแลชำระล้าง ต้องหาอาหารเติมให้ร่างกายวันละ 3 มื้อ เป็นของที่ดองไว้ด้วยกิเลสร้อยแปดประการ เป็นของว่างเปล่า สูญสลาย เป็นอนัตตาในที่สุด ก่อนตายจิตก็จะต้องเจ็บปวด ทรมานกับกายจนทนไม่ไหว ร้องครวญคราง ร่างกายตาย จิตก็แสวงหาที่อยู่ใหม่ จิตฉลาดก็ไม่ต้องการกาย หมดตัณหามุ่งพระนิพพาน
    3. วิปัสสนาแบบที่ 3 คือ พิจารณาตามแบบอริยสัจ 4
    อริยสัจคือความจริงทำให้บุคคลเข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าหรือความจริงที่ทำให้ใจเราสะอาดบริสุทธิ์ กายก็ยังสกปรกเช่นเดิม เราปฏิบัติทางจิต ทางกายไม่ใช่ของเรา เป็นของเน่าเหม็นของโลก
    3.1 ทุกข์ ความทุกข์มีจริงตลอดเวลา แต่คนเห็นทุกข์ไม่ค่อยมี ข้าวคำเดียวจะใส่ในปากก็มาจากหยาดเหงื่อแรงงานเรา ทำงานหาเงิน ไปตลาด ทำอาหารหุงต้มจึงจะได้กิน เป็นไปโดยความเหนื่อยยาก ไม่ได้มาง่าย ๆ ต้องใช้สติปัญญาต่อสู้เพื่อหาวิชชา หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว อยู่คนเดียวก็หนัก ดูแลตัวเราเอง มีครอบครัว ก็ดูแลร่างกายหลายคน หนักเพิ่มขึ้น ความเจ็บป่วยกายมีตลอด คือ ความหิวต้องหาอาหาร เติมไว้ในกระเพาะ ไม่มีอาหารก็หิวทุกข์ทรมาน พระพุทธองค์ตรัสว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง ความทุกข์ จริง ๆ มันอยู่ที่ใจ เข้าไปยึดมั่นในร่างกายว่าเป็นตัวตน ตัวเขาตัวเรา ถ้าทำจิตแยกจากกายได้ ตอนที่ได้มโนมยิทธิแยกจิตออกจากกาย ไปอยู่บนพระนิพพานหรือว่าเข้าฌาน 4 ขณะนั้น จิตแยกจากกายเด็ดขาด จิตจะไม่ยอมรับรู้เรื่องประสาท ความทุกข์ของร่างกาย จิตจะเป็นสุขอย่างยิ่ง แสดงว่าร่างกายมันไม่รู้เรื่องจริง ๆ มันไม่ทุกข์ด้วย แต่อาการที่ทุกข์ คือเอาจิตไปจับไว้ในร่างกาย จึงทุกข์ทรมานเวลาเจ็บป่วย ไม่สบายกาย ทำจิตเฉยไว้ ปล่อยให้กายเจ็บ จิตไม่เจ็บด้วย ถ้าทำสมาธิถึงฌาน 4 ไม่ได้ ก็ใช้จิตดูความเจ็บปวดของร่างกายไว้ ใจจะไม่เป็นทุกข์ ปวดตามกาย
    3.2 สมุทัย คือ สาเหตุของความทุกข์ หรือเหตุให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตัณหา ความทะเยอทะยานอยากหรือความดิ้นรนอยากได้ตามความต้องการ ทำให้กระวนกระวาย เดือดร้อนใจ มีกาม ตัณหา ความใคร่ อยากได้ทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกินพอดี ความจำเป็นของร่างกายมีอยู่เป็นธรรมดา เช่น หิวก็ต้องหาอาหารกิน พระท่านไม่เรียกว่าตัณหา การแสวงหาทรัพย์สินมาได้โดยชอบธรรม ท่านเรียกว่า สัมมาอาชีวะ พระองค์สนับสนุนให้มีความขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน เลี้ยงชีวิต เพื่อความเจริญทางโลก เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ผู้ยากจน คำว่า ตัณหานี้ คืออยากได้เกินพอดี อยากลักขโมยเขา อยากโกงเขา เป็นคนจนทำมาหากินจนรวยท่านไม่เรียกว่าตัณหา เป็นสัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพถูกต้องไม่ผิดศีล
    ภวตัณหา มีอยู่แล้วอยากให้ทรงตัวอยู่ เช่น อยากหนุ่มสาว อยากแข็งแรงตลอดไป เป็นการฝืนธรรมชาติ ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    วิภวตัณหา มีอยู่แล้วเช่นคนรักจะต้องแตกสลายตายไป ก็หาทางทุกอย่าง ปกป้องกันไม่ให้มันพัง คือ พวกที่ทำผ่าตัดตกแต่งความแก่เฒ่าให้ดูอ่อนวัย ผลที่สุดก็คือฝืนธรรมชาติไม่ได้
    พระพุทธองค์สอนว่า ให้เอาจิต ยอมรับนับถือกฎธรรมดาของร่างเราเอง อะไรจะเกิดขึ้น เจ็บป่วยใกล้ตายก็ยิ้มรับเพราะรู้แล้วว่า เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น แต่ความจริงนั้นร่างกายตายแต่ตัวนอก ตัวในคือ กายในกาย พระท่านเรียกว่า อทิสมานกาย อทิสมานากาย คือ กายที่มองไม่เห็นโดยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยจิตที่สะอาด ปราศจากกิเลส เศร้าหมอง กายนอกคือขันธ์ 5 พระท่านสอนไว้ว่าอย่าสนใจกายนอก คือ กายเนื้อ กระดูก เลือด ที่เหม็นสกปรกทุกวัน เหมือนซากศพเคลื่อนที่ พระท่านว่าอย่าสนใจกายเนื้อ สนใจกับมันมากก็ทุกข์ใจมาก สิ่งที่ท่านให้เราสนใจพิจารณาดูมาก ๆ คือ กายในกาย เรียกว่า อทิสมานกาย หรือจิตอันเดียวกันนั้นจริง ๆ เราก็คือจิตหรืออาทิสมานกายมาอาศัยอยู่ในขันธ์ 5 หรือกายเนื้อชั่วคราว เพื่อ
    1. รับผลบุญ ผลบาป ผลกรรมจากอดีตชาติ
    2. เพื่อตอบแทนท่านผู้มีพระคุณที่เลี้ยงเรามา ได้แก่ คุณพ่อคุณแม่
    3. เพื่อปฏิบัติ จิตให้สะอาดบริสุทธิ์ พ้นจากวงกลมเวียนว่ายตายเกิด ไปเสวยสุขแดนทิพย์ อมตะ นิพพาน ตราบใดที่จิตยังไม่เข้าถึงแดนทิพย์นิพพาน จิตก็แสวงหาที่เกิดใหม่ เป็นเทพเทวดา นางฟ้า เป็นคน เป็นสัตว์นรก เป็นผีสลับกันไป เนื่องจากผลกรรมดี กรรมชั่ว เราเองเป็นผู้สร้าง
    ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ก็ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่มีจิตเป็นทิพย์ มีสมาธิสูง มีความรู้พิเศษ คือ ทิพจักขุญาณ มีญาณความรู้วิเศษจากผลของสมถะ มีประโยชน์มากในวิปัสสนาญาณ เป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในการเกิด รู้ใจผู้อื่น อารมณ์ดี จิตดีหรือชั่ว จะเห็นกายในกายของตนเองและผู้อื่นได้ดี เป็นเจโตปริยญาณ จะช่วยแก้ไขตัดกิเลสได้ง่าย
    กายในกาย(อทิสมานกาย เรียก สั้น ๆ ว่า จิต) แบ่งเป็น ๕ ขั้น
    1. กายอบายภูมิ รูปกายในกายซูบซีด ไม่ผ่องใส เศร้าหมอง อิดโรย ได้แก่ กายของผู้ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่นสัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน
    2. กายมนุษย์ เป็นคนแตกต่าง สวยสดงดงามไม่เท่ากัน ร่างกายเป็นมนุษย์ชัดเจนเต็มตัว
    3. กายทิพย์ กายในกาย ผ่องใส ละเอียดอ่อน เป็นเทพ รุกขเทวดา อากาศเทวดา มีเครื่องประดับมงกุฏแพรวพราว ได้แก่กายของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
    4. กายพรหม ลักษณะกายในกายคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่าใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ได้แก่ กายของพรหม ท่านมีฌานอย่างต่ำปฐมฌานสูงถึงฌาน 4 สมาบัติ 8 มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ
    5. กายแก้วหรือกายธรรมหรือพระธรรมกาย แบบที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำท่านสอนไว้ กายในกายของท่านที่เป็นมนุษย์แต่จิตสะอาด ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน หมดอวิชชา ฉลาดสว่างไสว เป็นกายของพระอรหันต์จะเป็นกายในกายของท่าน เป็นประกายพรึก ใสสะอาด สว่างยิ่งกว่ากายพรหมเป็นแก้วใส
    การรู้อารมณ์จิตตนเองมีประโยชน์มาก ในการคอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้าย กิเลสและอุปกิเลสของเราไม่ให้มาพัวพันกับจิต ยิ่งฌานสูง จิตก็ยิ่งสะอาดสามารถตัดกิเลสได้ง่าย อย่าคิดว่าสมถะไม่สำคัญ แม้พระพุทธองค์เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็เป็นผู้เลิศด้วยอานาปานุสสติ เพื่อระงับทุกข์ของร่างกาย เพื่อความเป็นอยู่สุข แม้ท่านปรินิพพาน พระพุทธองค์ก็เข้าฌาน 4 และจิตออกจากกายด้วยฌาน 4 เคลื่อนจิตบริสุทธิ์ของพระองค์ท่านเสวยสุข อมตะ พระนิพพาน ผู้ที่มีสมาธิจิตถึงฌาน 4 ก็สามารถสัมผัสถึงพระองค์ได้ ปัจจุบันนี้ท่านไม่สูญสลายหายไปไหน แม้ปรินิพพาน นาน 2542 ปีล่วงมาแล้ว พระองค์ยังส่งกระแสจิตที่เป็นอภิญญาช่วยโลกตลอดเวลาด้วยพระเมตตาคุณ หาที่สุดมิได้ กลับมาคุยเรื่อง อริยสัจ 4 ต่อ ข้อ 3 ด้วย
    3. นิโรธ คือการดับทุกข์ จะกำจัดทุกข์ออกไปจากจิตก็ต้องดับ หรือ กำจัดเหตุ ที่ทำให้เกิดทุกข์ คือร่างกาย ขันธ์ 5 นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ร่างกายขันธ์ 5 นี้เป็นสาเหตุที่มาของตัณหา กิเลส อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรมต่าง ๆ การดับทุกข์ก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยาก คือจิตเราไม่สนใจ อาลัยใยดีร่างกายขันธ์ 5 อีกต่อไป เลิกคบ ไม่เอา แต่จิตก็ต้องดูแลร่างกายตามหน้าที่ให้กายกินนอนอยู่สบาย แต่จิตไม่ยึดมั่น คิดว่าร่างกายขันธ์ เป็นของเราอีก ต่อไปคิดเพียงว่าเราคือ จิต กายในกาย หรือ อาทิสมานกาย มาอาศัยบ้านเช่าที่แสนสกปรก เหม็นเบื่อนี้ชั่วคราว ร่างกายนี้แตกทำลายเมื่อไร เราจิตเราจะดีใจมาก เราจะทำความดีเพื่อไปเสวยสุขแดนที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางให้ไป คืออมตะนิพพาน
    4. มรรค คือทางเดินเข้าสู่ความบริสุทธิ์ สะอาดสว่างของจิตอาทิสมานกาย กายภายใน มรรค 8 ประการนี้ พระองค์ทรงชี้ทางปฏิบัติ แบบสบาย ๆ สายกลาง ไม่ขี้เกียจจนเกินไป ไม่ขยันจนเกินไป ไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไป คือ
    1) สัมมาวาจา พูดจริง พูดไพเราะ พูดเป็นประโยชน์
    2) สัมมาวาชีโว ทำงานหาเลี้ยงชีวิตที่สุจริต
    3) สัมมากัมมันตะ ทำงานที่ดี คือ งานกำหนดลมหายใจเข้าออก ดูว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ เช่น ลมหายใจมันเป็นของมันโดยอัตโนมัติ ห้ามไม่ให้หัวใจหยุดเต้นไม่ได้ต้องตายตามเวลา
    (ปฏิบัติในขั้นสมาธิ มี 3)
    4) สัมมาวายาโม ความเพียรที่จะกำจัดกิเลสตัณหา ให้หมดไปจากจิตให้ได้
    5) สัมมาสติ ระลึกถึงความดี เห็นว่าร่างกายเป็นเพียงของปลอม ไม่ใช่ของเรา เป็นที่อาศัยชั่วคราว ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมคือทุกอย่างในโลกเป็นไตรลักษณะ ไม่ทนทาน เป็นปัญหายุ่งยากเมื่อสลายไป และอนัตตา ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ไม่มีใครควบคุมให้อยู่ตลอดไปได้
    6) สัมมาสมาธิ มีจิตตั้งมั่นอยู่ในที่ระลึกถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ทำได้ตลอด จิตไม่วุ่นวาย ผู้ที่มีสติระลึกได้ในความดีของจิต สะอาด ปราศจากความโกรธ ความโลภ ความหลง เรียกว่า ผู้ทรงฌาน คือ ผู้มีสมาธิ ตั้งแต่ ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 จนถึงฌาน 4 จะมีความฉลาดเฉลียว ทั้งทางโลกทางธรรม
    (ปฏิบัติในขั้นปัญญา)
    7) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นว่าร่างกาย โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นสุขจริง ความเห็นว่า มีการเกิด การตาย มีชีวิตอยู่เพราะกรรม จะหมดกรรมได้ต้องหมดกิเลส ความเห็นว่าตายแล้วไม่สูญดังที่คิด บาป กรรม บุญ มีจริง สิ่งที่สูญจริง คือขันธ์ จิตที่สะอาดแจ่มใสไปสุคติ จิตที่ชั่ว มัวหมอง ผิดศีลธรรม ไปทางนรก สัตว์ เปรต อสุรกาย มีความเห็นตรงตามพระพุทธองค์ทรงสั่งสอน
    8) สัมมาสังกัปปะ ระลึกถึงพระนิพพาน พระรัตนตรัย ระลึกไม่ยึดติดในขันธ์ 5 ร่างกายเป็นทุกข์ โทษ ระลึกว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ ไม่น่ารักใคร่ ยินดี จิตไม่อาลัยทุกสิ่งในโลก
    อภิธรรมปริเฉท 9
    บทที่ 9 นี้พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง กรรมฐาน 40 และวิปัสสนา 10 ซึ่งเป็นของเลิศประเสริฐสุด ที่ท่านใดก็ตามไม่ว่าชาติ ศาสนาใดปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระพุทธชินวรในกรรมฐานอันใดอันหนึ่งในกรรมฐาน 40 นี้ พร้อมกับวิปัสสนาญาณ 10 นี้ มีความอุตสาหะวิริยะไม่เกียจคร้าน ตั้งใจไว้จริงก็จะมีบารมีแก่กล้า จะได้บรรลุธัมมาพิศมัย คือ เป็นพระอริยเจ้าขั้นอรหัตตผลถ้าบารมียังอ่อนก็จะเป็นอุปนิสัยสำเร็จมรรคผลพระนิพพานในชาติต่อไป ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในโลกที่เต็มไปด้วยภัยอันตรายวุ่นวายทำมาหากิน มีสวรรค์ พรหม เป็นที่ไปและไปบำเพ็ญบารมีต่อ บนสวรรค์ พรหมเลื่อนระดับจิตเข้าเสวยวิมุติสุขยอดเยี่ยมตลอดกาลแดนบรมทิพย์พระนิพพาน
    กรรม คือ การกระทำสมาธิภาวนา ฐาน คือ รากฐานหรือพื้นฐานแห่งบุญบารมีเพื่อยกระดับจิตให้สะอาด
    กรรมฐาน แปลว่าพื้นฐานของการทำจิตใจให้มั่นคงมีสมาธิ ทำให้จิตที่ฟุ้งซ่าน รวมเป็นจิตที่นิ่งเฉย เพื่อรวบรวมพลังจิตที่ฟุ้งซ่านรวมเป็นจิตที่นิ่งเฉย หรือรวบรวมพลังจิตไว้ต่อสู้ฆ่ากิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชาให้หมดไปจากจิต เพื่อจิตจะได้เป็นอิสระเสรีจาก ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ จิตเป็นอิสระเสรีจากการเวียนว่ายตายเกิดพ้นจากกฎแห่งกรรม จิตสะอาดฉลาดได้เสวยสุขยอดเยี่ยมแดนทิพย์อมตะนิพพานที่องค์สมเด็จพระชินศรีศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชี้ทางกรรมฐาน 40 อย่างวิปัสสนาญาณ10 ให้เราเจริญรอยตามพระพุทธองค์ท่าน
    7. ในสมถกรรมฐาน 40 อย่างมีอะไรบ้าง
    สมถกรรมฐาน 40 อย่าง คือการฝึกจิตให้ตั้งมั่น จิตไม่วอกแวกสอดส่ายนิ่งกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดใน 40 อย่างนี้ เลือกตามใจชอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือชอบใจทุกอย่างก็ทำได้ทุกอย่างเพื่อยกระดับจิตปุถุชนเป็นจิตของอริยบุคคลในพระพุทธศาสนามีพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตตามอัธยาศัยของพุทธบริษัท มีดังนี้คือ
    กสิณ 10 อย่าง ได้แก่ 1. ปฐวีกสิณ(ดิน) 2. อาโปกสิณ(น้ำ) 3. เตโชกสิณ(ไฟ) 4. วาโยกสิณ(ลม) 5. นิลกสิณ(สีเขียว) 6. ปีตกกสิณ(สีเหลือง) 7. โลหิตกสิณ(สีแดง) 8. โอทากสิณ(สีขาว) 9. อากาสกสิณ(ลม) 10. อาโลกสิณ(แสงสว่าง)
    อนุสสติ 10 อย่าง ได้แก่ จิตที่ตามระลึกนึกถึงคุณความดี 10 อย่างทำให้จิตสะอาดเป็นจิตพระอริยได้ง่าย ๆ เป็นกรรมฐานที่เข้าถึงความเป็นอริยบุคคลได้ง่ายรวดเร็วว่องไวเป็นจิตของผู้มีศรัทธาในพระพุทธองค์
    11. พุทธานุสสติกรรมฐาน คิดถึงพระคุณความดีของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    12. ธัมมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนคือ ศีล สมาธิ พระนิพพานเป็นปัญญาพระธรรมมีมากแบ่งออกเป็นโลกียธรรมและโลกุตตรธรรม
    13. สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระคุณความดีนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาสอนพวกเราและพระอริยสงฆ์ทั้งหลายทั่วทั้งโลกมนุษย์ เทวโลก พรหมโลก ท่านมีพระคุณความดี เรานึกถึงท่านด้วยความเคารพ
    14. สีลานุสสติกรรมฐาน ตั้งใจตั้งจิตไว้ว่าเราไม่ทำความชั่วโดยละเมิดศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 ข้อ ศีลเป็นรากฐานของผู้มีจิตฉลาดไม่ยอมทำบาปทั้งกายใจ
    15. จาคานุสสติกรรมฐาน นึกถึงการทำบุญให้ทานที่ทำแล้วและตั้งใจทำเพื่อสละละกิเลสออกจากจิตใจเป็นการตัดความโลภโดยง่าย
    16. เทวตานุสสติกรรมฐาน นึกถึงหิริ โอตัปปะความละอายต่อบาปมีผลให้เป็นเทวดาเป็นความดีงานของเทวดาไม่ยอมทำบาปทั้งที่ลับและที่แจ้ง
    17. มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความทรุดโทรมความเสื่อมสลายความตายของทุกอย่างในโลกเกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น ไม่ว่าตนสัตว์วัตถุสิ่งของ
    18. อุปสมานุสสติกรรมฐาน การระลึกนึกถึงคุณความดีของพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นโลกุตตรธรรมอยู่เหนือโลกเหนือบาปเหนือบุญ เหนือการเวียนว่ายตายเกิด เป็นธรรมชาติอมตะสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีธาตุ 4 ขันธ์ 5 มีจิตของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์มากมายหลานพันล้าน พระนิพพานกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีขอบเขตพรหมแดน ผู้ที่เข้าแดนทิพย์นิพพานมีอิสระเสรี จะมาโลกนี้จะไปนรกสวรรค์พรหมไม่มีใครมาห้ามได้ แต่ไม่ต้องไปเกิดอีกท่านมาด้วยจิต หรืออยู่ที่นิพพานจะดูโลกนี้ก็เห็นได้โดยง่าย โดยไม่ต้องมาเห็นได้ทั่ว
    อนัตตจักรวาลเพราะมีตาทิพย์หูทิพย์ การระลึกถึงพระนิพพานจึงทำให้จิตสะอาด เป็นกรรมฐานของท่านผู้ฉลาดเป็นพุทธจริต ทำความดีทุกอย่างเพื่อพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดมีพระนิพพานเป็นที่ไปของจิต ขันธ์ 5 ก็แตกสลายเป็นอนัตตา จิตเป็นอมตะไปเสวยสุขอย่างยิ่งตลอดกาลไปอยู่กับองค์พระพิชิตมารศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    19. อานาปานุสสติกรรมฐาน นึกถึงลมหายใจเข้าออก กรรมฐานนี้เป็นสติสัมปะชัญญะละเอียดทำให้จิตเป็นฌาน ฌาน1-ฌาน 4 มีปัญญาสามารถตัดขันธ์ 5 ได้ง่าย ๆ ทำให้อนุสติทั้งหมดทรงตัว ทำให้กสิณคือ สิ่งที่เพ่งเป็นจิตมีพลังเป็นฌานถึงฌาน 4 ที่ พระโบราณาจารย์ที่ท่านปฏิบัติได้ผลมาแล้ว คือพระอรหัตตผล
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วท่านไม่ได้ทิ้งอานาปานุสสติ แม้ท่านจะละขันธ์ 5 เข้าพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เข้าฌาน1-2-3-4-5-6-7-8 เพื่อระงับทุกขเวทนาทางกาย จิตสบาย จิตพระองค์ท่านเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในฌาน 4 การทรงฌานทำให้เกิดปัญญาเฉียบแหลมทั้งทางโลกทางธรรม ตื่นเป็นสุขหลับสบาย วิปัสสนาญาณก็แจ่มใสเพราะปัญญาฉลาดมาก การที่จะมีอภิญญาสมาบัติก็เริ่มต้นด้วยการรู้ลมหายใจเข้าออกจนจิตชินละเอียดเป็นฌาน 1-2-3-4-5-6-7-8 ก็ฌาน 5-6-7-8 ก็คือ ฌาน 4 แต่จิตเพ่งอยู่ในสิ่งที่ไม่มีรูป คือ อากาศและวิญญาณ สัญญา เป็นต้น
    20. กายคตานุสสติกรรมฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ในพระไตรปิฎกว่า ให้พิจารณาร่างกายเป็นของมีทุกข์มีโทษแปรปรวนเจ็บป่วย หิวหนาวร้อน แถมสกปรกเหม็นเน่าตลอดเวลา ท่านให้จิตเราพิจารณาตามความเป็นจริงของขันธ์ 5 รูป+นาม คือ ร่างกายที่จิตเราได้อาศัยแท้ที่จริง ร่างกายเป็นเพียงหุ่นที่จิตเรามาอาศัยอยู่ชั่วครู่ชั่วคราว ถ้าร่างกายตาย จิตเรามีจุดหมายปลายทาง คือ พระนิพพาน ที่พระโไตรโลกนาถศาสดาชี้ให้เราเดินทางสายกลาง คือ มรรค 8 มีทาน ศีล ภาวนาเป็นผลบุญหนุนนำส่งเมืองแก้วเมืองทิพย์พระนิพพานเป็นของจริง ส่วนร่างกายเป็นของปลอมเป็นของสกปรกแตกสลายตายง่ายไม่ควรยึดติดของสมมุติเป็นของปลอมของสูญเปล่า ขณะที่ร่างกายยังไม่ตาย ดูลมหายใจจนจิตเป็นสมาธิแล้วเปลี่ยนมาดูวิจัยร่างกายเราตามความเป็นจริง จิตเราจะละทิ้งเลิกรักหลงใน ร่างกายได้ง่าย เพราะมีปัญญาดี เห็นเหตุของทุกข์ เห็นผลคือ ไม่สนใจร่างกาย ผลคือ จิตเป็นสุขจิตสะอาดท่านเรียกว่า จิตพระอริยเจ้า การพิจารณาร่างกายนี้เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณคือ เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของจิต จิตกับกายแยกกันคนละส่วน เป็นการตัดสักกายทิฏฐิและเป็นมหาสติปัฏฐานสูตร
    ข้อแรกคือ ดูกายดูแล้วเลิกละยึดติดในกาย เพราะกายเป็นของปลอมเป็นอนัตตา จิตเป็นอมตะเป็นของจริงเป็นของสะอาดบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่จะเสวยสุขยอดเยี่ยมแดนทิพย์อมตะนิพพานได้
    อสุภกรรมฐาน10
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ให้พิจารณาร่างกายเป็นซากศพ 10 รูปแบบตั้งแต่ตายวันที่ 1 จนถึงซากศพวันที่ 10 สำหรับผู้ที่มีราคะจริตรักสวยรักงามของร่างกาย ถ้าพิจารณาร่างกายเป็นซากศพจนเป็น เอกัคคตารมณ์อารมณ์นิ่งอารมณ์เดียวเป็นปกติ ก็เป็นปัจจัยเข้าถึงพระอนาคามีโดยง่ายดาย
    ให้ดูคนหรือสัตว์ตายเพราะสกปรกเหมือนกัน ตายวันที่หนึ่ง สิ้นลมปราณตัวแข็ง ธาตุไฟหมด ตัวเย็นชืด ธาตุลมหมด เหลือแต่ ธาตุน้ำกับธาตุดิน
    ตายวันที่ 2 เริ่มมีน้ำไหลออกจากรูทวารทุกรูจากร่างกายน้ำเหม็นเน่าท้องเริ่มเขียว
    ตายวันที่ 3 ซากศพบวม อ้วนพี มีกลิ่นเหม็นซากศพเหม็นตุ ๆ
    ตายวันที่ 4 - 5 น้ำอืด น้ำเหลือง มีมันจุกเนื้อหนังปริขึ้นอืดเต็มที่ สิ่งสกปรกในร่างกายไหลออกมา เพราะธาตุน้ำแยกออกจากธาตุดินในซากศพส่งกลิ่นเหม็นไปไกล
    วันที่ 6-7 ซากศพเริ่มแตกแยกเละเทะเหม็นไปทั่วทิศเหม็นเน่า
    วันที่ 7-8 มีหมู่หนอนเกิดขึ้นชอนไชกินซากศพเป็นอาหาร แมลงวันตอม
    วันที่ 8-9-10 ซากศพกระจัดกระจายเละเทะกระดูกอยู่ที่เนื้อเน่าเละเทะไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีหน้าตาเหลืออยู่แล้ว แขนขากระจาย เป็นเหยื่อของหนอนแมลง
    ท่านให้มองดูซากศพแล้วย้อนมองดูร่างกายตัวเราก็เป็นแบบนั้น ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ใหลหลง จิตจะหลุดพ้นจากความหลงในกายเรา กายเขาได้ง่าย เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณ ตอนแรกก็ใช้สัญญาความจำ ต่อไปก็ใช้ปัญญามองความเป็นจริงของชีวิตร่างกาย ก็คือ ซากศพเดินได้ พูดได้ ตายทุกวัน ตายจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่เข้าวัยชรา จากวัยชราก็วัยตายไม่เหลือหลอ
    กรรมฐานทั้ง 40 มีกสิณ 10 กับอนุสติ 10 กับอสุภกรรมฐาน 10 รวมเป็น 30 กรรมฐาน
    อีก10 กรรมฐานคือ
    พรหมวิหาร 4 กรรมฐาน
    31. เมตตา ต่อคนสัตว์ทั้งโลกมีความรักสงสารสัตว์โลกที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
    32. กรุณา หาทางช่วยตามความสามารถเท่าที่ช่วยได้
    33. มุทิตา พลอยยินดีกับผู้ได้ดี ไม่ริษยาโมทนาสาธุกับผู้ที่มีความดี ความสุข
    34. อุเบกขา จิตวางเฉยถ้าช่วยเขาไม่ได้ ถ้าวางเฉยในความสุข ทุกข์ของขันธ์ 5 เป็นจิตของพระอรหันต์
    อรูปฌาน 4 กรรมฐาน คือ มีสมาธิทรงฌานทางไม่มีรูปอีก 4 อย่าง ได้แก่
    35. อากาสานัญจายตนะ ท่านที่ภาวนาจิตถึงฌาน 4 แล้วเป็นรูปฌาน จิตจับภาพกสิณใดกสิณหนึ่ง จะเป็นรูปพระพุทธรูป เป็นกสิณก็ได้ ถ้าพระพุทธรูปเป็นแก้วใสเรียก อาโลกสิณในพุทธานุสสติกรรมฐาน ควบกัน 2 กรรมฐาน จนจิตเข้าถึงฌาน 4 เป็นรูปฌาน ท่านจะเข้าอรูปฌานก็ให้ภาพกสิณหายไปไม่สนใจแล้วจิตจับอรูปเข้าแทน คือ พิจารณาอากาศไม่มีรูป เวิ้ง ว้าง ว่างเปล่า ไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตเราก็เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น จิตพิจารณาอากาศแบบนี้ในฌาน 4 ท่านถือว่าเป็นอรูปฌานที่ 5 เป็นกรรมฐานไม่ต้องการรูป เพราะมีรูปถึงมีทุกข์ ร่างกายเรามีรูปจึงมีทุกข์เวทนาท่านก็จับพิจารณาร่างกายให้หายไปเหลือแต่อากาศ
    36. วิญญาณัญจายตนะ จากฌานที่ 5 ในอากาศท่านให้ทิ้งอากาศออกไปจากจิต พิจารณาวิญญาณในขันธ์ 5 แทนอากาศ จิตยังคงไว้ฌาน 4 แล้วจิตมาดูวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้ร่างกายตายเป็นผียังมีความรู้สึกทางวิญญาณ สุข ๆทุกข์ ๆ เพราะมีประสาทวิญญาณรับสัมผัสและถ้าจิตยังติดอยู่ในวิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส ทางกาย อารมณ์ ใจที่ชอบไม่ชอบนั้นมีสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่สิ้นสุดเพียงใด เวิ้งว้างว่างเปล่าเหมือนวิญญาณ หาจุดเริ่มต้นจุดที่สิ้นสุดไม่ได้ จิตเราก็เวียนว่ายตายเกิดตามวิญญาณของคนของสัตว์เป็นผี เป็นผีเทวดา เป็นผีพรหม ถึงแม้จะเป็นกายพรหม กายเทพ เป็นวิญญาณมีความสุขมากแต่ก็ไม่ถาวรตลอดกาล คิดแบบนี้ท่านว่าได้ อรูปฌาน 6
    ถ้าเป็นพระอริยเจ้าได้อรูปฌาน 6 ท่านเรียกว่าได้ สมาบัติ 6 ถ้าเป็นฌานโลกีย์ ยังไม่เป็นอริยบุคคลท่านเรียกว่า โลกีย์ฌาน 6 ตายแล้วก็ไปเกิดในอรูปพรหม แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้าได้สมาบัติ ก็เข้าพระนิพพานได้ง่าย เพราะมีปัญญาเข้าใจแล้วว่าอรูปพรหมไม่ใช่แดนทิพย์ถาวรและไม่ใช่สุขยอดเยี่ยมเช่นพระนิพพาน
    37. อากิญจัญญายตนะ ท่านเปลี่ยนจากการพิจารณาวิญญาณยังไม่สิ้นสุดของความทุกข์ มาเป็นพิจารณาเห็นว่าโลกนี้ทั่วอนันตจักรวาลสูญสลายตายหมดเป็นอนัตตาแตกสลายพังทั้งสิ้นไม่ว่า คน สัตว์ วัตถุ ไม่มีอะไรเหลือสูญสลายหมด มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเหลือแต่ว่างเปล่า ถึงแม้มีคน สัตว์ วัตถุ ก็มีเพียงชั่วครู่ชั่วคราวมิช้ามินานก็สูญสลายตายกันหมด เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณจิตทรงฌาน 4 อยู่แบบนี้มองไปในโลกมีแต่ความว่างเปล่าไม่มีอะไรเหลือ เรียกว่า ท่านทรงอรูปฌานที่ 7 คือ อากิญจัญญายตนะ จิตเป็นสุขแต่ยังไม่จบกิจทางพระพุทธศาสนา
    38. เนวสัญญานาสัญญายตนะ จิตยังคงทรงฌาน 4 หรือ อรูปฌานที่ 7 แล้วเปลี่ยนจากการพิจารณาความไม่มีอะไรเหลือแม้แต่น้อยนิด แต่อารมณ์ยังไม่หมดทุกข์เพราะมีความจำได้หมายรู้ จำชื่อ จำคนรัก จำทรัพย์สมบัติ จิตยังหนักอยู่ ท่านจึงพยายามตัดสัญญาความจำออกไปโดยการที่จิตทำเฉย ๆ ทำเหมือนไม่มีความจำ ทำให้ลืมจากขันธ์ 5 เขาขันธ์ 5 เรา ไม่มีตัวไม่มีตน จิตแบบนี้คล้ายจิตของพระอรหันต์เพราะเป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนาญาณ จิตมีความสุขมาก พระพุทธองค์ท่านสอนไม่ให้ติดความสุขในฌานสมาบัติ 5-6-7-8 เป็นเพียงบันไดของจิตเพื่อให้มีปัญญาชาญฉลาดเข้าถึงพระอรหัตตผล ด้วย สมาธิวิมุตติ สายปฏิสัมภิทาญาณ ไม่สนใจตัวเราตัวเขา ทำจิตทรงในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะ ถ้ายังมีความจำได้หมายรู้ ก็ยังมีการยึดมั่นถือมั่น จิตยังไม่เบาจริง ยังหนักด้วยการจำ ท่านทรงฌาน ทำเป็นไม่จำไม่สนใจ คือ ฌานในอรูป 8 สมาบัติ 8 ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    อรูปฌานสี่อย่างย่อ
    อรูปฌานที่1นั้นจิตละทิ้งรูปอารมณ์เข้าสู่อากาศธาตุเป็นความรู้สึกเบาโปร่ง
    อรูปฌานสองพิจารณาวิญญาณ(ตัวรู้)้เป็นอารมณ์บริกรรมคำว่าอนันตัง วิญญานังเมื่อคำบริกรรมหยุดจึงเรียกว่าอรูปฌานสอง
    อรูปฌานสามนั้นพิจารณาความว่างสภาพที่ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
    บริกรรมคำว่านัตถิกิญจิ
    อรูปฌานสี่ สภาวะเกิดดับยังสืบเนื่องอยู่ทุกข์ก็ยังไม่สิ้นสุด พึงน้อมความสงบดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาด้วยคำว่าสันโตๆเป็นการกำหนดรู้สัญญาว่าเป็นไตรลักษณ์ (มีสติรู้ว่าเหมือนได้ดับสัญญารู้แล้วก็ไม่เชิง)
    เมื่อชมคือการเอาจิตพิจารณาอรูปฌานทั้งสี่ว่าเป็นไตรลักษณ์แล้วจิตก็เข้าสู่สภาพนิพพานคือ เกิดสภาพดับคือจิตรวมใจคือความรู้สึกไม่ยึดติดอารมณ์รู้อรูปฌานสี่เป็นของเรา

    39. อาหารเรปฏิกูลสัญญากรรมฐาน
    พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาอาหารที่คนเราติดในรสอร่อยของอาหารทำให้อยากเกิดมากินอาหารอร่อย ๆ ถูกใจจิตก็ยึดติดในรูปรสกลิ่นเสียง ทำให้ตกอยู่ในทะเลทุกข์เป็นคนสัตว์เวียนไปเวียนมา เพราะติดใจในรสอาหาร พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาอาหาร ก่อนฉันก่อนกินว่ามาจากซากศพสัตว์สกปรก ซากพืชก็เน่าเหม็นสกปรก ร่างกายอยู่ได้ด้วยของสกปรกร่างกายก็ยิ่งสกปรกมากเป็นกรรมฐานเหมาะสำหรับผู้ฉลาดเป็นพุทธจริต ชอบคิด ชอบรู้ พระองค์ท่านก็ให้รู้ของจริง คือ อาหารไม่น่าติดใจหลงใหล เพราะเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ไม่ถึงพระนิพพาน เพียงแต่กินระงับความหิว รู้ว่าอร่อยแต่ไม่ถือว่าเป็นของที่ทำให้จิตเป็นสุข ถ้าติดในรสจิตก็ติดในโลกไม่มีทางพ้นทุกข์ได้ การกินอาหารเจไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์ แต่ต้องกินแบบไม่ติดในรสอาหาร ให้พิจารณาเป็นของสกปรกบำรุงร่างกายสกปรก จิตจึงจะสลัดละความหลงติดในรสอาหารได้ ถ้าไม่หลงกาย ก็ไม่หลงในรสอาหาร อร่อยกินเพื่อระงับความหิว
    40. จตุธาตุววัฏฐาน 4
    กรรมฐานบทนี้เหมาะสำหรับคนฉลาด นิสัยชอบค้นคว้า อยากรู้อยากเห็นคนมาจากไหน ตายแล้วไปไหนเป็นพุทธจริต เป็นกรรมฐานพิจารณาค้นคว้า วิจัยคนสัตว์ตามความเป็นจริง คือ ร่างกายคนมี ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลมหรืออากาศมีแก๊สออกซิเจน ไนโตรเจร คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนประกอบกันเป็นนิวเครียสเซลล์เนื้อหนังมังส่ กระดูกของแข็งเป็นธาตุดิน น้ำ ก็มาจากธาตุโฮโดรเจนกับออกซิเจนผสมกัน ธาตุไฟคือ ความอบอุ่นในร่างกายเกิดจาก การเผาผลาญอาหารที่เรากิน เป็นพลังงานกับความอบอุ่น ทำให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ ถ้าเราไม่เติมอากาศออกซิเจน ไม่เติมน้ำ อาหารให้ร่างกายตลอดวัน ร่างกายก็ตายทันที
    ดังนั้นร่างกายนี้เป็นภาระอันหนักจิตเราผู้อาศัยต้องหาน้ำ อาหาร อากาศเติมให้ร่างตลอดเวลา สกปรกเหม็นเน่าต้องชำระล้างไม่ได้หยุด พิจารณาไปจนเห็นว่า กายเป็นของธรรมชาติเป็นของโลกอยู่ใต้กฎของธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น แล้วก็สลายตัวทุกสิ่งทุกอย่าง จิตเราไม่สลายตามร่างกายจึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปหลงรักรูปที่เป็นเพียงภาพมายา เป็นของปลอมของชั่วคราว จิตเราควรก้าวไปหาของจริงคือ พระนิพพาน เป็นของจริงไม่สูญสลาย ตามที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เราหาทางพ้นทุกข์ คือ อย่าติดในของปลอม คือร่างกายเพราะทำให้ผิดหวัง
    ในกรรมฐานทั้ง 40 แบบนี้ แบบที่ยากที่สุดเพราะละเอียดที่สุดคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่คลุมกรรมฐานทั้ง 40 แบบ เวลาปฏิบัติท่านให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบทุกกรรมฐานทั้ง 40 แบบ คือ การภาวนา ถ้าธัมมานุสสติก็จับภาพพระธรรมเป็นดอกมะลิแก้วใสแพรวพราวไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์พระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    สำหรับอุปสมานุสสติกรรมฐาน คือ จับภาพพระนิพพาน ผู้ที่ฝึกมโนมยิทธิจิตจะเห็นภาพพระนิพพาน ภาพพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเบื้องบนพระนิพพาน ยกจิตไปฝากไว้กับองค์พระพิชิตมารไว้ตลอดเวลาจิตเบามีความสุขเป็นจิตนิพพานไม่มีกิเลสเกาะรบกวน
    ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกมโนมยิทธิ ท่านก็ให้เอาจิตจับภาพพระพุทธรูปแทนก็ได้ ท่านที่เข้าถึงพระนิพพานองค์แรก คือ พระพุทธเจ้า ก็จับภาพพระพุทธรูปแล้วภาวนาว่า นิพพานสุขัง จนจิตเป็นฌาน 4 จะมีปัญญาตัดกิเลสได้ทั้งหมด ได้กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 ร่วมกับวิปัสสนาญาณ คือ ทุกคนในโลกนี้ ไม่มีใครเป็นสุขจริง มีแต่ความแปรปรวน ทุกอย่างสูญสลายไม่ว่านรกโลก เทวโลก พรหมโลก ก็เป็นพระอรหันต์จบกิจในพระพุทธศาสนาได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องฝึกทั้ง 40 กรรมฐาน
    การฝึกให้จิตมั่นคงในคำภาวนาจะพุทโธ สัมมา อรหัง นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ เป็นการนึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าดีทุกอย่าง ทำให้เราเป็นผู้ชนะทุกอย่าง เพราะพลังบุญบารมีเป็นมหากุศล มีพลังจิตบวกกับพลังพระพุทธานุภาพเพื่อเอาชนะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
    คุณประโยชน์ของการฝึกกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 นั้นมีมากมายมหาศาล คือ มีความสุขกายสุขใจ ซึ่งแม้จะร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีก็ไม่มีความสุขเท่า การมีจิตมั่นคงในการภาวนา ร่างกายไม่มีโรคภัยเบียดเบียน มีสติปัญญาชาญฉลาดทั้งทางโลกทางธรรม มีคนเคารพนับถือ มีคนเมตตา มีจิตใจร่าเริงเบิกบานเพราะไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจใดๆ รบกวนจิตใจของท่านที่มีสมถะภาวนา เป็นการตัดภพตัดชาติ ตัดการเวียนว่ายตายเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง หลุดหายไปด้วย เจโตวิมุติ หลุดพ้นทุกข์ด้วยสมาธิภาวนา จิตเข้าถึงอริยมรรคอริยผลได้รวดเร็ว มีความร่ำรวยทางธรรมมีความร่ำรวยทางโลก มีลาภ ยศ สรรเสริญ เจริญสุข มีพระนิพพานในจิตใจ ความทุกข์จากการเกิดแก่เจ็บตายไม่รบกวนจิตใจ ตายจากความเป็นคน จิตท่านที่เจริญพระกรรมฐานก็เข้าเสวยสุขเบื้องบนพระนิพพานตลอดกาลนาน











    วิปัสนูปกิเลส 10 ประการสำหรับพระนักปฏิบัติ
    อารมณ์สมถะละเอียด 10 อย่างที่ควรระวัง ซึ่งไม่ใช่วิปัสสนาญาณแท้ เป็นเพียงญาณโลกีย์ ต่อเมื่อนักปฏิบัติยกจิตเป็นพระอริยเจ้าอย่างต่ำชั้นพระโสดาบันแล้ว อาการ 10 อย่างนี้จะเปลี่ยน โลกุตตรญาณ คือ ความรู้ยิ่งกว่าทางโลก ควรระมัดระวังไม่ให้หลงว่าท่านได้มรรคผล อุปกิเลส 10อย่างมีดังนี้
    1) โอภาส จิตกำลังพิจารณาวิปัสสนาญาณอยู่ระดับอุปจารสมาธิ ย่อมเกิดแสงสว่างมาก จงอย่าพึงพอใจว่าได้มรรคผล อย่าสนใจแสงสว่าง ให้ปฏิบัติต่อไป
    2) ญาณ ความรู้เช่นทิพจักขุญาณ จากจิตที่เป็นสมาธิภาวนา สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลก รู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ตามสมควร เลิกทำต่อไป หลงผิดคิดว่าได้ บรรลุมรรคผล ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ควรระมัดระวังไม่ให้หลงผิด
    3) ปีติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้ม เบิกบาน มีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายลอย กายเบา โปร่งสบาย สมาธิ แนบแน่นเป็นผลของสมถะยังไม่ใช่มรรคผล
    4) ปัสสัทธิ ความสงบระงับด้วยฌานสมาธิ ความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง คล้ายจะไปสิ้น ท่านว่าเป็นอุเบกขาฌานในจตุตฌานอย่าเพิ่งหลงผิดคิดว่าบรรลุมรรคผล
    5) สุข ความสบายกายใจ เมื่ออยู่ในสมาธิ อุปจารฌานระดับสูง หรือ ฌาน 1-ฌาน4 มีความสุขกาย จิต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต เป็นผลของภาวนา ไม่ใช่มรรคผล
    6)อธิโมกข์อารมณ์น้อมใจเชื่อโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้พิจารณาถ่องแท้เป็นอาการศรัทธา ไม่ใช่มรรคผล
    7) ปัคคาหะ ความเพียรพยายามแรงกล้าไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค อย่าเพิ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลเสียก่อน เป็น การหลงผิด
    8) อุปัฎฐาน มีอารมณ์เป็นสมาธิ สงัด เยือกเย็น แม้แต่เสียงก็ไม่ได้ยิน อารมณ์ที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติคิดว่าบรรลุมรรคผล
    9) อุเบกขา ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมาธิฌาน 4 ต้องระวังอย่าคิดว่าวางเฉยเป็นมรรคผล
    10) นิกันติ แปลว่าความใคร่ไม่อาจมีความรู้สึกได้เป็นอารมณ์ของตัณหา สงบไม่ใช่ตัดได้เด็ดขาด อย่าพึ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล กิเลสยังไม่หมดเพียงแต่ฌานกดไว้ซึ่งเข้าใจสัญญาเดิมของตนว่าเข้าถึงนิพพานอารมณ์ๆเป็นของเรา แล้วแต่หาได้ถึงอารมณ์นิพพานไม่เพราะว่าไปยินดีในเวทนาขันธ์ เช่น รู้ไม่เท่าทันนามสงบ สุข อุเบกขา จึงทำให้เกิดการยึดติดในอารมณ์จนไปยินดีกับอารมณ์วิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุให้หลงว่านิพพานเป็นอัตตา ซึ่งแท้ที่จริงนั้นปัญญาของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติต้องเห็นด้วยปัญญาไม่ใช่เห็นด้วยสัญญาหรือสังขาร(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกอย่าไปหวังให้มันสำเร็จ เพราะถ้านึกแล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันซึ่งเป็นอารมณ์รู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่ามีจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริญไปด้วยปัญญา (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)


    คำถามอะไรคือความไม่รู้
    ตอบว่า การเห็นว่าร่างกายและโลกนี้น่าอยู่เป็นสุขนี่แหละคือ ความไม่รู้ความจริงของชีวิตว่า ชีวิตร่างกายเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก ต้องทุกข์ทนมีภาระสารพัด จะต้องเอา
    ใจใส่ดูแล

    คำถามที่ว่า ใครบ้างหนอที่มีอวิชชา
    ตอบว่า ใครก็ตามที่มีความพอใจในความเป็นอยู่ของชีวิต และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลก มีความพอใจในลาภยศ สรรเสริญ เจริญสุขในทรัพย์สมบัติของโลก มีความรักใคร่ชีวิตตนเอง ครอบครัว อุปาทาน หลงทึกทักเอาว่าเป็นชื่อของเรา ตัวเรา ทรัพย์สมบัติของเราจริง มีจิตผูกพันในชีวิต สิ่งของรอบข้างเป็นของเราตลอดกาล ชื่อว่าท่านมีฉันทะ พอใจ ราคะ มีความกำหนัดยินดีในสมบัติของท่านเรียกว่าความไม่รู้ หรือความไม่ฉลาด

    คำถามสุญญตาหมายถึงอะไร
    ตอบว่า สุญญตา หมายถึงความไม่มีอะไรเหลือเลย เป็นศูนย์ ไม่มีค่าสูญสิ้นหมด สุญญตาเป็นธรรมชาติ เกิดขึ้นเอง แล้วเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สลายไปในที่สุด ขันธ์ 5 รูปร่างกาย เวทนา ความรู้สึกทุกข์ สังขาร ความคิดทั้งหลาย สัญญา ความจำทั้งหลาย วิญญาณ ความรู้สึกระบบประสาททั้งหลายในกาย คือ สุญญตา ไม่มีอะไรเหลือ แตกสลายหายไปเป็นสูญ พระอรหันต์ท่านสามารถแยกจิตบริสุทธิ์ ออกจากขันธ์ 5 ได้เด็ดขาด ขันธ์ 5 นั้นก็สูญสลายไปจากจิตบริสุทธิ์ของท่าน พร้อมด้วยตัณหา ความอยาก อุปาทาน ความยึดหมายว่า มีตัวตนเป็นนั่นเป็นนี่(อัตตา) กิเลส ความเศร้าหมองของจิต อวิชชา ความไม่ฉลาดรอบรู้ธรรมชาติของสุญญตา อกุศลกรรม การผิดศีล ดังนี้สมบัติของขันธ์ 5 คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศล ก็พลอยหายไป จิตเป็นพุทธะ สะอาด สว่างฉลาดเป็นผู้รู้เป็นผู้เบิกบานตลอดกาลได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงพระนิพพาน














    สำหรับผู้ปรารถนาพุทธภูมิ
    พุทธภูมิ
    พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
    1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
    ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย
    หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์
    ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรก เหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย
    และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
    2. ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32
    อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
    3. วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากับล์
    คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64
    อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
    ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระศรีศากยมนีโคดมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาพุทธเจ้า
    พระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตะโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้
    2.พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตะโพธิสัตว์
    ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว
    แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยี่ยมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้
    แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย
    ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์
    จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้
    - กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อโลกมนุษย์ปรากฎขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป
    - อสงไขย เป็นหน่วยวัดเวลา ที่มากกว่ากัป คือจำนวนกัป ที่นับไม่ถ้วน เท่ากับ 1 อสงไขย
    *** ตามที่เคยคำนวณมา 1 อสงไขย เท่ากับ จำนวน กัป ที่เอาเลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว
    - ต่อไปคำว่า สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

    บารมี 30 ทัส
    กล่าวถึงบารมี 10 ทัสก่อน มี ดังนี้
    1. ทานบารมี คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า
    2. ศีลบารมี คือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
    3. เนกขัมบารมี คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรือน ถือศีล 8 ขึ้นไป
    4. ปัญญาบารมี คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
    5. วิริยะบารมี คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ
    6. ขันติบารมี คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย
    7. สัจจะบารมี คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
    8. อธิษฐานบารมี คือตังจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
    9. เมตตาบารมี คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
    10. อุเบกขาบารมี คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น
    บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
    1. บารมี ธรรมดาทั่วไป
    2. อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
    3. ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
    เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส
    อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
    พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
    1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
    2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
    3. ไม่เป็นคนบ้า
    4. ไม่เป็นคนใบ้
    5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
    6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
    7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
    8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
    9. ไม่เป็นสตรีเพศ
    10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
    11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
    12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
    13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
    14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
    15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
    16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
    17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
    18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น
    อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
    สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่ยังเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต่อพระพักตร์พุทธเจ้า ต้องมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์ จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ก็กลายเป็น นิยตะโพธิสตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้
    ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ
    1. ได้เกิดเป็นมนุษย์
    2. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
    3. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลี่ยนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
    4. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อพระพักตร์
    5. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤาษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสผู้ครองเรือน
    6. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
    7. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีตชาติ
    8. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง
    กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ
    1. อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
    2. อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
    3. อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
    4. หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจรีญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ
    อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ
    1. เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
    2. วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ
    3. อโลภ พอใจในการบริจาคทาน
    4. อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
    5. อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
    6. นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง

    ธรรมะข้อปฏิจจสมุปบาทนั้นทำอย่างไรจะเข้าใจได้ง่าย ๆ
    ธรรมะข้อปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงถึงสาเหตุของการเกิดคือ ความอยากเกิดอยากมี อยากได้ มีความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนดี คิดว่าโลกน่าอยู่ สวรรค์ พรหม หน้าอยู่ เป็นสุขดี มีผล คือ ความทุกข์จากการเกิดมีขันธ์ 5 ก็มี แก่ เจ็บ ความผิดหวัง เศร้าโศก เจ็บปวดทรมาน แล้วก็ตาย แล้วก็เวียนไปเวียนมาไม่รู้จักจบจักสิ้น เปรียบเหมือนร่องรอยของยางรถยนต์ที่หมุนไปมาหาที่เกิดหาที่หยุดไม่ได้ แรกเริ่มก็มีจิตที่ประภัสสรสะอาดสดใสมาก่อน แต่ไม่ค่อยจะฉลาดนัก ผ่านมาเห็นโลกก็เข้าใจผิดคิดว่าโลกนี้น่าอยู่ ความเข้าใจผิดคิดว่า โลกนี้น่าอยู่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านเรียกว่า อวิชชา
    จิตที่มีอวิชชานั้นก็มีความคิดดีคิดชั่วคิดผิด ๆ ถูก ๆ เรียกว่า สังขาร อารมณ์ความคิดผิด ๆ ถูก ๆ สังขารมี จึงเกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ต่าง ๆนานา เรียกว่าจิตนั้นมีปฏิสนธิวิญญาณทำให้เข้ามาอยู่ในวงกลมวัฏฏสงสาร หรือจิตเข้าไปเกิดเป็นตัวคนสัตว์
    ปฏิสนธิวิญญาณของจิตทำให้เกิด เป็นคนหรือสัตว์ตามบุญตามบาปมีรูปร่างกายและนาม คือ มีขันธ์ 5 คือ
    กาย เวทนา(ความรู้สึกสุข ๆทุกข์ ๆ ) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (ความรู้สึกทางระบบประสาท)
    พอมีขันธ์ 5 ทั้งรูปกายที่มองเห็นและนามอีก 4 อย่างคือ ความคิดปรุงแต่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ ความจำและวิญญาณ ระบบประสาททางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมองไม่เห็นแต่ซ่อนอยู่ในกายคนสัตว์ทุกคน นามทั้ง 4 อย่างนี้ชาวพุทธทุกท่านโปรดเข้าใจว่าเป็นส่วนเดียวกับร่างกาย ไม่ใช่ของจิตพุทธะแรกเริ่มก่อนเกิดไม่เอาไปปนกันกับขันธ์ 5 ที่เป็นของชั่วคราว ของสมมุติ ของอนัตตาบังคับไว้ไม่ให้ตายไม่ได้ ถ้าเอาไปปนกันแล้วยุ่ง ทำให้เข้าใจผิดไม่เข้าใจอภิธรรมกันมากก็เพราะ เอาจิตไปปนกับวิญญาณในขันธ์ 5 คิดว่าเป็นตัวเดียวกัน
    จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่ตาย วิญญาณคือ ระบบประสาททุกส่วนในร่างกายคน สัตว์ มีตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น ตายไปกับร่างกายเป็นอนัตตา
    พอมีรูปกาย ก็มีอายตนะ คือ ตา หู จมูก สิ้น สัมผัส ประสาทกาย ใจ คือ ความรู้สึกทางกายทั้งหมด ใจอันนี้เป็นอารมณ์ใจของขันธ์ 5 ไม่ใช่จิตแรกเริ่มที่ประภัสสรสะอาดมาแต่ก่อน แต่มามัวหมองเพราะความเข้าใจผิดคิดว่าโลกนี้น่าอยู่ ความเข้าใจผิดนี้คือ อวิชชา ก็วกกลับมาถึงสาเหตุแรกเริ่มของการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวงกลมอย่างนี้ วงกลมเกิด ๆ ตาย ๆสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่มีวันจบสิ้น องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ชื่อว่า ปฏิจสมุปบาท

    (1)มหาสติปัฏฐาน 4 คือ
    (1.1) กายานุปัสสนา จิตดูร่างกายสกปรกมีภาระหนักต้องดูแลรักษาแล้ว กายก็เจ็บทรมานตายเป็นอสุภะซากศพ มีจิตรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกเพื่อทำจิตให้มั่นคงเป็นสมาธิเพื่อเอาชนะกิเลส เอาจิตไม่สนใจร่างกายมีความฉลาดรอบรู้ว่ากายไม่ดีไม่น่าหลงใหล ร่างกายเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง
    (1.2) เวทนานุปัสสนา จิตพิจารณาดูความรู้สึกของกายของอารมณ์สุขหรือทุกข์ดูแล้วก็ละทิ้งเวทนาเพราะไม่แน่ไม่นอนไม่ใช่ของจริง
    (1.3) จิตตานุปัสสนา เอาจิตเรานี่ดูอารมณ์ใจในขันธ์ 5 ตนเองว่า อารมณ์ใจคิดดี คิดชั่ว คิดฉลาดหรือไม่ ฉลาดคือ คิดตามความเป็นจริงว่า ทุกอย่างในโลกสูญสลายไม่ยืนยงตายหมด ถ้าจิตคิดชั่ว ก็ตัดออกไปเลิกคิด ทำจิตให้หลุดพ้นจากขันธ์ทั้ง 5 อารมณ์ใจในขันธ์ 5 นั้นไม่ใช่อันเดียวกับจิต ไม่ควรยึดถือเอาเป็นของเรา ใจอันนี้เป็นส่วนหนึ่งของอายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ควรปล่อยวางไม่ให้มาวุ่นวายกับจิต
    (1.4) ธัมมานุปัสสนา จิตพิจารณาธรรม เพื่อ
    - ป้องกันมิให้นิวรณ์มารบกวนจิต
    - พิจารณาขันธ์ 5 ไม่ใช่ของจิต
    - อายตนะ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่ของจิตเป็นเพียงวิญญาณอายตนะ 6
    (2) โพชฌงค์ 7 ทำจิตให้มีโพชฌงค์ 7 อยู่ประจำใจเพื่อช่วยยกระดับจิตเป็นจิตพุทธะ คือ มีสติระลึกไว้ ธัมมวิจยะเลือกไตร่ตรองธรรมะที่ชอบที่ถูก วิริยะ เพียรพยายามระงับกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ ปิติอิ่มเอมใจในการทำความดี ปัสสาธิ จิตสงบจากกิเลสตัณหาอุปาทานจิต ไม่วุ่นวายกับขันธ์ 5
    สมาธิ จิตตั้งมั่นในอารมณ์ที่เป็นกุศลฉลาด มีสมาธิในกรรมฐาน 40 หรือมหาสติปัฏฐานสูตร
    อุเบกขา มีจิตวางเฉยในความทุกข์สุขทางโลกเห็นเป็นของธรรมดาหมดความยึดติดในสามโลก
    (3) อริยมรรค 8 อย่าง คือ ทางเดินของจิตเป็นทางเดินเข้าพระนิพพานที่ทำให้เป็นจิตอริยเจ้า พระอริยสาวกมี 8 ขั้น คือ
    1. พระโสดาบันปัตติมรรค
    2. พระโสดาบันปัตติผล
    3. พระสกิทาคามีมรรค
    4. พระสกิทาคามีผล
    5. พระอนาคามีมรรค
    6. พระอนาคามีผล
    7. พระอรหัตตมรรค
    8. พระอรหัตตผล

    ปัญญา = สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกะปะ มีความคิดเห็นถูกต้องในพระนิพพานกับจิต
    ศีล = สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีโว พูดดีทำดี เลี้ยงชีพดี
    สมาธิ = สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตพยายามตั้งใจมั่นในความดีในกรรมฐาน 40 ในมหาสติปัฏฐานสูตรอย่างใดอย่างหนึ่งดีทั้งนั้น
    (4) พละ 5 มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง 5 นี้เป็นพลังที่จะทำให้จิตสะอาดเข้าถึงอริยธรรมได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อความหลุดพ้นคือ พระนิพพาน
    (5) อินทรีย์ 5 อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ที่จะทำให้จิตบรรลุเป็นจิตพระอริยเจ้า มี 5 อย่างดังนี้ ศรัทธาอินทรีย์ วิริยอินทรีย์ สติอินทรีย์ สมาธิอินทรีย์ ปัญญาอินทรีย์
    (6) อิทธิบาท 4 คือ ทางปฏิบัติที่จะทำให้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าเข้าพระนิพพานได้ง่าย ๆ รวดเร็ว ปรารถนาอะไรก็ประสบความสำเร็จรวดเร็วได้ง่าย ทั้งทางโลกทางธรรม ทั้งอิทธิฤทธิ์ก็ได้ทุกอย่าง มี 4 อย่างคือ
    ฉันทะ มีความพอใจที่จะประพฤติธรรม
    วิริยะ มีความเพียรไม่ท้อถอยที่จะเอาชนะสังโยชน์ 10
    จิตตะ มีจิตมุ่งมั่นไม่วางวายที่จะสลัดละทิ้งขันธ์ 5 ออกจากจิตเพื่อจิตจะได้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด
    วิมังสา ใช้ปัญญาไตร่ตรองว่าทำถูกหรือไม่ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    อิทธิบาท นี้ถ้าทำได้ครบจะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะสำเร็จอภิญญา 6 ก็ได้ จะอธิษฐานอยู่นาน ๆ กี่ปีก็ได้
    (7) สัมมัปปธาน คือมีความขยันหมั่นเพียรที่จะเอาชนะกิเลสมี 4 ประการ คือ (1) เพียรละบาปอกุศลความชั่วในจิต (2) ความเพียรไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น (3) ความเพียรให้มีกุศลธรรมตั้งไว้ในจิต (4) ความเพียรเอากุศลธรรมในจิตที่มีแล้วให้มีมาก ๆ นาน ๆ ตลอดเวลา





    วิสุทธิ 7 ประการ
    วิสุทธิ 7 ประการ คือ จิตจะถึงความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมมี 7 อย่าง คือ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพได้ด้วยความบริสุทธิ์ 7 ประการ

    1. สีลวิสุทธิ คือ ไม่ละเมิดศีล 5 ศีล 8 หรือ ศีล 227 ข้อ ตามกำลังของท่าน
    2. จิตตวิสุทธิ จิตจะสะอาดได้ก็กำจัดกิเลสร้ายคือ นิวรณ์ 5 ได้เด็ดขาด
    3. ทิฏฐิวิสุทธิ คือ มีจิตเข้าใจมีความคิดเห็นตรง ไม่ขัดแย้งกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ความเห็นที่ว่าตายแล้วจิตสูญตามขันธ์ 5 หรือพระนิพพานเป็นอนัตตา เป็นความเห็นผิดไม่ตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระองค์ว่า นิพพานนังปรมังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าจิตสูญสลายตามขันธ์ 5 นิพพานเป็นอนัตตาแล้วไซร้ จะเอาอะไรไปเป็นสุขอย่างยิ่งเล่า โลกนี้เป็นทุกข์เพราะ เป็นอนัตตา พระนิพพานเป็นสุข เพราะพระนิพพานไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่ตัวตน คือ อมตะธรรมชาติที่วิเศษยิ่ง ไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีขันธ์ทิพย์แห่งกายเทพกายพรหม ไม่มีอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปบุญกรรม ตามไม่ถึงอิสระเสรีตลอดกาล
    4. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ จิตจะบริสุทธิ์ ผุดผ่องสะอาดได้ด้วยหมดความสงสัยกังขาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์สวัสดิโสภาคย์ ที่พระองค์ท่านมีเมตตาต่อปวงชน สั่งสอนเทวดา พรหม คน สัตว์ ชี้แนะแนวทางแสงสว่างของชีวิตคือ พระนิพพาน ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระพุทธรูป (องค์แทนพระพุทธเจ้า) ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเข้าใจในพระธรรม คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ผู้นั้นเห็นองค์พระตถาคต ผู้ใดเห็นพระตถาคตผู้นั้นเห็นเข้าใจพระนิพพาน อยู่ในจิตในใจของทุกท่านเอง คือ จิตหลุดพ้นจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน อกุศลกรรมทำชั่วไม่มี
    5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นไปของจิต คือ ถ้าจิตใจยังผูกพันในอวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของชีวิต มีกิเลส โลภ โกรธ หลง มีตัณหาความอยาก มีบาปกรรมชั่ว ติดในรสอาหาร ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน ผีเปรต คน เทวดา พรหม เวียนเกิดเวียนตายไม่มีวันหยุดยั้งจนกว่าจะจบกิจ มีจิตสะอาดเข้าพระนิพพานได้
    6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ จิตสะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน ได้ด้วยการรู้ฉลาดเข้าใจตามความเป็นจริงของโลก ของร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษ เพราะแปรปรวนเสื่อมสลาย มีแต่ของสกปรก น่ารังเกียจเป็นของสมมุติ เป็นของปลอม เป็นภาพมายา หลอกหลอนให้จิตหลงตลอดเวลา เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความวางเฉยเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลก ของขันธ์ 5 ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ยินดียินร้ายกับขันธ์ 5 คือ มี วิปัสสนาญาณ 10 อย่างนั่นเอง เป็นหนทางที่จะทำให้จิตสะอาดเป็นพระอรหัตตผลขีณาสพเจ้ามีจิตพระนิพพานพ้นจากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้ยังไม่ตายจิตก็เป็นสุขเลิศล้ำ ทั้ง ๆ ที่ร่างกายยังเจ็บป่วยทุกข์ทรมานตามธรรมชาติของโลก จิตท่านไม่เกาะเกี่ยวกับความทุกข์ในขันธ์ 5 อีกต่อไป
    7. ญาณทัสสนวิสุทธิ จิตสะอาดบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากพลังของญาณของสมาธิภาวนา พ้นจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชาด้วยปัญญาที่เข้าฌาน 1-2-3-4 เป็นอัปปนาสมาธิกำลังแก่กล้า สำเร็จกิจตัดกิเลส อย่างอยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเป็นพระอรหันต์ พระอริยบุคคลที่สูงสุดในพระศาสนาเรียกว่า สมาธิวิมุตติ สำเร็จกิจด้วยกำลังของฌานสมาบัติเป็นปัญญารู้รอบวิปัสสนาญาณ ตามความเป็นจริง






















    หัวใจของการเจริญพระกรรมฐาน
    1. จุดประสงค์ขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ สอนพระกรรมฐานเพื่อให้พุทธบริษัทมีจิตเข้าถึงอริยมรรค คือ พระโสดาปฏิมรรค เป็นอย่างน้อยและถึงอริยผลคือพระอรหัตผลพ้นจากความทุกเวียนว่ายตายเกิด
    2. เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาดด้วยการกำจัดนิวรณ์ 5 ตัวที่ทำให้จิตสกปรกมี
    กามราคะ หลงรักรูปสวยงาม เสียงกลิ่นรสสัมผัสนึกว่าเป็นของดี ที่จริงของสกปรกของอนัตตาทั้งสิ้น
    ปฏิฆะ ความไม่พอใจไม่ชอบใจ ทำให้จิตเป็นทุกข์ไม่แจ่มใส เพราะความโกรธ ความพยาบาท น้อยใจหรืองอนก็คือความโกรธ
    ความง่วงเหงาหาวนอน เวลาปฏิบัติธรรมทำความดี กิเลส ขี้เกียจ เข้ามาขวางทางให้ไปนอนอ้างไปทำอย่างอื่นหรือดูทีวีบ้าง
    อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ จิตซ่านไปทั่วจิตใจ ไม่ยอมอยู่นิ่งๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสังขารมารหรือ ขันธ์ 5 มาร จิตฟุ้งซ่านนอกเรื่อง พระองค์ให้ปราบจิตพยศฟุ้งซ่านด้วยให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสีย ให้จิตตามลมหายใจเข้าออกนับ1-10 ดูลมกระทบจมูก-กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ คือ กระบังลม ยกปอดขึ้น ยกปอดลง ถ้าจิตยอมอยู่กับลมหายใจได้เล็กน้อย 5-10 นาที โดยไม่คิดเรื่องอื่น ท่านเรียกว่า จิตอยู่ในฌานมีอารมณ์ดิ่งมั่นคงดีชนะกิเลสฟุ้งซ่าน
    นิวรณ์กิเลสที่กวนใจไม่ให้เข้าถึงความดี ตัวที่ 5 คือ วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจในพระธรรม คำสั่งสอนของพระภูมิพระภาคเจ้า ไม่มั่นใจในการปฏิบัติของตนว่า จะได้ผลตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนหรือไม่ ตัดความสงสัยด้วยการพิจารณาโลกนี้ เป็นทุกข์ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนหรือไม่ ถ้าร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษสกปรกจริง บาปบุญมีจริงตายแล้วไม่สูญหายยังมีนรก สวรรค์ พรหม พระนิพพาน มีผลไปตามบุญตามบาปจริง เราศรัทธาในพระปัญญาในพระเมตตาคุณ ในพระวิสุทธิคุณว่าพระพุทธองค์บริสุทธิ์จริง เรารักเคารพศรัทธา พระพุทธองค์ผู้ล้ำเลิศประเสริฐจริง เราก็เลิกหายสงสัย ผู้ที่มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยไม่คลอนแคลน คือ คุณสมบัติของพระโสดาบัน นอกจากมีศีล 5 ครบ เคารพพระรัตนตรัยด้วยใจจริงแท้ และมีพระนิพพานเป็นยอดปรารถนาของการเกิดเป็นคนก็เป็นผู้ครบพร้อมด้วยลักษณะของพระโสดาบัน เห็นความตายไม่กลัวตายเพราะจิตมีพระนิพพานเป็นที่ไป เป็นของง่ายไม่ต้องนั่งหลับตา อยู่ที่จิตตั้งมั่นเป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนาญาณ
    3. หัวใจหรืออุบายที่จะเข้าถึงมรรคผล คือ ไม่เคร่ง ไม่หย่อนขี้เกียจหรือขยัน จนเกินไป ทั้งเวลาทำสมาธิพิจารณาวิปัสสนาญาณ อย่าทรมานร่างกาย จิตใจจนเกินไป กายอยากนอน อยากกิน อยากหลับ ก็ปล่อยไปตามความสบายของร่างกาย จิตใจอยากคิกก็ให้มันคิดในด้านความเป็นจริง ใจอยากนิ่ง ๆ ไม่อยากคิดก็ให้ดูลมหายใจ ที่ถูกต้องทำจิตทำใจให้วางเฉยต่อความทุกข์ความสุขในโลก จิตใจปลอดโปร่งสบาย เป็นทางสายกลาง การที่จิตเราไม่ไปยุ่งวุ่นวาย
    อภิธรรมหมวดที่ 7 คือโพธิปักขิยะสังคหะ
    พระอภิธรรมอย่างย่อทั้ง 9 บท มี 9 อย่างคือ
    คือต้นเหตุ 4 อย่างที่นำจิตให้ไปเกิดภพที่เป็นความทุกข์ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และคนมีวิบากกรรมสาหัส เหตุทั้ง 4 คือ (1) อวิชชา (2) กิเลสสังโยชน์ 10 อย่าง (3) ตัณหาความอยาก (4) อุปาทาน
    ทำให้ทำบาปกรรมผิดศีล 5 ข้อ เป็นเหตุให้ไปเกิดในแดนนรก มีความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
    โพธิปักขิยะสังคหะ คือ ธรรมะที่เป็นกุศล ปฎิบัติตามแล้วยกระดับจิตให้สะอาดสดใสเบิกบานเป็นอริยบุคคลมีพระนิพพานเป็นจุดหมายเป็นปรมัตถธรรมหรือโลกุตตรธรรม
    โพธิปักขิยะ 37 อย่างเป็นธรรมะที่ยกระดับจิตเป็นพระอริยเจ้าเข้าถึงพระนิพพาน คือ ความสุขยอดเยี่ยมตลอดกาลแบ่งเป็น 7 ข้อ
















    วิธีฝึกจิต
    จิตผู้รู้ไม่ใช่ตัวตน จิตไม่มีตัวตน เป็นอนัตตาเป็นจิตไม่เที่ยงแต่จิตนั้นมารวมกับใจได้โดยกำหนดรู้รูปนามแล้วดับรูปนามได้(ดับคือ พิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์แล้วเข้าสู่การดูความรู้สึกของตนเองว่าไม่ยึดติดสังขาร(ความคิด)(วิญญาณคือดับตัวรู้ได้)ดับสัญญา( จำได้ว่าต้องเป็นอย่างนี้) ดับเวทนาได้ว่าละเวทนาปล่อยวางเวทนาถึงที่สุดแล้ว(ไม่ไปยินดี หรือติดใจในเวทนา) นั่นจะเรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิพพานนั่นเอง คือจิตดับสูญจากการยึดติดว่าเป็นตัวตนทั้งปวง ก็คือว่ารู้เท่าทันความรู้สึกนิพพานแล้วปล่อยวางนั่นเองไม่ยึดติดตัวรู้ว่าเป็นตัวตนเป็นเขาเป็นเรานั่นเองเพราะตัวตนไม่มีอะไร จิตเราไม่ได้ปรุงแต่งมีเจตนาหวังผลทำเพื่อตัวเองแต่จิตไม่มีตัวตนเวลาคิดพูดทำอะไรก็เป็นเพียงกริยา ไม่ยึดติดรูปนามว่าเป็นตัวตนว่าตัวตนได้คิดพูดทำอะไรสักเเต่รู้ว่าจิตเราคิดแล้วปล่อยวางไม่ไปยึดติดเอาอารมณ์วิปัสสนาและสมาธิและฌานมาเป็นตัวตนเป็นของเราคือละความสงบให้ได้ถึงขั้นละเอียดคือปล่อยวาง ละรู้นามสงบ นามอุเบกขา นามฮธิโมก นามญาณ นามปัสสัทธิ นามอุปัฏฐาน นามปัคคาหะนามรู้จากรูปฌานและอรูปฌานและ(นามนิกันติ คือไม่ไปติดใจและสำคัญตนว่ารู้ถึงแล้วในนามเหล่านี้) คือไม่ไปหลงสมมติในรูปและนามเหล่านี้ว่าเป็นตัวตนเป็นเขาเป็นเรานั่นเอง
    -การที่เราพิจารณาข้อเสียตนเองทุกวัน ฝึกอุบายละความหงุดหงิดใจให้หายไปจนรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองว่าเรามีอารมณ์รู้เท่าทันกิเลสที่ผ่านเข้ามาในอารมณ์เราจะทำให้เราไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม 8 ไม่ยินดี ยินร้ายทุกข์สุขเพราะจิตเรารวมใจตลอดเวลา ซึ่งอารมณ์นี้จะทำให้เรามีความรู้สึกที่ปล่อยวางจากอารมณ์ 6 จะทำให้สามารถรู้เท่าทันคำว่า ต้องการ ไม่ต้องการได้ สิ่งนี้ไม่ใช่ของเราได้ รู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวาง(ไม่ยึดติดความคิดตน)คือ รู้ว่าความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความคิดของตนเป็นไตรลักษณ์และอย่าไปหวังอะไรในอนาคตให้มากพึงคิดว่ามีอุปสรรคเสมอคิดว่าทำวันนี้ให้ดีที่สุด เมื่อจำเหตุการณ์ในอดีตได้ให้เชื่อในสิ่งที่เข้าหลักไตรลักษณ์เกิดดับเสมอ หรือรู้ธรรมะให้รู้เท่าทันความจำตนและเมื่อรู้ทันธรรมะแล้วเข้าใจอารมณ์ตนเองว่าเป็นเช่นนั้นให้ปล่อยวาง
    -นึกเมตตาผู้ด้อยกว่าเรา นึกอนุโมทนาผู้ที่เท่าเทียมเราและสูงกว่าเรา(อย่าเอาตนเองไปเปรียบเทียบกับใครว่าเท่าเขา ต่ำกว่าเขาจะทำให้เกิดอคติ และรู้เท่าทันการพอใจในบุคคลนั้นและไม่พอใจในบุคคลที่เราไม่ชอบ จะทำให้เรานั้นมีอารมณ์อุเบกขา หลังจากนั้นให้ปล่อยวางจะทำให้รู้เท่าทันเวทนาขันธ์ เช่น ความปิติ ความสุข ความสงบ อุเบกขา เป็นเช่นนั้นเองจะทำให้เรารู้ว่ารูปธรรม นามธรรมนั้นเป็นไตรลักษณ์ ไม่หลงสมมติกับการที่เป็นคนดี ไม่ดี โง่ ฉลาด

    บทสวดมนต์อย่างย่อๆ
    บทอิติปิโสย่อ อิสวาสุ
    บทบูชาหลวงปู่ทวด นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา สามจบ
    บทบูชาพระพุทธเจ้า ห้าองค์ นะโมพุทธายะ 3 จบ
    บทสวดชินบัญชรย่อ ชินะปัญชะระปะริตตังมังรักขะตุสัพพะทา
    บทสวดถอนคุณไสย ขับไล่ภูตผี คุ้มครองเวลาขับรถ สัมปะติจฉามิ
     
  2. Tom

    Tom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2005
    โพสต์:
    266
    ค่าพลัง:
    +289
    อ่านแล้วหนุกดี lotte เอามาจากหนังสือเล่มไหนอ่ะ จะไปหามาอ่านมั่ง
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
  4. kiatkiat

    kiatkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +826
    ขอบคุนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...