ทิเบตร้อนสุด ธารน้ำแข็งหิมาลัยละลายเร็วขึ้น

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 สิงหาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>ทิเบตร้อนสุด ธารน้ำแข็งหิมาลัยละลายเร็วขึ้น

    คอลัมน์ โลกสามมิติ

    โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    อุณหภูมิบริเวณที่ราบสูงทิเบต หลังคาโลกสูงขึ้นถึง 0.3 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นต่อทศวรรษสองเท่า จากการศึกษาของกรมอุตุนิยมวิทยาของทิเบต อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยละลายเร็วขึ้น

    ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่สูงในเขตร้อนของโลกกำลังได้รับผลจากปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับบริเวณขั้วโลก ซึ่งกว่า 50 ปีมาแล้วที่อุณหภูมิบริเวณอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอน ตาร์กติกาขั้วโลกใต้ได้เพิ่มสูงขึ้น 0.5 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ

    เมื่อปี 2000 นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบริเวณที่ราบสูงทิเบตซึ่งพบว่าอุณหภูมิไม่ได้สูงขึ้นเพราะองค์ประกอบเวลาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสูงขึ้นเพราะองค์ประกอบความสูงด้วย ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า ที่ราบสูงคือหนึ่งในบริเวณที่มีความอ่อนไหวที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การศึกษาในปี 2006 ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

    ดร.ลอนนี ทอมป์สัน นักธารน้ำแข็งวิทยาผู้มีชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ กล่าวว่า "ไม่ว่าคุณจะอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาแอนดีส หรือในแอฟริกาก็ตาม อุณหภูมิกำลังสูงที่สุดในบริเวณที่สูงที่สุด" และว่าเรากำลังเห็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นในอัตราเร่งซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการละลายหรือหดตัวของธารน้ำแข็งในที่สูงซึ่งเรากำลังเห็นกันอยู่

    อุณหภูมิที่สูงขึ้นในที่สูง ทำให้ธารน้ำแข็งภูเขาที่เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ และเทือกเขาแอลป์ในยุโรป กำลังละลายอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันกับธารน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    การศึกษาขององค์กร World Glacier Monitoring Service (WGMS) ซึ่งเผยแพร่เมื่อต้นปี 2007 พบว่า ธารน้ำแข็งภูเขาหดตัวหรือละลายเร็วกว่าที่เคยเกิดในทศวรรษที่ 1980 ถึงสามเท่า โดยธารน้ำแข็งบางลงโดยเฉลี่ยเท่ากับ 66 เซนติเมตร ในปี 2005 คิดเป็นอัตรา 1.6 เท่าของทศวรรษที่ 1990 และสามเท่าของทศวรรษที่ 1980

    WGMS ทำการศึกษาธารน้ำแข็งกลุ่มตัวอย่าง 30 สายที่ภูเขาทั่วโลกจำนวน 9 ลูก โดยวัดความบางของธารน้ำแข็งเป็นเมตรเทียบเท่าน้ำ กล่าวคือ น้ำ 1 เมตรเทียบเท่าน้ำแข็ง 1.1 เมตร สิ่งที่พบก็คือ ธารน้ำแข็งภูเขาสูญเสียน้ำแข็งเทียบเท่าน้ำไปแล้ว 9.6 เมตรนับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา

    ไมเคิล เซมป์ นักวิทยาศาสตร์ของ WGMS บอกว่าเมื่อ 150 ปีก่อนธารน้ำแข็งมีมากที่สุดในประวัติศาสตร์ธารน้ำแข็งในช่วงเวลา10,000 ปี แต่หลังจากปี 1850 ลดลงถึง 50% และน้อยที่สุดในช่วงเวลา 10,000 ปี

    สำหรับเทือกเขาแอลป์ข้อมูลบ่งชี้ว่าธารน้ำแข็งหดตัวเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา โดยสูญเสียน้ำแข็งโดยเฉลี่ย 1 เมตรในทุกๆ ปี และสูญเสียน้ำแข็งไปแล้ว 19 เมตร ตั้งแต่ปี 1980 ปัจจุบันธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาแอลป์มีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เมตรเท่านั้น

    นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่าหากอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียล ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์จะหายไปประมาณ 80% จะเหลือเพียงธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดและอยู่สูงที่สุดเท่านั้น <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาที่มีความสำคัญต่อประชากรโลกมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของโลกรองจากบริเวณขั้วโลก มีธารน้ำแข็งหลายพันสายและทะเลสาบที่เกิดจากธารน้ำแข็งอีกหลายพันแห่ง ธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดคือ ธารน้ำแข็งเซียเชน ยาว 72 กิโลเมตร อยู่ระหว่างแจมมูกับแคชเมียร์

    เทือกเขาหิมาลัยเป็นแหล่งน้ำให้กับประชากร 1 ใน 6 ของโลก เพราะเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญในเอเชียถึง 7 สาย คือแม่น้ำคงคาในอินเดีย แม่น้ำอินดุสในปากี สถาน แม่น้ำบราห์มาปุตราในบังคลาเทศ แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเหลืองในจีน แม่น้ำอิระวดีในพม่า และแม่น้ำโขงซึ่งไหลผ่านหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    หากธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยละลายมากขึ้นจะเกิดอุทกภัย ในพื้นที่ของประเทศอินเดีย ภูฏาน เนปาล และเขตปกครองตนเองทิเบต เพราะทะเลสาบธารน้ำแข็งจะแตก และหากธารน้ำแข็งละลายจนหมดประชากรโลกหลายร้อยล้านคนจะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง

    ปี 2002 หน่วยงาน United Nations Environment Program (UNEP) ของสหประชาชาติร่วมกับ International Center for Integrated Mountain Develop ment (ICIMOD) เผยผลการศึกษาธารน้ำแข็งจำนวน 4,000 สายและ ทะเลสาบ 5,000 แห่งในประเทศเนปาลและภูฏาน โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม และภาพถ่ายจากเครื่องบินเป็นเวลานาน 3 ปี ซึ่งพบว่าทะเลสาบธารน้ำแข็ง 20 แห่งในเนปาล และ 24 แห่งในภูฎานอยู่ในสภาวะอันตราย

    ทีมนักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่าทะเลสาบเหล่านี้มีโอกาสแตกในกลางทศวรรษหน้า เพราะปริมาณน้ำมหาศาลจากธารน้ำแข็ง จะทำให้เกิดน้ำท่วมและทะเลโคลนในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่า และสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหลายหมื่นคนที่อาศัยไกลออกไปกว่า 100 กิโลเมตร

    สถิติแสดงว่าทะเลสาบธารน้ำแข็งของเทือกเขาหิมาลัยจะแตกทุกๆ 500 ปี ทว่านับตั้งแต่ปี 1935 เป็นต้นมาทะเลสาบธารน้ำแข็งแตกแล้วถึง 12 ครั้ง

    ปี 1954 ทะเลสาบธารน้ำแข็ง เชงหว่าง โช ในทิเบตแตก น้ำจากทะเลสาบไหลท่วมเมืองซึ่งอยู่ไกลออกไปถึง 120 กิโลเมตร ปี 1985 ทะเลสาบธารน้ำแข็ง ดิก โช ในเนปาลแตก กระแสน้ำสูงถึง 15 เมตร ทำลายสถานีไฟฟ้า สะพาน 14 แห่ง และคร่าชีวิตประชาชนหลายสิบคน

    อนาคตของประชาชนหลายร้อยล้านคนกำลังน่า เป็นห่วง เจนนิเฟอร์ มอร์แกน ผู้อำนวยการโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกขององค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) พยากรณ์ว่า การละลายอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งหิมาลัยในช่วงแรกจะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้นจนเกิดน้ำท่วมในบริเวณกว้าง แต่อีกไม่กี่ทศวรรษต่อมาสถานการณ์จะเปลี่ยนไป ระดับน้ำในแม่น้ำจะลดลง

    ธารน้ำแข็งซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำของแม่น้ำคงคา แม่น้ำอินดุส แม่บราห์มาปุตรา แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเหลืองจะหดตัวปีละ 10-15 เมตรต่อปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชากรหลายร้อยล้านคนในจีน เนปาล และอินเดีย

    -------------
    ที่มา:~มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01tec19040850&day=2007/08/04&sectionid=0143
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...