ถึง อารามม้าขาว ... เยือน ต้นธาร พุทธ ในจีน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 17 มิถุนายน 2005.

แท็ก: แก้ไข
  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ถึง อารามม้าขาว ... เยือน ต้นธาร 'พุทธ' ในจีน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>17 มิถุนายน 2548 00:37 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พระสงฆ์นิกายมหายาน ที่ เอ๋อเหมยซาน (ภูเขาง้อไบ๊) มณฑลเสฉวน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ม้าขาวหิน หน้า วัดม้าขาว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เจดีย์เสียดเมฆ (齐云塔) เจดีย์อายุใกล้เคียงกับวัดม้าขาว ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด องค์เดิมสร้างตามแบบเจดีย์อินเดียขนาด 9 ชั้น สูงราว 167 เมตร แต่ต่อมาถูกฟ้าผ่า โดยองค์ปัจจุบันสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1175 ขนาด 13 ชั้น สูง 35 เมตร </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เณรน้อย ณ วัดม้าขาว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> มีอาจารย์ชาวจีนท่านหนึ่งเคยกล่าวกับผมเล่นๆ ว่า หากเปรียบชาวจีนและสังคมจีน เป็นโพธิสัตว์สามหน้า ....

    ใบหน้าแรกที่ใหญ่ที่สุดคงเป็น ขงจื๊อ
    ใบหน้าด้านขวาก็คงเป็น พุทธศาสนา
    ส่วนใบหน้าด้านซ้ายก็ย่อมเป็น เต๋า

    โดยหากแบ่งเป็นสัดส่วนแล้วละก็ อาจารย์ท่านเดิมก็นึกอยู่สักพักแล้วตอบว่า ขงจื๊อน่าจะกินเนื้อที่ร้อยละ 60 พุทธ ร้อยละ 30 และ เต๋า ร้อยละ 10 (ชาวจีนและสังคมจีนในที่นี้หมายถึง 'ชาวฮั่น' โดยไม่รวมชนกลุ่มน้อย) ......

    ครับ กว่าสองพันปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนจีนและสังคมจีนผูกพันอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า 'ปรัชญา' ของชีวิตและสังคมอยู่ 3 แนวทาง ก็คือ แนวของขงจื๊อ แนวของพุทธ และแนวของเต๋า ที่คนจีนเรียกกันสั้นๆ ว่า หรู-ซื่อ-เต้า (儒释道)

    ผมยังจำได้ ครั้งยังเด็กเรียนชั้นมัธยม เมื่อเรียนวิชาสังคมเรื่องศาสนา พอกล่าวถึงว่า

    "ศาสนาที่มีผู้นับถือเยอะที่สุดโลกนั้นไม่ใช่ พุทธ หรือศาสนาประจำชาติของบ้านเราหรอกนะนักเรียน แต่เป็น ศาสนาคริสต์ รองลงมาเป็นอิสลาม ฮินดู ....." จากนั้น อาจารย์หลายท่านก็มักจะกล่าวต่อว่า หากประเทศจีนไม่ได้ปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ ศาสนาพุทธก็คงเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก เพราะประเทศจีนมีประชากรเป็นพันล้านคน

    ผมพกความเข้าใจนี้มาหลายปี จนกระทั่งมาเมืองจีน ......

    เมื่อมาถึงเมืองจีน สอบถามกับอาจารย์หลายท่านทั้ง อาจารย์ที่สอนทางด้านวัฒนธรรมจีน ปรัชญาจีน แล้วผมก็พบว่า คำกล่าว "หากประเทศจีนไม่ได้ปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์ ศาสนาพุทธก็คงเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก" ถูกต้องเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

    จริงอยู่ จีน อาจถือได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวัดวาอารามพุทธมากที่สุดในโลก ถือเป็นแหล่งเผยแพร่ศาสนาพุทธ มหายาน ของเอเชียตะวันออก อย่างไรก็ตาม แม้พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ยึดถือแนวทางของ คาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งถือเป็นนักคิดสายวัตถุนิยม (Materialism) จะไม่ได้เข้ามาปกครองประเทศจีน ก็มิอาจกล่าวได้อยู่ดีว่า จีนเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองของพุทธศาสนา หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ คนจีนที่เป็นชาวฮั่นเขาก็ไม่ได้ถือว่าตัวเองเป็นพุทธศาสนิกชน

    เหตุผลก็อย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว ก็คือ พุทธศาสนาที่มีต้นธารอยู่ในประเทศอินเดีย เมื่อไหลเข้ามาในประเทศจีนกลับมิอาจคงความบริสุทธิ์ได้ แต่มีความจำเป็นต้องหลอมรวมเข้ากับ แนวคิดและปรัชญาที่ถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินจีนเอง ก่อนที่จะเป็นที่ยอมรับจากชาวจีน

    เฝิงโหย่วหลาน (冯友兰) หนึ่งในนักปรัชญาคนสำคัญของจีนแห่งศตวรรษที่ 20 กล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ย่อปรัชญาจีนว่า พุทธศาสนาของอินเดียเมื่อเผยแพร่มาถึงจีน เมื่อมาปะทะกับปรัชญาท้องถิ่น และความคิดดั้งเดิมของชาวจีน อันหมายถึง ขงจื๊อ และ เต๋า นิกายพุทธที่ไม่ยืดหยุ่นก็มิอาจดำรงอยู่ได้หรือส่งอิทธิพลต่อสังคมในระดับต่ำ ยกตัวอย่างเช่น นิกายฝ่าเซียง (法相宗) ที่ปรมาจารย์คือ พระเสวียนจั้ง หรือ พระถังซำจั๋ง (玄奘) ผู้ดั้นด้นไปถึงอินเดียและนำพระไตรปิฎกกลับมาแปลเป็นภาษาจีน

    นิกายฝ่าเซียงที่กล่าวกันว่า พระเสวียนจั้งพยายามยึดถือตามคำสอนดั้งเดิมเป็นหลัก แต่การเผยแพร่กลับมิอาจส่งอิทธิพล เป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวจีนได้เท่ากับ นิกายพุทธอื่นๆ เช่น นิกายเซ็น หรือ นิกายฌาน (禅宗) หรือ นิกายสุขาวดี (จิ้งถู่:净土宗) เนื่องจาก นิกายฝ่าเซียงขาดการผสมผสานทางแนวคิดของพุทธ เข้ากับ คำสอนของขงจื๊อ และ เต๋า อันเป็นปรัชญาแนวคิดที่ถือกำเนิดขึ้นในผืนแผ่นดินจีนเองและมีการแพร่หลายในจีนก่อนการเข้ามาของพุทธศาสนาหลายร้อยปี

    เพราะฉะนั้น ในแวดวงวิชาการของจีนคำว่า 'พุทธศาสนาในจีน' กับ 'พุทธศาสนาของจีน' นั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความแตกต่างในระดับหนึ่ง เนื่องจาก พุทธศาสนาของจีน นั้นทางด้านปรัชญาแนวคิดได้มีการปะทะ การแลกเปลี่ยน หลอมรวม แนวคิดบางส่วนกับปรัชญาท้องถิ่นด้วย*

    ตัวอย่างของการปะทะก็อย่างเช่น ลัทธิขงจื๊อให้ความสำคัญกับการมีบุตรชายสืบทอดตระกูลมาก ดังเช่นที่ผมเคยอ้างอิงถึงคำสอนของ เมิ่งจื่อ (ผู้สืบทอดคนสำคัญของขงจื๊อ) ที่ว่า

    "不孝有三,无后为大" หรือ "ที่สุดของความอกตัญญูนั้นคือ การไร้ทายาทสืบตระกูล"

    เมื่อลัทธิขงจื๊อมีคำสอนเช่นนี้แล้ว การออกบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ของบรรดาชายหนุ่มชาวจีนทั้งหลาย จึงถือเป็น 'ความอตกัญญู' ซึ่งความอกตัญญูนี้ถือเป็นความผิดร้ายแรงมากสำหรับสังคมจีน เพราะ เมื่อบวชแล้วก็แน่นอนว่า ย่อมไม่สามารถมีทายาทเพื่อสืบแซ่ สืบวงศ์ตระกูลต่อไปได้ นี่เป็นข้อขัดแย้งประการหนึ่งสำหรับสังคมจีนที่ความเชื่อแบบขงจื๊อ ซึ่งยังคงดำรงมาถึงปัจจุบัน (ขณะที่ในญี่ปุ่นซึ่งรับเอาทั้งขงจื๊อและพุทธ มาจากจีนเริ่มตั้งแต่ ศตวรรษที่ 17 ก็เริ่มมีการประนีประนอมกันในเรื่องนี้คือ พระญี่ปุ่นสามารถแต่งงานได้ และก็ถือเป็นประเทศเดียวในโลกที่พระสงฆ์สามารถมีภรรยาและบุตรได้)

    ตัวอย่างของการแลกเปลี่ยน และ การหลอมรวม ระหว่าง แนวคิดของพุทธ กับปรัชญาดั้งเดิมของจีนนั้นเช่น ในช่วงแรกๆ ที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในประเทศจีน โดยเฉพาะในช่วง ศตวรรษที่ 2-4 ชาวจีนจำนวนมากเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าหรือศากยมุนี นั้นเป็นสานุศิษย์ของ เหลาจื่อ (老子) ศาสดาของเต๋า เนื่องจากมีตำนานเล่ากันว่า ตอนที่เหลาจื่อหายสาบสูญไปนั้น มีผู้เห็นเหลาจื่อขี่ควาย ในมือถือคัมภีร์เต้าเต๋อจิง ออกไปทางทิศตะวันตก (ในยุคนั้นการเดินทางไปอินเดียต้องเดินทางไปทางทิศตะวันตกผ่านเส้นทางสายไหม) โดยเรื่องราวนี้มีผู้คาดว่าจะมีต้นกำเนิดมาจาก 'สื่อจี้ (史记)' ประวัติศาสตร์เล่มแรกของจีน โดยซือหม่าเชียน (司马迁) ขณะที่ทางศิษย์ของลัทธิเต๋า ก็มาเสริมแต่งเรื่องราวว่า เหลาจื่อเดินทางไปถึงอินเดียและเผยแพร่คำสอนให้กับ พระพุทธเจ้า รวมกับศิษย์อีก 28 คน ดังนั้นพระไตรปิฎกจึงมีต้นกำเนิดมาจากคัมภีร์เต้าเต๋อจิง

    ต่อมาเมื่อศาสนาพุทธแพร่หลายมากขึ้นมีการแปลคำภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนเยอะขึ้น แม้ผู้คนจะทราบ และเข้าใจแล้วว่า 'พุทธ' นั้นมีต้นกำเนิดมาจากภายนอก แต่ชาวจีนก็กลับมีความเห็นขึ้นมาอีกประการหนึ่ง คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า กับ คำสอนของเหลาจื่อและจวงจื่อ (庄子; ผู้สืบทอดคำสอนของเหลาจื่อ) นั้นใกล้เคียงกันมาก นอกจากนี้การแปลพระไตรปิฎก และ พระธรรมคำสอนจาก ภาษาสันสกฤตให้เป็นภาษาจีนก็ยังคงติดอยู่ในกรอบภาษาเดียวกับที่เต๋าใช้อีกด้วย เช่นคำว่า กระทำ (有为) ไม่กระทำ (无为) ฯลฯ

    ซึ่งในประเด็นนี้ มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยท่านหนึ่งเคยอธิบายไว้ว่า

    "พุทธศาสนาจากอินเดียนั้นมีทฤษฎีที่ลึกซึ้ง มีระบบปฏิบัติที่ชัดเจน เมื่อเข้าไปสู่วัฒนธรรม อารยธรรมจีนแล้วหลักคำสอนที่ลึกซึ้ง จึงเข้ากันได้ดีกับปรัชญาเต๋า ซึ่งถือเป็นโลกุตตรธรรมในแบบของจีนเอง แล้วก็วิธีการของปรัชญาเต๋านั้นเป็นวิธีการที่รวบรัดสั้นกระชับแล้วก็ตรงจุด เมื่อพุทธศาสนาที่มีหลักธรรมที่ลึกซึ้งแต่ว่ามีวิธีการบรรยายธรรม สาธยายธรรมเข้าไปถึงประเทศจีนนั้นจีนสนใจอย่างยิ่งต่อหลักธรรมที่ลึกซึ้งนั้น แต่ว่าจีนคุ้นเคยกับวิธีการของเต๋ามากกว่า เช่น ปรัชญาเต๋ากล่าวถึง โลกุตตรธรรมที่ยิ่งใหญคัมภีร์สั้นๆ บางๆ 51 บท แต่ละบทก็คล้ายๆ กับบทกวีแค่หน้าเดียว รวมถ้อยคําแค่ 8,000 คําแต่ว่าบรรจุสาระธรรมที่เป็นโลกุตตรหมด

    "เพราะฉะนั้น วิธีการของจีนนั้นเป็นวิธีการที่กระชับ กระทัดรัด สั้น ตรงจุดไม่เยิ่นเย้อยกตัวอย่าง ท่านเล่าจื้อ (เหลาจื่อ-ผู้เขียน) บอกว่า เต๋าที่เรียกได้ด้วยคําพูดนั้นไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง เต๋าที่แท้จริงนั้นไม่อาจเรียกได้ด้วยคําพูด (道,可道,非常道) แล้วก็จบ คิดเอาเอง หรือว่า ผู้พูดไม่รู้ ผู้รู้ไม่พูด จบ คิดเอาเองจะไม่นิยมสาธยาย แต่มักจะพูดคําคมสั้นๆ ไว้ให้คิด อันนั้นคือวิธีการที่ชาวจีนคุ้นเคย"**

    แม้จะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าศาสนาพุทธเผยแพร่เข้ามาในจีนเป็นครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่ถึงปัจจุบันก็ถือกันว่าน่าจะเข้ามาในประเทศจีนเป็นครั้งแรกใน สมัยฮั่นตะวันออก (ค.ศ.25-200) ราวครึ่งแรกของศตวรรษที่ 1 โดยการเผยแพร่เข้ามานั้นเป็นการเผยแพร่แบบแทรกซึมเข้ามาอย่างช้าๆ*

    หลักฐานชิ้นสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศจีนก็คืออารามที่ชื่อ วัดม้าขาว (白马寺) นี่เอง .....

    ตำนานความเป็นมาของ ไป๋หม่าซื่อ (白马寺) หรือ วัดม้าขาว นั้นเกิดขึ้นเมื่อ คืนหนึ่งเมื่อเกือบสองพันปีก่อน ฮ่องเต้ฮั่นหมิงตี้ (汉明帝; ครองราชย์ในช่วง ค.ศ.58-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ทรงพระสุบิน ( ฝัน)ไปว่ามีบุรุษทองคำเหาะไปทางทิศตะวันตก เมื่อพระองค์ตื่นขึ้นจึงสอบถามกับขุนนางว่า ฝันเช่นนี้มีความหมายว่าอย่างไร ขุนนางผู้หนึ่งจึงตอบไปว่าทางทิศตะวันตกมียอดคนถือกำเนิดขึ้น เมื่อได้ยินเช่นนั้นพระองค์จึงรับสั่งให้ขุนนางสิบกว่าคนออกเดินทางไปยังทิศตะวันตกเพื่อเสาะหายอดคนผู้นั้น

    เมื่อขุนนางเดินทางไปถึงดินแดนที่ปัจจุบันคือ อัฟกานิสถาน จึงได้พบกับพระสงฆ์สองรูป คือ พระกาศยปมาตังคะ (เส้อม๋อเถิง:摄摩腾) และ พระธรรมรักษ์ (จู๋ฝ่าหลาน:竺法兰) โดยพระสงฆ์สองรูปนี้นำพระคัมภีร์และพระพุทธรูป มาด้วยจำนวนหนึ่ง ดังนั้น บรรดาขุนนางราชวงศ์จึงนิมนต์พระสงฆ์สองรูป และใช้ 'ม้าขาว' บรรทุกพระคัมภีร์และพระพุทธรูป มายังนครหลวงในขณะนั้น ซึ่งก็คือ เมืองลั่วหยาง***

    ด้านฮ่องเต้ฮั่นหมิงตี้ เมื่อพบทราบเข้าก็พอพระทัยอย่างมาก และรับสั่งให้มีการสร้างวัดขึ้นที่ด้านนอกของประตูเมืองหย่งเหมิน (雍门) นครลั่วหยาง โดยให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดม้าขาว"

    วัดม้าขาวถือว่าเป็นปฐมสังฆาราม หรือ วัดพุทธแห่งแรก ในประเทศจีน โดยกว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา วัดแห่งนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ผ่านยุคสมัยรุ่งเรือง และร่วงโรยของพุทธศาสนาในประเทศจีนมาก็มาก กระทั่งปัจจุบัน อารามที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นต่างก่อสร้างขึ้นในสมัยหมิงและชิงทั้งสิ้น โดย วิหารพระใหญ่ (大佛殿) เป็นสิ่งก่อสร้างหลักของวัด

    วัดม้าขาวมีพระไทยมาเยือนมากมาย ส่วนคนไทยไปบริจาคเงินทำนุบำรุงวัดก็มาก ทางด้านทิศตะวันออกของวัดผมยังเห็นมีโบสถ์ทรงไทยสร้างไว้อีกด้วย เห็นแล้วคนไทยไกลเมืองไทยก็อดคิดถึงบ้านไม่ได้จริงๆ : )

    Tips สำหรับการเดินทาง:
    - วัดม้าขาว (白马寺) ค่าผ่านประตู 35 หยวน (บัตรนักเรียน-นักศึกษา ลดครึ่งราคา; ราคาค่าผ่านประตูแหล่งท่องเที่ยวในมณฑลเหอหนานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นราคาอีก) อยู่ห่างจากตัวเมืองลั่วหยางประมาณ 15 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปได้สะดวกโดยรถประจำทางหลายสาย เช่น สาย 56, 58
    - เที่ยว ภูห้าหอ (อู่ไถซาน) แห่งมณฑลซานซี และ เอ๋อเหมยซาน (峨眉山)หรือ ภูคิ้วนาง แห่งมณฑลเสฉวน สองในสี่ยอดภูพุทธแห่งแผ่นดินจีน จาก เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

    หมายเหตุ :
    *หนังสือประวัติศาสตร์ย่อปรัชญาจีน (中国哲学简史:A Concise History of Chinese Philosophy) : สำนักพิมพ์ 新世纪出版社, ฉบับ ค.ศ.2004
    **อ่านเพิ่มเติม บรรยาย มุมมองของสังคมไทยต่อพระพุทธศาสนามหายาน โดย ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไฟล์ .pdf จากเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    ***หนังสือท่องเที่ยวเหอหนาน-เหอเป่ย ฉบับท่องเที่ยวด้วยตัวเอง (臧羚羊自助游) : สำนักพิมพ์ 中国大百科全书出版社, ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2004; หนังสือแต่ละเล่มระบุถึงปีที่สร้างวัดม้าขาวไว้ไม่ตรงกัน บ้างว่า ค.ศ.64 บ้างว่า ค.ศ.68 ขณะที่ข้อมูล ณ วัดม้าขาวเอง ระบุว่าเป็นปี ค.ศ.67
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    จาก
    http://www.thaiday.com/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000080777
     

แชร์หน้านี้

Loading...