ถึงเวลาใกล้สิ้นยุคสุขกันเถอะเรา

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 24 มิถุนายน 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ถึงเวลาใกล้สิ้นยุคสุขกันเถอะเรา / ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2550 17:04 น. โดย : ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กระแสโลกร้อนคือประเด็นอินเทรนด์อันดับหนึ่ง แม้ในบ้านเรา อาจถูกกลบบ้างด้วยกระแสการเมืองหรือเศรษฐกิจ แต่ถ้าพูดถึงบ้านอื่นเมืองอื่นทั้งโลก ในแทบทุกการประชุม ไม่ว่าระดับประเทศหรือระดับโลก ไม่ว่าเรื่องสังคมเศรษฐกิจหรือเรื่องอื่นใด ใครต่อใครล้วนพูดถึง "ภาวะโลกร้อน" ครั้งนี้ผมอยากอธิบายว่า โลกเอ๋ยทำไมร้อนนัก โดยตั้งต้นจากที่มาของความร้อน หนึ่งคือความร้อนภายในโลก พวกเราล้วนอยู่บนเปลือกโลก ลึกลงไปไม่เกิน 50 กิโลเมตร คือแมกม่าหรือของเหลวร้อนรุ่ม พลังงานความร้อนอาจพลุ่งพล่านออกมาสู่ข้างบนบ้าง ผ่านทางภูเขาไฟหรือแหล่งความร้อนจากใต้ดินทั้งหลาย เช่น น้ำพุร้อน โป่งเดือด แต่หากเทียบกับความร้อนแหล่งที่สอง นับว่าจิ๊บจ้อย แหล่งความร้อนสำคัญคือดวงตะวันบนฟากฟ้า ตะวันส่งแสงแรงกล้าลงมายังโลกเรา แสงมีทั้งที่เรามองเห็น เช่น แสงแดด และแสงในช่วงคลื่นที่เราไม่เห็น เช่น UV และ Infrared แสงเหล่านั้นมีพลังงานความร้อนอยู่ด้วย เราจึงรู้สึกร้อนในตอนกลางวัน รู้สึกเย็นลงในยามค่ำคืน เมื่อดวงอาทิตย์จากไป แต่ความเย็นจะไม่เกิดฉับพลันทันใด เพราะผืนโลกเก็บความร้อนในตอนกลางวันไว้ ก่อนคลายตัวอย่างช้า ๆ ใครที่ลงเล่นน้ำยามค่ำ คงเข้าใจความหมายนี้ หรืออีกที ลองดูอุณหภูมิก็ได้ครับ อากาศจะหนาวสุดหลังเที่ยงคืน เพราะความร้อนที่โลกคายมาตั้งแต่หัวค่ำ เริ่มลดลงแล้ว คราวนี้อยากให้คิดถึง "เรือนกระจก" หรือให้เนียนปากหน่อย เรียกว่า "กรีนเฮ้าส์" เรือนกระจกดังกล่าวอาจพบบ้างในเมืองไทย แต่พบเยอะเลยในเมืองนอกเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในประเทศที่คนมีตังค์พอและชอบปลูกต้นไม้ เมื่อถึงฤดูหนาว อุณหภูมิภายนอกลดลง ต้นไม้เหี่ยวเฉาแข็งตาย แต่ไม้ในเรือนกระจกยังอยู่ดีกินดี เพราะอุณหภูมิสูงกว่าภายนอก โดยที่ไม่ต้องติดฮีตเตอร์ให้เปลืองไฟ อาศัยแสงตะวันสาดส่อง ผ่านกระจกเข้ามา ก่อเกิดความร้อนภายใน แต่คลื่นความร้อนที่ปล่อยออกไป กลับถูกกักเก็บไว้ในเรือนกระจก ตรงนี้สำคัญนิดครับ เพราะระหว่างที่ผมไปพูดคุยเรื่องนี้ในหลายสถานที่ มักมีผู้สงสัย ทำไมแสงส่องผ่านมายังโลก สะท้อนออกไป แล้วโลกยังร้อนอยู่ คำตอบแบบง่าย ๆ คือแสงเมื่อส่องลงมายังพื้นโลก มาด้วยช่วงคลื่นหนึ่ง แต่เมื่อคลื่นความร้อนออกไปจากโลก ไปด้วยอีกช่วงคลื่น ก๊าซเรือนกระจกอนุญาตให้แสงตะวันส่องผ่านไปยังผิวโลกได้ แต่ไม่ยอมให้คลื่นความร้อนจากโลกหลุดออกไปสู่ห้วงอวกาศ หรือยอมก็เพียงเล็กน้อย ทำให้ความร้อนในโลกมีมากขึ้น ความสำคัญจึงมาอยู่ที่ก๊าซเรือนกระจก หากมีมากไป โลกย่อมร้อนขึ้น แต่ถ้ามีน้อยไป โลกย่อมเย็นลง ก๊าซเรือนกระจกจึงไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องกำจัดให้สิ้นซาก เพราะหากไม่มีเลย มีหวังหมีขาวครองโลก แต่ถ้ามีมากไป หมีขาวก็สูญพันธุ์ สมดุลของปริมาตรก๊าซดังกล่าวจึงเป็นเครื่องควบคุมภูมิอากาศของโลก แล้วอะไรคือก๊าซเรือนกระจก ? ก๊าซดังกล่าวมีหลายประเภท แต่พระเอกคงไม่พ้นคาร์บอนไดออกไซด์ พระรองคือมีเทน ยังมีตัวประกอบอื่น ๆ เช่น ไนตรัสออกไซด์ แต่ละครเรื่องนี้พระเอกหล่อเข้มนำโด่ง พระรองกับตัวประกอบแทบไม่มีความหมาย จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าปริมาตรของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีการเปลี่ยนแปลงไปมา ตลอดช่วงเวลา 400,000 ปี ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ใช้เทคนิคทางไสยศาสตร์เพื่อย้อนอดีต แต่ใช้การศึกษาชั้นน้ำแข็งเก่าแก่และฟองอากาศที่ติดอยู่ในนั้น และเมื่อลองนำกราฟอุณหภูมิของโลกในอดีตเข้ามาเทียบ พบว่าสอดคล้องกันเปี๊ยบเลย หมายความว่า ช่วงไหนมีคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเยอะ โลกย่อมร้อน ว่าแต่...ช่วงนั้นไม่มีมนุษย์ หรือมีก็ดำรงชีวิตแบบเบี้ยน้อยหอยน้อย ไม่มีเทคโนโลยีหรือเก่งกล้าสามารถจะไปรบกวนสมดุลธรรมชาติได้ แล้วทำไมคาร์บอนไดออกไซด์จึงเปลี่ยนแปลง ทำให้อุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย คำตอบอยู่ที่ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติสามารถครับ ในบางช่วงเกิดภูเขาไฟระเบิดตูมตาม คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว โลกร้อนแล้วจ้า บางช่วงเกิดภัยแล้งแสนสาหัส ต้นไม้ตายเป็นแถบ ไม่มีต้นไม้ ย่อมไม่มีผู้คอยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นไม้ที่ล้มตายเน่าเปื่อย ยังทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โลกก็ร้อนอีกแล้วล่ะ แต่เมื่อโลกร้อน ย่อมเกิดภูมิอากาศแบบใหม่ ทำให้ป่าดิบชื้นเกิดและขยายขนาดอย่างรวดเร็ว กลายเป็นการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศไปโดยปริยาย นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจก ยังมีช่วงอายุ เมื่อเวลาผ่านไป หากไม่มีการเพิ่มก๊าซอย่างต่อเนื่อง ปริมาตรก๊าซย่อมลดลงเองโดยปริยาย ทำให้อุณหภูมิโลกลดลง สมดุลเยี่ยงนี้จึงเนียนนัก เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่เกินคำว่ามหัศจรรย์ โลกเรามีความสุขเรื่อยมาในสมดุลดังกล่าว แต่หลังจากนั้น มนุษย์เริ่มยึดโลก ก่อเกิดสองสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลง สาเหตุแรกคือทำร้ายผู้กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันได้แก่ ต้นไม้ทั้งหลาย เราตัด ๆๆ เพื่อขยายถิ่นฐานบ้านเรือน สาเหตุที่สองคือปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ เพราะนอกจากเราตัดต้นไม้ เรายังเผาป่า ปล่อยก๊าซขึ้นสู่อากาศโดยตรง สาเหตุที่สอง ยังครอบคลุมถึงการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรืออะไรใด ๆ ก็ตามที่เราขุดขึ้นมาจากโลก จึงหมายถึงแทบทุกกิจกรรมของเรา ไม่ว่าจะขับรถไปทำงาน เข้าออฟฟิศเปิดไฟเปิดแอร์ ทำโน่นทำนี่อีกร้อยแปดพันเก้า ล้วนมีส่วนเพิ่มก๊าซเรือนกระจกให้โลก หลายคนสงสัย มันจะเยอะปานนั้นเชียวเหรอ แต่มันเยอะปานนั้นจริงครับ เพราะนักวิทยาศาสตร์เค้าศึกษาแล้ว เรามีเทคโนโลยีพอติดตามความเปลี่ยนแปลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในเมื่อห้าสิบปีก่อน ตลอดเวลาห้าสิบปี เจ้าก๊าซที่ว่า มีแต่เพิ่มและเพิ่ม เป็นการเพิ่มแบบสุดขีดขั้ว เรียกว่าถ้าเป็นรักก็รักจริงหวังแต่ง (กับโลกร้อน) ตลอดเวลาหลายแสนปีที่เราศึกษาจากชั้นน้ำแข็ง นำมาประกอบกับการวัดจากบรรยากาศโดยตรงที่เราทำได้เมื่อห้าสิบปีก่อน พบว่าไม่มีครั้งไหนที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีมากเกิน 300 ส่วนในล้านส่วน แต่เมื่อค.ศ.2002 เรามีแล้วถึง 370 ล้านส่วน และเพิ่มเป็น 380 ส่วนในเวลาเพียงไม่กี่ปี นักวิทยาศาสตร์บางท่านคาดการณ์ว่า หากเรามีถึง 420 ส่วนในล้านส่วนเมื่อไหร่ น้ำแข็งยักษ์ที่ขั้วโลกจะละลายจริงจัง เมื่อนั้นแย่แน่นอน และกาลเวลาดังกล่าวอาจมาถึงในหนึ่งชั่วชีวิตคน คุณอาจสงสัย โลกจะร้อนสุดจริงเหรอ ไม่มีสักครั้งเหรอที่โลกร้อนกว่านี้ คำตอบคือมีครับ ในยุคครีเทเชียส เมื่อร้อยล้านปีก่อน โลกร้อนกว่าปัจจุบันตั้ง 10 องศา แต่สัตว์หลายชนิดก็ยังรอดมาได้ โลกไม่ได้แตกสักหน่อย ไม่แตกหรอกครับ แต่ยุคนั้น ประเทศอเมริกาถูกแบ่งเป็นสอง น้ำท่วมทะลุเกินกรุงเทพขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ถึงกระนั้น ในความเชื่อของผม มนุษย์คงไม่ตายหมดหรอกครับ เพราะเราก็ใช่ย่อย ขนาดยุคน้ำแข็งที่ว่าเจ๋งเมื่อหลายปีก่อน คนเรายังทุบหัวช้างแมมมอธ เอาตัวรอดมาได้เลย เราย่อมรอดต่อไป โดยมีข้อแม้นิดหนึ่ง คือ เราไม่ได้ตีหัวเฉพาะช้างแมมมอธ เรายังตีหัวพวกเดียวกันเองด้วยครับ ปัญหาของภาวะโลกร้อน ไม่ใช่มนุษย์สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ ทว่า...จะหมายถึงการสิ้นยุคแสนสบาย เพราะคำว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...