เสียงธรรม ถาม-ตอบ เรื่อง รู้อย่างไรในการภาวนา

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย wisarn, 27 พฤศจิกายน 2010.

  1. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    [​IMG]

    หลวงพ่อสมบูรณ์ ฉตฺตสุวณฺโณ
    วัดถ้ำเขาพระ ต.อ่าวลึก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    การดูความรู้สึก

    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ
    คำถาม - พระสมสิทธิ์ สัมมสิทโธ
    คำตอบ - หลวงพ่อสมบูรณ์ ฉัตตสุวรรณโณ​


    คำถาม: การปฏิบัติการดูลมหายใจเป็นกายานุสติปัฏฐาน และการดูความคิดเป็นจิตตานุสติปัฏฐานใช่ไหมครับ

    คำตอบ: หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ มีอะไรมั้ย หายใจออกรู้สึกอย่างไร ดูความรู้สึก รู้สึกสงบ ไม่สงบ รู้สึกสบาย ไม่สบาย ไม่สบายก็ปรับให้มันสบาย หายใจอย่างไรถึงจะปลอดโปร่งโล่งอกโล่งใจดี มีการอัดอั้นข่มกดมั้ย หมายถึงจิต รู้จักปล่อยวางความรู้สึก มันจะเบา พอเห็นความรู้สึก แล้วปล่อยความรู้สึก มันจะโล่ง ว่าง โปร่ง เบา ทางกายก็อย่าไปเกร็ง มีการเกร็งเนื้อเกร็งตัวมั้ย ไม่ใช่เราเกร็งหรอก ลองดูไว้ ความรู้สึกเกร็งมั้ย ดูความรู้สึกทางกาย มีการเกร็งเนื้อเกร็งตัวมั้ย มันไม่มี เราก็คลี่คลาย ผ่อนคลายได้ ทางจิตเราก็ปล่อยความรู้สึก มันจะเบา นี่แหละเขาเรียกว่า ภาวนา แปลว่า ทำให้มันดี เราดูกายดูใจไว้ บริหารปรับให้มันกลมกลืนไว้ เลือดลมเดินสะดวกมั้ย หายใจปลอดโปร่งดีมั้ย หายใจเป็นอย่างไรจึงจะพอเหมาะ พอดี หาความพอดี ที่จะให้มารู้อย่างนี้ เรียกว่าทำหน้าที่ ธรรมะคือรู้หน้าที่

    คำถาม: ที่เป็นปัญหาคือว่า ความต่อเนื่องที่จะมาทำภาวะนี้ให้มันต่อเนื่องอยู่

    คำตอบ: อันนี้เราต้องเห็นอย่างนี้อยู่ เดี๋ยวนี้ยังเห็นมั้ย เห็นมั้ยครับ เป็นยังไง มีอะไรมั้ย

    คำถาม: คือขณะนี้มันยังไม่มี

    คำตอบ: เอ้า ไม่มีเราก็ยังดูได้ ก็ยังเห็นไม่มีอะไร อย่าลืมอันนี้ ต้องเจริญอย่าให้ลืม ไม่ใช่ไปทำความสงบ อย่าไปนั่งทำความสงบ อย่าไปทำแบบนั้น ให้ดูอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ท่านพนมมือก็รู้ ทำอะไรอยู่ ความรู้สึกเป็นอย่างไรก็เห็นชัดๆ ใช่มั้ย ตอนนี้ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร ว่างๆ เฉยๆ ไม่มีอะไร อันนี้ดูแล้วให้รู้ไว้ นี่แหละภาวะเดิมอันนี้ แล้วก็รักษาความเป็นอย่างนี้ อย่าให้เป็นอย่างอื่น เราดูอะไร ทีแรกไม่รู้มันจะมีอะไรเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ให้เรารู้ให้เราอยู่กับอันนี้ มันจะปรุงไม่ได้ มันจะเกิดอะไรไม่ได้

    คำถาม: ถ้ากำลังฝึกต้องใช้คำว่าประคอง

    คำตอบ: ถูกแล้ว ประคองจิตอันนี้ ประคองรู้ ให้มันรู้อยู่ตรงนี้ พอมันเผลอตรงนี้ปุ๊บ มันจะปรุงทันที

    คำถาม: ในผู้ฝึกมันจะปรุงอยู่เรื่อย ใช่มั้ยครับ

    คำตอบ: ถูกต้อง ง่ายๆ ก็มาดูอิริยาบถตัวเอง ตอนนี้เป็นยังไง หายใจเข้าออกสบายมั้ย ยืดเนื้อยืดตัวให้สบาย นี่เป็นการฝึกให้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่กับเนื้ออยู่กับตัวนั่นเอง จะทำการทำงานไปไหนก็อย่าลืมอันนี้ ฝึกมันจนชิน พอมันชินก็ไม่ลืม จะทำอะไรก็จะเห็นจิตของเรา ก็จะประคับประคองไม่ให้มันเกิดอะไรขึ้น

    คำถาม: ก็คือใช้กายนี้เป็นสื่อเพื่อดึงจิตไม่ให้ปรุง

    คำตอบ: ถูกต้อง อาศัยที่เรารู้ตัวนี้แหละจึงจะเห็นได้ เห็นกายเห็นใจอยู่ ให้เห็นอย่างนี้ ให้แข็งแรงไว้

    คำถาม: ที่ผมทำมาคือว่า ไปนั่งสมาธิมาเป็น 10 ปี ทีนี้ผมมองว่า เราอาศัยกำลังของความสงบตรงนั้นมาเพื่อทำจิตใจให้สงบ ผมมองอย่างนั้น คือจิตสงบคือ จิตที่เราไม่ปรุง เวลาที่เรามองอะไรซัดส่ายไม่ให้มันซัดส่ายนั่นเอง ผมมองว่า ความสงบตรงนั้นมันจะช่วยประคอง ที่ผมมองอย่างนั้น ไม่ทราบว่าผมมองผิดอย่างไรครับหลวงพ่อ

    คำตอบ: จริงๆ แล้ว เป็นเราสงบ แต่มันจะไม่เห็น มันรู้แต่ไม่เห็น มันต่างกันคือ สงบแบบไม่รู้ คือไม่รู้ตัว แต่รู้แต่ว่าไม่เห็น อันนี้ตรงที่ไม่เห็นก็เลยมีเรา เอ้า ... เดี๋ยวนี้ลองดูความรู้สึก เห็นความรู้สึกได้ใช่มั้ย มีเรามั้ย

    คำถาม: ถ้าเห็นก็ไม่มี

    คำตอบ: นี่แหละเท่านี้ ถ้าเห็นก็ไม่มีเรา ก็ไม่มีตัวตน ก็ว่าง เป็นธรรมชาติล้วนๆ

    คำถาม: คือที่ผมมองว่าตอนที่ไปทำความสงบ ที่หลวงพ่อว่าเราไปทำความสงบนั้น คือ อาการจิตมันสงบตามไปด้วย คือพอเสร็จแล้วมันก็จะทิ้งคำว่าเรา เพราะอาการจิตมันสงบใช่ไหมครับ

    คำตอบ: ส่วนมากเราจะเข้าไปในความสงบ คือ คล้ายๆ ว่ามันรู้ แต่มันก็ไม่เห็นหรอก มันก็รู้ แต่ว่าเข้าไปอยู่ในความสงบ

    คำถาม: ผมมองว่าเป็นการฝึกกำลัง เป็นสมถะ เหมือนเราเล่นกีฬา เราต้องฝึกกำลังให้อยู่ตัว แล้วจึงไปฝึกเทคนิค ทีนี้การที่เรามองให้เห็นตามธรรมชาติ อันนี้คือเทคนิค แต่ความเป็นจริงผู้ที่ไม่มีกำลังก็จะเห็นไม่ได้นาน ไม่ได้ต่อเนื่อง

    คำตอบ: ที่จริงมันก็ถูกที่ท่านพูด แต่บางครั้งส่วนมาก คนที่ไม่รู้จะไปติด ท่านพูดอย่างรู้นี่มันถูก แต่คนที่ไม่รู้ เข้าไปติด ข้อสำคัญให้เราเห็นความรู้สึกอันนั้นแหละคือตัวกำลังแล้ว คือเรียกว่าสมถะ กับวิปัสสนา ที่จริงมันก็ควบคู่กันมีทั้งสอง แต่ส่วนมาก มันจะไม่เป็นวิปัสสนา มันจะเป็นสมถะ มันจะละไม่ได้ ส่วนอันนี้มันเป็นไปเพื่อปล่อยวาง ส่วนนั่นเป็นความรู้สึกเราสงบ แล้วขณะนั้น มันไม่มีทุกข์ แต่เวลากระทบสัมผัสจะไม่เห็นแล้วเพราะมันเข้าไปเป็น เราเป็น เราสัมผัส ฉะนั้น ต้องดูอันนี้ มันจะแตกต่างกันมาก บางทีพูดให้ถูกพูดยาก

    คำถาม: ที่หลวงพ่อพูดก็คือว่า การรู้กายมันสื่อถึงจิตใช่มั้ยครับ

    คำตอบ: เห็นกายต้องเห็นจิตด้วย อันนี้ต้องดูให้ถูก ถ้าดูถูกเห็นกายจะเห็นจิต เห็นจิตจะเห็นกาย

    คำถาม: ถ้าผมไม่ไปคิดฟุ้งซ่าน มองอะไรให้เป็นธรรมชาติอย่างที่ว่านี้ มันก็รู้กาย แต่ถ้าผมไหลไป มันก็ไหลไปทั้งหมด กายก็ไม่รู้ จิตก็ไม่รู้

    คำตอบ: อันนี้แหละหลง งั้นเราต้องเห็นความรู้สึกของเรา ถ้าเห็นความรู้สึกของเราสงบอยู่ เดี๋ยวนี้จะนึกถึงอะไร เราจะคิดถึงอะไรก็ได้ ไม่ใช่คิดอะไรไม่ได้ แต่เรารู้ว่ากำลังคิดอะไรอยู่ หรือจะคิดอะไร มันจะเห็นความคิด เขาเรียกว่า มันจะเห็นความคิด มันนึกถึงอะไรก็รู้ เพราะจิตนี้มันจะคิด เราต้องนึก นึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้อะไรๆ แต่เรารู้ตัวของเราอยู่ ไม่มีทางหลงเลย เราต้องฝึกอันนี้ อย่าไปทำอย่างอื่นเลย

    คำถาม: คือ ไม่ให้มันลากเราไป

    คำตอบ: เราก็อยู่เหนือมันน่ะ มันจะลากไปไม่ได้ ถ้าเราเห็นอยู่อย่างนี้ คือเรารู้ตัวเรา เห็นตัวเรา เห็นจิตเห็นใจ พอมีอะไรเขยื้อนก็รู้ ก็เป็นอาการสงบอยู่เราก็เห็น จะไปไหนก็เห็นของเรา มันมีอะไรผิดปกติเราก็รู้ทันที โอ้ ... เผลออีกแล้ว อันนี้หมายถึงการฝึกสติเน้นคำว่ารู้ตัว ไม่ใช่ไปทำความสงบ ฟังให้ดีๆ ยังเห็นใจเฉยๆ ไม่มีอะไร เราจะพูดคิดทำ ใครจะมายั่วยุยังไง เราก็ยังเห็นจิตของเรา มันไม่เป็น ยุไม่ขึ้น นี่เรารู้ตัวอยู่ รู้จักจริงๆ เราจะควบคุมจิตของเราได้ แต่ไม่ใช่ไปบังคับนะ เพียงแต่รู้อะไรเป็นอะไร จะรู้จัก เฉยๆ

    คำถาม: สมมติเราเผลอไป ไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม เรากลับมารู้สึกตัว ความคิดก็ถูกทอนไปในตัว

    คำตอบ: ถูกแล้ว มันก็ตัดไปในทันที พอรู้สึกมันก็หลุดไปในทันที คือความรู้สึกของเรามันสงบ มันหยุด เดี๋ยวนี้มันหยุด เราจะพูดจะคุย ฟัง ก็ยังเห็นจิตสงบอยู่ ทีนี้ธรรมดาถ้าเราไม่เห็นอยู่ มันไม่เป็นแบบนี้ มันจะรู้สึกไป เรารู้สึกมันยึด มันเกาะ มันเกี่ยว ผูกพัน หมกมุ่น

    คำถาม: เป็นสติปุถุชน ไม่ใช่อริยชน

    คำตอบ: ถูกต้อง ถ้าเรามาเห็นอย่างนี้ เรียกว่าอริยะ นี่ศีล ปกติ จิตปกติ เกลี้ยงไม่มีอะไร อริยกันตศีล ก็จะมีระเบียบวินัย ก็คือจิตของเราอันนี้ ทำอะไรก็จะถูกต้องนุ่มนวล รู้จัก จะพูดไป จะมีอะไร เกิดขึ้น รู้จักจะทำอะไร หรืออะไรจะมายังไงก็รู้ก่อนแล้ว อันนี้เราต้องฝึกมาเรื่อยๆ หมายถึง ฝึกให้รู้แล้ว ถ้ายังไม่รู้ก็ต้องดูไปเรื่อยๆ ทั้งรู้ ทั้งลืม ทั้งหลง ทั้งลืม เราก็จะได้ประสบการณ์จากตัวเรา ก็จะรู้ไปเรื่อยๆ จนสติมันต่อเนื่องจริงๆ ก็เรียบร้อย อ๋อ อะไรๆ ก็อย่างนั้น จิตก็ปล่อย จิตมันไม่อยากจะไปยึดอะไร มันถอนออก

    คำถาม: ถ้ามีคนถามว่า ทำไมพอเรารู้ตัว เห็นความรู้สึกตัว แล้วทำให้กิเลสมันจางออกจากใจเราได้ จะอธิบายได้อย่างไร

    คำตอบ: ที่จริงมันไม่มีกิเลสอยู่แล้ว พอมารู้อย่างนี้ มันไม่มีกิเลส ถ้าไม่รู้มันจะมี ถ้ารู้มันจะว่าง ถ้าไม่รู้มันจะวุ่น อย่าไปเอาคำพูดมาตอบ มันไม่ใช่ ต้องเห็นภาวะอย่างนี้จะเข้าใจ คืออย่าไปพูดให้อะไรเป็นอะไร นี่ไม่ใช่พูดให้รู้ ไม่มีทาง

    คำถาม: ตอนที่ผมเห็นสภาวะคล้ายๆ อย่างนี้ ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่า พอดีอ่านหนังสือหลวงพ่อเทียนที่พูดว่า ความจริงน้ำมันไม่ได้ขุ่น น้ำเป็นส่วนน้ำ ตะกอนเป็นส่วนตะกอน แต่ถ้ามองรวม น้ำคือขุ่น ถ้ามองแยกน้ำก็ยังคงเป็นน้ำ เหมือนจิตเราที่ยังคงเป็นน้ำ ส่วนความขุ่นนั้นคือกิเลส มันมาอยู่ในที่เดียวกันเมื่อเรามองรวม แต่ถ้าเรามองแยกก็คืออยู่คนละที่

    คำตอบ: ถูกต้อง อันนี้พูดให้ฟัง เหตุผลของการพูดให้ฟังเปรียบเทียบเท่านั้นเอง เอ้า เดี๋ยวนี้ดูซิ ดูเลย ศึกษาที่เดี๋ยวนี้ดีกว่า ปัจจุบันคำว่าเห็นปัจจุบันอันนี้ของจริง ไอ้นั่นเราอย่าเอาเรื่องอะไรๆ มาพูด เรื่องสมมติขึ้นมาอันนี้ของจริง จบ เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไร ก็รู้ว่าไม่มีอะไร มีอะไรก็รู้ว่ามันมีอะไร แม้แต่มันมีอะไร ก็ยังเห็นว่านั่นสิ่งนั้นก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าเรารู้จัก ดูให้ออกจริงๆ แยกให้ออกว่าไม่ใช่ตัวเรา ของเรา มันก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัพเพสังขาราอนิจจา สัพเพสังขาราทุกขา สัพเพธัมมาอนัตตา ต้องให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อ๋อ สิ่งเหล่านี้มันไม่เที่ยง บางครั้งเราเผลออาจจะปรุง แต่ก็เป็นเรื่องของมัน เราก็เฉยอยู่เหนือความรู้สึก เดี๋ยวมันก็ดับ ทีนี้ส่วนมากจะเป็นเรารู้สึก เราเข้าไปแล้ว นั่นแหละเกิดแล้ว

    คำถาม: สมมติว่าความเผลอที่หลวงพ่อว่า ระดับไหนที่จะเรียกว่าเป็นความเผลอ

    คำตอบ: ขณะที่ไม่เห็นความรู้สึกนั่นแหละ เรียกว่าเผลอแล้ว นั่นแหละลืมตัวแล้ว ต้องเห็นตัวเองตลอดเวลา ต้องฝึก มากน้อยก็อยู่ตรงนี้ที่จะพ้นทุกข์ได้ มากน้อยอยู่ตรงนี้ ถ้าเห็นตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่เผลอเลย ก็ไม่ทุกข์เลย ทุกข์จะเกิดไม่ได้ ขอให้รู้จักจริงๆ หรือขณะนี้สัมผัสก็ได้ พอรู้ตัวก็ไม่มีทุกข์ เกลี้ยงไม่มีอะไร มียินดียินร้ายมั้ย หายใจเข้ายาวๆ เราจะเห็นชัดวิธีทบทวนให้รู้ปัจจุบันตรงนี้

    คำถาม: ถ้าอย่างนี้ถ้าจบกิจจริงๆ แล้วจะมีเผลอได้หรือไม่

    คำตอบ: พอเรารู้จักจริงๆ แล้ว ถึงมันจะเผลอก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เกิดอะไรไม่ได้ มันจะไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ เพราะเราชินต่ออันนี้แล้ว แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยเผลอ ก็อยู่ที่ตัวเรา เรารู้มันจะเผลอไม่ได้ มันจะไม่เผลอ มันจะเป็นของมันเอง มันจะเห็นของมันอยู่อย่างนี้

    คำถาม: ผมกำลังฝึกนี่ ผมดูอาการความเคลื่อนของจิตได้มั้ยครับ ถ้ามันไม่จบก็คือ มันเคลื่อนออก

    คำตอบ: คือเห็นความเป็นไป ไม่ใช่จบหรือไม่จบ เราเห็นจิตของเรามันเป็นไปยังไง มันไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีเกิด ไม่มีดับ แสดงว่ามันจบ ไม่มียินดียินร้าย หรือรับรองปฏิเสธ ไม่มีขัดแย้ง ไม่มีอะไรในจิตเรา มันจะบริสุทธิ์ มันจะเกลี้ยง จบหรือไม่จบ ก็อยู่ตรงนี้ โอ้ ... ก็แค่นั้นเอง เราจะไปทำอะไร ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เกิดอะไรไม่ได้ มันรู้

    คำถาม: สมมติเราต้องมีปฏิกิริยา ต้องพูดกับคนอื่น มันจะลากเราไปได้มั้ย

    คำตอบ: ถ้าเราเห็นจิตของเรา เดี๋ยวนี้ยังเห็นความรู้สึก เราทำอะไรก็ทำไป ก็ไม่ลืม เราเห็นจิตของเรา มันว่างไม่มีอะไร เราจะไม่ลืมอันนี้ เราจะรู้จักเพราะเราฝึกให้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นจิตเห็นใจตลอดเวลา ยืน เดิน นั่งนอน ไปไหนมาไหนเห็นจิตก็สงบอยู่ จะทำงานก็เห็นความสงบอยู่ ปกติอยู่ เราจะพูดจะคุยจะทำอะไรทุกอย่าง กิน เคี้ยว ดื่ม เข้าห้องน้ำ มันเห็นจิตจนไม่ลืมจิตเลย แล้วมันจะผิดปกติได้อย่างไร เราก็รู้ถ้าผิดปกติ ก็เรียกว่าผิดปกติแล้ว เราก็รู้เพื่อไม่ให้ผิดปกติ เรียกว่าประคับประคองรักษาจิต อันนี้หมายถึงว่า ใหม่ๆ เราต้องประคับประคอง ถ้ารู้แล้วมันจะเป็นเอง ปล่อยแล้วต้องปล่อยอีกที ทีแรกต้องคอยดูไว้ พอทำมากเข้ามันจะเป็นเอง เราไม่ต้องคอยประคับประคอง คอยรู้ มันจะรู้ของมันเอง

    คำถาม: ช่วงหลังผมใช้เก็บอารมณ์ ไม่ต้องพบกับใคร เราดูอาการว่าปรุงไปยาวหรือปรุงไปสั้น

    คำตอบ: ที่จริงเรื่องการเก็บอารมณ์หรือไม่เก็บอารมณ์ ผมว่าไม่ค่อยสำคัญเท่าไร ให้เราดูจิตตรงนี้ ตอนพูดคุยเห็นอยู่ตลอดเวลามั้ย สังเกตดู ให้เห็นตลอดเวลา ว่ามันมีเผลอมั้ย ไม่ต้องมีความคิดเห็นอะไร

    คำถาม: ที่ผมสังเกตเวลาพูดคุยกับคนอื่น มันมีเผลอไป

    คำตอบ: นี่ต้องฝึกสติอย่างนี้ไป อย่าให้ลืม ถ้าเราเห็น รู้ตัวเห็นจิตใจตลอดเวลา กับไม่เห็นมันต่างกัน นี่แหละจับจุดนี้ ที่มันจะเกิดกิเลสก็เกิดตรงนี้

    คำถาม: ผมสังเกตว่า การพูดคุย โอกาสที่จะหลุดไป พลาดไปมีสูงกว่า

    คำตอบ: อันนี้เราฝึกครับ ฝึกกับของจริงมันจะดีกว่า ที่จริงผมปฏิบัติมา ผมไม่เคยเก็บอารมณ์ และผมไม่เคยสอนแนะใครให้เก็บอารมณ์ด้วย ผมจะให้ดูอย่างนี้ แล้วมันของจริง เมื่อเราอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง และให้มันตื่นเนื้อตื่นตัวแข็งแรงไว้ คล่องแคล่วว่องไว ให้มันตื่นจิตตื่นใจ … หากเข้าถึงความรู้ตื่น อะไรๆ ก็เข้าไม่ได้ ตื่นโพลง รู้ตัว อะไรจะเข้าได้ พอเราดูจิตมากๆ เข้า มันผลักออก ขณะที่เราจะพูดจะคุย พยายามดูจิต ดูซิ ความรู้สึกเป็นยังไง คอยดูไว้ อย่าให้มีความคิดเห็นอะไร อย่าไปมีเจตนาอะไรๆ ให้จิตเฉยๆ ไว้ เดี๋ยวนี้ฟังเฉยๆ ท่านพูดคุยก็ยังพูดคุยอยู่ แต่จิตเราก็ยังเห็นจิตเราสงบอยู่ จิตในจิตเราไม่มีอะไร พูดคุยกับใครก็ได้ ในจิตเราไม่มีอะไร เราเห็นจิตเราไม่มีอะไร คำว่าไม่มีอะไร มันไม่มีทุกข์ ไม่มียินดี ยินร้ายอะไร แล้วทีนี้มันเกิดมีเพราะอะไร เราก็จะรู้จัก จะคอยระวังอันนั้น มันก็เกิดไม่ได้ อันนี้หมายถึงของจริง แล้วอย่าไปเก็บอารมณ์ มันไม่มีอะไร ถ้าเก็บอารมณ์ เราก็มาเดินจงกรม สร้างจังหวะ ที่นี่เราจะเน้นเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่นั่งหลับตา เลิกอย่าไปทำ ผมแต่ก่อนก็ทำมาเยอะ พอแล้ว มีอยู่แล้วสมถะ ทีนี้เรายกขึ้นสู่วิปัสสนา ใช้ปัญญาแล้ว เอาปัญญาดู
    จิตนั่นเอง โอ ... สงบอยู่ จิตสงบไม่ใช่เราสงบ ส่วนมากจะเป็นเราสงบ แล้วก็เพลิน ไม่อยากรู้อะไร พออะไรกระทบปุ๊บ ไม่ทันแล้ว ผมทำมาแล้ว

    คำถาม: เข้าใจครับ หลวงพ่อพูดตรงดี คือตรงลักษณะอาการที่เราต้องปฏิบัติ

    คำตอบ: เรียกว่าตามความเป็นจริง เป็นวิปัสสนา คำว่าเห็นตามความเป็นจริง มันไม่ต้องไปทำ ดูเอา อ๋อ อย่างนี้ เฉยๆ ถึงจะมีอะไรเกิดขึ้นเราก็ดู อ๋อ เผลอไป อาจจะเกิดโลภะ โทสะ ความรู้สึกมันเป็นอย่างนี้ เราก็จะเห็น แล้วเป็นยังไง ผิดปกติเราก็ดูเฉยๆ อ๋อนี่ทุกข์ ทีหลังเราก็คอยระวังไว้ ไม่ให้เกิดอย่างนี้ ที่เกิดอย่างนี้เพราะอะไร เพราะเราต้องการจะดับทุกข์ ไม่ให้มีทุกข์เกิด เพื่อจะรู้จักตรงนี้ จะเกิดไม่ได้ คำว่ารู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ ไม่ทันก็ยังแก้ได้ รู้จักเปลี่ยนอารมณ์ หรือคลายถอน กลับมารู้สึกหายใจเข้ายาวๆ รู้ว่างๆ เกลี้ยง หัดตรงนี้ เอ้าเผลอไป ระวังอีก แม้แต่จะเดินอยู่ ก้ม เงย เห็นความรู้สึกตลอด หูฟังเสียง ตาดู ก็ไม่ลืม จะพูดคิดทำ ไม่ต้องไปงดอะไร ให้มันกลมกลืน ให้มันเชื่อมโยงกับอะไร ๆ ก็ยังรู้ยังเห็นอะไรได้หมด อย่าไปตัดมัน ถ้าตัดแล้วเราก็ต้องไปฝึกตรงนั้นอีก เราฝึกกับของจริงจะดีกว่า จะเร็วกว่า แต่วิธีง่ายๆ เราก็ให้สบาย หายใจเข้าออกเป็นยังไง ปลอดโปร่งโล่งอกโล่งใจดีมั้ย ใจดีมั้ย ใจเราดีก็ยิ่งอยู่กับตัว มันจะเผลอไม่ได้ มันจะไม่เผลอ จะมีที่อยู่ คำว่าวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของตัวเอง หล่อเลี้ยง หายใจยังไงให้มันอิ่มอกอิ่มใจพอดี
    ไปไหนก็เบาเนื้อเบาตัว มันจะไปไหน ก็อยู่กับตัว ก็เห็นอยู่นี่ มันไม่ต้องไปอาศัยอะไรๆ ไม่ต้องไปของ้อความมีความเป็นอะไร แต่ว่าทำการงานอะไร เรารู้จักหน้าที่ก็ทำไป ทำแล้วจิตใจก็ไม่มีอะไร ก็รู้ว่าอะไรต้องทำ ทำแล้วก็ไม่มีอะไร
     
  3. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    คำถาม: ครั้งนั้นที่หลวงพ่อไปทำความสงบ ที่นั่งให้นิ่ง มีไหมครับที่พอเราออกมาจากการที่เรานั่งทำความสงบหรือความนิ่งแล้ว เราก็มีความเป็นปกติ หลังจากนั้น อยู่ได้นานอยู่เหมือนกัน

    คำตอบ: ก็เป็น แต่ว่าบางทีต้องเข้าใจว่า เกิดปัญญาหรือไม่เกิดปัญญา ก่อนผมคล้ายๆ ว่า จะไม่เกิดปัญญา คือเราก็จะไปติดความสงบ พอไปอยู่กับคนอื่น แหมนี่มันทำให้เราเสียความสงบอีกแล้ว แล้วเราไม่รู้ยังหลงโทษคนนั้น ว่าเขามาทำให้เราเสียความสงบ เราก็อยากให้ทุกคนสงบ เราสงบได้แล้วนี่ แต่ตอนนี้เราจะได้หมด อยู่ที่ไหน ไม่ต้องไปขอร้อง เรียกร้องให้ใครต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้ จะไม่ไปโทษใคร ก่อนนี้เราจะโทษ เราจะเรียกร้อง เราต้องการให้โลกมันเรียบร้อย เป็นระเบียบ ทีนี้เราไม่ไปเอาอย่างนั้นแล้ว ตอนหลังมาดูทำไม่ได้

    คำถาม: คือธรรมชาติเขาเป็นอย่างนั้น

    คำตอบ: ถูกต้อง จึงว่าให้รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริง ผมมาเข้าใจนี้แล้วเกิดปัญญาอะไรๆ ก็เป็นอย่างนี้ คราวนี้ไม่เรียกร้องแล้ว อะไรก็ได้แล้ว ทีนี้พอเรารู้ตัว มันจะมีอะไรเกิด ก่อนเราไม่รู้ เราจะเอา เป็นไปเพื่อจะเอา จะเป็น ก็ยังมีอัตตา ตอนหลังมันไม่มีตัวเรา อ๋อ แยกความรู้สึกกับเห็นความรู้สึกตรงนี้เท่านั้น

    คำถาม: มันก็ต้องค่อยๆ จางลงไปครับหลวงพ่อ

    คำตอบ: ก็ต้องดูไปเรื่อยๆ ก็ต้องจางไปเรื่อยๆ พอรู้อย่างนี้ มันก็เห็นความจางคลาย นี่เราก็เห็นได้ จิตไม่ไปติดไปยึด เดี๋ยวนี้ก็ได้ ความรู้สึกไม่ไปผูกพัน ไม่ไปหมกมุ่นกับอะไร จิตก็ว่าง ว่างจากความผูกพัน ความยินดี ยินร้าย เฉยๆ มันจะไม่มีอะไร ดูไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ดูไป มันเป็นยังไง ไม่ให้มันเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร ให้เรารู้ทุกข์ ค่อยๆ หมดไป เราก็เข้าใจขึ้น ข้อสำคัญต้องรีบทำตรงนี้ให้มันจบ ต้องเพียรเพื่อจะรู้อันนี้ รู้จิตรู้ใจ รู้เท่ารู้ทัน เพียรเพื่อรู้ทางกาย ทางใจ รู้นอก รู้ใน

    คำถาม: ผมใช้คำว่า พอเรารั้งมันมาได้ มันรู้กายรู้จิตด้วย ทีนี้พอกายรู้ ผมไม่ได้ให้รู้กายเต็มที่ ผมพยายามดูจิตซะมากที่ทำมา ทีนี้พอจิตจะคิดออกไป บางทีเรื่องที่หนึ่งไม่ทัน ต่อเรื่องที่สองเราก็ทัน แล้วจับกลับมาอีก ส่วนมากไม่ทันคิด เรื่องที่สองก็จะกลับมาได้ ยกเว้นที่แพ้ไปนาน จริงๆ ก็คือ ๒ - ๓ นาที แล้วก็กลับมาอีก วันหนึ่งๆ ก็ดูอย่างนี้ เหมือนว่าผมหยุดความคิดวันละเป็นพันเป็นหมื่นครั้ง ถูกมั้ยครับ

    คำตอบ: ก็ถูก แต่นี้เราต้องมาฝึก ฝึกที่อย่าให้มีความคิดเห็น วิธีฝึกก็เดินจงกรม ได้เดินมั้ย

    คำถาม: เดินครับ

    คำตอบ: นั่นแหละ ขณะที่ไม่มีความคิดเห็น หายใจเข้าก็ยังเห็นความรู้สึกไม่มีความคิดเห็น หายใจออกไม่มีความคิดเห็น ขยับเนื้อขยับตัว เราจะดูอะไรก็ยังเห็น จิตของเราไม่มีความคิดเห็น ดูอันนี้ ให้รู้เท่าทันอย่างนี้ มันจะคิดไปไม่ได้ ฝึกนี่ยังต้องใช้เวลา ไม่ใช่รู้แค่นี้ ต้องทำเป็นปีเลยครับ ต้องทำให้ต่อเนื่องจริงๆ ต้องใช้ตั้ง ๖ - ๗ ปี

    คำถาม: ที่เล่าคือ เราเห็นจิตที่มันแล่นออกไป ถ้ากลับมาที่ความรู้สึก มันก็กลับมาด้วย

    คำตอบ: ถูกต้อง ให้รู้ตัวไว้ หูฟัง จะก้มจะเงยก็ยังเห็นจิตอยู่ตลอดเวลา ทีนี้มันไม่ตลอด ก็ต้องพยายามให้มันเห็นตลอดไว้ ก็ต้องทำอย่างไร อันนี้ก็ต้องรู้เอง ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ จนมันอยู่ตัว ที่ท่านพูดหมายถึงมันยังไม่อยู่ตัว เราก็พยายามฝึกยังไงให้มันอยู่ตัวเท่านั้นเอง อย่าไปมุ่งอะไรอย่างนั้น พออยู่ตัวแล้วก็จะเข้าใจอะไรๆ

    คำถาม: ที่ทำผ่านมาพอเรารู้ตัว ความคิดมันสั้นลง เรื่องมันสั้นลง ไม่ไปไกล ไม่ไปนาน ไม่ไปหนักด้วย ไม่ไปเกาะเกี่ยวว่าเป็นเรา ของเรา

    คำตอบ: ถูกต้อง ใช่ ถ้าเห็นความรู้สึก มันจะไม่มีตัวเรา ของเรา ไอ้นั่นมันจะแยกของมันออก เราก็จะเห็นได้ ไอ้นี่เข้าไปแล้ว ก็ต้องกลับมา เราก็ต้องเอาหลักการพระพุทธเจ้า จริงแล้ว ไม่ใช่ตัวเราของเรา สิ่งที่เราดูเราเห็น

    คำถาม: ผมมองว่าจิตมันเห็นความคิดหรือความเกิดดับ เกิดแล้วมันก็ดับ พอเราเห็น ทันเข้า มันเกิดเหมือนคำว่า อนิจจัง คือมันไม่เที่ยง เกิดแล้วมันต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่นึกเอา

    คำตอบ: ใช่ คือเห็นอาการของมัน เหมือนเห็นปฏิจจสมุปบาท นี่มันเชื่อมโยงกันยังไง นั่นแหละ

    คำถาม: แล้วมันก็เกิดเป็นอนิจจัง อนัตตา แต่ไม่เกิดคำว่าทุกขัง

    คำตอบ: ทุกขังแปลว่า ทนอยู่ไม่ได้ มันจะอยู่สภาพเดียวกันไม่ได้ มันต้องเปลี่ยนแปลง คือเห็นอนิจจัง ก็อันเดียวกันแหละ คือเห็นตัวของมันเองเป็นอนิจจัง ทุกขัง เมื่อเห็นอย่างนี้จึงเห็นอนัตตา ที่จริงมันไม่ใช่ตัวตน อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป อันนี้ไม่ใช่เรื่องที่เห็นได้ง่ายๆ เราต้องพิจารณาดู ใช้เวลา ไม่ใช่เราไปคิดเอา นึกเอา เราต้องเห็นอาการของมันจริงๆ ไม่ใช่เป็นการคิด คาดคะเน หรือเราไปอ่านไปฟังมา เขาว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็เห็นตามที่เขาพูด จำเอามาปรุง เราคาดคะเนก็เห็นเป็นอย่างนั้นได้ แต่นี้เป็นอาการของมันที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เห็นความเกิดเห็นความดับ

    คำถาม: ในความเป็นจริง อาการพวกนี้ต้องเกิดหลายรอบใช่มั้ยครับ เห็นครั้งเดียว ไม่ใช่ว่ามันจะอยู่เลย

    คำตอบ: ถูกต้อง ถ้าเห็นความเป็นจริงครั้งหนึ่ง เราก็เปลี่ยนแปลงเข้ามาที ทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจว่า อะไรขึ้นมาที มันก็จะเลื่อนจิตของเราสูงขึ้นมาทีละน้อยจนถึงที่สุด ก็อ๋อ ไม่ต้องคิด เห็นอะไรก็อ่านออกหมด ทีแรกก็ยังต้องค่อยๆ อ่าน พอมันจบ มองปุ๊บก็เห็นอะไรเป็นอะไร ไม่ไปยินดียินร้ายอะไร มันก็อย่างนั้น มันเป็นของมันเอง พอรู้ความจริง ไม่ใช่เราต้องหลุดต้องพ้นอะไร พอเห็นความจริง ไม่มีอะไร เป็นธรรมดา ทุกสิ่งเป็นธรรมดา คือเห็นธรรมดา

    คำถาม: ต้องค่อยๆ เห็น หลวงพ่อว่าต้องใช้เวลาอีก ๖ - ๗ ปี นับจากตอนไหน

    คำตอบ: ขณะที่พอเริ่มเห็นจิตอย่างนี้ แล้วเราต้องมาเจริญอันนี้ ถ้าเห็นแล้วไม่เจริญก็ไม่มีทาง มันจะเป็นอยู่อย่างนั้น เราต้องมาฝึก ยังเห็นจิตอยู่ ความรู้สึกจะไปไหน มาไหน เห็นความรู้สึกอยู่ พอเห็นความรู้สึกเราจะรู้ได้ว่ามันจะว่าง มันไม่มีอะไร ทีนี้ พอมันมีอะไรขึ้นมาก็รู้ทันที โอ้.... เผลอไป เราก็เข้าใจตรงนี้ ก็จะยิ่งประคับประคองอย่างไรอย่าให้มันเผลอ เราต้องเห็นได้ ขณะที่เรารู้สึกกับเห็นความรู้สึก โอ... ต่างกันอย่างนี้ แล้วยังมาทดลองทำไป จนให้มันหลุดออกจากกัน หลุดออกจากความรู้สึก แล้วจะเป็นยังไงๆ มันก็ไม่เกิดแล้ว เกิดไม่ได้ ทีนี้ขณะที่ยังติดกันอยู่ เป็นการให้มันขาดออกจากกัน แล้วมันจะไม่ไปเชื่อมกับอะไรอีกแล้ว ขณะที่ยังเชื่อมอยู่ ก็ต้องคอยประคับประคอง จนให้มันเห็นถึงที่สุดของมัน ขาดออกจากกัน เหมือนสัญลักษณ์หลวงพ่อเทียน เชือกขึงสองข้างตัดตรงกลางแล้วมาต่อกันไม่ได้แล้ว มันจะไมถึง คืออายตนะ เราก็จะเห็นได้ที่จิตเรา อ๋อ มันไม่ถึงกันอย่างนี้ ไม่ใช่ฟังคำพูด เราต้องเห็นที่จิต

    คำถาม: ตอนที่เชือกมันเปื่อยๆ ผู้ปฏิบัติพอจะเห็นได้มั้ยครับ

    คำตอบ: มันก็เบาบางลง แต่มันไม่เห็นขาด แต่ถ้ามันขาดจริงๆ มันเห็นขาดจริง ๆ มันหลุดออกจากกัน อย่างหลวงพ่อเทียนเปรียบเทียบปลิงมันเกาะ เราเอายาสูบไปจี้หลุด เห็นความหลุด กระทบล่อน กระทบมันไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรดับ ปฏิบัติจนเข้าถึง เห็นเลยมันไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรดับ มีทั้งเหตุทั้งปัจจัย มีอะไรพร้อมหมด แต่มันเกิดไม่ได้ ก็เห็นที่จิต เราไม่ได้ไปเห็นที่ไหน สำคัญที่สุดเลย ชีวิตเราเกิดมาทำไม เกิดมาให้รู้จักอันนี้ ถ้าไม่รู้จักเรียกว่าเสียชาติเกิด ฉะนั้น ชาติของเราเรียกว่ามหาชาติ ไม่ต้องบำเพ็ญหรอก เอาให้มันได้ชาตินี้ เดี๋ยวนี้เลย เดี๋ยวนี้ เห็นเดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้วใช่มั้ย ถ้าเราเห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ก็เห็นปัจจุบัน อย่าไปนึกถึงเรื่องอดีตอนาคต ปล่อยไปให้หมด แล้วจะไม่มีความรู้อะไร รู้ก็รู้แต่จิตแต่ใจ ไม่ได้รู้อะไร ไม่ได้จำอะไร เกลี้ยงไม่มีอะไร ไม่มีความรู้อะไร ความรู้อะไรในจิตไม่มี เขาเรียกว่าง ว่างจากอะไร ไม่มีอะไร เห็นจิตของเรา ดูจิตในจิต คือสติปัฏฐานสี่ อันเดียวกันนั่นแหละ เห็นกาย เห็นเวทนาก็ต้องขณะเดียว เห็นทั่วถึง ดูได้ทั่วถึง เรากำลังนั่งดูทั้งตัวเห็นได้ใช่มั้ย ดูใจด้วยก็เห็นทั้งใจเห็นทั้งกาย นี่คำว่าทั่วถึง รู้ทั่
    วถึง เห็นทั่วถึง ให้มันถึงจริงๆ

    คำถาม: ผมเปรียบเทียบกันสายอื่นเช่นสายอาจารย์มั่น ก็มีคนบรรลุธรรมใช่มั้ย

    คำตอบ: จะวิธีไหนก็แล้วแต่ ที่สุดของที่สุดต้องมารู้อย่างนี้ก็แล้วกัน อย่าไปบอกว่าสายไหนๆ ได้หรือไม่ได้ แม้ของหลวงพ่อเทียน มันไม่ใช่รู้ได้ทุกคน ถ้าไม่รู้อย่างนี้มันไม่มีทาง

    คำถาม: บางทีท่านจะเน้นพิจารณาให้เกิดปัญญา

    คำตอบ: นี่คำพูด บางทีต้องระวัง ขณะที่เราเห็น เรารู้อะไร เป็นอะไรในนั้น เสร็จแล้วนั่นคือ พิจารณา อย่าเอาคำพิจารณามาพิจารณาอีก ก็เลยเป็นสังขาร คำว่าสังขารเป็นทุกข์นี่ต้องระวัง บางทีจะไม่รู้ตัวเลยนะ คำว่าสังขารกับวิสังขาร สังขตะ อสังขตะ เราต้องเข้าใจให้ได้ อสังขตะแปลว่าไม่ปรุงแต่ง สังขตะแปลว่าปรุงแต่ง ถ้าปรุงแต่งแปลว่าเป็นทุกข์ บางครั้งอาจสบายใจ พออกพอใจก็ได้ แต่ว่านั่นคือทุกข์เกิด

    คำถาม: ผมเข้าใจอย่างหลวงพ่อว่า คำว่าพิจารณาคือเราเข้าไปเห็น

    คำตอบ: เข้าไปเห็นนั่นแหละ เราก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มันเสร็จอยู่ในตัว ผมจะไม่พูดให้ใครว่า พิจารณา เพราะผมเคยโดนกับตัวเองมาแล้วไปพิจารณา แยกให้เป็นกระดูกอะไรต่ออะไร อย่างนี้มันไหลไปแล้ว มันเป็นความคิดไปแล้ว บางทีมันซ้อนนะ แล้วคนไม่รู้ด้วย มันไปไกลเลย รู้กับไม่รู้มันต่างกันมากนะ

    คำถาม: คำว่าพิจารณาอสุภะในขั้นแรก คือทำให้เป็นอสุภกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบ ทีนี้คนไปเข้าใจว่าทำอสุภะเพื่อให้เกิดปัญญา

    คำตอบ: มันก็ถูก แต่ทีนี้คนเข้าใจให้มันถูก แต่ผมไม่เคยใช้เลยกรรมฐาน 40 ก่อนนี้ เราต้องใช้กรรมฐานอย่างนี้ โอ ทำไมมันยุ่งยากอย่างนี้ จนที่เราศึกษาอะไรไปเรื่อยแล้วก็มาได้ฝึกการเจริญสติอันนี้ งั้นก่อนที่จะเข้าใจเรื่องสติ ผมเสียเวลาตั้งสิบกว่าปี ผมทำถูกที่ไหน แต่ผมฟังเขารู้เรื่องไป ผมคิดว่า ผมรู้ผมเข้าใจ แต่ทุกข์ก็เบาลงไป แต่มันไม่ใช่ มันไม่หลุดไม่พ้น ข้อสำคัญต้องเห็นตัวหลุดตัวพ้น คำว่าวิมุตติ คำว่าสมมติ ส่วนมากเราจะไปติด แล้วเราไม่ติดอะไร จิตไม่ติดอะไร ไม่ใช่ว่า โอ๊ย เราไม่ยึดติดอะไร มันไม่ใช่แบบนั้น นั่นมันคิดเอานึกเอา ไม่ใช่ คือเห็นจิตของเรา อ๋อ มันหลุดจากอะไรๆ มันไม่ติด มันไม่ยึดอย่างนี้เอง ไม่ใช่เรานะ ไม่ใช่เราไม่ติดไม่ยึดนะ เห็นความรู้สึกของเรามันไม่ติดไม่ยึด เห็นมั้ยลึกซึ้ง

    คำถาม: เข้าใจวิธีทำ แต่ว่า มันต้องทำให้ต่อเนื่อง

    คำตอบ: ต่อเนื่องให้มีสติ ให้เรารู้ตัว พอเรารู้ตัวแล้ว ก็ต้องดู สงบหรือไม่สงบ ในจิตมีอะไรมั้ย ปกติมั้ย ต้องเขี่ยตลอดเวลา มันไม่เที่ยง แป๊บเดียวเปลี่ยน มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แป๊บเดียว ไม่ทันมันเลย มันเร็วจริงๆ มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โอ้โฮ งั้นเราต้องคอยเช็คตลอดเวลาใช่มั้ย ทำจนเห็นอยู่ตลอดเวลา ดูจนเห็นตลอดเวลา มันไม่เห็นตลอดเวลา เราก็ต้องมาฝึกจนมันเห็นตลอดเวลา อย่าไปทำอย่างอื่น ผมทำมาแล้วจริง เห็นความรู้สึกอยู่สบายก็ได้ ไม่สบายก็ได้ มันไม่สบายก็รู้ว่าไม่สบาย ก็เฉยๆ ไว้ อย่าว่าเป็นเรารู้สึก ก็เรียกว่าเราเข้าไปตั้ง

    คำถาม: ไม่สบายของหลวงพ่อคือ ไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ

    คำตอบ: หมายถึงกายเราไม่สบาย หรือใจเราไม่สบาย เราก็รู้ได้ เดี๋ยวนี้ไม่สบายเราก็รู้ว่าไม่สบาย เราก็ดูเฉยๆ ให้เห็นเป็นสองสิ่ง คำว่าสิ่งที่ถูกรู้กับผู้รู้ให้เห็นอย่างนี้ กับว่าเป็นเรารู้สึกอย่างนี้มันไม่ใช่ นั่นเราเข้าไปตั้ง

    คำถาม: ถ้าจบกิจแล้ว จะมีความไม่สบายใจอีกมั้ยครับ

    คำตอบ: ไม่เป็น

    คำถาม: ไม่ได้เลยใช่มั้ยครับ

    คำตอบ: ที่ไม่สบายใจแสดงว่ายังไม่หมดสงสัย เมื่อหมดสงสัยมันจะไม่มีอะไรเกิดไม่มีอะไรดับ ไม่มีหรอก หงุดหงิดฟุ้งซ่าน ไม่มี เรียบร้อยเป็นปกติ อย่าไปมุ่งเอาอย่างอื่น คำพูดส่วนมากเราจะไปติด ติดตำรา เรื่องนี้อย่าไปติด เอาที่ตัว จริงๆ มันไม่ใช่เป็นอะไร อย่าไปคิดว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นอนาคาเป็นอะไร ทิ้งไปให้หมด มันไม่ได้เป็นอะไร ให้เห็นธรรมชาติอย่างเดียวพอแล้ว เห็นความไม่มีทุกข์พอแล้ว

    คำถาม: มันก็เลื่อนไปเอง ไม่ต้องบังคับมันก็เลื่อนไปเอง

    คำตอบ: ใช่ มันเป็นไปเอง ขอให้เราดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เราจะเข้าใจไปเรื่อยๆ เห็นคือให้อ่านตามศึกษา งั้นการปฏิบัติก็คือศึกษา เราก็ดูนั่นแหละที่ใช้คำว่าพิจารณา แต่ที่จริงมันไม่ใช่การพิจารณาอย่างที่คนเข้าใจ ใช่มั้ย เดี๋ยวนี้เห็นได้มั้ย เราก็เห็นความรู้สึก รู้สึกสงบไม่สงบ มันไม่สงบเราจะให้มันไม่สงบหรือ เราก็ปรับมันให้สงบได้ใช่มั้ย นี่เรียกว่าเราทำจิตของเราได้ ทีแรกยังต้องทำ ต้องทำจนเรารู้ทันจริงๆ มันไม่ตัองทำมันเป็นเอง มันจะเสียไม่ได้

    คำถาม: ที่ทำมากันนี่มีผู้ที่ถึงเป็นธรรมชาติอย่างนี้มีมากไหม

    คำตอบ: คิดว่าไม่มาก ไม่มากแน่ คือมองแล้วคนไม่จริงจัง หรือที่จริงจังก็ทำไม่ถูก มันไม่ตรง ไม่ตรง แล้วไม่มีทาง

    คำถาม: แต่ก็พอให้เขาคลายทุกข์ได้บ้าง แต่ว่าถึงที่สุดทุกข์จะมีน้อยใช่ไหม

    คำตอบ: น้อย หมายถึงว่าถึงที่สุดจริงๆ มีน้อย ที่ไม่เยอะเพราะบางทีมีหลายๆ อย่าง เอาเถอะ เราเข้าใจที่ตัวเราอันนี้ เราทำไปแล้วเราจะเข้าใจ เราจะอ่านออก

    คำถาม: คือเป็นแค่ความรู้สึกเปลือกๆ ถ้าไปรู้คนอื่นก็ต้องดูที่ตัวเราอยู่ดี

    คำตอบ: อันนี้พูดยากจริงๆ นอกจากเรามารู้ที่ตัวเรา ไม่ว่าอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมาเห็นที่ตัวเรา พอให้จิตเราสงบปกติได้ เข้าถึงความปกติจริงๆ มันเห็นชัดเหมือนน้ำที่ใส จะมีอะไรมั้ยเห็นชัดหมด เห็นหมด แล้วตอนนี้ มันจะหมดสงสัย มันเห็นอะไรหมด รู้อะไรเป็นอะไร หมดสงสัย อันนี้ก็พูดไปตามภาวะที่ผมพูดผมอ่านจากใจ แต่ไม่ใช่คิดนึก จิตก็ไม่คิดอะไรจิตก็พัก ความรู้สึกพักอยู่ สงบอยู่ หายใจเข้าหายใจออกให้มันกลมกลืนยิ่งขึ้น ประคับประคองให้มันดียิ่งขึ้น จิตพักอยู่หยุดอยู่ เราจะทำการทำงาน จิตเราไม่ต้องไปทำ ไม่ต้องมีความรู้สึกว่า เราต้องไปทำอะไร ก่อนนี้ถ้าเราไม่เห็นความรู้สึก เป็นว่าเรารู้สึกไปเรื่อย เป็นว่าเราทำ ปฏิบัติก็เรา นั่นกิเลสมันแย่งทำไปหมด พอเราเห็นความรู้สึก มันก็หยุดหมด มันไม่มีเรา คำว่ามีเรา ถ้าคนไม่ได้เห็นจิต เอ๊ะไม่มีเราได้ไง เพราะเขาอยู่กับเรา เขาติดเรา อยู่กับความมี.
     
  4. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    741
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,505
    <embed src="http://vdo.palungjit.org/nuevo/player/nvplayer.swf?config=http://vdo.palungjit.org/nuevo/econfig.php?key=021064c7c87bcf24ff66" width="500" height="400" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" /></embed> ​
     
  5. bananakpt

    bananakpt สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +4
    ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...