ถามเกี่ยวกับ ศีล หน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xyz, 21 กรกฎาคม 2005.

  1. xyz

    xyz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2005
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +533
    ศีล 5,8,10,227 พระพุทธเจ้าเป็นคนกำหนดทุกข้อรึป่าวครับ

    ผมเห็นกฏบางข้อ ดูโหดจัง

    6.ห้ามรับทานอาหารหลังยามวิกาล คือหลังเทียงวัน

    มีคนรู้จักบอกว่า พระพุทธเจ้าได้ยกเลิกกฏข้อนี้เพราะช่วงนั้นมีคนที่ตามออกบวชแล้วตายไปเพราะความหิว

    เท็จจริงเป็นยังไงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2005
  2. Vayokasinung

    Vayokasinung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +117
    ผมว่านะ การที่ไม่ให้กินอาหารยามวิการ เพื่อให้เกิดความอดทน ใช้ชีวิตอย่างไม่อยากลำบาก ไม่เรื่องมาก อดทนอดกลั้นได้
    น่าจะเป็นเยี่ยงนั้นคับ
     
  3. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ศีล 227 ข้อ ของพระภิกษุ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งขึ้นล่วงหน้านะครับ
    เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าประชุมสงฆ์ ถามภิกษุที่ทำผิดให้รับทราบแล้ว
    จึงได้วางโทษไว้เป็นศีล 22 ข้อ และข้อย่อยๆ อีกมากมาย

    ที่บอกว่า บางข้อดูโหด เช่น พระฉันอาหารยามวิกาล นั้น
    เอาสาเหตุที่พระพุทธเจ้าตั้งศีลข้อนี้มาให้ดูนะครับ
    แหล่งที่มา
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=10873&Z=10931
    .....................................................................................
    <CENTER>๔. โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗
    </CENTER><CENTER>เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
    </CENTER> [๕๐๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น
    สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มี
    มหรสพบนยอดเขา. พระสัตตรสวัคคีย์ได้ไปดูมหรสพบนยอดเขา. ประชาชนเห็นพระสัตตรส-
    *วัคคีย์ จึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้ลูบไล้ของหอม ให้ฉันอาหารแล้วได้ถวายของเคี้ยวไปด้วย. พระ
    สัตตรสวัคคีย์นำของเคี้ยวไปถึงอารามแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลายนิมนต์
    รับของเคี้ยวไปขบฉันเถิด.
    พระฉัพพัคคีย์ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน?
    พระสัตตรสวัคคีย์ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พระฉัพพัคคีย์.
    ฉ. อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านฉันอาหารในเวลาวิกาลหรือ
    ส. เป็นอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
    พระฉัพพัคคีย์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์จึงได้ฉันอาหารใน
    เวลาวิกาลเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
    บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์จึงได้
    ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

    <CENTER>ทรงสอบถาม
    </CENTER> พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอฉัน
    อาหารในเวลาวิกาล จริงหรือ?
    พระสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

    <CENTER>ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
    </CENTER> พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ฉัน
    อาหารในเวลาวิกาลเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
    ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... .
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

    <CENTER>พระบัญญัติ
    </CENTER> ๘๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ใน
    เวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.
     
  4. xyz

    xyz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2005
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +533
    ขอบคุณมากครับ

    แล้ว น้ำได้ไหมครับ
     
  5. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    น้ำได้ครับ ดื่มได้แต่อย่าเคี้ยว เรียกน้ำปานะ สะกดถูกหรือเปล่าไม่รู้ ไม่โหดหรอกครับ

    ก่อนผมบวชผมรักษาศีลแปดเป็นเดือนเพื่อเตรียมตัว กินเย็นเเล้วเดี๋ยวขี้เกียจบ้าง ลมขึ้นบ้าง ง่วงบ้าง
     
  6. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ธรรมดา ศีลหรือวินัยของพระห้ามฉันอาหารยามวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงวัน จนถึงเช้าวันใหม่
    ยกเว้น น้ำ ๘ อย่าง นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐปาน (ปานะ ๘ อย่าง) ฉันได้ตลอดวัน
    อัฏฐะ แปลว่า แปด ปานะ แปลว่า น้ำ อัฏฐปาน แปลว่าน้ำ ๘ อย่าง

    ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้)
    ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔. โมจปานํน้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง
    (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่

    วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า
    เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้ เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลง
    ไปพอให้ได้รสดี ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า แม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ) ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล) ๓. ของประกอบ เช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
     

แชร์หน้านี้

Loading...