ถามการตั้งขันธ์ห้า/ขันธ์แปด ด้วยค่ะ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย piramid111, 4 กันยายน 2008.

  1. piramid111

    piramid111 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    462
    ค่าพลัง:
    +1,204
    ตามหัวข้อกระทู้เลยค่ะ คือกำลังจะขึ้นพานไห้วครูนะค่ะ อยากทราบควรใช้อะไรบ้างนะค่ะ
     
  2. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,339
    การตั้งขันธ์ 5 นะครับ

    ตามที่เคยได้ศึกษามาก็มีธูป 5ดอก เทียนขาว 5 เล่ม ดอกบัว 5 ดอกอ่ะครับ

    หมากพลู 5 คำ เงิน 12 บาท เอาใส่พานรองด้วยผ้าขาว ผ้าแดงนะครับ

    ส่วนขันธ์8 ก็เพิ่มดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปอีกครับผม
     
  3. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,570
    ถูกต้องตามนั้นครับ :cool::cool:
     
  4. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    ไม่ใช่ ธูป เทียน ดอกไม้ 5 คู่ครับแต่งใส่พานเฉย ๆ
    ส่วนเงินค่ายกครูก็แลวแต่ครูแต่ละท่านจะให้ใส่ครับ
     
  5. หนึ่ง1

    หนึ่ง1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,639
    ที่ผมเห็นมา ใช้ดอกไม้ธูปเทียนจัดเป็นคู่ใส่กรวยใบตอง 5 กรวย วางบนพานเงินค่ายกครูแล้วแต่จะใส่ครับ
     
  6. piramid111

    piramid111 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    462
    ค่าพลัง:
    +1,204
    ขอบคุณทกท่านทีเข้ามาตอบค่ะ แต่ยัง งง??? คือ..
    ขันธ์ห้า ทำกรวยใบตองห้าอัน แล้วในแต่ละกรวยใส่ดอกไม้ขาว ๑ ธูป ๑ เทียน ๑ ใช่หรือไหมค่ะ
    ขันธ์แปด ทำกรวยใบตองแปดอัน แล้วแต่ละกรวยทำเหมือนขันธ์ห้าใช่หรือไหมค่ะ
    หมากพูล นี่จำเป็นไหมค่ะ คือหายากค่ะ แทบไม่มีเลย เนื่องจากอยู่ต่างประเทศค่ะ
     
  7. มหาโอ๊ต

    มหาโอ๊ต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    753
    ค่าพลัง:
    +1,692
    ขอเผยแพร่ความรู้อันเป้นประโยชน์ นี้ ซึ่งบทความนี้เป็นบทความที่มาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและถ่ายทอดมาในการบรรยายของอาจารย์พิชัต ชัยเสรี เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความหมายอันแท้จริงของขัน 5 กำนล 6 เพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบประเพณี ของไทยมิให้สูญ อนุญาตให้ทุกท่านนำไปเผยแพร่ได้ทุกที่นะครับ

    และกุศลอันใดที่จะเกิดแก่บทความอันเป็นภูมิปัญญาของบรมครูแล้วไซร้ ขออ้างผลบุญกุศลนั้นไปถึง คุณบิดา มาร เทพสังคีตาจารย์ บรมครูเทพเจ้า บรมครูมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั่วทุกหนแห่งด้วยเถิด


    ขัน ๕ กำนล ๖

    บทความนี้เรียบเรียงจาการฟังคำบรรยายของอาจารย์พิชิต ชัยเสรี ที่บรรยายไว้เมื่อวันที่
    ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ในการเรียนการสอนวิชา “รวมวงดนตรีไทย”ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมชนบท มหาวิทยามหิดล ประจำภาคต้นการศึกษา ๒๕๓๖ จึงขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ผู้ให้ปัญญา ความคิด และชีวิตในการสังคีตไว้ ณ ที่นี้
    วัฒนธรรมของการศึกษาเล่าเรียนวิชาในเชิงศิลปะของไทยทุกแขนงที่มีมาแต่โบราญมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันต่อมาว่าผู้ศึกษาจะต้องได้ผ่านพิธีการไหว้ครูเสียก่อนจึงจะลงมือศึกษาวิชาศิลปะแขนงนั้นๆโดยเฉพาะศิลปะการสยามสังคีตด้วยแล้ว เป็นสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัด เชื่อถือว่าการได้มีพิธีไหว้ครูจะก่อให้เกิดเป็นสิริมงคล ทั้งแก่ตัวผู้ศึกษาและครูผู้ถ่ายทอดสั่งสอนด้วย ทั้งยังป้องกันอันตรายและความอัปมงคลทั้งหลายให้พินาศไป เรื่องระเบียบแบบแผน ขั้นตอน ความสำคัญ วิธีการไหว้ครูนั้นท่านผู้สนใจจะพึงหาอ่านได้สะดวก จึงไม่นำมากล่าวซ้ำอีกในบทความนี้แต่จะได้พิจารณาถึงสิ่งที่ศิษย์จัดเตรียมเฉพาะตนที่จะเข้ามาไหว้ครู อันได้แก่ขัน๕ กำนล ๖
    ขัน ๕ ที่กล่าวนี้คือ การนำสิ่งของรวม๕สิ่ง มาบรรจุลงในขันขนาดใช้เป็นตักน้ำล้างได้ หน้าได้ สำหรับมอบให้ครูผู้ทำพิธีไหว้ครู เพื่อประสิทธิ์วิชาหรือครอบให้ต่อไป สิ่งของเหล่านั้นก็คือ
    ๑. ดอกไม้ โดยทั่วไปไม่ได้กำหนดเจาะจงตายตัวในรายละเอียด เพียงแต่จัดให้ดูเหมาะสม หรือจะเป็นพวงมาลัยก็ได้
    ๒. ธูป
    ๓. เทียน
    ๔. ผ้าขาว ไม่จำกัดความกว้างความยาว บางทีอาจมีขนาดเท่าผ้าสบง จีวร ของพระก็ได้
    ๕. เงิน หรือเรียกว่าเงินกำนล จำนวน๖บาท
    สิ่งของทั้งหมดนี้ ครูผู้ทำพิธีใช้บูชาครูเทพสังคีตาจารย์ เพื่อขออนุญาตและประสิทธิ์ประสาท ความเป็นสิริมงคลในการเรียนให้แก่ศิษย์ต่อไป การไหว้ครูในพิธีเช่นนี้เท่ากับได้ไหว้ครูผู้เป็นมนุษย์และเทพ ยุดาพร้อมกันไปด้วย เมื่อเสร็จจากพิธีแล้วสิ่งของเครื่องบูชานี้ ยังจะใช้ทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ครูดนตรีผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยจะใช้เงินกำนลเป็นค่าอาหารบิณฑบาตถวายพระ เชื่อถือว่าถ้าถ้าผู้ใดถือเอาเงินเหล่านี้เป็นสิทธิ์ส่วนตัวโดยไม่ได้ใช้เพื่อการประกอบกุศลให้แก่ครูแต่ปางบรรพ์แล้ว จะเป็นความอัปมงคลแก่บุคลผู้นั้น ผ้าขาวก็ถวายแด่พระสงฆ์ด้วย เพื่อท่านจะได้รวบรวม ไว้เย็บย้อมทำจีวร ส่วนขันก็ถวายพระให้ท่านได้ใช้สอย เข้าใจว่าสมัยก่อนจะใช้บาตรได้อีกด้วย เพราะสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตว่าให้ใช้บาตรขนาดศีรษะมนุษย์แต่ทรงห้ามบาตรที่ทำกระโหลกศีรษะและบาตรที่ทำจากรัตนะชาติ พ้นจากนั้นไม่เป็นประมาณ พระในสมัยก่อนใช้บาตรที่ทำจากดินเผาซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกทำลายได้ง่ายพระจึงมีสิกขาบทหรือศีลที่ให้ระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับบาตรเป็นจำนวนมาก การใช้บาตรโลหะจึงเป็นสิ่งที่อำนวยสบายขึ้น และมีคุณประโยชน์ในการใช้ยิ่งขึ้นแสดงให้เห็นว่า ครูโบราณจารย์ท่านมีความคิดที่แยบคายมากที่ได้กำหนดสิ่งของในการทำพิธีอันจะเป็นประโยชน์รอบด้าน คือประโยชน์เบื้องต้นที่ใช้ในกิจพิธี ประโยชน์ในท่ามกลางคือเสร็จจากกิจในพิธีแล้วยังเป็นคุณประโยชน์ต่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และ

    ประโยชน์ในเบื้องปลาย คือกุศลอันบังเกิดขึ้นและได้อุทิศแด่ครูบาอาจารย์ผู้ไปสู่ปรโลก นับว่าครบถ้วนในประโยชน์อันพึงกระทำได้ในกาลทั้งสาม
    ถ้าหากพิจารณาขัน ๕ ที่ใช้ในการประกอบวิธีไหว้ครูนี้ในเชิงสัญลักษณ์ จะเห็นว่าเสียงเรียกนี้พ้องกับคำว่า ขันธ์ ๕ อันเป็นหมวดพระธรรม ที่อธิบายภาวะความมีอยู่ของสัตว์โลกชนิดหนึ่งเรียกว่าเบญจขันธ์ คือประกอบด้วย ๕ กอง
    ๑. กองรูป ที่เรียกว่า รูปขันธ์ คือส่วนประกอบไปด้วยไปด้วยธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมขึ้นเป็นกาย หรือรูปกายของคน สัตว์ บุคคลต่างๆ
    ๒. กองเวทนา หรือ เวทนาขันธ์ หมายถึงความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์หรือเป็นกลางๆไม่สุขไม่ทุกข์ ที่ปรากฏอยู่ในภาวะของสัตว์ทั้งหลาย
    ๓. กอง สัญญา หรือ สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้
    ๔. กองสังขาร หรือ สังขารขันธ์ความประชุมเข้าด้วยกัน สภาพที่ปรุงแต่ง หรือหมายถึงความคิด
    ๕. กองวิญญาณ หรือ วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ตัวจิตที่ทำหน้าที่รู้ในสิ่งต่างๆ
    พวกแรกได้จัดว่า คือ กาน พวกที่ ๒ - ๕ ก็คืออันมีวิญญาณเป็นจิต และมีเวทนาสังขาร สัญญาสังขารเป็นเจตสิก คือเครื่องประกอบของจิต รวมความทั้งหมดก็คือขันธ์ ๕ นี้เอง ที่ประกอบเข้าเป็นกายและใจของเราทั้งหลาย จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นไปได้ที่โบราณจารย์ทางศิลปะของไทยจะซ่อนความหมายไว้ในจำนวนสิ่งของที่ใช้ในพิธีไหว้ครูอันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้กำหนดไว้ว่า หมายถึงผู้ที่จะเข้ามาในขอบเขตอาณาจักรแห่งศิลปะนี้ ต้องเข้ามาพร้อมเพียงกันทั้งกายและใจ จึงจะบริบูรณ์พร้อมสรรพ และจะเกิดความสำเร็จขึ้นได้ด้วยว่าการจะเกิดเป็นศิลปินขึ้นมาได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างยิ่งยวด ไม่ว่าเป็นศิลปะแขนงใด กว่าจะผ่านและสำเร็จแต่ละขั้นต้องใช้จำต้องอาศัยความอดทน ขยันหมั่นเพียรอันเกิดจากแรงแรงใจของตนอย่างแรงกล้า หากมีเพียงแต่กายหรือใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่อาจถึงจุดหมายได้ การประคองขันธ์ ๕ มาส่งมอบต่อครูจึงเป็นดั่งสัญลักษณ์ที่แสดงว่าพร้อมจะเข้ามาสู่ศิลปะแขนงนั้นๆแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดนตรี ด้วยกายและใจและแม้แต่การทำพิธีครอบเรียนวิชาที่สูงขึ้นอีกขึ้นเช่น ในการเรียนเพลงเดี่ยวสำคัญหรือเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ ตลอดจนถึงที่สุดในการรับมอบเป็นผู้อ่านโองการไหว้ครูต่อไปก็ยังต้องใช้ขันธ์ ๕ นี้อย่างเดียวกันทั้งสิ้น จึงเปรียบเสมือนดั่งการย้ำเจตจำนงอันมุ่งมั่นแน่วแน่ของศิษย์ที่มีต่อวิชาและครู ตลอดจนถึงเทพสังคีตาจารย์ผู้ปกปักคุ้มครองดูแลการดนตรีด้วยกายและใจของตนที่เดียว
    เรื่องของเงินกำนลนั้น โบราณจารย์ท่านกำหนดจำนวนไว้ เช่น หกสลึง หกบาท เป็นต้นไม่ได้เกินไปกว่าหกหรือเป็นทวีคูณของหก หรือเป็นจำนวนแล้วแถมท้ายด้วยหกอย่างที่ลางแห่งกำหนดกันในปัจจุบันที่โบราญกำหนดเป็นพิเศษนอกจากนี้ก็เห็นมีเพียงค่ากำนลของการเรียนหรือต่อเพลงทยอยเดี่ยว ที่ท่านกำหนดไว้ร้อยบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นค่ากำนลที่สูงที่สุด พ้นไปจากนี้ก็ไม่พบอัตราอื่นอีก เมื่อได้พิจารณาถึงจำนวนเลข ๖ ก็คิดว่าน่าจะมีนัยสำคัญเป็นความหมายซ่อนอยู่บ้าง เชื่อว่าโบราณจารย์ ท่านคงไม่กำหนดขึ้นมาลอยๆโดยไม่มีเค้าเงื่อนเป็นแน่แท้ จำนวนเลข ๖ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคมไทยควรหยิบยกมาพิจารณา ได้แก่เรื่องพระธรรมคุณ ๖ ประการ ซึ่งความหมายของ พระธรรมคือเรื่องอบรมสั่งสอน หรือการศึกษานั่นเอง ในการเรียนดนตรีนี้ก็ควรมีองค์คุณ๖ประการด้วยกัน ความสัมฤทธิ์ผลของการเรียนจึงจะเป็นถึงขั้นอุดมศึกษา

    มีคุณค่า ดังประหนึ่งพระธรรมคุณ ของพระองค์ นั่นคือ
    ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม คำสอนอันดีแล้ว
    ๒. สันทิฏฐิโก พึงรู้พึงเห็นได้
    ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ทันสมัย
    ๔. เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ท้าทายให้คนอื่นมาพิสูจน์ได้
    ๕. โอปนยิฏโก เป็นสิ่งควรน้อมนำมาสู่ตน
    ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึ่งจะรู้ได้เฉพาะตน
    นี่แสดงให้เห็นว่า ครูโบราณจารย์ท่านให้ความสำคัญ และยกย่องวิชาเป็นอย่างและถ้าพิจารณาในเชิงโหราศาสตร์ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่คู่กับชาติไทยมานาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เองของพิธีกรรมด้วยแล้ว มักมีสัญลักษณ์และความหมายแทรกอยู่ด้วยเสมอ ถ้าพิจารณาก็จะพบความแยบยลนั้นได้ ในทางโหราศาสตร์ไทยกำหนดให้เลข๖เป็นเครื่องหมายแทนดาวศุกร์ คือนับจากอาทิตย์ เป็น ๑ จันทร์เป็น ๒ เรียงกันไปตามลำดับของวันทั้งเจ็ด ตำแหน่งเลข ๖ หรือดาวศุกร์มีความหมายถึง ศิลปะ ความสวยงาม ความไพเราะ น่ารักน่าใคร่ หรือกามคุณ ความยินดีความพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันน่าใคร่พอใจ ก็ดนตรีเองก็เป็นศิลปะอันอยู่ในกลุ่มลักษณะของดาวศุกร์นี้ ชะรอยว่าจำนวนกำนล ๖ จะแสดงความหมายตามนัยนี้ด้วย ก็น่าจะเป็นได้ การเริ่มต้นด้วยจำนวนเลข ๖ จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี โดยเฉพาะในทางศิลปกรรม หรือ พิจารณาอีกแง่หนึ่ง คือจำนวนเลข ๖ นี้เป็นกำลังของพระอาทิตย์ ในการศึกษาวัฒนธรรมของโลกนี้ทั้งหมด ดูเหมือนความเห็นลงรอยกันว่าพระอาทิตย์นั้น เป็นเทพแห่งการกำเนิดสรรพสิ่งรวมทั้งศิลปะวิทยาการด้วย หากปราศจากดวงอาทิตย์แล้วก็ขาดต้นกำเนิดจะเป็นสิ่งต่างๆ ต่อไปแม้ในทางวิทยาศาสตร์ก็ยังเชื่อว่า โลกแตกตัวจากดวงอาทิตย์ และทุกสิ่งบนโลกนี้ก็ต้องอาศัยดวงอาทิตย์เป็นกำลัง จึงจะเกิดมีสิ่งต่างๆปรากฏเกิดขึ้นได้ ดังนั้น จำนวนกำนล ๖ จึงอาจจะเป็นเคล็ดว่าขอกำลังแห่งดวงอาทิตย์เพื่อสร้างสรรค์เป็นพลังขึ้นในตัว เป็นต้น เค้าจะสืบต่อศิลปะดนตรีต่อไปข้างหน้า ให้เกิดความเจริญงอกงามด้วยก็อาจเป็นได้ และถ้าหากจะพิจารณาจากคติความเชื่อในตรัยภูมิอีกแง่หนึ่ง จำนวน ๖ นั้น หมายถึง สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ที่เรียกว่า ฉกามาวจรภูมิ คือ
    ๑. จตุมหาราชิก
    ๒. ดาวดึงส์
    ๓. ยามะ
    ๔. ดุสิต
    ๕. นิมมานรดี
    ๖. ปรนิมมิตสวัตดี
    ซึ่งก็คือสวรรค์อันเป็นที่ท่องเที่ยวไปในกามคุณอันละเอียด ประณีต และอุดม ซึ่งรวมทั้งศิลปะดนตรีที่มีอยู่อย่างโอฬารในสวรรค์นั้น ๆ ทุกชั้น ดังนั้นครูโบราณจารย์ท่านจึงมองเห็นว่าดนตรีที่จะศึกษาเล่าเรียนกันนี้เป็นของสำคัญในสวรรค์อันหมู่เหล่าเทพยดา นางฟ้า ทั้งหลายต้องเสพเป็นของทิพย์ ของวิเศษที่มีอยู่ประจำในสวรรค์ทั้งหกชั้นนั้นด้วย นี้ก็เป็นสิ่งที่น่าคิดพิจารณาถึงความสำคัญและความหมายของจำนวนเงินกำนล ๖ ที่ครูโบราณจารย์ท่านกำหนดไว้ ซึ่งจะซ่อนความหมายนัยใดนัยหนึ่งไว้ก็อาจเป็นได้

    การที่จะกำหนดเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่ท่านได้กำหนดไว้ อาจจะทำให้เค้าเงื่อนหายไปจนหาที่มาที่ไปไม่ได้ในกาลภายหน้าถ้าหากจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะเหตุผลจากนัยทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวแล้ว ก็นับว่าตื้นเขินอยู่ก็ถ้าหากว่าจำเป็นเช่นนั้นจริง ก็ควรเปลี่ยนจากเงิน ๖ บาทเป็นทองคำหนัก ๖ บาท ดูบ้างเป็นไร ครูท่านจะได้มูลค่าเพิ่มขึ้นสมเจตนา
    การถือเอาขัน ๕ กำนล ๖ นอบน้อมเข้ามาไหว้ครูบูชาพระคุณครูในพิธีกรรมการไหว้ครูดนตรี หรือในศิลปะแขนงอื่น เช่นนี้ก็ดี นับได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงความสุภาพ นุ่มนวล อันเป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยโดยแท้ ที่ยังความเจริญให้เกิดขึ้นในชาติมาแต่ครั้งโบราณกาล ดังที่พุทธองค์ได้ตรัสไว้แล้วว่า

    “อภิวาทนะ สีลิสสะนิจจัง วุฑฒา ปจายิโน
    จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง”

    ธรรมะ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข พละ ย่อมเจริญแก่นรชนผู้มีนิสัยกราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์ ดังนี้แล
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  8. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,339
     
  9. piramid111

    piramid111 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    462
    ค่าพลัง:
    +1,204
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ เช่นกัน ได้รับความรู้ครบตามตำราเลย ขอขอบพระคุณ คุณมหาโอ๊ต
    อย่างมากๆค่ะ
    ;aa7
     
  10. รักในหลวงครับ

    รักในหลวงครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +102
    ธูป10ดอกเทียน10เล่มดอกไม้10ดอกเงิน12บาท
    จัดใส่พานหรือขันธ์ถ้าไม่มีทั้ง2อย่างใส่จานก็ได้
    ธูป เทียน เงิน ห้ามทิ้งห้ามจุด ห้ามใช้ซ้ำ ห้ามให้คนอื่นถวายวัดลูกเดียว
     
  11. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ไม่รู้เรื่องเลยสักอย่าง เพิ่งเข้าใจนี่แหละค่ะ
     
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ทางยโสธร ที่ครูบาอาจารย์สอน ซึ่งอาจแตกต่างจากจังหวัดอื่น

    ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกรายใบตองอันเล็กๆ 5 อัน กรวยแต่ละอันใส่ดอกไม้ขาว 1 คู่ เทียน 1 คู่ เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเรา (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

    ขันธ์ 8 คล้ายๆขันธ์ 5 แต่มีกรวย 8 อัน ใช้แทนขันธ์ธรรม คืออริยมรรคมีองค์ 8

     

แชร์หน้านี้

Loading...