ถก"พระสงฆ์-สื่อ"จรรโลงพุทธ แนะปรับกลยุทธ์เผยแผ่ให้ทันโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย paang, 2 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    "สื่อสารมวลชน" ในฐานะผู้นำทางความคิด ถือว่ามีบทบาทสำคัญ มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยประชาชนให้ความไว้วางใจ เชื่อใจเป็นอย่างยิ่ง

    การนำเสนอข่าวสารสู่สาธารณชน จึงควรตระหนักถึงหลักจริยธรรม ศีลธรรม เป็นสำคัญ

    ขณะเดียวกัน เพื่อบรรลุผลแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระสงฆ์สาวกแห่งองค์พระศาสดา ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ จำเป็นจะต้องหาช่องทางเผยแผ่หลักธรรมคำสอน สู่จิตใจประชาชน เพราะหน้าที่ของพระสงฆ์ที่เป็นแก่นแท้ คือ นำพาสรรพสัตว์ให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์

    ผลสัมฤทธิ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน จึงควรใช้ภาษาถ้อยคำที่ง่ายแก่การทำความเข้าใจ และที่สำคัญต้องปรับให้เข้ายุคสมัย อย่าให้ภาษาเป็นตัวปิดกั้นองค์ธรรม ต้องตรงใจผู้ให้ และถูกใจผู้รับ ส่วนเนื้อธรรม แก่นธรรม ยังคงต้องรักษาไว้เช่นเดิม

    ในโอกาสนี้ นักศึกษาระดับปริญญาโท เอกธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดอภิปรายสัมมนาวิชาการประจำเดือน ในหัวข้อเรื่อง "การประชาสัมพันธ์กับสื่อมวลชนร่วมสมัย"
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    โดยมีพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ, น.ส.สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ผู้ประกาศข่าว น.ส.ปนัดดา วงษ์ผู้ดี นักวิชาการ นักแสดงชื่อดัง เป็นผู้ร่วมบรรยาย และนายวุฒินันท์ กันทะเตียน เป็นผู้ดำเนินรายการ

    จึงนับเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งสำหรับแวดวงพระพุทธศาสนาและแวดวงสื่อสารมวลชน ที่ได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

    พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวว่า เราควรจะหาช่องทางการประชาสัมพันธ์ เพราะคำว่าสื่อมวลชนเป็นคำที่กว้างมาก ตัวเราเองสามารถเป็นสื่อมวลชนได้ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ด้วยพระพยอมได้จัดทำริงโทนลงบนจอโทรศัพท์มือถือ ถือว่ามีความน่าสนใจมาก มีคอลัมน์พระธรรมวันนี้

    "การพูดในเชิงอุดมคติจะไม่มีผลแต่อย่างใด เราเข้ามาสู่ยุคของการโฆษณา ยุคของการประชาสัมพันธ์ ดังนั้น งานชิ้นสำคัญของท่านพุทธทาส จึงให้ชื่อว่า ธรรมโฆษ หรือการโฆษณาในยุคสมัยก่อนจะถึงยุคโลกาภิวัตน์ เพราะท่านมองเห็นว่า กำลังจะเขาสู่ยุคของการประชาสัมพันธ์ ถ้าเราไม่ใช้สิทธิตรงนี้ เราจะล้าหลังมาก"

    น.ส.สายสวรรค์ ขยันยิ่ง กล่าวว่า ควรจะตั้งคณะกรรมการการประชาสัมพันธ์ขึ้นมารับผิดชอบ มิฉะนั้น ข่าวสารการพระศาสนาจะไม่มีการสื่อสารออกสู่สาธารณะ ในวงการสื่อสารมวลชน เรื่องความเสียหาย มักจะปรากฏเป็นข่าว แม้จะพยายามปกปิดก็ตาม แต่เรื่องที่ดีส่งเสริมศีลธรรม ไม่เคยเป็นข่าวดัง

    "ถ้าเรามีคณะประชาสัมพันธ์คอยส่งข่าว แจ้งว่ามีกิจกรรมนั่นกิจกรรมนี่ ตรงนั้นตรงนี้ หนทางในการเผยแผ่สู่สาธารณชน ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จได้"

    ด้านน.ส.ปนัดดา วงษ์ผู้ดี นักแสดงชื่อดัง กล่าวว่า "เราต้องเข้าใจธรรมชาติความเป็นจริงของสื่อ อย่าไประบุว่าสื่อชอบลงข่าวของพระที่ไม่ดี ข่าวดีๆ ไม่เห็นมีลงบ้าง พระไม่ดีที่ตกเป็นข่าว มันเป็นเรื่องราวร้องทุกข์ที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามา นักข่าวมิได้เสาะหาเฉพาะข่าวพระนอกรีต แต่ในการนำเสนอข่าว บางครั้งจำเป็นต้องเปิดมุมมืดบ้าง เพื่อเป็นการสะกิดเตือนให้สังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความตื่นตัว ในการเตรียมหาวิธีแก้ไขป้องกันต่อไปในอนาคต"

    นายวุฒินันท์ กันทะเตียน กล่าวว่า การนำเสนอข่าวที่มีผลกระทบต่อจิตใจของประชาชน กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังให้จงหนัก เพราะนี่คือศูนย์รวมใจของคนทั้งประเทศ อย่าปล่อยภาระความรับผิดชอบ อยู่ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง ชาวพุทธทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน จึงจะประสบผลสำเร็จ

    เมื่อพระภิกษุและสื่อสารมวลชน ประสานความร่วมมือในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว

    ก็ย่อมจะทำให้การเผยแผ่ธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    ที่มา : http://www.matichon.co.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...