ชนะด้วยคาถาชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 12 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    ศาสตราจารย์ ดร. อุทิส ศิริวรรณ
    นายกสมาคม DBA
    วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2556

    ช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้ ประเด็นที่ขอนำเสนอคือ “ชนะด้วยคาถาชินบัญชร”

    ปีนี้ มีข่าวคราวพระสงฆ์ค่อนข้างมาก ต้องแยกให้ออกระหว่างข้อผิดพลาดของ “พระสงฆ์” กับ “วัด” หรือ “สถาบันพุทธศาสนา” ให้ออกจากกัน
    ตลอด 90 วันนี้ ผมอยากรณรงค์เชิญชวนสวดคาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดสิริพิพัฒนมงคล
    ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะทราบกันว่า คาถาชินบัญชร เป็นคาถาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม แนะนำให้ประชาชนทั่วไปสวด เพื่อให้เกิดสิริมงคล สุขสวัสดี มีโชคมีชัย
    แต่น้อยคนนักที่จักทราบว่า คาถานี้ ยังไม่ได้ข้อยุติว่า แต่งขึ้นที่ใด บางแห่งอ้างว่า แต่งขึ้นที่ “ลังกา” บ้างก็อ้างว่าแต่งที่ “เชียงใหม่”
    เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ได้นำเสนอหลักฐานใหม่ ไขปริศนา ใครรจนา “คาถาชินบัญชร”คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี พิมพ์เผยแพร่ผ่านมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1639 หน้า 76
    บทความนี้ได้นำเสนอข้อมูลไว้น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้
    “คาถาชินบัญชรแต่งขึ้นที่ “ลำพูน” โดยพระชัยมังคละเป็นพระมหาเถระชาวเมืองหริภุญไชย ในปี พ.ศ.1981 ท่านได้จารคัมภีร์ใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) ไว้ฉบับหนึ่ง ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญอย่างยิ่งยวด สามารถใช้เป็นเครื่องยุติปริศนาข้อที่ว่า ใครรจนาพระคาถาชินบัญชรได้ชะงัดนัก
    คัมภีร์ดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของ “อาจารย์ศรีเลา เกษพรหม” ข้าราชการบำนาญ อดีตนักจารึกวิทยา-นักภาษาโบราณแห่งสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    เนื้อหาในคัมภีร์กล่าวถึง การเดินทางไปกราบนมัสการพระเขี้ยวแก้วหรือพระทันตธาตุที่เมืองลังกา ณ ที่นั้น พระชัยมังคละได้พบกับครูบานักปราชญ์ชาวลังการูปหนึ่ง ซึ่งได้มอบ “คาถาชัยบัญชร” (คนไทยเรียกชินบัญชร) จำนวน 14 บท พร้อมด้วยประวัติความเป็นมาของการแต่งอีกด้วย เมื่อพระชัยมังคละเดินทางกลับมาลำพูน ได้สวดถวายแด่พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา ในคราวเสด็จมานมัสการพระธาตุหริภุญไชย
    จากนั้นพระเจ้าติโลกราชโปรดให้นำมาเป็นคาถาสวดประจำราชสำนัก เพื่อปัดเป่าเวทมนตร์คุณไสยเสนียดจัญไรในเชียงใหม่ พร้อมให้คัดลอกเผยแผ่กระจายไปสู่วัดต่างๆ ทั่วภาคเหนือจนถึงราชสำนักอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ
    แม้แต่ในยุคที่บุเรงนองตีล้านนาแตก แล้วให้โอรสผู้มีนามว่า นรธามังช่อ (อโนรธา) ปกครองเชียงใหม่นั้น ทั้งบุเรงนองและอโนรธา ต่างก็นำคาถาชัยบัญชรจากราชสำนักล้านนา มาท่องเป็นคาถาสวดคู่กายในยามออกรบแทนคำสวดมนตรยานดั้งเดิมแบบพม่า”
    ช่วงเข้าพรรษานี้ แนะนำให้สวด “คาถาชินบัญชร” เพราะนอกจากจะทำให้ผู้สวดและผู้ฟังต่างเกิดปีติโสมนัสสบายอกสบายใจแล้ว ยังก่อให้เกิดความสงบสุขทั้งกายและใจตลอดจนเกิดศรัทธาแน่นแฟ้นในคุณพระรัตน ตรัยและพระอรหันต์อเนกอนันต์
    การสวดมนต์ เป็นพุทธวิธีในการควบคุมความคิดมิให้ฟุ้งซ่าน คลายเครียด รักษาสุขภาพ ลดโรคต่างๆ ได้ผลชะงัด ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน รวมถึงไขมันในเส้นโลหิตสูง
    สวดมนต์ ทำให้ชีวิตสะอาด สงบ สว่าง แม้ไม่มีเงิน ถ้าหมั่นสวดมนต์ รักษาศีล เจริญภาวนาก็ทำให้ได้บุญกุศลมหาศาลไม่แตกต่างจากใช้เงินทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน

    ยามที่ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย เครียด ลองนำคาถาชินบัญชรมาสวดภาวนาดู จะพบว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง คลายเครียด และสุขกายสบายใจได้เช่นกัน
    เข้าพรรษานี้ อย่าลืม สวดคาถาชินบัญชรให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 จบนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...