จุดเริ่มต้นของการปฎิบัติธรรม......

ในห้อง 'ทวีป ยุโรป' ตั้งกระทู้โดย rapeepat, 28 สิงหาคม 2012.

  1. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    จุดเริ่มต้นของการปฎิบัติธรรมอยู่ที่ไหน……


    ผู้ใฝ่ธรรมทั้งบรรพชิตและฆราวาส ส่วนมากมีศรัทธาในการตั้งใจปฏิบัติธรรมกันอยู่ไม่น้อย และต่างก็มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมกันมากมาย แต่หลักแห่งการปฏิบัติ จริงๆนั้นยังไม่มี ยังจับไม่ได้ ยังไม่เข้าใจ ยังไม่รู้จะเริ่มต้นทำกันตรงไหน อย่างไร จึงจะพยามที่จะแสวงหาครูบาอาจารย์ แสวงหาสำนักปฏิบัติธรรม แสวงหาความรู้จากตำรับตำราบ้าง แสวงหาในคัมภีร์พระไตรปิฏกบ้าง ด้วยความเข้าใจว่าพระธรรมแท้ ๆอยู่ ณ ที่นั่นในนั้น

    ขออธิบายว่านั่นเป็นธรรมภายนอก เป็นหลักเพื่อให้รู้ห้เข้าใจ ดังเช่นการรู้และเข้าใจในแผนที่เท่านั้น ยังมิใช่ของจริง หากท่านยังมิได้ลงมือเดินทางด้วยตัวเอง จริง ๆแล้ว แผนที่หรือความรู้นั้นก็ไม่สามารถจะนำท่าน ไปถึงจุดหมายปลายทางที่แท้จริงได้ ดังนั้นธรรมแท้ๆ จะต้องเกิดขึ้นที่ตัวเรา อันเป็นธรรมภายในต่างหาก หมายถึงจะต้องเริ่มต้นเดินทางด้วยตัวเองจริง ๆ อีกที คือ ต้องกระทำที่ตนเองอีกที นั้นเอง

    แล้วเราจะเริ่มต้นที่จุดไหน จะทำอย่างไร นี่คือปัญหาที่แท้จริงของนักปฏิบัติบัติธรรมทุกท่านที่กำลังเป็นอยู่…….

    เด็กน้อย..ในแดนธรรม<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    หลักแท้ ๆ ของการปฏิบัติธรรมมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ปัจจุบัน ทุกขณะของปัจจุบันที่รู้สึกตัว คือจุดเริ่มต้นทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นขณะนี้เรากำลังอ่านหนังสืออยู่ รู้และเข้าใจก็คือ จุดเริ่มต้นแห่งความเข้าใจ

    เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว เราต้องมีความตั้งใจด้วย คือตั้งใจที่จะปฏิบัติจริง ๆ ก็ต้องมีปัจจุบันแห่งการ ปฏิบัติ อีก หมายถึงการกระทำ ขอให้เข้าใจว่า ธรรมแท้ๆ จะต้องอยู่ที่มีสติรู้อยู่ภายในกายภายในใจตนเท่านั้น จึงจะใช่และ "รู้" นั้นจะต้องเป็นรู้ของปัจจุบัน ด้วย เช่นตื่นเช้าขึ้นมาพอรู้สึกตัว ก็ให้เรามี "สติ" คือมีความรู้สึกตัว ย้ำความรู้สึกลงไปอีกที ด้วยการรู้การกระทำที่เกิดขึ้นภายในกาย ภายในใจตน หรือการตามดูกายดูใจตน สนใจดูคาวมเคลื่อนไหวของกายว่า ปัจจุบันนั้นการเกิดอะไรขึ้น มันเป็นอย่างไร สุขหรือทุกข์ มันทำอะไรก็ให้ตามดูตามรู้ อาการอันเป็นการกระทำที่เคลื่อนไหว ของมันไปเรื่อยๆ เมื่อทำแล้วภายในจิตใจเกิดอาการอย่างไร ยินดียินร้าย ก็ให้รู้ทัน ปัจจุบันของอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในใจของตนด้วย ดู "ใจ" และ "อารมณ์ของใจ" ที่เกิดขึ้นด้วย "สติ" จึงจะเป็นผู้ดู ผู้รู้ ผู้เห็น หรือ "พุทโธ" ก็คือตัวนี้แหละ

    พยามจับปัจจุบันทั้งกายและใจให้ทันจริงๆ คอยสังเกตดูว่าเหตุเกิดนั้นเกิดที่ไหน จากกายสู่ใจ หรือ ใจสู่กาย มันสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมมันถึงเป็นเช่นนี้ ก็ให้พยายามเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น และค้นคิดพิจารณาหาสาเหตุ อันเป็นจุดเริ่มต้น คือเหตุที่แท้จริงของมันให้ได้ เพราะธรรมะเป็นเรื่อง โอปนยิโก คือการรู้ตน เห็นตน ทำตน

    การเฝ้ารู้กายรู้ใจภายในของตนอยู่เสมอในทุก อิริยาบถ ทุกการกระทำ - พูดคิด ในขณะปัจจุบันที่ตนรู้ตน อยู่เสมอนั่นแหละ คือการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    เพิ่มเติม

    เพิ่มเติม

    หากรู้ภายในอันเป็นเหตุแท้ๆ ได้หมดได้จริงเมื่อไหร่ ก็สามารถรู้ธรรมภายนอกอันเป็น "ผล" ได้ด้วย เพระธรรมภายในเป็นเหตุ เป็นตัวจริง ส่วนธรรมภายนอกนั้นเปรียบเสมือน "เงา"

    การวิ่งไล่จับเงาอันเป็นธรรมภายนอก แม้จะวิ่งไล่จับสักเท่าไหร่ ก็ไม่สามรถจับได้อย่างแน่นอน หากจิตไม่รู้เท่าทัน เกิดหลงยึดก็เป็นอุปาทานได้อีกเช่นกัน

    ดังนั้นหากจับธรรมภายในอันเป็นตัวจริงได้แล้ว "เงา" อันเป็นธรรมภายนอกก็จะรู้เอง เพราะมันเป็นผลสะท้อนจากธรรมภายในที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเอง

    ธรรมภายนอกก็เกิดขึ้นจากธรรมภายในนี่แหละ ที่เป็นเหตุ เมื่อรู้ธรรมภายในใจตนแล้ว ก็จะรู้ธรรมภายนอกได้หมดเช่นกัน ที่เรียกว่า " โลกะวิทู" นั่นเอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    ต้องใช้เวลาปฏิบัติธรรมนานเท่าใดจึงจะได้ผล………


    คนส่วนมากมักจะถามว่า การปฏิบัติธรรมนั้น จะต้องใช้เวลาในการนั้งหลับตาภาวนานานสักเท่าไหร่ โดยเข้าใจเอาเองว่าการนั้งหลับตาได้นานๆ คือผลของการปฏิบัติ แต่หาใช่ไม่

    การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นเรื่องของจิตใจ มิใช่กาลเวลาจะนั่งนานหรือไม่นาน นั่นมิใช่ผลที่จะนำมาเป็นเครื่องตัดสินได้ สำคัญอยู่ที่ว่าการนั้งแต่ละครั้งนั้นจิตสงบไหม จิตตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน ได้จริงไหมต่างหาก

    บุคคลใด แม้จะนั่งได้นิดเดียว หรือนั่งได้นานก็ตาม แต่จิตสงบได้ตลอดสาย นั้นคือสิ่งที่ดีมาก

    บุคคลใด นั่งได้นาน ๆ แต่จิตใจสงบบ้างไม่สงบบ้าง นั้นดีพอใช้

    บุคคลใด นั่งได้นาน ๆ แต่จิตใจไม่สงบเลย นั้นยังใช้ไม่ได้

    และมักจะมีคำถามต่อมาอีกว่า การปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องใช้เวลานานกี่ปีจึงจะได้ผลจึงจะสำเร็จ การปฏิบัติธรรมนั้นไม่เกี่ยวกับกาลเวลา เป็น อากาลิโก เหนือกาลเวลา ไม่มีกำหนดระยะเวลาเหมือน การเรียนของโรงเรียนทางโลก ซื่อจะต้องมีกำหนดเวลาว่าเรียนกี่ปีจบ

    ขออธิบายว่า จุดหมายปลายทางคือระยะทางเดิน นั้นยาวเท่ากันหมดทุกคน หมายถึง ให้จิตนั้นออกจากความโลก ความโกรธ ความหลงให้ได้ ให้หมดสิ้น
    ใครพยายามละความโลภ ความโกรธ ความหลงได้มากกว่า ได้บ่อยกว่า ก็อิสระก่อน
    ใครขยันเดินก็ถึงก่อน
    ใครเดินบ้างหยุดบ้างก็ถึงช้า
    ใครไม่เดินก็ไม่ถึง

    ทุกอย่างอยู่ที่การกระทำของตนเอง คือของใครของมันนั้นเอง ที่จะเป็นเครื่องตัดสินกาลเวลาว่าใครจะถึงจุดหมายปลายทางก่อนกัน
    ซึ่งใครก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ชัดเท่ากับตัวของเราเอง เป็นผู้รู้ตนเองเห็นตนเอง ที่เรียกว่า "ปัจจัตตัง" คือบุคคลพึงรู้ได้ด้วตนเองเฉพาะตนเท่านั้น
    ผู้ที่จะตัดสินได้อย่างแท้จริง คือธรรมที่ตนรู้ตน ว่าหมดหรือไม่หมด ย่อมจริงและชัดที่สุด นี่คือ…..สัจธรรม

    การอยู่กับ ลาภ ยศ เกียรติ สรรเสริญ ได้ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา

    การอยู่กับ ความสิ้นลาภ สิ้นยศ สิ้นเกียรติ สิ้นสรรเสริญ อีกทั้งมีคำตำหนินินทา ได้อย่างปกติ นั้นคือ ธรรม<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    จงเข้าใจให้ถูกต้อง……


    หลักในการปฏิบัติธรรมนั้น ให้ทำสติ มิใช่ทำสมาธิ เพราะสมาธิคือผลที่เกิดจากการทำ สติ แล้วต่างหาก ตัวสติสตินั่นแหละคือมรรคหรือเหตุที่ควรทำ

    เมื่อไม่ทำเหตุแล้วจะไปเกิดผลได้อย่างไร เพราะสมาธิคือ ผล เป็นปัจจัตังที่รับรู้ได้เฉพาะตน ผู้ที่ไม่เคยสัมผัสยากนักที่จะเข้าใจได้
    มันมีการเรียนข้ามขั้น จึงทำให้เกิดความ วก วน ลังเลสงสัย จนทำให้เข้าใจผิดคิดว่าสมาธิเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ทำแล้วไม่ได้ผลสักที่
    นั่นเป็นเพราะหาทางเดินหรือวิธีทำหรือมรรคยังไม่ถูกนั่นเอง ทางที่จะเดินยังไม่มี ยังไม่รู้ แล้วจะถึงจุดหมายได้อย่างไร จริงไหม

    ขอให้เข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า จงทำสติคือมีความรู้สึกตัว สัมปชัญญะคือรู้ตัวทั่วพร้อมภายในกายภายในใจตน ตั้งแต่หัวถึงเท้า หรือรู้กายรู้ใจตนก็ได้
    และสติก็ไม่จำกัดสถานที่ตายตัว ว่าต้องรับรู้อยู่แต่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายเท่านั้น "สติตัวแท้ๆ" จะต้องเป็นสติตัว "รู้ตื่น"

    คือมันจะวิ่งได้รอบตัว ปัจจุบัน เกิดตรงไหน สติรู้ตรงนั้นทันที หากเป็นตัวสติที่สมบรูณ์ คือตัว "มหาสติ" จะเป็นเช่นนี้

    มหาสติจะเกิดขึ้นได้เพราะผู้เจริญสติอยู่กับปัจจุบัน ได้ตลอดสายจริง ๆ จนชำนาญแล้วเท่านั้น และสติที่เป็นปัจจุบันจริงๆ นั้น จะต้องเป็นสติอัตโนมัติ อันเป็นธรรมชาติของธาตุรู้จริงๆ เท่านั้นที่จะจับได้ ซึ่งผู้ที่ทำถึงจุดของมันย่อมจะรู้เอง

    มหาสติเป็นผลของสติ มันอยู่ในนั้นพร้อม คือ อยู่ในตัวสตินั่นแหละ

    มรรคแท้ๆ หรือทางพ้นทุกข์ คือสติตัวเดียวเท่านั้น เพราะสติคือแม่ทับใหญ่ในกองทัพธรรม

    สรุปง่ายๆคือ

    สติจับรู้อยู่กับปัจจุบัน คือ ผลสมาธิ
    สมาธิที่มีสติจับทันปัจจุบันอีก คือ ผลเป็นมหาสติ
    มหาสติรู้ทันในพระไตรลักษร์ คือ ผลเป็นปัญญา
    ปัญญา มีสติรู้อยู่ในนั้น ผลเป็น วิสุทธิ หรือ วิมุติ

    ไม่ต้องสงสัย ให้ทำสติรู้อยู่กับปัจจุบันตัวเดียวเท่านั้น ทางและผลจะมีอยู่ในนั้นทั้งหมด ผู้ฝึกใหม่ๆที่ยังไม่มีความชำนาญ ควรใช้วิธีฝึกสตินิ่งหรือสติรู้อยู่ในอิริยาบถเดียวก่อน คือกำหนดจับอยู่ ณ จุดๆ เดียวจนชัดและชำนาญ เพื่อให้รู้จักหน้าตาของสติตัวจริงเสียก่อน<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    เพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ


    สตินั้นเป็นอย่างไร จับให้เป็นก่อน เช่น การนั่งกำหนดลมหายใจเป็นต้น ก็ให้มีสติรู้กับลมเข้าออก เข้ารู้ ออกรู้ สำคัญต้องจับลมได้ชัดทันปัจจุบันจริง ๆ รู้อาการเครื่อนไหวของลมเสมอ

    การกำหนด "พุธโธ" หรืออะไรก็ตาม นั้นเป็นเพียงอุบายเท่านั้น จะใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ชื่ออะไรก็ได้ ไม่เป็นปัญหาในการปฎิบัติ สำคัญตรง "ตัวรู้" เท่านั้น
    ต้องชัดทันปัจจุบันจริงๆ จึงจะใช่ มีสติจับไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละ พอสติเต็มรอบ สมาธิก็จะเกิดเป็นผลขึ้นมาเอง หากยังไม่เต็มรอบมันก็ยังไม่เกิด

    สมาธินั้นเป็นอย่างไร สมาธิคืออาการเบากาย เบาใจ เย็นสบายจิต เงียบสงบ ตั้งมั่นไม่ส่งออก อดีดหรืออนาคตรู้อยู่เฉพาะตน บุคคลใดทำถึง ย่อมรู้เองว่ามันเป็นอย่างไร

    จะจับเสียงทางหูให้เกิดเป็นสมาธิก็ได้ คือให้จับฟังเสียงในแต่ละเสียง ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันเท่านั้น พอ ได้ยินเสียงอะไร ก็กำหนดรู้ตามเสียงนั้น แค่ "รู้" ก็พอ แล้วก็ปล่อยไป กำหนดไปเรื่อยๆ เช่นนี้แหละ คอยจับแต่เสียงที่กำลังจะเกิดขึ้น พอรู้ก็กำหนดรู้แล้วก็ปล่อยไป ยังไม่ต้องพิจารณาอะไร ชัดเสียงไหนก็จับรู้เสียงนั้น แม้จะมีหลายเสียงที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ให้จับเสียงที่ชัดที่สุดเท่านั้นแหละ ที่จับไม่ได้ไม่ทันก็ปล่อยผ่านไป คอยจับแต่เสียงที่กำลังจะเกิดขึ้น "ในขณะนี้" เท่านั้น พอจับทันปัจจุบันตลอดสาย สมาธิก็จะเกิดขึ้นมาเองเช่นกัน เพราะมันเป็นอารมณ์ปัจจุบันนั้นเอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    วิธีแบบง่าย ๆ (มหาสติ สำหรับผู้ฝึกใหม่)


    ผู้ฝึกใหม่ควรจะจับสติอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่าใดท่าหนึ่งให้ชัดเจนจริง ๆ เสียก่อน หากจับได้ชัดจริง ๆ จนเกิดความชำนาญแล้ว จงปล่อย สติ ไปรอบ ๆ ตัว รู้ตรงไหนก็จับตรงนั้นทันที กำหนดรู้แล้วก็ปล่อยไป แล้ว สติ มันจะวิ่งไปที่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ วนเวียนอยู่ภายในกาย ภายในใจนี้แหละ ไม่มีจุดตายตัว หลังจากนั้น สมาธิที่ตื่นจะต้องเป็นตัว "มหาสติ"เท่านั้นที่จะทำได้ที่จะจับมันได้ไล่มันทัน เพระมันเป็นสติอัตโนมัติตามธรรมชาติ ของธาตุรู้แล้วจริง ๆ

    หากจับเป็น จะสนุกมากมันไม่ใช่เรื่องยาก เกินกว่าเราจะทำได้ หากผู้ใดเพียรจริง ทำจริง ก็จะพบจริง ธรรมะเป็นเรื่องจริง แต่ต้องไปทำเอง ธรรมใดก็ไม่ได้ผล เมื่อตนไม่นำไปทำตน ที่ทำแล้วไม่เห็นผล เพราะยังไม่เข้าใจ ยังมิได้ธรรม หรือทำเหตุยังไม่พร้อม ผลจึงไม่เกิด
    เหตุมี ผลมี เหตุไม่มี ผลก็ไม่มี ก็เท่านั้นเอง มิใช่ยากและมิใช่ง่าย อยู่ที่….ทำ เท่านั้นเอง ใครทำใครก็รู้ ใครไม่ทำก็ไม่รู้ อย่าพูดว่ามันยากเกินที่เราจะ ทำได้ นั้นมันเป็นเหตุผล ของคนที่ขาดความอดทน (ขันติ) และความเพียนต่างหาก


    ความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั้น<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    ปฎิบัติธรรมเพื่ออะไร……


    จุดหมายแห่งการปฏิบัติธรรมนั้น คือ เพื่อฝึกจิตให้รู้เท่าทันสภาพความจริงแท้ของอุปาทาน หรือความหลงยึดถือรูปร่างและสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ อันเป็นธาตุ ๔ ว่าเป็น ตัวเราของเรา แล้วขจัดความหลงนั้นให้หมดสิ้น

    มิใช่เพื่อความมีความเป็นใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เพื่อความไม่มีทุกข์ทางใจอีกต่อไป เท่านั้นเอง เพราะการมีตัวเราของเราเกิดขึ้นในจิตเมื่อใด ทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที เช่น สิ่งของผู้อื่นหาย ใจเราเฉย ๆ แต่พอของเราหาย ใจเราจะเกิดทุกข์ขึ้นทันที เพราะมี " ของเรา" เกิดขึ้นนั้นเอง

    ข้าพเจ้าได้ยินผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านพูดถึง จุดหมายแห่งการปฏิบัติธรรม ว่าเพื่อความเป็นโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันตา

    ข้าพเจ้าถามตัวเองว่า ใครหนอที่จะมาเป็นผู้ตัดสินแต่งตั้งอย่างนั้นให้ได้ ตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ผู้ว่า นายอำเภอ ยศนั้นยศนี้ เป็นได้เพราะมีผู้แต่งตั้งให้ได้ แต่ความ พระโสดา * สกิทาคา อนาคา และพระอรหันตา นั้น ใครเป็นผู้ตัดสินและแต่งตั้งได้ และเอาอะไรมาเป็นเครื่องชีวัดล่ะ เพราะความมีความเป็นยังมิใช่จุดหมายแห่งธรรม

    ธรรมแท้ ๆ เป็นไปเพื่อออกจากอุปาทานของความดีความเป็นให้หมด สิ้นต่างหาก ชื่อเหล่านั้นจึงเป็นเพียง ชื่ออาการของจิตในแต่ละขณะ ที่รู้เห็นตัวเอง ว่าจิตเบาบาง จากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้มากน้อยแค่ไหน มันเป็นเพียงชื่ออาการของจิตที่มีความทุกข์ น้อยลงไป ๆ จนกระทั่งไม่ทุกข์เลยต่างหาก

    คำว่า "อรหันต์" คือผู้ห่างไกลจากกิเลส มิได้แปลว่า ความเป็นอะไรทั้งสิ้น และคำว่ากิเลสก็แปลว่า เหตุแห่งทุกข์

    สรุปแล้ว คำว่าอรหันต์ คือผู้ห่างไกล จากเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเหตุแห่งทุกข์ไม่มี ผลของทุกข์ ก็ไม่มี (หมายถึงใจ)


    ดังนั้น จุดหมายแท้ของการปฏิบัติธรรม คือเพื่อออกจากทุกข์ใจให้หมดสิ้นเท่านั้น ส่วนทุกข์ทางกายเป็นเรื่องธรรมดาของสังขาร อันไม่เที่ยงนั้นเอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    วิธิปฏิบัติธรรมมีหลายวิธี


    ขออธิบายว่า วิธีการปฎิบัตินั้นเปรียบเสมือนกับ ทางที่ใช้ในการเดินทางเท่านั้น

    ในทางโลกมีวิธี การเดินทางได้หลายอย่าง เช่น ทางเรือ ทางรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น ซึ่งใครจะสดวกสบาย ถนัดทางไหน ก็มีสิทธิ์ เลือกเอาเองได้ตามใจชอบ ตามถนัด ตามจริตนิสัย ตามความพอดีของแต่ละบุคคล จะรู้จะรับได้ตัวเอง คือ ปัจจัตตัง ที่รู้ว่าตนพอดีแค่ ไหน เพราะความพอดีของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน

    แนวทางการปฏิบัติจึงจำเป็นต้องแตกต่าง กันไปบ้างเป็น ธรรมดา ดังนั้นความแตกต่างของ วิถีการปฏิบัติจึงมิใช่ความผิด หรือ ถูก สูงหรือต่ำ ดีหรือไม่ดี เก่งหรือไม่เก่ง แต่ธรรมแท้ ๆ คือความปกติพอดีของใจ ธรรมแท้ๆ อยู่เหนือความถูก-ผิด-ดีชั่ว-ตัวตน ธรรมแท้ ๆ คือความเป็นกลางเท่านั้น ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง จะได้ไม่หลง ยึดถือหรือผลักต้านวิธีในการปฏิบัติอยู่อีกต่อไป

    อาจจะเปรียบได้กับรสของอาหาร ทุกคนย่อมมีรสไม่เหมือนกัน ฉันใดก็ฉันนั้น การชอบรส เป็นความพอดีของธรรมชาติ ของแต่ละบุคคล ที่มีสิทธิ์จะเลือกได้ ไม่ผิดอะไร ใครชอบรสไหน ถนัดอย่างไรก็เลือกตามสบาย ไม่มีการห้ามหรือบังคับ ที่จะเป็นกฏตายตัว สำคัญแต่เพียงว่าชอบแล้วรับประทานจริงหรือไม่ แค่ไหนอย่างไร ใครรับประทานจริงก็อิ่มจริง ใครไม่รับประทาน ก็ไม่อิ่ม เหมือนการกระทำนั่นเอง คือรู้แล้วทำจริงแค่ไหน ธรรมะจะเน้นเรื่องการกระทำ คือต้องกระทำ ที่ตนเองอีกที่ จึงจะรู้ผล

    เมื่อ ข้าพเจ้ามั่นใจในปัจจัตตังที่ชัดกับตนเอง จริง ๆ แล้ว จึงขอยืนยันและเปิดเผยความจริง ของการปฏิบัติ เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ใฝ่ใจในธรรมทุก ๆ ท่าน ว่าทางนั้น มีอยู่ โอกาสก็มีอยู่ สำหรับท่านทุก ๆ คน แม้ผู้ที่มีภาระหน้าที่ ที่จะต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวก็ดี ผู้ที่มีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานต่าง ๆ ก็ดี อันจะหาเวลาปลีกตัวไปวัด หรือไปสำนักปฏิบัติธรรมต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ ก็อย่างคิดน้อยอกน้อยใจ เสียอกเสียใจ หรือคิดท้อแท้ใจจนหมดกำลังใจ ว่าเรานี้ช่างบุญน้อย ช่างมีเวรกรรมมากเสียจริง ๆ คนอื่นเขาไปกันได้ เรากลับไปไม่ได้ ชาตินี้เราคงไม่มีโอกาสได้ไปเช่นคนอื่นเขา เป็นต้น

    นั้นคือการเข้าใจผิด อันจะเป็นการปิดทางปิดโอกาส ของตัวเองโดยไม่รู้ต้ว น่าเสียดายจริง ๆ ถ้าคิดแบบนั้น ขอ อธิบายว่า ธรรมแห่งความหลุดพ้นมิได้อยู่ที่ภายนอก มิได้อยู่ที่นั่นที่นี้ หรืออยู่ที่ผู้นั้นผู้นี้ แต่ธรรมแท้แห่งความหลุดพ้น อยู่ที่ภายในใจทุกคน ที่ตนเองเห็นตนเองจริง ๆ ว่าขณะนี้ จิตตนมีความโลภ ความโกรธ ความหลง มากหรือน้อย หรือไม่มีเลย ในการกระทำแต่ละ ขณะ ๆ แล้วผลในแต่ละ ขณะเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรถึงจะละ ความโลภ ความโกรธความหลง ที่มีอยู่ในจิตตน ที่ตนมี ที่ตนรู้อยู่ ให้ออกไปจากใจตน ให้หมดสิ้นได้ตั้งหาก ธรรมแท้ๆ ปฏิบัติอย่างนี้ ส่วนข้างนอกเป็นส่วนประกอบเท่านั้นเอง พอเหตุปัจจัยพร้อมทุกอย่างจะเป็นไปเอง

    โดย วิถี แห่งธรรมชาติ ซึ่งมันมีอยู่ตลอลเวลา ทางมีอยู่เสมอสำคัญผู้จะเดินจะเดินจริงแค่ไหน หมายถึงจะตามใจ จะเข้าข้างกิเสตนหรือไม เท่านั้นเอง ผู้ เขียนโชคดี ได้พบด้วตัวของตนเอง จึงยินดีเปิดเผยและยืนยัน ในสัจธรรมนั้น ว่าทุกคนมีโอกาสทำได้ ไม่เลือกเพศ วัย ชาติ ชั้นวรรณะ หรือสถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง นั้น เอากานตนเป็นสถานที่ทำ เอาใจของตนเป็นผู้กระทำ ขอให้เข้าใจจริง ๆ และทำจริง ๆ เท่านั้นก็จะเห็นผลจริง ผลนั้นรู้ได้ด้วยตัวเอง ที่ภาษาธรรมเรียกว่า "ปัจจัตตัง" แต่หากรู้แล้ว แม้จะรู้มากแค่ไหนก็ตาม หากยังไม่ทำก็เท่ากับยังไม่รู้ แล้วผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะรู้แท้เป็นเรื่องรู้จากภายในใจเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีโอกาสบวช หรือหรือมีเวลาไปปฏิบัติธรรมตาท วัด ตามถ้ำ ตามป่า ตามเขา ก็นับว่าเป็นโอกาสอันดีของท่านแล้ว ขออนุโมทนา

    แต่หากท่านเข้าใจจุดหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติธรรม แต่มิได้สนใจที่จะปฏิบัติจริง ๆ แล้ว โอกาสเช่นนั้นก็หาได้เกิดประโยชน์อันใดกับ ท่านไม่ เพราะธรรมแท้มิใช่เป็นเรื่องของสถานที่ แต่เป็นเรื่องของจิตใจ ที่อยู่ภายในใจตน ต่างหาก ดังนั้นท่านต้องเข้าใจในจุดหมายของการปฏิบัติธรรมด้วย ว่าปฏิบัติเพื่ออะไร ควรปฏิบัติอย่างไร และผลของการปฏิบัตินั้นให้สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าขณะปัจจุบันนี้ เรามีความทุกข์ทางใจ มากขึ้นกว่าเดิมหรือทุกข์น้อยลงกว่าเดิม ก็ให้นำมาเปรียบเทียบกับอดีดของตนดู

    สมมุติว่าอดีตเราเป็นคนโกรธง่านและทนต่อการ ถูกเบียดเบียนไม่ค่อยได้ จิตจะเป็นทุกข์อยู่เสมอ ขณะนี้เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมแล้ว ความโกรธค่อยเบาลงหรือไม่ และสามารถทนต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้หรือไม่ เช่น หากถูกเบียดเบียน จิตยอมได้ไหม จิตเกิดความอาฆาตพยาบาทไหม จิตอภัยได้หรือไม่ต่อความผิด พลาดของผู้อื่นที่กระทำกับตน


    จิตมีความยึดถือในความมีตัวตนของเรามากน้อยเพียงใด ถ้ามีน้อยทุกข์ก็น้อย ถ้ามีมากทุกข์ก็จะมาก ให้สังเกตดูง่ายๆ ทุกข์มากทุกข์น้อยหากปฏิบัติถูกหลักวิธี ทุกข์ก็จะน้อยลง ๆ จนกระทั่งไม่ทุกข์เลยในใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม จิตก็ยังปกติ รู้อยู่เห็นแต่ไม่ทุกข์ใจต่อสิ่งนั้น ข้อให้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมจุดหมายที่แท้ เพื่อความไม่ทุกข์ใจ อีกต่อไปเท่านั้นเอง ในที่สุดไม่มีอะไร<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. rapeepat

    rapeepat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +138
    พระไตรปิฏกอภิธรรมคืออะไรไม่เคยรู้

    ยินเขาบอกว่า"เป็นครูแห่งธรรม"หนา

    แต่เหตุไฉนได้ยินอยู่ทุกครา

    นักปฏิบัติบรรพชิตมาถกเถียงกัน

    อันนั้น"ผิด"อันนี้"ถูก"ยุ่งไปหมด

    ใครกำหนด"ถูกผิด"คิดเอาหนา

    สัจธรรมแท้จริง"พระธรรมา"

    ที่รู้ซึ้งใจเราว่า..."อันเดียวกัน"

    ....จิตที่ยึดอดีตก็เป็นทุกข์ จิตที่ยึดอนาคตก็เป็นทุกข์ มีแต่จิตที่ดำรงรู้เท่าทันอยู่กับปัจจุบัน ที่เกิดแล้วไม่ยึดติดเท่านั้น ที่จะไม่ทุกข์

    "จิต-สู่-จิต"

    เด็กน้อยในแดนธรรม<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...