จากออสการ์ถึงนาซ่าจี้ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 1 มีนาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    จาก'ออสการ์'ถึง'นาซ่า'จี้ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน

    จาก"ออสการ์"ถึง"นาซ่า" จี้ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน

    คอลัมน์ สกู๊ปพิเศษ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    ชั้นน้ำแข็งลาร์เซนบีทลายลงมา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>การประกาศผลรางวัลออสการ์ของฮอลลีวู้ดที่ปีนี้ บรรยากาศของการรณรงค์ต่อต้านภาวะโลกร้อนเข้มข้นมากกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อสารคดีเรื่องดังแห่งปี "Inconvenient Truth ที่มีนายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลักดัน และกำกับโดยเดวิส กุกเกนไฮม์ พิชิตรางวัลได้ในสาขาสารคดียอดเยี่ยม

    "เพื่อนชาวอเมริกันและเพื่อนร่วมโลก เราจำเป็นต้องแก้ไขวิกฤติภูมิอากาศ มันไม่ใช่ประเด็นการเมือง มันเป็นประเด็นทางศีลธรรม เราจำป็นต้องเริ่มต้น ด้วยความตั้งใจที่จะลงมือแก้ปัญหา" อัล กอร์ กล่าวบนเวทีแจกรางวัลออสการ์

    สารคดีนี้อ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันถึงภาวะโลกร้อนที่กำลังคุกคามโลกใบนี้และชี้ชัดว่าทั้งหมดเป็นฝีมือมนุษย์ โดยชื่อของภาพยนตร์ "ความจริงที่รบกวน" เป็นคำที่กึ่งประชดและกึ่งเย้ยหยันประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่ไม่ยอมรับความจริงเรื่องนี้ในตอนแรก

    หนังแสดงถึงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกปั่นป่วน บางพื้นที่ซึ่งควรจะหนาวกลับร้อน บางพื้นที่ซึ่งควรจะร้อนกลับมีหิมะตก รวมทั้งอัตราน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายเร็วขึ้นกว่าปกติหลายเท่าตัว และงานวิจัยระบบนิเวศน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา ที่ชี้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นที่สุดในโลกในรอบ 650,000 ปี <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    อัล กอร์ และทีมสร้างหนังฉลองออสการ์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ก่อนตบท้ายด้วยมุมมองแง่ดีว่า ยังไม่สายเกินไปที่จะหันมาฟื้นฟูสิ่งที่สูญเสียและแผนปลูกต้นไม้เพิ่มจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้

    ในช่วงเวลาเดียวกับที่ออสการ์ประกาศผลนี้ นักนิเวศวิทยาระดับสูงขององค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติของอเมริกา หรือ "นาซ่า" ออกมาเรียกร้องนานาชาติให้ระงับแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินเอาไว้ชั่วคราว เพื่อยับยั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน

    เจมส์ แฮนเซ่น ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาอวกาศก๊อดดาร์ดของนาซ่า กล่าวกับเอเอฟพีว่า ทั่วโลกควรจะระงับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินที่กำลังจะสร้างใหม่เอาไว้จนกว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่จับและแตกตัวก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สำเร็จเสียก่อน ซึ่งอาจจะต้องรออีก 5-10 ปีข้างหน้า <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    สิ่งมีชีวิตใหม่ๆ ที่พบหลังชั้นน้ำแข็งทลาย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในระหว่างนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินที่จัดการกับคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ ก็ควรจะปิดชั่วคราว

    แต่ข้อเสนอดังกล่าวคงจะเป็นรูปธรรมได้ยาก เพราะไม่ใช่เรื่องที่นักการเมืองคนไหนจะสนใจใส่ใจหรือเห็นว่าจำเป็น

    นับแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้น โรงไฟฟ้าและการคมนาคมขนส่งขึ้นแท่นเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันดับต้นๆ ของโลก และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อน ในขณะที่ทั่วโลกมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินและน้ำมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

    การสะสมตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศโลกก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้น เนื่องจากกลุ่มก๊าซปล่อยให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาแต่กักความร้อนไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศ ครอบโลกไว้ประหนึ่งเรือนกระจกเพาะชำต้นไม้

    แฮนเซ่น กล่าวว่า "สมมติฐานที่ว่าอีกหลายพันปีแผ่นน้ำแข็งถึงจะละลายนั้นผิดถนัด ตอนนี้แผ่นน้ำแข็งละลายแล้วและทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นในอัตรา 35 เซนติเมตรต่อ 100 ปี แต่สิ่งที่กังวลคือ ปัจจัยที่จะเข้ามาเร่งกระบวนการนั้นให้เกิดเร็วขึ้น"

    ขณะเดียวกัน สถาบันอัลเฟรด เวเจอร์เนอร์ เผยแพร่ภาพชั้นน้ำแข็งขนาดยักษ์ 2 ก้อนในทวีปแอนตาร์กติกา ฝั่งตะวันตกที่พังทลายลงมา โดยชิ้นที่เรียกลาร์เซนเอ ทลายในปี 2538 และลาร์เซนบี พังในปี 2545

    การทลายดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์พบระบบนิเวศวิทยาก้นทะเลที่สวยงาม สัตว์น้ำ ดอกไม้ทะเลนานาชนิดที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน แต่ก็นำมาซึ่งความวิตกกังวลด้วย เพราะเมื่อน้ำแข็งละลายก็ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 5-6 เมตร มากกว่าที่เพิ่มตามปกติในช่วงศตวรรษ 1-2 เท่า

    เป็นอีกหลักฐานของผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

    --------------
    Ref. http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03for32010350&day=2007/03/01&sectionid=0306
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...