จับตาสิ่งแวดล้อมปี 2565 ฝุ่นPM 2.5-ขยะพลาสติก-น้ำท่วม กับชีวิตคนไทย –

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 2 มกราคม 2022.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    เริ่มต้นศักราชใหม่ ปี พ.ศ. 2565 ในปีที่ไม่ค่อยสดใสเหมือนเมื่อปีเก่า ๆ แต่ดีกว่าเดิมเพราะมีภูมิคุ้มกันจากโควิด-19 ด้วยวัคซีนเต็มแขนกันเกือบ 2 เข็ม ในปีหน้าสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่คนไทยต้องพบเจอ ยังไม่ต่างจากปีที่ผ่านมา มองเรื่องหลักใหญ่มีด้วยกัน 3 เรื่องคือ 1.ฝุ่น PM 2.5 2.ปัญหาขยะ 3.น้ำท่วม

    e0b8b4e0b988e0b887e0b981e0b8a7e0b894e0b8a5e0b989e0b8ade0b8a1e0b89be0b8b5-2565-e0b89de0b8b8e0b988.jpg
    e0b8b4e0b988e0b887e0b981e0b8a7e0b894e0b8a5e0b989e0b8ade0b8a1e0b89be0b8b5-2565-e0b89de0b8b8e0b988.jpg

    รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

    1.แก้ปัญหาฝุ่น PM ความหวังร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด
    จากการรวบรวมข้อมูลค่าฝุ่น เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 ของ Rocket Media Lab องค์กรทำงานด้านข้อมูลเพื่อสื่อสารมวลชน พบว่าตลอดทั้งปีมีวันที่คนกรุงเทพฯ จะได้อยู่กับคุณภาพอากาศดี ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เฉลี่ยทั้งวันต่ำกว่า 50 มคก./ลบ.ม. เพียง 71 วันเท่านั้น คิดเป็น 19.56% หรือเพียง 1 ใน 5 ของทั้งปี อย่างไรก็ตามแต่ละภาคของประเทศไทยมีปัญหาฝุ่นต่างกัน เช่น ภาคเหนือ เผชิญกับการเผาและไฟป่า ภาคกลางการเผาเพื่อทำการเกษตรกรรม ภาคใต้ ไฟจากป่าพรุในอินโดนีเซียและประเทศไทย โดยเฉพาะพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช ขณะที่ภาคตะวันออกและกรุงเทพฯ เผชิญฝุ่นจากภาคคมนาคมขนส่งสำหรับแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด จะเป็นกลไกสำคัญที่จะมาแก้ปัญหานี้

    ข้อมูลจากศูนย์วิชาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า “เครือข่ายอากาศสะอาด” พยายามผลักดันให้รัฐออกกฎหมายอากาศสะอาดมา เพื่อยกเครื่องการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้จะมีกระบวนการดูแลสิทธิประชาชนใน 3 เรื่อง คือ 1. สิทธิการเข้าถึงข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน 2. สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบาย และ 3. สิทธิในกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการให้สิทธิประชาชนฟ้องร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือผู้ก่อมลพิษต่อศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง

    นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ลงชื่อสนับสนุนการยืนเสนอร่างกฎหมายครบแล้ว 50,000 รายชื่อ คาดว่าน่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในปี 2565 นอกจากนี้ สสส. กำลังทำงานร่วมกับ กทม. เพื่อกำหนดให้ถนนในกรุงเทพฯ ชั้นใน ย่านปทุมวัน เป็นถนนปลอดฝุ่น อย่างไรก็ตาม พบว่าการค้นหาข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 ถึง 92,647 ข้อความในปี 2564 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนตระหนักถึงมลพิษทางอากาศ

    b8b4e0b988e0b887e0b981e0b8a7e0b894e0b8a5e0b989e0b8ade0b8a1e0b89be0b8b5-2565-e0b89de0b8b8e0b988-1.jpg
    b8b4e0b988e0b887e0b981e0b8a7e0b894e0b8a5e0b989e0b8ade0b8a1e0b89be0b8b5-2565-e0b89de0b8b8e0b988-1.jpg


    2 โควิด-19 กระทบ “โรดแม็พ” ลดขยะพลาสติก
    นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะรวม 27 ล้านตันต่อปี เป็นขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ประมาณ 12 ล้านตัน ขยะที่เข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น การเผา หรือฝังกลบอย่างถูกต้องมีประมาณ 11 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 4-5 ล้านตัน เป็นขยะตกค้างที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ผลิตขยะวันละ 10,000 ตัน แม้ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิดที่ผ่านมา จำนวนขยะจะลดลง แต่พบว่าปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นจากมาตรการเวิร์กฟรอมโฮม พร้อม ๆ กับการเติบโตของธุรกิจดิลิเวอรี่ นอกจากนี้ยังมีขยะจากหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้น ซึ่งใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี ดร.ภาณุวัฒน์ อ่อนเทศ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการมูลฝอย สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร กล่าวในงานเสวนา ขยะพลาสติก การจัดการและโอกาส Post COVID-19 เนื่องในวันที่ 5 มิ.ย. เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกประจำปี 2564 ว่ามาตรการโควิดทำให้คนต้องทำงานที่บ้าน ส่งผลให้สัดส่วนขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็น 25% จากเดิมในภาวะปกติซึ่งอยู่ที่ 15% ของขยะทั่วไปที่เก็บได้ต่อวันทั้งหมขยะพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่จะเสียหายทันทีเมื่อไม่มีการแยกขยะ หากนำทิ้งรวมกับขยะเปียก

    เบญจมาส โชติทอง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการและแผนงาน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ให้ข้อมูลว่า ขยะอาหารในกรุงเทพมหานครเมื่อแยกออกมาเป็นตัวเลข 34% มาจากบ้านเรือน ซึ่งมาตรการเวิร์กฟรอมโฮม ช่วยเพิ่มตัวเลขขยะในบ้านเรือน และ 21% มาจากโรงอาหาร ศูนย์อาหาร หลาย ๆ บริษัทสามารถใช้มาตรการจูงใจให้พนักงานลดขยะได้ ซึ่งส่วนใหญ่พร้อมใจ อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่รวมขยะทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ และ 20% มาจากตลาด ส่วนใหญ่ไม่ถูกจัดการ ทั้งนี้ประเทศไทยมีโรดแม็พ การจัดการขยะพลาสติกตั้งแต่ปี 2561 โดยมีเป้าหมายยกเลิกการใช้พลาสติก 7 ชนิด และต้องนำพลาสติกไปรีไซเคิลให้ได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์

    ขั้นแรกคือยกเลิกการใช้พลาสติกทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำ ไมโครบิดผลิตภัณฑ์ที่มีสารอ๊อกโซ่ ภายในปี 2562 ขั้นต่อไปคือยกเลิกพลาสติก 4 ชนิดได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบบาง และหลอดพลาสติก ภายในปี 2565 ยกเว้นใช้ในกรณีที่จำเป็น เช่น การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย เป็นต้น และขั้นสุดท้าย คือ รีไซเคิลขยะพลาสติกให้ได้ทั้งหมด ภายในปี พ.ศ. 2570 หากมาตรการนี้ได้ผล จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ 3,900 ล้านบาทต่อปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1.2 ล้านตัน สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่หยุดยั้ง เชื่อแน่ว่าโรดแม็พการจัดการขยะพลาสติกอาจต้องเลื่อนระยะเวลาออกไป

    02P6S1B9-1024x711.jpg
    02P6S1B9-1024x711.jpg


    3.น้ำท่วมเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือหนักขึ้น
    ปลายเดือน ส.ค. ทุกปีจะเป็นช่วงที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ฝนตกตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา นั่นเป็นสัญญาณเตือนแล้วว่าในภาคอีสานจะมีสักกี่จังหวัดที่ต้องประสบกับภาวะน้ำท่วมใหญ่อย่างเลี่ยงไม่ได้ เช่นในปีที่ผ่านมา จ.ชัยภูมิ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา พบกับน้ำท่วมหนักมาแล้ว รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ส่งสัญญาณเตือนสีแดง 3 สัญญาณ ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง คือ

    1. ในช่วงฤดูมรสุม ประเทศไทยจะมีปริมาณน้ำฝนในประเทศเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ส่งผลให้เกิดอุทกภัยและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ 2. ในช่วงหน้าแล้ง อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้น้ำที่กักเก็บไว้ระเหยออกหมด ส่งผลให้ไม่มีน้ำในการทำการเกษตร และ 3. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นบริเวณปากอ่าวไทยจะทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะจมน้ำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ายังคาดการณ์ว่า อีก 10 ปีข้างหน้า น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40 ซม. อีก 30 ปีข้างหน้า จะสูงประมาณ 50-60 ซม. และอีก 80 ปีข้างหน้า จะสูงขึ้น 1.50 เมตร จึงต้องมีความพร้อมในการป้องกันเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ที่ได้จัดทำคันกั้นน้ำล้อมประเทศเรียบร้อยแล้ว

    ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายทางด้านสภาพภูมิอากาศ จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการวางแผนการทำงาน “ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นหลายครั้ง และยิ่งในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ยิ่งต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน อาจเกิดวิกฤติภัยพิบัตซ้ำซ้อนทั้งโควิด-19 ระบาด และน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงได้” นักวิชาการด้านน้ำย้ำเตือนทั้งปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบกับระบบสุขภาพในระยะยาวจนถึงปัญหาขยะที่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง และน้ำท่วมใหญ่ เป็นสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่คนไทยอาจเลี่ยงไม่ได้ในปี 2565.

    ขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/news/625238/
     
  2. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    4,043
    ค่าพลัง:
    +1,223
     
  3. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    4,043
    ค่าพลัง:
    +1,223
     

แชร์หน้านี้

Loading...