คู่มือมนษย์ : เพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์, ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทำลายความทุกข์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 25 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ผมไปอ่านเจอเรื่องนี้และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนสมาชิกบอร์ดภัยพิบัต
    ิเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส
    และสร้างบารมีเพื่อให้ผ่านพ้นภัยพิบัติที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในอนาคต



    โดย ท่านพุทธทาส



    คัดลอกจาก


    http://thai.mindcyber.com

    <center> ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน</center> ถ้าเราเปิดหนังสือทุกเล่มที่เขียนกันในสมัยปัจจุบันอันว่าด้วย ต้นเหตุของการเกิดศาสนาแล้ว จะเห็นว่าเขาเขียนไว้เหมือน ๆ กันตรงกันที่ว่า คนป่าดั้งเดิมกลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง กลัวความมืด กลัวพายุ กลัวสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือความเข้าใจหรือความต้านทานของคนป่าเหล่านั้นและวิธีที่จะหลบหลีกอันตรายก็คือต้องแสดงอาการยอมแพ้หมอบกราบอ้อนวอนบูชาแล้วแต่คนฉลาดที่สุดในสมัยนั้นเห็นว่าจะต้องทำตามที่ตนนึกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผีเหล่านั้นจะชอบใจ นี่นับว่า ศาสนาเกิดมาในโลกด้วยอำนาจของความกลัวและมีการปฏิบัติไปตามความกลัว.
    ความกลัวของคนชั้นหลัง ๆ เลื่อนสูงขึ้นมาถึงกลัวความทุกข์ชนิดที่อำนาจทางวัตถุช่วยไม่ได้ เช่น ความเกิด แก่ เจ็บ ตายความหม่นหมองมืดมัว เพราะอำนาจของความอยาก ความโกรธความหลงผิด ถึงแม้คนเราจะมีอำนาจหรือเงินทองสักเท่าไร ก็ไม่สามารถระงับอาการอันโหดร้ายของความทุกข์เหล่านั้นได้ ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่เจริญด้วยนักคิด นักค้นคว้า ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย จึงได้ละทิ้งการไหว้บรรดาสิ่งศักดิ์สทธิ์มาทำการค้นหาวิธีเอาชนะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเอาชนะความอยาก ความโกรธ ความหลงผิดให้ได้ นี่นับว่าเป็นบ่อเกิดของศาสนาที่สูงขึ้นไปในทางปัญญา ในที่สุดได้พบวิธีที่จะเอาชนะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเอาชนะกิเลสต่าง ๆ ได้.
    สำหรับพระพุทธศาสนา ก็มีมูลมาจากความกลัวแบบหลังนี้เหมือนกัน : พระพุทธเจ้า เป็นผู้พบวิธีที่จะเอาชนะสิ่งที่คนกลัวได้เต็มตามความประสงค์และเกิดวิธีปฏิบัติเพื่อดับความทุกข์ชนิดที่เรียกว่า พระศาสนา พุทธศาสนาแปลว่า ศาสนาของผู้รู้ เพราะพุทธะ แปลว่าผู้รู้ คือรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวงได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา; หรืออาอาศัยวิชาความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทำลายความทุกข์และต้นเหตุของความทุกข์เหล่านั้น.
    การทำพิธีรีตอง เพื่อบูชาบวงสรวง อ้อนวอนบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช่พุทธศาสนาพระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย เพราะเป็นสิ่งที่น่าขบขัน น่าหัวเราะ และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้; พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง.
    มีคำกล่าวใพระพุทธศาสนา "ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์นั่นแหละ เป็นตัวฤกษ์ที่ดี อยู่ในตัวมันเองแล้ว ดวงดาวในท้องฟ้าจะทำอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้นคนโง่ ๆ ที่มัวแต่นั่งคำนวณดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น" ดังนี้ ; และว่า "ถ้าน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำคงคา ฯลฯ จะทำให้คนหมดบาป หมดทุกข์ได้แล้ว พวกเต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาสัยอยู่ในแม่น้ำหรือสระศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะหมดปาปหมดทุกข์ไปด้วยน้ำนั้นเหมือนกัน" หรือ "ถ้าหากว่าคนจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวงบูชาอ้อนวอนเอา ๆ แล้ว ในโลกนั้ก็จะไม่มีใครมีความทุกข์เลยเพราะว่า ใคร ๆ ต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น"
    โดยเหตุที่ ยังมีคนที่มีความทุกข์ทั้งที่ได้กราบไหว้บูชาหรือทำพิธีรีตองต่าง ๆ อยู่ จึงถือว่าไม่เป็นหนทางที่จะเอาตัวรอดได้ ฉะนั้นเราจะต้องพิจารณาโดยละเอียดละออให้รู้ ให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรแล้วปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ให้ถูกต้อง
    พุทธศาสนาไม่ประสงค์การคาดคะเน หรือทำอย่างที่เรียกว่าเผื่อจะเป็นอย่างนั้นเผื่อจะเป็นอย่างนี้ เราจะทำไปตรง ๆ ตามที่มองเห็นด้วยปัญญาของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น แม้จะมีคนอื่นมาบอกให้ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเชื่อเขาทันที เราจะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แล้วจึงจะเชื่อ และพยายามทำให้ปรากฏผลด้วยตนเอง
    ศาสนาเหมือนกับของหลายเหลี่ยม ดูเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอย่างหนึ่ง ดูอีกเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่งแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะถือหลักการคิดในแนวไหนก็จะเห็นศาสนาเดียวกันในลักษณะที่ แตกต่างกันได้ : แม้พุทธศาสนาก็ตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้
    คนเราย่อมเชื่อความคิดเห็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น ความจริงหรือสัจจะสำหรับคนหนึ่ง ๆ นั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขาเข้าใจและมองเห็นเท่าไรเท่านั้นเอง : สิ่งที่เรียกว่า "ความจริง" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่ง ๆ ได้ตื้นลึกกว่ากัน หรือด้วยลักษณะที่ต่างกันและด้วสติป้ญญาที่ต่างกัน สิ่งใดที่อยู่เหนือสติปัญญาความรู้ความเข้าใจของตน หรือตนยังไม่เข้าโจ คนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นความจริงของเขา ถ้าเขาจะพลอยว่าจริงไปตามผู้อื่นเขาก็รู้สึกอยู่แก่ใจว่า ไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย
    ความจริงของคนหนึ่ง ๆ นั้น จะเดินคืบหน้าได้เสมอ ตามสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน จนกว่าจะถึงความจริงขั้นสุดท้าย คนเรามีการศึกษามาต่างกัน และมีหลักพิจารณาสำหรับจะเชื่อต่าง ๆ กัน ฉะนั้น ถ้าจะเอาสติปัญญาที่ต่างกันมาดูพุทธศาสนาก็จะเกิคความคิดเห็นต่างกันไป ทั้งนี้เพราะว่าพุทธศาสนาก็มีอะไร ๆ ครบทุกอย่างที่จะให้คนดู
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนาคือวิธีปฎิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์. โดยการทำให้รู้ความจริงว่า อะไรเป็นอะไร ตามที่พระพุทธเจ้าทานทรงทำได้ก่อนและได้ทรงสอนไว้ แต่คัมภีร์ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไร ๆ เพิ่มขึ้นได้ ทุกโอกาสที่คนชั้นหลังเขาจะเพิ่มเติมลงไป พระไตรปิฎกของเราก็ตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกันคนชั้นหลัง ๆ เพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามที่เห็นว่าจาเป็นสำหรับยุคนั้น ๆ เพื่อจะช่วยให้คนมีศรัทธามากขึ้น ๆ หรือกลัวบาปรักบุญมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขตจนกระทั่งเกิดการเมาบุญกันใหญ่
    แม้แต่พิธีรีตองต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิคขึ้นและเกี่ยวเนืองกับพระพุทธศาสนาเพียงเล็ก ๆ น้อยๆ ก็พลอยถูกนับเข้าเป็นพุทธศาสนาไปด้วยอย่างน่าสมเพช เช่น การจัดสำรับคาวหวานผลหมากรากไม้เพื่อเซ่น วิญญาณขอพระพุทธเจ้าอย่างที่เรียกว่าถวายข้าวพระเป็นต้น. มันเป็นสิ่งที่มีไม่ได้ตามหลักของพุทธศาสนา แต่พุทธบริษัทบางพวกเข้าใจว่านี่เป็นพุทธศาสนา และได้สอนกันถือกันอย่างเคร่งครัด.
    พิธีรีตองต่าง ๆ ทำนองนี้ ได้เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นมากมายจนหุ้มห่อของจริง หรือความมุ่งหมายเดิมให้สาปสูญไป. ขอยกตัวอย่างเช่นในเรื่อง การบวชนาค ก็เกิดมีพิธีทำขวัญนาค เชื้อเชิญแขกมาเลี้ยงดูกันอย่างเมามายเอิกเกริก ทำพิธีทั้งที่วัดและที่บ้านบวชไม่กี่วันก็สึกออกมาแล้วกลายเป็นคนเกลียดวัดยิ่งไปกว่าเดิมก็มี. นี่ขอให้คิดดูเถิดว่า สิ่งไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลก็ได้มีขึ้น
    การบวชสมัยพระพุทธเจ้า นั้นหมายความว่าบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้ว ก็ปลีกตัวจากบ้านเรือนเป็นคนที่ทางบ้านตัดบัญชีทิ้งได้ ไปอยู่กับพระพทธเจ้าและพระสงฆ์ โอกาสเหมาะสมเมื่อไรท่านก็บวชให้ โดยมิได้พบหน้าบิดามารดาญาติพี่น้องเลย จนตลอดชีวิตก็ยังมี ; แม้บางรายจะมีกลับมาเยี่ยมบิดามารดาบ้างก็ต่อโอกาสหลังซึ่งเหมาะสมแต่ก็มีน้อยเหลือเกินในพุทธศาสนามีระเบียบว่ามาบ้านได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลสมควร และพึงทราบไว้ด้วยว่าพวกที่บวชนั้นไม่ได้เวียนมาบ้าน ไม่ได้บวชในที่ต่อหน้าบิดามารดา ไม่ได้ฉลองกันเป็นการใหญ่แล้วไม่กี่วันสึกสึกแล้วก็ไม่มีอะไรดีขึ้นไปกว่าเดิม อย่างที่เป็นกันอยู่ในเวลานี้.
    เราหลงเรียกการทำขวัญนาคและการทำพิธีต่าง ๆ ตลอดถึงการฉลองอะไร ๆ เหล่านั้น ว่าเป็นพุทธศาสนาแล้วก็นิยมทำกันอย่างยิ่ง จนหมดเปลืองทรัพย์ของตนหรือของคนอื่นเท่าไรก็ไม่ว่า พุทธศาสนาใหม่ ๆ อย่างนี้เกิดมีมากมายแทบจะทั่วไปทุกแห่ง. ธรรมะหรือของจริงที่เคยมีมาแต่ก่อนนั้น ถูกหุ้มห่อโดยพิธีรีตองจนมิด เกิดมุ่งหมายผิดเป็นอย่างอื่นไป เช่นการบวชก็กลายเป็นเรื่องสาหรับแก้หน้าเด็กหนุ่ม ๆ ที่ถูกหาว่าเป็นคนดิบ หาเมียยากอะไรเหล่านี้เป็นต้น. ในบางถิ่นบางแห่ง ถือเป็นโอกาสสำหรับรวบรวมเงินที่มีผู้นำมาช่วย เป็นการหาทางร่ำรวยเสียคราวหนึ่ง ถึงอย่างนั้นเขาก็เรียกว่าพุทธศาสนา ; ใครไปตำหนิติเตียนเข้าก็จะถูกหาว่าไม่รู้จักพุทธศาสนา หรือทำลายศาสนา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2007
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    อีกเรื่องหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น กฐิน : พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายจะให้ภิกษุทำจีวรเป็นด้วยตนเองด้วยกันทกรูป และให้พร้อมเพรียงกันทำด้วยมือของตัวเองในเวลาอันรวดเร็ว. ถ้าผ้าที่ช่วยกันทำนั้นมีผืนเดียวก็มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของภิกษุองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าอาวาส แต่เป็นภิกษุจซึ่งหมู่สงฆ์เห็นว่ามีคุณสมบัติสมควรที่จะใช้จีวรผืนนั้นได้หรือขาดแคลนผ้าจะใช้สอย ให้เป็นผู้ใช้สอยจีวรผืนนั้นได้ในนามของสงฆ์ทั้งหมด.
    พระองค์ทรงมุ่งหมายจะให้พระทุกรูปหมดความถือเนื้อถือตัว ไม่ว่าจะเป็นพระผู้น้อย สมภารเจ้าวัดหรือพระผู้ใหญ่มีศักดิ์มีเกียรติอะไรก็ตาม ต้องลดตัวลงมาเป็นกุลีกันหมดในวันนั้นเพื่อจะมาระดมกันกะผ้าตัดผ้าเย็บผ้า ต้ม แก่นไม้ทำสีย้อมผ้า และอะไร ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะให้จีวรนั้นสำเร็จได้ไนวันนั้น เพราะเป็นการรวบรวมเอาเศษผ้ามาต่อกันเป็นจีวร. พระพุทธเจ้าท่านทรงมุ่งหมายให้สิ่งที่เรียกว่ากฐินเป็นอย่างนั้น คือไม่ต้องไปเกี่ยวกับฆราวาสเลยก็ได้แต่เดี๋ยวนี้กฐินกลายเป็นเรึ่องมีไว้สำหรับประกอบพิธีหรูหราหาเงินเอิกเกริกเฮฮาสนุกสนาน พักผ่อนหย่อนใจโดยไม่ได้รับผลสมความมุ่งหมายอันแท้จริง แต่กลับใช้เวลามาก เปลืองเงินมากยุ่งยากมาก จนกลายเป็นโอกาสลาหรับทำสำมะเลเทเมา คือไปทอดกฐินเพื่อกินเหล้ากินปลาเล่นไพ่เฮฮากันอย่างสนุกสนานหรือไม่ก็มุ่งหน้าหาเงินกันเท่านั้น.
    พุทธศาสนา "เนื้องอก" ทำนองนี้ มีขึ้นใหม่ ๆ มากมายหลายร้อยอย่างโดยไม่ต้องระบุชื่อ เพราะมากจนระบุไม่ไหวแต่อยากจะให้เชื่อว่า "พุทธศาสนาเนื้องอก" เป็นเนื้อร้ายชนิดหนึ่งซึ่งงอกขึ้น ๆ จนปิดบังห่อหุ้มเนื้อดีหรือแก่นแท้ของพุทธศาสนาให้ค่อย ๆ ลบเลือนไป : ด้วยเหตฉะนี้แหละสิ่งที่เราเรียกว่าพุทธศาสนา ๆ จึงมีเพิ่มขึ้นมากมายหลายประเภทจากตัวแท้ ของศาสนาที่มีอยู่ดั้งเดิม เกิดเป็นนิกายใหญ่และนิกายย่อย ๆ อีกตั้ง๒๐-๓๐ นิกาย ที่กลายเป็น นิกายตันตระ ที่เนื่องกับกามารมณ์ไปก็มี จำเป็นที่จะต้องแยกแยะให้รู้จักตัวพุทธศาสนาเดิมแท้ไว้เสมอจะได้ไม่หลงงมงายยึดถือเปลือกที่หุ้มภายนอกหรือติดแน่นในพิธีรีตองต่าง ๆ จนเป็นการประพฤติผิดไปจากความมุ่งหมายเดิมที่ถูกต้องยิ่งขึ้น.
    เราควรยึดกายวาจาบริสุทธิ์ให้เป็นที่พึ่งของจิตบริสุทธิ์เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่าอะไรถูก แล้วประพฤติปฏิบัติไปตามนั้น. อย่าได้ถือว่าถ้าเขาว่าเป็นพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นพุทธศาสนา. เนื้องอกนั้นได้งอกมาแล้วนับตั้งแต่วันหลังจากพระพุทธปรินิพพาน และยังงอกเรื่อย ๆ มา กระจายไปทุกทิศทุกทางจนกระทั่งบัดนี้เลยมีเนื้องอกก้อนโต ๆ อย่างมากมาย.
    พวกเราเองจะไปอ้างเอา "พุทธศาสนาเนื้องอก" มาถือว่าเป็นพุทธศาสนาไม่ได้ หรือ คนในศาสนาอื่นจะมาชี้ก้อนเนื้องอก เหล่านี้ ซึ่งมีอยู่อย่างน่าบัดสีอย่างน่าละอายว่าเป็นพุทธศาสนา ก็ไม่ถูกเหมือนกัน คือไม่เป็นการยุติธรรมเพราะสิ่งนี้ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่เป็น "เนึ้องอก" พวกเราที่จะช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย หรือเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองก็ตาม จะต้องรู้จักจับฉวยให้ถูกตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ไปถูกชิ้นเนื้อร้ายเนื้องอกดังที่กล่าวมาแล้ว.
    แม้พุทธศาสนาตัวแท้ก็ยังมีหลายแง่หลายมุม ที่จะทำให้เกิดการจับฉวยเอาไม่ถูกความหมายที่แท้ของพระพทธศาสนาก็ได้.
    ถ้ามองด้วยสายตาของนักศีลธรรม ก็จะเห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งศีลธรรม (Moral)เพราะมีกล่าวถึงบ6ญบาป ความซื่อตรง ดีชั่ว ความกตัญญูกตเวที ความสามัคคี ความเป็นคนที่เปิดเผยตัวเองและอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ล้วนแต่มีอยู่ในพระไตรปิฏกทั้งนั้น แม้ชาวต่างประเทศก็มองดูในส่วนนี้อยู่มาก หรือว่าชอบพุทธศาสนาเพราะเหตุนี้ก็มีอยู่มาก.
    พุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง สูงขึ้นไปเป็นสัจจธรรม (Truth)คือ กล่าวถึงความจริงที่ลึกซึ้งเร้นลับนอกเหนือไปกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเห็นได้. ส่วนนี้ก็ได้แก่ความรู้เรื่องความว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง (สุญญตา) เรื่องความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) ความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา); หรือเรื่องการเปิดเผยว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์เป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทกข์เป็นอย่างไร ; ในฐานะเป็นความจริงอันเด็ดขาดที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้(อริยสัจจ์) ซึ่งทุกคนควรจะต้องรู้ นี้เรียกว่าพุทธศาสนาในฐานะเป็นสัจจธรรม.
    พุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นศาสนา (Rcligion)คือส่วนที่เป็นตัวระเบียบปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความหลุดพ้น. และปัญญาที่รู้เห็นความหลุดพ้น ว่างมือใครปฏิบัติ แล้วจะหลุดพ้นไปจากความทุกข์ได้จริง. นี่เรียกว่า พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา.
    เรายังมี พุทธศาสนาในเหลี่ยมที่เป็นจิตทยา(psychology)เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกภาคสุดท้าย กล่าวบรรยายถึงลักษณะของจิตไว้กว้างขวางอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด เป็นที่งงงันและสนใจแก่นักศึกษาทางจิตแม้แห่งยุคปัจจุบัน เป็นความรู้ทางจิตวิทยาที่จะอวดไดัว่าแยบคายหรือลึกลับกว่าความรู้ทางจิตวิทยาของโลกปัจจุบันไปเสียอีก.
    พุทธศาสนายังมีเหลี่ยมความรู้ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปรัชญา(philosophy)คือสิ่งที่ทดลองไม่ได้ ยังต้องอาศัยการคำนึงคำนวณไปตามหลักแห่งการใช้เหตผลแห่งการคำนึงคำนวณระบอบหนึ่ง. แต่ถ้าเห็นแจ้งประจักษ์ได้ด้วยตา หรือค้วยการพิสูจน์ทดลองตามทางวัตถุ หรือแม้เห็นชัดด้วย" ตาใน" คือญาณจักษุก็ตาม เรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ (science) ได้. ความรู้อันลึกซึ่งเช่นเรื่องสุญญตาย่อมเป็นปรัชญาสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมไปพลางก่อน; แต่จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทันทีสำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เช่น พระอรหันต์; เพราะท่านได้เห็นแจ้งประจักษ์แล้วด้วยจิตใจของท่านเองไม่ต้องคำนึงคำนวณตามเหตุผล.
    หลักพระพุทธศาสนาบางประเภท ก็เป็นวิทยาศาสตร์ โดยส่วนเคียว เพราะพิสูจนได้ชัดแจ้งด้วยความรู้สึกภายในใจของผู้มีสติปัญญา ; โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอริยสัจจ์เป็นต้น. ถ้าผู้ไดมีสติปัญญาสนใจศึกษาค้นคว้าแล้วจะมีเหตผลแสดงอยู่ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มืดมัวเป็นปรัชญาเหมือนอย่างบางเรื่อง.
    สำหรับบุคคลผู้บูชาวัฒนธรรม ก็จะพบว่ามีคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาหลายข้อที่ตรงกับหลักวัฒนธรรมสากล. และมีคำสอนอีกมาก ที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธโดยเฉพาะ ซึ่งดีกว่าสูงกว่าวัฒนธรรมสากลอย่างมากมาย.
    แม้พุทธศาสนาส่วนที่เป็นตรรกวิทยา (logic)ซึ่งเป็นศาสตร์ที่โยกโคลงที่สุด ก็มีมากด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในพวกพระอภิธรรมปิฎกบางคัมภีร์ เช่นคัมภีร์กถาวัตถุเป็นต้น.
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    แต่อย่างไรก็ตามอยากจะขอยืนยันว่า พุทธศาสนาเหลี่ยมซึ่งชาวพุทธจะต้องสนใจที่สุด นั้นคือ เหลี่ยมที่เป็นศาสนา ซึ่งหมายถึงวิธีปฏิบัติโดยรวบรัด เพื่อให้รู้ความจริงว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไร จนถอนความยึดถือหลงใหลต่าง ๆ ออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวงได้. การกระทำเช่นนี้เรียกว่า เราเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นพุทธศาสนา : มีผลดียิ่งไปกว่าที่จะถือเป็นเพียงศีลธรรมขั้นพื้นฐาน และสัจจธรรมอันเป็นความรู้ที่ลึกซึ่งอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติอะไรและเป็นผลดีกว่าที่จะถือเป็นปรัชญา ที่มีไว้คิดไว้นึกไว้เถียงกันอย่างสนุก ๆแล้วไม่ละกิเลสอะไรได้ หรือดีกว่าที่จะถือเป็นเพียงวัฒนธรรมสำหรับการประพฤติที่ดีงามน่าเลื่อมใสในด้านสังคมแต่อย่างเดียว.
    อย่างน้อยที่สุด เราทั้งหลายควรถือ พุทธศาสนาในฐานะเป็นศิลปะ (Art) ซึ่งในที่นี้หมายถึงศิลปะ แห่งการครองชีวิต คือเป็นการกระทำที่แยบคายสุขม ในการที่จะมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ให้น่าดูน่าชมน่าเลื่อมใสน่าบูชาเป็นที่จับอกจับใจแก่คนทั้งหลายจนคนอื่นพอใจทำตามเราด้วยความสมัครใจไม่ต้องแค่นเข็นกัน:เราจะมี ความงดงามในเบื้องต้น ด้วยศีลบริสุทธิ์: มีความงดงามในท่ามกลาง ด้วยการมีจิตใจสงบเย็น เหมาะสมที่จะทำงานในด้านจิต : มี ความงดงามในเบื้องปลาย ด้วยความสมบูรณ์แห่งปัญญา คือรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงว่าอะไรเป็นอะไร จนไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นเพราะสิ่งทั้งปวงนั้น.
    เมื่อใครมีชีวิตอยู่ด้วยความงาม ๓ ประการ เช่นนี้แล้ว ถือว่าเป็นผู้มีศิลปะแห่งการดำรงชีวิตอย่างสูงสุด. ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศิลปะแห่งชีวิตโดยนัยนี้เป็นอันมาก และกล่าวขวัญกันมากกว่าแง่อื่น ๆ.
    การที่เราเข้าถึงตัวแท้ของพระพุทธศาสนา จนถึงกับนำมาใช้เป็นแบบแห่งการครองชีวิตได้นั้น มันทำให้เกิด ความบันเทิงรื่นเริงตามทางของธรรมะ ไม่เหงาหงอยไม่เบื่อหน่าย หรือหวาดกลัวดังที่เกรงกันอยู่ว่า ถ้าละกิเลสกันเสียแล้วชีวิตนี้จะแห้งแล้งไม่มีรสชาติอะไรเลย หรือถ้าปราศจากตัณหาต่าง ๆ โดยสิ้นเชิงแล้วคนเราจะทำอะไรไม่ได้ หรือไม่คิดทำอะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่โดยที่แท้แล้ว ผู้ดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง ตามศิลปะแห่งการครองชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น คือผู้มีชัยชนะอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงที่เข้ามาแวดล้อมตน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บุคคสิ่งของหรืออะไรก็ตาม จะเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจก็ตาม ย่อมจะเข้ามาในฐานะผู้แพ้ ไม่อาจจะทำให้เกิดความมืดมัว สกปรก เร่าร้อนให้แก่ผู้นั้นได้. อากัปกิริยาที่เป็นฝ่ายชนะอารมณ์ทั้งปวงนี้ ย่อมเป็นที่บันเทิงเริงรื่นอย่างแท้จริง ; และนี่คือข้อที่ควรถือเป็นศิลปะในพุทธศาสนา.
    ธรรมะในพระพุทธศาสนา จะให้ความเพลิดเพลินแก่จิตใจที่ต้องการธรรมะ นับได้ว่าเป็นอาหารจำเป็นอย่างหนึ่งเหมือนกัน.คนที่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสยังต้องการอาหารทางตา หู จมูก ลิ้น กายแสวงหากันไปตามวิสัยปุถุชนนั้นก็ถูกแล้วแต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ลึก และไม่ต้องการอาหารอย่างนั้น สิ่งนี้คือวิญญาณซึ่งเป็นอิสระหรือบริสุทธิ์ ต้องการความบันเทิงเริงรื่น คืออาหาทางธรรมะ นับตั้งแต่ความยินดีปรีดาที่รู้สึกว่าตนได้ทำอะไรอย่างถูกต้อง เป็นที่พอใจของผู้รู้ทั้งหลาย มีความสงบระงับในใจชนิดที่กิเลสมารบกวนไม่ได้. มีความเห็นแจ่มแจ้งรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งใด . มีอาการเหมือนกับนั่งลงได้ ไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมาเหมือนคนทั้งหลาย ชนิดที่ท่านให้คำเปรียบไว้ว่า "กลางคืนอัดควัน กลางวันเป็นไฟ".
    "กลางคืนอัดควัน" นั่น หมายถึงการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายมือก่ายหน้าผาก คิดจะ แสวงหาอย่างนั้นอย่างนี้คิดจะกระทำเพื่อให้ได้เงิน ได้ลาภหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ตนปรารถนา อันเป็นควันกลุ้มอยู่ในใจ เพราะมันยังมืดค่ำ ลูกไปไหนไม่สะดวก ต้องทนนอนอัดควันอยู่.
    ครั้นถึงเวลารุ่งขึ้น ก็ออกวิ่งว่อนไปตามความต้องการของ"ควัน" ที่อัดไว้เมื่อคืน นี่เรียกว่า "กลางวันเป็นไฟ" เป็นอาการของจิตใจที่ไม่ได้รับความสงบ ไม่ได้รับอาหารทางธรรมเป็นความหิวกระหาย ไปตามอำนาจของกิเลสและตัณหา : "กลางคืนอัดควัน" ร้อนกลุ้มอยู่แล้วตลอดคืน; "กลางวันยังเป็นไฟ" คือทั้งร้อนทั้งไหม้อะไรไปในตัวเสร็จตลอดทั้งวันแล้วจะหาความสงบเยือกเย็นอย่างไรได้.
    ถ้าคนเราต้อง "กลางคืนอัดควันกลางวันเป็นไฟ" ไปจนตลอดชีวิต ถึงตายแล้ว จะเป็นอย่างไรบ้าง ขอให้ลองคิดดู. เขาเกิดมาทนทุกข์ทรมานจนตลอตชีวิต คือนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเน่าเข้าโลงไปทีเดียว โดยไม่มีสติปัญญาที่จะระงับดับไฟ ดับควันนั้นเสียเลย. บุคคลชนิดนี้จะต้องอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภทพระพุทธเจ้า สำหรับช่วยแก้ไขให้เบาบางลงตามส่วน. เมึ่อเขาได้เข้าใจสิ่งทั้งหลายทั้งปวงถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้นเท่าไรควันหรือไฟก็จะลดน้อยลงเท่านั้น.
    ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนานลักษณะหลายเหลี่ยมหลายมุม เหมือนกับภูเขาลูกเดียวมองจากทิศต่าง ๆ กัน ก็เห็นรูปต่าง ๆ กัน ได้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร. แม้พระพุทธศาสนา จะมีมูลมาจากควากลัว ก็ไม่ใช่ความกลัวที่โง่เขลา ของคนป่าเถื่อน จนถึงกับนั่งไหว้รูปเคารพหรือไหว้สิ่งที่ปรากฏการณ์แปลก ๆ: แต่เป็นความกลัวชนิดที่สูงด้วยสติปัญญา คือกลัวว่าจะไม่ได้รอดพ้นไปจากการบีบคั้นของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือความทุกข์ทั้งหลายที่เรามองเห็น ๆ กันอยู่.
    พุทธศาสนาตัวแท้ ไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอกเล่าตามพระไตรปิฏก หรือตัวพิธีรีตองต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ตัวแท้ต้องเป็น ตัวการปฏิบัติด้วยกายวาจาใจ ชนิดที่จะทำลายกิเลสให้ร่อยหรอหรือหมดสิ้นไปในที่สุด ; ไม่จำเป็นต้องเนื่องด้วยหนังสือ ด้วยตำรา ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตองหรือสิ่งภายนอก เช่นผีสางเทวคา แต่ต้องเนื่องด้วยกายวาจาใจโดยตรง คือจะต้องบากบั่นกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป จนเกิคความรู้แจ่มแจ้ง สามารถทำอะไรให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนอวสาน. นี่แหละคือตัวแท้ของพระพทธศาสนา ในส่วนทีเราจะต้องเข้าถึงให้จงได้. อย่าได้ไปหลงยึดเอาเนื้องอกที่หุ้มห่อพระพุทธศาสนา มาถือว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนกันเลย.

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="330"><tbody><tr align="center"> <td colspan="3">สิ่งที่รู้จักยากที่สุด.</td> </tr> <tr> <td> สิ่งรู้จัก</td> <td>ยากที่สุด</td> <td>กว่าสิ่งใด</td> </tr> <tr> <td>ไม่มีสิ่ง </td> <td>ไหนไหน</td> <td>ได้ยากเท่า</td> </tr> <tr> <td>สิ่งนั้นคือ </td> <td>ตัวเอง </td> <td>หรือตัวเรา</td> </tr> <tr> <td width="124">ที่คนเขลา</td> <td width="105">หลงว่ากู- </td> <td width="101">ร้จักดี.</td> </tr> <tr> <td> ที่พระดื้อ</td> <td width="105">เณรดื้อ </td> <td width="101">และเด็กดื้อ</td> </tr> <tr> <td>ไม่มีรื้อ </td> <td width="105">มีสร่าง </td> <td width="101">อย่างหมุนจี๋</td> </tr> <tr> <td>เพราะความรู้ </td> <td width="105">เรื่องตัวกู</td> <td width="101">มันไม่มี</td> </tr> <tr> <td>หรือมีอย่าง </td> <td width="105">ไม่มี </td> <td width="101">ที่ถูกต้อง.</td> </tr> <tr> <td> อันตัวกู </td> <td width="105">ของกู </td> <td width="101">ที่รู้จัก</td> </tr> <tr> <td>เป็นตัวลวง</td> <td width="105">เหลือลึก </td> <td width="101">ให้คนหลง</td> </tr> <tr> <td>ส่วนตัวธรรม </td> <td width="105">เป็นตัวจริง </td> <td width="101">ที่ยิ่งยง</td> </tr> <tr> <td>หมดความหลง </td> <td width="105">รู้ตัวธรรม </td> <td width="101">ล้ำเลิศตน ฯ</td></tr></tbody></table>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร
    คำว่า "พุทธศาสนา" มีความหมายกว้างขวางกว่า "ศีลธรรม" ศีลธรรมหมายถึงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับประโยชน์สุขในขั้นพื้นฐานทั่วไป ; และมีตรงกันแทบทุกศาสนา, ศาสนาหมายถึงระเบียบปฏิบัติในขั้นสูง ผิดแปลกแตกต่างกันไปเฉพาะศาสนาหนึ่ง ๆทีเดียว. ศีลธรรม ทำให้เป็นคนดี มีการปฏิบัติไม่เบียดเบียนตนหรือคนอื่น ตามหลักสังคมทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อได้ปฏิบัติครบถ้วนตามนั้นแล้ว คนก็ยังไม่พ้นทุกข์ที่มาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย. ยังไม่พ้นทุกข์จากการเบียดเบียนของกิเลส อำนาจของศีลธรรมได้สิ้นสุดลงเสียก่อนที่จะกำจัดโลภะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นสุดไปได้และไม่สามารถกำจัดความทุกข์อันเกิดจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้.
    ส่วนขอบเขตของศาสนานั้นยังไปไกลต่อไปอีก โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ย่อมมุ่งหมายโดยตรงที่จะกำจัดกิเลสโดยสิ้นเชิงหรือดับทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้สิ้นไป. นั้นให้เห็นว่า ศาสนากับศีลธรรมนั้นต่างกันอย่างไรพุทธศาสนาไปได้ไกลกว่าศีลธรรมสากลของโลกทั่ว ๆ ไปอย่างไรเมื่อเข้าใจดังนี้ แล้ว เราจะได้สนใจพุทธศาสนาโดยเฉพาะ
    พุทธศาสนา คือ วิชารวมทั้งระเบียบปฏิบัติ สำหรับจะให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร. ขอให้สนใจในคำจำกัดความนี้ให้มากเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ที่จะเข้าใจพุทธศาสนาได้โดยเร็วและโดยง่าย.
    ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูว่า ท่านรู้จักอะไรเป็นอะไรกันหรือเปล่า. แม้จะรู้ว่าตัวเองเป็นอะไร ชีวิต หน้าที่การงาน อาชีพ เงินทอง ข้าวของ เกียรติยศ ชื่อเสียง คืออะไรก็ตาม ใครกล้ายืนยันว่ารู้ถึงที่สุดบ้าง ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรจริง ๆ แล้ว เราย่อมไม่ปฏิบัติผิตต่อสิ่งทั้งปวง. เมื่อปฏิบัติถูกแล้วนก็เป็นอันแน่นอนว่า ความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้. เดี๋ยวนี้เรายังไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรเราจึงปฏิบัติผิดไม่มากก็น้อย ; ความทุกข์ก็เกิดขึ้นตามส่วน. การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาก็คือปฏิบัติเพื่อใหรู้วาสิ่งทั้งปวงคืออะไร; เมื่อรู้แจ้งแท้จริงก็ย่อมหมายถึงการบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งหรึอถึงขีดสูงสดเพราะความรู้นั่นเองเป็นตัวทำลายกิเลส ไปในตัว.
    เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรจริง ๆ แล้ว ความเบื่อหน่ายคลายความอยาก และความหลุดพ้นจากทกข์ ย่อมจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ : เราทำความเพียรปฏิบัติก็แต่ขั้นที่ยังไม่รู้อะไรเป็นอะไรกันเท่านั้น โดยเฉพาะก็ในขั้นที่ยังไม่รู้ว่าสิ่งทั้งหลายนี้ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตน. ขณะนี้เราไม่รู้ว่าชีวิตหรือสิ่งทั้งปวงที่เรากำลังหลงรักใคร่ยินดี เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา จึงหลงรักยินดีติดพันยึดถือในสิ่งเหล่านั้น. ครั้นรู้จริงตามวิธีของพระพุทธศาสนาคือมองเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีอะไรน่าผูกมัดตัวเราเข้ากับสิ่งนั้นจริง ๆ แล้ว จิตก็จะเกิดความหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาทันที
    ขอยืนยันในคำจำกัดความข้อนี้ว่า เป็นคำจำกัดความที่เพียงพอและเหมาะสมแก่ท่านทั้งหลายที่จะเอาไปใช้สำหรับการปฏิบัติของตน ; เพราะเหตุว่าหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งพระไตรปิฏก ก็ล้วนแต่เป็นการบ่งระบุให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร? เท่านั้นเอง เช่นหลักเรื่องอริยสัจจ์ ๔ ประการ ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกับคำจำกัดความดังกล่าวเพื่อดูว่าจะลงรอยกันได้เพียงใด.
    อริยสัจจ์ข้อที่ ๑ แสดงว่าสิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์. นี่คือบอกตรง ๆ ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรนั่นเอง. สิ่งทั้งปวงเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ใจ แต่คนทั้งหลายไม่รู้ไม่เห็นว่าสิ่งทั้งปวงเป็นความทุกข์จึงได้มีความอยากในสิ่งเหล่านั้น. ถ้ารู้ว่ามันเป็นความทุกข์ ไม่น่าอยากและไม่น่ายึดถือ ไม่น่าผูกพันตัวเองเข้ากับสิ่งใดแล้ว เขาก็คงจะไม่ไปอยาก.
    อริยสัจจ์ข้อที่ ๒ แสดงว่าความอยากด้วยอวิชชานั้นเป็นต้นเหตุของความทุกข์ คนทั้งหลายก็ยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจว่าความอยากนี่แหละ เป็นตัวต้นเหตุของความทุกข์ใจจึงได้พากันอยากนั่นอยากนี่ร้อยแปดพันประการ เพราะไม่รู้ว่าความอยากด้วยอวิชชานั้นคืออะไร.
    อริยสัจจ์ข้อที่ ๓ แสดงว่านิโรธหรือนิพพานคือการดับความอยากเสียได้สิ้นเชิง เป็นความไม่มีทุกข์. คนทั้งหลายยิ่งไม่รู้จักกันใหญ่ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่อาจลุถึงได้ในที่ทั่ว ๆ ไปคือพบได้ตรงที่ความอยากมันดับลงไปนั่นเอง นี่คือไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม่มีใครปรารถนาที่จะดับความอยาก ไม่ปรารถนานิพพาน เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือนิพพาน.
    อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ ที่เรียกว่ามรรคอันได้แก่วิธีดับความอยากนั้นๆ เสีย. ไม่มีผู้ไดเข้าใจว่า การทำอย่างนี้เป็นวิธีดับความอยากไม่มีใครสนใจเรื่องอริยมรรคอันมีองค์ ๘ ประการซึ่งดับความอยากเสียได้ ; ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นที่พึงแก่ตนเอง; อะไรควรขวนขวายอย่างยิ่ง ; จึงไม่สนใจกับเรื่องอริยมรรคของพระพทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศประเสริฐที่สุดในบรรดาวิชาความรู้ของมนุษย์เราในโลกนี้. นี่แหละ คือการไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างน่าหวาดเสียว
    ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า อริยสัจจ์ ๔ ประการ นั้นคือ ความรู้ที่บอกให้เห็นชัดว่า อะไรเป็นอะไรอย่างครบถ้วน นั่นเอง : เรื่องความอยากนั้นบอกให้รู้ว่า เมื่อไปเล่นกับมันจึงเป็นความทุกข์ใจขึ้นมา เราก็ยังขืนไปเล่นกับความอยากจนเต็มไปด้วยความทุกข์นี่ แหละเป็นความโง่เขลาที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามที่เป็นจริงจึงปฏิบัติผิดทุกอย่าง ; จะมีถูกบ้างก็เล็กน้อยเกินไป และมักจะถูกตามความหมายของคนที่มีกิเลสตัณหา ซึ่งถือกันว่าถ้าได้อะไรมาตรงตามความต้องการของตนแล้ว ก็จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูก อย่างนี้ทางธรรมไม่ถือว่าถูกเลย.
    ทีนี้ลองเอาหลักทางบาลี ที่เรียกว่าหัวใจของพระพุทธศาสนาหรือคาถาของพระอัสสชิมาพิจารณากัน; เมื่อพระอัสสชิได้มาพบกับพระสารีบุตรก่อนได้บวช; พระสารีบุตรได้ถามถึงใจความของพระพุทธศาสนาว่า มีอยู่อย่างไรโดยย่อที่สุด. พระอัสสชิได้ตอบว่า "สิ่งเหล่าใดเกิดมาเพราะมีเหตุ ทำให้เกิด พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น พร้อมทั้งแสดงความดับสิ้นเชิงของสิ่งเหล่านั้นเพราะหมดเหตุ : พระมหาสมณเจ้าตรัสอย่างนี้." นี่คือการบอกว่าสิ่งทั้งปวงมีเหตุปรุงแต่งขึ้นมา มันดับไม่ได้จนกว่าจะดับเหตุเสียก่อน นี้เป็นการชี้ให้รู้ว่า อย่าไปเห็นอะไรเป็นตัวตนที่ถาวร เพราะมีแต่สิ่งที่เกิดจากเหตุและงอกงามต่อไปตามอำนาจของเหตุและจะดับไปเพราะสิ้นเหตุ เพราะฉะนั้น ปรากฏการณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นผลิตผลของสิ่งที่เป็นเหตุ เป็นความเลื่อนไหลไปไม่มีหยุด เพราะอำนาจของธรรมชาติ ที่มีลักษณะไม่หยุดปรุง สิ่งต่าง ๆ จึงปรุงแต่งกันไม่หยุด และเปลี่ยนแปลงไม่หยุด.
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    พระพุทธศาสนาบอกให้เรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน มีแต่การปรุงแต่งกันไป และมีความทุกข์รวมอยู่ในนั้นด้วย เพราะความไม่มีอิสระ จึงต้องเป็นไปตามอำนาจของเหตุ. จะไม่มีความทุกข์ก็ต่อเมื่อหยุด. จะหมดได้ก็เมื่อดับเหตุ เพื่อไม่ให้มีการปรุง. ข้อนี้เป็นการบอกให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างลึกซึ้งที่สุดเท่าที่ผู้มีสติปัญญาจะบอกได้ นับว่าเป็นหัวใจพุทธศาสนาจริง ๆ. การบอกนี้คือบอกให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นแต่เรื่องของมายา อย่าไปหลงยึดถือจนชอบหรือชังมันเข้า. เมื่อทำจิตใจให้เป็นอิสระได้จริง ๆ แล้วนั่นแหละ คือการออกมาเสียได้จากอำนาจของเหตุ เป็นการดับเหตุเสียได้ เราก็จะไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะความชอบหรือความชังอีกต่อไป .
    อีกทางหนึ่งนั้น อยากจะ ให้สังเกตดูถึง วัตถุประสงค์แห่งการออกผนวชของพระพุทธเจ้า ว่าท่านออกผนวชโดยความประสงค์อันใด. พระพุทธภาษิตที่ตรัสถึงข้อนี้มีอยู่อย่างชัดเจนว่าพระองค์ออกผนวชเพื่อแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล คำ "กุศล" ของพระองค์ ในที่นี้ หมายถึงความฉลาด หมายถึงความรู้ที่ถูกต้องถึงที่สุด โดยเฉพาะก็คือรู้ว่าอะไรเป็นความทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นความไม่มีทุกข์ อะไรเป็นวิธีให้ถึงความไม่มีทุกชข์ เพราะถ้ารู้อย่างถูกต้องสิ้นเชิงจริง ๆแล้วก็คือความฉลาดหรือความรู้ถึงที่สุด; ฉะนั้น ความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างบริสทธิ์บริบูรณ์นั่นแหละคือ ตัวพุทธศาสนา.
    เรื่อง ไตรลักษณ์ ก็เป็นหลักสำคัญอีกแนวหนึ่งมีหัวข้อสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นหลักที่เราต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็เรียกว่าไม่รู้จักพุทธศาสนา. อนิจจัง ทกขัง อนัตตานี้คือ การประกาศความจริงออกไปว่า "สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน." ที่ว่าเป็น อนิจจัง ก็คืสิ่งทั้งปวงเปลี่ยนแปลงเรื่อยไม่มีอะไรเป็นตัวเองที่หยุดอยู่แม้ชั่วขณะ. ที่ว่าเป็น ทุกขัง นั้นหมายถึงว่าสิ่งทั้งปวงมีลักษณะเป็นความทนทุกข์ทรมานอยู่ในตัวของตัวเองมีลักษณะดูแ ล้วน่าชังน่าเบื่อหน่าย น่าระอาอยู่ในตัวของมันเองทั้งนั้นและที่ว่าเป็น อนัตตา นั้นก็คือ การบอกให้รู้ว่า บรรดาสิ่งทั้งปวงไม่มีอะไรที่เราควรจะเข้าไปยึดมั่นด้วยจิตใจว่า เป็นตัวเราหรือเป็นของเรา ถ้าไปยึดถือก็ต้องเป็นทกข์ ; และบอกใหรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนั้นยิ่งกว่าไฟ เพราะว่าไฟลุกโพลง ๆ อยู่เราเห็นเราก็ไม่เข้าใกล้แต่สิ่งทั้งปวงนั้นมันเป็นไฟที่มองไม่เห็น เราจึงเข้าไปกอดกองไฟกันด้วยความสมัครใจ แล้วก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดกาล. นี่คือการบอกให้รู้ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร โดยนัยแห่งไตรลักษณ์เป็นการชี้ให้เห็นชัดว่า พุทธศาสนาคือ วิชาและระเบียบปฏิบัติที่ทำให้เรารู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้นเอง.
    เมื่อได้กล่าวถึงหลักที่ว่า เราต้องรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรและต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะตรงต่อกฏธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงดังนี้แล้ว หลักในพระบาลีก็มีอีกพวกหนึ่งเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ แปลว่า คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด; มีอยู่ ๓ ข้อสั้น ๆ คือ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้เต็มที่ และทำจิตใจให้สะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง นี้เป็นหลักสำหรับปฏิบัติ.
    เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทกข์ ไม่ใช่ตัวตน ยึดถือไมได้และไปหลงใหลด้วยไม่ได้. เราก็ต้องปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงให้ถูกต้องด้วยความระมัดระวัง คือเว้นจากการทำชั่ว หมายถึงการละโมบโลภลาภด้วยกิเลส ไม่ลงทุนด้วยการฝืนศีลธรรมขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อไปทำความชั่ว อีกทางหนึ่งนั้นให้ทำแต่ความดีตามที่บัณฑิตสมมุติตกลงกันว่าเป็นคนดี. แต่ทั้งสองข้อนี้เป็นเพียงขั้นศีลธรรม. ข้อที่สามที่ว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองโดยประการทั้งปวงนั้นนั่นแหละ เป็นตัวพุทธศาสนาโดยตรง หมายความว่าทำจิตใจให้เป็นอิสระ ถ้ายังไม่เป็นอิสระจากอำนาจครอบงำของสิ่งทั้งปวงแล้ว จะเป็นจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ไปไม่ได้ จิตจะเป็นอิสระก็ต้องมาจากความรู้ว่า อะไรเป็นอะไรถึงที่สุด ถ้ายังไม่รู้จะไปหลงรักหรือหลงชังอย่างใดอย่างหนึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วจะเรียกว่าเป็นอิสระแท้จริงได้อย่างไร คนเรามีความรู้สึกอยู่สองอย่างเท่านั้น คือความพอใจกับไม่พอใจ (อภิชฌาและโทมนัส).
    คนเราตกเป็นทาสของอารมณ์ ไม่เป็นอิสระแก่ตัวเองเลยเพราะไม่รู้ว่าอารมณ์หรือสิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรนั่นเอง. ความพอใจมีลักษณะที่จะรวบรัดอะไร ๆ เข้ามาหาตัว: ความไม่พอใจมีลักษณะที่จะผลักไสอะไร ๆ ออกไปเสียจากตัว: ถ้ายังมีความรู้สึกสองอย่างนี้อยู่ ก็หมายความว่าจิตใจยังไม่เป็นอิสระ เพราะยังหลงรักหลงชังอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ จึงไม่มีทางที่จะบริสุทธิ์ปราศจากการครอบงำของสิ่งทั้งปวงได้. โดยเหตุนี้เองหลักพระพุทธคาสนาในขั้นสูงสุดนี้ จึงปฏิเสธการยึดถือสิ่งที่น่ารักน่าชัง: ปฏิเสธเลยขึ้นไปถึงกับไม่หลงติดทั้งในความดีและความชั่ว จิตจึงจะเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวงและบริสุทธิ์อยู่เหนืออารมณ์ต่าง ๆ.
    ศาสนาอื่นนิยมกันเพียงให้เว้นจากความชั่วและให้ยึดถีอในความดี ให้หลงยึดผูกพันในความดี จนถึงยอดของความดี คือพระผู้เป็นเจ้า. พระพุทธศาสนายังไปไกลกว่านั้นมาก คือไม่ยอมผูกพันตัวเองกับสิ่งใดเลย. การผูกพันในความดีนั้น ก็จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูกในระยะต้นหรือระยะกลาง เมื่อเรายังทำอะไรให้สูงไปกว่านั้นไม่ได้เท่านั้นเอง. ในระยะ แรกเราเว้นจากความชั่ว ในระยะถัดมาเราก็ทำความดีให้เต็มที่: ส่วนในระยะสูงนั้น เราทำจิตใจให้ลอยสูงเหนือการครอบงำของทั้งความดีและความชั่ว.
    การที่ผูกพันตัวอยู่ภายใต้ผลของความดี ยังไม่ใช่การพ้นจากความทุกข์โดยส้นเชิง: เพราะคนชั่วก็จะมีความทุกข์ไปตามประสาคนชั่ว คนดีก็จะต้องมีความทุกข์ไปตามประสาของคนดี. ถึงเป็นมนุษย์ที่ดีก็มีความทุกข์อย่างมนุษย์ที่ดี จะดีอย่างเทวดาก็มีความทุกข์อย่างเทวดา แม้จะเป็นพรหมก็มีความทุกข์อย่างพรหม จะไม่มีความทุกข์เลยก็ต่อเมื่อขึ้นไปให้พ้น สูงเหนือจากสิ่งที่เรียกว่าความดีกลายเป็นโลกุตตระ (โลกของพระอริยเจ้า) คือเป็นพระอริยเจ้าเสียเอง. ถ้าขึ้นสูงถึงที่สดก็เรียกว่าเป็นพระอรหันต์.
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ทีนี้ คำว่าพระพุทธศาสนานั้น แปลว่าอะไร? พุทธแปลว่าพระพุทธเจ้า พระพทธเจ้าแปลว่าผู้รู้. พุทธศาสนาก็แปลว่า ศาสนาของผู้รู้. พุทธศาสนิกก็แปลว่าผู้ปฏิบัติตามศาสนาของผู้รู้. ที่ว่ารู้นั้นหมายถึงรู้อะไร? ก็คือรู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาก็คือ ศาสนาที่ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาเกี่ยวกับความรู้จริง เราจึงต้องปฏิบัติจนเรารู้ได้เอง. เมื่อรู้ถึงที่สุดแล้วไม่ต้องกลัว กิเลสตัณหาต่างๆ ดูจะถูกความรู้นั้นทำลายให้สิ้นไป ความไม่รู้ (อวิชชา) ก็จะดับไปทันที ในเมื่อความรู้ได้เกิดขึ้นมาฉะนั้น ข้อปฏิบัติต่าง ๆ จึงมีไว้เพื่อให้วิชชาเกิด.
    ท่านทั้งหลายจงปักใจมั่นในทางที่จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น ขอแต่ให้เป็นความรู้ที่ถูกต้อง รู้ด้วยความเห็นแจ้งจริง ๆ. อย่ารู้อย่างโลก ๆ รู้ครึ่ง ๆกลาง ๆ จึงไปหลงสิ่งที่ไม่ดีว่าดี หลงสิ่งซึ่งเป็นที่เกิดของความทุกข์ว่าเป็นความสุขดังนี้ ก็จะค่อย ๆรู้ไปตามลำดับ นั่นแหละจะเป็นการรู้จักพุทธศาสนาที่ถูกตัวพุทธศาสนาแท้ ๆ.
    ถ้าศึกษาพุทธศาสนาโดยวิธีนี้แล้ว แม้คนตัดฟืนขายที่ไม่รู้หนังสือก็จะเข้าถึงตัวพุทธศาสนาได้ ในขณะที่มหาเปรียญหลายประโยคที่กำลังง่วนอยู่กับพระไตรปิฎกไม่อาจเข้าถึงพุทธศาสนาได้เลย. พวกเราที่มีสติปัญญาอยู่บ้าง น่าจะสามารถพินิจพิจารณาสิ่งทั้งปวง ให้รู้ตามที่เป็นจริงได้ ฉะนั้น เมื่อถูกความทุกข์อะไรเข้าแก่ตัวเองแล้ว ก็จะต้องศึกษาสิ่งนั้นให้เข้าใจแจ่มแจ้งว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่. ความทุกข์ที่เกิดขึ้น และกำลังเผาลนเราให้เร่าร้อนอยู่นั้นมันคืออะไร เป็นอย่างไร มาจากไหน.
    ถ้าทุกคนทั้งสติ คอยเฝ้ากำหนคพิจารณาความทุกข์ที่เกิคขึ้นแก่ตน ในลักษณะดังกล่าวนี้แล้ว ก็จะเป็นทางให้เข้าถึงพุทธศาสนาได้ดีที่สุด ดีกว่าการที่จะเรียนเอาจากพระไตรปิฎกอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ทีเดียว. การที่ใครจะมัวแต่ศึกษาพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ในแง่ของภาษาหรือวรรณคดีนั้น จะไม่มีทางรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทั้ง ๆ ที่พระไตรปิฎกก็เต็มไปด้วยคำบรรยายว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้เป็นอย่างนี้ เขาฟังอย่างนนกแก้วนกขุนทอง พูดตามที่จำไว้ได้แต่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย เว้นไว้แต่เขาจะได้ทำการพิจารณาให้เห็นเป็นเรื่องจริงของชีวิตจิตใจ เข้าถึงตัวจริงของกิเลส ของความทุกข์ของธรรมชาติ หรือของสิ่งทั้งปวงซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเขานั่นแหละ จึงจะเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนาที่แท้ได้.
    คนที่ไม่เคยอ่านเคยฟังพระไตรปิฎกเลย แต่เคยพิจารณาอย่างละเอียดลออทุกครั้ง ที่ความทุกข์เกิดขึ้นแผดเผาจิตใจของตน นี้แหละเรียกว่าเขากำลังเรียนพระไตรปิฎกโดยตรงและอย่าถูกต้องดียิ่งกว่ากำลังเปิดเล่มพระไตรปิฎกออกอ่าน เพราะว่าพวกที่กำลังลูบคลำเล่มพระไตรปิฎกอยู่ทุก ๆ วันแต่แล้วไม่รู้จักอมฤตธรรมคำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก เขาก็คล้ายกับการที่เรามีตัวเอง ใช้ตัวเอง ปฏิบัติตัวเอง ไม่สามารถแก้ป้ญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเองให้ลุล่วงไปได้ ยังคงมีความทุกข์ ยังคงมีตัณหาที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ วันตามอายุที่เพิ่มขึ้น นี่เพราะไม่รู้จักตัวเราอย่างเดียวเท่านั้น.
    ชีวิตจิตใจที่สวมอยู่กับเรา เราก็ยังไม่รู้จัก การที่จะไปรู้สิ่งลึกลับที่ซ่อนอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมันยิ่งยากไปกว่าเป็นไหน ๆเพราะฉะนั้นจงหันมาศึกษาพุทธศาสนาหรือรู้จักตัวพุทธศาสนาด้วยการศึกษาจากตัวจริง คือจากสิ่งทั้งปวงซึ่งรวมทั้งร่างกายและจิตใจนี้เอง จากชีวิตซึงกำลังหมุนอยู่ในวงกลมของความอยาก-กระทำตามความอยากแล้วก็เกิดผลอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นมาหล่อเลี้ยงเจตนาที่อยากจึงทำสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด-ต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร หรือทะเลแห่งความทุกข์ เพราะความที่ไม่รู้ว่า อะไรเป็นอะไร ข้อเดียวเท่านั้น.
    สรุปความว่า พุทธศาสนา คือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไรเมื่อเรารู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริง ๆแล้ว ไม่ต้องมีใครมาสอนเราหรือมา แนะนำเรา เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอง เราเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันที เราจะปฏิบัติอะไรไม่ผิดขึ้นมาทันที เราจะลุถึงสิ่งที่ดีสุดที่มนุษย์ควรจะได้ หรือที่ชอบเรียกกันว่ามรรคผลนิพพาน นี้ได้ด้วยตนเอง เพราะการที่เรามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องถึงที่สุดอย่างแท้จริงเท่านั้น.
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <center> ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง
    (ไตรลักษณ์)
    </center> บทนี้จะกล่าวถึงข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะอันเรียกว่า "ไตรลักษณ์" หรือลักษณะ ๓ ประการ กล่าวคือ ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา.
    อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง ; หมายความว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว ทุกขัง แปลว่าเป็นทกข์; มีความหมายว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้น ๆ. อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมาย แห่งความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเราของเรา. ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้วความรู้สึกที่ว่า "ไม่มีตัวตน" จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง. แต่ที่เราไปหลงเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง.
    ขอให้ทราบว่า ลักษณะสามัญ ๓ ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากกว่าคำสั่งสอนอื่น ๆ ในบรรดาคำสั่งสอนทั้งหลายจะนำมารวบยอดอยู่ที่การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ทั้งนั้น บางทก็กล่าวตรง ๆ บางทีก็พูดด้วยโวหารอย่างอื่น แต่ใจความมุ่งแสดงความจริงอย่างเดียวกัน.
    เรื่องของความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งทั้งหลายนี้ เคยมีสอนกันอยู่ก่อนพระพทธเจ้าแต่ไม่ได้ขยายความให้ลึกซึ้งเหมือนของพระองค์. เรื่องความทุกข์ก็เหมือนกัน มีการสอนมาแล้วแตไม่ลึกซึ่งถึงที่สุด; ไม่ประกอบด้วยเหตผลและไม่สามารถชี้ถึงวิธีดับทุกข์ที่สมบูรณ์จริง ๆ ได้ เพราะยังไมรู้จักความทุกข์อย่างเพียงพอเท่ากับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. ส่วนเรื่องความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนนี้ มีสอนแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าผู้ที่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุดเท่านั้น จึงจะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน เหตุนั้นจึงมีสอนแต่โดยพระพทธเจ้า ฟังเป็นบุคคลที่รู้ว่า อะไรเป็นอะไรได้ถึงที่สุดจริง ๆ.
    คำสอนเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ มีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งมากมายหลายวิธีด้วยกัน. ถ้าปฏิบัติจนเห็นแจ้งแล้ว เราจะพบว่ามีข้อสังเกตข้อหนึ่ง คือต้องการเห็นจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่ายึดถือไม่มีอะไรที่อยากจะเอา จะมี จะเป็น ซึ่งสรุปสั้น ๆ ว่า "ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น" เมื่อท่านมองเห็นว่า ความมีความเป็นอย่างใดก็ตามเป็นของหลอกลวง เป็นมายา ไม่น่าเอาไม่น่าเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นจริง ๆ ดังนี้แล้ว นั่นแหละ คือการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างถูกต้องส่วนคนที่ท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ทั้งเช้าทั้งเย็นหลายร้อยหลายพันครั้งมาแล้ว ไม่อาจเห็นก็ได้ เพราะไม่ใช่วิสัยที่จะเห็นได้ด้วยการฟัง หรือด้วยการท่อง
    การคำนึงคำนวณเอาตามหลักเหตุผลนั้น ไม่ใช่ "การเห็นแจ้ง" อย่างที่เรียกว่า "เห็นธรรม" การเห็นธรรมไม่อาจจะเห็นได้ด้วยการคิดไปตามเหตผลแต่ต้องเห็นแจ้งด้วยความรู้สึกภายในทีแท้จริง เช่นพิจารณาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำความเจ็บปวดให้แก่ตนที่เข้าไปหลงใหลอย่างสาสม อาศัยการที่ได้กระทบจริง ๆ จนเกิดเป็นความรู้สึกแก่จิตใจขึ้นมาจริง ๆ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความสลดสังเวชขึ้นมา อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเห็นธรรม หรือเห็นแจ้ง.
    การเห็นแจ้งทำนองนี้ อาจเลื่อนสูงขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงเรื่องสุดท้ายที่ทำให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวงได้ ส่วนผู้ที่ท่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาอยู่ทั้งวันทั้งคืน แต่ถ้าไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง คือไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร ไม่อยากยึดถือในอะไรแล้ว ก็เรียกว่ายังไม่เป็นอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสรุปการเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ความไม่ใช่ตัวตน ลงไว้ที่คำว่า "เห็นจนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่น่าเอาหรือน่าเป็น"
    พุทธศาสนามีคำอยู่คำหนึ่งเป็น คำรวบยอด คือคำว่า "สุญญตา" ซึ่งแปลว่า ความเป็นของว่าง คือว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน : ว่างจากสาระที่เราควรจะเข้าไปยึดถือด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งลิ้นว่า ตัวเรา-ของเรา. การเพ่งพิจารณาดูให้เห็นว่า สิ้งทั้งปวงว่างจากสาระที่ควรเข้าไปยึดถือนั้น เป็นตัวศาสนาโดยแท้ เป็นหัวใจของการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา. เมื่อรู้แจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างจากตัวตนแล้ว ก็เรียกว่ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุด.
    คำว่า "ว่างจากตัวตน" คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ ที่รวบเอาคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาไว้ด้วยเสร็จ. เมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีส่วนไหนยั่งยืนถาวร ก็เรียกได้ว่าว่างเหมือนกัน. เมื่อเต็มไปด้วยลักษณะที่ดูแล้วน่าสังเวชใจก็ แปลว่า ว่างจากส่วนที่เราควรจะเข้าไปยึดถือเอา. เมื่อเราพิจารณาดูว่าไม่มีลักษณะไหนที่จะคงทนเป็นตัวตนของมันเองได้ เป็นเพียงธรรมชาติที่ผันแปรไปตามกฏของธรรมชาติ อันไม่ควรเรียกว่าเป็นตัวตนของมันเอง ดังนี้ก็เรียกว่า ว่างจากตัวตนไต้.
    ถ้าบุคคลใดเห็นความว่างของสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึก "ไม่น่าเอาไม่น่าเป็น" ในสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาทันที. ความรู้สึกไม่อยากเอา ไม่อยากเป็นนี่แหละ มีอำนาจเพียงพอที่จะคุ้มครองคนเรา ไม่ให้ตกไปเป็นทาสของกิเลสหรือของอารมณ์ทุกชนิดบุคคลชนิดนี้ไมสามารถทำความชั่วต่อไป ไม่หลงใหลพัวพันติดอยู่ในสิ่งหนึ่งสื่งใด หรือเอนเอียงไปตาสิ่งยั่วยวนใจใด ๆ เขาย่อมมีจิตใจเป็นอิสระอยู่เสมอและไม่มีความทุกข์เลย.
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ที่ว่า "ไม่มีอะไรน่าเอาน่าเป็น" นี้ เป็นสำนวนโวหารอยู่สักหน่อย. คำว่า "เอา" และ "เป็น" ในที่นี้หมายถึงการเอาหรือเป็นด้วยจิตใจที่หลงใหล ด้วยจิตใจที่ยึดถือ ด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริง ๆ มิได้หมายความว่า คนเราจะเป็นอยู่ได้โดยไม่มีอะไรไม่เป็นอะไรเสียเลย. ตามปกติคนเราจะต้องเอาอะไร เป็นอะไรอยู่เป็นประจำ เช่นจะต้องมีทรัพย์สมบัติ มีบุตร ภรรยา เรื่องสวนไร่นาจะต้องเป็นคนดี เป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ หรือ เป็นผู้ถูกเอาเปรียบเป็นต้น จะต้องมีความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ แต่แล้วทำไมพุทธศาสนาจึงมาสอนให้เราพิจารณาในทางที่จะไม่เอาไม่เป็น
    ข้อนี้หมายความว่า พุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นว่า การเอาการเป็นนั้น เป็นเรื่องสมมุติอย่างโลก ๆ อย่างหนึ่ง และเป็นไปด้วยอำนาจของความไม่รู้ (อวิชชา) นั่นเอง เพราะเมื่อพูดกันตามความจริงขั้นที่เด็ดขาดถึงที่สด ซึ่งเรียกว่าขั้นปรมัตถ์แล้ว คนเราจะเอาอะไร เป็นอะไรไม่ได้เลย เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่าทั้งคนที่จะเอาและสิ่งที่ถูกเอานั้นมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ไช่ตัวตนด้วยกันทั้งนั้น แต่คนที่ไม่รู้เช่นนั้น ย่อมจะต่อสู้ความรู้สึกว่า "เราเอา" "เรามี" "เราเป็น" เป็นธรรมดา นี่เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้.
    ความรู้สึกว่าเอา ว่าเป็น นั่นเอง ได้ทำให้เกิดมีความหนักใจหรือความทุกข์ขึ้นมา การเอา การเป็น ก็เป็นความอยากอย่างหนึ่งคืออยากไม่ให้สิ่งที่ตนกำลังเอา กำลังเป็นอยู่นั้นสูญหายหลุดลอยไปความทุกข์เกิดมาจากความอยากมี อยากเป็น อันรวมเรียกสั้น ๆว่า ความอยาก ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่า "ตัณหา".
    การที่อยากก็เพราะไม่รู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรอยาก มันเป็นความเข้าใจผิดติดตามมาตามสัญชาตญาณเกิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็รู้จักอยาก แล้วก็เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาซึ่งตรงตามที่อยากก็มี ไม่ตรงก็มี. ถ้าได้ผลตรงตามที่อยาก ก็เกิดอยากให้มากขึ้นไปอีก ถ้าไม่ได้ผลตรงตามที่อยาก ก็ต้องดิ้นรนทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปจนกว่าจะได้ผลตรงตามที่อยาก. เมื่อทำลงไปมันก็ได้ ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง วนเวียนเป็นวงกลมของกิเลส-กากระทำ-ผล วิบาก อยู่อย่างนี้ เรียกว่า วัฏฏสงสาร.
    คำว่าวัฏฏสงสาร นั้นอย่าเพ่อไปเข้าใจว่า เป็นเรื่องการเวียนวน ชาติโน้น ชาตินี้ ชาตินั้นแต่ออย่างเดียว ที่แท้จริงกว่านั้น เป็นเรื่องการวนเวียนของสิ่ง ๓ สิ่ง คึอ ความอยาก-การกระทำตามความอยาก-ผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการกระทำนั้น-แล้วไม่สามารถหยุดความอยากได้ เลยต้องอยากอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปแล้วก็กรทำอีก-ได้ผลมาอีก-เลยส่งเสริมความอยากอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปอีก เป็นวงกลมอยู่อย่างนี้ไม่มีสิ้นสุด . ท่านเรียกว่าวัฏฏสงสาร เพราะเป็นวงกลมที่เวียนวน ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้.
    คนเราต้องทนทุกข์ทรมาน ก็เพราะติตอยู่ในวงกลมนี้เอง ถ้าใครหลุดออกไปจากวงกลมนี้ได้ ก็เป็นอันว่าพ้นไปจากความทกข์ทุกอย่างโดยแน่นอน (นิพพาน).
    ไม่ว่ากระยาจกเข็ญใจ เศรษฐี มหากษัตริย์ จักรพรรดิ เทวดาพรหม หรือจะเป็นอะไรก็ตามที ล้วนแต่ตกอยู่ในวงกลมนี้ทั้งนั้นจะต้องมีความทุกข์ทรมานชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับความอยากของเขา ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ในวัฏฏสงสารนี้ เต็มไปด้วยความทรมานอันใหญ่หลวง. ศีลธรรมหรือจริยธรรมนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาข้อนี้ได้เลย เราจึงต้องพึ่งตัวแท้ของพุทธศาสนา ที่เป็นหลักธรรมชั้นสูง ให้แก้ไขในเรื่องนี้โดยเฉพาะทีเดียว. ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า ความทุกข์นั้นมาจากความอยาก สมดังที่พระพุทธเจ้าท่านจัดความอยากไว้ในเรื่องอริยสัจจ์ข้อที่สอง ในฐานะเป็นมูลเหตุให้เกิดความทุกข์ต่าง ๆ โดยตรง.
    ความอยากมีอยู่ ๓ อย่าง อย่างแรกเรียกว่า กามตัณหา อยากในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รู้สึกสัมผัส อะไรก็ได้อย่างที่สองเรียกว่า ภวตัณหา คือความอยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ตนอยากจะเป็น. อย่างที่สามเรียกว่า วิภวตัณหา คือความอยากไม่ให้มีอย่างนั้น ไม่ให้เป็นอย่างนี้. หลักเกณฑ์ข้อนี้กล้าท้าให้ใคร ๆ พิสูจน์หรือแย้งอย่างไรก็ได้ว่า ยังมีดวามอยากอะไรอีกบ้างนอกเหนือไปกว่า ๓ อย่าง ที่กล่าวมานี้.
    ท่านทั้งหลายจะมองเห็นว่า เมื่อมีความอยากที่ไหน ก็มีความร้อนใจที่นั่นและเมื่อต้องกระทำตามความอยาก ก็ย่อมมีความทุกข์ตามส่วนของการกระทำ; ได้ผลมาแล้วก็หยุดอยากไม่ได้ คงอยากต่อไป ต้องมีความร้อนใจต่อไปอีก เพราะยังไม่เป็นอิสระจากความ-อยาก ยังต้องเป็นทาสของความอยากด้วยเหตนี้จึงกล่าวว่า คนชั่วทำชั่วเพราะอยากทำชั่ว มันก็มีความทุกข์ไปตามประสาคนชั่ว คนคีอยากทำดีตามประสาของคนดี.
    แต่ข้อนี้ อย่าเพ่อเข้าใจว่าเป็นการสั่งสอนให้เลิกละจากการทำความดี เฉพาะในที่นี้ประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ความทุกข์นั้นมีอยู่หลายระดับ ละเอียดจนคนธรรมดาเข้าใจไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภทพระพุทธเจ้าซึ่งชี้ให้เห็นว่า เราจะพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงด้วยลำพังเพียงการกระทำความดีอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่พอ ยังจะต้องทำบางสิ่งที่ยิ่งหรือเหนือไปจากการทำความดี ซึ่งได้แก่ การทำจิตให้หลุดพ้นไปจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของความอยากทุกชนิดนั่นเอง. นี่เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีทางแพ้ศาสนาใด ๆ ในโลก อันไม่อาจเข้ามาเทียบสู้หรือเคียงคู่ได้ในส่วนนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องจำไว้ให้แม่นยำ.
    เราเอาชนะความอยากทั้ง ๓ อย่างที่กล่าวแล้วได้นั่นแหละ จึงจะเป็นความพ้นจากความทุกข์ หรือหมดความทุกข์โดยประการทั้งปวง.
    เราจะกำจัดหรือดับระงับหรือตัดรากเง่าของความอยากให้หมดจดสิ้นเชิงได้อย่างไร? คำตอบก็คือว่าพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน จนมองเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าอยากนั่นเอง. มันมีอะไรบ้างที่น่าเอา น่าเป็น ซึ่งเมื่อเอาหรือเป็นเข้าแล้ว จะไม่โยนความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่ให้บุคคลนั้น?ขอให้ตั้งปัญหาถามขึ้นอย่างนี้ ได้อะไรหรือเป็นอะไรบ้าง ที่จไม่นำมาซึ่งความหนักอกหนักใจ.
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ขอให้ลองคิดดู การได้บุตรได้ภรรยานำเอาความเบากายเบาใจมาให้ หรือเอาภาระหลายอย่างมาให้? การได้ตำแหน่งหน้าที่ เป็นการได้มาซึ่งความสงบเย็น หรือได้มาซึ่งภาระหนักโดยนัยนี้จะเห็นได้โดยง่ายว่า ล้วนแต่นำมาซึ่งภาระ และหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ. เพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นภาระ เพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม์ใช่ตัวตนของมันนั่นเอง. เมื่อเราได้อะไรมา เราก็จะต้องจัดการกับสิ่งนั้น ๆ ให้มันคงอยู่กับเรา ให้เป็นไปตามใจเราหรือมีประโยชน์ แก่เราแต่แล้วสิ่งนั้น ๆ ตามปกติ มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่เป็นตัวตนของใคร คือไม่รู้ไม่ชี้ต่อความประสงค์มุ่งหมายของบุคคลใด มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามวิสัยของมันเองการพยายามของคนเราจึงเป็นการต่อสู้ หรือเป็นการต่อต้านกฏแห่งความเปลียนแปลของสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้น จึงเกิดเป็นความยากลำบาก หรือเป็นความทนทรมานในการที่จะเป็นอยู่ หรือไปทำสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ให้เป็นไปตามความประสงค์ของเรา.
    อุบายซึ่งจะจัดการกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่ไม่น่าเอาไม่น่าเป็นนั้นมีอยู่. ข้อนี้ได้ก่การพิจารณาให้ลึกซึ้งจนพบความจริงว่า เมื่อยังมีกิเลสตัณหา ความรู้สึกในการเอา การเป็นนั้น ย่อมมีลักษณะไปอย่างหนึ่ง. ถ้าไม่มีกิเลสตัณหา มี สติปัญญาที่รู้จักสิ่งต่าง ๆ ถูกต้องดีว่า อะไรเป็นอะไรแล้วความรู้สึกในการเอา การเป็น หรือการได้ของบุคคลนั้นย่อมอยู่ในลักษณะอีกแบบหนึ่ง.
    ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การกินอาหาร ถ้ากินด้วยตัณหาหรือด้วยความอยากในความเอร็ดอร่อย การกินอาหารของผู้นั้นต้องมีอาการต่างจากบุคคลที่ไม่กินอาหารด้วยตัณหา แต่กินด้วยสติสัมปชัญญะ หรือมีปัญญารู้ว่าอะไรเป็นอะไร. นี้ก็เป็นคนด้วยกันแต่คนหนึ่งกินด้วยตัณหาอีกคนหนึ่งกินด้วยความรู้สึกตัวด้วยสติปัญญา การกินจะต้องผิดกัน. กิริยาอาการที่กินและความรู้สึกในขณะกิน ก็จะต้องผิดกัน ; และในที่สุด ผลอันเกิดจากการกินก็จะต้องผิดกัน.
    เราต้องทำความเข้าใจกันในข้อที่ว่า แม้จะไม่ต้องมีตัณหาหรือความอยากในรสอร่อย คนเราก็กินอาหารได้. พระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีกิเลสตัณหาเลย ก็ยังทำอะไร ๆ ได้ เป็นอะไร ๆ ได้ ยังทำงานมากกว่าพวกเรา ที่ทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา ท่านทำด้วยอำนาจของอะไร? ท่านทำเหมือนกับพวกเรา ที่ทำด้วยอำนาจขอกิเลสตัณหา อยากเป็นนั่นเป็นนี่หรือ.
    คำตอบก็คือ ท่านทำด้วยอำนาจของปัญญา คือความรู้ที่แจ่มแจ้งถึงที่สุดว่า อะไรเป็นอะไร ผิดแปลกแตกต่างจาก พวกเราซึ่งทำอะไร ๆ ด้วยตัณหา ผลที่เกิดขึ้นนั้น คือ พวกเราต้องเป็นทุกข์กันแทบตลอดเวลาแต่ส่วนท่านไม่มีความทุกข์เลย ท่านไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเอาอะไร ผลจึงไปได้แก่คนทั้งหลายเหล่าอื่น ด้วยความเมตตาของท่านนั่นเอง ท่านมีปัญญาเป็นเครื่องบอกว่า สิ่งนี้ควรจะทำแทนที่จะอยู่เฉย ๆ ฉะนั้นท่านจึงทำการสืบอายุพระศาสนามาจนถึงพวกเราได้ และทั้งได้ทำประโยชน์อืน ๆ อีกมากมาย.
    ร่างกายและจิตใจที่ปราศจากกิเลสตัณหา ก็แสวงหาและบริโภคอาหารได้ด้วยปัญญา ไม่แสวงและบริโภคด้วยกิเลสตัณหาเหมือนแต่ก่อน เมื่อเราหวังจะเป็นผู้พ้นทุกข์ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้าหรือของพระอรหันต์ทั้งหลายเราก็ควรฝึกฝนตัว ในการที่จะทำอะไรลงไปด้วยปัญญา อย่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหาถ้าเป็นคนศึกษาเล่าเรียนก็ศึกษา ไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่ามันเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา ถ้าประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ว่าเป็นสิ่งทีทุกคนควรกระทำ ซึ่งทำให้ดีที่สุด ด้วยความเยือกเย็นเท่าที่สติ-ปัญญาจะอำนวยให้.
    ถ้าทำไปด้วยตัณหา มันจะร้อนใจเมื่อกำลังทำ และร้อนใจเมื่อทำเสร็จแล้ว ; แต่ถ้าทำด้วยอำนาจของปัญญาควบคุมอยู่ จะไม่ร้อนใจเลย. ผลแตกต่างกันอย่างนี้ ; ฉะนั้นเราจำเป็นต้องรู้อยู่เสมอว่า สิ่งทั้งหลายโดยที่แท้แล้วเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น จะเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็เข้าไปด้วยปัญญา การกระทำของเราก็จักไม่ตกหลุมของกิเลสตัณหา.
    การทำด้วยสติปัญญา จะไม่มีความทุกข์ตั้งแต่เบื้องต้นจนปลาย จิตใจจะไม่มีความหลงยึดถือ อย่างหลับหูหลับตาว่าเป็นของน่าเอา น่าเป็น ทำไปด้วยจิตว่าง ปล่อยให้เป็นไปตามขนบ-ธรรมเนียมประเพณีหรือตามกฏหมาย ยกตัวอย่างเช่น เรามีทีดินเป็นทรัพย์สมบัติอยู่ เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึกที่เป็นตัณหาไปยึดถือในสิ่งนั้น จนถึงกับหนักอกหนักใจแผดเผาหัวใจ กฏหมายยังคงคุ้มครองที่ดินผืนนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเราอยู่นั่นเอง เราไม่ต้องทุกข์ร้อนวิตกกังวลมันก็ไม่หลุดมือหายไปไหน.
    แม้ว่าจะมีใครมาแย่งชิงก็ยังคงทำการต้านทานป้องกันได้ด้วยสติปัญญา ไม่ต้องต้านทานด้วยกิเลสตัณหาให้เร่าร้อนด้วยไฟคือโทสะ เราอาศัยอำนาจกฎหมายทำการต้านทานได้โดยไม่ต้องมีความทุกข์ เราก็ยังคงรักษาคุ้มครองเอาไว้ได้. แต่ถ้าหากว่ามันจะหลุดมือไปจริง ๆ เราจะมีกิเลสตัณหาหรือไม่มีก็ตาม มันก็ช่วยไมได้ เพราะว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจคิคเสียดังนี้เราไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร.
    แม้ "การเป็น" ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปยึดถือในการได้เป็นนั่นเป็นนี่ เพราะว่าโดยที่แท้แล้ว ไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลยล้วนแตนำมาซึ่งความทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งนั้น.
    อุบายง่าย ๆ ที่เราจะต้องพิจารณา ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนาหรือเป็นการปฏิบัติธรรมโดยตรงก็คือ พิจารณาให้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าเป็น หรือไม่มีการเป็นอะไรที่น่าสนุกเลย ท่านทั้งหลายลองตั้งปัญหาสาหรับพิจารณาในข้อนี้ว่าการเป็นอะไรบ้างที่น่าสนุก? เช่น เป็นบุตร เป็นบิดา มารดา เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นนายเขาเป็นบ่าวเขา สนุกไหม? เป็นมนุษย์สนุกไหม? กระทั่งว่าเป็นพรหมสนุกไหม?
    ถ้าท่านมีความรู้ว่า อะไรเป็นอะไรอย่างแท้จริงแล้วทุกอย่างล้วนแต่ไม่มีอะไรที่น่าสนุกเลย เราต้องทนทำ ทนเป็น ทนเอาทนอยู่ โดยไม่รู้สึกตัว แล้วทำไมเราจะต้องไปมอบกายถวายชีวิต หลงใหลเอา หลงใหลเป็นหรือทำไปด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา? เราควรจะมีความรู้ที่ถูกต้องในสิ่งเหล่านี้ แล้วมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ในอาการที่จะให้เป็นทุกข์น้อยที่สุด หรือไม่ให้เป็นทุกข์เสียเลยยิ่งดี.
    อีกประการหนึ่ง เราจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่อยู่ร่วมกันในโลก จะเป็นมิตรสหาย แม้ที่สุดบุตรภรรยาผู้ไกล้ชิดสนิทสนมว่าสิ่งทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้ ให้เขามีความเข้าใจที่ถูกต้องเหมือกับเรา แล้วก็จะไม่มีอะไรขัดขวางกันในครอบครัว ในบ้านเมืองตลอดถึงในโลก ต่างคนต่างมีจิตใจที่ไม่ยึดมั่นหลงใหลในสิ่งใด ๆหรือในกันและกัน ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา แต่ว่าคงมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยอำนาจของปัญญา โดยมองเห็นชัดอยู่เสมอว่า ไม่มีอะไรทีจะยึดถืออย่างจริงจังได้.
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ขอให้ทุกคนมีความรู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีอะไรเป็นตัวตนอย่างแท้จริง ไม่น่าหลงด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้น ควรยับยั้งดวยปัญญาเรียกว่าเป็นผู้รู้ด้วยปัญญามีความเห็นถูกต้อง ตามคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา จึงสมควรจะเรียกว่า เป็นพุทธบริษัทโดยแท้จริง.
    แม้จะไม่เคยบวชไม่เคยรับศีล แต่ก็เป็นบุคคลที่เข้าถึงพระพทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริง เขามีจิตใจอย่างเดียวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือมีความสะอาด สว่าง สงบในใจเพราะเหตุที่ไม่ยึดถือในสิ่งใด ว่าน่าเอา หรือน่าเป็นนั่นเอง เขาจึงเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาได้โดยสมบูรณ์ อย่างง่ายดายและอย่างแท้จริง ด้วยอาศัยอุบายถูกต้อง ที่พิจารณามองเห็นความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ของตัวของตน จนเกิดความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ น่าเอา น่าเป็นสักอย่างเดียว.
    ความชั่วที่เป็นชั้นทรมานที่สุด ก็มาจากความอยากเอา อยากเป็น ด้วยอำนาจกิเลสตัณหา. ความชั่วที่เบาขึ้นมาก็ทำกันด้วยอำนาจของความรู้สึกที่เบา ด้วยกิเลตัณหา. ความดีทั้งปวงก็ทำกันด้วยตัณหา ชนิดที่ดี ที่ประณีตละเอียดสูงขึ้นไป เป็นความอยากเอา อยากเป็นในขั้นดี. แม้ความดีถึงที่สุดก็ทำด้วยตัณหา ที่ประณีตละเอียดที่สุด จนคนไม่ถือว่าเป็นความชั่วเลยแต่แล้วก็ยังไม่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้; เพราะฉะนั้นผู้ที่พ้นทุกข์ถึงที่สุด กล่าวคือพระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่หมดจากการกระทำด้วยอำนาจของตัณหา กลายเป็นบุคคลที่ทำชั่วทำดีไม่ได้ ทำไต้แต่สิ่งที่เหนือไปกว่าความชั่วและความดี คือมีใจเป็นอิสระอยู่เหนือการครอบงำในค่าของความชั่วและความดี ท่านจึงไม่มีความทกข์เลย .
    หลักของพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างนี้ เราจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม ปรารถนาหรือไม่ปรารถนาก็ตามแนวของความพ้นทกข์ย่อมมีอยู่อย่างนี้. วันนี้ยังไม่ปรารถนา วันหน้าก็จะต้องปรารถนาเพราะว่าเมื่อได้ละความชั่วเสร็จแล้วความดีได้ทำเต็มเป็ยม แต่จิตยังหม่นหมอง ด้วยตัณหาชั้นประณีตบางประการอยู่ และก็ไม่รู้จักจะดับด้วยวิธีใด นอกจากพยายามอยู่เหนืออำนาจตัณหาคืออยู่เหนือการที่จะไปอยากได้ อยากเป็นทั้งในสิ่งที่ชั่ว หรืสิ่งที่ดีก็ตาม. ต้องไม่มีความอยากโดยสิ้นเชิง จึงจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ (นิพพาน).
    สรุปความว่า การรู้ว่า อะไรเป็นอะไรถึงที่สุดนั้น คือรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทกข์ ไม่ใช่ตัวตนของตน. เมื่อรู้โดยแท้จริงแล้วก็จะเกิดความรู้ชนิดที่จิตใจจะไม่อยากเป็นอะไรด้วยความยึดถือ;แต่ถ้าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด ๆ ที่เรียกกันว่า "ความมี-ความเป็น" บ้าง ก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจของปัญญา ไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจของตัณหาเพราะฉะนั้น จึงไม่มีความทุกข์เลย.

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="330"><tbody><tr align="center"> <td colspan="3">ตัวกู-ตัวสู</td> </tr> <tr> <td> อันความจริง : </td> <td>"ตัวกู"</td> <td>มิได้มี</td> </tr> <tr> <td>แต่พอเผลอ</td> <td>มันเป็นผี </td> <td>โผล่มาได้</td> </tr> <tr> <td>พอหายเผลอ</td> <td>"ตัวกู" </td> <td>ก็หายไป</td> </tr> <tr> <td width="124">หมด "ตัวกู"</td> <td width="105">เสียได้</td> <td width="101">เป็นเรื่องดี;</td> </tr> <tr> <td> สหายเอ๋ย</td> <td width="105">จงถอน</td> <td width="101">ซึ่ง "ตัวกู"</td> </tr> <tr> <td>และถอนทั้ง </td> <td width="105">"ตัวสู"</td> <td width="101">อย่างเต็มที่</td> </tr> <tr> <td>มีกันแต่</td> <td width="105">ปัญญา</td> <td width="101">และปรานี</td> </tr> <tr> <td>หน้าที่ใคร </td> <td width="105">ทำให้ดี</td> <td width="101">เท่านั้นเอย ฯ</td></tr></tbody></table>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <center> อำนาจของความยึดติด
    (อุปาทาน)
    </center> เราจะปลีกตัวถอนตัวออกมาเสียจากสิ่งทั้งหลายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างไร คำตอบก็คือจะต้องศึกษาว่า อะไรเป็นเหตุให้เราอยาก จนเข้าไปยึดติดในสิ่งนั้น? เมื่อรู้ต้นเหตุ เราอาจจะตัดความยึดติดเสียได้. กิเลสซึ่งเป็นความยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั้น ในพุทธศาสนาเรียก "อุปาทาน" แปลว่าความยึดติด จำแนกเป็น ๔ ประการด้วยกัน
    ๑. กามุปาทาน (ยึดมั่นโดยความเป็นกามหรือของรักใครทั่วไป) เห็นได้จากการที่คนเราตามธรรมดามีความติดพันในสิ่งที่น่ารักที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสสัญชาตญาณของคนเราย่อมรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเอร็ดอร่อยในกามคุณ ๕ อย่างนี้. ตามหลักธรรมในพุทธศาสนาขยายออกไปเป็น ๖ คือมี "ธรรมารมณ์" เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งหมายถึสิ่งที่ผุดขึ้นในใจ จะเป็นอดีตปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้เกี่ยวกับวัตถุภายนอกหรือภายในก็ได้ เป็นเพียงคิดฝันไปก็ได้แต่ทำให้เกิดความเอร็ดอร่อยเพลิดเพลินทางจิตใจในขณะที่รู้สึก
    พอคนเราเกิดมา ได้รู้รสของกามารมณ์ทั้ง ๖ นี้ ก็ยึดติดในอารมณ์นั้น และยึดยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ๆ อย่างแน่นแฟ้น เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะสอนได้ ฉะนั้น จึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจให้ถูกต้องและประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านั้น. มิฉะนั้นความยึดติดนี่แหละจะนำไปสู่ความวินาศฉิบหาย. ขอให้เราพิจารณาดูความวินาศฉิบหายของคนทั่ว ๆ ไปตามปกติจะเห็นได้ว่า มีมูลมาจากความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่น่ารักอย่างใดอย่างหนื่งดังกล่าวแล้ว. ทุกอย่างที่มนษย์ปุถุชนทำกันอยู่ไม่ว่าอะไร ล้วนแต่มีมูลค่าจากกามารมณ์ทั้งนั้น : คนเราจะรักกันโกรธกัน เกลียดกัน อิจฉาริษยาฆ่าฟันกัน หรือฆ่าตัวเองตายก็ตาม ก็จะต้องมีมูลมาจากกามารมณ์.
    การที่มนุษย์ต้องทำงาน ขวนขวายหรือทำอะไรก็ตามเราอาจจะสืบสาวรายเรื่องไป แล้วจะพบว่า เขามีความอยากใคร่จะได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เขาอุตส่าห์เล่าเรียนประกอบอาชีพก็เพื่อให้ได้ผลมาจากอาชีพ แล้วก็ไปแสวงหาความสบายใจในทางรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาบำรงบำเรอตน. แม้แต่เรื่องทำบุญ อธิษฐานได้ให้ใปสวรรค์ ก็มีมูลมาจากความหวังในทางกามารมณ์ทั้งนั้น. รวมความ แล้วความยุ่งยากปั่นป่วนของโลกทั้สิ้น มีมูลมาจากกามารมณ์นั่นเอง.
    กามารมณ์มีอำนาจร้ายกาจถึงเพียงนี้ ก็เพราะอำนาจของกามุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแนั่นในกามตัวนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เป็นอุปาทานขั้นต้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับโลกโดยตรง โลกจะวินาศฉิบหายหรือจะเป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีมูลมาจากกามุปาทานนี้โดยเฉพาะ. เราควรจะพิจารณาตัวเราเองว่า เรามีความติดในกามอย่างไร เหนียวแน่นเพียงไร จะเหลือวิสัยที่เราจะละได้จริง ๆ หรือไม่.
    ถ้าว่ากันทางคดีโลกแล้ว การติดกามกลับจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวง เพราะจะทำให้รักครอบครัว ทั้งยังทำให้ขยันขันแข็งในการแสวงหาทรัพย์และชื่อเสียง ฯลฯ แต่ถ้ามองกันในแง่ของธรรมะ จะรู้สึกว่า เป็นทางมาแห่งความทุกข์ทรมานอันเร้นลับ ; เพราะฉะนั้นในทางธรรมะ ความติดกามจึงเป็นสิ่งที่ต้องละกันให้หมดสิ้นในที่สุด จึงจะดับความทุกข์ทั้งปวงได้.
    ๒. ทิฏฐปาทาน (ยึดติดในทิฏฐิหรีอความคิดเห็นที่ตนมีอยู่เดิม ๆ) เป็นสิ่งที่พอมองเห็นและเข้าใจได้ไม่ยาก ; พอเราเกิดมาในโลก เราได้รับการศึกษาอบรมให้เกิดมีความคิดเห็น ชนิดที่มีไว้สำหรับยึดมั่น ไม่ยอมใครง่าย ๆ นี้ เรียกว่าทิฏฐิ. ลักษณะที่ยึดติดในความคิดความเห็นของตนนี้เป็นไปตามธรรมชาติเขาไม่ติเตียนกันนัก และเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้แต่เป็นโทษภัยที่ร้ายกาจไม่น้อยไปกว่าความยึดติดในของรักของใคร่. ถ้ายึคติดในความเห็นเดิม ๆ ของตัวอย่างดึ้อดึงแล้ว ก็อาจถึงกับจะต้องปรับปรุงทิฏฐิของเราให้ถูก ให้ดีให้สูงยิ่งขึ้น คือจากความเห็นผิด ให้กลายมาเป็นความเห็นที่ถูกต้องและถูกต้องยิ่งขึ้น ๆ ไปจนถึงที่สุด ชนิดที่รู้อริยสัจจ์ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว.
    ทิฏฐิที่เป็นความตื้อถือนั้นนั้น มีมูลมาจากหลายทางโดยเฉพาะอย่างยิ่แล้ว มักจะเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีหรือลัทธิศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ทิฎฐิดื้อรั้นเป็นของส่วนตัวเองล้วน ๆ นั้นยังไม่เท่าไร เพราะไม่มากมายเหมือนที่มาจากขนบธรรมเนียมประเพณี ที่คนเคยถือกันมาที่ค่อย ๆ อบรมสะสมกันมากขึ้น ๆ.
    ทิฏฐิต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ (อวิชชา) เมื่อไม่รู้ก็มีความเข้าใจเอาเองตามความโง่เดิม ๆ ของตน เช่นเห็นว่าสิ่งนี้น่ารักน่ายึดถึอ สิ่งนี้เที่ยงแท้ถาวร เป็นความสุขเป็นตัวตน แทนที่จะเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงภาพมายาที่ลวงตา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้เป็นต้น อะไร ๆ ที่ตนเข้าใจมาแล้วละก็ต้องไม่ยอมรับว่าผิด ทั้งที่บางที่ตัวเองก็เหมือนอยู่ว่าผิด แตก็ไม่ยอม
    ความเป็นผู้ดื้อดึงซึ่งหน้าอย่างนี้ นับว่าเป็นอุปสรรคหรรือศัตรูของคนเราอย่างยิ่ง มันทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือไม่สามารถเปลี่ยนความเห็นผิดในลัทธิศาสนา หรือความเชื่ออื่น ๆ ที่เคยหลงเชื่อมาแล้วแต่เดิมได้.
    ปัญหานี้ย่อมจะเกิดแก่บุคคลผู้ถือลัทธิศาสนาที่ยังต่ำ ๆ อยู่ทั้ง ๆ ที่ตนเห็นว่าต่ำหรือผิด ก็เปลี่ยนไม่ได้เพราะเขามักถือเสียว่าบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยถือกันมา. หรือถ้าไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับจะแก้ตัวขึ้นมาจริง ๆ ก็ว่าเป็นสิ่งที่เคยถือกันมานมนานแล้วเป็นต้น. เพราะเหตุนี้เอง พุทธศาสนาจึงถือว่าทิฏฐินั้น เป็นกิเลสตัวร้ายกาจ เป็นสิ่งที่ทำอันตรายที่สุดอย่างหนึ่ง คงจะต้องพยายามทำให้หมดไปอย่างยิ่งมิฉะนั้น ตนก็จะไม่ได้อะไรที่ดีขึ้นเลย.
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ๓. สีลัพพตุปาทาน (ยึดติดในวัตรปฏิบัติที่มุ่งหมายผิดทาง) หมายถึงความยึดมั่นถือมั่นในการประพฤติกระทำที่ทำปรัมปราสืบกันมาอย่างงมงายไร้เหตุผลหรือที่คนนิยมเรียกกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ คิดกันว่าเป็นสิ่งที่เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้และไม่ยอมเปลี่ยนแปลง.
    คนไทยเราทั่วไป ก็มีสิ่งนี้กันไม่น้อยกว่าชนชาติอื่นมีการถือเครื่องรางของขลังหรือเคล็ดลับต่าง ๆ เช่นตื่นนอนขึ้นมา จะต้องเสกน้ำล้างหน้า จะถ่ายอุจจาระก็ต้องผินหน้าไปทิศนั้นทิศนี้จะบริโภคอาหารหรือจะนอน ก็ต้องมีเคล็ดมีพิธี เชื่อผีสางเทวคาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น เป็นการปฏิบัติที่ไร้เหตุผลอย่างยิ่ง. ไม่เคยคำนึงถึงเหตุผล คงมีแต่ความยึดมั่นถือมั่นตามตำราบ้าง เคยทำมาแล้วไม่ยอมเปลี่ยนแปลงบ้าง.
    แม้ที่อ้างตนว่าเป็นพุทธบริษัท อุบาสกอุบาสิกา ก็ยังยึดมั่นถือมั่นกันไว้คนละอย่างสองอย่าง หรือ แม้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นภิกษุสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าก็ยังมีการยึดถือในทำนองนี้ด้วย อุปาทาน. ยิ่งเป็นลัทธิศาสนาที่ถือพระเป็นเจ้าถือเทวดา ถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยแล้ว จะมีการถือชนิดนั้นมากทีเดียว ซึ่งสำหรับชาวพุทธเราไม่น่าจะมีอย่างนั้นเลย.
    ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อประพฤติธรรมข้อใดข้อหนึ่งแล้วไม่ทราบความมุ่งหมายเดิม ไม่คำนึงถึงเหตุผล ได้แต่เหมาสันนิษฐานเอาเชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้น คนเหล่านี้จึงสมาทานศีล หรือประพฤติธรรมแต่เพียงตามแบบฉบับตามประเพณี ตามตัวอย่างที่ทำปรัมปราสืบกันมาเท่านั้นไม่ทราบเหตผลของสิ่งนั้นๆ เพราะประพฤติมาจนชิน เกิดการยึดถือเหนียวแน่น ชนิดที่แก้ไขยากอันนี้เรียกว่าความยึดติดในการปฏิบัติ ที่เคยกระทำสืบกันมาอย่างผิด ๆ หรืออย่างงมงายไร้เหตุผล.
    แม้วิปัสสนากรรมฐาน หรือสมถกรรมฐาน อย่างที่กำลังประพฤติปฏิบัติกันอยู่ในเวลานี้ก็ตาม ถ้าทำไปด้วยความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย ไม่รู้ความมุ่งหมายอันแท้จริง ก็จะต้องเป็นไปด้วยอำนาจ ของความยึดถือโดยมุ่งหมายผิดเป็นความโง่เขลาชนิดหนึ่ง โดยไม่ต้องสงสัย.
    แม้ที่สุดจะรักษาศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ หรือศีลเท่าใดก็ตามถ้ารักษาโดยคิดว่าจะเป็นผู้ขลัง เป็นผู้วิเศษศักดิ์สิทธิ์ จะมีอำนาจฤทธิ์เดชอะไรขึ้นมาแล้ว ก็กลายเป็นกิจวัตรที่มุ่งผิดทาง ทำไปโดยอำนาจสีลัพพตุปาทานนี้ทั้งนั้นไม่ต้องกล่าวถึงการประพฤติแปลก ๆ ของพวกภายนอกพุทธศาสนาก็ได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้อง ระมัดระวังให้มาก ๆ. การประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น จะต้องให้ถูกไปตั้งแต่เริ่มมีความคิด ความเห็นความพอใจ ในผลของการทำลายกิเลสไปตั้งแต่ต้นทีเดียว การประพฤติปฏิบัตินั้น จึงจะไม่เป็นความงมงายที่นอกลู่นอกทาง ไร้เหตุผลและเสียเวลาปฏิบัติ
    ๔. อัตตวาทุปาทาน (ยึดมั่นโดยความเป็นตัวเป็นตน) ความยึดมั่น ว่าตัว ว่าตนนี้ เป็นสิ่งสาคัญ และเป็นสิ่งเร้นลับอย่างยิ่ง สิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดย่อมจะรู้สึกว่า มันเป็นตัวตนของมันอยู่ดังนี้เสมอไปอย่างช่วยไม่ได้ เพราะมันเป็นสัญชาตญาณขั้นต้นที่สุดของสิ่งที่มีชีวิต และเป็นมูลฐานของสัญชาตญาณอื่น ๆ เช่นสัญชาตญาณหาอาหารกิน สัญชาตญาณต่อสู้อันตราย หลบหนีอันตราย สัญชาตญาณสืบพันธิ์และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งล้วนแต่อาศัยสัญชาตญาณแห่งความรู้สึกยึดถือว่าเป็นตัวตนทั้งนั้น มันต้องยึดมั่นว่า มีตัวเราเสียก่อนมันจึงไม่อยากตาย มันจึงอยากหาอาหารมาเลี้ยงร่างกาย อยากต่อสู้เอาตัวรอด หรืออยากจะสืบพันธ์ของมันไว้.
    ความยึดถือว่ามีตัวตนนี้ มีประจำอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว มันจะมีชีวิตรอดมาไม่ได้ : แต่อันนั้น มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ ในการ แสวงหาอาหารในการต่อสู้ ในการสืบพันธ์ หรือในการทำอะไรทุก ๆ อย่างฉะนั้นจึงกล่าวว่า มันเป็นรากฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวงด้วย.
    ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นใจความ โดยสรุปสั้นที่สุดว่า "สิ่งต่าง ๆ ที่คนมีอุปาทานเข้าไปยึดถืออยู่นั่นแหละเป็นตัวความทุกข์ หรือเป็นมูลเหตุแห่งความทุกข์" หรือ "ร่างกายและจิตใจที่คนเข้าไปยึดถือด้วยอุปาทานอยู่นั่นแหละ เป็นความทุกข์".
    อุปาทานข้อนี้เป็นต้นกำเนิดของชีวิต และเป็นต้นกำเนิดของความทุกข์ต่าง ๆ. คำที่ว่า "ชีวิตคือความทุกข์-ความทุกข์คือชีวิต" ท่านก็หมายถึงข้อนี้เอง. การที่เรารู้จักมูลกำเนิดของชีวิต และของความทุกข์ น่าจะถือว่าเป็นการรู้ในสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุดและควรรู้ถึงที่สุด เพราะว่าเป็นทางที่ทำให้เราสามารถกำจัดความทุกขด์อย่างเด็ดขาด ข้อนี้อยากจะอวดด้วยว่า เป็นวิชาความรู้เฉพาะของพุทธศาสนาเท่านั้นไม่อาจพบได้ในศาสนาอื่นที่มีอยู่ในโลกนี้เลย
    เกี่ยวกับอุปาทาน, วิธีปฏิบัติให้ได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น จะต้องอาศัยการรู้จักตัวความยึดติดโคยเฉพาะอัตตวาทุปาทานให้มากเป็นพิเศษ ; เพราะว่ามันเป็นมูลฐานของวัตถุเป็นสิ่งที่มีขึ้นเอง เป็นเอง ประจำอยู่เสร็จ แล้วในตัว ไม่ต้องมีใครมาสอนอะไรกันอีก.
    เด็ก ๆ หรือลูกสัตว์ตัวเล็ก ๆ พอเกิดมาจากท้องแม่ ก็มีสัญชาตญาณอันนี้มาด้วยเสร็จ. เราจะเห็นได้ว่า ลูกสัตว์ตัวเล็ก ๆเช่นลูกแมวรู้จักขู่ฟู่ ๆ ในเมื่อเราเข้าไปใกล้มันนั่นก็เพราะ มันมีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนประจำอยู่ในใจ ฉะนั้นจึงช่วยไม่ได้ที่จะไม่ให้มีอุปาทานในข้อนี้ ที่มันแสดงอิทธิพลออกมา. ทางที่ทำได้อย่างเดียวก็คือ ควบคุมมันไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกว่าจะเจริญด้วยวิชาความรู้ ในทางธรรมะ อย่างที่เรียกได้ว่า ตัดให้ขาดลงไปด้วยวิธีที่พุทธศาสนาสอนไว้ จนเอาชนะสัญชาตญาณข้อนี้ได้
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ถ้ายังเป็นคนธรรมคา คือเป็นปุถุชนอยู่แล้ว ย่อมไม่มีทางที่เอาชนะสัญชาตญานข้อนี้ได้เลย มีแต่พระอริยเจ้าอันดับสุดท้ายคือ พระอรหันต์เท่านั้นที่จะเอาชนะสัญชาตญาณข้อนี้ได้ เราต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยเลย เพราะเป็นปัญหาสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไปทั้งลิ้น ; ถ้าเราต้องการจะเป็นพุทธบริษัทเต็มตัว กล่าวคือเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาโดยครบถ้วน ก็จำต้องศึกษาเรื่องนี้ และเอาชนะความเข้าใจผิดในข้อนี้ให้ได้มากที่สุด เราจึงจะมีความทุกข์ลดน้อยลงตามลำดับ ๆ
    การที่รู้ความจริง ของสิ่งทีเกียวข้องกับเราเป็นประจำวันนับว่าเป็นมหากุศลหรือความฉลาดที่สุดอย่างหนึ่งจึงใคร่ขอรบเร้าท่านทั้งหลาย ให้สนใจในเรื่องอุปาทานทั้งผู้อื่นเป็นเรื่องแสดงให้เห็นว่า ทั้ง ๆ ที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่ไม่น่ายึดถือ ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็นอยู่ตามธรรมชาติ เราทั้งหลายก็ยังตกเป็นบ่าวเป็นทาสของมันอย่างเหนียวแน่น เพราะอำนาจของอุปาทานทั้งสี่นี้เองฉะนั้น เราจะต้องรักษาให้รู้จักสิ่งที่เป็นอันตรายเป็นพิษร้ายนี้ให้มากที่สุด. สิ่งนี้มิได้แสดงตัวเป็นพิษเป็นอันตรายอย่างการลุกโพลง ๆ ของไฟ หรือรู้จักได้ง่าย ๆ อย่างอาวุธหรือยาพิษ แต่มันเร้นลับแนบเนียนอยู่ในลักษณะ เป็นของหวานเอร็ดอร่อยหอมหวานยวนใจเป็นของสวยงาม เป็นของไพเราะทั้งนั้น.
    เมี่อมันมาในลักษณะเช่นนี้ ย่อมเป็นการยากที่เราจะรู้สึกตัวหรือควบคุมมันได้ จึงต้องอาศัยสติปัญญา ความรู้ของพระพุทธเจ้า และจะต้องศึกษาปฏิบัติ ควบคุมดวามยึดมั่นที่ผิด ๆ เหล่านี้ให้อยู่ในอำนาจของปัญญา เราก็สามารถดำรงชีวิตนี้ไม่ให้มีความทุกข์ทรมาน หรือทกข์แต่น้อยที่สุดจนสามารถปฏิบัติหน้าที่การงานหรือมีชีวิตอยู่นโลกนี้ในลักษณะที่เยือกเย็น มีความสะอาด สว่างสงบเย็นอยู่ได้
    ขอสรุปความว่า อุปาทานทั้งสี่นี้ เป็นปัญหาอันเดียวที่พุทธบริษัท หรือผู้ประสงค์จะรู้จักตัวพุทธศาสนา จะต้องเข้าใจให้ได้ เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการรักษาพรหมจรรย์ในพุทธศาสนานี้ ก็เพื่อทำจิตให้หลุดพ้นจากความยืดมั่นที่ผิด ๆ นี้ ท่านทั้งหลายจะได้พบคำกล่าวเช่นนี้ ในท้ายบาลีทุก ๆ สูตร ที่กล่าวถึงการบรรลุธรรมของพระอรหันต์ ซึ่งในที่นั้นจะมีคำว่า "จิตหลุดพ้นจากอุปาทาน" แล้วก็จบกัน เพราะว่า เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นแล้ว ไม่มีอะไรจะผูกพันคล้องจิตนั้น ให้ตกเป็นทาสของโลกหรือเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เรื่องจึงจบสิ้นกันหรือกลายเป็น โลกุตตระ คือพ้นโลก เพราะเหตุฉะนั้น การหลุดพ้นจากความยึดมั่นที่ผิด ๆ จึงเป็นใจความลาคัญที่สุดของพุทธศาสนา
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ขั้นของการปฏบัติศาสนา
    (ไตรสิกขา)
    ในบทนี้ จะบรรยายให้ทราบถึงวิธีที่จะตัดอุปาทาน หลักพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับกรณีนี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา. ข้อปฏิบัติหมวดนี้เรียกว่า ไตรสิกขา.
    สิกขาขั้นแรกที่สุด เราเรียกว่า "ศีล" ซึ่งหมายถึงการประพฤติดี ประพฤติถูกต้องตามหลักทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน มีจำแนกไว้เป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ศีล ๒๒๗ หรืออื่น ๆอีก เป็นการปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยปราศจากโทษขั้นต้น ๆ ทางกาย ทางวาจาของตน ที่เกี่ยวกับสังคม และส่วนรวม หรือเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การเป็นอยู่.
    สิกขาขั้นที่ ๒ เรียกว่า "สมาธิ" ข้อนี้ได้แก่การบังคับจิตใจของตัวเองไว้ไห้อยู่ในสภาพที่จะทำประโยชน์ให้มากที่สุดตามที่ตนต้องการ ขอให้ตั้งข้อสังเกตุความหมายของคำว่า "สมาธิ" ไว้ให้ถูกต้องโดยมากท่านทั้งหลายย่อมจะได้ฟังมาว่า สมาธินั้นคือจิตที่ตั้งมั่นแน่วแน่นิ่งเหมือนท่อนไม้หรือมักว่าเป็นจิตที่สงบ เป็นจิตที่บริสทธิ์แต่ลักษณะเพียง ๒ อย่างนั้น ไม่ใช่ความหมายอันแท้จริงของสมาธิ. การกล่าวเช่นนี้มีหลักในพุทธวจนะนั่นเอง; พระองค์ทรงแสดงลักษณะของจิต ด้วยคำอีกคำหนึ่งซึ่งสาคัญที่สุด คือคำว่า "กมมนีโย" แปลว่า สมควรแก่การทำงานและคำนี้เป็นคำสุดท้ายที่ทรง แสดงลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ.
    สิกขาขั้นที่ ๓ นั้นเรียกว่า "ปัญญา" หมายถึงการฝึกฝนอบรมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุดในสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง. คนเราตามปกติไม่สามารถรู้อะไร ๆ ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงได้ คือมันถูกแต่เพียงตามที่เราเข้าใจเอาเองหรือตามโลกสมมุติ มันจึงไม่ใช่ตามความจริง. ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงมีระเบียบปฏิบัติเรียกว่า ปัญญาสิกขา นี้ขึ้นอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนสุดท้ายสำหรับจะได้ฝึกฝนอบรมให้เกิดความเข้าใจ ให้เห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริงโดยสมบูรณ์.
    คำว่า "ความเข้าใจ" กับคำว่า "ความเห็นแจ้ง" นั้นในทางธรรมะแล้วไม่เป็นอันเดียวกัน. "ความเข้าใจ" นั้นอาศัยการคิดคำนึงด้วยการใช้เหตุผลบ้าง หรือการคาดคะเนเอาตามเหตุผลต่าง ๆ บ้าง ส่วน "ความเห็นแจ้ง" ไปไกลกว่านั้น คือต้องเป็นดังที่เราได้ซึมชาบมาแล้ว ด้วยการผ่านผจญสิ่งนั้น ๆ มาด้วยตนเอง หรือด้วยการมีจิตใจจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับสิ่งนั้น ๆ โดยอาศัยการเฝ้าเพ่งดูอย่างพินิจพิจารณา จนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่หลงใหลในสิ่งนั้น ๆ ด้วยน้ำใสใจจริง ; ไม่ใช่ด้วยการคิดเอาตามเหตุผล เพราะฉะนั้นปัญญา-สิกขาตามหลักของพุทธศาสนาจึงไม่ได้หมายถึงปัญญาที่ได้มาจากหลักของเหตุผล เหมือนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาวิชาการสมัยปัจจุบันแต่เป็นคนละอย่างทีเดียว
    ปัญญาในทางพุทธศาสนา ต้องเป็นการรู้แจ้งเห็นแจ้งด้วยน้ำใสใจจริง ด้วยการผ่านผจญสิ่งนั้น ๆ มาแล้ว โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง(spiritual-Experience) จนฝังใจแน่วแน่ไม่อาจลืมเลือนได้เพราะฉะนั้น การพิจารณาในทางปัญญาตามสิกขาข้อนี้จึงต้องใช้สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในชีวิต ตนเองเป็นเครื่องพิจารณา หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นเรื่องที่มีน้ำหนักมาก พอที่จะทำให้ใจของเราเกิดความรู้สึกสลดสังเวช เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเหล่านั้นได้จริง
    ถ้าเราจะคิดไปตามแนวของเหตุผล ทำการวินิจฉัยลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตากันสักเท่าไรก็ตามมันก็ได้แค่ความเข้าใจ ไม่มีทางให้เกิดความสลดสังเวชได้ ไม่มีทางให้เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลายในโลกได้. ขอให้เข้าใจว่ากิริยาอาการที่จิตใจเบื่อหน่าย คลายความอยากจากสิ่งที่เคยหลงรักนั่นแหละคือตัวความเห็นแจ้งในที่นี้. หลักธรรมะได้บัญญัติไว้ชัดเจนทีเดียวว่า ถ้าเห็นแจ้งจริง ๆ ก็ต้องเบื่อหน่ายจริง ๆ จะไปหยุดอยู่เพียงแค่เห็นแจ้งนั้นไม่ได้. ความเบื่อหน่ายคลายความอยากในสิ่งนั้นจะต้องเกิดตามขึ้นมาทันควันอย่างแยกกันไม่ได้.
    ศีลสิกขา นั้นเป็นเพียงการศึกษาปฏิบัติ ในขั้นตระเตรียมเบื้องต้น เพื่อให้เรามีความเป็นอยู่ผาสุก อันจะช่วยให้จิตใจเป็นปกติ อานิสงส์ของศีลมีหลายอย่างด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นไปเพื่อให้เกิดสมาธิ. อานิสงส์อย่างอื่น ๆ เช่นว่าให้เป็นสุขหรือให้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์นั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงมุ่งหมายโดยตรง ; ท่านม่งหมายโดยตรงถึงข้อที่จะให้เป็นที่เกิดที่เจริญของสมาธิ. ศีลจะส่งเสริมให้เกิดสมาธิได้โดยง่าย. ถ้าเรามีเครื่องรบกวนมาก จิตใจของเราจะเป็นสมาธิได้อย่างไร.
    สมาธิสิกขา คือการที่เราสามารถควบคุมจิตหรือใช้จิตของเรานี้ ให้ทำหน้าที่ของมัน ให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุด. ในขั้นศีล มีความประพฤติดีทางกาย ทางวาจา. ในขั้นสมาธิมีความประพฤติดีทางจิต คือ ไม่มีความคิดผิด ไม่เศร้าหมองไม่มีความฟุ้งซ่าน และอยู่ในสภาพที่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของมัน. อย่างนี้เรียกสมาธิ.
    แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ทั่ว ๆ ไปในทางโลก สมาธิก็ยังเป็นของจำเป็นทุกกรณี ; ไม่ว่าเราจะทำอะไรถ้าไม่ทำด้วยใจที่เป็นสมาธิแล้ว ย่อมไม่ได้รับผลสำเร็จด้วยดี ท่านจึงจัดสมาธินี้ไว้ในลักษณะของบุคคลที่เรียกว่า มหาบุรษ ไม่ว่าจะเป็นมหาบุรษทางโลกหรือทางธรรม ล้วนแต่จำเป็นจะต้องมีสมาธิเป็นคุณสมบัติประจำตัวทั้งนั้น.
    แม้แต่เด็กนักเรียน ถ้าไม่มีจิตเป็นสมาธิแล้ว จะคิดเลขออกได้อย่างไร. สมาธิในทำนองนั้นเป็นสมาธิตามธรรมชาติ มันยังอยู่ในระดับอ่อน ; ส่วนสมาธิในทางหลักพุทธศาสนา ที่เรากำลังพูดถึงนี้ เป็นสมาธิที่เราได้ฝึกให้สุงยิ่งขึ้นไปกว่า ที่จะเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น เมื่อฝึกกันสาเร็จแล้วจึงกลายเป็นจิตที่มีความสามารถ มีกำลัง มีคุณสมบัติพิเศษ อย่างอื่น ๆมากมายเหลือเกิน.
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    การที่คนเราสามารถถือเอาประโยชน์ จากสมาธิได้ถึงปานนี้เรียกว่ามนุษย์ได้ก้าวขึ้นมาถึง การรู้ความลับของธรรมชาติอีกขั้นหนึ่ง. ข้อนี้หมายถึง การรู้วิธีบังคับจิต ให้มีสมรรถภาพยิ่งไปกว่ามนุษย์ธรรมดาจะทำได้. ขั้นศีลยังไม่ถือว่าเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม. ต่พอมาถึง ขั้นที่เป็นสมาธิ เป็นฌาน เป็นสมาบัติ ท่านจัดเป็นอุตตริมนุสสธรรม ซึ่งพระภิกษุจะอวดไม่ได้ขืนอวดชื่อว่า ไม่เป็นพระที่ดีหรือถึงกับไมาเป็นพระเลยแล้วแต่กรณี.
    การได้มาซึ่งสมาธินี้เราต้องลงทุน อดทนศึกษาอบรมและปฏิบัติ จนเรามีสมาธิตามสมควร ที่จะมีได้ในที่สุดเราก็จะได้ผลในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดีมากไปกว่ามนุษย์ธรรมดา ที่เขาได้ ๆ กันเพราะเรามีเครื่องมือที่สูงไปกว่าที่เขามี ; เพราะฉะนั้น จึงขอให้สนใจไว้ อย่าถือว่าเป็นของครึ โง่เขลา งมงายพ้นสมัยเลย มันยังคงเป็นของสำคัญที่สุด จึงต้องใช้กันอยู่เรื่อยไป และยิ่งในสมัยที่โลกมีอะไร ๆ หมุนเร็วแทบจะลุกเป็นไฟอย่างนี้ด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องการสมาธิมากไปเสียกว่าครั้งพุทธกาลด้วยซ้ำไปอย่าไปหลงคิดว่า เป็นเรื่องไปวัดหรือเรื่องสำหรับคนวัด หรือของคนงมงายเลย
    ถัดไปนี้ ก็ถึงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง สมาธิสิกขา กับ ปัญญาสิกขา. พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยทีเดียวว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง หมายถึงอาการที่จิตประกอบด้วยสมาธิ ในลักษณะที่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ถ้าจิตมีลักษณะเช่นนี้แล้ว ก็จะเห็สิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง
    ข้อนี้มีความแปลกประหลาคอยู่หน่อยหนึ่ง คือว่าเรื่องอะไร ๆที่เราอยากรู้ หรือปัญหาที่เราอยากจะสะสางนั้น ตามปกติมันฝังตัวประจำอยู่ในใจของคนเราทั้งนั้น เราอาจจะไม่รู้สึกก็ไดคือมันอยู่ใต้จิตสำนึก (subconscious) เรื่อยไปตลอดเวลา ขณะที่เราตั้งใจจะสะสางให้ออก มันไม่ออกเพราะเหตุว่าจิตใจขณะนั้น ยังไม่เหมาะสมที่จะสะสางปัญหานั้นนั่นเอง ถ้าผู้ใดทำสมาธิที่ถูกต้อง คือให้มีลักษณะที่เรียกว่า "กมมนีโย" พร้อมที่จะปฏิบัติงานทางจิตแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ใต้จิตสำนึก นั้น มันจะมีคำตอบโพล่งออกมาเฉย ๆ อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ต่อเนื่อง-จาก ขณะที่จิตเป็นสมาธินั้น
    แต่ว่าถ้าหากมันยังไม่โพล่งออกมา เราก็ยังมีวิธีอื่นอีกอันหนึ่ง คือให้น้อมจิตไปสู่การพิจารณา ปัญหาที่เรากำลังมีอยู่การพิจารณาด้วยกำลังของสมาธิ ในลักษณะเช่นนี้เองเรียกว่าปัญญาสิกขา หรืออย่างน้อยก็สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขาในคืนวันที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท คือรู้อะไรเป็นอะไร ทยอยกันไปตามลำดับ ทั้งนี้ก็โดยสมาธิ อย่างที่กล่าวมาแล้ว. พระองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด แต่รวมใจความแล้วก็คือว่า ในขณะที่จิตเป็นสมาธิดีแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อพิจารณาปัญหานั้นๆ.
    ทั้งหมดนี้เป็นการ แสดงให้เห็นว่า ปัญญากับสมาธินี้จะต้องเกี่ยวข้องกันเสมอไป. แต่ว่าอาการที่ปัญญา อาศัยสมาธินั้นบางทีเรามองไม่เห็นเลย เช่นเวลาที่เงียบสงัดเย็นสบายไม่มีอะไรรบกวนใจ จิตเป็นสมาธิสดชื่นดี เราก็คิดอะไร ๆ ที่เป็นคำตอบของปัญหา ซึ่งติดค้างอยู่ในใจได้ เป็นต้น.
    แต่ในพุทธศาสนานั้น ท่าน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับปัญญา ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือ ต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา ; ต้องมีปัญญาจึงจะมีสมาธิ, ข้อนี้เป็นเพราะ ในการที่จะให้เกิดสมาธิ ยิ่งไปกว่าสมาธิตามธรรมชาตินั้น มันต้องอาศัยการต่าง ๆ ของจิต ว่าจะบังคับมันอย่างไร จึงจะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้ ; ฉะนั้น คนมีปัญญา จึงสามารถมีสมาธิมากขึ้นได้ตามลำดับ. เมื่อมีสมาธิมากขึ้น ปัญญาก็ยิ่งมีกำลังมากขึ้นตามกำลังเสริมซึ่งกันและกันไปในตัว.
    ถ้ามีปัญญาแล้ว ก็จะต้องมีความเห็นแจ้ง และมีผลเป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายสลดสังเวช ถอยหลังออกมาจากสิ่งทั้งปวงที่เคยหลงรักหลงยึดถือ. ถ้ายังรี่เข้าไปหาสิ่งทั้งปวงด้วยความหลงรัก ด้วยความยึดถือ ด้วยความหลงใหลแล้วไม่ใช่เป็นปัญญาของพระพุทธศาสนา. ที่ว่าชะงักหรือถอยหลังนี้ไม่ใช่ทางกิริยาอาการ เช่นจะต้องจับสิ่งนั้น ส่งนี้ขว้างทิ้งหรือทุบตีให้แตกหักหรือว่าต้องวิ่งหนีเข้าป่าไป อย่างนี้ก็หามิได้แต่หมายถึงชะงักถอยหลัง ด้วยจิตใจโดยเฉพาะ คือมีจิตใจถอยห่าง ออกจากการที่เคยตกเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงมาเป็นจิตที่อิสระ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ผลของความเบื่อหน่ายคลายความอยาก จากสิ่งทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ไปฆ่าตัวตาย หรือเข้าป่าไปบวชเป็นฤๅษีแล้วเอาไฟจุดเผาสิ่งต่าง ๆ เสียให้หมด. ภายนอกจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเรื่อง ยังคงเป็นไปตามเหตุผลตามความเหมาะสมแต่ภายในจิตใจนั้นย่อมเป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของสิ่งใดอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป. นี่คือ อานิสงส์ของปัญญา ท่านใช้เรียกด้วยคำบาลีว่า "วิมุตติ" หมายความว่า หลุดพ้นจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะทาสของสิ่งที่เรารัก.
    แม่แต่สิ่งที่เราไม่รัก เราก็ตกเป็นทาสของมันเหมือนกันเป็นทาสตรงที่ต้องไปเกลียดมันนั่นเอง อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ : อุตสาห์ไปเกลียดมัน ไปร้อนใจกับมัน มันบังคับเราได้เหมือนกับของทีเรารัก ที่อยู่ในลักษณะคนละอย่าง ฉะนั้น คำว่าเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมหมายถึงทั้งทางที่พอใจและไม่พอใจ ทั้งหมดนี้ แสดงว่า เราหลุดออกจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง. มาเป็นอิสระอยู่ได้ด้วยอาศัยปัญญา
    พระพุทธเจ้าท่านจึงได้วางหลักไว้สั้น ๆ ที่สุดว่า คนเราบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา. ท่านไม่เคยตรัสว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยศีลด้วยสมาธิ ; แต่บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา เพราะมันทำให้หลุดออกมาจากสิ่งทั้งปวง. การไม่หลุดก็คือ มีความไม่บริสุทธิ์สกปรกมืดมัวเร่าร้อน เมื่อหลุดก็จะมีความบริสุทธิ์สะอาด-สว่างไสว แจ่มแจ้งและสงบเย็น มันเป็นผลของปัญญาหรือเป็นลักษณะอาการที่ แสดงว่า ปัญญาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ของมันถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงได้กำหนดพิจารณาสิกขาข้อที่ ๓ คือปัญญานี้ให้ดี ๆ ว่ามันมีอยู่อย่างไรและเป็นของสูงสุดเพียงไร
    ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาก็คือ ปัญญาที่ถอนตนออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง โดยการทำลายอุปาทาน ๔ ประการเสียได้หมดสิ้น ความยึดติดทั้ง ๔ นั้นเป็นเหมือนกับเชือกที่ผูกมัดล่ามเราไว้ ; ปัญญาก็เป็นเสมือนมีดที่จะตัตสิ่งเหล่านั้นให้ขาดไปจนไม่มีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดเราไว้ให้ติตอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ได้อีกต่อไป .
    ข้อปฏิบัติทั้ง ๓ อย่างดังกล่าวนี้ จะคงทนต่อการพิสูจน์หรือไม่ จะเป็นหลักวิชาอันแท้จริง เหมาะที่ทุกคนจะปฏิบัติหรือไม่ ขอให้พิจารณาดู.
    เมื่อดูต่อไปอีก จะเห็นว่าหลักทั้ง ๓ ข้อนี้ไม่ค้านกับศาสนาไหนเลย ถ้าศาสนานั้น ๆ ต้องการจะแก้ป้ญหาต่าง ๆ ที่เป็นความทุกข์ของมนุษย์กันจริง ๆ. พุทธศาสนาย่อมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาใด ๆ แต่มีอะไร ๆ มากไปกว่าศาสนาอื่น ๆ มีโดยเฉพาะก็คือ การปฏิบัติในทางปัญญา อันเป็นสิกขาข้อสุดท้ายเพื่อตัดความยึดมั่นทั้ง ๔ ประการ ปลดเปลื้องจิตใจให้เป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง ไม่ผูกพันเป็นทาส หรือตกอยู่ในอำนาจของสิ่งทั้งปวงเช่นพระเป็นเจ้าบนสวรรค์.หรือผีสางเทวดา. ข้อนี้แหละ ไม่มีศาสนาอื่นกล้าพอที่จะสอนให้เป็นอิสระลิ้นเชิง ; ฉะนั้น เราจงเข้าใจความสำคัญขอพระพุทธศาสนาไว้ให้ดี ๆ ดังที่กล่าวมา
    เมื่อความจริงได้แสดงแล้วว่า พระพุทธศาสนากล้าท้าให้พิสูจน์ว่ามีอะไร ๆ ทุกอย่างที่ศาสนาอื่น ๆ มี ; และยังมีอะไรบางอย่าง มากไปกว่าที่เขามีกัน. ฉะนั้นจะเห็นได้ทันทีว่าพุทธศาสนานี้เป็นของคนทั่วไป หรือเป็นศาสนาสากลที่ใช้ได้กันคนทกคน ทุกยุคทุกสมัย ; เพราะว่าทุกคนมีปัญหาความทุกข์อย่างเดียวกันหมด คือทุกข์เพราะเกิดแแก่ เจ็บ ตาย ทุกข์เพราะความอยาก ความยึดถือครอบงำย่ำยี ไม่ว่าเทวดา มนษย์ สัตว์เดรัจฉาน ย่อมจะมีปัญหาอย่างเดียวกัน มีสิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวกัน คือต้องตัดกิเลสตัณหาที่เป็นตัวการสำคัญ หรือตัดความยึดติดที่ผิด ๆ นี้เสียให้ได้. นี้แหละ คือความหมายของความเป็นศาสนาสากล.
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    <center> คนเราติดอะไร
    (เบญจขันธ์)
    </center> อะไรเป็นที่ตั้งที่ยึด ที่เกาะเกี่ยวของอุปาทาน? ที่ตั้งของอุปาทานก็คือโลกนี้เอง คำว่า "โลก" ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายกว้างกว่าความหมายตามธรรมดา คือหมายถึงสิ่งทั้งปวทั้งสิ้นกันทีเดียว ไม่ว่าจะเกี่ยวกับมนุษย์ เทวดา พรหม สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก ปีศาจ เปรต อสูรกาย อะไรก็สุดแท้ที่จะมี รวมแล้วก็เรียกว่าโลก.
    การรู้จักโลก มีความหมายอยู่ตรงที่ว่ามันมีความลึกลับเป็นชั้น ๆ. เรารู้จักกันแต่ชั้นนอก ๆ ที่เรียกว่า "ชั้นสมมุติ" นี้หมายถึงตามสติปัญญาของคนทั่ว ๆไป. พระพุทธศาสนาจึงมีการสอนให้ดูกันหลาย ๆ ชั้น. ท่านมีวิธีแนะให้ดูการจำแนกโลกออกเป็นฝ่ายวัตถุ ซึ่งเรียกกันว่า รูปธรรมอย่างหนึ่ง; ฝ่ายจิตใจเรียกว่านามธรรม อีกฝ่ายหนึ่ง. ยิ่งกว่านั้นท่านได้แบ่งส่วนที่เป็นนามธรรมหรือจิตใจนี้ออกเป็น ๔ ส่วน เมื่อเอารูปธรรม ๑ ส่วนมารวมกันเข้ากับนามธรรมได้เป็น ๕ ส่วน ท่านเลยเรียกว่า เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า แปลว่าส่วน ๕ ส่วนประกอบกันขึ้นเป็นโลก คือเป็นสัตว์เป็นคนนี่เอง.
    การดูโลก ก็หมายถึงการดูสัตว์โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือคน เพราะปัญหาอยู่ที่เรื่องของคน. ร่างกายเป็นวัตถุที่เรียกว่ารูปหรือ รูปขันธ์ (ส่วนที่เป็นรูป); ส่วนที่เป็นจิตใจอีก ๔ ส่วนนั้นจำแนกไปได้คือ
    ส่วนที่ ๑ เรียกว่า "เวทนา" หมายถึงความรู้สึก ๓ ประการคือสุขหรือพอใจอย่างหนึ่ง ทุกข์หรือไม่พอใจอย่างหนึ่ง อีกแบบหนึ่งอยู่ในลักษณะที่ไม่อาจจะเรียกได้ว่าสุขหรือทุกข์ คือเป็นเรื่องที่ยังเฉย ๆ อยู่ แต่ก็เป็นความรู้สึกเหมือนกัน. ความรู้สึกนี้มีประจำอยู่ในคนเราเป็นปกติ วันหนึ่ง ๆ ย่อมเต็มไปด้วยความรู้สึก; ท่านจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบกันเป็นคน และเรียกส่วนนี้ว่าเวทนา หรือเวทนาขันธ์.
    ส่วนที่ ๒ เรียกว่า "สัญญา" แปลว่ารู้ตัว เป็นความรู้สึกตัวอยู่เหมือนอย่างว่าเรากำลังตื่นอยู่ คือไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตายหรือเรียกว่ามีสติสมปฤดี. โดยทั่ว ๆ ไป มักจะอธิบายกันว่าเป็นความจำได้หมายรู้ ก็ถูกเหมือนกัน เพราะว่ายังไม่เมา ไม่สลบไม่หลับ ไม่ตาย ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อกระทบอะไร ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็รู้สึกหรือจำได้ว่าเป็นอะไร เช่นรู้ว่า เขียว แดง สั้น ยาว คน สัตว์ ฯลฯ ตามแต่จะจำได้. นั่นแหละ เป็นความรู้สึกของสมปฤดี หรือ "สัญญา" ในที่นี้.
    ส่วนที่ ๓ เรียกว่า "สังขาร" มีความหมายมาก จนมันปนกันยุ่งไปหมด, เราพูดถึงสังขารที่เป็นส่วนของนามธรรมนี้กันก่อนแปลว่า "ปรุง" คือกิริยาอาการของสิ่งที่เป็นอยู่ในคนหนึ่ง ๆได้แก่ การคิดหรือความคิดเช่นคิดจะทำ คิดจะพูด คิดอย่างนั้นอย่างนี้ คิดดีคิดเลวคิดในทางไหนก็จัดเป็นความคิดทั้งนั้นความรู้สึกที่เป็นความคิดพลุ่งขึ้นมาจากการปรุงแต่งภายในใจนี้เรียกว่าสังขาร. คำว่า สังขาร ในที่อื่นนั้น หมายถึงบุญกุศลที่ปรุงแต่งคนให้เกิดขึ้นก็มีหมายถึงร่างกายหรือโครงร่างที่มีจิตใจครองดังนี้ก็มี มีความหมายหลายทาง แต่ตรงกันโดยเหตุที่มันมีความหมายไปในทางมีการปรุงแต่งประกอบกันขึ้นมา
    ส่วนที่ ๔ เเรียว่า "วิญญาณ" หมายถึงจิตที่ทำหน้าที่รู้สึก ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น และที่กายทั่ว ๆ ไปตลอดถึงที่ใจของตนเองด้วย (ไม่ใช่เจตภูตอย่างที่คนส่วนมากเข้าใจกัน).
    ขันธ์ห้านี่แหละเป็นที่เกาะยึดของอุปาทานทั้ง ๔ ที่ได้อธิบายแล้ว ขอให้ย้อนไปอ่านแล้วนำมาพิจารณาให้เข้าใจกันให้ดี ให้รู้ว่าความยึดนั้นมันเกาะจับอยู่กับส่วน ๕ ส่วนนี้อาจยึดเอาแต่ละส่วนว่าเป็นตัวตนก็ได้แล้วแต่ความโง่ของคน เหมือนอย่างเด็กเล็ก ๆ ที่เดินเซไปโดนประตู เจ็บ ต้องตีประตูเสียทีหนึ่งจึงจะหายโกรธและหายเจ็บ อย่างนี้หมายความว่ายึดเอารูปล้วน ๆคือประตูซึ่งเป็นไม่แท้ ๆ ว่าเป็นตัวตน นั้นเป็นอุปาทานในขั้นต่ำที่สุด
    สำหรับคนโต ๆ ก็โกรธร่างกายถึงกับทุบตีร่างกายหรือโขกศีรษะตัวเอง ก็ยึดถืออย่างเดียวกันกับเด็ก คือไปยึดถือเอาร่างกายเป็นตัวตน. ถ้าหากว่าฉลาดขึ้นไปกว่านั้น ก็จะถือเอาเวทนาหรือสัญญาหรือสังขารหรือวิญญาณส่วนใดส่วนหนึ่งว่าเป็นตัวตนถ้าหากไม่อาจจะ แยกออกได้ก็ยึดทั้งกลุ่มว่าเป็นตัวตน คือเอาทั้ง ๕ ส่วนรวมกลุ่มกันเป็นตัวตนอย่างนี้ก็ได้.
    ถัดมาจากรูปก็คือ เวทนา กล่าวคือความรู้สึกว่าสุข ทกข์หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ มีทางที่จะยึดเป็นตัวตนได้มากที่สุด เราจะมองดูตัวอย่างในเรื่องเราหลงใหล ในกามสุขโดยเฉพาะก็คือความเอร็ดอร่อย ความถูกอกถูกใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ ที่ได้รับอยู่. ตัวเวทนาในที่นี้ก็คือความรู้สึกเอร็ดอร่อยซึ่งเป็นความสุขแล้วก็ไปติตความสุขนั้นหรือความอร่อยนั่นเอง คนยึดถือเวทนาเป็นตัวเป็นตนกันอยู่มาก หรือว่าแทบทั้งหมคเพราะว่าไม่มีใครที่จะไม่ชอบความเอร็ดอร่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็การสัมผัสทางผิวหนัง. ความไม่รู้หรือความหลงผิดทำให้มองไมเห็นสิ่งอื่นใด มองเห็นแต่ความเอร็ดอร่อย แล้วยึดถือเป็นตัวเป็นตน และจะยึดเอาสิ่งนั้นมาเป็นของตน.
    ความรู้สึกทางพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม ย่อมจะเรียกได้ว่าเป็นที่ตั้งของความทุกข์ได้ทั้งนั้น. ความรู้สึกชอบกับชังนี้ ตามความหมายทางธรรมะแล้วย่อมถือว่าเป็นความทุกข์เท่ากัน เพราะมันทำให้เกิดความทรมานใจเท่ากัน : ความชอบทำให้ใจฟูความไม่ชอบทำให้ใจแฟบ การดีใจและเสียใจ ก็เป็นการทำให้จิตเหน็ดเหนื่อยเท่ากัน ทำให้เกิดหวั่นไหวทางจิตได้เท่ากันทั้งหมดนั้นเรียกว่ายึดเวทนาเป็นตัวตน.
    ขอให้ทุกคนพิจารณาความยึดถือเวทนาว่าเป็นตัวตนของตนในตนเอง ให้เข้าใจอย่างถูกต้องจริง ๆ จะเป็นหนทางทำให้เป็นอิสระจากเวทนา. เวทนาเป็นสิ่งที่มีอำนาจเหนือจิตใจ แล้วดึงเราไปสู่สภาพที่จะต้องเสียใจในภายหลัง. ในทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านสอนให้พิจารณาเรื่องเวทนาโดยเฉพาะก็มีมาก. มีผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะกำหนดเวลา เป็นวัตถุสำหรับการพิจารณาเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ อย่างนี้ก็มี มาก
    เวทนานี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ง่ายกว่าสิ่งใด ๆ ทั้งหมดเพราะมันเป็นที่มุ่งหมายสูงสุดของสิ่งที่เราพากเพียรทำกัน " เราอุตส่าห์ศึกษาเล่าเรียนอุตส่าห์ประกอบการงานอาชีพต่าง ๆก็เพื่อให้ได้เงินแล้วก็ไปซื่อหาสิ่งต่าง ๆ เช่น ของใช้ ของกิน เครื่องบำรงบำเรอ ตลอดจนถึงรสพิเศษจากเพศตรงกันข้ามแล้วก็บริโภคของเหล่านั้นเพื่อหวังอย่างเดียวคือสุขเวทนา กล่าวคือความเอร็ดอร่อยทางตา หู จมูก ลิ้น และทางกาย
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    เราลงทุนด้วยกำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจทั้งหมดก็เพื่อหวังสุขเวทนาอันเดียวนี้เท่านั้น ก็รู้อยู่แก่ใจกันดีทุกคน ถ้าไม่เพราะอำนาจของสุขเวทนานี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็คงจะไมลงทุนเรียน ลงทุนทำการงาน ลงเรี่ยวลงแรงหาเงิน ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเรื่องสุขเวทนานี้ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเสียแล้ว ถ้ามี ความรู้ความเข้าใจ ก็จะสามารถควบคุมมันได้ จนทำให้เรามีจิตใจสูงอยู่เหนือความรู้สึกชนิดนั้น จะทำให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าที่เราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดา. แม้ความยุ่งยากต่าง ๆ ในสังคม ก็มีมูลมาจากสุขเวทนานี้เหมือนกันการกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ.หรือระหว่างครึ่งโลกกับครึ่งโลกที่จะต้องรบกัน เมื่อไล่เบี้ยไปถึงที่สุด แล้วจะไปพบความจริงที่ว่า ทุกฝ่ายตกเป็นทาสของสุขเวทนาดังที่กล่าวมาแล้ว การทำสงครามกันนั้น ไม่ใช่เพราะมีมูลมาจากความยึดถือเกี่ยวกับลัทธิ หรือเกี่ยวกับอุดมคติอะไรก็หามิได้ ที่ แท้แล้วมันก็เนื่องมาจากประโยชน์สุข ต่างฝ่ายจะมุ่งแต่ให้ได้ประโยชน์มาก จะกอบโกยเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว ลัทธินั้นเป็นเครื่องบังหน้าหรือเหตุประกอบรอง ๆ ลงไปเท่านั้นเอง ส่วนลึกที่สุดอยู่ที่การตกเป็นทาสของสุขเวทนา ฉะนั้น การรู้จักเวทนาก็หมายถึงการรู้จักมูลเหตุอันสำคัญ ที่ทำให้เราตกเป็นทาสของกิเลสหรือความชั่วจนได้รับความทุกข์ในทุกระดับ.
    เมื่อมนุษย์เป็นอย่างไร เทวดาก็เป็นอย่างนั้น คือตกอยู่ภายใต้อำนาจสุขเวทนาอย่างเดียวกับมนุษย์และยิ่งกว่ามนุษย์เพียงแต่เขาสมมุติให้เป็นเรื่องที่ดีกว่าประณีตกว่าได้อย่างอกอย่างใจกว่าเท่านั้น แต่ก็ยังไม่พ้นไปจากเรื่องตัณหาอุปาทานหลงติดอยู่ในรสอร่อยทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ นั้นเอง
    ถ้าสูงขึ้นไปถึงขั้นพรหม ก็ต้องยกความอร่อยในทางกามารมณ์ออกเสียแต่ไม่พ้นจากความอร่อยทางจิตอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าฌานหรืออยู่ในสมาธิ เกิดความสุขใจเป็นรสอร่อยขึ้นมา ก็ตกใจในรสอร่อยนั้นเหมือนกัน. แม้ไม่เกี่ยวกับกามารมณก็เป็นสุขเวทนานั่นเอง.
    ยิ่งสัตว์ที่ต่ำลงไปกว่ามนุษย์ด้วยแล้ว มันย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจของสุขเวทนาอย่างไม่เป็นระเบียบ ยิ่งกว่ามนษย์เรามากมายนัก ฉะนั้น การรู้เรื่องของเวทนาว่าเป็นอย่างไร โดย-เฉพาะรู้เรื่องเวทนาว่า ไม่สู้เป็นตัวเราของเราเลย ไม่ควรจะยึดถือ จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่ชีวิตของคนเราจริง ๆ.
    ถัดไปก็คือเรื่อง สัญญา หรือที่เรียกว่า สมปฤดี นั่นเองนี้มีทางที่จะยึดถือว่า เป็นตัวเป็นตนของเราได้ง่ายเหมือนกันอย่างที่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปมักชอบพูดกันว่า ถ้านอนหลับจะมีอะไรบางอย่างออกไปจากตัวเราที่เรียกว่า เจตภูต หรือจะเรียกว่าอะไรสุดแท้ ในขณะนั้นเราก็เหมือนท่อนไม้ ไม่มีความรู้สึกทางตาหูจมูกลิ้น และกายเพื่อสิ่งนั้นกลับสู่ร่างกายอีก จึงจะรู้สึกสมปฤดีตามเดิม มีสติสตังขึ้นมาตามเดิม คนเขาหลงเชื่อกันอย่างนั้นมาก เลยยิ่งมีทางที่จะยึดเอาสัญญาหรือสมปฤดีนี้ว่าเป็นตัวตนมากขึ้น.
    แต่ถ้าว่ากันตามทางพุทธศาสนาแล้ว สัญญาไม่ใช่เป็นตัวตน สัญญาเป็นเพียงความรู้สึกจำได้หมายรู้ที่ยังคงดีอยู่. พอเกิดการไม่เป็นระเบียบในการปรุงแต่งเท่านั้น สิ่งที่เราเรียกว่า สัญญาหรือ สมปฤดี ก็จะกลับเป็นใช้ไม่ได้ไปทันที. พุทธศาสนาไม่ยอมรับว่าสัญญาเป็นตัวตนก็เพราะเหตุนี้ ; แต่คนทั่วไปก็ชอบเดา หรือสันนิษฐานไปในทางที่จะยึดถือว่าเป็นตัวตนการศึกษาพุทธศาสนากลับได้ความรู้ที่ตรงกันข้าม ว่านั่นไม่ใช่ตัวตนของใคร. นั่นเป็นเพียงผลของการปรุงแต่งตามธรรมชาติในคน ๆ หนึ่ง เท่านั้นเอง
    ขันธ์ถัดไปคือ สังขาร ได้แก่ความ นึกคิด ความรู้สึกจะทำนั่นทำนี่ จะได้นั่นได้นี่ เป็นความคิดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม แสดงความเป็นตัวเป็นตนหนักขึ้นไปอีก ใคร ๆ ก็จะรูสึกว่า ถ้าจะเป็นตัวตนกันบ้างละก็ ตัวผู้นึกคิดนี่ แหละ น่าจะเป็นตัวตนมากกว่าอย่างอื่น. อย่างนักปรัชญาคนหนึ่งของยุคปัจจุบัน เขามีปรัชญาของเขาง่าย ๆ ว่า "ข้าพเจ้าคิดได้ ข้าพ-เจ้าจึงมีอยู่"
    แม้นักปรัชญาในสมัยวิทยาศาสตร์อย่างนี้ ก็ยังยืดถือตัวตนอย่างเดียวกับ ในสมัยเมื่อสองสามพันปีมาแล้ว โดยถือเอาตัวความคิดนั้นว่าเป็นตัวตน.
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    พุทธศาสนาได้ปฏิเสธเวทนา และสัญญา ว่าไม่ใช่ตัวตนมาแล้ว ยังปฏิเสธความคิด หรือตัวจิตที่คิด ว่าไม่ใช่ตัวตนเหมือนกัน. เพราะอาการที่คิดขึ้นมาได้นั้น มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นผลของการปรุงของสิ่งหลาย ๆ สิ่งสาเร็จรูปเป็นความคิดขึ้นมาได้ อยู่ในกลุ่มของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นคน โดยไม่ต้องมีตัว "ข้าพเจ้า" ที่เป็นตัวตนอย่างว่าสังขารหรือความคิดนี้ จึงถูกยืนยันว่าเป็นอนัตตา กล่าวคือไม่มีต้นไม้มีตนอย่างเดียวกันกับขันธ์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว.
    คำในพระพุทธศาสนาก็ระบุชัดอยู่แล้วว่า "สังขาร" ซึ่งแปลว่าของปรุงแต่ง คือของหลาย ๆ อย่างมาปรุงกันเข้าจึงยิ่งไม่ใช่ตัวตน. ความลำบากเข้าใจยากอยู่ตรงที่ว่า พวกเราไมมีความเข้าใจในเรื่องของนามธรรม หรือจิตใจอย่างเพียงพอ เรารู้จักกันแต่เรื่องรูปธาตุที่เป็นวัตถุแต่ธาตุอีกประเภทหนึ่ง ที่เป็นนามธรรมไม่ใช่วัตถุเราแทบจะไม่เข้าใจกันเสียเลย เราจึงเข้าใจยากในเรื่องของการปรุงทางนามธาตุ.
    ในที่นี้บอกได้แต่เพียงตามหลักพุทธศาสนาว่า เป็นการปรุงของธาตุหลาย ๆ ธาตุ รวมทั้งวัตถุธาตุ และนามธาตุ สิ่งทีเรียกว่าความคิด หรือ " สังขาร" จึงเกิดขึ้นโนใจของตัวเราเองและทำให้เข้าใจไปว่า มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้คิดเพื่อไปในทำนองว่าเป็นเจตภูต เป็นวิญญาณ เป็นตัวเจ้าของร่างหรืออะไรทำนองนี้พุทธศาสนาปฏิเสธสิ่งเหล่านี้อย่างสิ้นเชิงเมื่อได้แยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่มีอะไรเหลือ แล้วก็พิสูจน์แต่ละส่วน ๆ ว่าไม่มีส่วนไหนเป็นตัวเป็นตน ตลอดถึงส่วนที่เป็นความคิด ก็ไม่ใช่ตัวตนอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกันเลย.
    ถัดไปเป็นส่วนสุดท้ายเรียกว่า "วิญญาณ" ทำหน้าที่รู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนของเราเหมือนกัน เพราะเหตุว่าอวัยวะนั้น ๆ ล้วนมีความสามารถรับรู้รูป เสียง กลิ่น รู้สึกสัมผัส อยู่ตลอดเวลา. เมื่อตากับรูปถึงกันเข้า วิญญาณก็เกิดขึ้น เป็น ๓ ฝ่ายด้วยกัน. เช่นตาก็มีความรู้แจ้งเกิดขึ้นว่ารูปนั้นมีสัณฐานอย่างไร เป็นรูปคนหรือสัตว์ สั้นหรือยาว ขาวหรือดำ อย่างนี้เป็นต้น.
    ความรู้แจ้งที่เกิดขึ้นทำนองนี้เหมือนกับกลไกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นไปเองตามธรรมชาติ อย่างอัตโนมัติแต่มีคนบางพวกถือกันว่านั่นแหละเป็นเจตภูต หรือเป็นตัววิญญาณที่ แล่นเข้าแล่นออกจากใจมารับความสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย อย่างนี้ก็มี แล้วยึดถือเอาเป็นตัวตน. ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้น ถ้ารูปและตาพร้อมทั้งประสาทตา ได้มีการกระทบกันก็จะมีการเห็นเกิดขึ้นสำเร็จเป็นการรู้แจ้งทางตาเรียก จักษุวิญญาณ ตามชื่อของประสาทอันเป็นที่ตั้งแห่งการสัมผัส โดยไม่ต้องมีตัวตนอะไรที่ไหนอีกวิญญาณในศาสนาพุทธจึงไม่เหมือนวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ.
    เมื่อได้แยกดูทีละส่วน ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เห็นมีส่วนไหนที่เป็นตัวตนของตนดังนี้แล้ว ก็จะถอนความเข้าใจผิดเรื่องตัวตนเสียได้ ว่าไม่ใช่เป็นตัวตนของใครเลย. ถ้าไม่เกิดความอยาก ก็ไม่เกิดความรักหรือเกลียดในสิ่งทั้งหลาย จึงจะเรียกว่าเห็นแจ้งในสิ่งทั้งปวงว่าไม่ใช่ตัวตน. การนึกคิดตามเหตุผลก็พอจะทำให้เชื่อว่าไม่ใช่ตัวตนได้ สัตว์มันก็เป็นเพียงความเชื่อ ไม่เป็นการรู้แจ้งชนิดที่จะตัดความยึดถือว่า เป็นตัวเป็นตนได้อย่างเด็ดขาด. เหตุนี้เองจึงต้องศึกษาพิจารณากันตามหลักแห่งสิกขา ๓ ประการ จึงจะถึงขนาดที่ถอนความยึดถือเรืองนี้ได้.
    หน้าที่อันจะพึงปฏิบัติในเรื่องเบญจขันธ์ นี้คือต้องทำให้ความรู้แจ้งเกิดขึ้น เพื่อขจัดความโง่เสีย และก็จะเห็นเองว่า ไม่มีส่วนไหนที่เป็นตัวเป็นตนอันน่ายึดถือ เมื่อนั้นการยึดถือก็แตกสลายลง. แม้ยึดมาแต่กำเนิดก็ตาม มันต้องหมดไปด้วย ; ฉะนั้นเราจำเป็นต้อง?ศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่าเป็นตัวตนนี้ให้ละเอียด. พระพุทธจ้าทรงสอนเรึ่องนี้มากกว่าเรืองทั้งหลายมีใจความสรุปสั้น ๆ ว่า "เบญจขันธ์เป็นอนัตตา" และถือว่าเป็นคำสอนที่เป็นตัวพระพุทธศาสนาแท้ เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมองกันในแง่ปรัชญา หรือวิทยาศาสตร์ หรือในฐานะเป็นศาสนาก็ตาม. ถ้าเรารู้ตามที่เป็นจริง ความยึดถือด้วยการเข้าใจผิดก็หายไป ความอยากทุกชนิดจะไมมีทางเกิดและความทุกข์ก็จะไม่มี.
    ทำไม คนเราตามปกติจึงมองส่วน ๕ ส่วนนี้ไม่ออกตามที่เป็นจริง? เมื่อเราเกิดมาจากท้องมารดา เราไมปัญญาของเราเอง : เราได้รับความูร้มาตามที่เขาสอนให้ เขาสอนเราโปในทางที่เข้าใจว่า ทุดสิ่งเป็นตัวตนไปทั้งนั้น. อำนาจสัญชาตญาณดั้งเดิม เกี่ยวกับการยึดถือว่าเป็นตัวตน (อัตตวาทุปาทาน) ซึ่งมีติดมาตั้งแต่เราเกิด ก็พอกพูนหนาแนั่นยิ่งขึ้นทุกวัน ในการพูดจากใช้คำว่า ฉัน ท่าน ผู้นั้น ผู้นี้ ซึ่งล้วนแต่ย้ำการมีตัวตนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น. คนนั้นชื่อนั้น คนนี้ชื่อนี้ เป็นลูกคนนั้น เป็นหลานคนนี้ เป็นสามีคนนั้น เป็นภรรยาคนนี้ ล้วนแต่ระบุไปในทางเป็นตัวตนทั้งนั้น เราจึงพากันไม่รู้สึกตัว ในการที่ไปยึดถือความเป็นตัวเป็นตนเพิ่มขึ้นทุกวัน.
    เมื่อยึดว่าเป็นตัวเป็นตน ก็เกิดความเห็นแก่ตัว แล้วก็ประออบการงานไปตามความเห็นแก่ตัวหรือพวกของตัวจนได้ประโยชน์มาบำรุงความใคร่ของตัวและพวกของตัว. แต่ถ้าหากว่าเราเกิคความฉลาดจนมองเห็นว่านี้เป็นของหลอก ๆ เราก็จะหมดความยึดถือว่านั่นเป็นนาย ก. นาย ข. เป็นขุน หลวงพระ พระยา เป็นสัตว์ หรือมนุษย์ โดยเห็นว่าเป็นเพียงเรื่องที่คนเขาสมมุติขึ้นพูดกันในทางสังคมเท่านั้นเอง. ถ้าเขาเข้าใจได้อย่างนี้แล้ว ก็นับว่าเป็นการเพิกถอนสิ่งที่หลอกลวงของสังคมได้ชั้นหนึ่ง.
    เมื่อพิจารณาดูร่างกายทั้งหมดของนาย ก. ก็จะพบว่า นาย ก. นั้น เท่ากับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สัมพันธ์กัน. การเห็นอย่างนี้ก็ฉลาดขึ้นมาอีกหน่อย เรียกได้ว่าไม่หลงติดในการสมมติทางโลก
    จะแยกให้ละเอียดออกไปอีก ก็มีทางทำได้ เช่นรูป ร่างกายนี้ แยกเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือไม่แยกอย่างทางวัด ๆ เขาแยกกัน จะแยกอย่างวิทยาศาสตร์ เป็นคาร์บอน อ๊อกซิเจน ไฮโดรเจนฯลฯ ได้เหมือนกัน. อย่างนี้เรียกว่า เห็นลึกเข้าไปอีก คือมันหลอกลวงเราได้น้อยเข้าไปอีกชั้นหนึ่งกลายเป็นเห็นว่าคนไม่มี มีอยู่แต่ธาตุต่าง ๆ. ร่างกายเป็นรูปธาตุ ; จิตเป็นนามธาตุ แยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่นรู้สึกนึกคิด และรู้ทางประสาททั้งหลาย เมื่อเป็นดังนี้ ความรู้สึกกว่านาย ก. นาย ข. ขุน หลวงพระ พระยา ก็หายไป ความรู้สึกว่าลูกของเรา ผัวของเรา เมียของเรานี้ก็พลอยหายไป.
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    แต่เมื่อ ดูกันในแง่ปรมัตถ์ จะปรากฏว่า แม้ธาตุดิน น้ำ ลมไฟ ธาตุอ๊อกซิเจน ไฮโดรเจน หรืออะไรก็ตาม จะเป็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณก็ตาม ดูให้ลึกซึ่งแล้ว ก็จะพบลักษณะอันหนึ่ง ซึ่งเหมือนกันหมดคือ "ความว่าง" จากสิ่งที่เรียกว่าตัวตนของมันเอง. ดิน น้ำ ลม ไฟ ดูตรงไหน ๆ มันก็ไม่มีตัวตน ซึ่งภาษาพุทธศาสนาเรียกว่า "สุญญตา".
    ท่านผู้ใดเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของว่างได้ดังนี้แล้ว ความยึดถือหรืออุปาทาน ย่อมไม่มีทางที่จะเกิดได้ ที่เกิดแล้ว ไม่มีทางทีจะเหลืออยู่ได้. มันจะสูญหายละลายไปหมด จนปราศจากความยึดติดโดยสิ้นเชิง มันจึงไม่มีสัตว์ไม่มีคน ไม่มีธาตุ ไม่มีขันธ์ ไม่มีอะไรทั้งหมด ; เป็น "ความว่าง" จากการมีตัวมีตนของมันเองเมื่อไม่ยึดติด ความทุกข์ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น. ใครจะเรียกเขาว่าคนดีคนชั่ว คนสุข คนทุกข์ หรืออะไรก็ตาม ไม่เป็นของแปลกสาหรับเขา. ทั้งหมดนี้เป็นผลเกิดมาจากการมีความรู้ความเข้าใจ และมีความเห็นแจ้งในความจริงของเรื่องเบญจขันธ์ จนถอนความยึดติดที่ผิด ๆ ทั้ง ๔ ประการนั้นเสียได้.
    สรุปความว่า สิ่งทั้งปวงในโลกนี้รวมอยู่ในคำว่า "เบญจขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละส่วนเป็นมายาไร้ตัวตน แต่ก็มีอำนาจของเวทนาล่อให้เกิดการยึดถือ จนคนทั่วไปอยากมี อยากเป็น อยากไม่ให้เป็นซึ่งล้วน แต่ทำให้เกิดทุกข์ ไม่อย่างเปิดเผยก็อย่างเร้นลับ. ทุกคนจะต้องอาศัยข้อปฏิบัติที่เรียกว่าไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ถอนความหลงติดในเบญจขันธ์เสียให้สิ้นเชิง จึงจะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของขันธ์ทั้งห้าและก็จะไม่มีความทุกข์. โลกจะอยู่ในลักษณะที่อำนวยความผาสุขใจให้แก่ผู้นั้นไม่ต้องร้อนใจเพราะสิ่งใด ๆ เป็นผู้มีจิตใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงตลอดชีวิต นี้เป็นผลของการรู้แจ้งแทงตลอดในเรื่องเบญจขันธิ์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.
    "แนวการทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ" (แผนภูมิประกอบคำบรรยายครั้งที่ ๗) ปีติและปราโมทย์ : (ความอิ่มใจในธรรม) ปัสสัทธิ : (ความรำงับ) สมาธิ : (จิตสงบ) ยถาภูตญาณทัสสนะ : (รู้ความเป็นจริงต่อโลก) นิพพิทา : (ความเบื่อหน่าย) วิราคะ : (ความคลายออก) วิมุตติ : (ความหลุดออก) วิสุทธิ : (ความบริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง) สันติ : (ความสงบเย็น) นิพพาน : (ภาวะที่ปราศจากความทุกข์)

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="330"><tbody><tr align="center"> <td colspan="3">เรียนธรรมะ.</td> </tr> <tr> <td> เรียนธรรมะ </td> <td>อย่าตะกละ</td> <td>ให้เกินเหตุ</td> </tr> <tr> <td>จะเป็นเปรต</td> <td>หิวปราชญ์</td> <td>เกินคาดหวัง</td> </tr> <tr> <td>อย่าเรียนอย่าง </td> <td>ปรัชญา</td> <td>มัวบ้าดัง</td> </tr> <tr> <td width="124">เรีนนกระทั่ง </td> <td width="105">ตายเปล่า</td> <td width="101">ไม่เข้ารอย.</td> </tr> <tr> <td> เรียนธรรมะ</td> <td width="105">ต้องเรียน</td> <td width="101">อย่างธรรมะ</td> </tr> <tr> <td>เรียนเพื่อละ</td> <td width="105">ทุกข์ใหญ่ </td> <td width="101">ไม่ท้อถอย</td> </tr> <tr> <td>เรียนที่ทุกข์ </td> <td width="105">ที่มีจริง</td> <td width="101">ยิ่งเข้ารอย</td> </tr> <tr> <td>ไม่เลื่อนลอย</td> <td width="105">มองให้เห็น </td> <td width="101">ตามเป็นจริง.</td> </tr> <tr> <td> ต้องตั้งต้น </td> <td width="105">การเรียน </td> <td width="101">ที่หูตา ฯลฯ</td> </tr> <tr> <td>สัมผัสแล้ว</td> <td width="105">เกิดเวทนา</td> <td width="101">ตัณหาวิ่ง-</td> </tr> <tr> <td>ขึ้นมาอยาก</td> <td width="105">เกิดผู้อยาก</td> <td width="101">เป็นปากปลิง</td> </tr> <tr> <td height="">"เรียนรู้ยิง</td> <td width="105">ตัณหาดับ </td> <td width="101">นับว่าพอ ฯ"</td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...