คุณานิสงส์ของการทำบุญ

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 1 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ธรรมปฏิบัติ : คุณานิสงส์ของการทำบุญ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>5 มกราคม 2552 15:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ว่า ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกำลังเรี่ยวแรงและความบริสุทธิ์แล้ว ให้แบ่งเป็น ๔ ส่วน

    ส่วนที่หนึ่ง ให้ฝังดิน คือเอาไปเลี้ยงตน ตัวของเรานั้นเป็นแผ่นดินแผ่นหนึ่ง เราต้องรับประทานอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงตัวของเรา หรือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็ตาม ที่อยู่อาศัยก็ตาม เรียกว่าบำรุงก้อนดินไว้ไม่ให้ชำรุดไม่ให้แตกไม่ให้ทำลาย ท่านจึงตรัสว่าฝังดิน

    ส่วนที่สอง เอาไปเลี้ยงบุตรภรรยาไม่ให้ทุกข์ยากไม่ให้ลำบาก อันนั้นก็เป็นก้อนดินก้อนหนึ่งเหมือนกัน ถ้าไม่เลี้ยงก็จะแตกพังไป หรือเกิดการวิวาททุ่มเถียงกันเป็นพิษเป็นภัยต่อกันและกัน การเจ็บการป่วยต้องใช้ยารักษาทั้งตัวของเราและบุตรภรรยา

    ส่วนที่สาม เอาไปเลี้ยงเพื่อนมิตรสหายบริษัทบริวาร คนเราเกิดขึ้นมาอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องมีพวกพ้องพี่น้องญาติวงศ์ แม้ แต่เราเกิดขึ้นมาก็ไม่ใช่ผุดขึ้นมาเฉยๆ ต้องเกิดจากบิดามารดา เหตุนั้นจึงต้องเผื่อแผ่แก่บริษัทบริวารคนนอกรอบตัวเรา นั่นแหละ จะเป็นใครก็เอาเถอะ คนนั้นได้ชื่อว่าทำประโยชน์ยิ่งใหญ่อันหนึ่ง ถ้าหากว่าใช้เฉพาะส่วนตัวคับแคบไม่กว้างขวางไม่มีหมู่มีพวก แม้ แต่เวลาตายก็ไม่มีคน หามไปทิ้ง ท่านจึงว่ากินคนเดียวไม่มีความสนุกหรอก คือว่า เรารับประทานคนเดียวหมายถึงความตระหนี่ กลัวหมู่เพื่อนจะเห็นและขอกิน มันไม่สบายตรงนั้นล่ะ ถ้าเผื่อแผ่แก่หมู่เพื่อนรับประทานด้วยกัน คนนั้นมาก็ให้ คนนี้มาก็ให้ เรียกพวกพ้องหมู่เพื่อนมารับประทานด้วยกัน คุยกันสนุกเฮฮา สนุกเพลิดเพลินในตัว ไม่กลัวว่าของนั้นจะหมด ถึงของนั้นจะหมดก็ยอม (เมื่อของนั้นหมดไปหมู่เพื่อนก็ย่อมเห็นใจ)

    ส่วนที่สี่ เอาไปทิ้งลงน้ำ คือเอาไปทำบุญทำทานเหมือนกับว่าไปทิ้งลงน้ำหายเงียบหมด คนทำบุญทำทานแล้วเขาไม่ห่วง จะทานมากทานน้อยเท่าใดก็ไม่ห่วง เราเคยทำทานแล้วก็ยังจะทำอีก แล้วยังชักชวนผู้อื่นให้ไปทำอีกด้วย ของที่ทิ้งลงน้ำแล้วหายหมดไม่เป็นห่วง อนึ่ง ของที่ทำทานแล้วย่อมเย็นยิ่งกว่าน้ำ ไม่เหมือนเสียโดยทางอื่น

    ถ้าหากคนใดหาสมบัติมาได้แล้ว ใช้จ่ายเป็น ต้องแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนอย่างที่อธิบายมานี้ ผู้นั้นจะมีความสุขสบายทั้งในโลกนี้และทั้งในโลกหน้าด้วย เมื่อจิตใจเบิกบานผ่องแผ้วอยู่ในโลกนี้แล้ว ตายไปจิตใจก็ผ่องแผ้วเบิกบาน เรียกว่า ให้ความสุขแก่เราในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำประโยชน์ในโลกทั้งสองนับว่าหาได้ยากที่สุดในโลกนี้ ส่วนมากหาแต่ใส่ปากใส่ท้อง บำรุงแต่ร่างกายอย่างเดียว ที่จะคิดถึงประโยชน์ ข้างหน้าน่ะน้อยนักน้อยหนา เรารู้แล้วว่าเกิดมาต้องตาย เมื่อตายแล้วไม่มีอะไรติดตัวของเราไป กายนี้ มันเป็นของแตกของดับ จิตใจไม่แตกไม่ดับ ตายแล้ว ทิ้งกายนี้ไว้ ส่วนจิตใจมันไปถือเอากำเนิดในคตินั้นต่อไป

    ครั้นเมื่อตายไปแล้ว คราวนี้ไปทนทุกข์ทรมาน ไม่ ได้เสวยผลบุญอานิสงส์อะไร เพราะไม่ได้ทำกุศลไว้ในชาติปัจจุบันนี้ จะทนทุกข์ทรมานด้วยประการต่างๆ ก็ไม่มีใครรู้เห็นด้วย จะได้คิดภายหลังว่า โอ้! เราเกิด ขึ้นมาเสียชาติ ไม่ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ตนเองแก่ผู้อื่น แก่บ้านเมืองก็ไม่ได้ทำ เสียชาติที่เกิดมาเปล่าๆ แต่ถึงแม้จะเสียใจก็ได้แต่เสียใจอยู่คนเดียว เพราะหมดโอกาส เราตายแล้วไม่ได้กลับมาแก้ตัวอีกต่อไปแล้ว.

    เหตุนั้น เมื่อเกิดมาเป็นคน รู้ตัวว่าเราจะต้องตาย จงรีบทำคุณงามความดี ทำประโยชน์ไว้เสีย การทำมากหรือทำน้อยไม่เป็นปัญหา ขอให้ตั้งเจตนาให้ดีให้ เชื่อมั่นในบุญกุศลที่ตนทำนั่น จิตใจแน่วแน่อยู่กับ กุศลอันนั้น ก็จะเป็นของมากอยู่เอง ไม่ต้องเอาหน้า เอาเกียรติ ไม่ต้องเอาชื่อเอาเสียง เอาเฉพาะใจของตนเอง ตั้งศรัทธาแน่วแน่เฉพาะบุญกุศลที่ตนทำเอง นั่นล่ะเป็นอานิสงส์มาก กุศลมากตรงนั้นแหละ

    จงทำตนให้เป็นที่พึ่งของตน ได้แก่ ใช้ทรัพย์สมบัติให้เป็นประโยชน์อย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
    ดังที่ได้อธิบายมาแล้วนั้นได้ชื่อว่า พึ่งสมบัติได้ในปัจจุบันโลกนี้และยังพึ่งสมบัติได้ในโลกหน้าอีกด้วย
    (แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๖)


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]ขอบคุณเว็บผู้จัดการค่ะ ;aa37</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    ทำบุญด้วยการ รักษาศีล
    ศีล คือ หลักปฏิบัติ สำหรับควบคุมกายและวาจาของคนให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เฉพาะผู้ครองเรือน มี ๕ ข้อ

    ความหมาย ของศีล ๕
    ในศีลห้า ข้อที่หนึ่ง พึงกำหนด ขึ้นต้นบท ว่า"ปาณา" ห้ามฆ่าเขา
    ข้อที่สอง "อทินนา" อย่าถือเอา ของที่เขา มิให้ อย่าใฝ่ปอง
    ข้อที่สาม "กาเม" เล่ห์สวาท ต้องเว้นขาด คู่เขา เราอย่าข้อง
    ข้อที่สี่ "มุสา" อย่าคะนอง คำพูดต้อง ตามสัตย์ อรรถธรรม
    ข้อที่ห้า "สุรา" ท่านว่าไว้ ห้ามมิให้ ดื่มเหล้า ทั้งเช้าค่ำ
    เฮโรอีน ฝิ่นยาบ้า พาระกำ ท่านแนะนำ ให้งด เพื่อหมดเวร

    วิธีรักษาศีล ๕
    จะรักษา ศีลห้า ดังว่านั้น ให้คงมั่น ศักดิ์สิทธิ์ สัมฤทธิ์ผล
    จำต้องมี คุณธรรม ประจำตน ตามยุบล โบราณ ท่านสอนมา
    ข้อที่หนึ่ง พึงระวัง ยั้งความโกรธ ไม่เหี้ยมโหด ใฝ่จิต ริษยา
    รู้โอบอ้อม อารี มีเมตตา กรุณา เป็นธรรม ประจำใจ
    สองเลี้ยงชีพ โดยสัมมา อาชีวะ รู้สละ รู้ประหยัด อัชฌาสัย
    ข้อที่สาม คู่ครอง ของใครใคร ไม่สนใจ ยินดีอยู่ แต่คู่ตน
    ข้อที่สี่ มีสัตย์ ประหยัดปาก ไม่พูดมาก กลอกกลับ ให้สับสน
    ข้อที่ห้า สติตั้ง ระวังตน อยากก็ทน หักห้าม ไม่ตามใจ
    ท่านผู้ใด ใจบุญ รู้คุณค่า ของศีลห้า เบญจธรรม ดั่งคำไข
    ประพฤติมั่น อยู่เสมอ ไม่เผลอใจ จะต้องได้ ผลดี มีแก่ตน

    ความเสียหายที่จะได้รับจากการไม่รักษาศีล ๕
    อันบาปกรรม ทั้งห้า ถ้าไม่ละ บาปนั้นจะ ส่งวิบาก ให้ยากเข็ญ
    ตามประเภท เหตุที่ทำ เป็นกรรมเวร คิดให้เห็น เว้นให้ไกล อย่าได้ทำ
    การเบียดเบียน ชีวิต ปลิดชีพเขา ทำให้เรา อายุน้อย ถอยลงต่ำ
    ปราศจาก อนามัย ไข้ประจำ ผู้ใดทำ กรรมนี้ ชีพไม่ยืน
    ปล้นสะดม โกงกิน ทรัพย์สินเขา จะร้อนเร่า จิตใจ ไม่แช่มชื่น
    บางคราวรวย ก็อย่าหวัง ว่ายั่งยืน ต้องเป็นอื่น และจนลง อย่าสงกา
    การสมสู่ คู่ครอง ของผู้อื่น ก็จะชื่น ชั่วประเดี๋ยว จริงเจียวหนา
    ผลของกรรม ทำให้มี ไพรีมา เบียฬบีฑา ปองชีวิต คิดผูกเวร
    การพูดหลอก ลวงใคร ให้หลงผิด โทษจะติด ตามตน ให้คนเห็น
    จะถูกตู่ ใส่ความ ตามประเด็น เท็จจริงเป็น อย่างไร เขาไม่ฟัง
    การดื่มเหล้า เมายา ว่าให้คิด ถ้าเสพติด โทษร้าย เมื่อภายหลัง
    ต้องเสื่อมทรัพย์ อับโชค โรคประดัง ทอนกำลัง ปัญญา พาให้ทราม

    ประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษาศีล ๕
    อานิสงส์ ข้อที่หนึ่ง นั้นพึงรู้ ชีพจะอยู่ วัฒนา อย่าฉงน
    อนามัย สมบูรณ์ จำรูญชนม์ ถึงร้อยฝน เทียวนะ จึงจะตาย
    ข้อที่สอง สมบัติ พัสถาน จะโอฬาร ล้นหลาก มีมากหลาย
    ยามใช้สอย ไม่ขาดแคลน แสนสบาย ใช้จนตาย ไม่จน เพราะผลบุญ
    ข้อที่สาม จะไม่มี ไพรีร้าย มาปองหมาย ชีวิต คิดเฉียวฉุน
    จะได้คู่ เป็นศรี มีแต่คุณ ไม่หันหุน กลับกลอก คิดนอกใจ
    ข้อที่สี่ พูดอะไร ใครก็เชื่อ คนไม่เบื่อ ระอา เมื่อปราศรัย
    จะเชิญชวน ชายหญิง ทำสิ่งใด เขาเต็มใจ พร้อมพรัก สมัครทำ
    ข้อที่ห้า อานิสงส์ จงประจักษ์ จะมีหลัก จรรยา ท่าคมขำ
    มีสติ มั่นคง ความทรงจำ ปัญญาล้ำ เลิศสัตว์ ในปฐพี
    หากเห็นจริง หญิงชาย ทั้งหลายเอ๋ย อย่าละเลย พยายาม ตามวิถี
    ประพฤติเถิด เกิดผล กุศลมี เป็นความดี ติดตามอาตม์ ทุกชาติไป


    ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=all4u&month=16-01-2006&group=1&gblog=2
     

แชร์หน้านี้

Loading...