คำบูชาพระสังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนเถระ)

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 20 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คำบูชา
    พระสังกัจจายน์
    <O:p</O:p
    การบูชาพระสังกัจจายน์นิยมใช้ดอกบัวหรือดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกจำปี ฯลฯ นิยมใช้ ๓ ดอก หรือ ๗ ดอก , และน้ำเย็นสะอาด ๑ แก้ว ในวันพระหรือวันเกิดของผู้เป็นเจ้าของพระควรถวายภัตตาหารในถาดเล็กๆ หรือ ถวายผลไม้ในวันนั้นๆ ถ้าเป็นร้านค้าจะถวายทุกวันจะดีมาก
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำบูชาพระสังกัจจายน์<O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ
    <O:p</O:p
    หรือ
    <O:p</O:p

    นโม ๓ จบ<O:p</O:p

    ธัมมะจักกัง ประทังสุตะวา พุชฌิตะวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานังหิตะการะณา ภันตาตันเต กัจจายะนะ นามะ ตีสุโลเกสุ ปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฏฐโกมุนี นัตถิเถโร สะโมอินทะคันธัพพา อะสุราเทวะ สักโก พรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะ กัจจายะนะมะหา เถรัสสะ นะโมธัมมัสสะ กัจจายะนะหาเถรัสสะ นะโมสังฆัสสะ กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ สุขาสุขะวะรังธัมมัง ธัมมะจักกัง ปะวะรัง นิฎฐิตัง ฯ<O:p</O:p
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  3. มารีจัง

    มารีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2007
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +351
    พระสังกัจจายน์ คือ เทพ หรือ พระ อยากรู้ประวัติ
     
  4. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ..........................................................................

    เป็นพระครับ ไม่ใช่เทพ เอาประวัติมาให้อ่าน

    พระมหากัจจายนเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร

    พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต (ที่ปรึกษา)ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2007
  5. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอโมทนาสาธุด้วยครับ...กำลังจะไปไหว้พระมหากัจจายนะเถระหรือพระสังกัจจายพอดีคับ ...
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    พระมหากัจจายนะเถระ


    -http://www.dhammathai.org/monk/monk33.php-

    ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กัญจนะ กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้วเรียนจบไตรเพท เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา

    ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวสั่งสอนประชาชนอยู่ ธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม มีพระประสงค์จะทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาไปประกาศพระศาสนา ยังกรุงอุชเชนี จึงตรัสสั่งกัจจายนปุโรหิตซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพทไปทูลเชิญเสด็จ กัจจายนปุโรหิตทูลลาจะบวชด้วย ครั้นได้รับ พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยบริวารทั้ง ๗ คน ครั้นมาถึงที่ประทับพระบรมศาสดาแล้ว พากันเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ ตรัสเทศนาสั่งสอน ในเวลาจบเทศนาทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งว่าเธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้วพระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส ท่านพระมหากัจจายนะพร้อมด้วยบริวารทั้งเจ็ดองค์กราบถวายบังคมลา สมเด็จพระบรมศาสดากลับไปสู่กรุงอุชเชนี ประกาศพระพุทธศฤาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใสแล้วจึงกลับมาสู่สำนักของพระบรมศาสดา

    ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำย่อให้พิสดาร เช่นในครั้งหนึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อมีใจความว่า "ผู้มีปัญญาไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะว่าสิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้รู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่าความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผิดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ชื่อว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ"

    ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วเสด็จลุกเข้าสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสที่จะทูลถามเนื้อความที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้เข้าใจกว้างขวาง เห็นความสามารถของท่านพระมหากัจจายนะจึงได้อาราธนาขอให้ท่านอธฤบายให้ฟัง ท่านก็อธิบายให้ฟังโดยพิสดารว่า "ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่าในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณอันความกำหนัดพอใจผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ตามคิดถึงเรื่องที่ล่วงแล้ว บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจักเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัยผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว นัยน์ตากับรูปอย่างละ ๒ อันใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณได้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไมาเพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านผู้มีอายุเราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อตามความพิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด"

    ภิกษุเหล่านั้นลาท่านพระมหากัจจายนะกลับมา แล้วเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญพระมหากัจจายนะว่า" ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นคนมีปัญญา ถ้าพวกเฮถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็คงแก้เหมือนอย่างที่กัจจายนะแก้แล้วอย่างนั้น เนื่อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงจำไว้เถิดไ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร"

    ท่านพระมหากัจจายนะ ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติบางข้อซึ่งขัดต่อภูมิประเทศ เช่นเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ภูเขาชื่อว่า ปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฏิกัณณะมีความประสงค์จะบวชในพระธรรมวินัย แต่ก็ได้เพียงบรรพชา (บวชเป็นสามเณร) เท่านั้น โดยล่วงไปสามปีแล้วจึงได้อุปสมบท เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทหาภิกษุสงฆ์เป็นคณปูรกะ (๑๐ รูปขึ้นไป) ไม่ได้ เมื่อโสณกุฏิกัณณกะได้อุปสมบทแล้วมีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาท่านพระมหากัจจายนะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุญาต และสั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทพระบรมศาสดาด้วยเศียรเกล้าตามคำขอของท่าน แล้วให้กราบทูลขอให้พระองค์ ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติซึ่งขัดต่ออวันตีทักขิณาปถชนบท ๕ ข้อ คือ

    ๑. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูป ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท ด้วยสงฆ์มีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ (ด้วยสงฆ์ ๕ รูป)"

    ๒. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในปัจจันตชนบท"

    ๓. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำเป็นนิตย์ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ในปัจจันตชนบท" (ในมัชฌิมประเทศ คือในเมือง ๑๕ วันภิกษุอาบน้ำได้ครั้งหนึ่ง)

    ๔. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีเครื่องลาด (ที่ปูนั่ง) ที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น บริบูรณ์ดีเหมือนมัชฌิมชนบท ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วย หนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น"

    ๕. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย มนุษย์ทั้งหลายย่อมถวายจีวรแก่ภิกษุผู้จาริกไปภายนอกสีมาด้วยคำว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เมื่อพวกเธอกลับมาแล้ว พวกภิกษุในวัดแจ้งความให้พวกเธอทราบ พวกเธอรังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยเข้าใจว่าผ้าผืนนั้นเป็นนิสสัคคียะ (ผิดวินัยจำต้องสละ เพราะล่วงเวลา ๑๐ วันแล้ว) ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกการปฏิบัติในจีวรเช่นนั้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ภิกษุยินดีรับจีวรที่ทายกถวาย ลับหลังนั้นได้ ผ้ายังไม่ถึงมือตราบใด จะนับว่าเธอเป็ฤนผู้มีสิทธิ์ในผ้านั้นเต็มที่ยังไม่ได้ตราบนั้น"

    ท่านพระมหากัจจายนะนั้นเป็นผู้มีรูปงาม มีผิวเหลืองดุจทอง มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีมีชื่อว่า โสเรยยะ ในโสเรยยนคร เห็นท่านแล้วนึกในใจว่า ถ้าเราได้ภรรยาที่มีรูปร่างงดงามอย่างท่านพระมหากัจจายนะจักเป็นที่พอใจยิ่ง ด้วยอำนาจอกุศลจิตเพียงเท่านี้เพศชายแห่งโสเรยยเศรษฐีบุตรนั้นกลับเป็นเพศสตรี ได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งจึงหนีไปอยู่เมืองอื่นจนกระทั่งได้สามีมีบุตรด้วยกันสองคน ภายหลังได้ไปขอขมาให้ท่านพระมหากัจจายนะยกโทษแล้วเพศจึงกลับเป็นบุรุษอีกตามเดิม

    ตามความในมธุรสูตร ท่านอยู่มาถึงภายหลังแต่การปรินิพพาน แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังมีใจความว่า ครั้งหนึ่งพระมหากัจจายนอยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชธานีอวันตีบุตรเสด็จไปหา ได้ตรัสถามว่า "พวกพราหมณ์ถือว่าพวกเขาเป็นผู้ประเสริฐ บริสุทธิ์ เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร" พระมหากัจจายนะทูลตอบว่า "นั้นเป็นแต่คำอ้างของเขา" ท่านชักอุทาหรณ์มาแสดงเป็นข้อ ๆ ที่วรรณะ ๔ เหล่านั้นไม่ต่างอะไรกัน ดังนี้

    ๑. ในวรรณะ ๔ เหล่า วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง วรรณะเดียวกันและวรรณะอื่นย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรณะนั้น

    ๒. วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ

    ๓. วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันหมด

    ๔. วรรณะใดทำโจรกรรม ปรทาริกกรรม (การประพฤติล่วงเมียคนอื่น) วรรณะนั้นต้องรับอาญาเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น

    ๕. วรรณใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ ได้รับบำรุงและรับคุ้มครองรักษาเสมอกันหมด

    ครั้นพระเจ้ามธุรราชได้สดับแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส แสดงพระองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถรเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ พระมหากัจจายนะทูลห้ามว่า อย่าถึงตัวของอาตมภาพเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสรณะของอาตมภาพเป็นสรณะเถิด พระเจ้ามธุรราชตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน ท่านทูลให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ทรงทราบพระผู้ทีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด แม้จะไกลักเพียงใดก็ตาม พระองค์จักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านพระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ควรเปลี่ยนความเข้าใจใหม่ว่า พระมหากัจจายนะเถระ (พระสังกัจจายน์) ท่านมิได้เป็นเอตทัคคะเรื่องของโชคลาภ

    แต่ท่านได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร"


    .

    .
    พระสีวลีถระ

    -http://www.dhammathai.org/monk/monk76.php-

    ท่านพระสีวลี เป็นเป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ จำเดิมแต่พระราชโอรสมาถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ทำพระมารดาให้สมบูรณ์ด้วยลาภสักการะเป็นอันมาก แต่อยู่ในครรภพระมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติ เวลาประสูติก็ประสูติง่ายที่สุด เปรียบประดุจน้ำไหลออกจากหม้อ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพคือ เมื่อพระนางมีครรภ์แก่ครบกำหนดประสูติแล้ว ได้เสวยทุกขเวทนาลำบากมาก พระนางจึงให้พระสวามีบังคมทูลพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสพระราชทานให้พรว่า พระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุขปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้หาโรคมิได้เถิด พระนางสุปปวาสาก็ได้ประสูติพระราชบุตรพร้อมกับขณะที่พระศาสดาตรัสพระราชทานพร เมื่อประสูติแล้วพระญาติได้ขนานพระนามว่า “สีวลีกุมาร” ส่วนพระนางสุปปาวาสานึกถึงเหตุการณ์ที่เป็นมาแล้ว มีความปรารถนาจะถวายมหาทานสัก ๗ วัน จึงให้พระสวามีไปอาราธนานิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อรับภัตตาหารในบ้าน ๗ วัน พระราชสามีก็ไปตามความประสงค์ของนาง แล้วได้ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน (สีวลีกุมารนั้น นับตั้งแต่วันที่ประสูติ ได้ถือธมกรกกรองน้ำถวายพระตลอด ๗ วัน)

    บรรลุมรรคผล

    เมื่อสีวลีกุมารเจริญวัยขึ้นแล้ว ได้ออกผนวชในสำนักของท่านพระสารีบุตร ได้บรรลุผลสมตามความปรารถนา คือ ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอเสขบุคลในพระพุทธศาสนา นัยว่าท่านได้บรรลุมรรคผลตั้งแต่เมื่อเวลาปลงผม คือ เมื่อเวลามีดโกรจรดลงศีรษะครั้งที่หนึ่งได้บรรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่สองได้บรรลุสกทาคามี ครั้งที่สามได้บรรลุอนาคามิผล ปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ตั้งต้นแต่นั้นมาท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ ทั้งภิกษุทั้งหลายก็พลอยไม่ขัดข้องด้วยปัจจัยลาภเพราะอาศัยท่าน

    เอตทัคคะ
    เพราะเหตุนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างผู้มีลาภมาก ท่านพระสีวลีนั้น ดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...