คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 15 เมษายน 2007.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
    [๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยากห้ามได้
    โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้นจิตนี้
    อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ
    ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน
    ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก
    ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปใน
    อารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล
    ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียด
    อ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุข
    มาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป
    หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
    ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระ
    สัทธรรมมีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
    จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้วผู้มีบุญและบาป
    อันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่าเปรียญด้วยหม้อแล้ว
    พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนครพึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง
    พึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคล
    ทิ้งแล้วมีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
    ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคนมีเวรเห็น
    คนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด
    พึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหายและความทุกข์นั้นมารดาบิดา
    ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคล
    ตั้งไว้ชอบแล้วพึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ
    จบจิตตวรรคที่ ๓


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.164927/[/MUSIC]


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...