ความเป็นมา 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 พฤษภาคม 2009.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ทุกคนก็คงจะรู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่กันอยู่แล้วว่า มันส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไร แต่หลายคนก็ยังเลือกที่จะสูบมัน บางคนเลือกที่จะสูบบุหรี่เพียงเพราะความเท่ห์จนในที่สุดก็ติดเป็นนิสัย และเนื่องในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีนั้น เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก เรามาลองใช้วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเลิกบุหรี่กันดีไหม? <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p>[​IMG]</O:p>
    <O:p></O:p>
    วันงดสูบบุหรี่โลกนั้นเริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ใช้ชื่อว่า World Spidemic ซึ่งสื่อถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นเหมือนโรคระบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก โดยในวันงดสูบบุหรี่โลกในแต่ละปีก็จะมีคำขวัญที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2531 บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ (Between tobacco and the health, choose health) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2532 พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ (Women and Tobacco: Added risk) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2533 เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากภัยบุหรี่ (Growing up without tobacco) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2534 สถานที่สาธารณะและยวดยานปลอดบุหรี่ (Public places and transport: Better be tobacco free) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2535 ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย (Tobacco free work places: Safer and healthier) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2536 บุคลากรสาธารณสุขร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่ (Health services, our window to a tobacco – free world) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2537 ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่ (The media against tobacco) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2538 บุหรี่ก่อความสูญเสียมากกว่าที่คุณคิด (Tobacco costs more than you think) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2539 ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่ (Sport and the arts: play it tobacco free) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2540 ผนึกกำลังเพื่อสังคมปลอดบุหรี่ (United for a Tobacco – free world) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2541 คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ (Growing up without tobacco) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2542 อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา...เลิกบุหรี่ (Leave the pack behind) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2543 บุหรี่คร่าชีวิต อย่าหลงผิดตกเป็นเหยื่อ (Tobacco kills don’t be Duped) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2544 เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่ (Second-Hand Smoke: Let’s Clear the Air) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2545 กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ (Tobacco Free Sports – Play it clean) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2546 ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อเยาวชน (Tobacco free films tobacco free fashion) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2547 บุหรี่ : ยิ่งสูบ...ยิ่งจน (ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง) (Tobacco and Poverty (A Vicious Circle)) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2548 ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่ (Health Professionals and Tobacco Control) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2549 บุหรี่ทุชนิดนำชีวิตสู่ความตาย (Tobacco: Deadly in any form or disguise) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2550 ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส (100% Smoke-Free Environments: Create and Enjoy) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ปี 2551 เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่ (Tobacco - free Youth) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    สำหรับปี 2552 นั้นมี<O:p></O:p>
    คำขวัญโดย องค์การอนามัยโลก Tobacco Health Warning<O:p></O:p>
    คำขวัญโดย กระทรวงสาธารณสุข บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย<O:p></O:p>
    คำขวัญโดย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เตือน! ควันบุหรี่ฆ่าคุณ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยก็ได้ตระหนักถึงความสูญเสีย ทางด้านชีวิตของประชากรที่เกิดจากการสูบบุหรี่ จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ รวมถึงกำหนดมาตรการต่างๆ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะพยายามให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ ดังเช่นที่กระทรวงได้ประกาศบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือน และโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีกฏหมายที่ใช้คุ้มครองสุขภาพประชาชน ได้แก่ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ที่มีสาระสำคัญในการประกาศเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งแบ่งเขตปลอดบุหรี่ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    - เขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง เช่น รถยนต์โดยสารประจำทาง ทั้งแบบปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ รวมถึงแท็กซี่ ตู้รถไฟปรับอากาศ และห้องชมมหรสพ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    - เขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น โรงเรียน ห้องสมุด แต่ยกเว้นห้องส่วนตัว <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    - เขตปลอดบุหรี่เกือบทั้งหมด เช่น สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ หากจะสูบก็ให้สูบเฉพาะในเขตสูบบุหรี่ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    - เขตปลอดบุหรี่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้นๆ เช่น ตู้รถไฟโดยสารทั่วไปที่ไม่ใช่แบบปรับอากาศ และร้านขายอาหารทั่วๆ ไป เฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ แต่ต้องจัดเขตสูบบุหรี่ไม่ให้เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีสาระสำคัญในการห้ามขายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือขายบุหรี่แล้วแถมสินค้าอื่น และห้ามการโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p>[​IMG]</O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    สำหรับการสูบบุหรี่นั้นถือเป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน ทาร์ เป็นต้น และจากการสำรวจพบว่าผู้ที่เป็นมะเร็งปอดนั้น ร้อยละ 90 เป็นผลเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ อีกทั้งถ้าสูบเกินวันละ 1 ซอง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 5-20 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบร้อยละ 80 และโรคหัวใจร้อยละ 50 ก็มีผลมาจากการสูบบุหรี่เช่นเดียวกัน <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    อย่างไรก็ตาม แม้บุหรี่จะมีโทษมากมาย แต่ก็ยังมีคนสูบ ทำให้รัฐต้องออกมาตรการ หรือกฎหมายควบคุมการสูบบุหรี่ด้วย ทั้ง สวนสาธารณะ, สนามบิน, สถานีรถไฟ, สถานศีกษา, ร้านค้า, ผับ, เธค และสวนอาหาร เป็นต้น หากฝ่าฝืนก็จะต้องเสียค่าปรับ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    อืม… นอกจากบุหรี่จะมีโทษมหันต์ต่อผู้สูบและคนใกล้ชิดแล้ว การสูบผิดสถานที่อาจทำให้ติดคุก หรือเสียเงินได้เช่นกัน… ฉะนั้นเราลองหันมาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่าไหม เพื่อสุขภาพของคุณเอง รวมทั้งคนที่คุณรักด้วย <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
     
  2. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,171
    ค่าพลัง:
    +7,815
    จะมีคำขวัญในแต่ละปี ก็มีไปเถิด......... แต่ทำไม ต้องขึ้นภาษีบุหรี่ซะมากด้วยอ่ะ แบ่งไปขึ้นภาษีเครื่องสำอางบ้างดิ๊....ไม่ไหวๆๆ หุ หุ หุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  3. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    ของเราหยุดเสพบุหรี่เด็ดขาด
    วันแรกก่อนเหตุการณ์สึนามิ ๑ ปีเต็ม
    ตั้งแต่ ๒๖ ธ.ค.๔๖ จนบัดเดี๋ยวนี้ จะหกปีแล้ว
    ไม่เคยสัมผัสอีกแม้เพียงสูดลมเดียว
    เราว่า อยู่ที่ใจเท่านั้น ใจสั่งกายได้จริงจริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...