ความเชื่อมโยงระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 3 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    รศ. ดร. ชูเกียรติ ชัยบุญศรี
    หัวหน้าศูนย์ วิจัยเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณร่วมสมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
    ปพณสรร เอกพันธ์
    นักวิจัย ประจำศูนย์ วิจัยเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณร่วมสมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    และ
    ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์

    ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

    หัวหน้าโครงการสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
    Email: pongpiajun@gmail.com


    สถานการณ์โลกในปัจจุบันนี้ มีปัญหาหลายอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไวรัสโรคระบาด COVID-19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างแพร่หลายในทั่วโลก และยังมีปัญหาของ Climate Change (CC) หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เริ่มมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในโลกปัจจุบันนี้ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่มีการเจริญเติบโตในเรื่องของเศรษฐกิจอย่างประเทศจีนก็ประสบปัญหาเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงว่าประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว หรือประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนา ในหลาย ๆ ด้าน ก็ไม่อาจจะหนีกับปัญหาที่เป็นวาระของโลกได้ จาก สถานการณ์ปัญหาไวรัส COVID-19 ที่มีการแพร่ระบาดในหลายประเทศซึ่งสาเหตุที่แท้จริงอาจมาจากการที่มนุษย์เริ่มเข้าไปบุกรุกในพื้นที่ป่า โดย “Ravi Gupta ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาของมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ได้ศึกษาทางพันธุกรรมของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคระบาด COVID-19 พบว่ามีความเป็นไปได้ทั้งสองกรณีคือ กรณีมีการรั่วไหลมาจากห้องปฏิบัติการและกรณีมีการติดเชื้อจากสัตว์ป่า” [1]

    ถึงแม้ COVID-19 อาจไม่ได้มาจากห้องปฏิบัติการ หรือไม่ได้มาจากการทดลองใด ๆ แต่ประเด็นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงว่า การที่มนุษย์ เข้าไปบุกพื้นที่ป่า ทำลายป่าไม้ ทำลายระบบนิเวศต่าง ๆ หรือ การนำสัตว์ป่ามาค้าขาย หรือนำมาทำการทดลองเชิงไวรัสวิทยา ซึ่งจากการศึกษาโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ไวรัส COVID-19 ไม่สามารถเข้ามาอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้โดยตรง ซึ่งการที่จะแพร่มาสู่มนุษย์ได้ต้องมีตัวกลาง (Host) นั่นคือ พวกสัตว์ เช่น พวกค้างคาว หรือชะมด มีการศึกษายีนของเชื้อชนิดนี้ในตัวตัวลิ่น (หรือตัวนิ่ม) พบว่า มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกับ SARS-CoV-2 ถึงร้อยละ 99 และตัวลิ่นเป็นสัตว์มีแกนสันหลังและเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย ดังนั้น ตัวลิ่นอาจจะเป็น intermediate host ก่อนแพร่เชื้อสู่คน หรือว่า เกิดการกลายพันธุ์ในค้างคาวแล้วกระจายมาสู่คนเลย [2] ซึ่งแสดงถึงความไม่ตระหนักรู้ของมนุษย์ที่ไปบุกรุกพื้นที่ป่าหรือการกินพวกสัตว์ป่าที่ไม่ควรกิน หรือการนำสัตว์ป่ามาทำการทดลองในทาง ไวรัสวิทยา ที่ไม่ควรนำมาศึกษา เพราะในการศึกษาแต่ละครั้งต้องนำสัตว์ป่าจำนวนมากมาทำการทดลอง ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ไม่มีวันสิ้นสุด

    เพราะความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ที่มีแนวโน้มนำมาศึกษาเพื่อการทำลาย หรือ เพื่อเชิงธุรกิจ ค้ากำไรเกินควร มากกว่าจะทำการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มากกว่านั้นการไม่ตระหนักถึงผลกระทบเชิงลบมากกว่าเชิงบวก ไม่เพียงแต่ โรคระบาดที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่ตามมากอีก ก็คือ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์ CC ซึ่งเห็นได้ชัดถึงปัญหาที่เริ่ม โดยมนุษย์ที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนการปล่อยมลพิษขึ้นสูงในในทุกๆปีซึ่งแปรผันตรงกับอุณหภูมิของโลกที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น (รูปที่ 1)

    e0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b982e0b8a2e0b887e0b8a3e0b8b0e0b8abe0b8a7e0b988e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2.jpg
    ปัญหาอุณหภูมิโลกสูงขึ้นนี้ส่งผลกระทบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้หลายพื้นที่ในโลกที่มีความเสี่ยงสูง ที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมได้ เช่นประเทศไทยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลก็มีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหานี้ ในปี ค.ศ.2050 ข้อมูลจาก CoastalDEM (รูปที่ 2)

    b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b982e0b8a2e0b887e0b8a3e0b8b0e0b8abe0b8a7e0b988e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2-1.jpg
    และปัญหาดังกล่าวยังส่งผลให้เกิดปัญหาไฟป่าที่มีมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการเผาป่าก็อาจจะมาจากมนุษย์โดยส่วนใหญ่เช่น ปัญหาไฟป่าที่ประเทศบราซิล ที่มาจากฝีมือของมนุษย์ที่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ มีการตัดไม้ทำลายป่า และมีเผาป่า ทำให้ระบบนิเวศต่าง ๆ เกิดความไม่สมดุล ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และควันจากการเผาป่า ยังส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ และต่อสุขภาพของผู้คนและสิ่งมีชีวิต ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนเกิดจากฝีมือของมนุษย์ทั้งสิ้น สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด คือการแก้ปัญหาจาก จิตสำนึกรับผิดชอบของผู้คนที่ต้องตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยต้องตระหนักว่าสิ่งแวดล้อมทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง แต่สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรต่าง ๆ รอบตัวเป็นของทุกคน และเป็นของคนรุ่นหลังที่จะเติบโตขึ้นมา วันนี้เราควรเสริมสร้างคนรุ่นหลังปลูกฝังจิตสำนึกภายใน ให้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม คนรอบข้าง และการใช้ทรัพยากรประเภทต่าง ๆ

    ซึ่งปัจจุบัน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบอีกมากมายในอีกหลายปีข้างหน้า อาจไม่สามารถแก้ไขได้ แต่เราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพปัจจุบันได้ สิ่งสำคัญคือ มนุษย์หรือประชากรโลกจะทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น หรือ จะร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันในการที่จะช่วยกันลดความรุนแรงปัญหานี้ เพื่อคนรุ่นหลังในยุคต่อๆไปสามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าวันนี้มนุษย์มีจิตสำนึกในเรื่องนี้มากขึ้น โดยการที่เริ่มจากการแก้ปัญหาภายในจิตใจ สร้างเสริมจิตสำนึกที่ดี ในการดูแล พัฒนา ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นคุณค่า ซึ่งวันนี้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องเร่งรีบเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการสร้างทัศนคติ หรือมุมมองที่ถูกต้องในการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่ใช้กฎหมายเท่านั้นแต่รณรงค์ส่งเสริม ให้ความรู้ ในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัว ในโรงเรียน ในที่ทำงาน และในทุกสถานที่ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

    b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b982e0b8a2e0b887e0b8a3e0b8b0e0b8abe0b8a7e0b988e0b8b2e0b887e0b881e0b8b2-2.jpg
    เช่นตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เห็นได้ในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้ผลิต เหรียญรางวัลจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ประมาณ 5,000 เหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ซึ่งมีการเก็บรวบรวมจาก 1,621 ชุมชน ของชุมชนทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่น [3] แสดงให้เห็นถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมในเรื่องของขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ให้ความร่วมมือ และในการจัดกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ ยังมีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของยานพาหนะซึ่งเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยการเปลี่ยนมาเป็นการใช้การขับเคลื่อนจากพลังงานไฟฟ้า แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นไปตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

    โปรดติดตามต่อในตอนที่ 2

    อ้างอิง :
    [1] Covid may have begun with Chinese scientist collecting bat samples, says WHO investigator
    [2] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2
    [3] Overview of the Tokyo 2020 Games Sustainability Progress Report


    ขอบคุณที่มา

    https://mgronline.com/daily/detail/9640000087134
     

แชร์หน้านี้

Loading...