ความหมายของ ธรรมทานและอามิสทาน ตามพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย joe29, 7 มิถุนายน 2009.

  1. joe29

    joe29 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +488
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 616

    อรรถกถาทานสูตร

    บทว่า ทานํ ได้แก่ สิ่งที่พึงให้. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ

    ชื่อว่า ทาน. บทว่า ทาน นี้ เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทานํ

    ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทาน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของที่จะต้องให้.

    อธิบายว่า ปัจจัย ๔ เหล่านั้น ท่านเรียกว่า อามิส เพราะเป็นเครื่องจับต้อง

    ด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องบริจาคปัจจัย ๔

    เหล่านั้น ชื่อว่า อามิสทาน.
     
  2. joe29

    joe29 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +488
    บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เมื่อ

    (แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า ธรรมเหล่านี้

    เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ

    ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้

    สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้

    ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้ กระทำกรรมและผล

    ของกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม

    ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ธรรมทาน.

    ส่วนบุคคลบางพวก ชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า ธรรมเหล่านี้เป็น

    อภิญไญยธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพ-

    ธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม

    ดังนี้ แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่า ธรรมทาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...