คนหลายพันล้านจะเผชิญกับภัยพิบัติโลกร้อน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    คนหลายพันล้านจะเผชิญกับภัยพิบัติโลกร้อน

    คอลัมน์ โลกสามมิติ

    โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th



    [​IMG]

    คนหลายพันล้านจะต้องเผชิญกับการขาดแคลนอาหารและน้ำและภัยพิบัติจากน้ำท่วมมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศหรือภาวะโลกร้อน

    นี่คือข้อสรุปอันน่าเศร้าของผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมหลายร้อยคนจาก 100 กว่าประเทศ ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ "ไอพีซีซี" (UN Intergovernmental Panel on Climate Change - IPCC)

    ไอพีซีซีได้เผยแพร่รายงานฉบับที่สองซึ่งเป็นผลการศึกษาของคณะทำงานของไอพีซีซีชุดที่ 2 (PCC Working Group II) ที่ชื่อว่า Climate Change 2007: Climate Change Impacts,Adaptation and Vulnerability เมื่อวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2007 ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมของไอพีซีซีที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

    รายงานนี้เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงของอากาศไม่ใช่ปัญหาในอนาคตแต่เป็นปัญหาในปัจจุบันที่จะต้องจัดการโดยทันที และชี้ให้เห็นรายละเอียดผลกระทบต่อมนุษย์จากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิตั้งแต่ 0-5 องศาเซลเซียส และมาตรการในการแก้ไขปัญหาไว้ด้วย

    ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลงในแถบเส้นละติจูดต่ำ

    ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นในระหว่าง 2-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรในบริเวณแถบเส้นละติจูดสูงเพิ่มขึ้น

    ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสจะทำให้พันธุ์สัตว์และพืชต้องสูญพันธุ์ประมาณ 30% และถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียสจะทำให้ปะการังชายฝั่งตายในบริเวณกว้าง

    ทวีปแอฟริกาจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คนแอฟริกันประมาณ 75-250 ล้านคนทั่วทวีปแอฟริกาจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป การเกษตรที่อาศัยน้ำฝนจะลดลงกว่า 50% ในบางประเทศของทวีปแอฟริกา <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในเอเชียผลผลิตจากพืชจะเพิ่มมากกว่า 20% ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ลดลงกว่า 30% ในเอเชียกลางและเอเชียใต้

    ประมาณ 20-30% ของพันธุ์พืชและสัตว์จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นระหว่าง 1.5-2.5 องศาเซลเซียส และธารน้ำแข็งและหิมะจะละลายมากขึ้นจนทำให้ขาดแคลนน้ำจืดในบางประเทศ

    รายงานยังระบุด้วยว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือคนยากจนซึ่งมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศน้อยที่สุด

    "ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศยากจนจะได้รับผลกระทบที่เลวร้ายจากผลของการเปลี่ยนแปลงของอากาศ" ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งกล่าว

    ขณะที่ ราเจนทรา ปาเชารี ประธานไอพีซีซี บอกว่า มันรวมถึงคนยากจนในประเทศร่ำรวยด้วย และว่า คนยากจนเหล่านั้นมีเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์น้อยที่สุดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

    มาร์ติน พาร์รี ประธานร่วมของคณะทำงานชุดที่ 2 บอกว่า หลักฐานที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของอากาศกำลังส่งผลโดยตรงกับสัตว์ พืช และน้ำ

    พาร์รีซึ่งเป็นหนึ่งนักวิทยาศาสตร์จำนวน 441 คนที่ทำวิจัยให้ ไอพีซีซีเป็นเวลา 5 ปี ยังบอกว่า "เมื่อ 5 ปีก่อนเราบอกว่าเราสามารถตรวจพบบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ ทว่า ขณะนี้เราพิจารณาชุดของข้อมูลจำนวนถึง 29,000 ชุด แล้วพบว่า 90% ของข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ" <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้รวมถึงปรากฏการณ์ไม้ดอกออกดอกก่อนฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงในผลิตผลการเกษตร การอพยพของแมลง และคลื่นความร้อนและพายุที่รุนแรง

    มีโอกาสมากกว่า 90% ที่จะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น ผลกระทบของมันคือทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลง มีความต้องการใช้น้ำมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก

    ภัยพิบัติอีกอย่างหนึ่งที่มีโอกาสเกิดมากกว่า 90% นั่นคือน้ำท่วม

    ซึ่งจะทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย และไม่สามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้เพราะน้ำได้กัดเซาะหน้าดินจนดินไม่มีคุณภาพนอกจากนั้นยังทำให้น้ำใต้ดินถูกปนเปื้อน น้ำท่วมยังทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทัพย์สิน ตลอดจนโรคภัยอีกด้วย

    รายฉบับนี้ได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาโดยให้รัฐบาลวางมาตรการในการอพยพประชาชนไปตั้งถิ่นฐานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ อาทิ ผลกระทบจากผลผลิตทางการเกษตรลดลง พายุที่มีความรุนแรงมากขึ้น ความแห้งแล้งและคลื่นความร้อน และการขาดแคลนน้ำจืดจากการละลายของธารน้ำแข็ง

    อีกมาตรการหนึ่งคือการสร้างเขื่อนป้องกันไม่ให้น้ำทะเลที่สูงขึ้นเข้าท่วมชายฝั่ง และสร้างเขื่อนหรือคลองระบายน้ำในพื้นที่ที่ธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการตัดต่อพันธุกรรมพืชให้มีความต้องการน้ำน้อยลง

    นักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ออกมาตอบรับรายงานฉบับนี้ สตาฟโรส ไดมาส กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของยุโรปกล่าวว่า รายงานนี้ให้จุดเน้นเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องว่าจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนอย่างไรเพื่อบรรลุข้อตกลงในการลดก๊าซเรือนกระจก และมีความสำคัญอย่างไรที่เราจะต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่เป็นอยู่

    เซอร์ มาร์ติน รีส์ ประธานราชสมาคม (Royal Society) บอกว่า นี่เป็นการปลุกให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ภาคอุตสาหกรรม และปัจเจกชนตื่นอีกครั้งหนึ่ง และว่าขณะนี้เรามีสิ่งชี้วัดผลกระทบที่เป็นไปได้จากภาวะโลกร้อนชัดเจนมากขึ้น และผลกระทบบางอย่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว

    "ความท้าทายในขณะนี้ก็คือการค้ำจุนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มั่นคงมากที่สุดเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะปรับตัวและส่งเสริมวิถีชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น" เขากล่าว

    รายงานของไอพีซีซีจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศของโลกจำนวนหลายพันคน และนำเสนอต่อที่ประชุมไอพีซีซีเพื่อพิจารณาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศต่างๆ 190 ประเทศ

    ไอพีซีซีจะจัดประชุมเพื่อพิจารณารายงานฉบับที่ 3 ที่ชื่อว่า "Climate Change 2007:Mitigation of Climate Change" ที่ศึกษาโดยคณะทำงานชุดที่สาม ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2007 ที่กรุงเทพมหานคร โดยคณะทำงานชุดที่สามจะประชุมกันก่อนในระหว่างวันที่ 30 เมษายน-พฤษภาคม 2007

    รายงานฉบับนี้จะเน้นไปที่แนวทางการหยุดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกและอุณหภูมิของโลก

    -------------
    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01tec08140450&day=2007/04/14&sectionid=0143
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...